VaSLab Architecture “เริ่มจากเล็ก ๆ ไม่ต้องคิดภาพใหญ่ Start from small ดีที่สุด”

การแจ้งเกิดของของดีไซน์ สตูดิโอเล็กๆ อย่าง VaSLab Architecture บนถนนเส้นทางสถาปัตยกรรมระดับโลก ถือเป็นบทเรียนนอกตำราที่ผู้ประกอบการ SME ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี

VaSLab Architecture เกิดจากความมุ่งมั่นของวสุ วิรัชศิลป์ ตั้งแต่สมัยเรียนที่คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากรว่าอยากจะมีดีไซน์ สตูดิโอเป็นของตัวเอง

VaSLab Architecture เกิดจากความอดทน ความตั้งใจ 100% แม้จะต้องเริ่มธุรกิจจากมุมเล็กๆ ในบ้านตัวเอง ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหลายคนทั่วโลก

VaSLab Architecture จึงเปรียบเสมือนห้องทดลองขนาดใหญ่ที่บ่งบอกความเป็น Pure Art ของวสุ และในขณะเดียวกันก็เป็นกระจกเงาที่ภาพสะท้อนความเป็น Commercial Art ของวสุ ที่ต้องคิดแบบเจ้าของธุรกิจเพื่อให้บริษัทมีกำไรพอที่จะเลี้ยงพนักงานร่วม 20 คนได้เป็นอย่างดี

ไปที่ จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ

ไปที่ เทรนด์ของธุรกิจด้านนี้ในปัจจุบันและอนาคต

ไปที่ วิธีสร้างแนวคิด ไอเดีย ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดชิ้นงาน

ไปที่ ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ

ไปที่ คำแนะนำที่มีต่อ SME หรือผู้ประกอบการที่สนใจอยากทำธุรกิจด้านนี้

 


จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ

 

SME ONE : ช่วยเล่าที่มาที่ไปของ VaSLab Architecture ให้ฟังที

วสุ : เป็นความตั้งใจตั้งแต่ตอนเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว ที่อยากมีออฟฟิศของตัวเอง อันนั้น No Doubt เลย พอกลับมาจากสหรัฐอเมริกาช่วงเวลานั้นอาจจะยังไม่เหมาะ จึงไปเป็นอาจารย์สอนวิชาสถาปัตย์ก่อน สอนไปประมาณ 2 ปี ก็เริ่มมีงานนอกเข้ามา งานนอกที่เป็นการออกแบบบ้าน เริ่มจากบ้านเพื่อนอะไรทำนองนี้ จนได้มาทำงานกับคุณกอล์ฟ กาจบดินทร์ สุดลาภา พองานเสร็จ บ้านหลังนี้ถูกใช้ในการถ่ายทำโฆษณาก็เลยทำให้ผลงานออกแบบเริ่มมีคนพูดถึงก็เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมา 

ยุคนั้นคือยังไม่ค่อยมีใครทำบ้านคอนกรีตเปลือยด้วย โจทย์แรกที่เราได้ก็คือบ้านกอล์ฟ กาจบดินทร์เนี่ย เป็นเรื่องบังเอิญมาก ๆ คือ 2 คนชอบในสิ่งที่เหมือนกัน จึงเหมือนมีเคมีตรงกัน จนเกิดเป็นผลงานที่เป็นตัวเราและตัวกอล์ฟ คล้ายๆ กับเป็น Showcase งานแรก ที่ได้แสดงความเป็นตัวตนระดับหนึ่งของเราออกมา ทำให้มีงานเข้ามาต่อเนื่องกันไป 

มาถึงจุดหนึ่งจึงตัดสินใจเปิด Studio ขึ้นมาเพราะว่าทำคนเดียวไม่ได้แล้ว ช่วงแรก ๆ ยังพอทำคนเดียวได้ แต่พอมีงานเข้ามา 4 งานพร้อมกันทำไม่ทันก็โทรหาเพื่อนก่อน โทรหาเพื่อนเก่าที่ศิลปากรมาช่วย ตอนนั้นต้องทำงานเองหมดทุกอย่าง ทั้งออกแบบ ทั้งตัดโม ทั้งสอนหนังสือ โชคดีที่เป็นคนบ้างานอาทิตย์หนึ่งทำงานแทบจะ 7 วัน แบบว่าสอนด้วย แล้วเสาร์-อาทิตย์ก็ไปดู Site งาน พอลูกศิษย์ที่ ABAC รุ่นแรกเริ่มจบ เราสอนมาเอง ก็เลยดึงลูกศิษย์มาทำงานด้วย กลายเป็น 4 คน ตอนนั้นรู้เลยว่าอาชีพเรานี่ไม่ใช่ Make Money ง่าย ๆ ไม่ต้องไปเช่าออฟฟิศอะไรหรอก ทำแบบที่ Steve Jobs ทำเลย ตอนนั้น Steve Jobs ยังไม่มานะ

 

SME ONE : อย่าบอกนะ ว่าใช้โรงรถหลังบ้าน

คุณวสุ : ใช่ โรงรถหลังบ้านเหมือนกันเลย โรงรถมีที่แบบเหมือนกับเป็น Ramp ขึ้นมา แล้วส่วนมากคนก็จอดข้างล่าง ไม่ค่อยจอดข้างบน ตอนนั้นคุณตาเป็นเจ้าของโรงรถ เขาก็ไม่ได้ใช้ Space อะไร ก็ขอโรงรถมาใช้เป็นที่ทำงาน ก็เริ่มจาก 4 คน แล้วก็ทำงานกันไปเรื่อย ๆ มันเป็นความฝันของเราเล็ก ๆ แล้วเราก็รู้สึกว่ามันจะต้องไปต่อ แต่ว่ายังไม่ได้ตั้งเป้าหมายอะไรมากมายนัก รู้แค่ว่าตอนนั้นสนใจที่ผลผลิตของงาน ออฟฟิศเป็นแค่พื้นที่เล็ก ๆ แต่ทำให้ Surrounding Environment ดูโอเคก็พอรับได้ จนค่อย ๆ ขยายมาเป็นสำนักงานแห่งนี้ บนพื้นที่ 240 ตารางวา ก็ยังเป็นทั้งบ้านและที่ทำงาน

SME ONE : วันที่เราเริ่มต้นเปิดสตูดิโอคิดไหมว่าจะมีวันนี้ เพราะดูแล้วห่างไกลกันเยอะมากเลย

คุณวสุ : ไม่เคยนึกเลย เมื่อก่อนความฝันแรกเลย คือสร้างงานชิ้นแรกให้ได้ มันเป็นอะไรที่เราคิดว่ายากมากในสมัย 20 กว่าปีที่แล้ว คือคิดอยู่ตลอดเวลาว่าเมื่อไหร่โอกาสของเราจะมาถึง จนกระทั่งเมื่อปีที่ 2 ที่เราสอน ABAC โอกาสมันก็เข้ามา แล้วเราก็คว้าไว้เลย เรื่องนี้สำคัญมากต้องพยายามฉวยโอกาสแรกไว้ให้ได้ แสดงผลงานให้ได้ คุณอย่าไปคิดกำไรเยอะ อันนี้เป็นสิ่งที่เราสอนน้อง ๆ ทุกคน เพราะว่าช่วงแรกๆ โอกาสจะไม่มีเข้ามาแบบง่าย ๆ เราเชื่อมาเสมอว่าสเกลของ VaSLab Architecture เหมาะที่จะเป็น SME แต่ต้องเป็น SME ที่มี Character เราคงไม่ใหญ่โตแบบ Corporate ขนาดใหญ่ ไม่เคยคิดว่าจะต้องไปไกลถึงขนาดพวก KPF หรือ A49 ซึ่งเป็นบริษัทที่มี System ดีมาก

ทุกวันนี้ VaSLab Architecture มีพนักงานประมาณ 20 กว่าคน ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ทำงาน 4 คน ทุกวันนี้กลายเป็นเหมือน Mentor มากกว่า เหมือนเป็นอาจารย์ ตรวจแบบเด็ก ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างคนขึ้นมาแทน ต้องสร้าง System มาช่วย ถามว่า Enjoy แบบไหนมากกว่า Enjoy แบบเมื่อก่อน แต่เชิงธุรกิจก็ต้องเติบโต ถามว่าถ้ามีงานใหญ่เข้ามา คุณจะปฏิเสธเหรอ 

 

SME ONE : งานของ VaSLab Architecture ทุกชิ้นจะมี Signature ของตัวเอง บางคนก็บอกว่า Signature เป็นสิ่งที่ดี แต่บางคนก็มองว่าไม่พัฒนา เรื่องนี้มองอย่างไร

คุณวสุ : มองทั้ง 2 อย่าง คือตอนนี้ สิ่งที่ยากคือ Identity ของตัวเองควรจะต้องอยู่ DNA ตัวเองแต่ไม่ควรอยู่กับที่ คุณต้องพัฒนาต่อ ผมจะมีสถาปนิกที่ชื่นชอบ คือ Herzog & de Meuron HDM ของ Switzerland ที่ชอบเพราะงานเขาเยี่ยมมากเลย งานของเขาไม่มีลายเซ็นต์ของตัวเอง แต่ว่าเห็นงานแล้วรู้ว่าเป็นงานของเขาทันที เหมือนสินค้าของแบรนด์มูจิ งานของ Herzog & de Meuron HDM มีความน่าสนใจบางอย่าง เป็นเรื่อง Material เป็นเรื่องของการคิดนอกกรอบ แล้วก็ Renovate คือมันมี Old & New ด้วยนะ อย่างเช่น Caixa Forum ที่ Madrid ที่งานมันดีมาก 

เมื่อก่อนชอบงานประเภท Form Oriented อย่าง Zaha Hadid หรืออย่าง Le Corbusier ก็ชอบ แต่ว่าเป็นคนละยุคกัน นอกจากนี้ยังชอบงานที่แบบดู Dynamic ดู Expression ของ Form เยอะ เพราะเรารู้สึกว่าเวลาเราเจออะไรพวกนี้ เรา Stunning เรารู้สึกว่าเหมือนกับเรามอง Sculpture แล้ว โอโห มัน Stunning มากแล้วเราสร้าง Piece of Architecture ให้มันเหมือน Sculptor ได้ไหม อันนี้คือความคิดแรก ๆ ตั้งแต่สมัยเรียน

แต่สุดท้ายแก่นสาระที่สำคัญจริง ๆ ของการออกแบบต้องมาจากข้างใน และมาจากความต้องการหลาย ๆ ปัจจัย อย่างเช่นในปัจจุบันคนให้ความสำคัญเรื่องของพื้นที่หรือ Space ขยายความเพิ่มเติมคือ การอยู่แล้วมีความสุข หรือแม้กระทั่งเรื่องของการทำ Project ที่ Sustainable ที่กลายมาเป็นสิ่งที่เราค่อนข้าง Concern 


เทรนด์ของธุรกิจด้านนี้ในปัจจุบันและอนาคต

 

SME ONE : เทรนด์เรื่องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกำลังมา เราต้องปรับการทำงานอย่างไร

คุณวสุ : ทั้งกระบวนการเลย Sustainable มีหลายความหมายนะ Sustainable ในแง่ของวัสดุต้องอยู่ทน ต้องดูแลรักษาง่าย ต้องไม่แพงด้วย นอกจากนี้ Sustainable ยังเป็นเรื่องของ Timeless Design คืองานออกแบบต้องทำให้ดูสวยงามผ่านไป 10 ปี 20 ปีก็ยังอยู่ได้ ไม่จำเป็นต้องทุบทิ้งเมื่อผ่านไปนาน ๆ 

ส่วนสิ่งของหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามา เช่นแผง Solar Cell เราก็ต้องประยุกต์ให้เข้ากับงานออกแบบ อย่างเช่น Honda Big Wing ก็มีการติดตั้งไว้ตั้งแต่แรก เราติดตั้งบนหลังคาทิศใต้ เพราะต้องโดนแดดทั้งวัน เพื่อให้ Generate ไฟฟ้าสำหรับพวกไฟ Automatic ตอนกลางคืน หรืออย่างที่ Casa de La Flora เราก็มีติดตั้งระบบ Recycle Used Water ที่บำบัดและปรับสภาพน้ำด้วย Ozone 

แต่กับเรื่องนี้ฝั่งลูกค้าต้องมีส่วนร่วมด้วย เพราะว่าลูกค้าเป็นเจ้าของเงิน เราทำหน้าที่อธิบายให้ลูกค้ารู้ว่าต้องลงทุนอะไร อะไรที่เป็น It’s a must ส่วนตัวคิดว่าส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของสถาปนิกในเรื่องความยั่งยืน คือเราต้องทำอาคารนั้นอยู่กับเมืองได้ตลอดไปจนถึงวันที่ตึกมันจะล่มสลายด้วยตัวมันเอง

 


วิธีสร้างแนวคิด ไอเดีย ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดชิ้นงาน

 

SME ONE : ทุกวันนี้หาไอเดียใหม่ ๆ จากไหน มีวิธีจัดการกับคลังห้องสมุดความคิดของตัวเองอย่างไร

คุณวสุ : มาจากหลายด้าน แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าได้ไอเดียมาจากจากดู Instagram มากขึ้น แล้วส่วนใหญ่งานดี ๆ จะมี Link Biography ที่เราตามไปดูคนที่เราสนใจต่อได้ เพราะฉะนั้นต้องใช้พวกนี้ให้เป็นประโยชน์ อีกเรื่องคือการท่องเที่ยว โชคดีที่ผมกับภรรยาจะเหมือนกัน คือไปในแต่ละประเทศเนี่ย ต้องไปดู Architecture คือมันเป็นส่วนหนึ่งของ Mindset เราแล้ว เวลามี Trip ที่ไหนปุ๊บต้องค้นหาสถานที่ที่อยากไปดู ไม่ใช่ไปเที่ยวเฉย ๆ เที่ยวแบบ Sightseeing สไตล์ท่องเที่ยวจะเป็นแบบ Explorer มากกว่า 

นอกจากนี้จะดู Museum เพราะ Museum จะเกี่ยวข้องกับเมืองและวัฒนธรรม ทุกที่ที่ไปจะมีความสัมพันธ์กันพูดง่าย ๆ ทั้งคน ทั้ง City ใช่ไหม Architecture และ Museum ไปด้วยกันได้หมด การท่องเที่ยวทำให้เราเห็นภาพว่าคนในสมัยก่อนคิดอะไร คิดอย่างไร แล้วปัจจุบันนี้เมืองนั้นเป็นอย่างไร มีพัฒนาการไปแบบไหน บางอย่างเราก็เอามาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบได้

ตัวอย่างเช่น การสร้าง Form หรือว่าสร้าง Balcony ขนาดใหญ่อาจจะไม่เหมาะกับเมืองไทย เพราะบ้านเราเมืองร้อน ก็คงไม่มีใครทำอย่างงั้นในเมือง แต่ในต่างประเทศอย่าง Norway แดดนี่สำคัญมาก ตอนไป Oslo Opera House เป็นวันที่แดดดีมาก ปรากฏว่าคนออกมาอาบแดดเยอะมากทั้งที่อากาศหนาว เพราะเขาไม่ค่อยเจอแดดเหมือนเมืองไทย ถึงบอกว่าบางทีเราต้องไปดูให้รู้ว่าวิธีคิดเขาเป็นอย่างไร แล้วก็กลับมาประยุกต์กับงานในเมืองไทย อย่างเช่นโครงการ Casa de La Flora ที่ภายนอกอาจจะดูเป็นคอนกรีต แต่ข้างในเป็นไม้เยอะมาก คอนกรีตในโครงการนี้สื่อถึงความแข็งแรง เพราะแถบนี้เคยเจอสึนามิมาก่อน งานออกแบบบางอย่างต้องแสดงให้เห็นอะไรบางอย่าง เป็นเหมือนกับ Psychology นิด ๆ ว่าอาคารแข็งแรงปลอดภัย

 


ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ

 

SME ONE : ทุกวันนี้บริหารคำว่า Pure Art กับ Commercial Art อย่างไร เพราะเป็นทั้งสถาปนิกและเป็นเจ้าของธุรกิจ บทบาท 2 ตัวนี้มันขัดแย้งกันบ้างหรือไม่

คุณวสุ : ก็มีขัดแย้งกันบ้าง Role แรกคือทำเองหมดเลย ทุกอย่างต้องรู้หมด Role ที่ 2 พอมีลูกน้องเยอะขึ้นเนี่ย งานใหญ่ขึ้น เราทำเหมือนเดิมไม่ได้ คือเรายังชอบการเป็น Design Studio อยู่นะ แต่ตอนนี้ขนาดของคนก็เริ่มขยายไปสู่ Design Firm เป็นออฟฟิศที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา ต้องทำงานแบบผิดพลาดน้อยที่สุด ที่สำคัญคือต้องมีประสิทธิภาพ เพราะว่าทุกอย่างคือ Payroll หมายความว่าบริษัทต้องจ่ายเงินให้ตรงเวลากับพนักงาน ต้องสร้างผลกำไร ต้องให้โบนัส พอมีเรื่องพวกนี้เข้ามา สมองต้องถูกแบ่งซีกแล้ว ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่แบบทำงานประจำเป็นอาจารย์ แล้วทำงานออกแบบที่บ้านก็จะแบบสบาย รู้สึก Relax แต่ปัจจุบันนี้รีบหมดทุกอย่าง แต่ว่าในความรีบนั้นมันสอนให้เรารู้สึกว่า Deadline is a Deadline คือทุกอย่างมันมี Deadline งานของจริง เพราะฉะนั้นเราต้องฝึกทำงานให้เร็วและมีประสิทธิภาพ ต้องสร้างทีมขึ้นมา

การสร้างทีมนี่สำคัญมาก ตอนนี้เรามีคนที่อยู่กับเรา 5 คน 6 คน ที่เป็นกองทัพหลักของบริษัท พนักงานระดับล่างยังพอเปลี่ยนได้ แต่ระดับบนถ้าเปลี่ยนแล้วเกิดปัญหาทันที เพราะว่าตอนนี้มีโครงการขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบอยู่ 4-5 งานในเวลาเดียวกัน

 

SME ONE : พอขยับจาก Design Studio มาเป็น Design Firm คนก็เยอะขึ้น มีวิธีการเลือกคนอย่างไร จากสไตล์การออกแบบ หรือจากทัศนคติ

คุณวสุ : อันดับแรกคือ Attitude เพราะว่า Attitude เป็นสิ่งที่ติดมากับตัว อย่างอื่นสอนได้ ส่วนเรื่องสไตล์งาน ถ้าใครมาสมัครงานเพราะอยากทำงานกับเราแสดงว่าเขาชอบงานเรามาก่อน ทุกคนที่มาสมัครงานที่นี่เราดูความตั้งใจก่อนเลย แต่แน่นอนการคัดเลือกจะมาจาก Attitude เวลาคุยกันเราจะรู้ว่าใครที่พร้อมจะเรียนรู้ และรู้สึกชื่นชมงานของ VaSLab ก็จะปรับตัวง่าย โชคดีที่เคยเป็นอาจารย์มา เพราะฉะนั้นจะดูแลพนักงานทุกคนเหมือนลูกศิษย์ สูตรนี้ดีมาก ทุกวันนี้พนักงานในออฟฟิศ ทุกคนเรียกอาจารย์หมดเลย ไม่มีใครเรียกเจ้านาย ไม่มีคำว่า Boss เพราะถึงจะเป็น Firm แต่ยังชอบบรรยากาศการทำงานแบบ Studio มากกว่า

ส่วนเรื่องงานออกแบบสามารถสอนกันได้ สอนเรื่องการนำเสนอผลงาน สอนสิ่งที่เป็นจุดอ่อน เหมือนที่ Steve Jobs เคยพูดว่า ถ้าคุณไม่เก่งเรื่องอะไร คุณต้อง Practice ให้ได้ คือเป็นเรื่องที่เหมือนกับเราต้องก้าวจาก Comfort Zone ให้ได้ อย่างเรื่องการ Present งาน เมื่อก่อนผมคิดว่ายัง Present ไม่ค่อยดี ตอนเรียนที่ Columbia ต้องพูดภาษาอังกฤษด้วย เราต้องฝึกพูด แล้วเราก็ฝึกพูดโดยใช้ Actual นั่นแหละ แล้วทำไปเรื่อย ๆ มันก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนทุกวันนี้ วิชาหนึ่งในการ Present ลูกค้าที่สำคัญมากคือ การโน้มน้าว Architect แบบคุณดีคุณโน้มน้าวไม่ได้ จบเลยนะ คือพูดง่าย ๆ เขาไม่เอาแบบคุณเนี่ยมันมีปัญหาเลย การนำเสนอแต่ละครั้งมันไม่ 100 เปอร์เซ็นต์หรอก แต่ว่าความเชื่อมั่นคุณต้องมีในแบบคุณ ทำแล้วคุณต้องเชื่อก่อน พูดง่าย ๆ คือ แบบคุณต้องดีก่อน เคยมีเคสที่แบบไม่ผ่าน ผมดูงานเด็กแล้ว โทรเลื่อนลูกค้าก่อนเลย เราไม่ทำ เพราะว่าทำไปแล้วมันไม่ใช่ ลูกค้ารู้ ยิ่งลูกค้ามีอายุนะ เขาจะรู้เลยว่าเราไม่มั่นใจ 

 

SME ONE : พูดถึงการโน้มน้าวลูกค้า เราเคยเจอกรณีที่แบบเราดีมาก ๆ แต่ถูกแก้เพราะคำแนะนำของซินแสอะไรแบบนี้บ้างไหม แล้วแก้ปัญหาอย่างไร

คุณวสุ : เคยบ้างแต่ว่าไม่ได้รุนแรง หมายถึงว่า ซินแสก็อาจจะพูดบางเรื่องที่มันต้องปรับ แต่ไม่ใช่ว่าล้มแบบ เราก็ต้องพยายามอธิบายเหตุผลกลับไป เช่น ส่วนนี้ไม่น่าจะต้องเปลี่ยนนะครับ ผมว่าแบบนี้ดีที่สุดอยู่แล้วอะไรประมาณนี้ อยากให้ลองกลับไปพิจารณาอีกครั้ง หรือให้เจ้าของช่วยกลับไปปรึกษาซินแสว่ามีวิธีอื่นไหม ซึ่งมีหลายเคสที่ง่ายมากเลย แค่เอากระจกมาติดก็ผ่านแล้ว ทุกอย่างไม่ต้องแก้ เราก็โล่งใจ

นอกจากนี้ยังมีเคสที่ลูกค้าขอลดสเกลงานบางส่วนลงเพราะต้องควบคุมเรื่องค่าใช้จ่าย อย่างเช่นโครงการ LiT Bangkok ที่ลูกค้าขอให้ตัดงานตกแต่งหน้าตึก (Facade) ออก ทางเราก็ต้องพยามยามอธิบายว่า Facade ที่เห็นคือ Key Idea ของอาคาร ถ้าตึกนี้ไม่มีจะเป็นตึก Very Typical ธรรมดามาก ๆ ทางลูกค้าก็เชื่อเรา ผ่านไปหนึ่งปีลูกค้าโทรมาขอบคุณเรา ที่ทักท้วงในวันนั้น เชื่อไหมว่า โครงการ LiT Bangkok กลายเป็น หนึ่งในงานออกแบบของ VaSLab Architecture ที่ถูกคัดเลือกจาก ArchDaily ถูกบรรจุว่าเป็นตึกที่คุณต้องมา Visit ใน Bangkok 1 ใน 16 งาน อีกโครงการก็คือ Honda Big Wing ซึ่งเราภูมิใจมากที่สื่อระดับโลกเลือกงานของเรา



SME ONE : 20 ปีที่ผ่านมา เคยเจออุปสรรคใหญ่ ๆ บ้างไหมแล้วแก้ปัญหาอย่างไร

คุณวสุ : เคยเจออยู่ครั้งหนึ่ง ส่วนมากเป็นเรื่องคนพูดได้เลย คือเจ้าของงานนั่นแหละ เจ้าของงานบางคนเขาไม่ให้เกียรติสถาปนิกในหลายด้าน เจอแบบนี้แล้วมันบั่นทอน Creativity Zone จนบางที่เราก็อยาก Shutdown เพราะเอาไปเทียบกับ Project อื่นนี่ไปถึงไหนแล้ว แต่บทสรุปคือ ขึ้นหลังเสือยังไงก็ต้องไปให้จบ ก็พยายามบอกทีมงานว่า ถ้าเราผ่านอันนี้เราแข็งแกร่งขึ้น ของบางอย่างก็ต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดเหมือนกัน

 

SME ONE : อยากให้คุณวสุ ช่วยให้คำแนะนำสำหรับคนที่คิดจะเปิดดีไซน์ สตูดิโอ เป็นของตัวเอง

คุณวสุ : อย่างแรกเลย เริ่มจากเล็ก ๆ ไม่ต้องคิดภาพใหญ่ Start from small ดีที่สุด เพราะว่าเหมือนกับเราต้องทดลองก่อน อย่างที่ 2 คือ อย่าหมิ่นงานเล็ก คือไม่หมิ่นเงินน้อยนั่นแหละ อะไรเข้ามาต้องรีบคว้าเอาไว้ก่อน ฉวยโอกาสนั้นให้ได้ ต้องรีบแสดงผลงานแรกให้ได้ โดยยังไม่ต้องดูผลกำไร 

เรื่องที่ 3 คือ ต้องเป็นคน All-round คือ คุณต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ตอนที่คุณตั้ง Firm อาจจะไม่ต้องลงลึกทุกอย่างก็ได้แต่คุณต้องรู้ทุกอย่าง อย่างเช่นเรื่องระบบภาษี เพราะตอนตั้งบริษัทใหม่ ๆ เราเจอคนมาขอบัญชี เรา 4 คน ทำกันไม่เป็นเลย เราก็ต้องเรียนรู้จนถึงทุกวันนี้ รู้หมดแล้วว่า ภ.พ. 20 คืออะไร ภ.ง.ด. 3 ภ.ง.ด.53 คืออะไร ที่ต้องรู้เพราะว่าเวลาเราตั้งเป็นบริษัทมันไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ แล้ว

คำแนะนำที่ 4 คือ ต้องหมั่นสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อย่าลืมว่าคนคนหนึ่งที่คุณเจอในแต่ละวัน มันอาจจะเป็นคนที่ส่งผลให้คุณได้งานที่ดีต่อไปในอนาคต เรื่องนี้สำคัญมาก ส่วนที่เหลือคือเรื่องเบสิก ก็จะมีเรื่องขยันอดทน หมั่นเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ เสมอ และอีกเรื่องที่คิดว่าสำคัญมาก คือต้องรักในสิ่งที่ทำ ถ้าไม่รักในสิ่งที่ทำเนี่ย เราว่าไปได้ไม่ไกล หมายความว่าอาจจะประสบความสำเร็จในเรื่องรายได้ แต่ว่าไม่ได้ Fulfill ตัวเองในแง่ของความรู้สึก

ส่วนเรื่องที่อยากบอกเป็นคำเตือน คือ อย่าหมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อย่างเช่น ผมจะรู้สึกเสียดายกับออฟฟิศที่ต้องจ่ายค่าเช่าสูง เรื่องแบบนี้บางทีไม่จำเป็นอย่าทำ เพราะคุณประหยัดเงินได้เยอะมาก เรื่องต่อมาคืออย่าฝืนตัวเอง ถ้าทำไปแล้วและท้ายที่สุดคุณไม่ได้ชอบในสิ่งที่คุณทำ ก็เปลี่ยนเลยดีกว่า เรื่องต่อมาคือ เราต้องเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ผมมักใช้คำว่า Stay Small, Stay Humble อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ อย่าคิดหาทางลัดไปสู่ความสำเร็จ ถ้าคุณเลือกเดินทางลัดให้ประสบความสำเร็จโดยเร็ว แต่ไม่โปร่งใสอย่าทำ 


คำแนะนำที่มีต่อ SME หรือผู้ประกอบการที่สนใจอยากทำธุรกิจด้านนี้

 

SME ONE : อยากให้คุณวสุ ช่วยให้คำแนะนำสำหรับคนที่คิดจะเปิดดีไซน์ สตูดิโอ เป็นของตัวเอง

คุณวสุ : อย่างแรกเลย เริ่มจากเล็ก ๆ ไม่ต้องคิดภาพใหญ่ Start from small ดีที่สุด เพราะว่าเหมือนกับเราต้องทดลองก่อน อย่างที่ 2 คือ อย่าหมิ่นงานเล็ก คือไม่หมิ่นเงินน้อยนั่นแหละ อะไรเข้ามาต้องรีบคว้าเอาไว้ก่อน ฉวยโอกาสนั้นให้ได้ ต้องรีบแสดงผลงานแรกให้ได้ โดยยังไม่ต้องดูผลกำไร

เรื่องที่ 3 คือ ต้องเป็นคน All-round คือ คุณต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ตอนที่คุณตั้ง Firm อาจจะไม่ต้องลงลึกทุกอย่างก็ได้แต่คุณต้องรู้ทุกอย่าง อย่างเช่นเรื่องระบบภาษี เพราะตอนตั้งบริษัทใหม่ ๆ เราเจอคนมาขอบัญชี เรา 4 คน ทำกันไม่เป็นเลย เราก็ต้องเรียนรู้จนถึงทุกวันนี้ รู้หมดแล้วว่า ภ.พ. 20 คืออะไร ภ.ง.ด. 3 ภ.ง.ด.53 คืออะไร ที่ต้องรู้เพราะว่าเวลาเราตั้งเป็นบริษัทมันไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ แล้ว

คำแนะนำที่ 4 คือ ต้องหมั่นสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อย่าลืมว่าคนคนหนึ่งที่คุณเจอในแต่ละวัน มันอาจจะเป็นคนที่ส่งผลให้คุณได้งานที่ดีต่อไปในอนาคต เรื่องนี้สำคัญมาก ส่วนที่เหลือคือเรื่องเบสิก ก็จะมีเรื่องขยันอดทน หมั่นเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ เสมอ และอีกเรื่องที่คิดว่าสำคัญมาก คือต้องรักในสิ่งที่ทำ ถ้าไม่รักในสิ่งที่ทำเนี่ย เราว่าไปได้ไม่ไกล หมายความว่าอาจจะประสบความสำเร็จในเรื่องรายได้ แต่ว่าไม่ได้ Fulfill ตัวเองในแง่ของความรู้สึก

ส่วนเรื่องที่อยากบอกเป็นคำเตือน คือ อย่าหมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อย่างเช่น ผมจะรู้สึกเสียดายกับออฟฟิศที่ต้องจ่ายค่าเช่าสูง เรื่องแบบนี้บางทีไม่จำเป็นอย่าทำ เพราะคุณประหยัดเงินได้เยอะมาก เรื่องต่อมาคืออย่าฝืนตัวเอง ถ้าทำไปแล้วและท้ายที่สุดคุณไม่ได้ชอบในสิ่งที่คุณทำ ก็เปลี่ยนเลยดีกว่า เรื่องต่อมาคือ เราต้องเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ผมมักใช้คำว่า Stay Small, Stay Humble อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ อย่าคิดหาทางลัดไปสู่ความสำเร็จ ถ้าคุณเลือกเดินทางลัดให้ประสบความสำเร็จโดยเร็ว แต่ไม่โปร่งใสอย่าทำ

 


 

 

บทสรุป

ปัจจัยสำคัญที่ถือเป็นความรับผิดชอบของสถาปนิกหรือนักออกแบบในปัจจุบัน คือ กระบวนการทำงาน “เพื่อความยั่งยืน” ซึ่งสามารถตีความได้หลายแง่มุม แง่หนึ่งเป็นเรื่องของสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้วัสดุที่คงทน ดูแลรักษาง่าย ไม่แพง ส่วนอีกแง่หนึ่งก็คือ การออกแบบเพื่อวิถีชีวิตที่ยั่งยืน เช่น งานออกแบบต้องเป็น Timeless Design หรือยังคงดูสวยงามแม้ว่าเวลาจะผ่านไป 10 ปี 20 ปี โดยมีหัวใจสำคัญคือ การอธิบายให้ลูกค้าเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมกับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน

 

Published on 21 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

บทความแนะนำ

Tropica King ต่อยอดงานวิจัยอย่างไร? ให้กลายเป็นสินค้าขายได้จริง

“อยากยืดอายุสินค้าต้องทำอย่างไร?” “มีไอเดียแต่ไม่เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี” หรือแม้กระทั่ง “เห็นงานวิจัยอยู่ตรงหน้า แต่ไม่รู้ว่าจะหยิบมาใช้อย่างไรดี?”เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ผู้ประกอบการตัวเล็กอย่าง SME มักคิดไม่ตก เมื่อต้องการจะสร้างสินค้าให้เกิดและเติบโตได้อย่างมั่นคง 


หนึ่งในผู้ประกอบการที่จะมาไขข้อสงสัยและให้คำตอบในเรื่องนี้ นั่นคือ “สุรวิชญ์ ทิพยารมณ์” เจ้าของแบรนด์ Tropica King ที่สามารถสร้างโอกาสให้ธุรกิจ ด้วยการเปลี่ยนงานวิจัยให้กลายเป็นสินค้าโตไกลไปยังต่างแดน ซึ่งเกิดจากการจับมือร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยการผลิตท็อปปิ้งมะม่วงน้ำดอกไม้พร้อมใช้บรรจุกระป๋อง และล่าสุดต่อยอดไปสู่มะม่วงน้ำดอกไม้พร้อมปั่นแบบซอง ได้บอกถึงกฎเหล็กของกระดุม 3 เม็ด ที่ SME ต้องติดเรียงกันให้ถูก ถ้าคิดจะเปลี่ยนงานวิจัยให้กลายเป็นสินค้าที่ขายได้จริง 

กฎกระดุม 3 เม็ด เปลี่ยนงานวิจัยให้กลายเป็นสินค้า

กระดุมเม็ดแรก : ทดลองตลาด

เมื่อผู้ประกอบการมีไอเดียแล้ว ควรเริ่มจากการทำสินค้าขึ้นมาเองแบบง่ายๆ ก่อน อาจทดลองทำกันเองหลังบ้านก่อน เพื่อดูว่าไอเดียนั้นตอบโจทย์ลูกค้าจริงหรือไม่ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอายุการเก็บรักษา (Shelf Life) จะได้แค่ไหน ทำสินค้าออกมาก่อนเพื่อไปทดลองตลาดและทดลองกับกลุ่มเป้าหมายว่า สินค้าแบบนี้ตอบโจทย์พวกเขาหรือไม่ หรือมีอะไรที่จะต้องเพิ่มเติม จากนั้นให้ทำการลงมือขายจริง เรียกได้ว่า กระดุมเม็ดแรก จุดที่ต้องไปให้ถึงคือ ต้องทำสินค้าที่เป็นไอเดียออกมาก่อน ทำให้ขายดีจนทำไม่ทัน และขยี้ความต้องการของลูกค้าให้ชัดเจน

กระดุมเม็ดที่สอง : หานักวิจัยมาช่วย

เมื่อมีตลาดและขายดีจนทำไม่ทันแล้ว จากนั้นค่อยตามหากระดุมเม็ดที่ 2 ซึ่งก็คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี หรือนักวิจัยนั่นเอง โดยสิ่งที่สำคัญคือ การบอกโจทย์ความต้องการที่มีอยู่ในใจและทำการสื่อสารออกไปให้ชัดเจน 

สุรวิชญ์ ย้ำตรงนี้ว่า ในการสื่อสารกับนักวิจัย ผู้ประกอบการควรบอกถึงความต้องการที่ชัดเจนและครบถ้วน โดยสามารถทำได้จากการไล่ไปตามหลักการตลาดพื้นฐาน 4Ps ได้แก่ 

Product หรือผลิตภัณฑ์ เราต้องบอกนักวิจัยว่า สินค้าตัวนี้จะใส่แพ็กเกจจิ้งแบบไหน ปริมาณขนาดเท่าไร ต้องการให้มีหน้าตาเป็นอย่างไร 

Price หรือราคา เราต้องบอกว่า จะนำสินค้าไปขายในราคาเท่าไร และต้นทุนเป้าหมายที่ไม่รวมแพ็กแกจจิ้งที่ทางนักวิจัยต้องช่วยทำให้ได้อยู่ที่ไม่เกินกี่บาท ซึ่งเมื่อรู้แล้วทางนักวิจัยจะสามารถออกแบบให้ได้ว่า จะต้องใช้วัตถุดิบตัวไหน กระบวนการการทำแบบใด เพื่อให้อยู่ในต้นทุนและอยู่ในกรอบที่เราสามารถนำไปทำตลาดต่อได้

Place หรือสถานที่ เราต้องบอกนักวิจัยให้ชัดเจนว่า เป้าหมายของการจำหน่ายสินค้าตัวนี้อยู่ที่ไหน เช่น ในไทยหรือต่างประเทศ เป็นต้น

Promotion หรือการส่งเสริมการตลาด ซึ่งต้องย้อนกลับมาว่า สินค้าเราต้องการให้มีฟังก์ชั่นหรือมีฟีเจอร์อะไร เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งเดิมที่มีอยู่ ยกตัวอย่างของเราที่ใช้มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งเป็นมะม่วงพันธุ์ที่ยากที่สุดในการนำมาแปรรูป เพื่อสร้างความแตกต่างตั้งแต่วันแรก

กระดุมเม็ดที่สาม : วางแผนธุรกิจให้พร้อม

หลังจากที่ได้เทคโนโลยีมาแล้ว สิ่งต่อมาที่สำคัญมาก แต่ผู้ประกอบการมักไม่ได้คิดตั้งแต่แรกคือ เรื่องของโมเดลธุรกิจ หรือ เรื่องของการเงินที่ต้องกำหนดไว้ล่วงหน้า  

“เราจะต้องรู้ว่า สินค้าที่จะแปรรูปด้วยงานนวัตกรรม สุดท้ายแล้วจะไปขายที่ราคาเท่าไร ด้วยต้นทุนกี่บาท เพราะฉะนั้นต้องวางแผนมาแล้วทั้งหมด เช่น สินค้าราคา 100 บาท ต้องมีต้นทุนไม่เกิน 30%– 40% เป็นอย่างสูง เพราะว่าในการกระจายสินค้าต่อๆ ไป ยังต้องผ่านอีกหลายช่องทางหรืออีกหลายตัวกลาง เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ได้สรุปโจทย์ให้นักวิจัยชัดเจนแต่แรกว่า เราต้องการสินค้าด้วยต้นทุนเท่านี้ บางครั้งนักวิจัยก็จะไม่รู้ และเขาอาจจะพัฒนาคุณภาพสินค้าที่ดีเกินกว่าที่ตลาดต้องการ ทำให้ต้นทุนสูงและทำตลาดไม่ได้ ถือว่าเป็นจุดที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่พลาดกันเยอะ”

ทั้งหมดคือ กระดุมทั้ง 3 เม็ด ที่ผู้ประกอบการต้องค่อยๆ ติดเรียงกันให้ตรงไปเรื่อยๆ เพื่อที่สร้างสินค้าจากงานวิจัยให้สามารถขายได้จริงในตลาด 


ปัจจุบันหากผู้ประกอบการอยากจะมองหางานวิจัย หรือนักวิจัยเพื่อมาช่วยพัฒนาธุรกิจ สุรวิชญ์ บอกว่า มีหลายหน่วยงานที่ช่วยเชื่อมโยงและให้ทุนสนับสนุนเรื่องงานวิจัย หนึ่งในนั้นเป็นหน่วยงานที่ตัวเขาใช้บริการอยู่อย่าง โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Innovative House) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

“โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Innovative House) จะเป็นตัวกลางในการหานักวิจัยมาจับคู่ (Matching) ให้กับเรา โดยเป็นนักวิจัยที่อยู่ในเครือข่ายตามมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งหน่วยงานจะรับโจทย์จากผู้ประกอบการก่อนว่า เราอยากทำอะไร ต้องการสินค้าแบบไหน จากนั้นจะแมตช์ชิ่งนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านนั้นมาให้ ซึ่งเมื่อพูดคุยเป็นที่เข้าใจกันแล้ว ทางนักวิจัยจะเขียนโครงร่างการวิจัย (Proposal) ขึ้นมา โดยทางหน่วยงานจะให้ทุนมาสนับสนุนงานวิจัยอีกด้วย นอกจากนี้ สำหรับคนที่ยังไม่มีไอเดียแต่อยากเข้าถึงงานวิจัยเพื่อมาต่อยอดเป็นสินค้านั้น สามารถเข้าร่วมงานอีเวนท์ที่จัดในลักษณะของการรวบรวมงานวิจัยต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หรือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น”

ถึงตรงนี้ สุรวิชญ์ เน้นว่า กระดุมเม็ดแรกสำคัญที่สุด “สิ่งที่ต้องระวังคือการมีเพียงไอเดียแล้วกระโดดไปหานักวิจัยเลย แม้นักวิจัยจะทำให้ได้อย่างที่เราต้องการ แต่สุดท้ายแล้วก็ขายไม่ได้ เพราะสินค้าไม่ตอบโจทย์ตลาดและต้นทุนไม่ได้ ทำให้เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงินทองที่ต้องลงไป แล้วก็เสียความตั้งใจและเสียกำลังใจ สินค้านวัตกรรมต้องระวังเรื่องความแตกต่างแต่ไม่ตอบโจทย์ เพราะฉะนั้น ต้องทดลองตลาดให้ขายดีจนทำไม่ทันก่อน แล้วค่อยไปหาเทคโนโลยี หานักวิจัย หรือหานวัตกรรมมาใช้ แล้วก็มองทะลุไปให้ถึงกระดุมเม็ดสุดท้ายที่ต้องมองให้ออกว่า สินค้าตัวนี้มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจหรือไม่ ต้องรู้ว่าเป้าหมายต้นทุนต้องอยู่ที่เท่าไร จะขายอย่างไร และจะหาวัตถุดิบได้จากที่ไหน ดังนั้น ถ้าติดกระดุม 3 เม็ดนี้ได้ โอกาสสำเร็จที่ตามมาก็จะมีสูงมากเช่นกัน”


ทั้งหมดนี้ คือคำแนะนำดีๆ จากนักธุรกิจหนุ่มที่มองว่า SME คือผู้ที่มีหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยบนหิ้งที่เป็น Know How ของนักวิจัยที่บางครั้งล้ำลึกเกินไปจนอาจจะใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ไม่ได้ มาทำให้เกิดเป็นสินค้าได้จริง ผ่านการบอกโจทย์ชี้จุดความต้องการของตลาด เพราะ “เราในฐานะพ่อค้า ในฐานะคนขายเป็นคนแปรโจทย์จากผู้บริโภคไปหานักวิจัย ทำให้งานที่อยู่บนหิ้งขยับลงมาขายได้จริงหรือเข้าสู่ห้างได้” นั่นเอง 

โปรย

  • สินค้านวัตกรรมต้องระวังเรื่องความแตกต่างแต่ไม่ตอบโจทย์ เพราะฉะนั้น ต้องทดลองตลาดให้ขายดีจนทำไม่ทันก่อน แล้วค่อยไปหาเทคโนโลยี

Published on 21 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

จากสวนสยาม สู่ Siam Park เคล็ดลับการส่งไม้ต่อธุรกิจครอบครัว

ถึงวันนี้ก็เป็นเวลา 40 ปีพอดีสำหรับการเปิดให้บริการในประเทศไทยของ “สวนสยาม” สวนน้ำและสวนสนุกแห่งแรกของประเทศที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ช่วงเวลานี้ถือเป็นจังหวะความเคลื่อนไหวที่สำคัญของสวนสยาม เพราะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ถึง 2 เรื่องด้วยกัน

เรื่องแรก คือการเข้ามารับช่วงต่อของทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูล “เหลืองอมรเลิศ”

เรื่องที่ 2  คือการ Re-Branding ครั้งใหญ่จาก “สวนสยาม” เป็น “Siam Amazing Park”

ถือเป็นโอกาสอันดีที่ SME ONE มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณนพกาญจน์ เหลืองอมรเลิศ หรือคุณหญิง ที่เข้ามารับตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่ บจก.สยามพาร์คบางกอก เพื่อรับรู้รายละเอียดถึงเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้

ต้องบอกว่าตลอด 1 ชั่วโมงของการสนทนา เคล็ดลับและการบริหารงานของทายาทรุ่นที่ 2 นี้มีอะไรที่น่าติดตามจริงๆ

ไปที่ ประวัติความเป็นมาของธุรกิจสวนสยาม

ไปที่ ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ

ไปที่ แนวคิดของ Bangkok World

ไปที่ ความเป็น Entrepreneurship

 

ประวัติความเป็นมาของธุรกิจสวนสยาม

SME ONE : สวนสยามเปิดให้บริการมาแล้วกี่ปี ตลอดระยะเวลาที่เปิดกิจการมามีจุดเปลี่ยนอะไรที่สำคัญบ้าง

คุณนพกาญจน์ : ขึ้นปีที่ 40 พอดี เราเปิดให้บริการวันที่ 29 พฤศจิกายน 2523 แต่ว่าใช้เวลาเตรียมตัวก่อนหน้านั้น 2-3 ปี สวนสยามเป็นทั้งสวนน้ำและสวนสนุก ก่อตั้งโดยคุณไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ท่านประสบความสำเร็จมาจากการที่เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก่อนที่จะมาทำโครงการนี้ คุณไชยวัฒน์ทำโครงการหมู่บ้านมาแล้วประมาณ 30-40 โครงการเรียกว่าเป็นยุคบุกเบิกของประเทศไทยที่ทำระบบธุรกิจบ้านจัดสรร 

สำหรับสวนสยามเกิดจากความตั้งใจหลังจากที่คุณไชยวัฒน์ได้ไปเที่ยวต่างประเทศ แล้วเห็นว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นที่เป็นเกาะแต่สามารถมีสวนน้ำมากมาย และมีโอกาสได้ไปดิสนีย์แลนด์ก็อยากจะเห็นประเทศไทยมีสวนสนุกขนาดใหญ่ เมื่อกลับมาจึงมีความคิดที่จะทำสวนน้ำและสวนสนุกที่เป็นแหล่งพักผ่อนของคนในเมือง และให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่คู่กับคนไทยในราคาที่คนไทยรับได้

คุณไชยวัฒน์เคยกล่าวว่า ธุรกิจนี้คนที่คิดจะทำมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คนแรก คือรัฐบาลที่ทำให้กับประชาชน คนที่สองต้องเป็นมหาเศรษฐีที่รวยจนไม่ต้องไปคิดแล้วว่าเงินจะเอาต่อยอดยังไง คนที่สาม คือคนบ้า ซึ่งท่านก็บอกว่าท่านก็ไม่ใช่รัฐบาล เศรษฐีก็อาจจะยังไม่ถึงขั้นนั้น ก็คงต้องเป็นคนประเภทสามที่ทำธุรกิจนี้ เพราะมันเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงมาก ในขณะที่ระยะเวลากว่าจะคืนทุนยาวนานมาก เรียกได้ว่าเอาไปฝากธนาคารอาจจะรวยกว่านี้ แต่มันก็มีเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ธุรกิจนี้อยู่ได้จนถึง ณ วันนี้ แล้วก็ยังมีผู้ที่สนใจที่กระโจนเข้ามาในธุรกิจนี้อยู่เรื่อย ๆ สวนสนุกอาจจะไม่เยอะเพราะใช้เงินลงทุนสูงมาก แต่จะเห็นว่ามีสวนน้ำเกิดขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 10 ปีหลัง ไม่ว่าจะเป็นหัวเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ซึ่งอาจจะอยู่ใกล้ชายแดนบ้าง หรือว่าเป็นแหล่งที่คนไทยเองนิยมไปท่องเที่ยว

ถ้ามองจากภายนอกธุรกิจนี้เหมือนกับเป็นธุรกิจที่ลงทุนครั้งเดียวแล้วคุณเก็บเกี่ยว แล้วคุณได้ประโยชน์จากการที่พัฒนาที่ดินให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น แต่เราก็จะได้เห็นว่าในช่วงที่วิกฤตนี้มันก็ได้พิสูจน์ว่าธุรกิจนี้ก็ไม่ได้ง่าย ต้องอาศัยสายป่านที่ยาว แล้วก็ต้องอาศัยความอดทนจริง ๆ ถึงจะสามารถประคองธุรกิจนี้ไปได้ ที่สำคัญคือต้องทุ่มเทกับมันมาก ๆ 



ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ

SME ONE : ช่วงแรก ๆ กับปัจจุบัน พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไปขนาดไหน

คุณนพกาญจน์ : เปลี่ยนไปมาก คือช่วงแรก ๆ คนไทยตื่นเต้นว่าเรามีทะเลกรุงเทพ คุณไชยวัฒน์เล่าว่า ณ วันนั้นแม้จะบอกให้คนไม่ลงไปตีโป่งในน้ำวนก็ทำความเข้าใจกับคนมาเที่ยวยาก เพราะว่าเขาเคยชินกับการเล่นน้ำแบบนั้น ถามว่าทำไมถึงต้องใส่ชุดว่ายน้ำ เพราะว่าเล่นน้ำแถวบ้านไม่เห็นต้องใส่เลย แต่มันเป็นเรื่องของ Hygienic เรื่องป้องกันเชื้อโรค ความปลอดภัย ความสะอาด รวมถึงความสะดวกในการที่จะกู้ภัยคุณขึ้นมาด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทุกคนต้องใส่ชุดว่ายน้ำ พอมาระยะหนึ่ง เริ่มมีสไลเดอร์ ทีนี้ก็แตกตื่นเลยเพราะว่าคนไทยไม่รู้จักสไลเดอร์ รู้จักแต่ไม้ลื่น แล้วสไลเดอร์มันสูงมาก ตอนนั้นสูงเป็น Guinness World Records ก็ต้องสอนคนมาเที่ยวว่าเล่นอย่างไรถึงจะปลอดภัย ทำไมถึงต้องตั้งกฎกติกา

  แต่เมื่อเวลาผ่านไป มุมมองคนก็มีเปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งอาจจะได้มาสัมผัสแล้วทั้งสวนสยาม, ดรีมเวิลด์ สวนน้ำต่าง ๆ รวมถึงได้ไปใช้บริการต่างประเทศ ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์, Universal Studio สิงคโปร์ คนไทยมีโอกาสได้ไปเห็นสวนสนุกระดับโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มี Player เข้ามาในตลาดเยอะ เพราะฉะนั้นความคาดหวังในสินค้าและบริการจึงสูงขึ้น ประกอบกับสื่อดิจิทัลที่รวดเร็วมาก Comment ของลูกค้าจะเข้ามาเยอะมาก แล้วลูกค้าก็คาดหวังการตอบรับด้วยว่าคุณต้องฟังเรา ในขณะที่เราที่เป็นผู้ประกอบการ เราตั้งใจฟังอยู่แล้ว เราขายสวนสนุก ธุรกิจแบบนี้ไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ที่คุณซื้อ เช่น ซื้อผงซักฟอกแล้วซักได้สะอาด หรือมีกลิ่นหอมเหมือนที่โฆษณาไหม ซึ่งค่อนข้างที่จะเป็นรูปธรรม แต่สวนสยามเรา Commit ว่าคุณจะมีความสุข คุณจะหัวเราะ คุณจะได้มีประสบการณ์ดี ๆ กลับไป สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ Subjective มาก ๆ  แล้วก็เปลี่ยนแปลงเร็วมาก เพราะคุณจะมีความสุขไหมต้องเทียบกับความคาดหวังของคุณว่า คุณคาดหวังว่าคุณจะได้มาเจออะไร แล้วคุณได้รับอะไรกลับไป การที่มีเครื่องเล่นใหม่ ๆ อย่างเดียว ไม่เพียงพอ 

เรารู้ว่าทุกคนที่มาสวนสนุกจะมาเพราะเป็นวันพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ตัดสินใจก้าวมาที่นี่ การที่คุณจะเตรียมตัวเข้ามาสวนสนุก คุณไม่ใช่แค่เช้าวันนี้เราไปสวนสยามกันเถอะ แต่คุณต้องนัดเพื่อนนัดลูก เตรียมตัว เตรียมเสื้อผ้า เตรียมความพร้อมทุกอย่าง เพราะฉะนั้นแปลว่าคุณเตรียมตัวก่อนหน้าอย่างน้อย ๆ 3-4 วัน เฉลี่ยแล้วคือ 2 อาทิตย์ก่อนที่จะตัดสินใจถึงวันเดินทาง นั่นแปลว่าคุณมาด้วยความคาดหวัง วันนี้ออกจากบ้านจะมาเจอความสนุกสนาน เราต้องการให้คุณกลับบ้านไปด้วยความสุขที่มากกว่าตอนที่คุณก้าวเข้ามา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก 

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราฟังจากลูกค้า เพราะว่าเราคิดเสมอว่า ถ้าเขามาถึงแล้วเขาไม่ชอบ เขาไม่เสียเวลามาต่อว่าเราหรอก คนที่เสียเวลามานั่งอยู่หน้าคอมหรือ Login ไม่ว่าจะสื่ออะไรก็ตามแล้วบอกเรา หมายถึงถ้าเราไม่ได้แย่จริง ๆ เขาต้องการเห็นเราพัฒนา เราก็เอาสิ่งเหล่านี้กลับมาพัฒนา ซึ่งเราทำกันเป็นระบบ ทุกอย่างจะเข้ามาที่ Center แล้วก็จะถูกแจกจ่าย แล้วก็มีการตามผล ว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง แต่ก็ต้องบอกว่าลูกค้าสมัยนี้ก็ไม่เหมือนลูกค้าสมัยก่อน บางสิ่งซึ่งลูกค้าบางคนโอเค ลูกค้าคนนี้อาจจะไม่โอเคก็ได้ ซึ่งสวนสยามเรามีนโยบายอยู่แล้ว เรามี Standard อย่างน้อยที่สุดเราต้องทำให้ได้เท่านี้

SME ONE : สิ่งที่พูดมาทั้งหมด คือ Brand Experience ใช่หรือไม่

คุณนพกาญจน์ : ใช่ ก่อนหน้านี้เราอธิบายด้วยสโลแกนสั้น ๆ ว่า โลกแห่งความสุข สนุกไม่รู้ลืม ทีนี้คำว่าไม่รู้ลืม คืออะไร ก็จับต้องยาก และอย่างที่บอกว่าโลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นวันนี้เราผ่านมา 40 ปี เมื่อเข้าสู่ปีที่ 39 เราตัดสินใจที่จะ Re-Branding อีกครั้ง จากเดิมชื่อ Siam Park City สวนสยาม ทะเลกรุงเทพ ทำให้หลายคนคาดหวังแต่สวนน้ำ เชื่อไหมว่าวันที่เราตัดสินใจเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ว่าจะเอาเครื่องเล่นตัวใหญ่ๆ มาลง พอโฆษณาครั้งแรก ลูกค้าไม่เชื่อว่า คือสวนสยาม เพราะว่าภาพจำ ณ วันนั้น เราคือ ทะเลกรุงเทพ และเราแข็งแรงมากในแง่ความเป็นสวนน้ำ แต่ภาพของสวนสนุกคนไม่ได้อยู่ใน Mindset เลย บางคนคิดไปถึงอีกสถานที่ก็ยังมี

ประเด็นที่สำคัญ คือไม่ใช่แค่ไม่คาดคิด แต่ไม่มั่นใจว่าเราจะสามารถดูแลเครื่องเล่นระดับนี้ได้ เพราะ Expertise เรา ไม่ใช่สวนสนุก เราก็ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ประสบการณ์ที่เรามี ความพร้อมของเรา เราสามารถจัดการ เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าสู่ปีที่ 39 คุณไชยวัฒน์ก็คุยกับทีมงานระดับสูงว่า การทำธุรกิจเมื่อ 40 ปีที่แล้ว นักธุรกิจคนนึงที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องทุ่มทั้งตัว เพราะฉะนั้นภาพลักษณ์ของธุรกิจก็จะสะท้อนความเป็นตัวตนของคนนั้น ชื่อของสวนสยามจึงผูกกับคุณไชยวัฒน์อย่างแน่นมาก ทุกวันนี้คนสมัยใหม่ไม่ได้จำแล้วว่าคุณไชยวัฒน์เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ชื่อไชยวัฒน์ คือสวนสยาม คุณไชยวัฒน์เมื่อ 40 ปีที่แล้วอายุ 40 กำลังเป็นคนไฟแรง ประสบความสำเร็จ ภาพลักษณ์สวนสยามก็เป็นแบบนั้น ไชยวัฒน์จะขึ้นจะลงยังไง มันก็คือสวนสยามที่สะท้อนออกมาแบบนั้น 

แต่ ณ วันนี้ คุณไชยวัฒน์อายุ 80 ปีแล้ว ท่านบอกว่า เราจะให้สวนสยามอายุ 80 หรอ แล้วถ้าวันนึงถ้าไชยวัฒน์ไม่ได้ทำแล้วแล้ว สวนสยามจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นจึงเป็นโจทย์ที่คุยกันเยอะ สวนสยามอยู่ในใจของคนทุกคนเลย เพราะฉะนั้น Brand Value จึงมีรายละเอียดมาก แต่ถามว่าคนคิดถึงในแง่แบบไหน  Value ของแบรนด์คืออะไร Identity ของแบรนด์คืออะไร  ในเมื่อเราตั้งใจที่จะพัฒนาให้เป็น Park ซึ่งต้องมีชีวิตซึ่งสดใส เรามั่นใจว่าสิ่งที่เรามีนั้นมีคุณค่าแต่จะทำยังไงให้สื่อออกไปได้ ก็เลยเห็นพ้องต้องกันว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้อง Re-Branding  ชื่อที่เราใช้ก็คือ Siam Amazing Park คือมีความเป็นสยาม เพราะว่าเราเป็นสวนที่ต้องการให้อยู่คู่กับคนไทยและ Deliver ความ Amazing แต่จะ Amazing แบบไหนก็ต้องมาคุยกัน Amazing ในแง่ของเครื่องเล่น ในแง่ของสวนน้ำ ในแง่ของบริการ ในแง่ของ Experience ที่ลูกค้าจะได้ 

 

SME ONE : การ Re-Branding ครั้งนี้ต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง

คุณนพกาญจน์ : เรามีโครงการใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นชื่อว่า Bangkok World  ซึ่งจะเข้ามาเป็นหนี่งในส่วนสำคัญของ Siam Amazing Park จะเสริมความ Amazing ขึ้นไป ใน Part ของสวนน้ำ-สวนสนุก เราจำกัดความว่าเป็นความ Amazing ของฝั่งโลกตะวันตกคือความทันสมัย สีสัน สนุกสนาน รวมถึงอาจจะเป็น Edutainment ที่เข้ามา แต่ใน Part ของ Bangkok World จะเป็นความ Amazing ของฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะตะวันออกที่เป็นบางกอกของเราในสมัยก่อน เราย้อนกลับไปในสมัยที่เมืองบางกอกสวยงามที่สุด ก็คือสมัยรัชกาลที่ 5 ที่รุ่งเรืองทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะ วัฒนธรรม ผู้คน ประเพณีต่าง ๆ เราจะจำลองสิ่งเหล่านั้นมาไว้ที่นี่ ทำให้ที่แห่งนี้มีชีวิตขึ้นมา ตึกเก่า ๆ ซึ่งวันนี้คนไม่ได้รู้จักแล้ว ตึกเฉลิมไทยหน้าตาเป็นอย่างไร ทำไมมันถึงโด่งดังมากในสมัยนั้น ตึกอาคารประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ หรือประตูสามยอดเป็นอย่างไร  สะพานหันสมัยก่อนเป็นอย่างไร ทำไมถึงกลายเป็น Landmark ที่ทุกคนรู้จักเราจะย้อนเอากลับมา

ตึกเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นแค่อาคารเฉย ๆ เราจะรวบรวมสินค้าวิสาหกิจชุมชนจากทั่วประเทศ เข้ามาอยู่ในตึกทั้งหลายเหล่านี้ด้วย Bangkok World  มีทั้งหมด 13 อาคาร แต่ละอาคารจะเป็น Concept ของ Market Place หนึ่งอาคารก็เป็นหนึ่ง Market Place เช่น Bangkok Organic Market ใช้ตึกกรมประชาสัมพันธ์เป็นอาคารที่ขายของ Organic ทั้งหลัง ชั้นล่างอาจจะเป็น Supermarket Organic ชั้น 2 อาจจะเป็นพวกร้านขายผลไม้ ผัก หรือสินค้า Cosmetic ความงามอะไรแบบนี้  ชั้น 3 อาจจะเป็นเรื่องบริการสุขภาพและความงาม Concept แต่ละตึกจะชัดเจน อีกตึกหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องอาหาร ไม่ใช่อาหารที่เห็นตามห้างสรรพสินค้าแต่จะเป็นอาหารที่มาจากย่านต่าง ๆ ทุกวันนี้อยากกินบะหมี่ ทำไมต้องไปที่สะพานเหลือง เราก็ยกสิ่งเหล่านั้นมาอยู่ที่นี่ อยากจะกินเป็ดพะโล้ ก็เป็ดพะโล้เจ้าดัง ภัตตาคารซึ่งอาจจะไม่ต้องไปถึงเยาวราชก็จะมีอยู่ที่นี่ เรารวบรวมสิ่งเหล่านี้เอาเข้ามาให้มันเป็น Concept ที่แข็งแรงขึ้น แล้วก็ประกอบร่วมกันเข้ามาเป็น Siam Amazing Park และพื้นที่ส่วนนี้จะไม่เสียค่าเข้า


แนวคิดของ Bangkok World



SME ONE : แนวคิดของ Bangkok World ค่อนข้างจะเปิดกว้างเพื่อต้อนรับทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มทัวร์ด้วย

คุณนพกาญจน์ : Bangkok World  เป็นสถานที่สำหรับทุกคน เราไม่ได้มองว่า Target เราเป็นแค่ตลาดทัวร์ ไม่ได้มองแค่มาที่นี่แล้วเป็น Last Stop อย่างเดียว ถ้าคุณมาที่นี่คุณใช้เวลาได้ทั้งวัน เรามีตัวเลือกให้เยอะมาก ถ้าเป็น Operator Tour ก็สามารถเลือกได้ว่าจะมาเที่ยวสวนน้ำ-สวนสนุกในภาคกลางวัน และทานข้าวเย็น Shopping ก่อนจะกลับก็ได้ หรือว่าจะมาเที่ยวแต่สวนน้ำ-สวนสนุกและไปที่อื่นต่อก็ได้ หรือจะมา Shopping อย่างเดียว ซื้อของกินข้าวแล้วไปสนามบิน ก็ได้ คือมีความหลากหลาย เพราะ Bangkok World จะเปิดถึง 4 ทุ่ม เรามองว่ามี Flight ดึก ๆ เยอะ แล้วก็นักท่องเที่ยวต้องออกจากโรงแรม ตั้งแต่เช้า คือ กลุ่มทัวร์ไม่มีใครออกเที่ยง เพราะว่าเวลาเที่ยวมันหายไป ก็ต้องออกแต่เช้าอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นที่นี่จะสามารถเป็นที่รองรับได้ มา Refresh ตัวเองก่อน ก่อนที่จะเป็น Red Eye Flight กลับไป อนาคตสวนน้ำ-สวนสนุกเองก็จะขยายเวลาเปิดให้บริการไปถึง 4 ทุ่มเช่นเดียวกัน คือกลายเป็น Park ที่เปิดบริการถึงภาคกลางคืนไปด้วย มันก็จะมีตัวเลือกเยอะขึ้น 

กลุ่มครอบครัว เด็ก ๆ อาจจะไม่ได้อยาก Shopping อยากจะเที่ยวสวนสนุก ก็ได้ คุณแม่อาจจะใช้เวลานี้ในการ Shopping ก็ได้ คนไทยเองก็เหมือนกัน ทุกวันนี้เราก็ได้รับ Feedback จากลูกค้าว่า เครื่องเล่นสวนสนุกส่วนใหญ่ปิด 6 โมงเย็น เมืองไทยกว่าแดดจะร่มก็ 4 โมงแล้ว เล่นตอนบ่าย 2 ก็ทรมานเหลือเกิน ก็เลยตั้งใจว่าจะขยายเวลาเปิดบริการออกไป ในแง่ธุรกิจหลังเลิกงานคนก็มาเที่ยวได้ ภาคกลางคืนคนมาเที่ยวได้ ได้ขยาย Operating ออกไป ได้มี Spending Time ที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันภาคกลางคืนของกรุงเทพตอนนี้ คุณจะไปเที่ยวไหน ตอนนี้มีอะไร มีตัวเลือกอะไรบ้างก็ตอบว่ามีไม่มาก

 

SME ONE : Bangkok World  ที่เราจะเปิดใหม่ สามารถรองรับได้กี่ร้านค้า ถ้าผู้ประกอบการรายย่อยสนใจอยากจะเข้ามาขายของต้องทำอย่างไร

คุณนพกาญจน์ :  Bangkok World มีพื้นที่ขายอยู่ที่ 50,000 ตารางเมตร เราชัดเจนว่าเราขายสินค้าวิสาหกิจชุมชน พอเราเริ่มทำโครงการนี้ เราถึงรู้ว่ามีผู้ประกอบการรวมแล้วมากกว่า 90,000 ราย เพราะฉะนั้นถามว่าผู้ประกอบการสนใจต้องทำอย่างไร อย่างแรกคุณต้องมารู้จักโครงการเราก่อน คุณจะได้รู้ว่า เราเหมาะกับคุณจริง ๆ หรือเปล่า

 หนึ่งคือ เราจะมีภาษีกว่าที่อื่น เพราะเราไม่ใช่ Stand Alone เรามี Park ซึ่งแข็งแรงเป็นฐานให้ มีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาอยู่แล้ว สองคือ Location ของเราเดินทางสะดวกทั้งสำหรับคนไทย และต่างชาติ จะเป็น First Stop หลังจากลงสนามบินหรือ Last Stop ก่อนขึ้นเครื่องบินกลับประเทศ ทำไมไปเกาหลีถึงมีที่ละลายเงินวอน แล้วทำไมจะมีที่ละลายเงินบาทไม่ได้ แล้วที่นี่ไม่ใช่สินค้าแบรนด์เนมที่คุณหาในห้างไหนก็ได้ แต่เป็นของดีจากทั่วประเทศรวบรวมเอาไว้ นอกเหนือจากนั้นก็มีเรื่องของสถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่แค่แหล่ง Shopping แต่เป็น Attraction ซึ่งได้เที่ยวด้วย ได้ถ่ายรูป ได้วิวสวย ๆ ได้กินข้าว ได้ Shopping

ถามว่าผู้ประกอบการสนใจจริงๆ ต้องทำอย่างไร ก็ต้องติดต่อเข้ามา ตอนนี้เราเริ่มให้ข้อมูลแต่ว่าพื้นที่ขายอาจจะยังไม่ได้ Final ว่าจะมีบูธขนาดเท่าไหร่บ้าง อาจจะเป็นใน Step ต่อไป ประมาณสิ้นปีนี้เราจะเริ่มเปิด 2 อาคารจากทั้งหมด 13 อาคาร เป็นอาคารบ้านพระอาทิตย์กับเรือนขนมปังขิง อย่างที่เล่าไปตอนแรกว่า Bangkok World  เป็น Market Place แต่ละตึกก็จะแตกต่างกัน  บ้านพระอาทิตย์จะเป็น Thai Kid’s Cooking Experience ในขณะที่เรือนขนมปังขิงจะเป็น World Kid’s Cooking Experience ก็คือสอนทำอาหาร อาคารนึงสอนทำอาหารไทย อีกอาคารนึงสอนทำอาหารนานาชาติ แต่ไม่ได้เป็นโรงเรียนสอนทำอาหารแบบทางการมาก แต่จะผสม Entertainment เข้าไป คือได้ทำอาหารด้วย ได้สนุกด้วย แล้วก็มีที่จัดเลี้ยงอยู่ในแต่ละตึกด้วย 

 

SME ONE : เห็นคุณค่าของสินค้าวิสาหกิจชุมชนตรงไหน ถึงอยากสนับสนุน

คุณนพกาญจน์ :  พอเราได้สนทนากับคนขายจริง ๆ เรามองว่าสินค้าวิสาหกิจชุมชน คุณค่าไม่ได้อยู่แค่ตัวสินค้าอย่างเดียว เหมือนที่หญิงเห็นตอนแรก เราเห็นปลาตะเพียนที่เขาสานตัวนึง เราก็มองแค่สวยดี แต่คุณค่ามันเพิ่มขึ้นเมื่อเราได้ไปคุยกับคนที่เขาทำว่า โห...ทำไมเขาถึงสานปลาตะเพียนแล้วเขายังสามารถเลี้ยงลูกจนโต ส่งลูกเรียนจบได้ แล้วปลาตะเพียนตัวนี้ ทำไมถึงอยู่ได้ 40 ปี โดยที่ไม่ผุ ไม่เป็นรู ทำไมแข็งแรงอยู่ได้ขนาดนี้ คุณค่าของสินค้าวิสาหกิจชุมชนมันอยู่เบื้องหลังตรงนั้น 

เราอยากให้ผู้ค้าวิสาหกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนทำคุณค่าเหล่านี้ออกมา ทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณจับต้องได้มากขึ้น แล้วก็สิ่งที่จะตอบแทนถึงคุณมันจะได้สมคุณค่าจริง ๆ เพราะอันนี้คุณทำด้วยหยาดเหงื่อแรงกาย แล้วก็ความเชี่ยวชาญทั้งชีวิตของคุณจริง ๆ

เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถตีค่าได้แค่ทุเรียนกวน ทำไมเจ้านี้กิโลกรัมละเท่านี้ อีกเจ้านึงทำไมถึงกิโลกรัมละเท่านี้ เพราะมันมาจาก Background ซึ่งต่างกันมาก มีเรื่องราวที่ต่างกันมาก แล้วมันก็สะท้อนออกมาในผลิตภัณฑ์ แต่จะทำอย่างไรให้คนได้รับรู้ว่าคุณค่าของมัน สิ่งที่เราตั้งใจทำตรงนี้ขึ้นมา ส่วนหนึ่งก็คือทำให้คุณมีพื้นที่ในการที่จะได้แสดงคุณค่าเหล่านั้นออกมาจริงๆ


ความเป็น Entrepreneurship

SME ONE : การเข้ามารับช่วงต่อการบริหารธุรกิจ อะไรที่เราต้องสร้าง อะไรที่เราต้องซ่อม อะไรที่เราต้องรักษา

คุณนพกาญจน์ : ขอเริ่มจากรักษาก่อน ต้องบอกว่าส่วนตัวหญิงจบปริญญาโทมาจากต่างประเทศ เรียนมาจาก New York แล้วก็มองโลกมาแบบนึง เรามาจาก Background ที่มีคุณพ่อเป็นหมอ มีคุณแม่เป็นผู้ประกาศข่าวหน้าจอทีวี และเป็นเจ้าของรายการโทรทัศน์ แต่ว่าการที่ได้อยู่ใกล้คุณไชยวัฒน์มันเป็นการปูพื้นให้เราแข็งแรง ให้เราเข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อมาทำงานจริง ๆ คือหญิงทำงานที่อื่นมาก่อน ทำบริษัท International ก็เป็นแบบหนึ่ง มาเจอที่นี่เข้าไป เขาเรียก Culture Shock ได้เห็นว่าการที่มนุษย์คนนึงเอาชีวิตตัวเองทุ่มทั้งชีวิตเพื่อที่จะทำให้ความฝันมันเป็นความจริง และเมื่อวันนึงสิ่งที่เกิดขึ้นมันเกินความฝันขึ้นไปอีก และเมื่อคนคนนั้นรู้สึกว่ามันเกินแขนตัวเอง 2 ข้างที่มันจะทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเองแล้วจะต้องทำยังไง เราได้เห็นทั้งสิ่งที่ประสบความสำเร็จ ได้เห็นสิ่งที่เป็นปัญหา ได้เห็นวิกฤต ได้เห็นวิธีการแก้ไขปัญหาหลาย ๆ อย่าง ทั้งที่ถูกและที่อาจจะยังไม่ใช่

เพราะฉะนั้นคำถามที่บอกว่าต้องรักษาอะไรไว้มีเยอะมาก แน่นอนธุรกิจเราชัดเจนว่าอยากให้ Siam Amazing Park เดินหน้าไปในทิศทางแบบไหน เพราะเราไม่ได้มองอยู่แค่ตรงนี้ เรามองว่า ณ วันนี้ บทบาทของสวนน้ำ-สวนสนุก หรือสวนพักผ่อนหย่อนใจไม่ใช่แค่การให้คนมามีความสุขที่นี่ ทุกวันนี้สไตล์ของคนก็เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นเราจะไปใกล้กับเขาได้มากขึ้นอย่างไร เราเอาความสุขไปเสิร์ฟให้กับเขา โดยที่ตัวเขาเองอาจจะไม่ต้องมา Experience อยู่ที่นี่ก็ได้ 

เรามองว่า Trend จะไปในทิศทางแบบนั้น แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่เป็น Physical ที่ยังต้องรักษาไว้ ก็ต้องพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานที่ เครื่องเล่น บริการ คือหัวใจสำคัญของการเป็น Park คือต่อให้คนไปมี Virtual อะไรเยอะขึ้น แต่สุดท้ายแล้วคนก็ยังโหยหาการมาสัมผัสกับสิ่งที่ได้ ได้จับต้อง ได้ Experience ด้วยตัวเองจริง ๆ ได้ท่องเที่ยวจริง ๆ ถ้าเกิดว่าเราคิดว่า เราจะรักษาเอาไว้ เราต้องทำให้มันดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่เราตั้งใจตั้งแต่วันแรกว่า เราอยากให้สวนแห่งนี้เป็นสวนของคนไทยที่คนไทยใช้บริการได้ แต่มีมาตรฐานสากล ก็ต้อง Keep Concept นี้ให้แข็งแรงมาก ๆ แล้วเราเชื่อมั่นว่าเพราะ Concept นี้ทำให้เรายังอยู่ได้ถึงวันนี้ เราไม่ใช่สวนที่ราคาแพงที่สุด เราไม่ใช่สวนที่ราคาถูกที่สุดนะ แต่ทำไมคนไทยถึงยังคิดถึงเรา แล้วต่อให้เกิดวิกฤตอะไรก็ตาม ทำไมก็ยังมีผู้สนับสนุนเราอยู่ 

 

SME ONE : อะไรคือสิ่งที่คิดว่าต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิมหรือสิ่งที่ต้องแก้ไข ต้องซ่อมมัน

คุณนพกาญจน์ : อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นว่า คุณมีเงินคุณทำได้สวนสนุก แต่ถ้าคุณทำให้มันเป็นอย่างที่เราตั้งใจ ความ Amazing ที่เราอยากให้ทำไม่ได้อยู่ที่เครื่องเล่นอย่างเดียว คนทั้งหลายเหล่านี้ที่ต้อง Deliver มันออกมา คุณจะทำมันออกมาอย่างไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องซ่อมอย่างมากที่สุดเลย ก็คือคน แต่จะซ่อมด้วยวิธีการแบบไหน ทำอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงที่บริษัทไม่ได้แข็งแรง โดยเฉพาะในช่วงเวลาแบบนี้ บริษัทอาจจะดูแลเขาได้ไม่เต็มที่ แต่เราต้องการ Effort จากเขาเกิน 100% เราจะทำอย่างไร

สิ่งนึงที่คุณไชยวัฒน์บอกก็คือ เราในฐานะผู้นำต้องแข็งแรง ต่อให้ข้างในเราจะเป็นอย่างไรก็ตาม เราต้องแสดงให้เห็นว่าในภาวะแบบนี้คนที่เป็นเจ้าของเขาสู้ยังไง คือเมื่อไหร่ที่ความสามัคคีมันเกิด แรงก็จะมา เมื่อไหร่ที่มันมองไปคนละทิศคนละทางมันก็ไม่ได้

เชื่อว่าปัญหานี้น่าจะเป็นปัญหาเดียวกันในทุก ๆ ภาคส่วน โดยเฉพาะภาคส่วนบริการ เน้นที่ท่องเที่ยว วิกฤตนี้ทุกคนมองตัวเองก่อนว่าฉันวิกฤตแล้ว ธุรกิจจะเป็นอย่างไรอาจจะเป็นเรื่องระดับรองลงมา แต่เราในฐานะที่ต้องประคองทั้งหมด เรามีพนักงานประมาณ 500 คนที่ต้องดูแล เรามี Commitment กับลูกค้าอีกเยอะแยะมากมายที่จะต้องทำ เพราะฉะนั้นการซ่อมในวันนี้เชื่อว่าจะทำให้เราแข็งแรงขึ้น วิกฤตครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า จุดอ่อนเราอยู่ที่ไหนบ้าง เราทำอะไรที่อาจจะไม่ระมัดระวังมาในช่วงก่อนหน้านี้ แล้วทำให้พอมันเกิดปัญหาขึ้น ทำให้เราเซได้ขนาดนี้ มันก็จะทำให้เราแข็งแรงขึ้นถ้าเราผ่านตรงนี้ไปได้

การซ่อมครั้งนี้ทำให้ธุรกิจแข็งแรงขึ้น วิธีที่เราปฎิบัติในตอนนี้จะเป็นวิถีปฏิบัติในอนาคตอีกยาวไกล

 

SME ONE : เรื่องต่อมาคือ สร้าง

คุณนพกาญจน์ : เรื่องสร้างขอไม่พูดว่าเราจะสร้างนู่นสร้างนี่ เพราะลูกค้าเห็นอยู่แล้วด้วยตาตัวเองว่าเราจะทำอะไรบ้าง แต่สิ่งที่เราตั้งใจจะทำ คือเราจะสร้างให้องค์กรแห่งนี้เป็นมากกว่าองค์กร ให้เป็นเหมือนสถาบันที่มีความแข็งแรงและมีความ(อะไร)รอบด้านมากยิ่งขึ้น

ที่คุณไชยวัฒน์บอกทุกคน ก็คือ วันนี้เราไม่ได้มองแค่สวนน้ำ-สวนสนุก เรามี Bangkok World แล้ว อีกหน่อยเราจะมี 1 2 3 4 ขึ้นมาอีก สุดท้ายเราอยากให้คนมองเราจำภาพเราในลักษณะแบบไหน เมื่อคิดถึง Siam Amazing Park มันต้องเป็นองค์กรสถาบันที่แข็งแรงในอนาคต เชื่อว่า Siam Amazing Park จะอยู่คู่กับคนไทย เหมือนกับความตั้งใจที่เรามีตั้งแต่วันแรกนะคะ แต่เราก็แข็งแรงขึ้น

 

SME ONE : ฟังจากที่เล่ามา คุณไชยวัฒน์ผู้ก่อมีความเป็น Entrepreneurship สูงมาก แต่จะทำอย่างไรให้ทั้งองค์กรมีความเป็น Entrepreneurship ด้วย

คุณนพกาญจน์ : ทุกคนอาจจะไม่ต้องซึมซับไปทั้งหมด แต่สิ่งสำคัญ คือทุกคนต้องรู้ว่าบทบาทของคุณคืออะไร ขอ ยกตัวอย่าง คุณทำหน้าที่เปิดเครื่องเล่น คือคุณต้องรู้บทบาทของคุณว่า ถ้าบริษัทวางเป้าหมายอีก 20 ปีเป็นอย่างไร ณ วันนี้คุณตัดสินใจมาร่วมงานกับบริษัท คุณมีบทบาทอย่างไรที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายใน 20 ปี เพราะฉะนั้นคุณมีบทบาทในการทำ Operation คุณต้องทำอย่างไร คุณก็ต้องเป็นพนักงานเปิดเครื่องเล่นซึ่ง 1 2 3 4 5 ทำอย่างไรไงให้ Amazing ที่สุด 

เพราะฉะนั้นเมื่อคุณ Deliver Amazing Service, Amazing Mindset ออกมา คุณก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Amazing ได้ แต่ในขณะเดียวกัน คนที่ดูแลพนักงาน เช่น HR คุณจะต้องควบคุมให้พนักงานเหล่านี้ Amazing ได้อย่างไร เรากำลังจะบอกว่าบทบาทของแต่ละคนไม่เหมือนกัน 

 

SME ONE : ทุกวันนี้เราทำงานร่วมกับภาครัฐบ้างหรือไม่

คุณนพกาญจน์ : ก็มีบ้าง เพราะเรามีตลาด MICE ด้วย ถ้าพูดในแง่ท่องเที่ยว Attraction ที่เป็น Man-made ของประเทศ เราก็มั่นใจว่าภาครัฐก็คิดถึงเราเหมือนกัน ไม่ใช่แค่เราฝั่งเดียว เพราะว่ามันเป็น Product หลักของประเทศในการเอาไปขาย หมายถึงว่า การตลาดของประเทศไทยก็เอาสิ่งเหล่านี้ไปขายเหมือนกันว่าเป็น Product ที่ดี  ของประเทศไทย เพราะฉะนั้นภาครัฐเองก็สนับสนุนเราอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันเราก็มีโอกาสเข้าไปให้คำแนะนำกับทางภาครัฐเหมือนเป็น Team Work ที่ Synchronize แล้วต่อยอดกันขึ้นไป เรามองว่าสิ่งที่เรามีสามารถสร้างประโยชน์อะไรให้ได้บ้าง บางครั้งไม่ได้กลับคืนมาเป็นตัวเงินแต่ก็ยินดี เพราะว่าเรามองว่าเมื่อภาพใหญ่มันไปได้ เราเองก็จะแข็งแรงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

อย่างมาตรการสาธารณสุขที่ดูแลเรื่องโควิด-19 เราก็ได้รับเกียรติให้เข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการให้บริการธุรกิจแบบนี้ 


บทสรุป

การรับช่วงต่อกิจการของครอบครัวนั้น บางคนอาจจะมองเป็นเรื่องง่าย แต่บางคนก็เห็นเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้มีเหตุผลมาจากความพร้อมในการทำธุรกิจ และการปรับตัวให้เข้ากับการแข่งขันในปัจจุบันและอนาคต 3 สิ่งที่ ทายาทต้องหาคำตอบให้เจอโดยเร็วที่สุดก็คือ เราจะเลือกซ่อม, สร้าง และรักษาอะไร กับสิ่งที่คนรุ่นก่อนทำไว้ก่อนหน้านี้


Published on 18 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

โสดสายเปย์ ตลาดนี้เอสเอ็มอีต้องเกาะติด

หัวข้อ : โสดสายเปย์ ตลาดนี้เอสเอ็มอีต้องเกาะติด
อ่านเพิ่มเติม : www.kasikornbank.com/Single_Saipay.pdf

 

ปัจจุบันจำนวนคนโสดทั่วโลกกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากกลุ่มคนโสดไม่มีภาระเกี่ยวกับครอบครัวทั้งลูกหลาน คู่สมรส จึงมีการตัดสินใจที่รวดเร็วโดยไม่ต้องปรึกษาใคร และมีความกล้าในการใช้จ่ายสูง เพื่อสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ เริ่มมีการนำปัจจัยด้านคนโสดที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น มากำหนดกลยุทธ์การตลาดเพื่อเข้าถึงผู้ซื้อกลุ่มนี้มากขึ้น

 

จากจำนวนคนโสดที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบการในประเทศต่าง ๆ นำปัจจัยดังกล่าว มากำหนดกลยุทธ์การตลาดเพื่อพุ่งเป้ามาที่ตลาดกลุ่มนี้มากขึ้น อาทิ

  • ผู้ประกอบการค้าปลีกต่าง ๆ มีการจัดกิจกรรมกระตุ้นยอดขายโดยอิงกับวันคนโสด ซึ่งเป็นวันที่คนหนุ่มคนสาวออกมาฉลองให้กับความโสดในวันที่ 11 เดือน 11 ของทุกปี
  • ผู้ประกอบการค้าปลีกออนไลน์บางราย มียอดขายเฉพาะวันคนโสดเพียงวันเดียวสูงเกือบ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ (รวมยอดขายทั้งกลุ่มคนโสดและคนทั่วไปของเทศกาลปี 2562)
  • ผู้ประกอบการบางรายมีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายคนโสดเพิ่มมากขึ้น อาทิ สินค้าสำหรับให้เช่าแทนการซื้อ เช่น ตู้อบเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือให้เช่าอุปกรณ์ปลูกพืชผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาสินค้ากลุ่มนี้จะได้รับความนิยมจากผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันตลาดถูกขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนโสดที่อยู่คนเดียวมากขึ้น

 

สำหรับในส่วนของผู้ประกอบการไทยเอง ที่ผ่านมาอาจมีบางรายที่เริ่มทำกิจกรรมการตลาดสำหรับคนโสดบ้างแต่ยังมีน้อยหรืออาจยังไม่ชัดเจนนัก ทั้งที่กลุ่มนี้มีกำลังซื้อที่สูงและน่าสนใจ ประเมินว่าคนโสดจำนวน 15.2 ล้านคน มีเม็ดเงินการใช้จ่ายเฉลี่ย 7,584.3 บาทต่อคนต่อเดือน จะมีการใช้จ่ายเพื่อสินค้าและบริการต่างๆ รวมเป็นเม็ดเงินทั้งสิ้นประมาณ 1.4 ล้านล้านบาทต่อปี โดยแยกเป็น

  • ค่าใช้จ่ายด้านอาหารประมาณร้อยละ 33.7
  • ค่าที่อยู่อาศัยและของใช้ภายในบ้านร้อยละ 20.8
  • ค่าของใช้ส่วนบุคคลร้อยละ 6.0
  • อื่นๆ อาทิ การศึกษา การสื่อสาร ร้อยละ 39.5

 

เหตุผลที่ตลาดคนโสดมีความน่าสนใจ คือ

  • กลุ่มคนโสดมีการตัดสินใจเร็วและกล้าใช้จ่าย แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในช่วงโปรโมชั่นหรือลดราคา หากสินค้าหรือบริการมีความสอดคล้องกับความต้องการ
  • กลุ่มคนโสดมีภาระผูกพันด้านค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับครอบครัวทั้งลูกหลาน คู่สมรส รวมถึงญาติ น้อยกว่ากลุ่มที่แต่งงาน ทำให้การบริหารการใช้จ่ายสำหรับสินค้าและบริการมีความยืดหยุ่นมากกว่า

สำหรับกลุ่มคนโสดในวัยทำงานที่อายุยังไม่สูงมาก

  • จะไม่ต้องแบ่งเวลาในการดูแลครอบครัว จึงสามารถบริหารเวลาในช่วงที่ว่างจากการทำงานได้ดีกว่า
  • จะมีการวางแผนทางด้านการเงินเพื่อความมั่นคงของชีวิตไม่เข้มงวดมากนัก
  • รายได้ส่วนใหญ่ของกลุ่มนี้จึงถูกใช้ไปในด้านสันทนาการ ช้อปปิ้ง การออกกำลังกายหรือการท่องเที่ยว

สำหรับกลุ่มคนโสดที่เริ่มมีอายุมากขึ้น

  • มีโอกาสที่จะเป็นโสดและไม่แต่งงาน และเป็นไปได้ที่จะไม่มีลูกหลานหรือคู่ครองคอยดูแล
  • ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิต อาทิ ธุรกิจเดลิเวอรี่ หรือแอปพลิเคชันสั่งซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ รวมถึงธุรกิจซักอบรีด ธุรกิจทำความสะอาดที่พัก ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
  • จะเริ่มมีความรอบคอบในการวางแผนการใช้ชีวิต รวมถึงการวางแผนทางการเงินมากขึ้น
  • จะมีการดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้เจ็บป่วยหรือเป็นโรคร้ายแรง เพราะไม่มีคนดูแล อาทิ การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย เข้าฟิตเนส
  • จะให้ความสนใจซื้อบริการประกันชีวิตหรือการมองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว อาทิ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

 

กลุ่มคนโสดที่น่าสนใจและกำลังกลายเป็นเทรนด์สำคัญของตลาดคนโสดทั่วโลก คือ คนโสดที่พักอาศัยอยู่คนเดียว ซึ่งกำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น คนโสดกลุ่มนี้มีความต้องการแตกต่างจากกลุ่มคนโสดทั่วไป ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อจับตลาดได้ค่อนข้างชัดเจนและตรงเป้าหมาย ซึ่งผู้ประกอบการอาจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์การตลาดที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ได้แก่

  • สินค้าอุปโภค-บริโภค อาทิ เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน โต๊ะ เก้าอี้ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม
    • ออกแบบสินค้าให้มีขนาดเล็กลงจากเดิมเพื่อให้ทานหมดในครั้งเดียว หรือมีจำนวนชิ้นต่อหน่วยลดลง
    • โปรโมชั่น 1 แถม 1 อาจไม่สามารถใช้ได้กับคนกลุ่มนี้
    • ขนาดสินค้าที่เล็กลง ยังน่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศซึ่งมีจำนวนคนโสดเพิ่มมากขึ้น ทั้งในยุโรป สหรัฐฯ รวมถึงประเทศในเอเชียอย่างญี่ปุ่น หรือจีน
  • ร้านอาหาร ปัจจุบันเริ่มมีร้านอาหารที่ให้บริการแบบนั่งทานคนเดียว (one-person restaurant) เพื่อบริการลูกค้าที่มาคนเดียวในประเทศไทยบ้าง และคาดว่าแนวคิดนี้จะกระจายไปยังผู้ประกอบการร้านอาหารอื่น ๆ เพิ่มขึ้น สำหรับร้านอาหารที่อยากลองปรับร้านเพื่อรองรับกลุ่มคนโสด ดังนี้
    • อาจปรับการออกแบบสถานที่เพื่อรองรับลูกค้าที่มาทานคนเดียว ให้มีจำนวนหรือพื้นที่รองรับเพิ่มขึ้น
    • อาจแบ่งสัดส่วนพื้นที่เพื่อให้มีความเป็นส่วนตัว หรือเพิ่มบาร์ที่นั่งคนเดียว
    • พัฒนาเมนูอาหารสำหรับทานคนเดียว ที่มีอาหารให้เลือกหลากหลายมากขึ้น
  • บริการอาหารเดลิเวอรี่ ได้รับความนิยมสำหรับคนโสดที่อยู่คนเดียว และไม่มีเวลาหรือไม่มีใครซื้ออาหารให้ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวอำนวยความสะดวกให้สามารถสั่งสินค้าทีเดียวได้หลาย ๆ ร้าน อย่างไรก็ตาม หากการสั่งอาหารมีจำนวนน้อย อาจไม่คุ้มต่อราคาค่าจัดส่ง ดังนั้น ผู้ประกอบการอาหารในกลุ่มนี้อาจต้องพัฒนารูปแบบการปรุงอาหาร หรือพัฒนานำบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บหรือถนอมอาหารให้คงคุณภาพหรือรสชาติและเก็บไว้ทานได้นานขึ้น เพื่อที่คนโสดจะได้สามารถสั่งอาหารในปริมาณที่สูงและคุ้มกับค่าขนส่ง
  • ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว กลุ่มคนโสดจำนวนมากมีการวางแผนรูปแบบการเดินทางเอง โดยส่วนใหญ่หาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต หรือใช้บริการทัวร์ ตามไลฟ์สไตล์ความชอบที่เหมือน ๆ กัน ประเด็นที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงค่อนข้างสูงคือ ความปลอดภัย ซึ่งเป็นประเด็นที่คนโสดค่อนข้างกังวล โดยเฉพาะคนโสดที่เป็นผู้หญิงหรือผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มนี้อาจต้องการโปรแกรมท่องเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ หรืออาจไปกับคนรู้จักที่จัดเป็นกลุ่มย่อย ๆ 4-5 คน

 

Published on 18 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

 

บทความแนะนำ

6 เทรนด์ที่จะสร้างโอกาส พลิกเกมการตลาดให้เอสเอ็มอี

หัวข้อ : 6 เทรนด์ที่จะสร้างโอกาส พลิกเกมการตลาดให้เอสเอ็มอี
อ่านเพิ่มเติม : www.scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/next-trend-2020content1

 

รวมกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะช่วยเสริมธุรกิจให้ก้าวทันอนาคตด้วย 6 เทรนด์สำคัญที่เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้แก่

 

1. เน้นที่ดีไซน์

ดีไซน์จะเป็นตัวนำผลิตภัณฑ์และเป็นตัวที่จะเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง สำหรับเอสเอ็มอีอาจไม่ต้องทำเทคโนโลยีที่ดีที่สุด  แต่จำเป็นต้องทำดีไซน์ที่ดี เพื่อสร้าง การมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์ บริษัท พนักงาน และลูกค้า ต้องรวมเอานวัตกรรมและวิถีชีวิตเข้าไว้ด้วยกัน

เพราะยุคนี้เป็นเรื่องของความเร็ว และเทรนด์มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น ธุรกิจต้องปรับตัวตามให้ทัน โดยบางแบรนด์อาจทำมาเป็นสิบปี แต่เรื่องของการดีไซน์ถ้ายังใช้เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงธุรกิจก็จะอยู่ยากขึ้น เพราะดีไซน์เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวแบรนด์ ลูกค้า พนักงาน และสังคม ฉะนั้นการดีไซน์จึงเป็นเรื่องสำคัญ และมองข้ามไม่ได้

 

2. ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation)

ดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว รวมไปถึงการทำธุรกิจเช่นกัน สำหรับธรุกิจเอาเอ็มอีอาจไม่เลือกทำไปทุกเรื่อง แต่ต้องเป็นบริษัทที่จิ๋วแต่แจ๋ว โดยไม่ต้องทำเยอะ แต่ให้เลือกทำเฉพาะเรื่องที่เหมาะกับบริษัท จุดแข็ง และดีเอ็นเอของตัวเอง

ธุรกิจขนาดเล็กอย่างเอสเอ็มอีที่กำลังมองหาโอกาสจากเทรนด์นี้ แนะนำให้ลองอาศัยการร่วมมือกัน (Collaboration) ระหว่างธุรกิจ โดยใครเก่งอะไรก็เอามาทำด้วยกัน เช่น คนทำเซรามิก จับมือกับคนเก่งทางด้านซอฟต์แวร์ ก็สามารถนำเซรามิกมาเป็นอุปกรณ์ด้านไอทีได้ เป็นต้น

 

3. มัลติ แชนเนล อีคอมเมิร์ซ (Multi-Channel E-Commerce)

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าออมนิแชนเนล (Omni Channel) การเชื่อมระหว่างออฟไลน์กับออนไลน์แบบไร้รอยต่อ แต่ร้านค้าในไทยส่วนใหญ่ยังเป็นการขายหน้าร้านก็หน้าร้าน บนออนไลน์ก็ขายออนไลน์ ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า มัลติ แชนเนล อีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่มาระยะหนึ่งแล้วและกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ

คำถามคือ ถ้าคุณมีหน้าร้านแล้วจะปรับเข้าสู่อีคอมเมิร์ซแบบไหน ตอบได้ดังนี้

  • อย่างแรกโปรดักต์เราต้องชัดเจนก่อนว่าขายอะไร หากจากเดิมที่ขายอยู่แล้วมีคนขายแบบเรามาก เราต้องปรับเปลี่ยนสินค้า เพื่อให้สามารถไปครองพื้นที่บนอีคอมเมิร์ซได้
  • การทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ควรจะทำสินค้าอะไรไปขายร่วมกับแพลตฟอร์มที่มีอยู่ โดยต้องเข้าใจระบบของแต่ละแพลตฟอร์มว่าทำงานอย่างไร ประเด็นสำคัญคือ เอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางให้ได้ ถ้าเราคิดถูกจุดเราก็จะเติบโตได้
  • ต้องมาให้น้ำหนักดูว่าลูกค้าของเราเป็นใคร อยู่ที่ไหน ถ้าสุดท้ายลูกค้าอยู่ออนไลน์มากกว่า เราต้องเททรัพยากรไปที่ออนไลน์มากขึ้น เพราะเราอาจมีทรัพยากรจำกัด มีคน มีเงิน และเวลาจำกัด ฉะนั้น จึงต้องเททรัพยากรไปใช้ให้ถูกด้วย

 

4. การตอบแทนโลกและสังคม

จากการสำรวจพบว่า  65 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคทั่วโลกจะไม่ซื้อสินค้าที่มีประเด็นทางสังคม ทำให้ต่อไปประเด็นทางสังคมจะเป็นเรื่องใหญ่เสมอ ซึ่งนั่นคือโอกาสของเอสเอ็มอีที่ หากสามารถนำเรื่องที่อาจถูกละเลยแต่ถ้าสังคมให้ความสนใจกับมัน และเล่นในประเด็นนั้นได้ จะมีที่ยืนในธุรกิจนับจากนี้

 

5. สร้างเพื่อขายหรือเพื่อให้คงอยู่ตลอดไป (Built to sell/Built to last)

การทำธุรกิจวันนี้ด้วยระบบของทุนนิยมและโครงสร้างของทุนเปลี่ยนไปจึงต้องคิดว่าธุรกิจที่เราสร้างขึ้นมา อยากจะสร้างเพื่อขายหรือสร้างขึ้นเพื่อให้คงอยู่ตลอดไป นี่เป็นประเด็นสำคัญ

ถ้าคุณตั้งธุรกิจมาให้ดีตั้งแต่ต้น การทำธุรกิจต่อไปก็จะง่ายขึ้น ต้องตั้งเป้าหมายก่อนทำธุรกิจ ไม่ใช่อยู่ดี ๆ มันเกิดขึ้นได้ แต่ต้องเกิดจากการที่เราชัดเจนตั้งแต่ต้น แต่ตอนนี้การสร้างเพื่อขาย (Built to sell) กำลังเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยธุรกิจที่สร้างขึ้นมาแล้วขายมีจำนวนสูงขึ้นมาก ๆ นี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่ช่วยเสริมธุรกิจจากเล็กไปสู่ใหญ่ได้ คำแนะนำคือ คิดเรื่องนี้ตั้งแต่วันแรกว่าเราอยากให้เป็นแบบไหน และทำให้ดีตั้งแต่ต้น

 

6. ปีแห่งความผันผวนและน่าเป็นห่วง

แม้ในปีนี้หลายสำนักจะออกมารายงานดัชนีด้านต่าง ๆ แต่ช่วงเวลาที่ดูแย่ อาจเป็นโอกาสของคนที่ลุกมาทำ โอกาสที่เราจะมีที่ยืนและชนะคนอื่นได้ เช่น เอาเวลาที่อาจไม่ต้องไปดูแลลูกค้ามากนัก ไม่ต้องไปยุ่งวุ่นวายกับการเก็บเงินลูกค้าเพราะเศรษฐกิจอาจจะไม่ดี สามารถเอาเวลามาพัฒนาตัวเอง มาพัฒนาระบบภายในของเราให้ดีขึ้นได้

 

Published on 18 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ