ใครที่คิดว่า “ไม้กวาด” ก็เป็นได้แค่ “ไม้กวาด” อาจจะต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เมื่อสถาปนิกรุ่นใหม่อย่าง ตูน-นนทัช ขันธรูป ที่มองเห็นปัญหา คุณค่าและโอกาส จาดไม้กวาดดอกหญ้าไปพร้อมๆ กัน ตูนมองเห็นว่าไม้กวาดดอกหญ้าที่ขายกันทั่วไปนั้น “ขาดความทนทาน” ตูนมองเห็นคุณค่าของงานฝีมือท้องถิ่นของไทยที่อยากรักษาไว้ และตูนมองเห็นโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ของสินค้าชิ้นนี้จากงานออกแบบที่เขารัก จนเป็นที่มาของแบรนด์ Sweepy ไม้กวาดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานดีไซน์
SME One : แบรนด์ Sweepy เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
นนทัช : Sweepy ดังในเรื่องของไม้กวาด ผมได้เรียนรู้วิธีการทำไม้กวาดตอนที่ผมบวชที่วัดป่าจากคุณลุงประสัก ไม่ใช่แค่เรียนอย่างเดียว แต่ต้องทำทุกวัน มันไม่ใช่สิ่งจำเป็นแต่คนที่อยากเรียนรู้ก็มาทำโดยจะมี 2-3 แบบที่วัดกำหนด ที่ผมอยากทำเพราะว่ารู้สึกว่าไม้กวาดมันเป็น Skill ที่เราไม่เคยเรียน แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจ เพราะไม้กวาดเป็นงานแฮนด์เมดและมีความละเอียด
จากนั้นผมก็สึกออกมา แล้วรู้สึกว่าสิ่งที่ผมเรียนมามันเป็นอะไรที่มีวัฒนธรรมอยู่ งานช่างหรืองานฝีมือของคนไทยเรามันมีวัฒนธรรมและคุณค่า เพียงแค่ดีไซน์ของมันยังขายในตลาดไม่ได้มากกว่า เราก็เลยมาศึกษาเพิ่มเติมว่า ถ้าเราจะเอาไม้กวาดดอกหญ้ามาขายในตลาด เราจะต้องเอามาทำอะไรบ้าง เราจะต้องออกแบบอย่างไรที่มันถึงจะสามารถสื่อสารกับคนได้ เพราะสิ่งนี้คือสิ่งที่เราอยากจะสร้าง ธุรกิจนี้มันเป็นงานคราฟท์ที่ทันสมัย เราไม่ได้อยากสร้างอะไรที่มันเป็นงานคราฟท์อย่างเดียว เราพยายามสร้างให้มันเป็นธุรกิจที่มีสินค้าตัวนึงที่เราออกแบบแล้วมันสำคัญกับบ้านทุกบ้าน
SME One : วันที่เราคิด เราเห็น Pain point อะไรของ Product ดั้งเดิม
นนทัช : จริงๆ ตอนที่เราเริ่มศึกษาตลาดและถามคนว่า Pain point ของไม้กวาดมีอะไรบ้าง ที่เราเจอคือ กวาดแล้วดอกหญ้าชอบหลุด ใช้ไปไม่นานก็เริ่มหลุด เราซื้อไม้กวาดดอกหญ้าที่ตอนนั้นเหมือนจะ 30-40 บาทนี่แหละ เพื่อมาดูว่าข้างในมันทำอย่างไรถึงชอบหลุด แล้วก็เดินทางทั่วประเทศเพื่อที่จะไปค้นหาไม้กวาดแบบต่างๆ ว่ามันมีแบบไหนบ้าง มันทำอย่างไร แล้วเขาขายที่ราคาเท่าไหร่
ช่วงที่เราศึกษาตลาดไม้กวาด ไม้กวาดดอกหญ้ายังมีแบ่งเป็นหลายราคาอีก ส่วนใหญ่เหมือนกับว่าไม้กวาดที่เราเห็นทั่วไป แบบมันไม่ได้เป็นแบบที่มีลิขสิทธิ์ ผมไม่รู้ว่าใครเป็นคนออกแบบ แต่ว่าไม้กวาดทั่วไปผมไม่อยากใช้คำว่าแบ่งเกรด แต่ผมศึกษาแล้วรู้สึกว่ามันมีช่องทางในตลาดนี้อยู่ เพราะผมรู้สึกว่าไม้กวาด 30-40 บาท มันใช้ได้แป๊บเดียวจริงๆ ผมมองว่าสิ่งที่เราใช้อยู่ทุกวันมันมี Pain point อยู่ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมผมถึงเห็นช่องทางในตลาด ทั้งในเชิงของดีไซน์ และเกรดของดอกหญ้าด้วย ตั้งแต่เรื่องของคุณภาพ เรื่องการคัดเลือก แล้วก็วิธีการเย็บอะไรต่างๆ ถ้าลูกค้าใช้ลองไม้กวาดของเรา Sweepy เราเย็บและมัดดอกหญ้าได้ดีที่สุด เย็บ 2 ชั้น เพื่อให้มันยึดเกาะได้ดี รูปทรงไม้กวาดและน้ำหนักที่ไม่ได้หนักเกินไป มีความยาวพอดี และออกแบบให้มีองศาทีที่กวาดได้กว้างขึ้น ไม่ได้เป็นแบบผ่ากลาง 2 แฉก ทำให้ไม่ต้องก้มหรือบิดตัวเยอะเวลากวาดสามารถที่จะเข้าซอกมุมต่างๆ ได้ค่อนข้างดี เพราะดอกหญ้าของเรามันค่อยๆ โค้งไป ปลายที่มันสั้นกว่าทำให้เราเข้ามุมได้ โดยที่กวาดแล้วไม่เมื่อย ปวดหลังน้อยลง และรู้สึกดีผ่อนคลายเวลาทำความสะอาดบ้าน งานออกแบบมันมีหลายองค์ประกอบที่ทำให้ตอบโจทย์ และแก้ปัญหา Pain point ได้
SME One : คิดว่างานดีไซน์ของ Sweepy ตอบโจทย์ Functional หรือ Emotional มากกว่ากัน
นนทัช : ผมคิดว่าเรื่อง Emotional มันสำคัญมาก ซึ่งผมคิดว่ามีลูกค้าที่เขาเลือกซื้อของด้วย Emotional เยอะมากกว่า Functional ด้วยซ้ำ ลูกค้าของ Sweepy ถ้าดูจากเปอร์เซ็นต์ยอดขาย เราวิเคราะห์ได้ว่าผู้หญิงจะซื้อเยอะกว่า เท่าที่ผมศึกษามาผู้หญิงน่าจะอินกับ Emotional ส่วนเรื่องของ Functional มาทีหลัง คือไม้กวาดของ Sweepy ดอกหญ้ามันจะไม่หลุด และช่วยกวาดบ้านได้ลึกขึ้น ซึ่งไม้กวาดที่มันดูดีดูสวยในบ้าน จึงทำให้ลูกค้ามองเห็น Value ในสินค้าของเรามากขึ้น ส่วนฟังก์ชันมันค่อนข้างไปด้วยกันได้
นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว งานออกแบบไม้กวาดของ Sweepy เราพยายามเน้นเรื่องของ Ergonomic Design หรืองานดีไซน์ที่ตอบโจทย์สรีระของผู้ใช้งานจริงๆ โดยเน้นองค์ประกอบของ 3 E’s คือ 1) Effective (ใช้งานดี) 2) Easy to Use (ใช้งานง่าย) และ 3) Enjoyable (ทำให้ประสบการณ์ในการทำความสะอาดดีขึ้น) เราให้ความปราณีตในทุกขั้นตอน เพื่อแก้ปัญหาตั้งแต่แรก คือ การเลือกใช้วัสดุ การคิดไปเรื่องวิธีการใช้งานจริง จนเป็นไม้กวาด Ergonomic Design
SME One : เคยลองเปรียบเทียบไหมว่าไม้กวาดของ Sweepy ที่ราคาสูงกว่า กับไม้กวาดทั่วๆ ไปมีอายุการใช้งานต่างกันขนาดไหน
นนทัช : เท่าที่ผมเปรียบเทียบ ถ้าคนที่ใช้ทุกวัน ใช้ 2-3 เดือน ดอกหญ้าก็จะเริ่มหลุดแล้ว มันจะเริ่มเล็กลงๆ ส่วนของเราจากรีวิวของลูกค้าและที่ใช้กันในบริษัท คนเขาก็ถ่ายรูปมาให้ดู ผมก็เห็นว่าใช้มาเป็นปีแล้วนะ ดอกหญ้าเหลืองจากที่มันเขียวสด คือสีของตัวดอกหญ้ามันค่อยๆ จางลง เพราะใช้ได้นานกว่ากันเยอะ
SME One : วันที่เราเริ่มทำเราคัดเลือกวัสดุเป็นดอกหญ้าอย่างเดียวเลย หรือเรามีการทดลองวัสดุอื่นด้วย
นนทัช : ดอกหญ้าเป็นสินค้าหลักของ Sweepy เราเลือกจากไม้กวาดดอกหญ้าก่อน เพราะมันเป็นไม้กวาดที่คนนิยมและรู้จักกัน หลังจากนั้นเราก็ยังพัฒนาอยู่ เช่น ใช้เส้นใยมะพร้าว
เส้นใยมะพร้าวจะมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของความแข็ง ถ้าใยมะพร้าวเราจะเอามาทำเป็นไม้กวาดหยากไย่ หรือกวาดฝ้า ที่มันมีความยาว เพราะเส้นใยมีความแข็ง เพื่อที่จะให้มันกวาดพวกฝุ่นที่เกาะอยู่ได้ ถ้าเป็นไม้กวาดเสี้ยนตาลมันก็จะมีความยืดหยุ่น เราก็จะมีการฉีดน้ำยา ซึ่งเราจะใช้ในการกวาดด้านนอก อาคารพวกใบไม้หรือลานปูนได้ ส่วนตัวดอกหญ้าที่เป็นเมนหลักๆ ก็คือจะยิยมใช้กวาดในบ้าน
ช่วงที่เราพัฒนาสินค้า ผมมีโอกาสได้ลองไม้กวาดพลาสติกด้วย ซึ่งเราพบว่าวัสดุทดแทนอย่างพลาสติก ตอนกวาดมันก็จะกวาดยากนิดนึง เพราะฝุ่นมันจะไม่ขึ้น ผมเลยยังเชื่อในตัวดอกหญ้าที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการทำไม้กวาดมานานแล้ว
SME One : คนส่วนใหญ่มองไม้กวาดเป็นสินค้า OTOP แต่เรามาสร้างแบรนด์ มีความหนักใจหรือไม่
นนทัช : ตอนที่ผมทำ ภาพในหัวไม่ได้มองว่าสินค้าของเราเป็น OTOP แล้ว สินค้าของ Sweepy เราใช้คำว่า Craftsmanship เพราะผมคิดว่าเรื่องของ Emotion ตรงนี้สำคัญ คือเรามองถึงการตกแต่งบ้าน เป็นไลฟ์สไตล์ เป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมและการออกแบบที่อินเตอร์ ทันสมัย การออกแบบได้แรงบันดาลใจมาจากความมินิมอลของญี่ปุ่น ผมคิดว่าภาพที่คนจะได้มันเป็นแบบนั้นมากกว่า คือตอนเริ่มต้น เราก็ดูก่อนว่าคนในหมู่บ้าน OTOP เขาอยากทำกันไหม เขาก็ไม่อยากทำ เพราะเขาเคยทำแบบเดิมมานานแล้ว OTOP เขาก็ไม่ได้อยากทำแบบเรา ผมก็เลยคิดว่ามันแยกออกจากกันได้ค่อนข้างชัดเจน
ทุกวันนี้ในส่วนของการผลิต เราก็ผลิตแบบอุตสาหกรรมมีโรงงานเป็นรูปเป็นร่าง แต่เรายังใช้แรงงานจากคนในระแวกนั้น ส่วนแหล่งวัตถุดิบเราก็หามาจากแหล่งปลูกในประเทศไทยที่จะมีอยู่ 2-3 แหล่ง ทางภาคเหนือ และพื้นที่ใกล้ชายแดนประเทศลาว และปากช่อง โคราช
SME One : ช่วงทำธุรกิจแรกๆ Sweepy เจอปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้างหรือไม่
นนทัช : ผมคิดว่าปัญหาตอนเริ่มต้นมันยังไม่ได้เป็นธุรกิจเท่าไหร่ คนมันยังไม่ค่อยครบ ตอนนั้นผมไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา เพราะคิดว่าคนที่เป็น CEO ต้องเริ่มจากการมีคนไม่กี่คนก่อน แล้วก็จะมีปัญหาที่มีคนไม่เก่งอยู่ เราก็จะไปหาคนเก่งมาทำหน้าที่นั้น อย่างเช่นการทำการตลาดในประเทศ เราจะทำการตลาดแบบไหน โฆษณาแบบไหน เราจะเข้า Modern Trade อย่างไร แล้วเราจะสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาอย่างไร แล้วถ้าเราจะส่งออกไปต่างประเทศ เราต้องทำวิธีไหนบ้าง เราก็จะศึกษา Distribution Channel ของเรา เราส่งไปแล้วมันเป็นยังไงบ้าง มันก็คือการสร้างคนผมคิดว่า มีคนที่เราไว้วางใจและสามารถเติบโตกับธุรกิจนี้ได้ คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่หลายๆ คนน่าจะต้องผ่านให้ได้
ผมใช้เวลาศึกษาตลาดจริงจังประมาณ 1 ปี จนถึงวันหนึ่งที่เราตัดสินใจจะทำไม้กวาดและกว่าจะได้เป็นไม้กวาดออกมา กว่าที่เราจะหาคนที่เราไว้ใจและทำธุรกิจให้เป็นระบบขึ้นมาได้ จนมาถึงตอนนี้ก็ยังมีปัญหาครับ มันก็ยังมีอยู่เรื่อยๆ เพราะมันเป็นการทำธุรกิจ ปัญหาช่วงเริ่มต้นมันมีอยู่แล้ว ตอนนั้นไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา แต่มองว่ามันเป็นสิ่งที่เราต้องทำให้สำเร็จมากกว่า และสิ่งที่ได้มาหลังจากนั้นก็คือว่า เราจะสร้างคนอย่างไร เราจะสร้างระบบอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไรให้คนไว้วางใจในสินค้าเรา ทำอย่างไรให้ Sweepy เป็นที่พูดถึง ยอมรับ และอยากได้
SME One : Sweepy ทำตลาดมาแล้ว 5 ปี ไม้กวาด Sweepy เวอร์ชั่น 1.0 กับเวอร์ชั่นปัจจุบันมีความแตกต่างรกันหรือไม่
นนทัช : ต้องบอกว่าทุกวันนี้เวอร์ชั่น 1.0 ก็ยังขายอยู่ เพราะว่าคนเขายังชอบแบบอยู่ แล้วมันก็จะมีเวอร์ชั่นอื่นๆ ที่มันผลิตขึ้นมาด้วย เช่น เวอร์ชั่นที่ถอดประกอบได้ ก็จะส่งไปที่เมืองนอก แล้วก็จะมีที่โกยผงที่ขายพร้อมกัน
ทุกวันนี้ Sweepy มีการแตกไลน์สินค้าออกไปบ้าง แต่หลักๆ ก็จะเน้นเรื่องการทำความสะอาด ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดหยากไย่ ไม้กวาดเสี้ยนตาล ที่โกยผง แล้วเราก็จะมีการทำตะกร้าที่เอาไว้ไปตลาดไปซื้อของ ก็จะเป็นตะกร้าที่แข็งแรงทำมาจากปาล์ม แล้วก็เหมาะที่จะอยู่ในครอบครัวเดียวกับ Sweepy แล้วตอนนี้ก็มีผ้าสปันที่เป็นเหมือนผ้าฟองน้ำที่เอามาเช็ดถู แล้วกสามารถใช้ซ้ำได้
SME One : ช่วง COVID-19 ระบาด Sweepy ได้รับผลกระทบบ้างหรือไม่
นนทัช : เราขายดีขึ้นเยอะในช่วง COVID-19 ระบาดแรกๆ หลังจากนั้น COVID-19 มันก็ขึ้นๆ ลงๆ ยอดขายเราก็นิ่งๆ หย่อนๆ บ้าง จน 2 เดือนที่แล้วตัวเลขก็ค่อยขึ้นมาอีก ทุกคนก็น่าจะรู้ว่ายอดใน Modern Trade มันลดลง แล้วเราโฟกัสต่างประเทศมากขึ้นด้วย มันก็เลยทำให้เราขายได้มากขึ้นในตอนนั้น
ปัจจุบันเราขายผ่านช่องทาง Modern Trade เช่นบุญถาวร, Index, Homepro นอกจากนั้นก็จะมีร้านเล็กๆ แล้วก็จะมีส่งออกไปที่อเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี แล้วก็มียุโรปที่ฝรั่งเศส โดยรายตอนนี้ประมาณ 60-70% อยู่ในประเทศ และประมาณ 30-40% เป็นตัวเลขส่งออกต่างประเทศ
SME One : ตลาดต่างประเทศบางประเทศนิยมใช้พรม สินค้าของเราไปฟิตกับไลฟ์ไตล์แบบไหน
นนทัช : ผมคิดว่าเขาก็ใช้ไม้กวาดเหมือนกันนะครับ ตอนแรกผมก็แปลกใจเหมือนกัน คือฝุ่นบ้านเขาต้องน้อยกว่าบ้านเราแน่นอน แต่ไม้กวาดก็ยังต้องมี ผมคิดว่าประชากรของเขาก็เยอะด้วยแหละ มันก็เลยทำให้ยังได้ยอดขายเยอะอยู่ตลอด
SME One : วางแผนการขยายธุรกิจในอนาคตไว้อย่างไร
นนทัช : ผมไม่ได้คิดว่าต้องรอให้เหตุการณ์มันกลับมาเป็นปกติ เรื่องของการขยายธุรกิจก็คิดอยู่ แล้วก็ลองทำอยู่เหมือนกัน เพราะว่าสินค้านี้มันเป็นสินค้าที่ต้องมีทุกบ้าน คือผมรู้สึกว่าธุรกิจจะให้มันเป็นไม้กวาดอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องเป็นมากกว่านั้น คือตอนนี้ทุกคนเริ่มออนไลน์กันเยอะขึ้น เราก็ไปร่วมกับโปรโมทของเขามากขึ้น คือเน้นในเรื่อง Distribution Channel มากกว่า ให้คนเข้าถึงเราได้เยอะขึ้น
ในส่วนของสินค้าใหม่ ตอนนี้ยังไม่มีแผนที่จะเปิดตัวสินค้าอะไร เราขอพยายามโฟกัสที่เราทำอยู่ให้มันดีก่อน สิ่งที่สำคัญคืออยากทำให้ภาพของ Sweepy ให้มันชัดเจนด้วย
ในส่วนของความท้าทาย ทุกวันนี้เรื่องท้าทายคือต้องการทำให้ธุรกิจดีขึ้น และการมีสินค้าตัวใหม่ที่ทำขึ้นมา คือไม้กวาดมันเป็น Signature ของเรา แล้วมันก็จะมีตัวอื่นที่คนก็ซื้อ แต่ก็ไม่ได้ซื้อเท่าตัวไม้กวาด การสร้างสินค้าที่เป็น Signature อันนั้นคือความท้าทายที่สุด มันอาจจะใช้เวลา แต่อยู่ที่ว่าเราเรียนรู้ เราค้นคว้าใช้เวลากับมันมากแค่ไหน
ในเรื่องของการพัฒนาตลาด ถ้าเราสามารถทำอะไรที่มันใหม่ๆ ได้ หรือใครที่คิดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ ผมก็อยากให้คนทำออกมาเรื่อยๆ การออกสินค้าใหม่มันอาจจะไม่ดีกว่าเดิม หรืออาจจะดีกว่าเดิมก็ได้ ดีกว่าของผมหมายถึงเชิงฟังก์ชั่น เรื่องตัวแบบ และดีไซน์
อีกหนึ่งเป้าหมายที่เราอยากทำเพิ่นขึ้นในอนาคตก็คือ การทำ Co-Branding ผมชอบไอเดียที่มันเป็นความร่วมมือใหม่ๆ ตอนนี้ Sweepy เองอาจจะยังไม่ได้ทำจริงจัง เราเคยทำงานร่วมกับ Habitat คือที่ส่งไปขายที่ประเทศฝรั่งเศส รวมถึงเกือบมีโอกาสจะได้ทำงานร่วมกับแบรนด์ระดับโลกอย่าง H&M แต่ติดปัญหาเรื่องราคาต้นทุน เรื่อง Co-Branding เราเปิดรับเสมอถ้ามีใครสนใจก็อยากให้เขาติดต่อมาได้เลย แต่จะทำได้ได้หรือไม่ได้ก็ต้องเจรจาดู
SME One : ถ้าอยากจะให้ฝากคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เราจะให้คำแนะนำอะไร
นนทัช : อยากฝากเรื่องการตั้งเป้าหมายที่สามารถทำได้ และมี Passion กับมัน เพราะผมอยากให้มองสิ่งที่จะทำเป็นมากกว่าไอเดีย คือถ้ามันทำออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ก็จะดี แล้วก็ลองขายดู ยังไม่อยากให้ยอมแพ้ไปก่อน พอมันเริ่มได้แล้วก็ควรหาความรู้รอบด้านให้เยอะที่สุด และควรรู้รอบด้านในเชิงการทำธุรกิจด้วย
บทสรุป
ความสำเร็จของไม้กวาดดอกหญ้า Sweepy มาจากการให้ความสำคัญทั้งด้าน Emotional Value และ Functional Value เพราะนอกจากจะมีการออกแบบที่สวยงาม การเย็บที่ปราณีตแล้ว ยังคำนึงถึงเรื่อง Ergonomic Design หรืองานดีไซน์ที่ตอบโจทย์สรีระของผู้ใช้งานจริงๆ โดยเน้นองค์ประกอบของ 3 ทั้ง 3 ส่วนคือ ใช้งานดี, ใช้งานง่าย และทำให้ประสบการณ์ในการทำความสะอาดดีขึ้น
เชื่อไหมว่าเกลือทะเลของไทยที่ใช้เวลาทำนับเดือนนี้ มีราคาซื้อขายกันโดยเฉลี่ยตันละประมาณ 1,000 บาท หรือตกกิโลกรัมละ 1 บาทเท่านั้น กระทั่งมีคนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจของครอบครัวคือ “นาเกลือ”
พวกเขาเดินตามความฝันอยู่พักใหญ่ ลองผิดลองถูกกันหลายครั้งจนมาเป็น “เจลอาบน้ำจากดอกเกลือ” ที่คิดตามมูลค่าแล้วมีราคาถึง 20,000 บาทต่อ 1 ตัน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 20 เท่า วันนี้เบญจรัตน์ ปัญญาวงค์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลักซ์นา จำกัด เจ้าของแบรนด์ IRIN จะมาเผยเคล็ดลับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ “สินค้าชั่งตวงวัด” อย่างหมดเปลือก
SME One : จุดเริ่มต้นของ IRIN เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
เบญจรัตน์ : IRIN เกิดจากการรวมตัวกันของเพื่อน ๆ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ 4 คน อายุเฉลี่ยประมาณ 34 - 37 ปี เริ่มจากที่บ้านของหุ้นส่วนคนหนึ่งทำนาเกลือมานานกว่า 100 ปี จึงมีความรู้เกี่ยวกับเกลือค่อนข้างดี ว่าเกลือทะเลมีประโยชน์อย่างไร หุ้นส่วนอีกคนก็เป็นทายาทนักธุรกิจที่เข้าใจระบบธุรกิจ หุ้นส่วนคนที่ 3 ครอบครัวก็ทำโรงงานเครื่องสำอางเป็น Generation ที่ 4 แล้ว ส่วนตัวเองเรียนทางด้านกฎหมายมา IRIN เริ่มจากเพื่อนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มารวมตัวกัน
ไอรินเป็นคำไทยแปลว่า เกลือ จุดเริ่มต้นของ IRIN มาจากการพัฒนาดอกเกลือเป็นผลิตภัณฑ์ Skincare โดยสินค้าตัวแรกของเรา คือสบู่ที่มีส่วนผสมของดอกเกลือที่แก้ปัญหาสิวผดผื่นคันตามร่างกาย เพราะเกลือเป็นยาฆ่าเชื้อโดยธรรมชาติ มีงานวิจัยของต่างประเทศรับรอง
SME One : จากวันที่เริ่มธุรกิจ IRIN ใช้เวลาในการพัฒนาสินค้ากี่ปี
เบญจรัตน์ : ประมาณ 2 ปี นับจากเริ่มจดทะเบียนบริษัท ที่ใช้เวลานานถึง 2 ปี เพราะอยากที่จะพัฒนาสูตรให้ดีที่สุด ปัญหาที่เราเจอตอนแรก ก็คือเราตั้งใจจะใช้ส่วนผสมธรรมชาติ 100% แต่วันที่สินค้าออกสู่ตลาดใช้เวลาถึง 2 ปี ทำให้ไม่ทันท่วงที กลายเป็นว่าพอสินค้าออกมาถึงสินค้าเราจะมีคุณสมบัติดีมาก ตอบโจทย์ลูกค้าทุกอย่าง แต่ตลาดก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สินค้าตัวแรกของเราจึงไม่ประสบความสำเร็จ เราก็ต้องพัฒนาสินค้าต่อ แต่เราเริ่มมีประสบการณ์จากที่เราลองผิดลองถูกทำอะไรมาหลายอย่าง จนได้มาเป็นสบู่ก้อนที่ขายดีอยู่จนถึงวันนี้
หรืออย่างสบู่เหลวที่เป็นสบู่เกลือเราก็เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทยที่ทำสบู่เกลือให้เหลวและใสได้ เพราะปกติถ้าเติมเกลือลงไปในสารละลาย สารตั้งต้นในการทำสบู่มักจะจับตัวเป็นก้อน แต่ IRIN เราทำให้เหลวใสได้
SME One : สินค้าที่ผลิตจากส่วนผสมธรรมชาติ 100% มักจะมีราคาสูงอยากทราบว่ากลุ่มเป้าหมายของ IRIN คือใคร
เบญจรัตน์ : ต้องอธิบายว่าตอนแรกเรายังไม่มีประสบการณ์ สินค้าตัวแรกที่ออกมาของ IRIN จึงขาดทุนจนเลิกผลิตไปในที่สุด เพราะเราตั้งใจทำสบู่ที่เป็น Natural 100% ตอนนั้นเรามีการทำ Survey ก่อนวางขายสินค้า ซึ่งกลายเป็นกับดักตัวเราเอง เพราะคนที่เราเลือกไปถามว่า เขายินดีจะจ่ายในราคาเท่าไหร่สำหรับสินค้าที่เป็น Natural 100% เราพบทีหลังว่าคนตอบมี Bias คือ ตอบมาทุกอย่างดีหมดเลย แต่ลืมคิดไปว่าเขาซื้อครั้งเดียว ตอนนั้นสบู่ Natural 100% ขนาด 250 มิลลิลิตร 1 ขวดจำหน่ายอยู่ที่ 199 บาท ซึ่งลูกค้าซื้อครั้งเดียว ก็กลายเป็นว่าเราไม่สามารถขายได้อีก
แต่พอเราเราเริ่มมีประสบการณ์การทำงานกับ Modern Trade เราก็ปรับตัวว่า IRIN จะเป็น Premium Mass ที่ผู้คนทั่วไปสามารถจับต้องได้ และหันมาเน้นหนักในตลาด Modern Trade โดยจับกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาเรื่องสิว หรือผดผื่นคันตามร่างกาย แต่มีกำลังซื้อและเป็นกลุ่มที่เน้น Benefit ของสินค้า เพราะ IRIN เป็นกลุ่ม Anti-bacteria ที่แบบให้คุณประโยชน์อื่น ๆ นอกจากการฆ่าเชื้อโรค
SME One : ช่วงแรกนอกจากวางตำแหน่งสินค้าผิดแล้ว ยังเจอปัญหาอะไรอีกหรือไม่
เบญจรัตน์ : ตอนเริ่มต้นเรามีปัญหาทุกจุด เพราะอย่างที่บอกว่าเราไม่ได้มีประสบการณ์จริงๆ เรามีแต่ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งโลกธุรกิจของจริงยากกว่าเยอะ เราเจออุปสรรคทั้งในเรื่องของการ Forecast เงินทุน คือเราวางแผนไว้หมด แต่ถึงเวลาลงสนามจริง สิ่งที่วางแผนไว้มันไม่เป็นอย่างที่ตำราบอก การดีลลูกค้า การปิด Order หรือ Supplier ต่าง ๆ หรือการต่อรองกับ Modern Trade ต่าง ๆ ที่กินระยะเวลา ไม่ได้เป็นไปตามที่แบบตำราที่เรียนมา ตรงนี้ก็เป็นอุปสรรคที่เราเจอ
ในส่วนออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging ในตลาดจริง ๆ กับ Packaging ในตำราที่เราเรียนมา ว่าด้วยการออกแบบ Packaging ในตำราบอกว่าควรทำอย่างนี้ ถึงเวลาจริง ๆ Packaging ที่ออกแบบตามตำรา ลูกค้าไม่ซื้อ เราก็ต้องมีการเปลี่ยน Packaging กันใหม่ เพื่อที่จะตอบโจทย์รสนิยมของลูกค้า
ยอมรับว่าช่วงแรกๆ เราอยากจะขายสินค้าที่เป็นไอเดียของเรา ที่เป็นความตั้งใจของเรา ที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา อยากขายเพราะเรารักสินค้าตัวนี้ เรารัก Ingredient ตัวนี้ ทำให้เราพยายามจะเล่าแต่สิ่งที่เราอยากจะขายอะให้ลูกค้าฟัง โดยลืมว่าลูกค้าเขาต้องการฟังอะไร นั่นคือข้อผิดพลาด เมื่อเป็นเช่นนี้ Product ตัวต่อ ๆ มาที่เราเริ่มพัฒนา เราจึงเริ่มจากการฟังลูกค้าจริง ๆ ไปยืนอยู่หน้า Shelf แล้วฟังลูกค้า ฟัง Feedback จริง ๆ จากผู้ใช้
SME One : การหยุดฟังทำเราได้คำตอบที่ชัดเจน แล้วนำไปพัฒนาสินค้าที่ตรงตามความต้องการใช่หรือไม่
เบญจรัตน์ : สินค้าของเรามีพื้นฐานมาจากเกลือ แต่เราเลือกผสมส่วนผสมอื่นๆ เข้าไป เพราะเราฟังลูกค้าว่าอยากได้อะไร ลูกค้าอยากให้เรา Combine เกลือกับอะไร แล้วเราเลือกจากสิ่งนั้นว่าส่วนผสมอะไรที่เอามา Combine แล้วลูกค้าจะซื้อ เช่น เรารู้ว่าลูกค้าชอบมะขาม ลูกค้าชอบขมิ้น เราฟังลูกค้าเสร็จแล้วเราก็เลือกจากคุณสมบัติของส่วนผสมอีกทีว่าอะไรที่เอามา Combine ลงไปแล้วจะทำให้ Effect ของสบู่ดีขึ้น เช่นสบู่เกลือ ผสมมะขาม หรือผสมนมข้าว
ยกตัวอย่าง สบู่ก้อนกับสบู่เหลวก็เป็นลูกค้าคนละกลุ่มกัน ลูกค้าที่ซื้อสบู่เหลวกับลูกค้าที่ซื้อสบู่ก้อนมีวิธีการเลือกที่ไม่เหมือนกัน คนที่ชอบใช้สบู่ก้อนจะชอบความรู้สึกสัมผัสแบบล้างแล้วต้องสะอาด ผิวต้องรู้สึกว่าแห้งสะอาด แต่คนที่ซื้อสบู่เหลวจะเป็นกลุ่มที่ชอบความชุ่มชื้น แต่ต้องไม่เหนียวเหนอะหนะ เพราะฉะนั้น Positioning ของแบบสบู่เหลวกับสบู่ก้อนเป็นคนละกลุ่มกัน แม้จะเป็นสบู่เกลือเหมือนกัน
SME One : IRIN เป็นสินค้าแบรนด์เล็ก มีวิธีการเจาะเข้าตลาด Modern Trade อย่างไร
เบญจรัตน์ : ส่วนหนึ่งมาจากการที่หุ้นส่วนมีประสบการณ์ในกลุ่มสินค้าหมุนเวียนเร็วหรือ FMCG (Fast-moving Consumer Goods) ทำให้มีประสบการณ์ในการนำเสนอสินค้า 2) เราใช้วิธีการ Matching Business 3) เราใช้วิธีการส่งประกวด เวลาที่เราเข้าประกวดโครงการต่าง ๆ ของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น Startup Voucher หรือ 7 Innovation Awards ฯลฯ เวทีประกวดจะมีหน่วยงานที่รองรับ เวลาที่ได้รางวัลจะมี Connection ให้เราสามารถเข้าไปเจรจาธุรกิจนำเสนองานกับ Modern Trade ต่าง ๆ กับฝ่ายจัดซื้อโดยตรงได้ด้วย
จริงๆ ค้าปลีกสมัยใหม่จะมีพื้นที่ให้ สินค้ากลุ่ม SMEs ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่าง Modern Trade กับหน่วยงานของรัฐหลาย ๆ หน่วยงาน ว่าจะสนับสนุน SMEs ซึ่งถ้าสินค้าเราได้คุณภาพมาตรฐาน ราคาได้ก็จะเพิ่มโอกาสได้ เพียงแต่ว่าการขายใน Modern Trade มักจะถูกกำหนดราคาโดยเจ้าตลาด ตัวอย่างเช่น ราคาสบู่เหลวขนาด 500 ml. ในกลุ่ม Premium Mass และเป็นสินค้า Anti-bacteria กึ่ง Beauty ราคาถูกกำหนดไว้โดยเจ้าตลาดอยู่ที่ 165 บาท ส่วนสบู่ก้อนราคาก็ถูกกำหนดไว้โดยเจ้าตลาดว่าสบู่ก้อนที่เป็น Natural หรือสมุนไพรประมาณนี้จะถูกกำหนดไว้โดยเจ้าตลาดว่า 48 บาท
จุดนี้เลยทำให้ SMEs เจ้าต่าง ๆ ถ้าไม่ได้มีโรงงานเองจะไม่ง่ายที่จะดีลกับ Modern Trade เพราะว่าขายผ่าน Modern Trade ค่า GP (Gross Profit) เริ่มต้นก็เฉลี่ยตั้งแต่ 30% ขึ้นไป แต่ถ้าเราไปประกวดในโครงการที่ห้างค้าปลีกจัดแล้วชนะก็จะทำให้ได้สิทธิพิเศษบางอย่างที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
SME One : มีแผนที่จะเปิด Pop-up Store ของตัวเองหรือไม่
เบญจรัตน์ : ยังไม่มีแผน เพราะมองว่ายังไม่จำเป็น เนื่องจาก IRIN ดีลกับ Modern Trade เป็นหลัก ลูกค้าเดินเข้าไปในซูเปอร์มาร์เก็ต ก็เจอเรา On shelf อยู่แล้วทุกสาขา เราไม่จำเป็นต้องแย่งลูกค้ากันเอง ในการที่จะตั้ง Store เพิ่ม
SME One : IRIN มีขายให้กลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยว เช่นใน Duty Free หรือในย่านที่เป็น Tourist Destination บ้างหรือไม่
เบญจรัตน์ : มีขายบ้าง อย่าง Big C ก็จะมีบางสาขาที่เน้น Tourist เป็นพิเศษ เช่น Big C สาขาราชดำริ ถึงแม้เราจะวางใน Shelf ปกติของ Big C ราชดำริ แต่จริง ๆ กลุ่มลูกค้าเป็น Tourist ซึ่งปกติแบบนี้เราก็จะดีลกับ Modern Trade เลยว่า Location ไหนบ้างที่เป็น Tourist Store เราก็จะมีโปรโมชันสำหรับ Tourist ที่จะซื้อยกลัง แต่ก็ผ่าน Modern Trade
นอกจากนี้ก็ยังมีขายผ่าน Cross Boarder เช่น ประเทศลาว ก็จะมีลูกค้าที่ลาวเป็น Cross Boarder ส่งออกทุก ๆ 2 เดือน ในส่วนของ Duty Free ช่วงก่อน COVID-19 เรามีคุยกับ King Power และบริษัทที่รับทำทัวร์บ้าง
SME One : ช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนัก ได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
เบญจรัตน์ : พอมีสถานการณ์ COVID-19 เข้ามา เราต้องผันตัวเองจากสินค้ากลุ่ม Skincare ที่เกี่ยวกับการแบบต้านแบคทีเรีย ไปสู่สินค้ากลุ่ม Hygiene โดยเริ่มผลิตจากองค์ความรู้ที่เรามี เราเริ่มทำเป็นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่สัมผัสผิวหนังคนได้ ล้างออกได้หรือไม่ล้างออกก็ได้ ทั้ง Alcohol และ Non-Alcohol ที่จะช่วยในการฆ่าเชื้อ ต้านแบคทีเรียและต่อต้าน COVID-19 เรามีแตกแบรนด์ออกไปชื่อว่า DetV จะเป็นน้ำยาฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ ส่วน IRIN จะเป็นเกี่ยวกับ Skincare ก็คือผลิตภัณฑ์ที่เน้นในเรื่องของแบบของใช้ส่วนบุคคล
และเนื่องจากในปัจจุบันยอดขายของสินค้าที่วางจำหน่ายอยู่ในห้างสรรพสินค้าตกลงกว่า 80% เราก็เลยผันตัวเองมารับผลิตสินค้า OEM เกี่ยวกับ Personal Care ต่าง ๆ รวมไปถึงผลิตน้ำยาฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ที่อยู่ในเครือข่ายเครื่องสำอาง
กลายเป็นว่าธุรกิจที่เติบโตในตอนนี้จะเป็นกลุ่มสินค้า Hygiene Product แทน แต่สินค้ากลุ่ม Hygiene Product เราไม่ได้เข้า Modern Trade เพราะว่าตอนนี้คนไม่เดินห้าง ตอนนี้คนเน้นซื้อสินค้าออนไลน์กับเน้นซื้อสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายต่าง ๆ ส่วนใหญ่ของเราที่ไปวางขายตอนนี้ เราเน้นขายกลุ่มองค์กร ส่วนหนึ่งเพราะว่า End User ก็มีกำลังซื้อลดลง
SME One : ถ้าทุกอย่างกลับเข้าสู่สภาวะปกติ มีแผนจะต่อยอดธุรกิจอย่างไร
เบญจรัตน์ : Product Line ที่เราวางแผนไว้ จริง ๆ มีแผนที่จะออกใหม่ทั้งหมดอยู่ 21 SKU จะเป็นกลุ่ม Body Care กลุ่ม Personal Care ด้วยความที่โรงงานเราสามารถผลิตได้สินค้าได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า ปกติสินค้าในกลุ่ม Face Care ไม่ว่าจะเป็นแบบครีมต่าง ๆ เรามีกลุ่มลูกค้าคือคลินิกความงามต่าง ๆ เป็นลูกค้าเราอยู่แล้ว เพราะเราเป็นโรงงานผู้ผลิต แต่เราไม่ได้จำหน่ายในฐานะแบรนด์ของแบรนด์ IRIN ถ้าแพลนที่เราจะไปก็คือพวก Lotion หรือ Scrub รวมถึงวางแผนจะผลิตสเปรย์กันยุงจากตะไคร้ที่เป็นสารจากธรรมชาติ
SME One : สินค้ากลุ่มใหม่ๆ เหมือนว่าจะไม่จำเป็นต้องมีเกลือเป็นส่วนผสมหลักแล้ว
เบญจรัตน์ : ปัจจุบันนี้สินค้าที่จะ Launch ออกมาตามแพลนที่วางไว้ 70% คือหลุดจากเกลือไปแล้ว กลุ่มสินค้าที่ยังมีเกลือ ยังคงเป็นสบู่เกลือ และจะมีสครับเกลือทะเล พูดตรงๆ ก็คือเกลือมีข้อดี แต่ก็มีข้อจำกัดในตัวของสินค้าที่ทำได้น้อย ตรงนี้ในตำราก็ไม่ได้สอน คือถ้าเรายังยึดติดอยู่กับตัวตนว่าเราต้องเป็นเกลือเท่านั้นจะทำให้ธุรกิจเราไปไม่รอด เพราะ Product หลายอย่างเกลือไม่สามารถตอบโจทย์ได้
แต่เรายังคงมี Hero SKU หรือสินค้าสร้างชื่อเสียงให้กับ IRIN อยู่ คือเราเริ่มจากเกลือก็จริงแต่ว่าธุรกิจมันต้องเดินไปข้างหน้า ถ้าเรายังยึดอยู่ว่าตัวตนของเราคือเกลือ เราจะไม่พัฒนา ถ้าเราไม่ได้ปรับตัวตามยุคสมัยหรือความต้องการของลูกค้า เราจะอยู่ไม่ได้ นี่คือสิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้
บางทีจุดแข็งก็เป็นกับดักได้ ถ้าไม่ปรับตัว คือก่อนหน้านี้ที่จะมี COVID-19 บริษัทเราก็ยึดติดมากว่าสินค้าเราต้องมีส่วนผสมของเกลือ จนบางทีมันก็เหมือนแบบเป็นกรอบที่ปิดตัวเราเอง จนไม่สามารถทำสินค้าใหม่ ๆ ออกมาได้ ทั้ง ๆ ที่มีลูกค้ามากมายที่เดินเข้ามาบอกเราว่าอยากได้สินค้า IRIN ตัวนี้ ๆ ๆ แต่เราก็ไม่สามารถทำสูตรที่จะใส่เกลือลงไปได้ จนกลายเป็นข้อจำกัด
แต่ในวันที่เราตื่นขึ้นมาแล้ว พูดว่าเฮ่ย...นั่นมันเป็นอัตตาที่เรายึดมั่นว่าต้องเป็นอันนี้เท่านั้น พอเราวางอัตตาลง เราจะเห็นจริง ๆ ว่า Business กำลังจะพาเราไปที่ไหน เพราะสิ่งที่เราค้นพบ คืออะไรที่ลูกค้าจะซื้อ อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่เราอยากจะขายอะไร
SME One : ถ้าไม่ใช่เกลือ แล้วอะไรคือ Key Success ของ IRIN ในปัจจุบัน
เบญจรัตน์ : Key Success ของเราในปัจจุบัน คือเราปรับตัวเร็ว แล้วเราฟังลูกค้าจริง ๆ แล้วเราจะได้ยินว่าลูกค้าต้องการอะไร เราพยายามหา Meet the unmet เสร็จแล้วเราต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าทันที อันนี้ที่ทำให้เรายังยืนอยู่ได้ท่ามกลางสถานการณ์นี้
SME One : ถ้าลองมองย้อนกลับไปจากจุดเริ่มต้นที่มาจากสินค้า OTOP สินค้าชั่งตวงวัด ถือว่า IRIN มาได้ไกลแค่ไหน
เบญจรัตน์ : IRIN เดินมาไกลมาก จากตอนแรกแค่สินค้า OTOP ที่เราคิดว่าเราจะขายออกบูธตามงาน เราเดินมาจนถึงที่ระดับที่ได้คุยกับ Modern Trade ทุกค่าย แล้วเราเป็นคนตัดสินใจว่า Modern Trade ค่ายนี้เราจะเข้าหรือเราไม่เข้า ถือว่าเรามาไกลมาก
แต่ COVID-19 ทำให้เราได้กลับมาถามตัวเองว่า เราจะพา IRIN ไปทางไหน เหมือนได้กลับมามองเห็นความชัดเจนของตัวเอง จากที่ตอนแรก คือเราจะมุ่งสร้าง Product ที่ต้องมีเกลือเป็นส่วนประกอบ เพื่อบอกว่านี่คือจุดต่างของเรา จนเราได้เจอตัวตนว่าเรามี Hero SKU แล้ว เราจะสร้างตัวเองไปที่ไหนต่อไป หลังจากนี้เราจะตอบโจทย์ลูกค้าอย่างไรในสภาพการณ์ที่เปลี่ยนตลอดเวลา เมื่อก่อนเราคุยกันเป็นไตรมาส ตอนนี้เราแทบจะต้องคุยกันทุกสัปดาห์ จุดนี้คือข้อดีที่ทำให้เรายังไปได้ คือเราปรับตัวเร็ว เนื่องจากเราเป็น SMEs เป็นบริษัทเล็ก ๆ
SME One : อยากจะให้ช่วยให้คำแนะนำกับ SMEs ในการทำธุรกิจ
เบญจรัตน์ : ถ้าจะให้คำแนะนำกับ SMEs อยากจะบอกว่า เห็น SMEs หลาย ๆ เจ้าเขามีความตั้งใจมาก มีสิ่งที่เขาอยากจะขาย มีสิ่งที่เขาอยากจะเล่า มี Story มากมาย แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ คำแนะนำสำหรับ SMEs ก็คือก่อนที่จะตัดสินใจอะไร อยากให้ SMEs ชัดเจนในเป้าหมาย ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า คุณจะขายสินค้าที่ต้องการจริงๆ หรืออยากทำธุรกิจ เพราะบางทีสิ่งที่คุณอยากจะขาย อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าอยากจะซื้อ
บทสรุป
แม้ว่าความสำเร็จก้าวแรกของ IRIN จะเกิดจากความคิดในการสร้างมูลค่าจากเกลือมาสู่สินค้า Pessonal Care แต่ความสำเร็จก้าวที่ 2 ของ IRIN นั้น มาจากการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาด โดยยอมทิ้งสิ่งที่เรียกว่า “อัตตา” ไว้ข้างหลัง เพราะในความเป็นจริง ถึงแม้ว่าเกลือจะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อจำกัดในการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าอื่นๆ เพราะ Product หลายอย่างที่ IRIN ผลิตและวางจำหน่ายในระยะหลัง เช่น แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หรือสินค้าที่กำลังจะวางจำหน่ายในอนาคตอย่าง Face Care เกลือไม่สามารถตอบโจทย์ได้นั่นเอง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจมาได้จนถึงปัจจุบัน
ชีวาดี ภูมิปัญญาบันดาลใจ ในน้ำตาลดอกมะพร้าว
จากความชื่นชอบในรสชาติของน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำให้อาหารไทยอร่อย กลมกล่อม สู่การสังเกตเห็นคุณสมบัติพิเศษและประโยชน์มากมายจากทรัพยากรพื้นบ้านอันมีค่า นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว นำมาสู่การผสมผสานนวัตกรรมและการต่อยอดเป็นสินค้า สมกับชื่อบริษัท ชีวาดี คือ ชีวิตดี โดยมีแนวคิดที่ว่าหากชีวิตเราดีนั้น ต้องมาจากสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย
เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น
ภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยโบราณมีการใช้น้ำตาลมะพร้าวในการทำอาหาร เพราะมีรสชาติหวานละมุน มีลักษณะเป็นก้อน เมื่อโดนความร้อนจะละลายเหนียวเหนอะหนะ หลังจากที่คุณสารภี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชีวาดี โปรดักส์ จำกัด เคยเห็นคุณพ่อซึ่งเป็นเบาหวานพกน้ำตาลมะพร้าวในกระเป๋ากางเกงแล้วละลายเลอะเทอะ จึงได้มีความคิดที่จะผลิตคิดค้นน้ำหวานดอกมะพร้าว แบบเป็นน้ำ มีความหวานมาจากดอกมะพร้าว ลักษณะคล้ายน้ำผึ้ง ซึ่งใช้ง่าย ให้เป็นสินค้าท้องถิ่นจากชุมชน
ครั้งหนึ่งได้ไปเที่ยวชุมชนน้ำตาลมะพร้าว ได้เห็นชาวบ้านผลิตน้ำตาลดอกมะพร้าว และสังเกตเห็นจุดบกพร่อง รวมถึงจุดที่สามารถพัฒนาได้ จึงเริ่มศึกษาจนพบคุณสมบัติในองค์ประกอบทางสารอาหารจากน้ำตาลดอกมะพร้าว ที่มีผลดีต่อผู้เป็นเบาหวาน
จากความสนใจในน้ำตาลดอกมะพร้าวและชุมชนน้ำตาลมะพร้าว ทางชีวาดีจึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนน้ำตาลดอกมะพร้าวให้เป็นสินค้าที่ไม่อยู่แค่ในครัว แต่สามารถทำเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ ให้รู้สึกว่า เกิดความสง่างามในการใช้สินค้า และช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายได้มากขึ้น
พลิกฟื้นภูมิปัญญาที่สูญหาย
ในวันที่ ชีวาดี ตั้งมั่นจะเข้าไปศึกษาชุมชนสวนมะพร้าว พบว่าน้ำหวานดอกมะพร้าว มาจากส่วนดอกมะพร้าวใช้การปาดน้ำออกมาโดยวิถีโบราณซึ่งมีกรรมวิธีที่ยาก และมีราคาแพง ซึ่งชาวบ้านบอกว่าไม่มีทางทำได้เพราะไม่มีใครทำแล้ว ธุรกิจนี้ได้ตายไปแล้ว เพราะไม่มีใครให้ราคาของคนทำงานลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเข้าเมืองไปทำงานเป็นลูกจ้าง แต่เมื่อได้ทำการลงพื้นที่สำรวจก็พบว่าบ้านทุกหลังนำน้ำหวานดอกมะพร้าว ผสมเข้ากับสิ่งให้ความหวานอื่นๆ ลงไปด้วย เพื่อทำเป็นน้ำตาลที่ราคาไม่สูง ให้ผู้คนยอมจ่ายเงินซื้อ
ชีวาดีจึงเกิดประกายในใจว่าต้องให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณค่า สุขภาพ และวิถีอินทรีย์แก่ชาวบ้าน โดยรวบรวมชาวบ้านที่เกี่ยวข้องในแวดวงน้ำหวานดอกมะพร้าวจากทั้งจังหวัดสมุทรสงคราม ให้มาเป็นกลุ่มเดียวกับชีวาดี และเชิญผู้ให้ความรู้จากบริษัทในภาคส่วนอื่น ๆ มาช่วยให้ความรู้ เพื่อทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจ และสนใจคุณค่าในวิถีอินทรีย์อย่างแท้จริง
ครั้งแรกพังไม่เป็นไร มองให้เป็นการเรียนรู้
ชีวาดีรวบรวมผู้ผลิตชาวบ้านที่สนใจในวิถีอินทรีย์ได้เพียง 2 คน ซึ่งสามารถผลิตน้ำหวานดอกมะพร้าวที่จะนำมาทำน้ำตาลได้วันละ 6 กิโลกรัม แต่จากการที่ทางชีวาดีได้ใช้เวลาคลุกคลี เรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน และมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน และต้องการช่วยพัฒนาชุมชนให้มีชีวิตที่ดีและยั่งยืน จึงคิดที่จะพัฒนาสินค้าให้เป็นรูปแบบอุตสาหกรรม
เมื่อเริ่มติดต่อโรงงานอุตสาหกรรม ทางโรงงานขอน้ำหวานดอกมะพร้าว 600 กิโลกรัมเพื่อเริ่มผลิต จึงเริ่มชักชวนคนในชุมชนไปทีละบ้าน ให้มารวมกลุ่มกันเพื่อผลิตน้ำตาลให้ได้มากขึ้น จนสามารถผลิตน้ำหวานดอกมะพร้าวจำนวน 600 กิโลกรัม นำไปส่งโรงงานได้สำเร็จ แต่เพราะทางโรงงานไม่มีความเข้าใจในกรรมวิธี นำตาลจึงพังเป็นสีคล้ำทั้งหมด ทางชีวาดีไม่ถือโทษ โดยมองว่าเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันกับโรงงาน และทำให้ทางโรงงานยอมเชื่อกรรมวิธีที่ทางชีวาดีได้ทดลองมา เป็นการซื้อใจอีกทางหนึ่ง
.
โมเดลธุรกิจที่เน้นความยั่งยืน
ชีวาดีทำธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นที่จะเน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงและยั่งยืนจากวิถีชาวบ้าน เนื่องจากเป็นบริษัทขนาดเล็ก เติบโตจากความคิดเล็ก ๆ ที่อยากให้ประเทศไทยมีนวัตกรรม และยกระดับนวัตกรรมกับภูมิปัญญาชาวบ้านให้ชุมชนอยู่ดี อย่างที่ภูมิปัญญาจากน้ำหวานดอกมะพร้าวสามารถนำมาผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยี ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง น้ำตาลดอกมะพร้าว, เครื่องดื่มไซเดอร์ดอกมะพร้าว, น้ำส้มสายชูดอกมะพร้าว, ซอสอเนกประสงค์จากมะพร้าวอินทรีย์ เป็นต้น
ช่วงแรกจึงยังไม่ทำการตลาดในเมืองไทย เนื่องจากความพร้อมด้านบุคลากรทางการตลาดยังไม่ชำนาญ จึงมุ่งเน้นไปทางสิ่งที่ชำนาญก่อน คือการพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรม เนื่องจากเราต้องดูกลุ่มครอบครัวหน่วยการผลิตว่าพร้อมขยายหรือไม่ เพราะทางชีวาดีต้องการรับผิดชอบต่อสังคม และต้องการให้ผู้ผลิตจากต้นน้ำ ซึ่งคือครอบครัวหน่วยการผลิต เกิดความเติบโตมั่นคงยั่งยืนในอาชีพและในเวลาที่สมควร ต้นน้ำของชีวาดีนั้นรวมถึงคู่ค้าในต่างประเทศ จากการสำรวจคู่แข่งและทำความรู้จักกับประเทศที่สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และมิตรภาพด้านสุขภาพ
ผลิตภัณฑ์จากชีวาดี (Chiwadi)
ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์จากชีวาดี ผลิตจากธรรมชาติ 100% ด้วยคุณสมบัติ มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) และช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานทานได้ โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารดังนี้
การต่อยอด โดยอิงจากหลักธรรมชาติ
นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว ยังต่อยอดมาสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาด คือการทำความสะอาดผิว และการทำความสะอาดผัก เนื่องจากความสะอาดเป็นจุดแรกที่ต้องคำนึงในการทำผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ทุกอย่างเกิดจากความตั้งใจสังเกตเห็นเพื่อนร่วมงานมีผิวหน้าและผิวกายที่เนียนสวยงามจากกลิ่นไอของผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ปราศจากสารเคมี หลังจากศึกษาค้นคว้าจึงได้พบกรดที่สำคัญตามธรรมชาติ เมื่อผ่านการยื่นขออนุญาตจากองค์การอาหารและยา จึงได้ต่อยอดมาเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น
จุดมุ่งหมายในอนาคต
เริ่มที่ทำต้นน้ำให้แข็งแรง ดูแลพนักงานทุกคนเหมือนดังครอบครัว ดังนั้นต้องเสริมให้ครอบครัวยั่งยืนและทำอาชีพด้วยความซื่อสัตย์ โดยครอบครัวผู้ผลิตของชีวาดีทั้งหมดเป็นครอบครัวที่ปลอดสารเคมี ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างจึงไม่มีสารเคมี และมีแผนจะเริ่มทำการตลาดออนไลน์ โดยใส่ใจในเรื่องของคุณค่า วิถีอินทรีย์ และ ประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างจริงใจที่สุด เหมือนกับตอนทำผลิตภัณฑ์ เพราะอยากจะใกล้ชิดผู้บริโภคมากขึ้น
ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ของชีวาดีสามารถติดต่อได้ที่
บริษัท ชีวาดี โปรดักส์ จำกัด
59 อาคารพิทักษ์ (ห้อง 104) หมู่ 6 ถ.ศรีนครินทร์ ต.บางเมือง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร. 089 969 9825 ติดต่อ คุณสมเกียรติ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด
Email: info.chiwadi@gmail.com
Facebook: www.facebook.com/chiwadiproducts/
Line: chiwadi01
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
“เอื้ออารีฟู้ด แปรรูปสินค้าเกษตร ให้เป็นไลฟ์สไตล์”
เพราะอาหารทั่วโลกให้ความสำคัญกับสิ่งเสริมเติมแต่งรสชาติ ไม่เว้นแม้กระทั่งในประเทศไทย รสชาติของอาหารไทยมีความจัดจ้าน เครื่องปรุงวัตถุดิบพืชผลเกษตรไทย นั้นเต็มไปด้วยรสชาติที่ต่างประเทศไม่มี เช่น กระเทียมไทย ที่จัดว่าเป็นกระเทียมที่มีรสสัมผัสเป็นเอกลักษณ์ หาไม่ได้จากที่ไหนในโลก
บริษัท เอื้ออารี ฟู้ด โปรดักท์ จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับเครื่องเทศและเครื่องปรุงรส รวมถึงเครื่องเคียงในอาหาร ด้วยมาตรฐานในด้านความสะอาด และมาตรฐานในระบบมาตรฐานสากล ดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดที่อยากสร้างผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ที่ช่วยตอบโจทย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยและให้บริการที่ดีที่สุด
.
จากตลาดสด สู่ระบบโรงงาน
แรกเริ่มตั้งต้นกิจการตั้งแต่รุ่นพ่อ อยู่ที่ปากคลองตลาดมา 50 ปี ทำธุรกิจขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ จำพวกผัก พริกมาบดขาย ในสมัยก่อนนั้นคั่วกันแบบบ้าน ๆ ใส่ถุงไปขายลูกค้าตามตลาดสด หลังจากคุณพ่อเสีย คุณฉัตรชัย วชิระเธียรชัย ในวัย 18 ปี ได้ใช้ชีวิตอยู่ในตลาดขายพืชผักย่านทรงวาด จึงมีโอกาสได้เห็นความเคลื่อนไหวของการซื้อขายกระเทียมในตลาดอยู่ตลอด จนสังเกตเห็นว่ากระเทียมนั้นถูกส่งเข้ามาเป็นคันรถ แต่ขายหมดเกลี้ยงในเวลาไม่นาน จึงเริ่มทำการซื้อกระเทียมมาเปิดหน้าร้านขาย 24 ชั่วโมง เมื่อขายไปขายมาก็พบว่า กระเทียมลูกใหญ่เป็นขนาดที่ลูกค้าตลาดสดไม่ต้องการ ทำให้เริ่มคิดหาหนทางจัดการวัตถุดิบวิธีใหม่ ๆ โดยใช้กระเทียมที่ยังขายไม่ออก ด้วยการติดต่อส่งกระเทียมลูกใหญ่เข้าโรงงานอุตสาหกรรม โดยยอมขายขาดทุน เพื่อระบายสินค้าให้หมด แต่กลับได้รายการสั่งซื้อสินค้าอื่นๆ จากทางโรงงานกลับมาด้วย และนี่ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งวัตถุดิบกระเทียมเข้าสู่ระบบโรงงานอุตสาหกรรม ต่อยอดให้ทางร้านมีรายการสั่งซื้อใหม่ ๆ สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ
.
แตกไลน์ตามฝัน สู่สินค้าระดับมาตรฐาน
เพราะมีความฝัน จากเวลาที่ไปร้านสุกี้ แล้วสังเกตเห็นว่าทุกโต๊ะกินกระเทียม จึงเกิดความคิดที่จะนำกระเทียมไปเสนอลูกค้ากลุ่มร้านอาหารที่มีการใช้กระเทียม และมีสาขาหลายแห่ง เมื่อคิดได้แล้วจึงโทรไปเสนอขายสินค้าแต่ทางลูกค้าบอกกลับมาว่า ถ้าจะให้ใช้ กระเทียมก็ต้องมีมาตรฐาน นำไปสู่จุดเริ่มต้นของการสร้างระบบมาตรฐานมาควบคุมการผลิต โดยต้องกลับไปยกระดับตั้งแต่วิธีคิดให้กับเกษตรกร เริ่มทำห้อง แล้ววางระบบ มีโต๊ะให้นั่งคัดกระเทียม โดยควบคุมเวลา เพื่อจะได้คำนวณต้นทุนได้ทันที เป็นการสร้างวิธีคิดให้กับทีมงานก่อน แล้วจึงก็ลงมือทำ ให้เกษตรกรได้เห็นผลว่าถ้าคิดแบบนี้ลงมือทำแบบนี้แล้วจะเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนด้วยตัวเอง เมื่อรักษามาตรฐานได้ ก็ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ในสายตาของลูกค้า
.
สังเกต สร้างโอกาส
ด้วยความชำนาญในเรื่องของกระเทียม จึงเกิดเป็นไอเดียใหม่ ที่จะทำกระเทียมพร้อมทาน จากข้อเสนอแนะของผู้บริโภคต่างชาติ ที่ไม่ชอบเปลือกกระเทียมที่กินแล้วติดฟัน นำเรื่องนี้มาใช้เป็นกรณีศึกษา ทดลองไม่ใส่เปลือกทำเป็นเนื้อกระเทียมล้วน ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นสินค้าส่งออกใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้า
นอกจากนั้นยังมีการสังเกตรูปแบบไลฟ์สไตล์การกินใหม่ ๆ เพื่อนำมาต่อยอดเป็นไอเดียสินค้า เช่น คนเมืองต้องการความรวดเร็ว สะดวกมากขึ้น ประจวบกับได้เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่มีการใช้ผงโรยข้าวเพื่อเพิ่มรสชาติเช่นเดียวกัน จึงเกิดไอเดียสินค้าผงโรยข้าวใหม่ โดยปรับรสชาติให้เข้ากับคนไทย แบ่งออกเป็น 4 ภาค 4 รสชาติ ได้แก่ ผงโรยข้าวลาบไทยอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผงโรยข้าวลาบเหนือ (ภาคเหนือ), ผงโรยข้าวคั่วกลิ้งปักษ์ใต้ (ภาคใต้), และผงโรยข้าวสไตล์ซีฟู้ด (ภาคตะวันออก)
.
ปัจจุบัน เอื้ออารี ฟู้ด ได้มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการจัดหาวัตถุดิบ และในด้านการผลิตและพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปประเภทเครื่องปรุงรส, เครื่องเทศ รวมถึงสินค้าอบแห้ง อีกทั้งยังมีประสบการณ์ในการพัฒนาสินค้าร่วมกับลูกค้า และรับผลิตตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย
โดยมีรายการสินค้าหลากหลาย กว่า 100 รายการ ครอบคลุมความต้องการในทุกประเภทธุรกิจ สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เช่น
.
เอื้ออารี ฟู้ด มองการทำธุรกิจว่า วิธีคิดกับวิธีทำต้องไปพร้อมกัน เพราะว่าถ้าเกิดคิดแล้วไม่ทำ มันก็ไม่เกิด หรือถ้าเกิดทำแต่ไม่คิดก็จะมีโอกาสสูญเสีย เพราะฉะนั้นถ้าใช้วิธีคิดไปคู่วิธีทำ ก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จอย่างแน่นอน
.
ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์และบริการ สามารถติดต่อได้ที่
บริษัท เอื้ออารี ฟู้ด โปรดักท์ จำกัด
27/3 หมู่ 7 ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000 และ
10 ถ.ราชพฤกษ์ แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
โทร.: 02 868 4994, 02 868 6736-7
โทรสาร: 02 457 5206
อีเมล: auraree@aurareefood.com, sales@aurareefood.com
Line ID: @chefaree
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
Tax from Home มาตรการที่่ช่วยให้ผู้ประกอบการการจัดการภาษีง่าย ๆ เข้าถึงการทำธุุรกรรมภาษีได้ในทุุกมิติ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่่ www.rd.go.th ประกอบด้วย
การลงทะเบียน e-Registration
บริการสมัครสมาชิกออนไลน์ แจ้งเพิ่ม - ลดประเภทแบบ ที่ยื่นทางอินเทอร์เน็ต ขอรหัสผ่านใหม่ เปลี่ยนรหัสผ่าน แจ้งยกเลิก และอื่น ๆ สามารถยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตแบบออนไลน์ และส่งเอกสารผ่านทาง e-mail ได้ทันที ไม่เสียเวลาเดินทางและลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้้อโรค
การยื่นแบบ e-Filing
ขอยื่นแบบภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สามารถทำแบบออนไลน์ และนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านทาง e-mail ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องไปยื่นด้วยตนเอง พรอ้มให้คุณได้รับสิทธิพิเศษขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ ออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี ทำให้ธุุรกิจสามารถบริหารสภาพคล่องของกระแสเงินสดได้มีประสิทธิภาพยิ่่งขึ้้น
การชำระภาษี e-Payment
บริการนำส่งข้อมูลชำระเงิน ยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ โดยธนาคารที่่ร่วมโครงการ จะยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมนการใช้บริการ สำหรับแบบที่ยื่นและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์
การคืนเงินภาษี e-Refund
บริการสอบถามข้อมูลการขอคือภาษี ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้เสียภาษีที่่ชำระภาษีไว้เกิน กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินให้ผ่านระบบ PromptPay ที่่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ทั้งลดปริมาณการใช้กระดาษและ Lean กระบวนงานให้คล่องตัวยิ่่งขึ้้น
รวมสิทธิลดหย่อนภาษี ที่ www.rd.go.th
ระบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
จากเดิมที่ผู้ทำบุุญต้องเดินทางไปบริจาคที่่หน่วยรับบริจาค โดยจะได้รับหลักฐานการบริจาคในรููปแบบกระดาษ เช่น ใบอนุุโมทนาบัตร ใบเสร็จรับเงิน หรือหนังสือขอบคุุณ เพื่่อนำมาใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี แต่ระบบ e-Donation อำนวยความสะดวกให้บริจาคได้ทุุกที่ทุุกเวลา และไม่ต้องเก็บหลักฐานเป็นกระดาษเหมือนที่่ผ่านมา แต่ข้อมููลการบริจาคในระบบ e-Donation จะถููกส่งเข้าไปเก็บในฐานข้อมููลของกรมสรรพากร และเมื่่อถึงเวลายื่่นแบบฯ ประจำปี ผู้บริจาคก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทันที โดยไม่ต้องนำหลักฐานมาแสดงและพิสููจน์ต่อเจ้าหน้าที่่ ซึ่่งจะทำให้ได้รับเงินภาษีคืนรวดเร็วยิ่งขึ้้น
ระบบชำระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp)
ในกรณีที่ต้องทำสัญญาหรือตราสารบางลักษณะ กฎหมายกำหนดให้ต้องติดอากรแสตมป์ หากมููลค่าของสัญญานั้้นเกินกว่าที่่กฎหมายกำหนด เดิมผู้ประกอบการต้องไปชำระค่าอากรแสตมป์ที่สำนักงานสรรพากร ไม่สามารถซื้้ออากรแสตมป์มาติดสัญญาได้
ปัจจุุบันกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบชำระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp) ทำให้การชำระค่าอากรแสตมป์ง่าย สะดวก รวดเร็ว ลดปัญหาการคำนวณมููลค่าอากรแสตมป์ผิดพลาด 5 ประเภทของสัญญาหรือตราสารที่่สามารถชำระค่าอากรแสตมป์ผ่านระบบ e-Stamp ได้แก่ สัญญาจ้างทำของ, สัญญากู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกงินเกินบัญชีจากธนาคาร, ใบมอบอำนาจ, ใบมอบฉันทะ และสัญญาค้ำประกัน
บริการตรวจสอบสิทธค่าลดหย่นของผู้เสียภาษี (MyTax Account)
เครื่่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี ที่่ใคร ๆ ก็สามารถเช็กได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้้ว ทำให้ช่วยลดภาระในการเก็บเอกสารของผู้เสียภาษี เสมือนกรมสรรพากรจัดเก็บเอกสารในรููปแบบดิจิทัลให้แทน จึงลดขั้้นตอนการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่่ การยื่่นแบบภาษีเงินได้บุุคคลธรรมดาและการคืนภาษีก็จะสะดวกรวดเร็วขึ้้น
จากตัวอย่างเครื่่องมือทางภาษีอากรที่่ภาครัฐให้บริการแก่ผู้ประกอบการ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีช่วยให้ภาครัฐสามารถสร้างนวัตกรรมมาอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการมากขึ้้น ทำให้การทำธุุรกรรมภาษีเป็นเรื่่องง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยไม่มีข้อจำกัดั ด้านเวลาและสถานที่่อีกต่อไป
อ่านเพิ่มเติม :
https://sme.krungthai.com/sme/previewPdf.action?fileId=85#book/