หัวข้อ : ข้อกำหนดราคาและสินค้าควบคุมที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/price-and-regulatory-requirements
รู้หรือไม่? การตั้งราคาขายสินค้าและบริการ จะตั้งตามใจอยากไม่ได้ เพราะมีข้อกฎหมายบัญญัติไว้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ภายใต้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นมา
กฏหมายนี้ออกมาเพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในด้านราคาสินค้าและบริการ ไม่ให้ราคาสินค้า-บริการสูงขึ้นรวดเร็วเกินสมควร และทำให้ปริมาณสินค้ามีเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศด้วย
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 (สำหรับท่านที่ต้องการศึกษา)
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C753/%C753-20-2542-a0001.pdf
สำหรับพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่มีการบังคับใช้มาจนถึงวันนี้ ซึ่งกำกับดูแลราคาสินค้าหรือบริการของประเทศไทยและต่างประเทศนั้น มีรายละเอียดโดยคร่าว ๆ ดังนี้
การดำเนินการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการ กำหนดให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการแสดงราคาสินค้าและบริการได้ ซึ่งจะต้องมีการปิดป้ายแสดงราคาสินค้าหรือบริการเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบว่าสินค้ารายการใดยังไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในบัญชีรายการที่จะต้องปิดป้ายแสดงราคา ก็จะต้องมีการออกประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้สินค้านั้น ๆ อยู่ในบังคับต้องปิดป้ายแสดงราคา
การกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ : ตามข้อกำหนดในมาตรา 29 ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการใด ๆ โดยจงใจที่จะทำให้ราคาต่ำเกินสมควรหรือสูงเกินสมควร หรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใด
มาตรการการกำกับดูแลสินค้าควบคุม : ตามข้อกำหนดในมาตรา 30 ได้กำหนดห้ามมิให้บุคคลใดกักตุนสินค้าควบคุม หรือไม่นำสินค้าควบคุมที่มีไว้เพื่อจำหน่ายออกจำหน่ายหรือเสนอขายตามปกติ หรือปฏิเสธการจำหน่าย หรือประวิงการจำหน่ายหรือการส่งมอบสินค้าควบคุม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
มาตรการกำกับดูแลธุรกิจบริการควบคุม : ตามข้อกำหนดในมาตรา 31 ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการควบคุมหยุดการให้บริการตามปกติ หรือปฏิเสธการให้บริการ หรือประวิงการให้บริการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
เนื่องจากปัจจุบันมีการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์กันเยอะมากขึ้น จึงได้มีการประกาศบังคับใช้ ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฉบับที่ 49 พ.ศ. 2561 เรื่องการแสดงราคาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจําหน่ายสินค้าและบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนให้ผู้ที่ค้าขายทางออนไลน์ต้องแสดงสิ่งเหล่านี้
โดยวิธีการแจ้งราคาสินค้าและบริการที่ถูกต้อง คือ
(1) เขียน พิมพ์ หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นใดในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบออนไลน์ของผู้ประกอบธุรกิจ
(2) ในลักษณะชัดเจน ครบถ้วน เปิดเผย และสามารถอ่านได้โดยง่าย
(3) ให้แสดงราคาต่อหน่วย
(4) ราคาหรือค่าบริการนั้น จะมีตัวเลขภาษาใดก็ได้ แต่ต้องมีตัวเลขอารบิคอยู่ด้วย
(5) ข้อความหรือรายการที่แสดงควบคู่กับราคาจำหน่ายหรือค่าบริการต้องเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได้
ดูรายละเอียดรายการสินค้าควบคุมตามประกาศกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ วันที่ 3 กรกฎาคม 2562
เพิ่มเติมได้ที่ www.dit.go.th
Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : 7 ข้อดีเพิ่มยอดขายด้วย Facebook group
อ่านเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/article/article_20190419113208.pdf
เฟซบุ๊ก กรุ๊ป (Facebook Group) อีกหนึ่งช่องทางการกระตุ้นยอดขายที่หลาย ๆ คนมองข้าม รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วช่องทางนี้มีอัตราความสำเร็จในการปิดการขายสูงกว่า เฟซบุ๊ก แฟนเพจ (Facebook Fanpage) และยังสามารถรักษากลุ่มลูกค้าเก่าได้อย่างเหนียวแน่นอีกด้วย
เฟซบุ๊ก กรุ๊ป ไม่ได้เป็นเพียงชุมชนออนไลน์ที่มีเพียงการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งที่ชื่นชอบเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำมาช่วยเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ให้สินค้าหรือบริการได้มากขึ้น และยังช่วยสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ได้จากการแนะนำสินค้าให้กับสมาชิกภายในกรุ๊ป รวมถึงการรับฟังปัญหาต่าง ๆ จากลูกค้าโดยตรง เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และการบริการในอนาคต
เพราะผู้ที่เข้าร่วมเฟซบุ๊ก กรุ๊ป ในกรุ๊ปเดียวกันมักเป็นคนที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน มีการติดตามความเคลื่อนไหวกันอย่างเหนียวแน่น ซึ่งเราเองก็สามารถสร้างกรุ๊ปหรือเข้าร่วมกรุ๊ป ที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของเรา นอกจากจะได้ลูกค้าเพิ่มแล้ว ยังมีโอกาสสูงที่จะสามารถปิดการขายกับเหล่าสมาชิกในกรุ๊ปได้ เพราะสิ่งเขาสนใจคือสินค้าที่เรามีอยู่ในมือนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขาย กิจกรรมเพื่อการกุศลโดยการสนับสนุนจากแบรนด์สินค้าของเรา ซึ่งเราสามารถสำรวจจำนวนผู้ที่สนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมจากการส่งคำเชิญเข้าร่วมกิจกรรมนั้นๆ ได้อีกด้วย สมาชิกในกรุ๊ปยังสามารถเชิญเพื่อนนอกกรุ๊ปให้เข้าร่วมกิจกรรมของเราเพิ่มขึ้น ช่วยกระจายแบรนด์สินค้าของเราให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
ในแต่ละกรุ๊ปมักจะมีกูรูที่ช่วยให้คำแนะนำปรึกษาและให้ความรู้ รวมไปถึงวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่สมาชิกในเข้ามาตั้งคำถาม เราก็สามารถเป็นหนึ่งในกูรูในกร๊ปได้เช่นกัน ด้วยการให้ความรู้คำแนะนำต่าง ๆ นอกจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวตนของเราแล้ว สินค้าที่แนะนำให้กับสมาชิกก็จะมีความน่าเชื่อถือตามไปด้วย
หากเราเป็นแอดมินในกรุ๊ป จะสามารถเชื่อมโยงแฟนเพจที่ใช้ขายสินค้าเข้ากับกรุ๊ปได้ เท่ากับสามารถแสดงตนได้ถึง 2 สถานะ คือแอดมินกรุ้ป กูรูผู้ให้คำแนะนำที่น่าเชื่อถือ และแอดมินแฟนเพจ เจ้าของสินค้าที่พร้อมให้ข้อมูลสินค้าและบริการ แต่ไม่ควรโพสต์ขายสินค้าในกรึ๊ปมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้สมาชิกรู้สึกเสียบรรยากาศได้
ต้องไม่ลืมว่าเฟซบุ๊ก กรุ๊ป คือชุมชมออนไลน์ของผู้ที่มีความสนใจเหมือนกัน เข้ามาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ ไม่ใช่กลุ่มค้าขาย (หากไม่ได้ตั้งเป็นกลุ่มค้าขายตั้งแต่แรก) การโพสต์ขายสินค้าแต่เพียงอย่างเดียวนั้นอาจทำให้เกิดผลเสียแทนได้ การสร้างคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ น่าสนใจ และสดใหม่ พร้อมแทรกข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่เราอยากนำเสนอ จึงมีความน่าสนใจมากกว่าการโพสต์ขายสินค้าตรง ๆ
ใช้เฟซบุ๊ก กรุ๊ป บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหลังการขาย โดยการเชิญชวนให้ลูกค้าของเราเข้าร่วมกรุ๊ป เพื่อพูดคุยและแชร์ประสบการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการบริการ มีการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และทริกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น มอบส่วนลดพิเศษเฉพาะสมาชิกในกรุ๊ปเท่านั้น
Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : จุดเด่น VS จุดด้อย “คิดก่อนลงทุน FRANCHISE”
อ่านเพิ่มเติม : https://www.flathailand.com/news_franchise_detail.asp?topicid=242
ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ก็เช่นกัน แม้จะเหมือนเป็นการซื้อระบบ ซื้อความสำเร็จของแบรนด์นั้นมาบริการจัดการ แต่ก็ใช่ว่าจะได้ผลลัพธ์เหมือนกันทุกคน สำหรับคนที่สนใจที่กำลังอยากลงทุน หรือกำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์สักแบรนด์ นี่คือข้อดีและข้อเสียของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ให้คุณได้ลองเช็กดูว่าเหมาะสมกับตัวคุณเองหรือไม่
Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารทานเล่นเครื่องดื่มประเภทที่มีสีสันรสชาติตามเทรนด์ตามกระแส มักถูกมองเป็นสินค้าแฟชั่น มีช่วงระยะเวลาในการเติบโตและดำรงอยู่ค่อนข้างสั้น แต่นั่นไม่สามารถใช้ได้กับแบรนด์ เครื่องดื่ม อย่าง คามุ คามุ ที่ถือกำเนิดขึ้น ภายใต้การบริหารโดย คุณแทน-ทินกฤต สินทัตตโสภณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คามุ คามุ จำกัด และเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ Kamu Tea ผู้บริหารหนุ่มไฟแรงที่เคยมีประสบการณ์การทำงานสายไอทีจากต่างประเทศ และการ บริหารงานบริษัท ซอร์ฟแวร์ ที่มีลูกทีมหลายร้อยชีวิตในเมืองไทย ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกสร้างอาณาจักรธุรกิจของตนเอง
ย้อนกลับไปเกือบ 10 ปีที่แล้ว ตลาดอาหารทานเล่นเครื่องดื่มประเภทที่มีสีสันรสชาติตามเทรนด์ตามกระแส กำลังเป็นที่โด่งดัง เรียกได้ว่ามีแบรนด์ใหม่ๆ แจ้งเกิดขึ้นมาทุกสัปดาห์และพร้อมที่จะจากลาไปในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี หากแต่ ท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่ดุเดือดรุนแรงนั้น ยังมีแบรนด์ แบรนด์หนึ่งที่มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน และมีการเตรียมการวางแผนเป็นอย่างดี จนทำให้แบรนด์ชานมไข่มุกที่ชื่อว่า คามุ คามุ นี้มีวิวัฒนาการตามตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสอดคล้องลงตัว จนเติบใหญ่กลายเป็นธุรกิจเครื่องดื่มชา ที่มีสาขามากมาย และผู้ติดต่อขอร่วมลงทุนเปิดเฟรนด์ไซน์อีกเพียบ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คามุ คามุ ได้ยึดถือหลักสำคัญในการวางรากฐานธุรกิจ ทั้งในด้านการพัฒนานวัตกรรมของสินค้าและบริการ การศึกษาและทำความเข้าใจทิศทางของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงด้านการฝึกอบรมพนักงานบุคลากร ทำให้แบรนด์ คามุ คามุ ยังคงความสดใหม่และมีเสน่ห์เย้ายวนใจแฟนคลับลูกค้าที่พร้อมเต็มใจจะเป็นผู้บอกต่อเชิญชวนคนให้มาเป็นลูกค้า ตามๆ กันไป ด้วยความที่ติดใจในรสชาติและมั่นใจในคุณภาพของแบรนด์ ที่เจ้าของใส่ใจและมีความละเมียดละไมในการคิดสรรอยู่อย่างตลอดเวลา
ไปที่ จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ
ไปที่ ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ
ไปที่ Key Success ของธุรกิจ
ไปที่ คำแนะนำที่มีต่อ SME หรือผู้ประกอบการที่สนใจอยากทำธุรกิจด้านนี้
SME ONE : ช่วยเล่าประวัติความเป็นมา กว่าจะมาเป็นแบรนด์ คามุ คามุ ทุกวันนี้ ให้ฟังได้ไหมครับ
คุณแทน-ทินกฤต : ผมเองเรียนสายวิศวะจบวิศวะจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และก็ไปศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาตร์คอมพิวเตอร์ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งในระหว่างนั้นก็เรียนไปด้วยทำงานหารายได้เสริมไปด้วยจนกระทั่งได้รับโอกาสทาบทามจากบริษัท อีคอมเมริซ ซอฟต์แวร์ สัญชาติอังกฤษ ให้กลับมาบริหารงานที่เมืองไทยได้ร่วมบุกเบิกงานด้าน ซอฟต์แวร์ อี-คอมเมิร์ซ และสร้างทีมจนมีทีมงานกว่า 200 ชีวิต จนเริ่มรู้สึกว่าถึงจุดอิ่มตัวของสายงานที่เราดูแลมาตลอดเกือบ 10 ปีแล้ว จึงคิดว่าคงถึงเวลาแล้วที่เราน่าจะหาความท้าทายใหม่ๆ ให้กับตนเองโดยการมีธุรกิจเล็กๆ อารมณ์เหมือนงานอดิเรก ที่เริ่มต้นจากตัวตน น้ำพักน้ำแรงของเราเองจริงๆ จึงได้เริ่มปรึกษากับครอบครัวเพื่อมองหาธุรกิจที่จะทำ ซึ่งผมเองก็มีญาติ มีเพื่อนสนิทหลายๆ คนที่พักอาศัยอยู่ละแวกประเทศแถบๆ เอเชีย ทั้งญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ก็เลยติดต่อพูดคุยกับเขาไปและก็ได้รับคำแนะนำจากญาติๆเกี่ยวกับสินค้าพวกชาของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต้องขอเรียนตามตรงว่า ตัวผมเองไม่ได้เป็นคนที่ชอบดื่มชานมไข่มุก แต่ในมุมมองของผม เราไม่ต้องจำเป็นต้องชอบอะไรแล้วทำแบบนั้น เพราะถ้าสิ่งที่เราชอบมันไม่ได้ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ มันก็อาจจะไม่ได้กลายมาเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ เพราะมันจะมีคนที่ทั้งชอบเหมือนเราและก็ชอบไม่เหมือนเรา “ดังนั้นเป้าหมายของผมเองคือไม่ได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่ต้องทำในสิ่งที่ลูกค้าชอบ เพราะถ้าเราจับสิ่งที่คนทั่วไปชอบหรือคนทั้งโลกชอบได้ แน่นอนว่ามันก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง”
SME ONE : เรามีวิธีการอย่างไรทำให้ สินค้าได้รับการตอบรับที่ดีอยู่คู่กับตลาดมาได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
คุณแทน-ทินกฤต : ตั้งแต่เริ่มแรกเลยผมก็ตั้งใจไว้ว่าจะไม่มองการทำธุรกิจชานมไข่มุกนี้เป็นทางธุรกิจแฟชั่น คือไม่ต้องการทำธุรกิจที่มาไวไปไว เพราะผมเชื่อว่าเสน่ห์ของชาและการดื่มชาที่เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่อายุเป็น 1000 ปีนั้น มีคุณค่าสิ่งดีๆ แฝงไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางสุขภาพ ลดไขมัน ช่วยเรื่องการหมุนเวียนของระบบเลือด รวมถึงการตอบสนองความรู้สึกทางอารมณ์ ช่วยสร้างความผ่อนคลายและเพลิดเพลินให้กับคนได้
แรกเริ่มเลยที่เปิดร้าน เราได้พื้นที่มาแค่ 2x2 เมตรเท่านั้นเองซึ่งถือว่าเล็กมาก ต้องทำทุกอย่างเองหมด ต้มชาและวัตถุดิบเอง คั้นน้ำผลไม้เอง ขนของเอง ชงเอง ขายเอง โดยเราใช้ชื่อว่า คามุ มาโดยตลอดตั้งแต่วันแรก ด้วยเหตุผลที่เราต้องการให้คนจนจำชื่อเราได้ง่ายและมีความหมายสื่อถึงอัตลักษณ์ของสินค้าเราได้อย่างชัดเจน ซึ่งคามุ ในภาษา ญี่ปุ่นแปลว่า การเคี้ยว โดยใช้สัญลักษณ์เป็นมาสคอตน้องคามุซัง ที่เป็นรูปกลมๆ แทนตัวท๊อปปิ้งต่าง ๆ ที่เราใส่ผสมในเครื่องดื่มชา ที่ให้สัมผัสการดื่มชาที่แตกต่างสร้างความรู้สึกเพลิดเพลินสนุกสนาน ช่วยผ่อนคลาย ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะเราต้องการทำให้แบรนด์เครื่องดื่มชาของเรามีความเฟรนลี่เข้าถึงได้ง่ายและไม่น่าเบื่อ เพื่อเป็นสื่อเชื่อมระหว่างวัฒนธรรมเก่าแก่ของญี่ปุ่นให้เขากับกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ง่ายและลงตัว
ประกอบกับผมเองเป็นคนที่ชื่นชอบในวัฒนธรรมการคิดของคนญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่น เวลาเขาคิดสิ่งใดหรือทำอะไรก็ตามมักพิถีพิถัน ละเมียดละไมในการทำสิ่งต่างๆ มีความน้อยแต่ให้คุณค่ามาก อย่างพวกแพคเกจจิ้งต่าง ๆ นี่เขาสุดยอดมาก มีการเลือกใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญของสินค้า เพราะชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าอุดมคติของความสวยงามคือความสวยงามโดยธรรมชาติ ผมจึงอยากให้แบรนด์ ของผมมีกลิ่นอาย วัฒนธรรมแนวคิดนี้ผสมผสานลงไปด้วย
ประการที่สองเลย แบรนด์ คามุ เราให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่าเรามีการพัฒนาสูตร คิดค้น รสชาติ ส่วนผสมแปลก ใหม่ ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลาตามวิธีทางของตลาดและกระแสความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ที่คามุ จะมีสินค้าประจำที่ขายดีติดอันดับยอดฮิตตลอดกาลอยู่ประมาณ 10-12 เมนู และจะมีการเสริมเมนู ที่เป็น seasonal เข้าไปอยู่ในเมนูหลัก ทุกๆ 3-4 เดือน เพื่อกระตุ้นตลาดและสร้างความรู้สึกใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในใจผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา
อย่าง ชานมรสชีส เราเองก็เป็นแบรนด์แรก ๆ ที่นำมาเปิดตัวให้คนไทยได้ลองกัน เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์เลย ณ ขณะนั้น ร้านไหน ๆ ก็ต้องทำ ชาชีส ที่เรานำเสนอกันแทบทั้งสิ้น รสชาติไมโลไดโนเสาร์ ก็เป็นอะไรที่สร้างสีสันและเสียงตอบรับได้ดีจากกลุ่มลูกค้า ซึ่งรสนี้เอง เราก็ได้แรงบันดาลใจมาจากที่เราได้เห็นคนพูดถึงรสไมโลเราว่ามีความอร่อยไม่แพ้นมไมโลที่เคยทานตอนเด็ก ๆ เราเลยเกิดปิ้งไอเดียอยากจะทำ seasonal product เพื่อให้คนได้รำลึกถึงความสุขในการทานไมโลตอนเด็ก ๆ ขึ้นมา
อย่างกลุ่มสินค้าชาผลไม้ของเรา Secret of Orchard เราก็มีวิธีการคิดที่แตกต่าง คือต้องการมอบประสบการณ์สัมผัสทั้ง 5 ให้กับผู้บริโภคได้อย่างลงตัว เริ่มจากรสชาติเราใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติเรียกได้ว่าถ้าไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ก็เรียกว่าใกล้เคียงมาก มีการทำรูปแบบแพคเกจจิ้งให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย มีลูกเล่นสามารถเลื่อนกระดาษที่หุ้มตรงแก้วเพื่อเปลี่ยนภาพที่ปรากฎให้ได้ตามรสขาติของเครื่องดื่ม ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดี เพราะทั้งรูปรสกลิ่นสีสัมผัส และวิธีการนำเสนอเป็นประสบการณ์รวม ๆ ที่ทำให้คนรู้สึกประหลาดใจและอยากทดลองจนเกิดการบอกต่อ ซึ่งนวัตกรรมการคิดค้นสินค้าใหม่ ดังตัวอย่างที่ว่ามานี้ ได้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์เติบโตและมีการพูดถึงอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดแม้ปัจจุบันจะมีอายุเกือบ 10 ปีแล้วก็ตาม
หรือแม้แต่ในแง่การทำการตลาดประชาสัมพันธ์ เราก็ได้มีการคิดรูปแบบโปรโมชั่นที่เข้าใจความต้องการของกลุ่มแฟนๆ ฐานลูกค้าของเราเสมอมา มีการใช้กลยุทธ์ทั้งในส่วนของ Online การสร้าง Brand Awareness และการแจ้งข่าวสินค้าใหม่รวมถึงโปรโมชั่นต่างๆ และ offline การมีกิจกรรมส่งเสริมการขายหน้าร้าน ที่อยู่ตามตึกอาคารสำนักงานที่มีสาขาของเราอยู่ (Point of Purchase) ควบคู่กัน เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์และเพื่อกระตุ้นความรู้สึกอยากทดลองชิม ในรสชาติ ใหม่ๆ ที่เรามีมานำเสนอให้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
โดยส่วนตัวผมเองมีความเชื่อว่าทุกๆ ธุรกิจมันจะมีวงจรอายุของมัน อย่างชานมไข่มุก ที่ผมเริ่มทำเมื่อ 9 ปีที่แล้ว เราเข้ามาในช่วงที่ตลาดกำลังได้รับความนิยม มีแบรนด์ชานมไข่มุก เข้ามาร่วมในตลาดอีกมากมาย และมันก็ค่อยๆ ดร๊อปลง มีสินค้าอาหารทานเล่นเครื่องดื่มอื่นๆ เกิดขึ้นมา มีวัฒนธรรมคาเฟ่เกิดขึ้น และมีสินค้าแฟชั่นอื่นๆ ทั้งบิงซู เบเกอรี่ และพวกชีสต่างๆ ทำให้บางสินค้าบางแบรนด์ก็หายไปจากตลาดโดยที่ไม่หวนกลับมาอีกเลยก็มีมาก แต่สำหรับชานมไข่มุก อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่า ผมเชื่อว่ามันมีคุณค่าที่ตอบสนองผู้บริโภคได้มากกว่าการเป็นสินค้าแฟชั่น และสิ่งที่สำคัญเลยคือเรามีวิวัฒนาการที่ปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นได้สูงตามเทรนด์ตามความต้องการของลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่สร้างคุณค่าให้เรามีพื้นที่ในตลาดได้อย่างยาวนาน
SME ONE : อยากให้เล่าถึงอุปสรรค ปัญหา ที่พบเจอระหว่างการดำเนินธุรกิจนี้
คุณแทน-ทินกฤต : ช่วง 3 ปีแรก ช่วงวันแรกเลยที่เปิดขาย คือ สิ่งที่ท้าท้ายที่สุดของเรา เราจะทำอย่างไรเพื่อทำให้แบรนด์เราเป็นที่รู้จักคุ้นเคยของผู้คน และรสชาติเหมาะกับคนไทย เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของสินค้า ถ้ารสชาติเราไม่ผ่าน บริการไม่ดี เราก็จบเลย ซึ่งผมมองโดยส่วนตัวว่าเรื่องรสชาติกับบริการนี้ต้องถือเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของทุกแบรนด์ไม่ใช่จุดต่างจุดเด่นด้วยซ้ำ ซึ่งในเรื่องของรสชาติหรือคุณลักษณะของสินค้าเองก็เป็นความท้าทาย
ในช่วงเริ่มต้นของเราที่จะสร้างมาตรฐานให้ผู้บริโภคได้รับรู้ข้อดีของการเป็นแบรนด์ที่เลือกสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีความสดใหม่ ใช้ส่วนผสมที่เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติอย่างแท้จริง และที่สำคัญคำนึงถึงรสชาติมากกว่ากำไร อย่างรสไมโลไดโนเสาร์ เราใช้ผงไมโล ถึง 4-5 ช้อน ต่อ ขนาด 1 แก้ว ซึ่งทำให้ต้นทุนเราสูงขึ้น เพราะเราเชื่อว่า ถ้ารสชาติดี ลูกค้าจะบอกต่อ ๆ กัน ปากต่อปาก ทำให้เกิดการมาทดลองจากลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในช่วงเริ่มแรกสำหรับธุรกิจเครื่องดื่มอย่างเรา
ในระยะต่อมาเมื่อแบรนด์เราเริ่มตั้งไข่ได้แล้ว เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้นและเราต้องการขยายธุรกิจ โดยการหาพื้นที่วางขายเพิ่มขึ้น เราก็ได้พบกับอุปสรรคถัดมาคือการทำให้ พันธมิตรทางธุรกิจเจ้าของพื้นที่ในห้างร้านต่าง ๆ เชื่อมั่นในแบรนด์ของเรา ซึ่งต้องเรียกว่าเป็นช่วงที่ผ่านประสบการณ์หนักหนาสาหัสมาไม่น้อย เพราะทุก ๆ คนมักจะตั้งคำถามกับตัวเรา ด้วยความที่อาจจะยังไม่เข้าถึงหรือเข้าใจความเป็นตัวเราได้ดีนัก ชื่ออาจจะยังไม่คุ้นหูพอ พอเราบอกว่าเราเป็นแบรนด์สัญชาติไทยแท้ เขาก็มักจะปิดประตูทันที
เคยมีอยู่เหตุการณ์ครั้งหนึ่งผมไปรอพบกับทางห้างสรรพสินค้าอยู่แห่งหนึ่ง โดยรอพบเพื่อคุณเจรจาขอพื้นที่เช่าเปิดร้าน ผมรออยู่เกือบสองชั่วโมง เตรียมตัวไปอย่างดี ชงชาไปอย่างตั้งใจเพื่อสร้างความประทับใจแต่ก็ได้รับคำปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่ารสชาติยังไม่ถูกใจ ซึ่งไปเป็น 10 แห่งแต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ได้ทำให้ผมท้อถอย แต่ทำให้เรายิ่งเพิ่มความมุมานะพยายามมากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเราได้ปรับกลยุทธ์ใหม่โดยวิธีการขยายตลาดเข้าไปยังพื้นที่เช่าสำนักงานตามตึกต่าง ๆ และพื้นที่รอบนอกก่อน เพราะเห็นแล้วว่าทางห้างยังไม่สนใจแบรนด์ไทยอย่างเรามากนัก
ซึ่งในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ เราได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดีมาก แม้ในความเป็นจริง การทำแบรนด์กับกลุ่มพนักงานออฟฟิศจะค่อนข้างมีความยากลำบาก เพราะถ้าลูกค้าตามตึกออฟฟิศเหล่านั้นไปทดลองแล้วเกิดไม่ได้ประทับใจขึ้นมา พูดต่อๆ กันไปว่าไม่อร่อย โอกาสที่เราจะเติบโตในแถบนั้นต่อไปแทบเป็นศูนย์ในทันที ซึ่งสำหรับ คามุ เราเองถือว่าได้รับเสียงตอบรับตั้งแต่แรกเป็นอย่างดี มีคนพูดถึงและแนะนำแบรนด์เราแบบปากต่อปาก จนทำให้เกิดการทดลองและการกลับมาใช้บริการซ้ำอย่างต่อเนื่อง
SME ONE : ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านอุปสรรคความผันผวนมามากมาย อะไรทำให้ คามุ ยังอยู่ได้และกลายเป็นแบรนด์ที่มีแฟนคลับเหนียวแน่นดังทุกวันนี้
คุณแทน-ทินกฤต : เรามีหลักวิธีคิดในการสร้างแบรนด์ อยู่ 4 ประการ หลักการแรกคือ ปรัชญาการมองชีวิต การทำธุรกิจแบบคนญี่ปุ่น โดยที่ให้ความสำคัญกับการใส่ใจ และต้องการที่จะเป็นเลิศในสิ่งที่ทำ การคิดให้มากแต่ทำให้เรียบง่าย และตอบโจทย์การใช้งานอย่างแท้จริง อย่างปัจจุบันทางแบรนด์ คามุ ของเราเองได้ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเริ่มเปลี่ยนหรือลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติดไปใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งรูปแบบที่ดึงดูด สนุกสนานทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย อย่างกลุ่มสินค้าที่เป็นชาผลไม้ของทางร้าน ซึ่งจะมีการเลือกรสชาติที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ มาผลัดเปลี่ยนนำเสนออยู่ตลอดเวลา เรามีการออกแบบแพคเกจจิ้งให้มีลูกเล่นและสีสันสนุกสนานชวนให้คนซื้อได้ถ่ายภาพไปเล่าเรื่องแบ่งปันประสบการณ์ความรู้สึกดี ๆ ของตนเองผ่านแก้วชาและรสชาติ
ประการที่สอง คือ เรื่องของวัตถุดิบที่เราใช้ต้องมาจากธรรมชาติ ชนิดที่เรียกว่าถ้าไม่ได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ก็ต้องให้ได้ในระดับ 90 เปอร์เซ็นต์ หรือเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด อย่างเลมอนที่เราใช้เราก็เลือกแบบที่คั้นสด ชนิดที่ครั้งหนึ่งเราเคยให้พนักงานหน้าร้านคั้นสดๆ ตอนที่ลูกค้าสั่งสินค้าเลยเพื่อรับประกันว่า เราใช้เลมอนจริง ๆ ไม่มีผสม เพื่อให้ได้สัมผัสในรูป รส กลิ่น เสียง กันได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจุดนี้เองก็คือการคงไว้ซึ่งมาตรฐานและคุณภาพของรสชาติของสินค้าเรา
ประการที่สามคือในเรื่องของนวัตกรรม หรือการครีเอทสิ่งแปลกใหม่ โดยในยุคแรกเริ่มเลยเราคิดสูตรใหม่ตลอดเวลา มีเกือบ 100 เมนู ซึ่งก็สร้างภาระให้กับแบรนด์ไม่น้อย จนท้ายที่สุดเราก็ได้มีการศึกษาและค้นพบว่าลูกค้าที่มาใช้บริการส่วนใหญ่มักจะเลือกเมนูเดิม ๆ ที่เขาชื่นชอบ ซึ่งจะอยู่ในกลุ่ม 10-20 เมนูยอดฮิตตลอดกาลของทางร้าน เราจึงมีการปรับเปลี่ยน ลดทอนจนกระทั่งกลายเป็นเมนูมาตรฐานของทางร้านที่มีขายประจำทุกสาขาตลอดทั้งปี โดยที่ยังมีการเพิ่มเมนูที่เป็น Special เข้าไปเป็น seasonal เพื่อคงไว้ซึ่งความรู้สึกแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราถือได้ว่าเป็นแบรนด์เครื่องดื่มชานมไข่มุกที่ ใช้กลวิธีในการสร้างแบรนด์ awareness ผ่านนวัตกรรมสินค้า product innovation เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งสถานะความเป็นผู้นำหรือ trend setter แทนที่จะเป็นผู้ตาม
ประการสุดท้าย คือการเล็งเห็นในคุณค่าในบทบาทการเป็นผู้สร้างความสุข ความเพลิดเพลินสบายใจ ให้กับคนไทย อย่างที่เรามองตัวเราเองเป็นเครื่องดื่มสำหรับ Every day inspiration ที่พร้อมมอบความสุข รอยยิ้มและสีสันให้กับลูกค้าในทุกวัน ผมบอกน้องน้องทีมงานในบริษัทเสมอว่า เราไม่ได้ขายแค่เครื่องดื่มชานมเท่านั้น แต่เราขายความรู้สึกดีๆ อารมณ์ดี ๆ ความประทับใจดี ๆ ให้กับลูกค้า ดังนั้นบริการที่เราส่งมอบไปสู่ลูกค้าต้องสร้างรอยยิ้มและความประทับใจอยู่เสมอ
คุณแทน-ทินกฤต : เมื่อไหร่ก็ตามที่เราคิดจะทำธุรกิจ ปัญหาคือสิ่งที่มาคู่กัน มันมาพร้อมกันเป็นแพ็กเกจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสภาพดินฟ้าอากาศ อย่างบ้านเราถ้าวันใดฝนตกยอดขายก็ตก ช่วงน้ำท่วมก็จะเจอกับปัญหาการบริหารจัดการคลังสินค้า ช่วงการปิดพื้นที่ในเหตุการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ซึ่งต่างต้องอาศัยความอดทน ไม่ท้อถอย และพยายามเข้าไปจัดการปัญหาให้ดีที่สุดอย่างทันท่วงที ไม่ปล่อยค้างสะสมไว้
รวมถึงปัญหาที่เกิดจากการแข่งขันของคู่แข่งต่าง ๆ ในตลาด แต่สิ่งหนึ่งเลยที่อยากจะบอกคือเราต้องมีความหนักแน่นและชัดเจนในบทบาทที่เราทำ ซึ่งอย่างแบรนด์คามุ หัวใจสำคัญของแบรนด์คือในเรื่องของนวัตกรรม innovation จุดนี้เองที่ทำให้เราไม่ได้เป็นผู้ตาม
สิ่งที่คามุทำมาเสมอคือ คิดล่วงหน้าก่อนที่ตลาดจะเป็น เพราะความสำเร็จในวันนี้ไม่อาจการันตีความสำเร็จในวันข้างหน้าได้ตลอดไป เราจึงมุ่งคิดค้นสิ่งต่างต่าง ๆ ผ่านทีมงานที่มีหน้าที่ศึกษาและสร้างนวัตกรรมสำหรับเครื่องดื่มที่เราทำ มีการทำโปรดักส์เทสติ้ง อยู่ตลอดเวลา โดยที่ตัวผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่คิดค้นและหาไอเดียสินค้าต่าง ๆ เหล่านั้นร่วมกับทีมงาน ดังนั้นการที่เราเป็น Trend setter นี่แหละที่จะทำให้เราไม่ได้มองคู่แข่งเป็นคู่แข่ง แต่เรามองคู่แข่งเป็นเพื่อนบ้าน โดยที่เรามีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนของเราเองมาอยู่ในน่านน้ำของบลูโอเชี่ยน ที่ไม่ได้ต้องไปฟาดฟันแข่งขันในเรื่องของราคาเป็นหลัก แต่เราเลือกที่จะแข่งขันในด้านนวัตกรรมเป็นสำคัญ
สำหรับคนที่สนใจธุรกิจประเภทเครื่องดื่มหรืออาหารทานเล่น ผมมองว่าอยากให้ใส่ใจในเรื่องของรสชาติและคุณภาพมาเป็นอันดับต้น ๆ ก่อน พยายามทำเครื่องดื่มที่มีรสชาติที่ดี อร่อยถูกปากได้คุณภาพ เพราะสำหรับผมแล้วเชื่อว่าคุณภาพและบริการเป็นพื้นฐานสำคัญ เพราะถ้าคุณภาพและรสชาติคุณไม่ผ่านคุณก็ตายตั้งแต่ต้น ควบคู่ไปกับการรักษาและคงไว้ซึ่งมาตรฐานของตนเองให้ลูกค้าได้รับสินค้าบริการที่ดีเช่นเดิมอยู่ตลอดเวลา ส่วนสิ่งที่จะมาต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตก้าวหน้าต่อไป ก็คือการพัฒนาแบรนด์และการทำการตลาดอย่างจริงใจ และคำนึงถึงสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับเป็นสำคัญ เพื่อที่จะสร้างคุณค่าที่เรามีให้ยั่งยืนสืบทอดต่อไป
สิ่งสำคัญประการสุดท้ายที่อยากทิ้งท้ายไว้ หากแต่ความหมายและความสำคัญไม่ได้น้อยเลย คือการเชื่อมั่นในพลังของทีมงาน สำหรับผมทุกๆ คนในครอบครัว คามุ ส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ ทีมงานทุกคนคือเจ้าของแบรนด์ เจ้าของความสำเร็จตัวจริงของคามุ ไม่ใช่ผมเพียงคนเดียว ดังนั้นธุรกิจจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ ต้องเกิดจากพลังความสามัคคีของคนในองค์กร
Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : Trust ผูกใจลูกค้าด้วยประสบการณ์ขั้นกว่า
อ่านเพิ่มเติม : www.kasikornbank.com/th/Inspired-Feb-2020.aspx
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ การมีช่องทางรับเงินที่หลากหลายนอกจากจะเป็นทางเลือกให้ลูกค้าแล้ว ยังช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นอีกด้วย และนี่เป็นช่องทางการชำระเงินที่นิยมใช้กันในตอนนี้
ลูกค้าหลายคนชอบทางเลือกนี้ เพราะมั่นใจได้ว่าจะได้รับสินค้าแน่นอน ในขณะที่ผู้ขายจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง กรณีส่งสินค้าไปแล้วแต่ลูกค้าไม่รับสินค้าและถูกส่งกลับ ปัจจุบันช่องทางการขายของออนไลน์หลายรายบังคับให้มีช่องทางเก็บเงินปลายทางไว้ให้ลูกค้า ผู้ประกอบการที่จึงควรทำความเข้าใจเรื่องนี้ไว้ด้วย
เป็นวิธีชำระเงินที่หลายคนคุ้นเคย พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนจะชอบวิธีการนี้ เพราะเป็นการได้รับเงินสดก่อนที่จะส่งสินค้าไป
เป็นวิธีที่สะดวกทั้งต่อผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ผู้ขายอาจต้องเสียค่าธรรมเนียม หากลงขายสินค้าตามช่องทางต่าง ๆ อย่าง ช้อปปี้ (Shopee) หรือ ลาซาด้า (Lazada) จะมีระบบรับบัตรเครดิตเตรียมไว้อยู่แล้ว แต่ถ้าคุณสร้างเว็บไซต์ของตัวเองอาจต้องทำ ระบบชำระเงินออนไลน์ที่ชำระผ่านระบบของธนาคาร (Payment Gateway) ด้วยตัวเอง ซึ่งมีต้นทุนค่อนข้างสูง
ปัจจุบันยังมีช่องทางอย่าง กระเป๋าเงินออนไลน์ (e-Wallet) ที่เริ่มมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น เช่น TrueMoney, Rabbit Line Pay และ Airpay
เมื่อธุรกิจออนไลน์มีช่องทางการรับเงินมากกว่าหนึ่ง การจะบริหารจัดการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ วิธีการจัดการเบื้องต้น ดังนี้
– จดบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างละเอียด พร้อมเก็บหลักฐานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ใบเสร็จต่างๆ ฯลฯ จะทำให้เห็นว่าธุรกิจมีกำไรหรือขาดทุน หรือรายได้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร
– ต้องมีเงินสำรองเพื่อสภาพคล่องธุรกิจ โดยหลักกว้าง ๆ อาจสำรองเงินไว้ที่ 6 เท่าของรายจ่ายแต่ละเดือน หรือสามารถประเมินได้จากมูลค่าของสต็อกสินค้าเทียบกับระยะเวลาขายออกไป จะทำให้ทราบว่าควรมีเงินสำรองไว้มากน้อยเท่าไร
– ต้องแยกบัญชีส่วนตัวและบัญชีธุรกิจออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อให้รู้ว่าเงินที่เข้ามาเป็นเงินของธุรกิจหรือไม่
– แบ่งบัญชีโดยยึดบัญชีธนาคารเดียวเป็นบัญชีจ่ายออก ส่วนบัญชีรับเงินสามารถมีกี่บัญชีธนาคารก็ได้
Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย