7 กฎเหล็กทำธุรกิจที่ปรับใช้ได้ทุกยุคสมัย

หัวข้อ : 7 กฎเหล็กทำธุรกิจที่ปรับใช้ได้ทุกยุคสมัย
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/business-rules-apply-everytime

 

การสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่ได้มาจากโชคช่วย แต่มาด้วยการลงมือทำผ่านทักษะหลายด้านจึงจะสามารถสร้างธุรกิจให้ไปไกลได้ หากแต่หลายคนพังก่อนจะปังเพราะก้าวพลาดตั้งแต่เริ่มต้นจากความไม่รู้และขาดประสบการณ์ เพราะการเริ่มธุรกิจด้วยความสนใจหรือความรักเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ ซึ่งการจะไปถึง ณ จุดนั้น ได้จะต้องผ่านกฎเหล็กเหล่านี้

 

1. หาจุดที่ก่อให้เกิดปัญหาในตลาดและกลุ่มเป้าหมายให้ได้ก่อนจะหาสินค้าหรือบริการ 

ถ้าเราไม่รู้ความต้องการของผู้บริโภค เราก็มีโอกาสที่จะเริ่มต้นพลาด จะไม่รู้เลยว่าขณะนี้ตลาดเป็นอย่างไร จะทำอย่างไรให้สินค้ามีความแตกต่าง และไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ เพราะถ้าพลาดในข้อนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะตกม้าตายตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นได้เลย และการหาจุดที่ก่อให้เกิดปัญหา (pain point) ที่ซ่อนตัวอยู่ในตลาดเจอนั่นคือจุดเริ่มต้นของชัยชนะ

 

2. ทำความเข้าใจสินค้าและบริการของตัวเองอย่างถี่ถ้วน 

  • จะได้รู้ว่าจุดอ่อน จุดแข็งอยู่ตรงไหน 
  • ตัวตนของสินค้าคืออะไร มีสไตล์แบบไหน
  • สินค้าตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มใด 

ถ้าเจ้าของเข้าถึงสินค้าของตัวเองได้ทุกแง่มุม จะง่ายต่อการดำเนินการในขั้นตอนต่อ ๆ ไปได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการทำตลาด

 

3. การตั้งราคาต้องเหมาะสม 

การกำหนดราคาของหนึ่งสิ่งควรมีการคำนวณอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้คุ้มค่าใช้จ่ายทางตรงและค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่เกิดขึ้นรอบด้าน

  • ไม่ควรเริ่มจากราคาที่ต่ำสุดจนเสี่ยงต่อการขาดทุนหรือสูงสุดจนขายไม่ได้
  • หากเป็นสินค้าตามกระแสนิยม (Seasonal Peak) มักมีการบวกเปอร์เซ็นต์กำไรไว้สูงในช่วงแรก เพื่อชดเชยในช่วงที่สินค้าล้าสมัย
  • ถ้าเป็นสินค้าที่ต้องใช้เป็นประจำหรือซื้อบ่อย (Convenience Goods) หาได้ง่ายและมีการแข่งขันกันมาก อาจบวกเปอร์เซ็นกำไรให้ต่ำลง 
  • สินค้าที่ขายไม่ได้บ่อยนักหรือใช้พื้นที่วางสินค้ามาก จำต้องบวกเปอร์เซ็นต์กำไรไว้สูง
  • ถ้าเป็นสินค้าที่จับกลุ่มผู้ซื้อที่มีฐานะดี ก็จะบวกเปอร์เซ็นต์กำไว้สูงเกินกว่าสินค้าที่ผู้ซื้อมีฐานะยากจน

 

4. การทำงานเป็นทีมคือสิ่งสำคัญ

ในการสร้างธุรกิจจำเป็นต้องใช้ทักษะความรู้ความชำนาญจากคนหลายกลุ่มความรู้ การทำอะไรตัวคนเดียวไปทุกอย่าง นอกจากจะไม่สามารถทำออกมาให้ดีที่สุดแล้ว ยังจะทำให้พลาดโอกาสในการใช้เวลาที่มีไปคิดต่อยอดบริหารกิจการ วางแผนกลยุทธ์ในด้านอื่น ดังนั้นทีมทำงานที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจ

 

5. คิดถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับมากกว่าเงินที่จะได้จากลูกค้า 

การยึดสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับจากสินค้าเป็นที่ตั้งมากกว่าการคาดหวังเรื่องเงินหรือผลกำไรที่จะได้ อาจนำมาซึ่งฐานลูกค้าอันเหนียวแน่น และทำให้ลูกค้าเดินเข้าหาแทนการที่เราต้องวิ่งไล่ตามลูกค้า เพราะลูกค้าจะสามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งที่พวกเขาได้รับนั้นดีหรือไม่

 

6. ตุนเงินสำรองในการทำธุรกิจอย่างน้อย 6 เดือนแต่จะให้ดีควรมีสัก 1 ปี

การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ อาจไม่ได้นำมาซึ่งผลกำไรหรือยอดขายตามที่หวัง เนื่องจากยังใหม่ต่อตลาด กว่าลูกค้าจะรู้จัก วางใจ ให้การยอมรับ อาจต้องใช้เวลาและการยืนหยัดที่ยาวนานจนลูกค้าเกิดความคุ้นชิน และเห็นว่าธุรกิจมีความมั่นคงน่าเชื่อถือ จนเกิดความเชื่อมั่นในธุรกิจและนำมาสู่การเข้าหาสินค้าอย่างวางใจ

 

7. แผนสำรองต้องมี เพราะทุกการลงทุนคือความเสี่ยง 

ควรมีแผน 2-3-4 สำรองไว้เสมอ ก่อนจะเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจอะไรต้องทำความเข้าใจให้ได้ด้วยว่า ได้ก้าวขาเข้ามายืนอยู่บนความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่จุดที่แย่ที่สุด (The worst point) ด้วย เพื่อเตรียมแผนการรับมือ อย่าคิดแต่ในทางที่จะได้เพียงอย่างเดียว มิเช่นนั้นจะสะดุดล้มแล้วหายไปแทนที่จะลุกขึ้นได้ใหม่ ในแนวทางที่ดีกว่าเดิม

 

 

Published on 10 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย



บทความแนะนำ

รายชื่อผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุน (PP-SME)

โครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุน (PP-SME) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นโครงการส่งเสริมให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุนได้มากขึ้น โดยสามารถขายหุ้นและหุ้นกู้แปลงสภาพได้ต่อบุคคลในวงจำกัด โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตกับสำนักงาน ก.ล.ต

โดยผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://www.smeone.info/posts/view/4825

รายชื่อกิจการ (นิติบุคคล) ที่ผ่านการลงทะเบียนทั้งหมด ณ เดือนสิงหาคม 2567 ดังนี้

  1. โฮมเฮิร์บ 2020
  2. ฮอร์แกไนซ์
  3. นิว สเต็ป เอเชีย
  4. บุญชยะสมบัติ
  5. ทูพีบีเอ็น ฟู้ด
  6. วัลแคน โคอะลิชั่น
  7. ด็อกเตอร์โซล(ไทยแลนด์)
  8. ตรังประดิษฐ์ไม้ วู้ดส์ แอนด์ เฟอร์นิเจอร์
  9. แม่ทมของอร่อย
  10. ดี ไนน์ตี้ แคปปิตอล
  11. โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง
  12. สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น
  13. สมาร์ทคอนแทรคท์ (ไทยแลนด์)
  14. แนบโซลูท
  15. อีเว้นท์ ป็อป
  16. นาสเกต รีเทล
  17. อภิวานิช ครีเอชั่น
  18. ดิวเทค
  19. ค็อบ เทคโนโลยี
  20. คิว บ็อคซ์ พอยท์
  21. เก็ทลิงส์ (ไทยแลนด์)
  22. รีคัลท์ (ประเทศไทย)
  23. เทรคอน (เว็บไซต์)
  24. ฟลิง
  25. ครีเอท โซลูชั่น เซ็นเตอร์
  26. 10 บิต เดเวลอปเมนต์
  27. เวนิวอี
  28. นอร์วิส
  29. เทเลเมดิก้า
  30. โพลาร์ แบร์ มิชชั่น
  31. บิลมีเวนเจอร์
  32. ฮับบา
  33. คอนโดไทย
  34. เฮลท์ แอท โฮม
  35. เอสซี สปาร์ค โซลูชั่น
  36. จูซอินโนฟเอท
  37. ชีวีบริรักษ์
  38. โนวา กรีน เพาเวอร์ ซิสเท็ม
  39. กอล์ฟดิกก์
  40. ฉลาด อินโนเวชั่น
  41. คลาวด์คอมเมิร์ซ
  42. เพ็ท พอว์
  43. โฮมดอทเทค
  44. อีทราน (ไทยแลนด์)
  45. ไฟว์ลูป
  46. คิว คิว (ประเทศไทย)
  47. ฟาสต์เวิร์ค เทคโนโลยีส์
  48. ซีคสเตอร์
  49. ดับเบิ้ลยู สมาร์ท (ประเทศไทย)
  50. เปื้อนฝุ่น
  51. เอสเอ็มอี มอล
  52. โกลบอล ฟินเทค
  53. เอเซีย แปซิฟิค อีโคโนมิค ฟาวน์เดชั่น
  54. แอล2อาร์
  55. สตอเรจ เอเชีย
  56. วอนเดอร์ (ไทยแลนด์) 
  57. บีเคเค ออริจินัล
  58. ครีเดน เอเชีย
  59. แฮป (ประเทศไทย)
  60. เอสพีอาร์ ฟู๊ด อินดัสทรี
  61. เพื่อนแท้ ลิสซิ่ง
  62. ช่างไทยมือโปร
  63. บนกองเงินกองทองแอ๊คเคาท์ติ้ง
  64. คอร์แล็บ โกลบอล
  65. คัมปรา โฮลดิ้ง
  66. บริษัท คาริเบอร์
  67. โพสิทิฟ กรุ๊ป
  68. อินเตอร์บิซ (ประเทศไทย)
  69. ทีเคโอ โบร
  70. ที ดับบลิว ซี โมดูลาร์
  71. สยาม เค พี ที
  72. คอร์ปจูริสท์
  73. วี เชฟ (ประเทศไทย)
  74. 945 โฮลดิ้ง
  75. เวิร์คกิ้ง
  76. อาวาลอน นูทรีมาร์ท
  77. กราวน์บิสซิเนส
  78. สหเศรษฐสิริ อินเตอร์เนชั่นแนล
  79. เอชจี โรโบติกส์
  80. หนึ่งศูนย์เก้า
  81. ไอดา เมดิคอล
  82. เพอร์เซพชั่น โค้ดส์
  83. เทคซอส มีเดีย
  84. ดิ ออมเลต
  85. ทิพวัติเทรด
  86. ฟาร์ม่าเฮอร์เบิล
  87. ฏีม เอนเตอร์ไพรส์
  88. เอ็น.ดับเบิลยู.ไฟน์เนสท์ โพรดักส์
  89. สวิฟท์ ไดนามิคส์
  90. สปีดี้แคช
  91. ออร์ก้าฟีด
  92. นอร์ทเทิร์น ไบโอแก๊ซ
  93. ยูทิลิตี้ แมเนจเมนท์
  94. ซีควัน โฮลดิ้ง
  95. เอโวลูชั่น เพย์เมนต์ กรุ๊ป
  96. เมคเซนด์ เอ็กซ์เพรส
  97. โบฟี่
  98. นิภา เทคโนโลยี
  99. ควิกฟิต รีเทล
  100. ฟินไดซ์ เอ็ดดูเคชั่น
  101. ไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป
  102. เมชิยะ
  103. กรีนเอิร์ธ อินโนเวชั่น
  104. อินโฟแอสโซซิเอท
  105. อูรัก อันดา
  106. ทีเอสที เมทัลเวิร์ค
  107. ทรัพย์วารี คอนสตรัคชั่น
  108. เอ็ม โปร เซอร์วิส
  109. ภคสพร อินเตอร์เนชั่นแนล
  110. เวอร์ทาซอฟท์
  111. ทรัพย์หิรัญ รีซอร์ส
  112. เอมวัน (ประเทศไทย)
  113. สกาน่า เอ็นจิเนียริ่ง
  114. ชิเซ็นเคม (ประเทศไทย)
  115. อีไอบิซ
  116. จีเอสบี อินเตอร์เนชั่นแนล
  117. อาร์มสตรอง เทคโนโลยี
  118. พาวเดอร์ บั๊กส์ (ประเทศไทย)
  119. เอ.บี.โปร เอ็กซ์เพรส โลจิสติกส์
  120. เวอร์ทูอาร์ช
  121. มัมมี้ลิเชียส ทเวนตี้โฟร์
  122. อินโวสตาร์
  123. สินทรัพย์เนื่องวงษา
  124. เมกะคลินิค
  125. ซอฟต์เบอร์รี่
  126. ณินทร์จินดา เบเกอรี่
  127. โนเบล อินดัสทรี่
  128. วาวา อินโนเวชั่น กรุ๊ป
  129. เกษตรศิวิไลซ์ (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
  130. เป็นเอก ควอลิตี้ออยล์
  131. นิว พาราไดม์
  132. ไทยแซนด์บ็อกซ์
  133. แอ็คโคเมท
  134. เมดเมติก
  135. โชคนำชัย ออโต้เพรสซิ่ง
  136. มาร์ยอง
  137. เครื่องปั่นไฟพลังใจไทย
  138. โอ โฮ แคปปิตอล
  139. เดอะเฟิสท์เอฟโวลูชั่น
  140. พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม
  141. บนกองเงินกองทอง
  142. มั่งมี อีคอมเมิร์ซ
  143. เกรทเตอร์ แอสเซท
  144. บ้านโป่ง โนวิเทท
  145. ที แอนด์ ที โอเพนนิ่ง
  146. เอทรู เทรดดิ้ง บิชิเนส
  147. คุณเก๋ ขนมหวาน
  148. ฟาสซายเนท อินโนเวชั่น
  149. เอ็มอาร์ซี เจริญเคมีคอล
  150. อีวีพี เนทเวิร์ค
  151. เสิร์ชเอ็นจินอ็อปทิไมเซชั่น
  152. ณัฐ บิวดิ้ง 
  153. กรีนเทค อินโนเวชั่น กรุ๊ป
  154. โฟลเอเวอร์ (ไทยแลนด์)
  155. พูนพูนด้วยใจยินดี
  156. ไอ-ซีวาย ชยา
  157. ภูเก็ต เป๋าฮื้อ ฟาร์ม
  158. โกโค่ แบงค็อก
  159. ชมชอบกรุ๊ป
  160. อุ๊คบี
  161. ไมนีด เทคโนโลยี
  162. ดิจิตอล แอสโซซิเอทส์
  163. ซังกะ กรุ๊ป
  164. แก้วแรก
  165. บ้านใบไม้ มิวสิคเฮ้าส์ แอนด์ แดนซ์
  166. กรีน อรัญญา
  167. มันนี่โฟล

สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smeone.info/posts/view/4825

ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ คลิก!!

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันและเวลาทำการ โทร. 02-263-6232, 02-033-9520, 02-298-3171

หรือทางอีเมลที่ : sme@sec.or.th , info@sme.go.th 


SMEONE “เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย”

บทความแนะนำ

เจ๊เตียงข้าวเหนียวมะม่วง ต่อยอดกิจการครอบครัวอย่างไรให้กลายเป็นจุดเปลี่ยน

ต่อยอดกิจการครอบครัวอย่างไรให้กลายเป็นจุดเปลี่ยน

เคยสังเกตไหมว่ากิจการครอบครัวจำนวนไม่น้อยที่เราเห็นๆ กัน เปิดมา 50-60 ปี เปลี่ยนถ่ายจากรุ่นสู่รุ่นแล้วก็ยังดำเนินธุรกิจกันแบบเดิมๆ ด้วยความเคยชิน แล้วก็อยู่กันแบบนั้น ยิ่งนานวันยิ่งเหมือนต้นไม้ที่แคระแกรน รอวันร่วงโรยไปตามกาลเวลา

ในทางกลับกัน เราจะเห็นว่ากิจการครอบครัวที่เติบโตงอกเงยแผ่กิ่งก้านสาขาจนกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ ปัจจัยสำคัญมาจากการสร้างจุดเปลี่ยนให้กับธุรกิจ โดยอาศัยความได้เปรียบจากการวางฐานธุรกิจจากรุ่นพ่อ เสมือนระบบรากใต้ดินที่แข็งแรง มาต่อยอดในช่วงเปลี่ยนผ่านของรุ่นลูก โดยนำเอาโนว์ฮาวความรู้ที่ร่ำเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  

เหมือนอย่าง คุณสุภลัคน์ พูลเสถียร หรือนุ่น ทายาทรุ่นที่ 3 ของ “ข้าวเหนียวมะม่วงเจ๊เตียง” ที่ทำให้ข้าวเหนียวมะม่วงที่บุกเบิกมาจากรุ่นปู่ในจังหวัดชุมพรเมื่อ 40 ปีก่อน มาไกลกว่าเดิมในฐานะข้าวเหนียวมะม่วงที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศ 

จุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มาจาก “ความตั้งใจ” ที่อยากจะยกระดับให้ข้าวเหนียวมะม่วงเจ๊เตียงในรุ่นพ่อที่ขายตามตลาดนัด ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ด้วยการเข้าสู่แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีตั้งแต่ปี 2558 โดยในตอนแรกนั้นยังไม่มีสาขาหน้าร้าน 

คุณนุ่นรู้ดีว่า การเป็นข้าวเหนียวมะม่วงเจ้าแรกๆ ที่บุกเบิกขายในช่องทางดังกล่าว จำเป็นต้องหารูปแบบการขายที่เหมาะกับการสั่ง และการจัดส่ง ซึ่งประสบการณ์การตระเวนขายข้าวเหนียวมูล และปอกมะม่วงขายด้วยตัวเองตามตลาดนัดออฟฟิศทั่วกรุงเทพฯ ทำให้คุณนุ่น มองเห็นพฤติกรรมลูกค้าที่อาศัยอยู่ในเมืองว่าชอบหรือไม่ชอบมีอะไร นิยมปริมาณการกินแบบไหน นั่นจึงเป็นที่มาของการออกแบบเซ็ตของข้าวเหนียวมะม่วงออกเป็นไซส์ เป็นเจ้าแรกของตลาด โดยแบ่งออกเป็น 3 ไซส์ S M L ตามประเภทของลูกค้า

S ข้าวเหนียว 1 ขีด มะม่วงครึ่งลูก ราคา 50 บาท จับกลุ่มผู้หญิงที่อยู่บ้านคนเดียว หรืออยู่ในออฟฟิศต้องการกินมะม่วง แต่กลัวอ้วน   

M ข้าวเหนียว 2 ขีด มะม่วง 1 ลูก ราคา  80 บาท จับกลุ่มลูกค้าทั่วไปจำนวน 1-2 คน

L ข้าวเหนียว 4 ขีด มะม่วง 2 ลูก ราคา 150 บาท จับกลุ่มครอบครัว

ในเวลาเดียวกัน ก็ใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้า พร้อมสร้างคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ โดยในช่วงแรกจะแนะนำว่าแต่ละไซส์เหมาะกับการกินแบบไหน หรือเหมาะกับใคร เรียกได้ว่าเป็นการ Educate ตลาดเพื่อให้ลูกค้าสั่งซื้อได้อย่างเหมาะสม และชี้ให้เห็นถึงความสะดวกสบาย สั่งซื้อได้จากบ้านหรือออฟฟิศได้เลย 

ปรากฏว่าไซส์ S เป็นไซส์ที่ขายดีที่สุด เพราะนอกจากจะรองรับกลุ่มลูกค้าคนเดียวแล้ว ยังเป็นที่นิยมสำหรับคนที่นำไปจัดอาหารว่างในงานประชุมสัมมนา งานเลี้ยง หรือถวายพระ

ไม่เพียงเท่านั้น คุณนุ่นยังมองหา “ความแตกต่าง” ให้กับธุรกิจของเธอต่อไป ด้วยการใช้แพ็กเกจจิ้งกระดาษ เจาะกลุ่มตลาดที่ให้ความสำคัญกับโลกร้อน หากลูกค้าสั่งในปริมาณมากก็ยิ่งมีส่วนช่วยลดการใช้พลาสติก

แต่ลำพังแค่ข้าวเหนียวมะม่วงเป็นเซ็ต S M L และกล่องรักษ์โลกคงไม่สามารถเรียกความสนใจจากลูกค้าได้มากพอ ต่อมาไม่นาน จุดเปลี่ยนของกิจการครอบครัวก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อเธอใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาจากสายท่องเที่ยวและโรงแรม นำมาต่อยอดจนสร้างความแตกต่างให้กับข้าวเหนียวมะม่วงทั่วไป ด้วยการการแกะสลักมะม่วงให้กลายเป็นโปรดักท์ใหม่ “เค้กข้าวเหนียวมะม่วง” เป็นเจ้าแรกของตลาด และกลายเป็นแบรนด์ที่โด่งดังมากในโลกโซเชียล 

เพราะเค้กข้าวเหนียวมะม่วงเป็นการขยายตลาดไปสู่ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่ซื้อไปจัดงานเลี้ยง และด้วยรูปลักษณ์ของสินค้าที่ใช้ข้าวเหนียวมูลรองเป็นฐานเหมือนเค้กก้อนกลมๆ และมีมะม่วงรูปดอกกุหลาบอยู่ข้างบน ความแปลกใหม่ดังกล่าวทำให้ลูกค้านำไปโพสต์ลงโซเชียล และส่งผลให้แบรนด์ข้าวเหนียวมะม่วงเจ๊เตียงกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นกว่าเดิม

และปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เค้กมะม่วงของข้าวเหนียวเจ๊เตียงแจ้งเกิดตลาดได้อย่างรวดเร็ว มาจากการตั้งราคาที่ไม่แตกต่างจากเค้กขนมปังทั่วไป นั่นคือ 1 ปอนด์ 350 บาท 2 ปอนด์ 450 บาท และ 3 ปอนด์ 580 บาท

เสียงตอบรับที่ดีจากตลาด ทำให้คุณนุ่นตัดสินใจเปิดร้านข้าวเหนียวมะม่วงเจ๊เตียงในย่านสุทธิสาร ต่อมาได้ขยายสาขาเพิ่มเติมในย่านรังสิต และในปี 2564 คุณนุ่น มีแผนที่จะขยายช่องทางการจำหน่ายผ่านรูปแบบแฟรนไชส์ โดยในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเซ็ตระบบเพื่อรักษามาตรฐานข้าวเหนียวเจ๊เตียงให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกับสาขาใหญ่


มาถึงอีกตัวอย่างหนึ่ง “ร้านแม่นงนุช” ซึ่งเป็นร้านข้าวเหนียวมะม่วงเหมือนกัน และสามารถต่อยอดกิจการครอบครัวให้เติบโตขึ้นได้เช่นเดียวกัน
โดยชูจุดขายความเป็นสินค้าโฮมเมดจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายมาเป็นร้านข้าวเหนียวมะม่วงชื่อดังของหัวหิน ที่ใครมาเยือนต้องแวะเช็คอินทุกครั้ง โดยมีคุณอัจนิริยา ศิลปะสุนทร์ ซึ่งผันตัวเองจากงานพีอาร์ ออแกไนซ์มาสานต่อกิจการของคุณย่าเป็นเจ้าของกิจการร้านแม่นงนุชในรุ่นที่ 3

คุณอัจนิริยา กล่าวว่าวิธีที่จะต่อยอดกิจการครอบครัวให้เติบโตมากกว่าเดิมได้นั้น เธอเริ่มต้นจากการรักษาคุณภาพความอร่อยให้ได้ก่อน เพื่อให้ลูกค้ายอมรับว่าแม้จะเปลี่ยนมือมาสู่ทายาทรุ่นใหม่แล้ว แต่รสชาติไม่เปลี่ยนแปลงจากรุ่นบุกเบิก ถือเป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีกับแบรนด์ เป็นจุดตั้งต้นให้ธุรกิจต่อยอดไปทำอะไรอื่นได้อีกมากมายในอนาคต โดยต่อมาได้ขยายโปรดักท์ขนมหวานอื่นๆ และอาหารคาว อาทิ น้ำพริกมะยม น้ำพริกมะขามสด ม้าฮ่อ และข้าวตัง เป็นต้น

สิ่งที่ทำให้ร้านแม่นงนุชสามารถรักษาฐานลูกค้าเก่า และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ได้อย่างต่อเนื่องนั้น การทำตลาดก็เป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยในระยะแรกคุณอัจนิริยา นำประสบการณ์ด้านการทำพีอาร์มาสร้างแบรนด์ร้านแม่นงนุช ด้วยการเปลี่ยนถุง จากเดิมเป็นถุงกระดาษสีชมพูที่ใช้ใส่ขนมหม้อแกง มาเป็นถุงสีน้ำตาล พร้อมเปลี่ยนโลโก้ตัวอักษรแม่นงนุชให้เป็นฟ้อนท์ลายมือเพื่อสะท้อนความเป็นสินค้าโฮมเมด ต่อมาได้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกับลูกค้า นอกจากแนะนำเมนูต่างๆ แล้วยังสร้างคอนเทนต์ที่บ่งบอกถึงสตอรีของร้านแม่นงนุชว่าเป็นร้านข้าวเหนียวมะม่วง 80 ปีในตำนานคู่เมืองหัวหิน

การรักษามาตรฐานด้านรสชาติและความอร่อยจนกลายเป็นร้านขนมในตำนานของหัวหินนี่เอง ทำให้ในระยะหลังมานี้มีพันธมิตรหลายรายอย่างดีแทค และแสนสิริ เข้ามาร่วมทำกิจกรรมการตลาดกับร้านแม่นงนุช เท่ากับเป็นการขยายฐานลูกค้าให้กว้างออกไปจากเดิม

แต่จำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นนั้น คุณอัจนิริยา กล่าวว่ายังไม่มีแผนเพิ่มสาขา เพราะต้องการให้ร้านแม่นงนุชแห่งนี้ยังคงเป็นร้านโฮมเมดต่อไป 

อย่างไรก็ดี ในฐานะทายาทรุ่น 3 ของร้านแม่นงนุช ทิ้งท้ายว่าการสานต่อกิจการครอบครัวนั้นไม่ว่าจะผ่านไปกี่รุ่นก็สามารถสร้างจุดเปลี่ยนให้เติบโตได้ หากทายาทรุ่นปัจจุบันหาจุดแข็งของคนรุ่นก่อนให้เจอแล้วนำมารักษาให้ได้ตามมาตรฐานเดิม จากนั้นพยายามหาอะไรใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจเข้าไปในธุรกิจ อย่าหยุดพัฒนาสิ่งที่ดีให้ดีขึ้นไป ก็จะทำให้กิจการขยายตัวต่อไปได้ไม่ยาก 

 

 

Published on 3 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ