Class Cafe แบรนด์กาแฟไทยแห่งภาคอีสาน กับการพัฒนาธุรกิจแบบ Collaboration

ในวันที่คุณมารุต ชุ่มขุนทด ผู้ก่อตั้งร้านกาแฟ Class Cafe ตัดสินใจเริ่มต้นในธุรกิจ Hospitality อย่างร้านกาแฟนั้น เขาไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย เพราะตลอดชีวิตการทำงาน มารุตเติบโตมาในสายงานด้านเทคโนโลยีคมนาคม มารุตคือคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจ Non Voice เมื่อสิบกว่าปีก่อนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น AIS, Hutch, Nokia

วันหนึ่งมารุตตัดสินใจหันหลังให้กับธุรกิจโทรคมนาคม เพื่อกลับไปเปิดร้านกาแฟที่บ้านเกิดจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างธุรกิจแบบสตาร์ทอัพที่เรียกว่า Open Coffee Platform 

จากวันนั้นถึงวันนี้ Class Cafe ได้รับการยอมรับจากวงการสตาร์ทอัพว่าเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการทำธุรกิจ Food Tech ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในเมืองไทย วิธีคิดและการบริการงาน Class Cafe ของมารุต ชุ่มขุนทด ที่ถ่ายทอดผ่านบทสัมภาษณ์นี้ จึงเป็นประโยชน์กับสตาร์ทอัพและ SME ทุกคน

ไปที่ จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ

ไปที่ ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ

ไปที่ Key Success ของธุรกิจ

ไปที่ คำแนะนำที่มีต่อ SME หรือผู้ประกอบการที่สนใจอยากทำธุรกิจด้านนี้


จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ


SME ONE : เส้นทางธุรกิจ Class Cafe จากคนในวงการโทรคมนาคมมาจบที่ร้านกาแฟได้อย่างไร

คุณมารุต : ผมเริ่มต้นทำงานในธุรกิจมือถือ ทำแบรนด์ AIS, Hutch, Nokia เพราะฉะนั้นเราเป็นคนสายเทคโนโลยีมาตลอด แต่ช่วงนั้นที่กรุงเทพมีการประท้วงเยอะมาก ส่วนตัวมองว่าไม่รอดแน่ถ้ายังทนอยู่กรุงเทพฯ ก็เลยตัดสินใจกลับไปเปิดร้านกาแฟที่โคราชบ้านเกิด  พอได้ทำจริงปรากฏว่าโคราชมันมีพลังบางอย่างที่เราเข้าใจผิดมาตลอด คนแถวนี้บางคนรวยแบบบ้าคลั่งเป็นเจ้าของโรงสี เป็นเจ้าของโรงงานยางพารา บางคนรวยเป็นพันล้าน โดยที่เราไม่เคยรู้ คือเราอยู่กรุงเทพ Ego สูง อยู่บริษัทชั้นนำ เราจะคิดคนละอย่าง เราคิดว่าเราเจ๋งแล้ว แต่ที่จริงไม่เลย

วันที่ตัดสินใจมาโคราช ผมมองว่าผมเป็น Tech Company 100% Ego มาก ธุรกิจร้านกาแฟนี่หมูสับ แต่พอลงมาทำจริงเหนื่อยมาก คือไม่เหมือนกับโลกที่เราอยู่แม้แต่น้อย แทบไม่ได้เปิด PowerPoint เลย ปีแรกเปิด PowerPoint วันเดียว ที่เหลือต้องมาถูพื้น ล้างจาน หัดทำทุกอย่าง แต่รู้สึกสนุกเพราะว่าเหมือนกับเป็นคน Digital มาทำ Analog ตื่นเต้นไปหมด พอลงมาทำจริงๆ ก็อยากไปให้สุด ผมไปเรียนคั่วกาแฟเอง ไปขึ้นไร่ขึ้นดอย ไปคองโก ไปรวันดา ที่ไหนกาแฟดีไปหมด เพราะอยากรู้จริงทุกเรื่องตั้งแต่ปีแรก ๆ นั่นคือเมื่อ 7 ปีที่แล้ว 



SME ONE : วันที่เริ่มธุรกิจ เรา Definition ตัวเองเป็นอะไร

คุณมารุต : ร้านกาแฟ เริ่มต้นเป็นร้านกาแฟก่อน ชงกาแฟล้วน ๆ อยู่ 2 ปี พอ 2 ปีเริ่มเห็นแล้วว่าแข่งเหนื่อย แข่งกับร้านใหญ่ ยังไงก็ถูกทุบตาย ก็เริ่มคิดว่า ถ้าแบบนี้ขอไปเล่นเกมที่เราถนัดดีกว่า ตอนนั้นกระแสสตาร์ทอัพกำลังมาประมาณ 5 ปีที่แล้ว เราก็มานั่งนึก เรามี CEO ที่เป็นคน Tech ที่คู่แข่งไม่มี ทำไม Starbucks เมืองนอกถึงเปลี่ยน CTO เอาคนจาก Adobe มา เพราะเก่งเรื่อง Data ทำไมสุดท้าย Starbucks ถึงเปลี่ยน CEO เป็นคน Microsoft จนเข้าใจว่ามาถูกทางแล้ว  นี่คือของฟรีที่ Class Cafe มี เรามีคน Tech ที่เชี่ยวชาญเรื่อง Tech Platform ทุกอย่าง เราต้อง Raise Fund ได้ เราต้องเป็นสตาร์ทอัพก็เลยเริ่มเบนเลย จับ Class Cafe เปลี่ยนเป็น Co-Working Space 

 

SME ONE : วันที่ตัดสินใจเปลี่ยนจากร้านกาแฟเป็นสตาร์ทอัพ Class Cafe ปัจจุบันมีอยู่กี่สาขาแล้ว

คุณมารุต :  ช่วงก่อนโควิด-19 จะมีทั้งหมด 28 สาขา แต่พอเกิดโควิด-19 เราปิดไปครึ่งนึง ซึ่งตอนนี้กำลังทยอยกลับมาเปิดใหม่ เพราะสถานการณ์ที่เริ่มดีขึ้น ก็เลยอยู่ประมาณ 26 สาขาในตอนนี้ 

ในช่วงโควิด-19 เราทดลองทำระบบ Delivery ด้วย ทำรถพุ่มพวงออกไปต่างอำเภอ เครื่องดื่มเปลี่ยนจากแก้วไปเป็นขวด โยเกิร์ตก็ไปเข้าโรงงานผลิตออกมา ทำทุกอย่างใหม่หมดทั้งกระบวนการ Product ใหม่ ช่องทางสื่อสารใหม่ LINE, Facebook, IG ทุกช่องทางที่ลูกค้าอยู่ พอทำแบบนี้ เราได้ Digital Landscape ใหม่ ทำให้การที่เราต้องปิด 14 สาขาเพราะโควิด-19 กลายเป็นจุดแข็ง เพราะเราไม่ต้องมีสาขาให้ปวดหัว แล้วกรุงเทพเดือดร้อนเรื่องโควิด-19 มาก เราปิดทุกสาขาใน 2 อาทิตย์แล้วย้ายคนไปโคราชหมด ของที่มีวันหมดอายุ เราขาย Clearance ทำใส่ขวดขาย 1 แถม 1 ล้าง Stock เพื่อกำเงินสดตามสูตร Cash is king 

 

SME ONE : เมื่อตัดสินใจกลับไปพัฒนาสาขาที่โคราช และปรับตัวสู่ระบบ Delivery ผลเป็นอย่างไร?

คุณมารุต :  ใช่ไปรวมศูนย์ เราเอา Stock กลับไปขายที่โคราช ยอดขายที่โคราชขึ้น 4 เท่าจากช่วงไม่มีโควิด-19 สาขาโคราช, ขอนแก่นขายดีขึ้นเยอะ เพราะทำ Delivery ได้ แล้วแบรนด์แข็งแรง คนในเมืองก็มาซื้อไปตุน กลายเป็นว่าเรากลับไปอยู่ในโหมด Digital เพียว ๆ เลย Class Cafe เป็น Digital Platform ที่ชัดเจน แข็งแรง ทาง SCB ก็หนุนทุกอย่างชำระเงินด้วย QR Code แม่มณี ทุกอย่างเป็น Digital หมดเลย เราก็เลยกลายเป็นโมเดลในการโชว์ว่า  SME ถ้าอยากจะรอดจากโควิด-19 ต้องทำแบบนี้ เราสนุกกับการทำงาน เราไม่ได้เน้นยอดขาย เราเน้นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแรง แบรนด์ก็เลยแข็งแรงขึ้น ตอนที่เราพูดเยอะขึ้นว่าแบบ Class Cafe เป็นแรงบันดาลใจ คุณไปทำน้ำส้มขวดนี้ขายที่กรุงเทพสิ เราทำแล้วสำเร็จนะที่โคราช คนก็แห่กันไปทำ Class Cafe ก็เลยกลายเป็นคนที่ Inspire คน แบรนด์ก็เริ่มกลายเป็นแหล่งของคนทำงาน คนอยากมานั่ง Class Cafe

 

SME ONE : เคยไปสำรวจกลุ่มลูกค้าที่มานั่งในร้านไหม ว่ามาเพราะว่า Environment หรือมาเพราะกาแฟ 

คุณมารุต :  เขาไม่ได้มาเพราะกาแฟ แต่มาเพราะว่าต้องการใช้ชีวิตอยู่กับแบรนด์ เพราะเราสร้าง Environment ให้คนรู้สึกว่า Class café คือจุดเริ่มต้นดีๆ ของวันก่อนที่จะออกไปบู๊กับงาน ออกไปสัมภาษณ์งาน ออกไปขายของ หรืออะไร ขอมาเริ่มต้นที่ Class Cafe ก่อนแล้วพื้นที่บริเวณภาคอีสานที่มี Class Cafe อยู่ มันกลายเป็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่เขาใช้ชีวิตอยู่กับเราจริง ๆ 

ตอนเกิดเหตุการณ์ที่ Terminal เราเห็นภาพคนโคราชเศร้าหมอง Class Cafe ก็ออกมารณรงค์สร้างโคราชสตรองกลับมา คือ Class Cafe ยึดมั่นในเรื่องของเมือง คือเราเป็นคนรุ่นใหม่ที่ทำอยู่กับเมือง คนก็เลยมาใช้ชีวิตอยู่กับเรา อย่างล่าสุดเราทำแก้วดูดวง Horoscope เพราะ Insight คนตอนนี้ต้องการแรงบันดาลใจ ต้องการความสมหวัง ต้องการคนสนับสนุนและคอยช่วยเหลือ พอหยิบกาแฟมาแก้วหนึ่งแล้วได้อ่านดวง โห ใจมันได้แล้ว

 

SME ONE : ฟังดูแล้ว Class Cafe เป็นเหมือนกับห้องทดลองขนาดใหญ่

คุณมารุต :  โคราชเป็น Sandbox ขนาดใหญ่ของเราที่เราเอาเทคโนโลยีไปปรับใช้ เราเปิดตัวแม่มณีคนก็ใช้ 60 - 70 เปอร์เซ็นต์ อยู่มาวันนึงบอกว่าไม่มีโปรโมชั่นตามปกติในสาขาต้องจ่ายผ่านแอปเท่านั้นถึงจะได้ Promotion คนก็ใช้แอปกันอีรุงตุงนังกันทั้งเมือง อยู่ดี ๆ สาขาในมหาวิทยาลัยบอกไม่รับแล้วเงินสด แรกๆ ก็วุ่นวายแต่ลูกค้าก็จ่ายผ่าน Cashless คือเรื่องพวกนี้มันกลายเป็นพลังสร้างสรรค์ที่เราสนุกกับมัน แล้วลูกค้าก็สนุกด้วย ลูกค้าก็รู้สึกว่า Class Cafe ไม่ใช่เรื่องของความสมบูรณ์ของ Product แต่เป็นเรื่องของความพยายามของคนที่จะดีขึ้นทุกวันให้ได้ อันนี้คือสิ่งหนึ่งที่เราเล่าให้ทุกคนฟังเสมอ แล้วคนจะเสพ Story ของเราตลอด 120,000 คนที่อยู่ใน Facebook ที่ Active ก็คืออยู่ประมาณ 30,000 คน เวลามีอะไรก็จะ Like กันแบบเป็นหลักหมื่น มันกลายเป็นเราสนุกกับเรื่องพวกนี้ อย่างตอนนี้ฉันชอบกล้องฟิล์ม น้องๆ มารวมกันถ่ายกล้องฟิล์มกันเถอะ Class ถ่ายกล้องฟิล์ม หรือน้องๆ อยากทำสตาร์ทอัพใช่ไหม เราก็เอาคนมาสอน ช่วงนี้คนตกงาน Class Cafe จะช่วยอะไรได้บ้าง เราก็ทำ Platform หางานกันเถอะ ชวน Seekster มาเปิด Platform ที่โคราช


ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ


SME ONE : ถ้าเปรียบเทียบระหว่าง Class Café กับร้านกาแฟทั่วไป มีอะไรที่คู่แข่งมีแล้วเราไม่มี

คุณมารุต :  เราไม่มีมุม Private เราไม่มีความขมเข้มของกาแฟ เราไม่มีเพลงแบบ Bossa Nova เบา ๆ เราไม่มีสวน เราไม่มีสิ่งที่เขามีทั้งหมด เราพยายามไม่มีด้วย เพราะเราคือคนที่จะมาเปลี่ยนแปลง เราเป็น Disruptor เราต้องไม่มีสิ่งสำคัญที่สุดของคู่แข่ง เพราะเขามีทุนมากกว่าเรา คู่แข่งเราดีดนิ้วอยากมี Co-Working Space ทำได้เลย ธุรกิจกาแฟเป็น Red Ocean มาก แต่สิ่งที่เรามีแล้วเราแข็งแรงที่สุด คือวัฒนธรรมองค์กร ถ้าไปที่สำนักงานใหญ่ทีมเราเป็นทีม Digital หมดเลย ทีม Barista เราเป็นคนนั่งวิเคราะห์ Data Science ทำ User Experience Design App เหมือน Agency นั่งทำเรื่องพวกนี้ นั่งทำ Content 

สิ่งที่คู่แข่งไม่มีคือ Mindset แบบเรา ไม่ใช่ Technical Product ที่ว่าใครมีเงินก็ซื้อเทคโนโลยีมาใส่ได้ ที่ร้านเราสอนพนักงานว่า อย่าไปเก็บแก้วกาแฟเขานะ อยู่เป็นเพื่อนเขานะ อย่ารบกวนลูกค้านะ อย่าเดินออกมาเพ่นพ่านให้เขารู้สึกอึดอัด อย่าไปถูพื้นตอนที่เขานั่งประชุม เพราะเขาคุยเรื่อง Private ของเค้า

 

SME ONE :  ในส่วนของกาแฟที่ Class Café ใช้เป็น Standard หรือว่าเป็น Specialty

คุณมารุต :  กาแฟต้องเป็น Specialty ที่ดีที่สุดเสมอ เรามีโรงคั่วของตัวเอง ที่โคราช 2 โรง และที่เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ก็คั่วของเราเอง เป็นเครื่อง Probat ที่ดีที่สุดในโลก โคราชใช้เครื่อง Giesen ที่ดีที่สุดในโลก ทุกอย่างต้องดีที่สุดเสมอ ต้องเกิดมาจากแหล่งกาแฟชั้นดี เราใช้กาแฟนอกทั้งหมดตั้งแต่เปิดร้าน นำเข้ามาจากแหล่งปลูกหลายประเทศ เช่น เคนย่า เราได้กาแฟที่ดีที่สุดในโลกมาทุกปี 

 

SME ONE : กลับไปตอนที่เราบอกว่าเราจะเป็น Startup เราจะต้องไป Raise Fund ตอนนั้นคนคาดหวังอะไรจากร้านกาแฟ

คุณมารุต :  Coffee Tech เราอธิบาย Present เต็มรูปแบบเรื่องของ Spot Data Analysis การเก็บข้อมูล เครื่อง POS Link กับแอปพลิเคชัน ทำเรื่องนี้แบบ Hardcore เรื่องการประมวลผล การเอาข้อมูลเข้ามาใช้งาน เราเก็บตำแหน่งที่นั่งของลูกค้ามา Plot Graph Plot Match วิเคราะห์ Furniture ทำมันทุกอย่างเพราะเป็น Coffee Tech

Class Cafe เป็น Coffee Technology สิ่งที่เราทำทั้งหมด เราทำเพื่อให้เราสเกลตัวเอง ขยายไปเรื่อย ๆ ได้ อันนี้คือสิ่งที่ชัดเจน แต่เราก็บอกว่า คุณเดินเข้ามาในสาขา คุณก็ไม่ต้องมาสนใจหรอกว่า LED Display จะปรับเปลี่ยนตามตัวคุณ เพราะเป็น Server ที่ Feed Advertising อัตโนมัติ คุณไม่ต้องสนใจหรอกว่าข้างหลังของ Cashier คือคนทำ UI ไม่ต้องสนใจว่าเทคโนโลยีคืออะไร สนใจว่าคุณจะได้เครื่องดื่มที่คุณอยากได้และมีที่นั่งที่คุณพอใจไหม และมีสิ่งแวดล้อมที่คุณแฮปปี้หรือเปล่า นี่คือสิ่งที่ลูกค้า Value แต่สิ่งที่คนทำ Tech Value คืออยากเห็นจอ Pop Graph ขึ้น ไม่ใช่หัวใจ เรามองที่การ Sustain และการใช้ชีวิตมากกว่า นี้คือสิ่งที่เปลี่ยนวิธีคิด

 

SME ONE : กำลังซื้อของต่างจังหวัดกับกรุงเทพมีความแตกต่างกัน จุดนี้เป็นอุปสรรคไหม

คุณมารุต :  เราขายกาแฟ Premium Grade แต่ราคาเพียง 70 บาท สิ่งหนึ่งที่คนต่างจังหวัดให้เราได้ คือ Loyalty พอ Loyalty สูงมาก ๆ ใน Quality นี้ เขากินกาแฟอื่นไม่ได้แล้ว เขาก็อยู่กับเราทุกวัน เพราะฉะนั้น เราต้องตอบคำถามว่า Class Cafe อยากเป็นกาแฟที่เป็น Self Reward ที่สัปดาห์หนึ่งกินครั้งหนึ่ง Class Cafe อยากเป็นกาแฟที่อยู่กับเขาทุกวัน พอเราชัดเจนเรื่อง Price Point เราต้อง Friendly กับเขา เราต้องมีช่วงเวลาที่ถูกกว่า 70 บาทได้ไหม ถ้าอยู่ใกล้โรงพยาบาลแล้ว 70 บาทนี่พยาบาลมาซื้อไม่ไหวนะ แล้วถ้าสวิงมา 50 กว่าบาทล่ะ ลด 25% Happy Hour อะ พยาบาลซื้อไหม ซื้อ เอา จัดเลย คนออเต็มหน้าร้าน 

เรื่องพวกนี้สำคัญ แล้ว Fly High ของ Class Cafe คือการเคลมจำนวนคนที่อยู่บน Platform ไม่ใช่เคลมยอดขาย แต่การเข้าตลาด ต้องการยอดขาย เพราะฉะนั้นเราก็บอกว่าเราทำตลาด เราทำ Balance เรื่องพวกนี้ให้ไปคู่กันให้ได้ เราโต Double ไปเรื่อย ๆ สัก 2-3 รอบ เราก็เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้แล้ว เพราะวันนี้ยอดขายเราอยู่ประมาณ 80 ล้านบาทต่อปี ถ้า Double ไปก็ 180 ล้านบาท Double อีกครั้งก็ 360 ล้านบาทแล้ว เราตั้งเป้าจะเข้าตลาด MAI ปลายปี 2021 หรือต้นปี 2022 

 

SME ONE : ถ้าจะไปให้ถึง 320 ล้าน ต้องขยายไปต่างประเทศหรือไม่

คุณมารุต : : ไม่ต้อง อันนี้คือจุดที่แตกต่างระหว่าง Class Cafe และเด็ก ๆ ที่ทำสตาร์ทอัพ เราไม่ต้องพยามไปให้ไกลมากที่สุด เราอยู่ใกล้กันให้มากที่สุด ผมอะพยายามเปิดสาขาให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะใกล้ได้ อย่างสยามกับสามย่านใกล้กันมากแต่ไม่กวนกัน ที่โคราช ผมคั่น Class Cafe เปิดให้ใกล้ที่สุดเพื่อจะครอบคลุมตลาดและอยู่กับคนให้มากที่สุด ไม่จำเป็นต้องเปิดไกล ผมว่าอีสานพอกับเป้าหมาย 320 ล้านบาท เพราะฉะนั้นวีธีคิดเราจะต่างกับสตาร์ทอัพ ที่ปกติต้องไปอินโดนีเซีย ต้องไปฟิลิปปินส์ ต้องไปประเทศนู้นประเทศนี้ แต่ไปแล้วขาดทุน

ผมถึงบอกว่ายังไม่จำเป็น ผมกำลังบอกว่าวันนี้เราคิดว่าเราจะเป็นบริษัท 1,000 ล้านด้วยการ Cover Asia เพื่ออะไร ทำไมเราไม่ทำ 1,000 ล้านได้ตั้งแต่เมืองไทย ในเมื่อต้นทุนก็ต่ำกว่า ความเสี่ยงก็น้อยกว่า นี่คือแนวคิดที่ทำให้ Class Cafe เป็น Hybrid ทำไมเราถึงเป็น SME เพราะเราคิดแค่นี้ว่าเราทำแค่นี้เราก็ถึงเป้าได้แล้ว แล้วถ้าเราครอบคลุมเมืองไทยทั้งหมดก็หลายพันล้านแล้ว เราเอา 1,000 ล้านตรงนี้ก่อน Good Enough แล้ว Class Cafe จะคิดคนละอย่าง 



SME ONE : พอเราเป็นสตาร์ทอัพ เราอยากได้สเกล เราคิดจะทำแฟรนไชส์บ้างหรือไม่

คุณมารุต :  Class Cafe ไม่คิดจะทำแฟรนไชส์ เพราะว่าเราเปลี่ยนเทคโนโลยีตลอด เทคโนโลยีที่อยู่ด้านหลัง คือสิ่งที่เราเปลี่ยนตลอด Application เป็นสิ่งที่เรา Centralize เราคุมปลายทางไม่ได้ ถ้าเราทำแฟรนไชส์จะทะเลาะกันมั่วไปหมด ผมเห็น Gen ใหม่ ๆ ที่ทำร้านกาแฟแล้วไปทำแฟรนไชส์เนี่ย ทะเลาะฟ้องร้องกันเยอะ ระบบแฟรนไชส์เหมาะกับธุรกิจร้านอาหารที่นิ่งแล้ว แต่ไม่เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการ Innovation คุณจะแชร์ค่า R&D อย่างไร คุณจะบอกเขา เดี๋ยวเปลี่ยนเครื่องคิดเงินใหม่เพราะมีเทคโนโลยีใหม่อย่างไรในเมื่อเขาเพิ่งลงทุนไปเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว มันทำไม่ได้ นี่คือสิ่งที่อธิบายว่าโมเดล Class Cafe ไม่เหมาะกับแฟรนไชส์ เราเหมาะกับการเติบโตแบบ Organic ไปเรื่อย ๆ


Key Success ของธุรกิจ

SME ONE : อะไรคือ Key Success ของ Class Cafe 

คุณมารุต :  ผมมองว่า Key Success คือ Staff ของเรา ช่วงโควิด-19 ทำให้เราเห็น กาแฟเราขายไม่ได้ กาแฟเป็นขวดขายไม่ได้ เราไปขายน้ำส้มแทนในร้านเลย ที่นั่งไม่มี เราไปขายออนไลน์ เอา Staff มานั่งทำออนไลน์หมดเลย เราไม่มีทั้ง Space Cafe เราไม่มีทั้งเครื่องดื่มกาแฟที่เราถนัด แต่ทำไมเรารอดมาได้ ทีมงานอย่างเดียวเลย คน คือ Asset Value ของ Class Cafe ที่ดีที่สุดของเรา เรามีพนักงานที่อายุงาน 7 ปีแล้ว ที่ทำ Class ตั้งแต่ปี 1 จนเรียนจบ แล้วก็กลับมาทำงานที่ Class Cafe แต่ไม่ได้กลับมาเป็น Barista กลับมาเป็น Engineer กลับมาเป็น Legal กลับมาเป็น HR ล่าสุดมีกลับมาเป็น Food Science คนกลุ่มนี้คือสิ่งที่เรามีความสุขกับการสร้างเขาขึ้นมาแล้วเราอิ่มใจมาก วันนี้มันมาไกลเกินกว่าที่คิด 

ผมมีความสุขแบบไหน ผมแฮปปี้กับจุดที่ว่า ผมไปโรงพยาบาลเพราะปวดหลังแบบขับรถเยอะ เลยไปทำกายภาพ แล้วนักกายภาพบำบัดบอกว่า พี่ทำ Class Cafe หรอ เพราะเห็นพี่ใส่เสื้อ Class Cafe หนูอะจบมาได้เพราะว่าไปนั่งอ่านหนังสือที่ Class Cafe โห แบบเฮ่ย... นี่มันเป็นความสุขที่สุดแล้ว เพราะว่าลูกค้าเรากลับมารักษาเรา เราไม่ต้องทำบุญแล้วรอถึงชาติหน้า สำหรับการทำธุรกิจ นี่คือรางวัลชิ้นใหญ่  

อีกหนึ่ง Key Success ก็คือโมเดลกับวิธีคิดของ Class Cafe เป็นเรื่องของการตี Context ที่เราคิด แล้วพอเราคิดแบบนี้ทำให้เราได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา อย่างสาขาสามย่านนี่เราไม่มีค่าเช่า เราอยู่ฟรี เพราะว่าจุฬาลงกรณ์สนับสนุน Class Cafe ตอนนี้เราทำงานกับหลายมหาวิทยาลัย อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มศว.,  มหิดล ทุกคนให้ Space เราหมด เราเปิดพื้นที่ให้ บริหารคนให้ เอากิจกรรมมาลง ทำสร้างสรรค์สังคมให้ ทางมหาวิทยาลัยก็อยากสร้างสตาร์ทอัพแบบนี้ให้เกิดเยอะ ๆ เราก็ร่วมแรงร่วมมือทำ โดยที่พนักงานสาขาสามย่านก็เอานิสิตจุฬามาทำ เพราะเราร่วมมือกับคณะศิลปกรรม

 

SME ONE : ในตลาดภูมิภาคจะมีความแตกต่างระหว่างเมืองใหญ่กับเมืองธรรมดา Class Cafe สามารถขยายธุรกิจไปได้ขนาดไหน

คุณมารุต :  ตอนนี้เรายังอยู่ในเมือง เราอยู่กับเมือง เราถนัดเมือง เราเป็น Daily เป็นกาแฟที่คนต้องมากินทุกวัน ถ้าไปอยู่เมืองที่เหงา ๆ อาจจะไม่เหมาะ แต่ Class Cafe ใช้วิธีการสร้างเอเย่นต์ ทุกวันนี้เรามีเอเย่นต์ที่เอาเครื่องดื่มเราไปขายในแต่ละอำเภอ วันนี้เราทดลองไปแล้ว 30 อำเภอ เอเย่นต์ส่วนใหญ่ก็เป็นลูกค้าเรามาก่อน แล้วเรา Convert ให้กลายเป็นคู่ค้ารับสินค้าเราไปขาย คนซื้อก็สั่งผ่านแอปพลิเคชัน แล้วเขาไปส่ง เราเรียกโมเดลนี้ว่า Class Agent ตอนนี้เรามีเอเย่นต์ 14 คน ซึ่งสร้างยอดขายให้เยอะมาก เยอะจนแบบเรา เฮ่ย...ไม่เห็นต้องเปิดสาขาเลย 

เพราะฉะนั้น Class Cafe ก็เลยไปทำเรื่องนวัตกรรม ทำยังไงให้ยืดอายุสินค้าได้เป็น 15 วัน 30 วันได้ไหม Class Cafe ทำเรื่องพวกนี้ เราทำ Food Innovation เพราะ Founder อีก 2 ท่านเป็น Food Science เราพยายามพัฒนาเพื่อที่จะยืดอายุสินค้าให้นานขึ้น ทำ Lab ทำ Test กาแฟไป Delivery แล้วรสชาติยังดีอยู่ไหม ความเข้มข้นอยู่ไหม 

 

SME ONE : มีวิธีการคัดเลือกคนที่จะเข้ามาเป็น Agent อย่างไร เผื่อคนอ่านสนใจ

คุณมารุต :  ก็ดูความเข้าใจธุรกิจ เพราะในอนาคตพวกนี้จะเป็น Digital Service อนาคตอาจจะมี Service อื่น ๆ เช่น จ่ายบิลได้ไหม จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟได้ไหม เพราะเป็น Digital Service เพราะฉะนั้นเขาจะต้องเป็น Digital มาก่อนมี Digital Background สั่งของผ่านออนไลน์นะ รับลูกค้าผ่านทางออนไลน์ เพราะเราไม่ได้มีแบบเป็น Analog แต่เราแบ่งกำไรที่ทำให้เอเย่นต์อยู่ได้ และเราก็ยังมีกำไร ตอนนี้ Class Cafe เป็นโรงงานหมดแล้ว เรามีโรงงานพาสเจอร์ไรซ์ เรามีโรงงานทำกาแฟ โรงคั่วกาแฟ เรามีโรงงานนมบรรจุขวด เรามีฟาร์มปิด 

นอกจากนี้เราร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทำ Research ด้วย พวกนี้เป็นการลงทุนที่แลกเปลี่ยนความรู้กัน เราร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสุรนารีทำฟาร์มวัวแบบปิดเพื่อทดลองเรื่องนม มหาลัยได้ความรู้ น้อง ๆ คณะ Food Science มาเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน มาทำงานที่ Class Cafe เราจ้างคุณ มหาวิทยาลัยก็สนับสนุน เราก็มี Product ไปขาย เป็นการอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่ใช่การลงทุนที่มากมายมหาศาล

 

SME ONE : ถามจริง ๆ เราหวงโมเดลไหม ถ้าใครจะเลียนแบบ Class Cafe

คุณมารุต : ทำเลย นี่คือโลกยุคใหม่ คน Collaboration กันเยอะมาก แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ หนึ่ง เรา Open ได้แค่ไหน เรา Control ได้แค่ไหน เรามีมาตรฐานแค่ไหน Class Cafe จะยึดหลัก 60-40 เสมอ คือ 60 เปอร์เซ็นต์เป็นเอกลักษณ์ความเป็นเรา 40 เปอร์เซ็นต์เป็นเขา อย่างเราไปเปิดสาขาในศิลปากร เราเปิด Audition รับ 10 คน แต่มีคนมาสมัคร 300 คน ยิ่งกว่า The Voice เราเปิดที่ธรรมศาสตร์ ที่ขอนแก่นก็เหมือนกัน 

อย่างสาขาขอนแก่น สิ่งที่ Amazing ก็คือ เราทำกับ SCG ทาง SCG เอางานสถาปัตมาลง มูลค่าโปรเจกต์สาขานั้น 80 ล้านบาท อยู่ใจกลางขอนแก่นเลย แค่ Sculpture ก็หลายล้านแล้ว พอคอนเซ็ปต์ร้านชัดเจน เราเปิดรับ Audition ปรากฏว่าคนที่มา Audition เป็นเด็กคณะสถาปัตหมดเลย มีทั้งเรียนปริญญาโท ปริญญาตรี เราก็งงว่าน้องรู้ได้ไงว่าสาขานี้มันจะเป็นแนวดีไซน์ น้องเขาบอกว่า Class Cafe จะมีเรื่องงาน Design

Class Café แต่ละสาขาที่ไปเปิดเราจะได้ Partner ที่เป็นบริบทของย่านนั้นจริง ๆ อย่างสาขามหิดล เราก็ได้คนเรียนแพทย์มาเป็น Partner กับเรา หรือที่จังหวัดขอนแก่นสาขาที่ 2 เราอยู่ตรงข้ามศูนย์แพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พอสาขาที่ 3 กลายเป็นเด็กเรียนหมอมาทำงานกับเรา บางทีเรายังคิดเลย เรียนหมอก็หนักอยู่แล้วยังมาชงกาแฟอีกหรือ


คำแนะนำที่มีต่อ SME หรือผู้ประกอบการที่สนใจอยากทำธุรกิจด้านนี้


SME ONE : สมมติว่าถ้ามีพนักงานออฟฟิศที่โดนลดเงินเดือน หรือลังเลว่าจะออกมาทำธุรกิจร้านกาแฟดีไหม เรามีคำแนะนำอะไรให้บ้าง

คุณมารุต :  ตอนนี้วิกฤตน่ากลัวเหลือเกิน เรื่องที่ต้องลงทุนยังไม่อยากให้ลงทุน ไปลงทุนทำร้าน เดี๋ยวเจ๊ง คือเราควรจะเริ่มจากสิ่งที่ไม่ต้องลงทุน เช่น ขายออนไลน์ก่อนได้ไหม ขายผ่าน Platform คนอื่นก่อนได้ไหม ทำร้านที่ไม่ต้องมี Furniture ได้ไหม ทำ Delivery อย่างเดียวได้ไหม เปลี่ยนวิธีคิดที่จะต้องลงทุน เป็นการไม่ลงทุนก่อน แล้วเริ่มต้นให้ได้เร็วที่สุด ทดลองให้เร็วที่สุด อย่าจมอยู่กับความเสียใจ ผิดหวัง โควิด-19 มันกินเราแน่ ๆ แล้วโควิดไม่ได้ทำอะไรเราคนเดียวมันทำกับทุกคน มันเสมอภาคมาก วิกฤตธรรมชาติครั้งนี้ทำให้เราเท่าเทียมกันมาก เพราะฉะนั้นอย่าไปเศร้า แล้วก็ลุกขึ้นมาสู้ มองหาพลังบวกจากเรา ลุกขึ้นมาทำ ลุกขึ้นมาสู้ 

อันนี้คือสิ่งที่อยากบอกทุกคน แล้วก็อยากแชร์ทุกคน เหมือนกับสิ่งที่ Class Cafe ทำวันนี้ Class Cafe ไม่ได้รวย Class Cafe ยังเล็กมากนะ แต่ Class Cafe ออกมาทำ Platform เพื่อช่วยคนและคิดที่จะช่วยคนตลอดเวลาได้

 

SME ONE : ถ้าเป็นสภาวะปกติ แล้วคนอยากจะทำร้านกาแฟพอจะมีคำแนะนำไหม

คุณมารุต :  ไม่แนะนำให้ทำร้านกาแฟ คือมันจะมีธุรกิจอะไรที่มีคู่แข่งเกิดได้ทุก 2 ชั่วโมงก็ร้านกาแฟนี่แหละ เดินเข้าร้านขายเครื่องกาแฟ อีก 2 ชั่วโมงมาพร้อมอาวุธครบมือ เพราะฉะนั้นธุรกิจนี้เป็น Red Ocean เปิดแล้วโอกาสเจ๊งมันสูงมาก อย่าทำเลย ไปลองคิดขายอย่างอื่น ขาย Bakery ขายชานมไข่มุก ไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่กาแฟ ร้านกาแฟมันถูกลงทุนโดยไม่ได้คิด ROI ลงทุนโดยที่เราเห็นร้านแบบแพง ๆ ขาย 90 บาท 40 บาท วันนี้เห็นเครื่องแพง ๆ เอารุ่น Black Eagle ล้านกว่าบาทมาลงในร้าน แล้วจะอยู่ยังไง คืออยู่ไม่ได้ แถมยังมีประเภทคนหน้าตาดี หล่อ นายแบบ ดารามาทำร้านกาแฟอีก แล้วคุณจะเอาอะไรไปแข่งกับเขา ร้านกาแฟมีคน Success ไม่เยอะ 

ร้านกาแฟเป็นธุรกิจที่คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า ถ้าดูดีๆ จะมีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นมากมาย ตลอดเวลาบางร้านเปลี่ยนเจ้าของไปไม่รู้กี่รอบ เจ้าของเดิมไม่อยู่แล้ว เพราะว่าถ้าดีจริงมันต้องทำต่อ




บทสรุป

การทำธุรกิจในปัจจุบัน ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องทำคนเดียวเสมอไป แต่สามารถหาพาร์ทเนอร์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมาทำงานร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Collaboration วิธีนี้จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการมีโฟกัสทางธุรกิจในสิ่งที่ตนเองถนัด ในขณะเดียวกันก็สามารถพัฒนาธุรกิจไปยังพื้นที่อื่นที่ไม่มีความถนัดได้ แต่การพัฒนาธุรกิจในรูปแบบนี้ สิ่งที่ต้องคำนึง ก็คือทุกความร่วมมือจะต้องรักษาความเป็นตัวตนของแบรนด์ (Brand Positioning) ไว้ให้อยู่คงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย



บทความแนะนำ

ปรับธุรกิจท่องเที่ยววิถีใหม่ สร้างความมั่นใจด้วยสัญลักษณ์ SHA

หัวข้อ : อพท.ชวนชุมชนสร้างมาตรฐาน ‘เที่ยวชุมชนวิถีใหม่’
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/standard-the-new-community-tourism

 

แม้สถานการณ์ COVID-19 จะคลี่คลายลง แต่เรายังคงต้องใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ เพื่อความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และเพื่อสร้างความมั่นใจในการท่องเที่ยวใหม่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้มีโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยสำหรับ 10 ประเภทกิจการ หรือ Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข สภาหอการค้าไทย และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่การให้บริการด้านการท่องเที่ยวของไทย คือ

1. สร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย
2. สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัย แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ

 

ในส่วนขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้ตอบรับนโยบายดังกล่าว โดยจัดทำ “ข้อปฏิบัติของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสุขอนามัยปลอดภัยใส่ใจในสุขภาพ” เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับชุมชนท่องเที่ยว ให้ชุมชนที่ทำท่องเที่ยวปรับตัวโดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัย เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ตัวชุมชนเองและนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน

 

 

ซึ่งชุมชนท่องเที่ยวสามารถนำข้อปฏิบัตินี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ หากชุมชนท่องเที่ยวต้องการรับรองจากมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย หรือ Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) ก็สามารถสมัครเพื่อรับการประเมินและรับตราสัญลักษณ์ SHA ในประเภท นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยวจาก ททท.ได้

ลงทะเบียนเพื่อรับตราสัญลักษณ์ SHA ได้ที่ : https://thailandsha.tourismthailand.org/index

 

Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

Jay the Rabbit สร้างธุรกิจผ่าน “Living Character”

 

จุดเริ่มต้นของ Jay the Rabbit มาจาก “เจ๊ต่าย” เป็นคนชอบตั้งสเตตัสบนเฟสบุ๊กของตัวเอง โดยมีภาพประกอบเป็นภาพกระต่าย ซึ่งเป็นภาพที่หาได้จากอินเตอร์เน็ต 

เจ๊ต่ายโพสต์ภาพจนหาภาพประกอบไม่ได้ จึงเริ่มวาดภาพเองเพื่อนำมาประกอบสเตตัสที่โพสต์ กระทั่งเพื่อนของเจ๊ต่ายที่มองเห็นความสามารถแนะนำให้เปิดเพจ “Jay the Rabbit” โดยวาดรูปประกอบคำคมต่าง ๆ ที่เจ๊ต่ายชอบโพสต์ ในที่สุด Jay the Rabbit ก็เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

8 ปีผ่านไป จากเพจ Community เล็ก ๆ ปัจจุบัน Jay the Rabbit ได้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีผู้คนเข้ามาพบป่ะพูดคุยทักทายกันมากมาย จากการ์ตูนลายเส้นทั่วไปก็กลายเป็นธุรกิจ Character ที่ได้รับความนิยม มีสินค้ามากมายเข้ามาร่วมงานด้วย อีกทั้งยังสามารถส่งออก Character ไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย

การแจ้งเกิดของ Jay the Rabbit จึงเป็นกรณีศึกษาของการทำธุรกิจ Character ที่น่าสนใจเคสหนึ่งของประเทศไทย

ไปที่ แนวคิดในการทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นกับปัจจุบันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ไปที่ อะไรคือ Key Succeed ของ Jay The Rabbit

ไปที่ คำแนะนำที่มีต่อคนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากเข้าวงการนี้

 

 

แนวคิดในการทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นกับปัจจุบันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร


 

SME One : Jay the Rabbit เริ่มมา 8 ปีแล้ว สภาพแวดล้อมของ Social Media ปีแรกกับปีนี้ต่างกันขนาดไหน

Jay the Rabbit : อยากจะแบ่งการเปลี่ยนแปลงของ Social Media ออกเป็น 4 ยุคหลักด้วยกัน เริ่มจากยุคที่ 1 ช่วงการแจ้งเกิดของ Social Media อย่าง Facebook ช่วงเวลานั้น คนยังรู้จักเป็นวงแคบ และส่วนใหญ่ก็ยังรู้สึกเขินอายเพราะว่าเราไม่เคยมีการติดต่อกับคนอื่นในแนวกว้าง สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนั้นคือ เพจที่เป็นลักษณะ Meme ฉันอ้วนแต่ฉันยังสวย อย่างเพจ Jay the Rabbit, เพจคนอะไรเป็นแฟนหมี เพจตระกูลวาดรูป ตระกูลโชว์รูป รูปประกอบ Caption จะเริ่มเป็นที่นิยม Interaction ที่เกิดขึ้นตอนนั้น คือมีการแชร์เพราะคนยังไม่มีความมั่นใจในตัวเองก็จะอาศัยเพจเหล่านี้ Represent ในสิ่งที่อยากจะพูดด้วยการแชร์ออกไป 

พอปลายยุคนี้ เพจเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ก็จะมีคนส่วนหนึ่งที่เริ่มเขียนยาวขึ้น แต่คนในสังคมของ Social Media ยังไม่มีความมั่นใจก็เลยเลือกที่จะอ่านคนที่เริ่มรีวิว ยุคนี้จะเกิด Blogger Travel, Blogger How to สอนลูกสอนเด็ก, รีวิวร้านอาหาร, รีวิวขนม, รีวิวของเล่น จะเป็นแบบลักษณะนี้ แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ Beauty Blogger

พอมาถึงยุคที่ 3 ที่เป็น Phenomenon เลย ต้องให้เครดิตพี่ขวัญ สู่ขวัญ บูลกุล เพราะพี่ขวัญข้ามการรีวิวไปสู่ Emotional Purchase จากคำว่า ของมันต้องมี คือไม่สนใจว่าจะรีวิวเป็นยังไง แต่ฉันอยากได้ ตรงนี้ในเชิงธุรกิจ มันคือระดับ Advance คือ การซื้อของล่วงหน้า ซื้อเพราะอยาก ฉันอยากได้มันมา Fulfill ตัวเอง ฉันอยากได้ลิปสติกอันนี้ ต่อให้ใครจะรีวิวยังไงก็ไม่สนใจ ซึ่งมันต่างจากยุคก่อนหน้านี้จริง ๆ 

จากคนที่เริ่มจากไม่กล้า ตอนนี้มีความมั่นใจ มั่นใจว่าตัวเองชอบอะไร พอพี่ขวัญมาปุ๊บ Beauty Blogger กระเทือนหนัก คือหายไประดับมหาศาลเลย เพราะคนใน Social Media มีความมั่นใจในตัวเองแล้ว รู้ว่าชอบอะไร เป็นสายเกาหลี เป็น Hipster เป็น Rock คือรู้ตัวเองแล้ว เพราะฉะนั้นตระกูลรีวิวมีผลน้อยมาก 

พอมาถึงยุคที่ 4 มันมีวัน Pocky Day, วันคนโสด 11.11 วันแห่งการลดราคา ที่เปลี่ยนอะไรหลายอย่าง เพราะคนเริ่มมีความมั่นใจในตัวเอง เริ่มเชื่อมั่นในบัตรเครดิต เริ่มเชื่อในระบบ E-Commerce และการตัดสินใจสั้นลง พอมีวันลดราคา คนก็ซื้อสินค้าตามใจ เมื่อซื้อตามใจเพราะมั่นใจในตัวเอง มันทำให้เราซื้อของลดราคา เพราะรอได้ คือมีการวางเป้าหมาย แล้วก็รอ

ส่วนยุคที่ 5 จะเป็นยุค Database หรือ Only fan can sell ซึ่งทำให้เกิดยุค 5.1 ที่แยกเป็น 2 ขา คือกลุ่มที่ทำมาหากินเป็นกลุ่มแบบ Specific เช่น ท่องเที่ยว โรงแรม อาหาร ไลฟ์สไตล์ผู้หญิง ออกกำลังกาย กับ Mega Star หรือ International Star คือ แบรนด์จะใช้ดารานักแสดงเบอร์ใหญ่เลย เพราะเหมือนจุดพลุครั้งเดียวทุกคนมองเห็นหมด

 

SME One : เจ๊ต่ายวันแรกกับวันนี้ บุคลิกเปลี่ยนไปบ้างหรือไม่

Jay the Rabbit : ไม่เปลี่ยนเลย เพราะว่าเจ๊ต่ายไม่เปิดเผยตัวตั้งแต่ที่เปิดเพจ เหตุผลที่ไม่เปิดเผยตัวเพราะว่าลูกเพจเขาสร้าง Imagination สร้างเพื่อนในจินตนาการไปแล้วว่า Jay the Rabbit เป็นแบบนั้น แบบนี้ มนุษย์เราจะเกิดเพื่อนในจินตนาการตอนเราเป็นเด็ก ตอนที่เราคุยคนเดียว คนเหงา 8 ปีที่แล้ว คนไม่มีความมั่นใจแล้วเขาแชร์เจ๊ต่ายเป็น Meme นั่นคือเพื่อนในจินตนาการ 8 ปีต่อมา Jay the Rabbit ก็ยังเหมือนเดิม เหมือนเราจะไม่คิดว่าเพื่อนสมัย ม.ต้น เรานิสัยเปลี่ยน 

เพราะฉะนั้นเวลาคิดถึงเจ๊ต่าย เวลาเจอเจ๊ต่ายกี่ครั้งก็คิดเหมือน 8 ปีก่อน เขายังคิดว่าเจ๊ต่ายโสดเหมือนเดิม แม้ตัวเองหมายถึงคนที่ Follower จะไม่โสด แต่งงานมีลูกไปแล้วก็ตาม แต่เขาก็ยังมีมุมมองกลับมาที่เดิมอยู่ดี ซึ่งมันคือ First Impression ที่จำเป็นสำหรับการเป็น Character ซึ่งต้องมีการวางแผนอย่างชัดเจน เช่น เจ๊ต่ายไม่พูดภาษาแสลง ไม่พูดคำหยาบ พอไม่พูดแสลง ไม่พูดคำหยาบ เจ๊ต่ายก็จะกลายเป็น Generic หมายถึงเป็น Neutral เด็กก็เข้ามาได้ ผู้ใหญ่ก็เข้ามาได้ แต่ข้อเสียคือจะไม่หวือหวา แต่มันทำให้ Jay the Rabbit ไม่มี Negative เช่น เวลามีดาราเลิกกัน เราก็จะไม่เอาประเด็นนี้มาพูด เวลาเขามีปัญหาครอบครัวเจ๊ต่ายจะไม่พูดถึง

 

SME One : ทุกวันนี้แยกความเป็นตัวเองกับตัวเจ๊ต่ายอย่างไร เคยทะเลาะกับเจ๊ต่ายบ้างหรือไม่

Jay the Rabbit : ตอนทำปีที่ 4 มีปัญหาทะเลาะกับตัวเอง ช่วงเวลานั้นเลยตัดสินใจไม่รับงานฟรีแลนซ์อื่น ๆ เพื่อมาทำเพจ Jay the Rabbit อย่างเดียว ตอนนั้นปัญหาที่เจอคือ หลายคนที่รู้จักเรา แต่ต้องการคุยกับเราแบบเจ๊ต่าย เราก็ค้นพบสิ่งหนึ่งว่า เพื่อนเราเองไม่อยากรู้จักเรา แต่เขาอยากมีเพื่อนใหม่ชื่อ Jay the Rabbit จนเราสับสนว่าคนเขาอยากคุยกับเราหรือเจ๊ต่ายถึงขนาดต้องไปปรึกษาหมอ สุดท้ายก็ปรับตัวได้ในเมื่อเราสร้างเจ๊ต่ายได้ เราก็ต้องสร้างตัวเองกลับมาได้ ก็มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองในหลายด้าน ทั้งเรื่องการแต่งตัวและการใช้ชีวิตประจำวัน

 

SME One : ทำเพจมา 8 ปี โพสต์เกือบทุกวัน คิดมุขอย่างไรถึงไม่ซ้ำ ไม่ตัน

Jay the Rabbit :  อ่าน Comment เยอะ ๆ มันเหมือนเราย้ายห้องเรียน เราเรียนอยู่ห้องหนึ่งคนก็จะเป็นกลุ่มหนึ่ง พอเราย้ายห้องเรียนคนก็จะเปลี่ยนไป สิ่งแรกที่เจ๊ต่ายจะเข้ามาดูคือ Comment ลูกเพจ เมื่อวานเราโพสต์อะไรไป เพราะทุกคนเขาจะมีชุดความคิดอีกแบบ มีหลายมิติ แม้จะเป็น Account เดียวกันแต่อยู่ในที่ต่างกันจะแสดงออกไม่เหมือนกัน เช่น ไปอยู่ในเพจเจี๊ยบเลียบด่วน เขาจะพูดกูมึงได้ Account เดียวกันมาอยู่ที่ Jay the Rabbit จะพูดฉันเธอ

ถามว่าแล้วจะหมดมุขไหม มันไม่มีหมด เพราะว่าเราไม่ได้ทำเป็นงานไง ส่วนงานจริง ๆ คือพวกที่เอเจนซีจ้างมาทำ Content ซึ่งต้องทำ 2 ขา เรามีหน้าที่เป็นผู้จัดการของเจ๊ต่าย เรารับงานมาทำให้ กำกับตามที่ลูกค้าต้องการ แต่เจ๊ต่ายยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม

 

SME One : เคยคิดไหมว่า Jay the Rabbit จะมาไกลขนาดนี้ 

Jay the Rabbit : ปีที่ 1, 2, 3 ก็ดีใจว่ามันมาไกลมาก แต่พอขึ้นปีที่ 4, 5, 6 เริ่มรู้สึกว่าน่าจะไปได้ไกลกว่านี้ เช่น ประเทศเราไม่มี Living Character หมายถึง Character ที่ดำเนินชีวิตทุกวัน ประเทศไทยมีคนที่วาดการ์ตูนเก่งเยอะมาก แต่ว่าเราไม่เคยทำเป็น Living Character เราทำเป็น Story Character เรามีก้านกล้วย เรามีสุดสาครที่เป็นแบบเล่า Story แล้วจบในตอน ถ้าได้รับการสนับสนุนที่ดีจริง ๆ จะไปได้ไกลกว่านี้เยอะ

 

SME One : ทุกวันนี้ Jay the Rabbit เป็นอะไรบ้างแล้ว

Jay the Rabbit : ตอนเข้าปีที่ 4 ที่ Jay the Rabbit เริ่มมี Agency ที่ญี่ปุ่นแล้ว เจ๊ต่ายตัดสินใจเสนอแนวความคิดเรื่อง Online Celebrity กับคนญี่ปุ่นซึ่งเขา Get เขาเชื่อว่าเจ๊ต่ายเป็น Online Celebrity ไม่ใช่ Character เป็นดาราคนหนึ่ง ลูกค้า Agency ญี่ปุ่นเอาเจ๊ต่ายไปประกวดเต้นแข่งกับชาวบ้าน ในงานประกวดเต้นของ SoftBank เป็นการประกวดเต้นประกอบท่าของดาราตลก เด็กวัยรุ่น ม.2 ม.3 ก็มาเต้น แม่บ้านก็มาเต้น Agency เขาก็เอาเจ๊ต่ายไปทำ Animate เต้นประกวดจนได้ที่ 2 ของเขต คือประเทศญี่ปุ่นเขาเปิดใจกว้าง เพราะฉะนั้นงานของเจ๊ต่ายที่ญี่ปุ่นก็จะเป็นงาน Presenter ไม่ใช่งาน Merchandise ถ้าถามว่าเจ๊ต่ายทำอะไรได้บ้างก็ตอบว่า ทำได้ทุกอย่างเท่าที่มนุษย์ทำได้

เจ๊ต่ายไปเล่นละครก็ทำมาแล้ว ตอนนั้นที่ไต้หวันจะมีสร้างละคร บริษัท Agency ญี่ปุ่นก็พาเจ๊ต่ายไป Audition แข่งกับดาราตลกที่ไต้หวัน ในบทที่คล้ายกับดวงวิญญาณในละคร ปรากฏว่าเจ๊ต่ายก็ชนะอีก เพราะค่าตัวถูกกว่า แถมไม่บ่น ไม่เหนื่อย เจ๊ต่ายเลยได้เป็นดาราในไต้หวัน ก็มีแฟนคลับเกิดขึ้น พอละครจบก็ทำสินค้า Merchandise ขายได้อีก

เจ๊ต่ายเป็นดาราแล้ว เป็นพรีเซ็นเตอร์แล้ว เล่น Music Video แล้ว ตอนนี้เพิ่งเป็นนักร้องออกซิงเกิ้ล ออกอัลบั้มเลย ใช้ระบบเป็นศิลปินจริง ๆ ไม่ใช่เป็น Commercial Artist ไม่ได้รับจ้างร้องเพลง แต่เป็นศิลปินจริง อัลบั้มแรกน่าจะออกเดือนกันยายนนี้ มีขายมีให้ดาวน์โหลดใน Music Streaming ทั่วไป


 

อะไรคือ Key Succeed ของ Jay The Rabbit



 

SME One : คิดว่าอะไรคือ Key Success ของ Jay the Rabbit

Jay the Rabbit : Key Success ที่สำคัญที่สุดของเจ๊ต่าย คือการรับฟัง เพราะว่าตัว Character ของเจ๊ต่าย หมายถึง บุคลิกภาพมันเกิดจากลูกเพจหล่อหลอมขึ้นมา เขากำหนดเองว่าอยากจะเล่นเป็นเจ๊ เขาก็กำหนดเองว่าจะต้องเป็นสาวอวบ เขาจะต้องกำหนดเองว่าจะต้องอายุประมาณ 30 ปลาย ๆ 40 ต้น ๆ ทุกคนกำหนดของตัวเอง เราแค่รับฟังยอมรับ 

อีกเรื่องหนึ่งคือ เจ๊ต่ายเชื่อในทฤษฎีส่วนตัวว่า โลกใน Social Media เร็วกว่าโลกมนุษย์ 3 เท่า หมายถึงว่าเราทำงาน 8 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น แต่โลก Social Media คือทำ 24 ชั่วโมง หมายความว่ามัน 8 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น คูณ 3 คือ 24 ชั่วโมง โลกกลางวันของ Social Media เป็นโลกหนึ่ง โลกหัวค่ำของ Social Media ก็เป็นอีกโลกหนึ่ง หลังเที่ยงคืนมาถึง 8 โมงเช้าเป็นอีกโลกหนึ่ง คูณ 3 เท่า พอเราได้ทฤษฎีนี้มามันทำให้เรารู้ว่า 1 วันของโลก Social Media มี 72 ชั่วโมง

ดังนั้นพอมันหารจากความรู้สึก คนใน Social Media จะใจร้อนกว่าคนในชีวิตจริง ไม่เชื่อลองสังเกตดูได้ ถ้าเราทักแชทแม่ค้าออนไลน์ไปแล้วเขาไม่ตอบกลับ แป๊ปเดียวเราก็ไม่ซื้อแล้ว เพราะคนใน Social Media ใจร้อนกว่าโลกปกติ 3 เท่า เพราะฉะนั้นคนที่เป็นแม่ค้าออนไลน์ เราต้องหาวิธีชี้แจงว่าจะตอบ Inbox ช่วงเวลาไหนถึงเวลาไหน แล้วต้องตอบคำถามแบบตั้งใจตอบ ถ้าตั้งใจตอบจะได้ผลทุกครั้ง


 

คำแนะนำที่มีต่อคนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากเข้าวงการนี้ 



 

SME One : ถ้าคนรุ่นใหม่มีความสามารถในการวาดรูป อยากเข้าวงการ Character จะให้คำแนะนำอะไร

Jay the Rabbit : อยากให้เอาความรู้สึกของเจ๊ต่ายตอนทำเพจไปถ่ายทอด ความรู้สึกของเจ๊ต่ายคือ ไม่คิดอะไร ไม่คิดว่าจะเป็นอาชีพได้ ไม่คิดว่าจะมีแฟนคลับ ไม่คิดว่าจะต่อยอดเป็นอย่างอื่นเลย แค่อยากจะโชว์ว่าเราทำอะไรได้บ้าง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ที่เหลือมันจะตามมาเอง เพราะว่าสารตั้งต้นมันเป็น Authentic มันเป็นความรู้สึกที่เราอยากวาด มันคือ Passion แล้วเราจะไม่มี Expect ตั้งแต่ต้นเลยว่าจะได้เงินเมื่อไหร่ ยอดติดตามเท่าไหร่ ทำไมยอดติดตามน้อย เพราะเราทำด้วยความชอบ เหมือนบางคนอยากเป็น Blogger สายท่องเที่ยวเพราะได้เที่ยว ส่วนบางคนชอบเที่ยวจนได้เป็น Blogger มันคนละความหมายกันเลย

 

SME One : อยากให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยอุตสาหกรรมนี้ในส่วนไหน

Jay the Rabbit : ประเทศเรายังขาด Strategy ในภาพใหญ่ ดูอย่างประเทศเกาหลี ประเทศเขาแทบไม่มีทรัพยากรอะไร ดังนั้นการท่องเที่ยวเขาไม่มีอะไรเลย เขาจึงส่งออกวัฒนธรรม เพราะมันได้ผล เขามีนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนมีการวางเป็นกลยุทธ์ เช่นทุกสายการบินที่บินออกจากเกาหลีจะได้กินบิบิมบับ รัฐบาลเป็นคนออก เพราะฉะนั้นมื้อสุดท้ายที่เธอจะได้กินบนเครื่อง เธอจะได้กินอาหารเกาหลี 

ส่วนเรื่อง Character บ้านเรา เราแบ่งงานกันเป็นสัดส่วนเกินไป ทางที่ดีควรจะต้องมีแบบคนที่เข้าใจองค์รวม ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นทำธุรกิจ Character อย่างเป็นเรื่องเป็นราวมาก ๆ คือ คุมะมง ซึ่งเป็นประชาสัมพันธ์ของจังหวัดคุมาโมโตะ

คุมะมงจะไม่ปรากฏตัวในงานอีเว้นท์ซ้อนกันทีเดียว 2 งาน แม้ว่าทางจังหวัดจะมีคุมะมง 2 ตัวก็ตาม แต่ตัวหนึ่งจะเก็บเอาไว้สำรอง เพราะคุมะมงนับเป็นคนหนึ่งคน ส่วนในเรื่องธุรกิจ ทุกแบรนด์สามารถใช้คุมะมงโฆษณาได้ ถ้าส่วนผสมของสินค้ามาจากเมืองคุมาโมโตะ เช่น ขนมกูลิโกะ ป๊อกกี้ที่ใช้น้ำนมจากเมืองคุมาโมโตะก็สามารถเอาคุมะมงไปโปรโมทป๊อกกี้รุ่นพิเศษคุมะมงได้ เพราะถือว่าช่วยสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่นในจังหวัดเป็นต้น หรืออย่างมหกรรมกีฬาโอลิมปิก TOKYO 2020 ทางรัฐบาลก็มองขาด มองว่า Character สำคัญ และให้เด็กเป็นคนเลือก Character เพราะโอลิมปิกคัดเลือกในปี 2016 จึงให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีที่เป็นคนเลือกตัวการ์ตูน เพราะในวันที่จัดการแข่งขันเขาจะมีอายุ 16 ปี เขาจึงไม่ให้ผู้ใหญ่เป็นคนเลือก บ้านเรายังขาดคนที่คิดแบบองค์รวมได้แบบนี้


 



บทสรุป

การจะสร้างธุรกิจจากจินตนาการจนเป็น Character ที่ประสบความสำเร็จสามารถสร้างรายได้บนโลกออนไลน์และดังไกลไปถึงเมืองนอกนั้น จำเป็นต้องเข้าใจบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในสังคมออนไลน์ ซึ่งมีความแตกต่างจากโลกแห่งความเป็นจริงหลายด้าน โดยหัวใจสำคัญของการสร้าง Character ให้เป็นที่รู้จักนั้น คนส่วนใหญ่จะจดจำภาพแรกที่พบเจอ หรือ First Impression มากที่สุด เพราะฉะนั้นคนที่อยากจะเดินบนเส้นทางอาชีพนี้จำเป็นต้องคิดและวางแผนอย่างเป็นกระบวนการก่อนที่จะเริ่มทำจริง รวมถึงพลังแห่ง Passion จะทำให้สิ่งที่คุณอยากจะสื่อสารเข้าไปถึงใจของผู้อ่านในที่สุด

 


Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ถ้าเอ่ยชื่อ กตัญญู คอฟฟี่ หลายคนอาจไม่คุ้นหูแบรนด์กาแฟน้องใหม่ อาจจะถึงใหม่มากเพราะ กตัญญู คอฟฟี่เพิ่งเริ่มตั้งต้นเมื่อตอนเกิด โควิด 19 นี่เอง แต่หากเอ่ยถึง stand up comedy รุ่นใหม่ “กตัญญู สว่างศรี ผู้ก่อตั้งแบรนด์ กตัญญู คอฟฟี่”  เชื่อว่าหลายคนคงไม่แปลกใจว่าทำไม กตัญญู โคลด์บริว ถึงมาแรงในกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะในโลก social  ความน่าสนใจของ กตัญญู คอฟฟี่ มีมากกว่าแค่โคลด์บริวรสชาติเข้มข้น แต่เรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่คิดจะทำธุรกิจในช่วงโควิด ขณะที่ใครหลายคนตั้งตัวไม่ติด หยุดพักรอประเมินสถานการณ์ แต่ชุดความคิดแบบนี้คงใช้ไม่ได้กับกตัญญู คอฟฟี่  แบรนด์ที่มีจิตวิญญาณ ทัศนคติแบบสตาร์ทอัพ คิดไว ทำไว ลองผิดลองถูก ปรับเปลี่ยน และพร้อมที่จะก้าวเดินหน้า พร้อมจะล้มและลุก  (resilience) ยืดหยุ่นกับทุกสถานการณ์ตลอดเวลา

ไปที่ จุดเริ่มต้นของธุรกิจคืออะไร

ไปที่ มองเห็นโอกาสนี้ได้อย่างไร

ไปที่ มองเทรนด์อุตสาหกรรมนี้อย่างไร

ไปที่ แนวคิดในการทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นกับปัจจุบันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

 

 

จุดเริ่มต้นของธุรกิจคืออะไร

SME ONE: ได้ยินมาว่าจุดเริ่มต้นของ กตัญญู คอฟฟี่ น่าสนใจมาก อยากให้เล่าให้ฟังหน่อย

คุณกตัญญู: จะบอกว่ากตัญญู คอฟฟี่เริ่มต้นแบบจริงจังตอนช่วงมีโควิดครับ จริง ๆ แล้วพวกเราเป็นบริษัท เอเจนซี่ ทำโฆษณาครบวงจร ออนไลน์ ออนกราวน์ ซื้อสื่อและวางแผนมีเดีย คือทำหมดรวมถึง stand up comedy ด้วย ตอนช่วงโควิดเราใช้ resource คนของเรามาพัฒนาโปรดักส์ ที่เรียกว่า โคลด์บริว คอฟฟี่  ก่อนหน้าโควิด ตัวผมเองมีความสนใจที่อยากทำกาแฟมาก่อนหน้านี้ ตั้งแต่เวลาไปเที่ยวญี่ปุ่นเกาหลี ไปร้านสะดวกซื้อก็ไปเจอโคลด์บริว คอฟฟี่หลากหลายแบรนด์มาก แต่ทำไมไม่มีอะไรแบบนี้ในบ้านเรา

ทีนี้ตัดภาพมาช่วงโควิด เราก็ฟัง podcast เยอะ ก็มีทั้ง reskill upskill เปลี่ยน mindset ทำอะไรใหม่ ผมก็...เราจะมีอะไรใหม่ดีวะ ก็บอกน้อง ๆ ในทีมเบรนด์สตรอมกัน บอกว่าทุก ๆ อาทิตย์ต้องมีอะไรใหม่ ทำอะไรก็ได้เพราะช่วงนั้นเป็น WFH กัน ก็ไม่ได้คิดว่าทำแล้วจะกำไร แต่คิดว่าจะเป็น momentum ให้เขารู้สึก เขามีงานนะ ตื่นเต้นนะ มี value นะ ช่วงนั้นซีรี่ย์อิแทวอนมันดัง แล้วมีพนักงานเข้ามาใหม่เขาก็ทำตัวเองเป็นตัวละครในอิแทวอน ทำธุรกิจเปิดร้านอาหารก็อินกัน ตอนนั้นที่คิดกันอยากทำหลายอย่าง หน้ากาก เจลกลิ่นหอม ฯลฯ สุดท้ายมาจบที่ข้าวแกงกะหรี่ก่อน น้อง ๆ ก็เชียร์เอายังอะพี่ แต่ผมก็มานอนคิดจริง ๆ เรื่องโอเปอเรชั่น หุงข้าวร้อน ๆ สับหมูทอดหมู น้ำมันเยิ้ม ๆ จะไหวเหรอ คือตัวโอเปอเรชั่นค่อนข้างซับซ้อนก็เลยรอก่อนละกัน  จนกระทั่งเราจำได้ว่าช่วงตอนปีใหม่เราชอบดริปกาแฟให้ลูกน้องกิน คือเป็นการสร้างโมเม้นท์เช้า ๆ เหมือนเป็นการวอร์มอัพ เป็นการคุยกันบ้าง  ทีนี้ตัดกลับมาช่วงโควิด ก็มีรายการที่ต้องอัดได้มาถ่ายที่บ้าน ผมก็ดริปกาแฟให้ทีมงานกิน... ตอนนั้นแหละโมเม้นท์มันก็มา  เฮ้ย ขายกาแฟดิวะ จะไปทำข้าวแกงกะหรี่ทำไม วุ่นวาย

 

SME ONE: ตอนนั้นเพราะเรามี knowledge อยู่แล้วรึเปล่า

คุณกตัญญู: คือเราสนใจอยู่แล้ว พอมี knowledge นิดหน่อย แต่ไม่ได้ expert อะไรขนาดนั้น แต่ว่าผมมีเพื่อนพอคิดได้ วันนั้นชงกาแฟเสร็จก็ยกหูหาเพื่อนเลย คือเจ้าของร้านกาแฟ อาข่าอาม่า ชื่อว่าลี อายุจือปา คือเขาเจ๋งของเขาอยู่แล้ว เราก็ขอซื้อเมล็ดแล้วก็ขอซื้อสูตรปรุงกาแฟจากเขาเลยเพื่อปรุงโคลด์บริว ถ้าเป็นโคลด์บริวเมล็ดจะเป็นจากที่นี่หมด อาข่า อาม่า แต่ถ้าเป็นส่วนของกาแฟอื่น ๆ จะไม่ใช่เจ้าเดียว จะมีเมล็ดของที่อื่นผสม

 

SME ONE: คือได้สูตรมาด้วย?

คุณกตัญญู: ก็ขอซื้อเมล็ด ขอสูตรและขอให้เขาแนะนำที่ซื้ออุปกรณ์มาด้วย เพราะเราศูนย์เลย ขอจนจบเลย ขอเอาโลโก้เค้ามาติดในโปรดักส์เราด้วย (หัวเราะ) อารมณ์คนทำธุรกิจมันต้องปลูกมิตรสหาย เขาก็รู้ละว่าเราขอเขาซื่อ ๆ นะ  ก็รู้จักกันมาหลายปีแล้วก็เป็นมิตรที่ดีต่อกัน คือเคยได้ยินว่าเขาหวงเมล็ดมากนะ แต่ไว้ใจเพราะรู้ว่าเราเป็นคนทำอะไรทำจริง แล้วอยากทำให้คุณภาพมันดี ที่สำคัญเสร็จสรรพทุกอย่างเกิดขึ้นได้ใน 3 วัน ของส่งมา แล้วก็ดีไซน์  แล้วขายเลย  ดีไซน์เราก็ใช้ทีมเอเจนซี่เรา

 

 


 

มองเห็นโอกาสนี้ได้อย่างไร



 

SME ONE: มองเห็นโอกาสนี้ยังไง ทำไมเป็นโคลด์บริว

คุณกตัญญู : ถามว่าทำไมต้องเป็นโคลด์บริว...คิดว่าตอนนั้นไม่มีใครมีหน้าร้านกาแฟแบบที่หน้าร้านมันเปิดและเป็นเครื่องชง espresso ดี ๆ ก็เลยคิดเองว่าคนน่าจะ need แบบนี้  ตัวเครื่อง ตัวข้อมูลก็ขอจาก ลีอาข่า อาม่า และต้องบอกก่อนว่าโคลด์บริวไม่ใช่ผลิตภัณฑ์กาแฟที่ซับซ้อนอะไรขนาดนั้น มันแค่ต้องใช้เวลา ใช้สูตร ใช้หมัก ใช้อุปกรณ์ มีถังหมัก มีวิธีการ มีอุณหภูมิ มีช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จบ คือตอนนั้นเริ่มอยากลองทำก่อน ไม่ได้คิดอะไรมาก ถ้าเจ๊งก็กินกันเองในออฟฟิศครับ 

 

SME ONE: เพราะกตัญญูเป็นคนเอเจนซี่ รู้ แบรนด์ดิ้ง รู้มาร์เก็ตติ้ง ตอนคิดที่จะทำโคลด์บริว เรามองเห็นกลุ่มเป้าหมาย มองเห็นโอกาสเป็นยังไง

คุณกตัญญู : มันต้องเริ่มจากอย่างนี้ก่อน ผมไม่ได้โฟกัสเรื่อง target ไม่ได้โฟกัสเรื่องโอกาสทางธุรกิจ  ผมโฟกัสเรื่องการสร้าง momentum กับทีม ให้ทำสิ่งที่มีคุณค่าและส่งต่อให้กับคนได้ เพราฉะนั้นผมโฟกัสที่กาแฟอร่อยก่อน ทีมกินแล้วแฮปปี้ อย่างที่ 2 พอเริ่มจะขาย ผมโฟกัสที่อยากส่งถึงมือลูกค้าเอง พอเริ่มโพส และมีออร์เดอร์มา ผมก็มากดกาแฟเองในออฟฟิศนี่แหละ กดทุกขวดทุกถุง แล้วไปส่งเองจำได้ว่าไปแถวพระราม 2 จะออกไปบางขุนเทียน ออกตั้งแต่ช้ากลับค่ำ ไปกัน 2 คน กะว่าต้องส่งถึงมือลูกค้า ปรากฎว่าบางคนให้ฝากไว้ข้างล่างเลยครับ ก็เลยเจอไม่กี่คน แต่มีรุ่นพี่คนนึงที่เป็นคอกาแฟจริง ๆ ที่กินโคลด์บริว พอชิมแล้วก็ไม่บอกว่าอะไรหรือบอกอร่อย แต่ก็ทักมา “เถ้าแก่ สั่งกาแฟเพิ่มหน่อย” ซึ่งเรารู้แหละ เพราะพี่กินกาแฟจริงจังถ้าสั่งเพิ่มแสดงว่าใช้ได้ ซึ่งจากตรงนั้นเราตั้งใจว่า จะส่งด้วยตัวเองแล้วถ่ายรูปคู่กับลูกค้า เพื่อโพสเล่า... อันนี้คือภาพแรกที่เราคิดไว้ แต่ไม่ได้โฟกัสเลยว่าต้องตอบโจทย์ใครคือ target คือถ้ากลับมาที่เอเจนซี่ผม เราเน้นการสร้างโมเม้นท์ เราใช้ tagline ว่า make the moment ทุกอย่างมันเริ่มต้นจากสร้างโมเม้นท์... ทำ talk show ก็สร้าง moment... ทำกาแฟเราอยากสร้างโมเม้นท์ดี ๆ แล้วเล่าออกไป 


 

มองเทรนด์อุตสาหกรรมนี้อย่างไร



 

SME ONE: ตอนนี้กตัญญู โคลด์บริว เริ่มมากี่เดือนแล้วและเราได้มอง short หรือ long term จะก้าวต่ออย่างไรบ้าง มองเทรนด์เป็นอย่างไร 

คุณกตัญญู :ตอนนี้ทำมาได้ประมาณ 4 เดือนแล้ว ตัว delivery ยอดขายลดลงมาก คิดว่าน่าจะเป็นพฤติกรรมที่ออกมากินกาแฟได้แล้ว กลายเป็นว่าตัวคาแฟ่ก็ดีขึ้น เราก็ทำคาแฟ่แทนเหมือนที่คิดตอนเริ่มต้น มีการวางแผนที่จะทำโปรดักส์ส่งอ.ย. แล้วก็เข้าโมเดิรน์เทรด เอาจริง ๆ  way ของ business จะมี 2 แบบคือ 1 เราจะเป็น chain กาแฟ และทำโปรดักส์ขายส่ง เพิ่ม channel ให้มันกว้างขึ้น

SME ONEเรามีกี่เมนูในตอนนี้

คุณกตัญญู : ผมจำไม่ได้นะ เรามีเมนูเยอะมากในร้าน เอาเป็นว่าเราขายกาแฟเดือนแรกได้ครึ่งล้าน ผมแฮปปี้แล้ว  เดือนแรกขาย delivery เท่านั้น คือตอนนี้ทั้ง delivery และร้านเราก็ต้องมีทั้งอุปกรณ์ เครื่องชงโน่นนั่นนี่ เอาเป็นว่าตอนนี้เรา cover ต้นทุนพวกอุปกรณ์ equipment ต่าง ๆ แล้วครับ



 

SME ONE: เห็นหน้าร้านมีบาริสต้าทำกัน 2 คน แล้วหลังบ้านมีช่วยกันเยอะมั้ย

คุณกตัญญู: จริง ๆ ร้านตอนนี้ยังเป็น station เล็ก ๆ ก็เลยมี 2 คน แล้วก็ใช้บริษัท กตัญญู 86 นี่แหละครับ ทำ marketing, content, โพส ตอนเริ่มมันก็ง่ายมาก ผมก็ถือกาแฟไปหาเพื่อนผม บูม ธาริส กาแฟเราตอนแรกผลิตได้ไม่กี่ขวด ไม่กี่ถุง พอบูมเอาไปลงในรายการเขา ปรากฎออเดอร์มาเป็นร้อย...ปวดหัวเลยตอนนั้นทำไม่ทัน

 

SME ONE: แสดงว่าวิธีสื่อสารก็สำคัญ เพราะโปรดักส์ดีอยู่แล้ว โซเชี่ยลก็ไว

คุณกตัญญู: ผมว่าในช่วงนั้นมันเป็นจังหวะ และโอกาสที่คนตามหากาแฟดี

 

SME ONE: ช่วง lock down คนอื่นก็มี delivery นะ

คุณกตัญญู: อีกอย่างผมว่ามันมี vibe ของความมันส์ ความบ้า ๆ บอ ๆ อยู่... ทำ stand up comedy อยู่ เปิดเอเจนซี่ แล้วขายกาแฟเหรอวะ มันใช่เหรอ คิดว่าสิ่งที่เป็นจุดเด่นของกตัญญูเอง ไม่ว่าจะ comedy หรืออะไร มันคือ “การสร้างความสนุกที่อยากให้คนมีส่วนร่วม” สนุกดีว่ะ เฮ้ยมันทำอะไรวะอยาก join ด้วย ประมาณนี้ครับ Character เราคน perceive แล้วว่าเราสนุก ๆ มันส์ ๆ กล้าทำอะไรใหม่ ๆ... มันก็เป็นโฟกัสของเราอยู่แล้วว่ากาแฟเราจะ set ให้เป็น explore, sharing, fun เป็นเหมือนธีมคอนเซ็ปต์ อยากให้คนลองสิ่งใหม่ ให้คนมา sharing และสนุกไปกับมัน

 

SME ONE: แทบจะไม่ดูคู่แข่ง

คุณกตัญญู: ผมวาง position น่ะครับ ผมฟัง podcast มาอีกทีและชอบคำพูดของ มาซายิซอง ตรงที่เค้าพูดรึเปล่าไม่รู้ เค้าบอกว่า “คนที่ประสบความสำเร็จ กับไม่สำเร็จต่างกันที่ คนที่สำเร็จหายอดเขาที่จะปีน” สำหรับผม สำเร็จหรือไม่สำเร็จผมไม่รู้ แต่ถ้าเราเลือกยอดเขา เวลาอยู่ตีนเขานะโคตรสนุกเลย ผมเลือกยอดเขาเลย..

บ้านเรา​แบ่ง position กาแฟเป็นพวก specialty คนกินกาแฟสายลึก กินจริงจัง กาแฟอร่อยเลย เข้าใจรสชาติ  เรามองเห็นคนกินกาแฟแบบแมส เรารู้สึกว่ากาแฟที่เป็น premium mass แบรนด์กาแฟคนไทยอะไม่เยอะมาก เวลาเราเลือก premium mass เราก็เลือกสตาร์บัคส์ เราไม่เรียกว่ากินกาแฟสตาร์บัค แต่เราเรียกกินสตาร์บัคส์

ผมเลยคิดว่าถ้าวันนึงคนไทยกินกาแฟเราก็ต้องเรียกว่า “กินกตัญญู” แล้วผมก็วางตัวเราเป็น premium mass มีลักษณะวิธีคิดที่ว่าเป็นกาแฟที่ดี มีคุณภาพ ใส่ใจสังคม เราพยายามเลือกแบบแก้วไบโอพลาสติก แต่มีความ mass ที่คนกินแล้วรู้สึกง่าย ๆ ซึ่งจะลงไปถึงการตั้งราคา วางแบรนด์ดิ้ง ก็จะกำหนด direction ทั้งหมด

สำหรับผมนะ แบรนด์ดิ้งหรือตัวตนมันมาหลังจากเราทำอะไรไปแล้ว และกลับมาดูสิ่งที่ทำแล้ว fine tune แต่มันก็สามารถ work ได้ทั้ง 2 แบบ จะ set up branding ก่อนแล้วค่อย execute แต่ของผมน่ะทุกเรื่องในชีวิตเริ่มแบบนี้เลยทำก่อนเลยแล้วสนุกไปกับมัน คือ สนุก ทำได้ดีแล้วมี value กับคนอื่น


 

แนวคิดในการทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นกับปัจจุบันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

 

 

SME ONE: วิธีดำเนินธุรกิจช่วงต้นมีปัญหา อะไรมั้ยจัดการอย่างไร

คุณกตัญญู: ผมเป็นคนเริ่มตั้งต้นแบรนด์ แล้วผมสร้างทีมขึ้นมา อย่างผมรับน้องจุ๊บจิ๊บแอดมินคนแรกเข้ามา ผมบอกเลยอยากจะสร้างสิ่งนี้ด้วยกันมั้ย หรือรับบาริสต้าก็บอกเลยจะเริ่มจากเล็ก ๆ อย่างบล็อกนี้แล้วจะเป็นอย่างนี้ จะมาสร้างด้วยกันมั้ย… ให้ทุกคนมีความเป็น ownership ของเขาเอง ผมไม่รู้ว่ามีกี่เมนู ผมไม่รู้ว่าเดือนหน้ามีกี่ special menu และผมไม่เคยสั่ง แต่น้องจะเสนอขึ้นมาให้ แต่ผมทำหน้าที่เคาะ เช่นเมนู signature ตอนแรกก็เหมือน ๆ กันทุกร้านก็น่าเบื่อปะ ผมช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ลงไปหน่อย สุดท้ายก็ได้เมนู กตัญญูสุ เป็นส้มยูสุแต่มีความสอดคล้องกับแบรนด์ มีความขี้เล่น หรือ Sเย็น มาจาก espresso ที่คนไทยชอบกินแบบใส่นมข้น แต่ไปผ่านความร้อน ไปเบิร์นขึ้นมาให้มันนัวขึ้นไปอีก ประมาณนี้ ผมแค่ top upเ ฉย ๆ ที่เหลือให้เขาเป็นเจ้าของ แล้วทุกอย่างมันก็จะรันโดยน้องจะรู้สึกเป็นเจ้าของเองก็จะดีกว่า

วิธีบริหารของผมคือจะหาคนเก่ง ผมจะให้โอกาส และจะ support  แล้วก็อยากได้คนที่ยืดหยุ่นด้วย เช่น เราจะไม่จัดงาน grand opening นะ ทำทำไม เกิดขึ้นแล้วก็ได้แค่ news แต่เราจะจัด Katanyu Festival เลย มีกาแฟ มีโน่นนี่ ชวนคนมาเล่น มีเมนู มีสิ่งที่เรามี มี comedy กำลังจะขึ้นเร็วนี้ ๆ มีพื้นที่ชั้น 2 มีการชูเรื่องพื้นที่ space บรรทัดทองเป็นไอเดียใหม่ ๆ แล้วถ้าเราสนุก ทุกคนก็จะสนุกไปกับเรา แต่เราก็กำหนด CI, Brand DNA เพื่อให้รู้ว่าอันนี้ใช่ อันนี้ไม่ใช่แต่ไม่ micro management แต่ดูหลังบ้าน ดู finance ว่าอันไหนยอดตก มีกลยุทธ์ อะไรใหม่รึป่าว

จริง ๆ ก็มีห้างสรรพสินค้ามาชวนเราไปเปิด แต่เราไม่ไป เราอยากอยู่แบบ local community สร้าง vibe ให้เกิดความสนุกเหมือนร้านอาราบิก้า  หรือ blue bottle ที่เป็น stand alone ในพื้นที่แล้วสร้างความพิเศษ เพราะฉะนั้นก็จะได้กลุ่มคนที่อยากได้ความแตกต่างแต่มีความ welcome เข้าถึงง่าย ได้กินกาแฟที่ดีและมีคุณภาพ พื้นที่ตรงนี้มีความเป็นชุมชนเก่า มีคัลเจอร์ ตอนนี้เราได้ทั้งกลุ่มนักศึกษาและคุณป้า อาม่าที่มีกำลังซื้อมี space สวย ๆ ให้นั่ง

 

SME ONE: ปัญหาในการทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นมีอะไรบ้าง

คุณกตัญญู:ในช่วงต้น เนื่องจากเราไม่ได้ตั้งบริษัทเพื่อทำกาแฟ แรกเลยเราเลยต้องเปลี่ยน mindset ของ resource เราให้ยืดหยุ่นได้ (resilience) ให้ value ได้ เช่น เราเอาครีเอทีฟมาทำกาแฟ คือก็มีทั้งที่ปรับได้ และกำลังต้องปรับให้ได้

อันที่ 2 คือเรื่อง knowledge เราไม่เคยทำ inventory ก็ต้องมาเรียนรู้ (upskill) เคยขายดีแต่เมล็ดมาไม่ทัน ก็ต้องมาหัดทำ stock เพราะช่วง lock down เจอเรื่องขนส่งที่ไม่ปกติ ก็ให้อิสระน้อง ๆ คิดแก้ปัญหา ส่วนเราก็ถอยออกมามองมุมกว้างจะได้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้

ผมเป็นคนไม่ micro management หมายถึงไม่เข้าไปบอกว่า 1 2 3 ต้องทำอะไร แต่เป็นพวก result oriented สุด ๆ คือไปทำอะไรแล้วเอา solution มา แต่ถ้ามีอะไรที่ผิดพลาดก็ต้องกล้าเข้าไป interrupt ขอดูที่ผลลัพธ์ที่ดี แต่ก็มีพลาดบ้างเป็นเรื่องปกติน่ะครับ

 

SME ONE: เหมือนปัญหาที่เกิดเป็นเรื่อง management แล้วมีวิธีแก้อย่างไร

คุณกตัญญู: ผมหาความรู้เพิ่ม วิธีที่ง่ายที่สุดคิดว่าฟัง podcast นะ หลัก ๆ ฟัง secret source ของคุณเคน นครินทร์ กับฟัง 8 บรรทัดครึ่ง แล้วก็ mission to the moon ของคุณรวิศ ฟัง boss eye view  ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องคน ก็จะมีด้าน skill เรื่อง emotion จะแก้เป็นเรื่อง ๆ อันไหนแก้ไม่ได้ เดี๋ยวค่อยกลับมาแก้ เอาอันที่แก้ได้ก่อน

 

SME ONE: คิดว่าจะขยายธุรกิจต่อยอดไปทางไหน

คุณกตัญญู:ตอนนี้ยังครับ อยาก focus อันนี้ให้ดีที่สุดก่อน  อย่างที่บอกตอนเริ่มที่นี่ไปถามเจ้าของพื้นที่เพื่อ adapt พื้นที่เป็นที่ผลิตกาแฟในออฟฟิศผม เค้าก็เสนอที่ตรงนี้มา เริ่มจากเล็ก ๆ โชคดีว่าเค้าเคยทำร้านกาแฟมาก่อน ก็เลยเสนอว่าเอาอุปกรณ์ของเค้าด้วยมั้ย เค้าขายให้ แต่เราไม่อยากลงทุนเยอะ เค้าบอกเซ้งต่อให้เอามั้ย... เราก็ขอเป็นผ่อนได้มั้ยเป็นรายเดือน เพราะต้องลงเครื่องอีกเป็นห้าแสน สุดท้ายผมเริ่มต้นร้านนี้ด้วยเงินทุน 120,000 บาท ผมใช้เงินน้อยที่สุดครับ คือถ้าเป็นศัพท์ start up ก็เป็น fail fast, fail cheap มันเป็นจังหวะ และโอกาสน่ะ... ร้านนี้เกิดขึ้นในเวลาครึ่งเดือน และจะทำชั้น 2 ให้เป็น space สวยงาม ซึ่งเป็น goal ของปีนี้

 

 

SME ONE: ที่ผ่านมาเคยขอคำปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐบางหรือไม่ อย่างไร

คุณกตัญญู: ไม่เคยครับ บางทีมีความวุ่นวายขอเอกสารเยอะ ไม่ทันเวลา บางทีผมก็ไม่ได้เข้าไปหาบริการจากรัฐมากกว่า เลยเกิดเป็น perception ที่เรามีต่อบริการของรัฐ

 

SME ONE: อันนี้น่าสนใจที่ กตัญญู transform resource ของบริษัท มาเป็น delivery โดยมีมุมมองวิธีคิด ทัศนคติแบบ start up ที่ไม่ใช่แค่ดิจิทัลเทคโนโลยี

คุณกตัญญู:ผมว่าต้อง define กับคำว่าดิจิทัลดี ๆ  คือไม่ใช่ tools ไม่ใช่โทรศัพท์ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ สำหรับผมมันคือยุค ยุคที่คนเปลี่ยนแปลงไปและมีพฤติกรรมใหม่ พอเข้าใจแบบนี้ผมก็ไม่ต้อง define  พออันไหนมีโอกาสผมก็ไปอันนั้น ตอนโควิดใครจะมานั่งร้านกาแฟ ออฟฟิศก็ปิด เราก็ขายกาแฟ delivery สิ

 

SME ONE: ปัจจัยความสำเร็จในการทำธุรกิจมีอะไรบ้าง (key Success Factors)

คุณกตัญญู: ผมว่าผมโฟกัสสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายก่อน โฟกัสกับสิ่งเล็ก ๆ ที่มีความเป็นไปได้  วันที่ดริปกาแฟแล้วรู้ว่าว่า เฮ้ย...ขายอันนี้สิ มันเป็น moment ที่อยู่ในตัวอยู่แล้ว   ผมมีเพื่อน เพื่อนเก่ง เพื่อนรู้ มีบูมมาช่วยเล่า  มีทีมเป็น micro moment ที่สร้างความสุข (value) ให้เกิดขึ้นได้ คิดว่าการมองเห็นสำคัญที่สุด เห็นว่าเป็นไปได้ และเห็นว่ามันส่งต่อให้คนอื่นได้ครับ

 

SME ONE: ความท้าทายนับจากนี้

คุณกตัญญู: ผมใส่เงินเข้าไปเพิ่ม มันต้องมี return และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน ว่าจะ return สร้างกำไรเมื่อไหร่ ถ้าให้จับต้องได้ก็คือโปรดักส์ที่ยื่นอ.ย.แล้วขาย ต้องวัดได้ว่ามันบูม เช่น ถ้าเดินเข้าเซเว่นแล้วมีโคลด์บริวให้กินเอยู่ 2 เจ้าและอร่อยไม่เท่าผมแต่ผมแพงกว่า เมื่อไหร่ที่ผมทำราคาเท่าเค้าได้ เราก็มีโอกาส แต่ผมอาจเริ่มจากสเกลเล็ก ๆ ก่อนตาม ฟู๊ดแลนด์ กรูเม่ วิลล่า

 

SME ONE: คำแนะนำที่ฝากให้กับผู้ประกอบการ SME (Do & Don’t)

คุณกตัญญู: DO คือ DO ไปเลย ไม่ได้แนะนำให้หุนหันพลันแล่น แต่ว่าสิ่งที่เราจะทำให้สำเร็จมันคือกรอบเวลาของการกระทำ ถ้าทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีกรอบ เราจะไม่เห็นว่าสำเร็จหรือล้มเหลว ถ้าตั้งกรอบเวลาให้ตัวเอง เช่น 2 เดือนต้องเห็นผลแล้ว ต้องมีวิชั่นของความสำเร็จอยู่ในใจ ถ้าคุณจะลงมือทำให้คิดถึงสิ่งที่มันจะสำเร็จก่อน อาจเป็นสิ่งสำเร็จเล็ก ๆ เหมือนผมทำกาแฟ มันต้องอร่อยเพื่อนชิมเพื่อนอร่อยด้วย ดีไซน์สวยเพื่อนสวยด้วย งั้นลองขายสิ เหมือนเก็บแต้มไปทีละนิดแต่เก็บแต้มในความเป็นไปได้

แต่อย่าใช้ cash เยอะเก็บเงินสดไว้ ใช้ให้น้อยที่สุดตอนเริ่มต้นแล้วใช้ไอเดีย ใช้ connection  ใช้ resource ที่คุณมี  ผมกดกาแฟเองทุกขวด ทุกถุง ผมส่งกาแฟเองตอนเริ่มต้น เมื่อติดแล้วเรา set ทีมเราสร้างแล้วไปต่อ ผมพูดได้เลยว่าผมหมักกาแฟเอง ผมจับเวลาเอง ผมล้างถังกาแฟเอง ผมชิมเองทำทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้น

 

SME ONE: คุณสมบัติสำคัญในการอยู่รอดในธุรกิจ กาแฟโคลด์บริว

คุณกตัญญู: ผมคิดว่าบริหารเงินสดละกัน (หัวเราะ) ใช้เงินอย่างมีสติ ในส่วนของธุรกิจแล้วเงินสดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเฉพาะยิ่งช่วงเวลานี้ด้วย ใช้ความสามารถให้เยอะที่สุดและใช้เงินให้น้อยที่สุดในทุกธุรกิจเลย

 


 



บทสรุป

ในช่วงโควิด 19 ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในภาวะชะลอการลงทุน ศึกษาตลาด แต่กตัญญู คอฟฟี่เกิดจากการ transform resource ของดิจิทัลเอเจนซี่ที่ มองหาโอกาส คุณค่าใหม่ ๆ ด้วยการริเริ่มในสิ่งเล็ก ๆ ที่ตัวเองสนใจและมีต้นทุนอยู่ เพื่อ make a moment ดี ๆ และส่งต่อคุณค่าความเป็น กตัญญู DNA ผ่าน กตัญญู โคลด์บริว ด้วยความคิดที่ว่า “อยากให้ผู้บริโภคได้ดื่มกาแฟคนไทยที่อร่อย มีคุณภาพดี” เป็น vibe ประสบการณ์ความสนุกและกันเองตามแบบฉบับ กตัญญู stand up comedy

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

วิธีจัดการบัญชี-การเงิน ให้ผ่านช่วงวิกฤตของธุรกิจ

หัวข้อ : ปรุงรส ธุรกิจ ขายวิธีคิดสร้างความต่าง
อ่านเพิ่มเติม : www.kasikornbank.com/Inspired-Apr-2020.aspx

 

วิกฤต COVID-19 ได้ส่งผลกระทบไปทั่วไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการควรทำทันทีเพื่อสำรวจสถานะการเงินและค่าใช้จ่ายในธุรกิตคือ ดูงบการเงินชุดล่าสุดเพื่อเช็คว่ารายได้ที่น้อยลงไปนั้นจะต้องทำอะไรบ้าง

1. ลดรายจ่าย

ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการประหยัดในทุก ๆ เรื่อง สำรวจดูว่ามีรายจ่ายอะไรที่สามารถตัดออกได้บ้าง

2. จัดทำประมาณการงบประมาณรายได้-รายจ่ายใหม่

ภายใต้สมมุติฐาน 2 แบบคือ เมื่อรายได้ลด50% และเมื่อไม่มีรายได้เข้ามาเลย เพื่อเริ่มควบคุมการใช้จ่ายอย่างเข้มข้น

3. ปรับระบบบัญชีให้เป็นระบบออนไลน์

เพื่อรองรับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต เพราะการทำระบบบัญชีออนไลน์จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้เห็นงบการเงินแบบตามเวลาจริง (Real Time) ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ทันการณ์

 

ขั้นต่อมา อย่าลืมมองหาความช่วยเหลือจากส่วนงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างที่จะเห็นได้ว่ามีมาตรการต่างอๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการอยู่มากมาย ลองสำรวจดูว่าจะใช้ประโยชน์จากมาตรการใดได้บ้าง มาตรการเด่น ๆ เช่น

มาตรการช่วยผ่อนคลายการเงิน

  • มาตรการพักเงินต้น ลดดอกเบี้ยหรือยืดอายุชำระหนี้
  • มาตรการยืดหยุ่นในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ
  • สินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ดอกเบี้ย 3% สำหรับ 2 ปีแรก ระยะเวลากู้ไม่เกิน 5 ปี (อัพเดท 24 มี.ค.63)
  • สามารถดูรายละเอียดมาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ https://gfa.or.th/sfi/Home/Measures

มาตรการทางภาษี

  • ปรับลดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีถ้าเป็นธุรกิจบริการก็จะได้ประโยชน์คือ ถูกหักภาษีน้อยลง ทำให้มีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
  • คืน VAT ให้ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีให้เร็วขึ้น โดยหากยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตจะได้คืนให้ภายใน 15 วัน ยื่นแบบกระดาษคืนให้ภายใน 45 วัน
  • เฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและทำบัญชีชุดเดียว สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายระหว่างวันที่ 1 เม.ย. – 31 ธ.ค.63 ไปหักเป็นรายจ่ายได้ 1.5 เท่า และยังสามารถนำค่าจ้างในส่วนของลูกจ้างที่มีค่าจ้างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท ในช่วง 1 เม.ย. – 31 ก.ค.63 ไปหักรายจ่ายได้ 3 เท่า โดยจำนวนลูกจ้างต้องไม่น้อยกว่าเดือน ธ.ค.62
  • เลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินได้บุคคลธรรมดา
  • เลื่อนเวลาการยื่นแบบแสดงรายการนำส่ง และชำระภาษีทุกประเภทที่กรมสรรพากรจัดเก็บ (พิจารณาเป็นรายกรณี)

มาตรการจากประกันสังคม

  • สำหรับกิจการ ลดอัตรเงินสมทบเหลือ 4% เป็นเวลา 6 เดือน (มี.ค.-พ.ค.63)
  • สำหรับลูกจ้างหรือพนักงาน กรณีไม่ได้ทำงานจะได้รับเงิน 50% ของค่าจ้างเป็นเวลาไม่เกิน 180 วัน หรือกรณีหยุดกิจการชั่วคราว จะได้รับเงิน 50% ของค่าจ้างเป็นเวลาไม่เกิน 60 วัน

 

ในท้ายที่สุด เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับเรา สิ่งสำคัญคือ อย่าเครียดและตั้งสติให้อยู่กับปัจจุบัน เพื่อให้แก้ปัญหาได้อย่างตรงเป้า และเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

 

บทความแนะนำ