
ในยุคที่ Technology/ Digital ได้ปฏิวัติและสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SME ที่สิ่งนี้มีทั้งสร้างโอกาส ความท้าทาย แต่อีกจำนวนไม่น้อยก็กลายเป็นอุปสรรคจนธุรกิจสะดุด !!
ดังนั้นเพื่อให้ SME สามารถดำเนินธุรกิจให้เติบโตท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จึงได้ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ดำเนินการศึกษา “แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ SME” ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและขับเคลื่อนแผนการส่งเสริม SME”
ผศ.ดร.สันติ เจริญพรพัฒนา หัวหน้าโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดเผยว่า จากการศึกษาผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายที่ครอบคลุมธุรกิจที่มี SME เป็นจำนวนมาก ได้แก่ 1) ธุรกิจร้านอาหาร-เครื่องดื่ม 2) ธุรกิจโรงแรม-ที่พัก 3) ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก และ 4) ธุรกิจขนส่ง-สถานที่เก็บสินค้า พบว่า ปัญหาสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี มีตั้งแต่ตัวผู้ประกอบการเอง ที่มีความกังวลเรื่องเงินลงทุน ขาดความรู้และกลัวความยุ่งยากในการใช้เทคโนโลยี ขณะที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วจนตามไม่ทัน หรือแม้จะมีเทคโนโลยีให้ใช้ฟรีแต่ SME ไม่สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับตัวเองได้ และอีกด้านที่สำคัญคือ Ecosystem ของประเทศไทย ไม่ทันต่อการถูก Technology Disrupt ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงขาดแหล่งรวบรวมความรู้และเทคโนโลยีเพื่อให้ SME เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สะดวก
“ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริม SME ให้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจในระดับที่เหมาะสมกับตัวเอง มีตั้งแต่เรื่องความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมทางธุรกิจซึ่งรวมถึงความจำเป็นในการเลือกใช้หรือพัฒนาเทคโนโลยี ความรู้ทักษะของผู้ประกอบการ และนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมสนับสนุน”
โดยความสามารถของผู้ประกอบการ ที่สะท้อนได้จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่ม New User หรือกลุ่มใช้เทคโนโลยีหน้าใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยี เช่น เครื่องมือออนไลน์เพื่อติดต่อกับลูกค้าแต่ยังขาดความรู้ในการเลือกใช้ให้เข้ากับธุรกิจ
2) กลุ่ม Tech Shopper หรือกลุ่มที่มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถเลือกซื้อเทคโนโลยีมาใช้งานตามความต้องการได้ ขณะเดียวกันมี Tech Provider และเทคโนโลยีมาตรฐานพร้อมใช้งาน ขายในท้องตลาด
3) กลุ่ม Tech Customization หรือกลุ่มที่สามารถพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับธุรกิจ เป็นต้นแบบให้ธุรกิจที่คล้ายกัน นำไปปรับใช้ได้ แต่ยังต้องการความช่วยเหลือในระยะเริ่มต้น และ
4) กลุ่ม Tech Innovation หรือกลุ่มผู้พัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อตอบความต้องการทางธุรกิจด้วยตนเอง จนกลายเป็นเจ้าของ Technology หรือ Platform ที่ให้คู่ค้าหรือลูกค้ามาใช้งาน หรือสามารถขายเป็น Tech Solution ให้รายอื่นได้
ดังนั้น แนวทางการส่งเสริม SME ให้นำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ ก็ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับความสามารถของผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม ซึ่งโดยภาพรวมของการสนับสนุน ส่งเสริม ควรมีตั้งแต่ สนับสนุนเงินลงทุนในลักษณะ Voucher ด้านเทคโนโลยี หรือสนับสนุนซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เช่น ระบบบัญชี การบริหารจัดการ ฯลฯ เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ สร้าง Cluster ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยี SME อย่างเบ็ดเสร็จ สร้างแพลตฟอร์มให้เกิดการจับคู่ระหว่าง SME กับ Service Provider ผู้ผลิตและจำหน่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาให้เกิด tTAP (Technology Assistance Program) เพื่อเป็นอีกช่องทางในการสนับสนุนทางการเงินด้านเทคโนโลยีสำหรับ SME ที่มีเงื่อนไขยืดหยุ่นกว่าเดิม (Finance scheme for Technology SME) จัดทำแผนการลงทุนในรูปแบบของ Matching Fund และ Performance Sharing ร่วมกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ สร้างกลไกสนับสนุนด้วย Expert Team Mentoring และมีมาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับผู้บริโภค เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ สสว. จะนำไปเป็นข้อมูลการจัดทำแนวทางหรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริม SME ต่อไป
Published on 18 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : สื่อสังคมออนไลน์ ใช้โปรโมทร้านและสินค้าอย่างไรให้ติดตลาด
อ่านเพิ่มเติม : https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/sme-promote-product-in-social-media.html
สื่อสังคมออนไลน์ กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้ประกอบการในการเพิ่มช่องทางเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง และสร้างการรับรู้ให้กับตัวแบรนด์มากยิ่งขึ้น ด้วยข้อดีของสื่อสังคมออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในจำนวนมาก สามารถโต้ตอบกันได้ทันที รู้ฟีดแบ็กของสินค้าว่าเป็นเช่นไร จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ประกอบการในยุคปัจจุบันไม่ควรมองข้ามการทำการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์มีหลากหลายแพลตฟอร์ม ผู้ประกอบควรคิดให้ถี่ถ้วนว่าควรนำเสนอเนื้อหาผ่านแพลตฟอร์มเหล่านั้นอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด ซึ่งแต่ละสื่อสังคมออนไลน์จะมีวิธีโปรโมทสินค้าที่ขายอยู่อย่างไรให้ติดตลาดเป็นที่พูดถึงมาดูกันเลย
ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2562 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) พบว่าคนไทยนิยมขายของผ่านทางเฟซบุ๊ก คิดเป็นสัดส่วนถึง 64% โดยให้เหตุผลว่าเป็นช่องทางที่ง่ายที่สุด สำหรับผู้ประกอบการสามารถนำเสนอสินค้าด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งแบ่งหัวข้อได้ดังต่อไปนี้
- สร้างความเชื่อมั่นและสร้างตัวตน ด้วยการหมั่นโพสต์รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าบ่อย ๆ โต้ตอบกับคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นบนเพจของร้าน
- การขายสินค้าผ่านทางเฟซบุ๊กเป็นการสื่อสารด้วยการใช้ตัวอักษรเป็นส่วนใหญ่ จึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องของบทความเป็นอย่างมากว่าจะมีวิธีการนำเสนออย่างไรให้น่าดึงดูดใจลูกค้า
- รูปภาพสินค้าที่ใช้ประกอบก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน รูปภาพสินค้าควรมีความใกล้เคียงกับสินค้าจริงมากที่สุด เพื่อป้องกันเรื่องร้องเรียนที่จะสร้างความเสียหายให้กับแบรนด์ตามมาภายหลัง อย่าลืมใส่โลโก้แบรนด์ หรือลายน้ำเข้าไปในรูปภาพด้วย จะได้เป็นการสร้างรับรู้ว่าเป็นสินค้าจากแบรนด์ของเรา
- ลองใช้เฟซบุ๊ก มาร์เก็ตเพลส (Facebook Marketplace) พื้นที่ให้โพสต์ขายสินค้าได้แบบฟรี ๆ หรือลองสร้างกลุ่มขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกสามารถรับรู้เรื่องราวของสินค้าที่ขายอยู่โดยตรง เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
- อย่าลืมจัดโปรโมชั่น โดยอาจจะมอบส่วนลดให้กับลูกค้ารายใหม่ เมื่อซื้อสินค้าตามราคาที่กำหนด รวมถึงการแชร์โพสต์โปรโมชั่นเพื่อรับส่วนลดพิเศษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ตรงที่เป็นการโปรโมทสินค้าให้ผู้อื่นที่ยังไม่รู้จักแบรนด์ได้เห็น
แพลตฟอร์มที่นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ มีแนวโน้มที่จะถูกนำมาใช้เพื่อโปรโมทสินค้ามากขึ้น ยังมีข้อมูลว่ากลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระบุว่าการทำวิดีโอช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีแนวโน้มที่จะมาเป็นลูกค้าของร้านในที่สุด ผู้ประกอบการสามารถใช้ไอเดียสร้าเนื้อหาวิดีโอคุณภาพขึ้นมาที่มีความสอดคล้องกับสินค้า ดังต่อไปนี้
- ทำวิดีโอรีวิวสินค้า เป็นการโฆษณาสินค้าอีกทางหนึ่งให้กับกลุ่มผู้ที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของแบรนด์ให้รู้จักกับสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสให้พวกเขาเหล่านี้ได้กลายมาเป็นลูกค้าต่อไปในอนาคต
- หากเป็นสินค้าที่ต้องมีขั้นตอนการใช้งานที่ซับซ้อน เช่น เครื่องมือเกี่ยวกับเทคโนโลยี การทำวิดีโอวิธีสอนการใช้งานก็จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจขั้นตอนได้ง่ายขึ้น
- ทำวิดีโอถาม-ตอบเกี่ยวกับสินค้า รวบรวมคำถามที่มักเจอบ่อยเวลาขายสินค้า มาทำวิดีโอเพื่อคลายข้อสงสัยให้กับลูกค้า
แพลตฟอร์มที่มีจุดเด่นในเรื่องการนำเสนอรูปภาพที่สวยงาม เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับผู้ประกอบการที่จะขายสินค้า โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ ที่เน้นความสวยงามของสินค้าเป็นหลัก
ข้อควรรู้สำหรับผู้ประกอบการที่จะขายสินค้าผ่านอินสตาแกรม คือ
- ควรเลือกสมัครบัญชีประเภทธุรกิจ ซึ่งออกแบบมาเพื่อขายสินค้าโดยเฉพาะ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีสถิติวิเคราะห์ เช่น จำนวนคนติดตาม, จำนวนคนเข้าถึงโพสต์, จำนวนครั้งที่มีการโพสต์ ให้ผู้ประกอบการนำไปพัฒนาในงานขายให้ดียิ่งขึ้น
- ควรให้ความสำคัญกับความสวยงามของรูปภาพเป็นที่สุด จัดวางตำแหน่งของสินค้าที่ดูโดดเด่น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้ที่มักจะสะดุดตาดูรูปภาพที่มีความสวยงาม
- สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้วให้ถ่ายรูปพร้อมกับติดแท็กของแบรนด์ ซึ่งเปรียบเหมือนกับการรีวิวสินค้า สร้างการรับรู้ให้เป็นที่รู้จักกับผู้พบเห็น หากสินค้าถูกใจพวกเขาก็จะกดเข้ามาตรงแท็กเพื่อเข้ามาดูผู้ประกอบการมีสินค้าอะไรบ้าง ซึ่งวิธีนี้เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่หลายแบรนด์ใช้กันเวลาโปรโมทสินค้าผ่านอินสตาแกรม
แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่กำลังมาแรงทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งล่าสุดมีบริการใหม่ที่เรียกว่า ติ๊กต็อกเพื่อธุรกิจ (TikTok For Business) สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถโปรโมทสินค้าสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
- ติ๊กต็อกถูกออกแบบมาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งเหมาะกับการทำการตลาดของผู้ประกอบการที่จะสร้างสรรค์ไอเดียตามแบบฉบับของตัวเอง
- ด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มด้านความบันเทิง วิดีโอที่ทำออกมานั้นต้องมีความไม่เหมือนใคร โดยอาจจะนำลูกเล่นที่มีของติ๊กต็อก เช่น การร้องเพลง การเต้นตามจังหวะเพลง หรือการลิปซิงบทสนทนา มาใช้ให้เกิดประโยชน์
- การสร้างชาเลนจ์เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นทำตาม โดยอาจจะสอดแทรกสินค้าเข้าไปเพื่อโปรโมท ช่วยสร้างการรับรู้ออกไปในวงกว้าง
Published on 18 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
SOS เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นรูปแบบ Multi-Brand Store ที่เกิดจากผู้ก่อตั้ง 4 คน คือ วิภาดา วงศ์สุรไกร, ทรัพย์สิทธิ์ ดำรงรัตน์, ณัชชารีย์ กิจวิริยะธนโชติ และยุกต์ ส่งไพศาล ที่มองเห็นช่องว่างทางการตลาดของร้านขายเสื้อผ้าขนาดเล็กที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงได้รวบรวมเงินทุนและเปิดร้าน SOS ขึ้นมาเป็นครั้งแรกที่สยามสแควร์ ซอย 1 ในปี พ.ศ. 2558
SOS ย่อมาจากคำว่า Sense of Style ถือเป็นร้านค้าสินค้าแฟชั่นรูปแบบใหม่ที่มีจุดขาย คือการรวบรวมแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังบนโลก Online มาไว้ในร้าน Offline แบบที่วงการค้าปลีกเรียกว่า O2O หรือ Omni Chanel
ในวันที่ทั้ง 4 คนตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจ พบว่ามีแบรนด์ร้านค้าออนไลน์ตัดสินใจเข้าร่วมเพียง 30 แบรนด์ จากการติดต่อไปไม่น้อยกว่า 60 แบรนด์
ณัชชารีย์ กิจวิริยะธนโชติ หรือคุณบุ๊ค หนึ่งในผู้ก่อตั้ง เล่าให้ฟังว่า ช่วงแรกของการเดินสายอธิบายแนวคิดของร้านค้ากับผู้ประกอบการที่ขายเสื้อผ้าออนไลน์ให้มาจำหน่ายในร้านเป็นเรื่องที่ยากลำบากแต่เพราะความเชื่อมั่นในสิ่งที่คิดในวันนั้น SOS ในวันนี้จึงมีสาขามากถึง 10 สาขา มีแบรนด์สินค้าที่วางจำหน่ายในร้านมากถึง 500 แบรนด์ในระยะเวลาเพียง 5 ปี
ไปที่ จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ
ไปที่ ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ
ไปที่ Key Success ของธุรกิจ
ไปที่ คำแนะนำที่มีต่อ SME หรือผู้ประกอบการที่สนใจอยากทำธุรกิจด้านนี้
SME ONE : จุดเริ่มต้นของร้าน SOS มาจากอะไร
คุณณัชชารีย์ : SOS เริ่มมาประมาณ 5 ปีที่แล้ว ตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจขายสินค้าแฟชั่นออนไลน์เริ่มได้รับความนิยม มีคนเข้ามาซื้อแบรนด์ออนไลน์มากขึ้น มีนักเรียนจบใหม่เริ่มทำแบรนด์ออนไลน์ เรียกว่ากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น แม้ว่าจำนวนแบรนด์ออนไลน์จะยังไม่มากเท่าตอนนี้ แต่ก็อยู่ในช่วงขาขึ้น แล้วเหมือนตัวบุ๊คเองและหุ้นส่วนก็เป็นคนชอบซื้อสินค้าออนไลน์ด้วย
ตอนนั้นเราเห็นปัญหาว่าการซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ไม่สามารถทดลองไซส์ได้ พอไม่ได้ลองไซส์ ก็ไม่มั่นใจว่าขนาดที่ซื้อจะตรงกับที่เราต้องการหรือเปล่า หรือถ่ายรูปโพสต์ขายแล้วของจริงมันตรงกันไหม สีจะเหมือนจริงหรือเปล่า ตัดเย็บถูกรึเปล่า หลายครั้งก็เกิดปัญหาว่าลูกค้าซื้อไปแล้วใส่ไม่ได้ ต้องส่งกลับไปกลับมา เสียค่าส่งและก็เสียเวลาด้วย
จากปัญหานี้ก็ได้แนวคิดแก้ปัญหากับเพื่อนขึ้นมาว่า ทำไมเราไม่ทำร้านขึ้นมาเอง ร้านที่เป็นเหมือนโชว์รูมของร้านค้าออนไลน์ให้ลูกค้ามาลอง ในฝั่งแบรนด์เองก็จะได้มีหน้าร้านในการให้ลูกค้าเห็นด้วย SOS จะมี Concept ที่ชัดเจนคือ Simple Luxury คือ แนวเสื้อผ้าของร้านจะมี Concept ที่เรียบหรู ทุกแบรนด์ในร้านสามารถ Mix & Match กันได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแบรนด์นี้กับรองเท้าแบรนด์นั้น หรือชุดเสื้อแบรนด์นี้กับเครื่องประดับอีกแบรนด์หนึ่ง เรียกว่าทุกแบรนด์สามารถ Mix & Match กันได้หมด
SOS เริ่มจากแค่สาขาเดียว แล้วเราก็ขยายขึ้นมาเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นแบรนด์ที่มาอยู่กับเรา สมมติแบรนด์มีลูกค้าอยู่ 50 คน ถ้าเข้ามาอยู่ในร้านเรา เขาจะได้ลูกค้าของแบรนด์อื่นด้วย เพราะว่า Concept สไตล์เสื้อผ้าคล้ายกัน จึงเหมือนได้แชร์ฐานลูกค้ากัน ได้รับการโปรโมทร่วมกัน SOS เปรียบเสมือนเป็นโชว์รูมให้ลูกค้ามาลอง ส่วนลูกค้าเองก็ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น Potential ในการขายก็จะมีสูงขึ้นตามไปด้วย
SME ONE : ตอนเริ่มทำธุรกิจมีทั้งหมดกี่คน
คุณณัชชารีย์ : แรกเริ่มเลยมี 4 คน แล้วก็เพิ่มหุ้นส่วนเพื่อขยายธุรกิจจนตอนนี้มีหุ้นส่วนเป็น 9 คน ผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 4 คน รู้จักเป็นเพื่อนกันมาก่อน แล้วก็เจอ Pain Point คล้ายๆ กัน อย่างบุ๊คเป็นคนช้อปปิ้งออนไลน์ และมีเพื่อนอีกคนหนึ่งทำแบรนด์เสื้อผ้า ทุกคนเห็นตรงกันก็เลยตัดสินใจทำร้าน SOS ตัวบุ๊คเองเรียนจบวิศวะ แต่เป็นคนรักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ชอบแต่งหน้า ชอบแฟชั่นอะไรอย่างนี้อยู่แล้ว ก็คือเป็นคนมี Passion ในเรื่องแฟชั่นมาก ๆ จริงๆ เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่เรียนปี 4 เทอมสุดท้ายแล้ว
SME ONE : จนถึงปัจจุบัน รูปแบบธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยขนาดไหน
คุณณัชชารีย์ : เปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก ตอนแรกเราแค่คิดเหมือนเด็ก ๆ ที่ทดลองหาธุรกิจทำ เราไม่ได้คิดกว่ามันจะเติบโตมาได้ขนาดนี้ คิดแค่ว่ามี 1 สาขา ไม่ได้คิดด้วยซ้ำว่าจะมีสาขาที่ 2 แต่พอมี 1 สาขา ตอนนั้นเรามีแบรนด์แค่ 32 แบรนด์ ร้านก็มีขนาดแค่ 100 ตารางเมตร ชั้นเดียว แล้วสุดท้ายลูกค้าอยากได้เสื้อผ้าเพิ่ม ตัวแบรนด์เองก็อยากที่จะเข้าร้านเราเพิ่ม ในเมื่อมันมี Demand เราก็เลยขยายสาขาไปเรื่อย ๆ
จนปัจจุบันนี้เรามีแบรนด์ร้าน 2 แบรนด์ คือ SOS กับ SENSE เป็นแบรนด์ใหม่ที่เราแตกออกมา SOS จะใช้คอนเซปต์ Simple Luxury แต่กับ SENSE จะเป็นแบบ Easy Everyday ค่อนข้างจะเน้นไปที่เสื้อผ้าที่ใส่ง่าย กว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนใส่ SOS ไม่ใส่ SENSE คนใส่ SOS จะใส่ SOS ในวันทำงานหรือวันไปเที่ยว จะใส่ Sense ในวันที่ชิลล์ ๆ เดินห้าง
ตอนนี้ SOS กับ SENSE มีสาขารวมกันทั้งสิ้น 10 สาขา บางสาขาก็มีทั้ง 2 แบรนด์ในที่เดียว SOS มีที่สยามสแควร์ ซอย 2, สยามสแควร์ ซอย 6, เทอมินอล 21 อโศก ส่วน SENSE จะมีที่ สยามสแควร์ ซอย 7, ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต, เซ็นทรัล เฟสติวัล ภูเก็ต ส่วนร้าน SOS & SENSE จะมีที่ เซ็นทรัล เวิล์ด, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, แฟชั่น ไอร์แลนด์ และ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
SME ONE : วันที่เริ่มต้นธุรกิจ 30 ร้านค้าแรกมาเจอกันได้อย่างไร
คุณณัชชารีย์ : ทางเราเป็นคนเข้าไปเชิญมาขายที่ร้าน เหมือนเราจะต้องขายจินตนาการให้เขา เราต้องฉายภาพให้เขาเห็น เพราะตอนนั้นมันแทบจะไม่มีอะไรเลย ไม่มีร้านลักษณะนี้เลย ดังนั้นเขาก็จะไม่รู้เลยว่า มันคืออะไร ต้องอธิบาย อธิบายว่าเขาจะได้อะไร แล้วเราทำอะไรให้เขา แล้วมันดีกับเขายังไงอย่างไร มันเหมือนเราขายฝันให้เขานิดหนึ่ง เพราะว่าร้านแบบนี้มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราเข้าไปขายประมาณ 60 ร้านออนไลน์ แต่มีคนที่ตัดสินใจร่วมกับเราตอนแรก 30 แบรนด์
คนที่ปฏิเสธเราก็มีทั้งเหตุผลที่ว่า เขายังไม่พร้อม แบรนด์เขาอาจจะแบบไม่ได้ใหญ่มาก คือการที่จะมาอยู่กับเรามันก็จะมีค่าใช้จ่าย เขาก็จะยังไม่พร้อม สินค้าของเขายังไม่เยอะ ส่วนหนึ่งก็เหมือนยังไม่เชื่อคอนเซ็ปต์นี้ เหมือนเขายังไม่เห็นภาพ
SME ONE : ตอนนั้นรู้สึกท้อหรือไม่ เพราะเกือบครึ่งที่ปฏิเสธ
คุณณัชชารีย์ : จริง ๆ ก็ไม่ท้อ เพราะเราก็เข้าใจเขา แต่เราก็ค่อนข้างมั่นใจในแนวคิดของเรา อย่างบุ๊คเองก็คิดว่าคอนเซ็ปต์นี้สามารถแก้ปัญหาให้ทั้งลูกค้าและให้ทั้งแบรนด์ได้ เรารู้สึกว่าแนวคิดนี้มันเป็น Tool ที่ดี เราก็มั่นใจ แต่คนเราก็ต่างความคิด แต่ ณ วันนี้ 30 ร้านที่เคยปฏิเสธเราตอนแรก ก็มาอยู่กับเราเกือบหมดแล้ว คนที่แบบปฏิเสธไปตอนสาขาแรก พอเราขยายสาขาที่ 2 และ 3 ก็มาอยู่กับเรา ส่วนที่อยู่กับเราตั้งแต่สาขาแรกก็มีแบบอยู่มาจนถึงตอนนี้
ปัจจุบันนี้เรามีแบรนด์จากร้านค้าออนไลน์มาอยู่กับเราประมาณ 500 แบรนด์ เพราะเรามี 10 สาขา
SME ONE : ตอนนี้ 500 แบรนด์ที่เข้าร่วม อยากทราบวิธีเลือกสินค้าเข้าแต่ละสาขาต้องทำอย่างไร
คุณณัชชารีย์ : แต่ละสาขาจริง ๆ จะไม่เหมือน คือเราไม่ได้บังคับ เพราะกลุ่มลูกค้าจะไม่เหมือนกันในแต่ละสาขา สมมติสยาม สแควร์ก็จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มแบบนักศึกษา คนวัยทำงานต้องเน้นใส ๆ หน่อย แต่ถ้าสาขาแฟชั่น ไอร์แลนด์ก็จะเป็นแบบกลุ่มแบบครอบครัว แม่บ้านมากหน่อย ถ้าเป็นสาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าวก็จะเป็นแบบคนทำงานมากหน่อย หมายความว่า 1 แบรนด์ที่อยู่ใน IG สมมติว่าอยากจะมาอยู่กับเรา เขาจะเลือกไม่ไปทุกสาขาหรือไปทุกสาขาก็ได้ แล้วทางเราก็จะช่วยเลือกด้วยส่วนหนึ่ง ต้องมา Match กันอีกที
SME ONE : ช่วงต้น ๆ เราเจอปัญหาในการทำธุรกิจอะไรบ้างไหม
คุณณัชชารีย์ : แน่นอนว่ามันมีปัญหาอยู่แล้วในการทำธุรกิจ ทุกคนต้องเจอปัญหา จริงๆในแต่ละช่วงของธุรกิจ ในแต่ละอายุในการทำธุรกิจก็มีปัญหาที่แตกต่างกัน อย่างปีแรกก็จะเป็นปัญหาที่เราอาจจะยังไม่มีประสบการณ์ เป็นครั้งแรกที่เราต้องจ้างพนักงาน เป็นครั้งแรกที่เราต้องดูแลธุรกิจ ปัญหามันก็จะเป็นแบบหนึ่ง พอธุรกิจรันไปเรื่อย ๆ บริษัทมันเติบโตขึ้น เริ่มมีระบบการทำงาน ปัญหามันก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ปัญหาในแต่ละช่วงเวลาก็เหมือนช่วงชีวิตคนเราที่ตอนเด็กเราก็เป็นปัญหาหนึ่ง มีการบ้านก็เครียดแล้ว พอโตขึ้นมา ไม่มีเงินก็เครียดแล้ว
ตัวอย่างปัญหาที่เราเจอจะเป็นเรื่องของการก่อสร้างตกแต่งร้าน แบบว่าตกแต่งไม่ทันร้านจะเปิดพรุ่งนี้แล้ว แต่กระจกร้านยังไม่มาเลย หรือแบบทำอย่างไรดีพนักงานสาขานี้มีแค่ 2 คน แต่ลาออกไป 1 คน เราจะทำอย่างไร บางทีเราก็ต้องลงไปทำ ช่วงแรกก็คือทำเองอยู่แล้ว ถ้าสมมติพนักงานมีแค่ 2 คน ลาออกไปคนหนึ่ง หาคนไม่ทัน เพราะเราเป็นร้านเล็ก ๆ ทุกอย่างต้องทำเอง แผนก HR ก็ไม่มี แผนกบัญชีก็ไม่มี อะไรต้องทำเองแม้กระทั่งกวาดร้าน ติดบาร์โค้ด นับ Stock เริ่มจากตรงนั้นเลย บุ๊คว่าการทำธุรกิจต้องมีอุปสรรคอยู่แล้ว เราแค่แก้ไขมันให้ดี คือถ้าไม่มีปัญหามันไม่ใช่ธุรกิจหรอก แค่อย่าไปท้อถอย ถ้าเรามีความพยายามยังไงเราก็ต้องสำเร็จ
SME ONE : เคยมีเหตุการณ์ที่หุ้นส่วนมีความคิดไม่ตรงกันหรือไม่ แล้วแก้ปัญหาอย่างไร
คุณณัชชารีย์ : แน่นอนมีเสียงแตกบ้างอยู่แล้ว บุ๊คว่าต่างคนต่างความคิด ถ้าทุกคนคิดเหมือนกัน บุ๊คว่าธุรกิจมันก็จะไม่ดี เพราะว่ามันเหมือนเรามีความคิดเดียว ยังไงมันก็ไม่ดี แต่พอเรามีหลายหัว แน่นอนมันต่างคนต่างคิด แต่สุดท้ายแล้วเราก็ประชาธิปไตยดูที่เสียงส่วนใหญ่ แต่จริงๆ ตอนนี้แต่ละคนจะแบ่งงานกันดูแลอยู่แล้ว จะรับผิดชอบหน้าที่ตัวเอง Head ของแผนกนั้นก็มีอำนาจตัดสินใจสูงสุด แต่ถ้าอันไหนที่เป็นเรื่องใหญ่ เช่นเลือกสาขาก็ต้องเข้าที่ประชุม
SME ONE : มองเทรนด์ธุรกิจ O2O ที่เรากำลังทำอย่างไร
คุณณัชชารีย์ : บุ๊คคิดว่าออนไลน์อย่างเดียวมันอาจจะไม่เพียงพอ หมายถึงว่า Online สู่ Offline เหมาะสมกับสถานการณ์กว่า ดูอย่าง Amazon เขาก็ยังต้องมาเปิดร้าน Offline เลย เพราะสุดท้ายแล้วการช้อปปิ้ง การซื้อของไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นหรืออะไรก็ตาม มันคือ Emotional ทุกอย่างคือเกิดจากว่าความรู้สึก ความหลงใหล สมมติเราเดินผ่านร้านแล้วเห็นว่ามันสวย เราเข้ามาลองแล้วสวยเราก็จะซื้อ แต่สมมติว่าเราดูในออนไลน์บางทีเราอาจจะแบบไม่ได้มี Emotional Attach ขนาดที่เราจะรู้สึกว่า ดึงดูดขนาดที่เราจะต้องกดซื้อทันที เพราะฉะนั้นร้าน Offline บุ๊คคิดว่าสำคัญ หรือบางทีเขาอาจจะมาลองที่ร้านเราแต่ไปสั่งซื้อออนไลน์ก็ได้ เพราะเจ้าของแบรนด์เขาก็ยังขายออนไลน์ เราไม่ได้ห้ามขาย หรือห้ามลดราคา แต่เรามีเงื่อนไขแค่ราคาทั้ง 2 ที่ต้องเท่ากัน
SME ONE : เป้าหมายในอนาคตเราเป็นอย่างไร
คุณณัชชารีย์ : เป้าหมายจริง ๆ SOS คิดอยู่ตลอดเลย คือ เรารู้สึกว่าจริง ๆ แล้วคุณภาพแบรนด์ไทยดีนะ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า หรือกระเป๋า จริง ๆ แล้วมันสวย ออกแบบก็สวย ผ้าก็ดี ตัดเย็บก็ดี เราเลยรู้สึกว่าอยากให้แบรนด์ไทย Go Inter ไม่แน่เราอาจจะแบบทำร้านค้าออนไลน์ที่เน้นต่างประเทศ หรือว่าออกไปเปิด Shop ที่อื่น เพียงแต่ว่าต้องอยู่ที่จังหวะเวลา และความเหมาะสมด้วย ทุกวันนี้ก็มีนักลงทุนจากต่างประเทศติดต่อขอให้เราไปเปิดหลายประเทศอยู่ แต่ว่าเรารู้สึกว่ายังไม่พร้อมมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแบรนด์ที่เป็น Supplier ของเรา บางแบรนด์ก็ยังผลิตของไม่ทัน
SME ONE : ถ้ามองในเชิงธุรกิจ อะไรคือความท้าทายของ SOS
คุณณัชชารีย์ : บุ๊คว่าความท้าทาย ไม่ใช่เรื่อง Market Share แต่ตอนนี้มันกลายเป็น Pocket Share มากกว่า เหมือนว่าลูกค้ามีเงินอยู่เท่านี้ เพราะฉะนั้นถ้าเขาคิดว่าจะซื้อเสื้อผ้า เราเหมือนต้องแย่งเงินในกระเป๋าเขามาให้ได้ นั่นคือความท้าทายที่แบบว่าเราจะทำยังไงให้เขารู้สึกว่าเค้ามาซื้อกับเราดีกว่าเขาไปซื้อที่อื่น เพราะฉะนั้น เราต้องสร้าง Branding หรือสร้าง Story ให้คนมาสนใจเรา ทำให้เขาภูมิใจที่เราเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเขา เขาอยากจะทำให้คนอื่นเห็นว่า เขาใช้ของเรานะ อันนั้นคือการสร้าง Branding ที่ดีซึ่งเป็นเรื่องยาก
SME ONE : อะไรคือ Key Success Factors ของ SOS
คุณณัชชารีย์ : เรามี Concept ที่ชัดเจน จุดขายเราก็ชัดเจน ความ Unique ของเราก็ชัดเจน แล้วเรา Communicate กับลูกค้าอย่างชัดเจนด้วย ลูกค้าก็เข้าใจว่าเราคือใคร ด้วยความที่ร้านเราหลายแบรนด์ใช่ไหม เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่หัวเดียว แฟชั่นปัจจุบันต้อง Update เร็วมาก ๆ ถ้าสมมติเรามีแค่ 1 แบรนด์ เราก็อาจจะ Update ไม่ทัน Trend ก็ได้ แต่พอเรามี 100 แบรนด์ มี 500 แบรนด์ เรา Update ตาม Trend ได้แน่นอน เพราะว่า 50 คนนี้ไม่คิด อีก 50 แบรนด์ที่เหลือก็คิด
อีกเรื่องก็คือ ในร้านเราจะมีแบบทุกแบบเลย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าราคาถูก ตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลายพันบาท บางคนอาจจะคิดแบบว่าไม่ต้องใส่เสื้อผ้าแพงมาก ไม่ต้องใส่เสื้อผ้า Cutting ดีมาก ในเรื่องความคุ้มค่าหรือ Brand Value เราก็มี เพราะว่าช่วงราคาสินค้ากว้างมาก ๆ มีตั้งแต่ 250-350 บาทแบบกางเกงยีนส์ขาสั้น ไปจนถึงเดรสยาวแบบ 3,000-5,000 บาท
SME ONE : อยากให้ฝากคำแนะนำในการทำธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการ SME
คุณณัชชารีย์ : สิ่งสำคัญ คือคนชอบคิดว่า ฉันชอบอะไรฉันจะทำแบบนั้น แต่สิ่งที่จำเป็นจริง ๆ คือ เราต้องดูความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เราชอบมันผิด สิ่งที่เราชอบก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่าทำสิ่งที่เราชอบแล้วดันทุรัง มันมีหลายแบรนด์มาก ๆ ที่จะเป็นอย่างนั้น ที่แบบว่าฉันทำสิ่งที่ฉันชอบ แต่ฉันขายไม่ได้แต่ฉันก็ทำต่อไป บุ๊คว่าต้องดูทั้ง 2 ด้าน เราจะ Supply อะไรออกมาก็ต้องดูว่า Demand มีไหม
กับอีกเรื่องคือ เด็กสมัยนี้เหมือนจะท้อแท้ง่าย เจออะไรที่มันยากหน่อยก็ไม่เอาแล้ว ประเภทหนักไม่เอาเบาไม่สู้ ถ้าเรามีความพยายาม บุ๊คว่าคนทุกคนมีความสามารถอยู่แล้ว ที่สำคัญทุกคนมีความสามารถแตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าเธอดีส่วนนี้แล้วฉันไม่ดี มันไม่ใช่ ฉันอาจจะไม่ดีส่วนนี้ แต่ฉันอาจจะมีดีอย่างอื่นก็ได้ เพราะฉะนั้นขอแค่ตั้งมั่น มั่นใจในตัวเอง มีความพยายามตั้งเป้าแล้วไปให้อย่างไรวันหนึ่งก็สำเร็จ เจอปัญหาอะไร อย่าท้อ เพราะปัญหามันมีในทุกการทำงาน ในทุกช่วงชีวิตอยู่แล้ว
สุดท้ายเจ้าของธุรกิจควรเริ่มต้นจากลงไปทำงานระดับล่างจะได้มองเห็นปัญหา เพราะถ้าเริ่มจากระดับบนจะไม่มีทางมองเห็นปัญหาทั้งหมด อย่างบุ๊คเริ่มมาจากศูนย์ เราทำทุกอย่างเอง ตั้งแต่กวาดร้าน นั่งติดบาร์โค้ด แขวนเสื้อผ้าเอง รีดผ้าเอง คือเราทำทุกอย่างจริง ๆ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงตอนขยายธุรกิจ เราจะรู้ว่าธุรกิจของเรามีองค์ประกอบ อะไรบ้างที่ทำให้ธุรกิจขยายตัวได้
ร้าน SOS นั้นสามารถแจ้งเกิดจากการมองเห็น Pain Point ของการขายสินค้าออนไลน์ที่มีจุดอ่อนคือ ไม่สามารถทดลองสินค้าได้ หลายครั้งการสั่งซื้อสินค้าจึงจบลงด้วยการส่งคืนสินค้า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายและเสียเวลา
ปัญหาดังกล่าว นำมาซึ่งแนวความคิดในการทำธุรกิจแบบ O2O หรือ Online to Offline ที่นำเอาจุดเด่นของร้านค้าทั่วไปมาสร้างเป็นโชว์รูมรวมสินค้าแฟชั่นออนไลน์ให้ลูกค้ามาลอง ขณะเดียวกันในฝั่งของแบรนด์สินค้าออนไลน์เองก็มีโอกาสในการสร้างยอดขายผ่านหน้าร้านด้วย
Published on 18 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : เจาะลึกวิธีคิดสร้างโอกาสธุรกิจร้านอาหารให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/digitalage
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะในโลกธุรกิจใช้เวลาเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ในส่วนของธุรกิจอาหาร แม้จะเป็นตลาดใหญ่โดยมีการเติบโต 3-5% อย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็มีการแข่งขันสูง ทั้งจากคู่แข่งโดยตรง และจากสินค้าทดแทนที่มีอยู่จำนวนมาก ที่สำคัญคือพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชอบลองของใหม่ แม้ธุรกิจอาหารจะพอมีรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นให้เห็นบ้าง เช่น โอมากาเสะ หรือ เชฟเทเบิ้ล นอกนั้นทุกคนยังคิดบนพื้นฐานเดิมเหมือนกันหมด นั่นเป็นสาเหตุให้ธุรกิจอาหารมีการแข่งขันที่รุนแรงอยู่ตลอดเวลา
โมเดลธุรกิจอาหารสามารถปรับได้หลากหลายรูปแบบ เราสามารถลองทำกับธุรกิจเดิมก่อนได้ เช่น
ลองหาโมเดลให้เจอ ถ้าทำได้เราไม่ต้องมีหน้าร้านให้ต้องแบกรับต้นทุนค่าสถานที่ที่นับวันมีแต่จะสูงขึ้น และในอนาคตจะมีรูปแบบหลากหลายที่ธุรกิจอาหารไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเสมอไป แต่อาจต้องมีการสำรวจสถานที่ก่อนให้บริการจริง เพื่อตรวจสอบดูว่าสามารถให้บริการได้หรือไม่
4 กลยุทธ์สำคัญในการปรับโมเดลธุรกิจอาหารใหม่
การดูแลรักษาลูกค้า
เมื่อธุรกิจร้านอาหารโตขึ้นเรื่อย ๆ การดูแลรักษาลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญลำดับถัดมา ที่จะทำให้ธุรกิจที่เติบโตนี้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง
- การเก็บฐานข้อมูลของลูกค้าไว้ได้มากที่สุด จะทำให้เราสามารถพัฒนาสินค้าและการบริการให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด จนก่อเกิดความ ประทับใจและบอกต่อ ซึ่งจะเป็นพลังในการสร้างโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจ
- กิจกรรมที่จะสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้ดีจนก่อให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ ต้องเป็นกิจกรรมที่มีครบในเรื่องความสะดวก สนุก และสบาย
- ลูกค้าจะหยุดดูคอนเทนต์ที่เรานำเสนอ กดไลค์และกดแชร์ เมื่อไอเดียที่นำมาเล่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและสำคัญกับตัวเขา ภาพที่เล่าเรื่องต้องสอดคล้องกันในทุกโพสต์ และเล่าผ่านภาพซ้ำ ๆ เพื่อสร้างการจดจำแบรนด์
Published on 17 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : Medical Tourism ยุคใหม่ ต้องทำให้ลูกค้าประทับใจในบริการ
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/medicaltourism012
สำหรับโลกธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในยุคนี้ ไม่ใช่ต้องทันเรื่องดิจิตอลเพื่อทำการตลาดอย่างเดียวเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือการบริการ ที่เป็นหัวใจหลักของธุรกิจชนิดนี้ ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญและความรู้หลายแขนงเข้ามาสร้างความประทับใจลูกค้าให้มากที่สุด นี่คือคำแนะนำจากผู้นำธุรกิจด้านสุขภาพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย เกี่ยวกับการบริการเพื่อเอาชนะใจลูกค้า ให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ในธุรกิจของตนเองได้
สร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าไว้ใจ
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจบริกร คือ การทำให้ลูกค้าเชื่อถือ หากบอกอะไรกับลูกค้าไป ต้องทำให้ได้ตามที่เราพูด เพราะถ้าเราทำไม่ได้ตามที่พูด อาจจะเสียลูกค้าและโดนฟ้องได้ ดังนั้นความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งต้องรักษาไว้ เพื่อให้ลูกค้าเชื่อถือ ไว้ใจ และกลับมาใช้บริการซ้ำอีก
รับประกันความพึงพอใจให้ลูกค้า
เมื่อทำธุรกิจบริการ สิ่งสำคัญคือ การฟังเสียงตอบรับจากลูกค้า ควรให้ลูกค้าได้ประเมินความพึงพอใจทุกครั้งหลังรับบริการ ถ้าผลออกมาลูกค้าไม่พึงพอใจ เราต้องวางแผนจัดการว่าจะรับมืออย่างไรเป็นขั้นตอน รวมถึงจะปรับปรุงภายในธุรกิจเราอย่างไรให้ลูกค้าพอใจสูงสุด อย่าคิดว่าวิธีนี้เหมาะกับแค่ธุรกิจใหญ่ ๆ เท่านั้น ยิ่งเราเป็นเอสเอ็มอียิ่งต้องทำ เพื่อสร้างตัวเองให้แตกต่างจากคู่แข่ง และสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อผลักดันตัวเองให้ดีขึ้นต่อไป
ตอบสนองลูกค้าต้องว่องไว
การคอมเพลน (Complain) ของลูกค้าบนโลกนี้ เกิดจากการเพิกเฉยของเจ้าของธุรกิจที่ไม่ยอมปรับปรุง การรับฟังความคิดเห็นทั้งด้านดีและด้านเสียจากลูกค้า จากนั้นตอบสนองต่อคอมเมนต์ของลูกค้า นำมาปรับปรุงแก้ไขอย่างรวดเร็วที่สุด มีผลอย่างยิ่งกับการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า
สร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าจดจำ
ประสบการณ์ของลูกค้าเมื่อได้มาสัมผัสกับบริการของเรา การสร้างสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังให้เกิดขึ้นจริง จะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้อย่างดี
Published on 17 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย