CHAKSARN อัพเกรดเสื่อรองนั่งสู่กระเป๋าแฟชั่นพรีเมียม

จากพนักงานกินเงินเดือนที่หมดไฟในการทำงาน จิรวัฒน์ มหาสารเลือกที่จะกลับบ้านเกิดเพื่อมาพัฒนาสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่นของภาคอีสานอย่าง “เสื่อกก” จนเป็นกระเป๋าแฟชั่นจากงานจักสานชั้นนำของเมืองไทยภายใต้ชื่อ CHAKSARN ทุกวันนี้จิรวัฒน์ สามารถฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลายคนมองข้ามให้กลับมามีชีวิตชีวา รวมถึงยังทำให้คนในพื้นที่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาเป็นร้อยปี 

วันนี้จิรวัฒน์กำลังเริ่มต้น Chapter ใหม่ที่ท้าทายกว่า นั่นคือการสร้างคุณค่าให้กับผ้าไหมไทย

SME One :  CHAKSARN เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

จิรวัฒน์ : ก่อนหน้าที่จะทำแบรนด์ CHAKSARN ผมทำงานประจำที่กรุงเทพเป็นพนักงานออฟฟิศทั่วไป ทำงานมาสักระยะหนึ่งก็รู้สึกว่าเราไม่อยากทำงานประจำ ถึงทางตัน งานประจำไม่ใช่สิ่งที่เราทำแล้วเรามีความสุข เราไม่ได้ตื่นขึ้นมาแล้วอยากไปทำงานทุกวัน ก็เลยลาออกไปเรียนต่อด้านธุรกิจ ระหว่างที่รอเรียนจบก็ตัดสินใจว่าเราจะทำอะไรดี จะทำธุรกิจหรือกลับไปทำงานประจำเหมือนเดิม ช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่ได้กลับไปอยู่ที่บ้านที่ต่างจังหวัดกับพ่อกับแม่ แล้วก็ไปเจอเสื่อกกที่บ้านก็รู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ใช่ แล้วก็อยากเอาตัวนี้มาต่อยอดก็เลยเริ่มต้นทำแบรนด์ CHAKSARN 

ตอนที่เริ่มทำ CHAKSARN ก็ไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านดีไซน์มาก่อน แต่เริ่มต้นจากความชอบส่วนตัว โชคดีก่อนที่คิดจะทำเสื่อกกเคยขายของออนไลน์มาก่อน คือเอาพวกงานหัตถกรรมไทย พวกกระเป๋ากระจูด กระเป๋าผักตบชวาไปลองขายออนไลน์ในต่างประเทศ ก็ขายค่อนข้างดีแล้วก็รู้สึกว่ามีตลาดอยู่ แต่ว่าพอขายไปได้สักพักก็เริ่มมีคนขายเยอะขึ้น แล้วก็มีการตัดราคา ราคาก็จะถูกลงไปเรื่อย ๆ แล้วก็หน้าตาของสินค้าก็จะเหมือนกันทุก ๆ ร้าน เพราะคนที่ขายก็จะแบบรับมาจากแหล่งเดียวกัน ก็เริ่มรู้สึกว่าไม่มีความแตกต่าง ไม่สามารถกำหนดราคา ไม่สามารถกำหนดคุณภาพของสินค้าได้

ตอนนั้นคิดว่าใจจริงก็อยากทำอะไรที่เป็นงานหัตถกรรมไทยอยู่แล้ว เพราะว่าชอบงานฝีมือแล้วก็ชอบงานไทย ๆ แล้วตอนที่คิดว่าจะทำธุรกิจก็มานั่งลิสต์วัสดุว่ามีวัสดุไทยอะไรบ้างที่พอจะพัฒนาต่อยอดได้ นั่งไล่ดูก็มีผักตบชวา กระจูด ไม้ไผ่ หวาย งานผ้าไหม งานผ้าฝ้าย ซึ่งพอนั่งลิสต์มาแล้วสิ่งของเหล่านี้มีในท้องตลาดอยู่แล้ว มีคนที่เขาพัฒนาไว้ค่อนข้างเยอะแล้ว แต่ว่าพอมาเจอเสื่อกกมันเป็นตัวเดียวที่รู้สึกว่าสวย มีเอกลักษณ์ และยังไม่มีใครเอามาทำเป็นอย่างอื่นนอกจากเสื่อปูนั่ง ก็เลยตัดสินใจเลือก

ทีนี้พอที่คิดว่าจะเอาเสื่อกกมาทำ ตอนนั้นก็ยังคิดอยู่เหมือนกันว่าจะทำอะไร จะเอาไปทำเป็นของตกแต่งบ้านดีไหม เพราะว่ามันมาในแนวนี้ เพราะว่าเสื่อก็เป็นของตกแต่งบ้านอยู่แล้ว หรือว่าจะทำอย่างอื่นดี ส่วนตัวคิดว่าอยากแปลงร่าง อยากแปลงโฉมวัสดุตัวนี้ให้มันดูแตกต่าง เราอยากให้มันมีคำว่า Wow เกิดขึ้นในชิ้นงานที่เราจะทำ ก็เลยลองแปรรูปวัสดุตัวนี้ที่ไม่ได้มีความเป็นแฟชั่นให้มาเป็น Fashion Item ดู ตอนที่เริ่มตัดสินใจว่าเราจะเอามาทำเป็น Fashion Item ก็นั่งคิดอยู่ว่า เอ๊ะ จะทำอะไรดี จะทำเป็นเสื้อผ้าก็ไม่ได้เพราะว่า Texture มันค่อนข้างแข็ง ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าไม่ได้แน่นอน ก็มาลงเอยที่กระเป๋า เพราะว่ามันดูน่าจะเป็นไปได้ที่สุด

SME One : ตอนเริ่มธุรกิจไปหาความรู้เพิ่มเติมจากที่ไหน

จิรวัฒน์ : ตอนที่ตัดสินใจว่าจะทำกระเป๋า ปัญหาแรกที่เจอ คือไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านการออกแบบกระเป๋า การทำแพทเทิร์นกระเป๋า หรือว่าการตัดเย็บต่าง ๆ นานา คือความรู้เป็นศูนย์ ก็เริ่มจากไปเรียนทอเสื่อก่อน คือเรียนจากที่บ้าน เพราะคุณป้าที่บ้านก็เป็นช่างทอเสื่ออยู่แล้ว แม่ก็ทอเสื่อเป็นก็เลยให้ช่วยสอนทอเสื่อ เพราะต้องการรู้ว่าขั้นตอนในแต่ละขั้นตอนกว่าจะมาเป็นเสื่อทำอะไรบ้าง เพื่อรู้ลึกรู้จริงแล้วเราต้องการที่จะพัฒนาต่อ เราจะได้รู้ว่าเราต้องพัฒนาตรงจุดไหนบ้าง

เรียนอยู่พักนึงก็ทอเสื่อเป็น คิดลายเป็น หลังจากนั้นก็ได้เสื่อมาแล้ว ตอนแรกพยายามเอาเสื่อมาตัดให้เป็นรูปทรงกระเป๋าแต่ก็ทำไม่ได้ เพราะว่าเวลาตัดเสื่อมันแตกไม่สามารถเอามาขึ้นรูปทรงได้ ก็เลยคิดว่าจะต้องเอามาตัดเย็บกันกับวัสดุอย่างอื่น จึงไปเรียนคอร์สการทำกระเป๋าหนังเพิ่มเติมที่กรุงเทพ เป็นคอร์สสั้น ๆ เพื่อที่จะได้ความรู้พื้นฐานว่าการทำกระเป๋าต้องเริ่มต้นยังไง ขึ้นแพทเทิร์นยังไง มีแพทเทิร์นกระเป๋าแบบไหนบ้าง แล้วก็วัสดุที่ใช้หาซื้อที่ไหน อะไหล่ซื้อที่ไหน หนังมีกี่ประเภท ก็ได้ความรู้พื้นฐานพวกนี้แล้วก็เอามาประกอบกับลายเสื่อที่เรามี

เรารู้ว่าสิ่งที่เราอยากทำคือ เอาเสื่อมาประกบกับหนัง เราตั้ง Position ของแบรนด์ไว้ตอนแรกว่าจะทำแบรนด์CHAKSARN เราตั้ง Position ว่าสินค้าของเราจะต้องมีคุณภาพสูง แล้วก็ขายราคาค่อนข้างสูง เราอยากทำให้งานของเราเป็นงานพรีเมียม แต่เรื่องของการตัดเย็บหนังเราทำไม่เป็น เราต้องไปหาโรงงานทำก็เลยไปติดต่อโรงงานมากกว่า 10 โรงงาน แต่โดนปฏิเสธทั้งหมด นี่คือปัญหาแรก

เราพยายามเสาะหาไปเรื่อย ๆ จนก็ได้ Connection มาจากทางโรงเรียนที่ไปเรียนมา พอดีมีช่างคนนึงที่เขาจะเริ่มทำโรงงานเหมือนกัน เราก็จะเริ่มทำแบรนด์ ก็เลยลองชวนมาทำ เราใช้เวลา 4 เดือนกว่าที่จะได้กระเป๋าใบแรกออกมา

 

SME One : เสื่อที่เอามาใช้งานเป็นลายดั้งเดิมหรือว่าเป็นลายที่พัฒนาแพทเทิร์นขึ้นมาใหม่

จิรวัฒน์ : มีทั้ง 2 แบบ ในการหาเสื่อมาทำกระเป๋าของ CHAKSARN เราไม่ได้ไปหาซื้อเสื่อที่ชาวบ้านมีอยู่แล้ว แต่จะเป็นการไปเสาะหาช่างทอเสื่อที่เขาทอเสื่อเป็น แล้วก็เราไปช่วยพัฒนาคุณภาพของการทอของชาวบ้าน การที่เราไปลงพื้นที่ไปหาชาวบ้านเราจะเห็นลายที่แต่ละชุมชนที่มีอยู่ ซึ่งบางชุมชนเขามีลายขิตโบราณที่สวยงามมากอยู่แล้ว เราก็คิดว่าไม่ควรไปเปลี่ยนแปลง เพราะว่าความงามของมันมีอยู่แล้ว แต่ถ้ากระเป๋าบางรุ่น บางแบบที่คิดว่าอยากตีตลาดกลุ่มวัยรุ่นหรือว่าอยากทำให้ดูโมเดิร์นขึ้นก็จะเปลี่ยนจากลายขิตเป็นลายโมเดิร์น ซึ่งลายโมเดิร์นส่วนใหญ่ที่เราเห็นตามท้องตลาดพวกโทนสี เฉดสีต่าง ๆ ยังไม่โดน เราก็จะเป็นคนออกแบบแล้วก็ผสมสี แล้วก็เลือกลายให้ชาวบ้าน แล้วก็ไปบอกเขาว่าต้องทอประมาณนี้

 

SME One : ชาวบ้านที่เราไปหา เขาทำเสื่อเป็นอาชีพหลักหรือว่าทำเป็นอาชีพเสริม 

จิรวัฒน์ : ส่วนใหญ่จะเป็นแค่งานอดิเรกหรือว่าเป็นอาชีพเสริม หรือทำเพื่อใช้ในครัวเรือนมากกว่า แล้วโอกาสที่เขาจะได้ขายมีน้อยมาก คืออาจจะปีละครั้ง อย่างเช่น มีงาน OTOP ก็จะไปออกงานปีละ 1-2 ครั้ง หรือบางครอบครัวก็แค่ทำไว้ใช้ในครัวเรือนเพราะเขาไม่มีตลาด เวลาที่เราไปหาก็เหมือนกับไปสร้างความมั่นใจให้เขาว่า ถ้าสมมติว่าปรับคุณภาพตามเราได้แล้ว คุณแม่ ๆ ป้า ๆ พร้อมที่จะเป็นช่างให้แบรนด์ CHAKSARN เราจะมีงานส่งให้ตลอดทั้งปี เขาก็ยินดีปรับให้เรา ซึ่งจากที่เป็นงานอดิเรกทอแล้วไม่รู้ว่าจะไปขายเมื่อไหร่ ทอแล้วไม่รู้จะขายที่ไหน หรือทอแล้วขายได้แค่ผืนละ 200-300 บาท แต่พอมาทอให้แบรนด์ CHAKSARN ทอเสร็จขายได้แน่นอน มีรายได้แน่นอน แล้วราคาที่ซื้อกับชาวบ้านนี่ก็คือเป็นราคาที่สูงกว่าที่ชาวบ้านเอาไปขายเองแน่นอน 

ตอนนี้ก็มี 2 ครัวเรือนที่อุบลราชธานี ที่เปลี่ยนอาชีพจากทำการเกษตร มาทำสวนกก ปลูกต้นกกไว้รอบบ้าน แล้วก็งานที่เขาเคยรับจ้างทั่วไปก็หยุดทำ แล้วก็มาทอเสื่อทุกวันเพื่อส่งให้ CHAKSARN อย่างเดียว

 

SME One : CHAKSARN เริ่มต้นจากศูนย์ วันนั้นมีวิธีหาช่องทางขายอย่างไร

จิรวัฒน์ : ช่องทางขายคือเริ่มต้นที่ออนไลน์เลย ก็คือสร้างเพจแล้วก็สร้างเว็บไซต์ขึ้นมา ขายผ่านทางเพจ Facebook ก่อนเลย ช่วงแรกที่เปิดตัวแบรนด์จำได้ว่าผลิตมาแค่ประมาณ 10 ใบ แล้วลองโพสต์ขายทางหน้า Facebook เนื่องจากตอนแรกเรายังไม่ได้มียอด Follower หรือว่าคนรู้จัก เราก็แชร์ไปตาม Facebook ส่วนตัว ให้เพื่อนช่วยแชร์ แต่เนื่องด้วยกระเป๋าที่เราทำออกมา Lot แรกมันเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ แล้วเป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีกระเป๋าจากเสื่อกกที่ดูลงตัว ตัวกระเป๋ามันก็เลยขายตัวของมันเอง คือมีคำว่า  Wow อยู่ในตัวสินค้า ก็ขายหมดภายในเวลาไม่นาน แล้วก็ลูกค้าก็สั่งจองเข้ามาเรื่อย ๆ เราก็เริ่มรู้แล้วว่าสิ่งที่เราทำมันเป็นสิ่งที่มาถูกทาง

กระเป๋าใบแรกที่เราทำออกมา เราตั้งราคาไว้ 9,900 บาท จากเสื่อกกผืนที่ชาวบ้านขายกันประมาณ 200-300 บาท เราเอามาแปรรูปเป็นกระเป๋ารุ่นแรก ชื่อรุ่น Original ตอนที่เราตั้งราคา 9,900 บาท ที่บ้านไม่มีใครเชื่อว่าจะขายได้ แต่เราตั้ง Position ตอนที่เริ่มสร้างแบรนด์ไว้ว่าจะต้องเป็นสินค้าที่ดูมีราคา เราไม่อยากอยู่ในกลุ่มกระเป๋าสาน เราอยากให้เราไปอยู่ใน Category ที่ยังไม่มีคนทำ ยังไม่มีคู่แข่ง สมมติว่าเราทำให้คุณภาพมันอยู่ในงาน OTOP ที่ชาวบ้านเขาทำ เราก็ต้องกดราคาเพื่อที่จะสู้ได้ แต่เราไม่อยากที่จะไปแข่งกับตลาดที่มีอยู่แล้ว เราพยายามที่จะดันของเราให้ไปอยู่ในจุดอีกจุดนึงที่คู่แข่งยังไม่มี เพื่อที่เราจะได้เป็นเจ้าเดียว อันนั้นคือสิ่งที่คิดไว้ว่าสินค้าต้องคุณภาพสูง แล้วราคาต้องสูงตามคุณภาพด้วย

SME One : ปัจจุบัน CHAKSARN มีขายในต่างประเทศด้วยหรือไม่

จิรวัฒน์ : ลูกค้า CHAKSARN ประมาณ 95% เป็นคนไทย แต่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มคนไทยที่อยู่เมืองไทยประมาณ 60% แล้วก็กลุ่มคนไทยที่อยู่ต่างประเทศประมาณ 40% ซึ่งถือว่าค่อนข้างเยอะ คือลูกค้าของ CHAKSARN จะอยู่ทั่วทุกมุมโลก แต่เป็นคนไทยที่ไปอาศัยอยู่ต่างประเทศแล้วต้องการที่จะใช้กระเป๋าไทย ๆ

 

SME One : ช่วง COVID-19 ระบาด ได้รับผลกระทบบ้างหรือไม่ แก้ปัญหาอย่างไร

จิรวัฒน์ : เจอ COVID-19 มาเกือบ 2 ปีแล้ว ก็ค่อนข้างที่จะเติบโตได้ช้า ก่อนหน้านี้กราฟแบรนด์คือพุ่งมาก คือได้ออกทีวีทุกช่องทุกรายการ ลงนิตยสาร ได้คุยกับ Influencer ต่าง ๆ นานา แต่พอมาเจอ COVID-19 จากที่เรามีหน้าร้านที่ ICONSIAM แล้วก็มีการเช่าออฟฟิศที่กรุงเทพ แล้วก็มีเปิดหน้าร้านที่ Terminal 21 ณ ตอนนั้นเราเตรียมที่จะขยายเต็มที่ แต่พอ  COVID-19 มา รายจ่ายทุกอย่างที่เราจ่ายไป ทุ่มไปให้กับสิ่งเหล่านี้ พอรายได้เป็นศูนย์แต่รายจ่ายเยอะ ช่วงนั้นก็เกือบเจ๊ง

เราต้องพยายามตัดลดทอนทุกสิ่งทุกอย่างออกให้หมด แล้วการผลิตก็ลดลงด้วย พอเจอกักตัวช่วงนี้ที่ไม่สามารถที่จะออกไปเสาะหาชาวบ้านที่จะเป็นช่างทอประจำให้ทางแบรนด์ได้ เราก็ทำในสิ่งที่เรามีอยู่ ณ ปัจจุบันแบบประคองไปก่อน ถามว่าจะปลดล็อกตรงนี้ได้อย่างไรก็ต้องเพิ่มกำลังการผลิต แต่ปัญหาเดียวที่เจอก็คือ ช่างทอยังไม่เพียงพอ แล้วงานทอมันใช้เวลาค่อนข้างนาน คือเสื่อ 1 ผืนใช้เวลาทอประมาณเกือบ 1 อาทิตย์ แล้วเสื่อ 1 ผืนก็ทำกระเป๋าได้ไม่กี่ใบ 

ตอนนี้ร้านในศูนย์การค้าเราก็ไม่ต่อสัญญา แล้วออฟฟิศที่อยู่กรุงเทพก็ไม่ต่อสัญญา เราย้ายออฟฟิศมาอยู่บ้านที่ขอนแก่นเป็นโฮมออฟฟิศ คือพยายามทำทุกสิ่งอย่างให้ลดค่าใช้จ่ายมากที่สุด แล้วก็เน้นออนไลน์ให้ได้เยอะที่สุด

 

SME One : คิดจะต่อยอดธุรกิจของ CHAKSARN อย่างไร

จิรวัฒน์ : ตอนนี้ก็เริ่มไป Area อื่น เริ่มมีทำเสื้อผ้าด้วยแล้ว แต่ว่ายังคง Concept คือคำว่า จักสาน ก็จะยังเป็นงานหัตถกรรมไทย เป็นงานฝีมือของคนไทยอยู่ เพราะมองว่างาน Handmade หรืองานทำมือเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถแทนที่ได้ด้วยเครื่องจักรกล หรือว่าด้วย AI ด้วยคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ คือถ้าคุณอยากได้งาน Handmade มันต้องเป็นงานทำมือจากฝีมือคนเท่านั้น เราคิดว่าสิ่งนี้จะยังไม่ถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร

สิ่งที่ CHAKSARN แตกไลน์ออกมาจะเป็นเสื้อผ้าที่ทำมาจากผ้าไหมมัดหมี่ทอมือที่เป็นงาน Handmade ของชาวบ้าน อันนี้ก็จะเป็นเหมือนกับเป็น Line Product ใหม่ที่แตกขึ้นมา แต่ว่า Product เดิมที่เป็นตัวชูโรงแบรนด์ก็คือ กระเป๋าเสื้อกกก็ยังมีการพัฒนาเรื่อย ๆ 

 

SME One : ผ้าไทยมักถูกตีกรอบให้ใช้ในงานสำคัญ ๆ คนไทยไม่ค่อยนิยมใส่ในวันปกติ มองเรื่องนี้อย่างไร

จิรวัฒน์ : ใช่ครับ อันนี้คือ Challenge แรก ๆ เลยตั้งแต่เริ่มทำแบรนด์ คือต้องพยายามเปลี่ยน Perception ของลูกค้าให้ได้ว่าสินค้าหัตถกรรมไทยหรืองานวัสดุไทย ๆ ทำอย่างไรให้เป็นงานที่ไม่ใช่สำหรับคุณป้าคุณลุง ทำอย่างไรก็ได้ให้เป็นงานที่วัยรุ่นถือได้ ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่จำเป็นจะต้องใส่ไปงานราชการ หรือว่าใส่ไปงานบวช งานแต่งงานอย่างเดียว ทำอย่างไรให้คนไทยมองสินค้าไทยให้มีความเป็นโมเดิร์นมากขึ้น เราพยายามใส่ความเป็นโมเดิร์นเข้าไป

ในเรื่องของตัวเสื่อกกคิดว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จในการเปลี่ยน Perception ของลูกค้าหลาย ๆ คนที่จากแต่ก่อนคิดว่ากระเป๋าไทย ๆ จะต้องเป็นคนมีอายุเท่านั้น ตอนนี้ลูกค้าของเราก็จะเริ่มเป็นกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น ส่วนในเรื่องของผ้าไทย ผ้าไหมไทย อันนี้มันขึ้นอยู่กับการดีไซน์ด้วย คือเราจะทำยังไงให้ตัวผ้าไหมมัดหมี่ยังคงเป็นผ้าไหมมัดหมี่อยู่ ไม่ได้เอาไปผสมกับอย่างอื่น แต่ดีไซน์ การจับโทนสี การจับคู่สี หรือว่าการออกแบบรูปทรงต่าง ๆ ต้องทำให้ดูไม่ใช่สำหรับออกงานอย่างเดียว แต่ให้สามารถใส่ในชีวิตประจำวันได้ 

SME One : เสื้อผ้ามีทำออกมากี่ Collection แล้ว

จิรวัฒน์ : Collection แรก เพิ่งเปิดตัวไป เพิ่งจะทำไลฟ์ขายที่หน้าเพจ CHAKSARN ไปเมื่อไม่กี่วันนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นจะยังไม่ถึงกับเป็น Collection แต่จะเป็นการเริ่มต้นด้วยการขายอย่างเดียว คือเป็นกางเกงผ้าไหม Ready to wear แต่ Collection แรกจริงๆ ตอนนี้กำลังซุ่มทำอยู่ เรามีไปร่วมมือกันกับกลุ่มชุมชนบัวน้อยที่จังหวัดขอนแก่น เป็นชุมชนทอผ้าไหม เราให้ทางกลุ่มชุมชนทอผ้าไหมให้ตามลาย ตามแบบที่เราต้องการ แล้ว Collection นี้จะไปเปิดตัวแล้วไปเดิน Fashion Show ที่งาน Fashion Week ที่ประเทศมาเลเซียประมาณปลายปีนี้

เราโชคดีที่มีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เขาติดตามแบรนด์ CHAKSARN อยู่แล้ว พอเห็นว่าเราเริ่มมาทำผ้าไหม แล้วเขามี Connection กับคนจัดที่มาเลเซียเป็นงานที่เป็นงาน Fashion Week ของผ้าพื้นเมืองในภูมิภาค ที่ติดต่อมายังประเทศไทย ซึ่งทางอาจารย์เห็นว่า CHAKSARN มี Potential ก็เลยให้ลองสมัครไป พอสมัครไปก็ได้รับการคัดเลือก

 

SME One : จากนี้ต่อไป อะไรคือความท้าทายของ CHAKSARN

จิรวัฒน์ : ความท้าทายของเราคือ ทำอย่างไรให้แบรนด์ไม่จางหายไป คือทุกวันนี้การที่จะขายสินค้าในช่วงวิกฤตแบบนี้มันค่อนข้างที่จะยาก โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นงานแฟชั่นหรือสินค้าที่หลายคนมองว่ามันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยในยุควิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้ แล้วคนส่วนใหญ่ก็จะให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นที่สำคัญ หรือจำเป็นมากกว่า เพราะฉะนั้นทำอย่างไรแบรนด์ CHAKSARN ถึงจะอยู่รอดในช่วงแบบนี้ได้ และยังขายได้อยู่เรื่อย ๆ แล้วก็ทำยังไงให้ลูกค้าเดิมของเรายังกลับมาซื้อของของเราอยู่ครับ อันนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายในช่วงระยะเวลานี้

 

SME One : อยากจะให้ช่วยฝากคำแนะนำสำหรับคนที่คิดจะออกมาทำธุรกิจ หรืออยากจะพัฒนาสินค้าหัตถกรรม

จิรวัฒน์ : ทำอะไรก็ได้ ขอเพียง 1) ต้องมีความแตกต่าง ต้องไม่ตามใคร ต้องไม่เหมือนใคร ทำอะไรที่จะทำให้เราเป็นผู้นำได้ คือหยิบอะไรก็ตามที่ตัวเองชอบ แล้วจะต้องมีความแตกต่าง ถ้ามีนวัตกรรมเข้าไปร่วมด้วยจะดีมาก 2) ต้องทุ่มเทกับมันมาก ๆ เพราะว่าตอนแรกที่ลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว เราคิดว่าจะมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น มีเวลาไปเที่ยวมากขึ้น แต่พอมาทำจริง ๆ การทำงานให้ตัวเองหรือว่าเป็นนายตัวเองเหนื่อยกว่าทำงานออฟฟิศเยอะ แต่ว่ามันเป็นการเหนื่อยที่มีความสุขแล้วก็เราตื่นขึ้นมาแต่ละวัน เรารู้สึกว่าเราอยากทำงาน ไม่รู้สึกว่าเราอยากหยุด มันเป็นการเหนื่อยคนละแบบ ซึ่งถ้าเราทำแล้วเรามีความสุข แล้วเราทุ่มเทให้กับมัน มันก็จะประสบความสำเร็จเอง

 

บทสรุป

ความสำเร็จของ CHAKSARN อยู่ที่การเห็นคุณค่าของงานหัตถกรรมพื้นบ้านของจิรวัฒน์ แล้วนำมาต่อยอดความคิด และสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านงานดีไซน์ บวกกับความตั้งใจที่จะยกระดับสินค้า OTOP ทั่วไปให้เป็นงานแฟชั่นระดับพรีเมียม แม้ว่าช่วงแรกๆ หลายคนจะปฎิเสธความคิดของจิรวัฒน์ ถึงขนาดมีโรงงานนับ 10 แห่งที่ไม่ยอมแม้กระทั่งจะผลิตสินค้าให้เพราะคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ท้ายที่สุดจิรวัฒน์ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าจากเสื่อผืนละ 300 บาท ก็กลายเป็นกระเป๋าถือราคาเรือนหมื่นได้สำเร็จ เรียกว่าถ้าตั้งใจจริงก็ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้

บทความแนะนำ

ก่อนหน้าที่จะมาเป็นสตาร์ทอัพพัฒนาโปรแกรมบัญชีอย่าง FlowAccount กฤษฎา ชุตินธร CEO และผู้ก่อตั้งร่วม FlowAccount ก็เคยเป็นผู้ประกอบการมาก่อนและเห็น Pain Point ของ SMEs ที่ขาดความรู้ความชำนาญในด้านการทำบัญชี ซึ่งถือเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ 

FlowAccount ที่เกิดขึ้นมาเพื่อลบจุดอ่อนดังกล่าวจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี FlowAccount มีผู้ประกอบการ นักบัญชี และฟรีแลนซ์เข้ามาใช้งานในระบบมากกว่า 50,000 ราย ไม่เพียงเท่านั้น กฤษฎามองอนาคตของ FlowAccount ไปไกลถึงการเป็น Money Solution ที่มีบริการครอบคลุมไปถึงระบบชำระเงินออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ และฟินเทค 

 

SME One : FlowAccount เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

กฤษฎา : จุดเริ่มต้นมาจากการที่ตัวผมเองก็เป็นผู้ประกอบการมาก่อน แล้วตัวเราเองก็อยากจะใช้ซอฟต์แวร์มาช่วยในการทำงาน เมื่อก่อนการใช้งานโปรแกรมออนไลน์จะไม่ได้แพร่หลายอย่างในปัจจุบัน รวมถึงซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทยก็ยังไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่ก็ต้องไปใช้ซอฟแวร์ของต่างประเทศกัน ไม่ว่าจะเป็นของอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ ซึ่งเราทราบกันดีว่าการนำซอฟต์แวร์ต่างประเทศมาใช้ ระบบหลังบ้าน เช่น การทำบัญชีภาษี การเงิน และหน้าตาเอกสารอื่นๆ ที่อยู่หลังบ้านจะไม่เหมือนกับของต่างประเทศ และในตอนนั้นผมไม่สามารถหาโปรแกรมมาทำการการออกเอกสารวางบิลได้ ผมจึงตั้งใจจะพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ออนไลน์ที่เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กจะได้ใช้ไม่ยาก คนที่ใช้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ทางด้านบัญชีมากมาย สามารถที่จะทำได้เองหรือจะให้นักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญมาใช้งานด้วยก็ได้ เพราะโปรแกรมสามารถเพิ่มผู้ใช้งานได้ โดยที่ผู้ประกอบการอาจจะใช้งานหน้าบ้าน และมีนักบัญชีมาช่วยทำบัญชีหลังบ้าน ทำการตรวจสอบและยื่นภาษีให้ ซึ่งเป็นที่มาของการก่อตั้ง FlowAccount

FlowAccount เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ประกอบการขนาดเล็ก โปรแกรมของเราจะเป็นโปรแกรมออนไลน์ 100% แค่มีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ก็ใช้งานโปรแกรมได้ โดยสามารถใช้ผ่านเว็บไซต์และใช้ผ่านสมาร์ทโฟนได้ด้วยครับ ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android โปรแกรม FlowAccount จะครอบคลุมทั้งการทำบัญชี เงินเดือน การจัดการเอกสาร และงานอื่นๆ ที่ SMEs ทำหลังบ้าน เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการทำงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งโปรแกรมตัวนี้ก็ใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน 

 

SME One : แสดงว่าจุดเริ่มต้นของ FlowAccount เกิดจาก Pain Point ของเราเองใช่หรือไม่ 

กฤษฎา : ใช่ครับ ผมและเพื่อนๆ ที่ก่อตั้งมาด้วยกัน ทุกคนต่างก็เป็นผู้ประกอบการ SMEs และมองว่าโปรแกรมแบบนี้มีความสำคัญ จุดเริ่มต้นคืออยากลองพัฒนาโปรแกรมมาใช้เอง แต่หลังจากนั้นก็คิดว่าถ้าผู้ประกอบการไทยได้ใช้โปรแกรมแบบนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับเขา

 

SME One : วันที่เราเริ่มต้นพัฒนา SMEs ของไทยยังให้ความสำคัญกับเรื่องบัญชีมากน้อยเพียงใด 

กฤษฎา : เรื่อง SMEs ของไทยให้ความสำคัญกับเรื่องบัญชีน้อยเป็นอีกประเด็นหนึ่ง เพราะผมมองว่าทุกคนเมื่อเติบโตขึ้นและถึงวัยอันควร แต่ละคนก็จะมีการเรียนรู้ด้วยตัวเองและพัฒนาแต่ละด้านขึ้นมาได้ ซึ่งสำหรับคนที่ทำธุรกิจ ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มต้นเหมือนกัน คืออาจจะเริ่มต้นจากตัวคนเดียว จากนั้นบริษัทเริ่มขยาย มียอดขาย มีค่าใช้จ่าย และรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เรื่องบัญชีการเงินก็เลยสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็จะมีงานเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้ประกอบการยังต้องทำ เช่น เปิดบิลขายของ ทำรายจ่ายเบื้องต้น และสั่งซื้อสินค้า ซึ่งโปรแกรมของเราก็จะมาช่วยในส่วนนี้ แทนที่จะใช้โปรแกรม Excel หรือในสมัยก่อนใช้การเขียนด้วยมือ ก็เปลี่ยนมาใช้โปรแกรมออนไลน์ รวมทุกอย่างไว้ในที่เดียวกัน และใช้ผ่านมือถือสมาร์ทโฟนก็ได้ และถ้าเรามีหุ้นส่วนเป็นเพื่อนอีกคนนึง เขาก็สามารถเข้ามาดูข้อมูลร่วมกันได้ 

 

SME One : มองเห็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมบัญชีเป็นอย่างไร 

กฤษฎา : ผมมองว่าอุตสาหกรรมบัญชีเป็นเทรนด์ที่ค่อนข้างดี ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทุกภาคส่วนจะต้อง Work from home ทำงานที่บ้านกันทั้งหมด ซึ่งโปรแกรมของเราก็สามารถตอบโจทย์ในสถานการณ์แบบนี้ได้ ทำให้ในปัจจุบันมีคนสนใจโปรแกรม FlowAccount มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้เข้าทำงานออนไลน์ได้  ทำงานจากที่ไหนก็ได้ เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญกับเรามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การใช้โปรแกรมซูมในการประชุมออนไลน์ คนเริ่มหันมาใช้แอปพลิเคชั่นมากขึ้น และในอนาคตก็ยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีก เพราะคนส่วนใหญ่ต้องการที่จะทำงานจากที่ไหนก็ได้ 

 

SME One : ปีนี้ปีที่ 7 FlowAccount เวอร์ชั่น 1.0 กับเวอร์ชั่นปัจจุบันมีความแตกต่างกันขนาดไหน

กฤษฎา : ก็มีพัฒนาการมาเรื่อยๆ เพราะการพัฒนาซอฟต์แวร์ออนไลน์ ข้อดีคือสามารถเพิ่มฟังก์ชั่นเข้าไปได้เรื่อยๆ แล้วอัพเดทเวอร์ชั่นได้เลย ไม่เหมือนในสมัยก่อนที่จะต้องใช้การดาวน์โหลดหรือส่งแผ่นซีดีไป เรามีการพัฒนาโปรแกรมให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จากคำติชมของผู้ใช้งาน 

ตอนนี้กลุ่มผู้ใช้งานหลักของเรายังคงเป็นกลุ่ม SMEs เหมือนเดิม เพราะในองค์กรขนาดใหญ่เขามีซอฟต์แวร์ให้ใช้กันเยอะอยู่แล้ว และมีการทำงานที่ซับซ้อนมาก องค์กรใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่โปรแกรมบัญชีก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น แต่โปรแกรมของเราจะเน้นตอบโจทย์ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่แต่เดิมเขาอาจจะใช้โปรแกรมที่เป็นออฟไลน์อยู่ ถ้าเขาอยากจะใช้งานโปรแกรมของ FlowAccount ก็สามารถย้ายเข้ามาใช้งานได้เลยทันที และสามารถใช้งานออนไลน์จากที่ไหนก็ได้ 

 

SME One : ถ้าในเชิงการทำธุรกิจ FlowAccount มีคู่แข่งเยอะหรือไม่

กฤษฎา : จริงๆ ก็มี เพราะโปรแกรมบัญชีในภาพใหญ่ ก็มีทั้งที่เป็นออนไลน์และออฟไลน์ อย่างกระดาษก็ถือว่าเป็นคู่แข่งประเภทหนึ่งเหมือนกัน เพราะลูกค้าบางคนก็ยังใช้กระดาษเขียนมืออยู่ ยังไม่เปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ออนไลน์ ดังนั้นจึงมีทั้งคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อมครับ เป็นปกติ ไม่ได้ต่างจากธุรกิจอื่นๆ  

 

SME One : ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจเจออุปสรรคหรือปัญหาอะไร และแก้ปัญหาอย่างไร

กฤษฎา : ปัญหาก็ทั่วๆไป แต่เราแก้ปัญหามาแบบร่วมด้วยช่วยกัน ส่วนใหญ่ที่แก้ปัญหากันมาได้เพราะว่าเรามีทีมงานที่ดี เป็นเหมือนพี่น้องมาช่วยงานกัน และทุกคนก็ทำเต็มที่ ปัญหาทุกอย่างที่ผ่านมาพวกเราช่วยกันแก้ด้วยความตั้งใจ ถ้าใช้ความพยายามมากพอมันก็จะแก้ได้เอง

อุปสรรคแรกที่ FlowAccount เจอก็น่าจะเหมือนกับธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วไป คือ การที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมให้ออกมาดีจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนมากพอสมควร ซึ่งตอนนั้นผมและเพื่อนๆ ที่มาร่วมก่อตั้งด้วยกันก็ยังไม่ได้มีเงินทุนอะไรมากมาย พวกเราเลยแก้ปัญหาด้วยการไปเข้าร่วมประกวดธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งช่วงนั้นมีจัดค่อนข้างเยอะ เพื่อหวังจะได้มีเงินทุนมาตั้งต้น ซึ่งพวกเราก็ทำสำเร็จจริงๆ เราได้รางวัลชนะเลิศจากการประกวด Tech StartUp ในโครงการ AIS The StartUp 2015 ได้เงินรางวัลมา 1 ล้านบาท ผมมองว่าแต่ละยุคสมัยจะมีโอกาสที่แตกต่างกัน ถ้าปัจจุบันนี้ก็คงไม่มีเวทีประกวดสตาร์ทอัพให้เห็น เพราะไม่สามารถจัดงานอีเว้นท์อะไรได้เลย ถึงจะเป็นการประกวดออนไลน์ บรรยากาศก็ไม่เหมือนกัน ถือว่าเป็นโชคดีของเราที่สมัยนั้นผู้ใหญ่ให้โอกาส เราได้รับการสนับสนุนจากเวทีการประกวดต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐ จนสามารถก้าวข้ามอุปสรรคด้านเงินทุนมาได้ และสามารถต่อยอดการพัฒนาซอฟต์แวร์มาจนถึงทุกวันนี้

 

SME One : FlowAccount เพิ่งคว้าเงินลงทุน 130 ล้านบาท ช่วยเล่าที่มาให้ฟังที

กฤษฎา : ล่าสุดเราได้เงินลงทุน 4 ล้านเหรียญมาจากนักลงทุนชื่อดัง 2 เจ้า คือ Sequoia Capital India ซึ่งถือว่าเป็นนักลงทุนระดับโลกจากสหรัฐฯ อีกเจ้าก็คือ Money Forward เป็นโปรแกรมบัญชีอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ก็มีนักลงทุนรายอื่นๆ ที่เคยร่วมลงทุนอยู่ด้วยครับ ผมก็รู้สึกเป็นเกียรติมากๆ ที่ได้รับโอกาสนี้ และทำให้รู้เลยว่าสตาร์ทอัพของไทยก็มีศักยภาพไม่แพ้ต่างชาติ ถ้าเราใช้ความพยายามมากพอก็สามารถได้รับการสนับสนุนเงินทุนและปัจจัยอื่นๆ เพื่อพัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อยๆ ครับ

ถามว่าทำไมเขาเลือกลงทุนกับเรา จริงๆ ก็น่าจะมีหลายเหตุผล แต่ในภาพใหญ่ก็คือเขามองว่าในระยะยาวจะมีคนใช้ซอฟต์แวร์ลักษณะนี้มากขึ้นครับ เพราะทุกวันนี้แอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนเราก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ใช่ไหม ดังนั้นความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์อะไรก็ตามบนสมาร์ทโฟนก็ต้องเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับทุกวันนี้ทุกคนทำงานแบบ Work from home ดังนั้นเทคโนโลยีที่ทำให้คนทำงานจากที่บ้านได้สะดวกก็ยิ่งน่าสนใจ 

 

SME One : ช่วง COVID-19 ธุรกิจของ FlowAccount ได้รับผลกระทบบ้างหรือไม่

กฤษฎา : ธุรกิจของเราโชคดีครับที่ไม่ได้รับผลกระทบ ผมมองว่าในสถานการณ์แบบนี้ เรื่องของโชคมีส่วนสำคัญ ไม่ได้เกี่ยวกับว่าก่อนหน้านี้คุณจะเก่งหรือไม่เก่ง ลูกค้าของเราที่เป็น SMEs ก็ได้รับผลกระทบเยอะมากเหมือนกัน โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริการได้รับผลกระทบเยอะมาก ธุรกิจที่อยู่ได้ก็คือธุรกิจที่อยู่บนออนไลน์ ซึ่งธุรกิจของเราก็ได้อานิสงส์จากการที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ทำงานจากที่บ้าน เขาจึงต้องหาโปรแกรมหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เขาทำงานได้สะดวกรวดเร็วมากที่สุด 

อย่างที่เราทราบกันดีว่าตอนนี้ทุกคนก็ลำบากเหมือนกันหมด เราเองก็ยิ่งต้องพัฒนาซอฟแวร์ให้ดีมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยให้เขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลามากขึ้น ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของเขาให้ได้มากที่สุด 

 

SME One : FlowAccount เคยไปขอคำปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐหรือไม่

กฤษฎา : ไม่เคยขอคำปรึกษาโดยตรง มีแต่ได้รับเงินสนับสนุนจากงาน Startup Thailand สมัยก่อน และจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ตอนนั้นได้เงินสนับสนุนมาประมาณ 8 แสนบาทมาใช้สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์และทำการตลาด และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ก็สนับสนุนมาเยอะเหมือนกันช่วงก่อน COVID-19 แต่พอช่วงหลังที่ทุกคนต่างก็เดือดร้อนกันหมด เงินทุนที่ได้รับก็เป็นไปตามสถานการณ์ 

 

SME One : ทุกวันนี้สตาร์ทอัพยังเป็นเทรนด์ที่ทุกคนอยากเข้ามาเหมือนสมัยก่อน

กฤษฎา : ผมมองว่าก็ไม่ต่างจากเมื่อก่อน ถ้าคิดดูดีๆ อาจจะเข้ามาทำเยอะกว่าเมื่อก่อนด้วยซ้ำไป แต่ยุคสมัยก็มีผลทำให้ความยากง่ายในการเข้ามาทำไม่เหมือนกัน ต้องบอกว่าบริษัทของเราก็โชคดีที่เริ่มได้ถูกเวลา เริ่มต้นในช่วงที่มีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน ในปัจจุบันถ้าใครคิดว่ามีไอเดียที่ดี สนใจอยากจะทำจริงๆ มีเงินทุนพร้อม มีเวลา ผมคิดว่าก็ควรลองดูนะครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าเทคโนโลยีทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก เมื่อก่อนคนก็คิดว่า Facebook คือที่สุดแล้ว แต่ตอนนี้ก็มี TikTok มาอีก แล้วก็มีแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ออกมาตลอด ที่สำคัญทุกคนก็มี Pain Point ในชีวิตประจำวันของตัวเอง อย่างตัวผมเองเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับเอกสารหลังบ้าน พอเราเจอปัญหาตรงนี้ก็เลยคิดจะมาทำซอฟต์แวร์ที่จะมาตอบโจทย์ตรงนี้ จนในที่สุดก็กลายมาเป็นโปรแกรม FlowAccount ให้นักธุรกิจแบบผมได้ใช้งานกันในทุกวันนี้ 

แต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้สตาร์ทอัพแจ้งเกิดได้ยากขึ้น และมีเปอร์เซ็นต์สำเร็จน้อยลง อย่างที่บอกว่าของเราโชคดีที่สมัยนั้นมีเวทีประกวดแล้วก็ได้รางวัล ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทำให้ต่อยอดธุรกิจมาได้ จะต่างกับปัจจุบันนี้ แต่ผมยังมองว่าสตาร์ทอัพก็ยังมีโอกาสอยู่

 

SME One : วางเป้าหมายในอนาคตของธุรกิจไว้อย่างไร

กฤษฎา : ระบบของเรายังต้องพัฒนาอีกมาก เราก็จะพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ดียิ่งขึ้น ตรงไหนที่ยังใช้งานยาก ก็พัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้น และอะไรที่ลูกค้าขอเข้ามา แล้วเรายังไม่มี เราก็จะพยายามพัฒนาให้ตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพราะ SMEs มีประเภทธุรกิจเยอะมาก และแต่ละธุรกิจก็มีความต้องการเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน เราจึงต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการไทยให้ได้มากที่สุด 

ถามว่าทุกวันนี้อุตสาหกรรมไหนที่มาใช้งานโปรแกรม FlowAccount มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจซื้อมาขายไปและธุรกิจบริการที่ค่อนข้างเยอะ ซึ่งต้องยอมรับว่าความต้องการของแต่ละ SMEs นั้นเริ่มต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความซับซ้อนของธุรกิจ ธุรกิจยิ่งใหญ่ ยิ่งมีความซับซ้อน แต่ละธุรกิจอาจจะมีพื้นฐานที่คล้ายกัน แต่ความต้องการจะแตกต่างกัน ทุกวันนี้ FlowAccount มีฐานลูกค้าของเรามีประมาณ 50,000 ราย มีทั้งทั้งผู้ประกอบการ นักบัญชี และฟรีแลนซ์ 

ปัจจุบัน FlowAccount ได้พัฒนาเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจ SMEs มากขึ้น โดยเพิ่มโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ FlowPayroll และโปรแกรมสแกนบิลและใบเสร็จ AutoKey ให้ใช้งานได้ในแพลตฟอร์มเดียว เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ประกอบการ ในการจัดการข้อมูลและบริหารธุรกิจได้ในระบบเดียว

 

SME One : สำหรับคนที่มีไอเดียแต่ยังลังเลว่าจะเลือกทำงานประจำที่เดิมหรือออกมาเป็นสาร์ทอัพดี จะให้คำแนะนำอย่างไร

กฤษฎา : สำหรับใครก็ตามที่อยากเริ่มธุรกิจ ความจริงแล้วมันทำได้หลายรูปแบบ สามารถที่จะทำควบคู่ไปกับงานประจำที่ทำอยู่ก็ได้ เพราะมันไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว บางคนก็ออกมาเลยเพื่อที่จะเริ่มธุรกิจ หรือบางคนก็เริ่มธุรกิจควบคู่ไปกับงานที่ทำอยู่ ผมแนะนำว่าถ้าเรามีไอเดียให้เราลองทำในสเกลเล็กๆ ก่อนว่ามันมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ให้เราคิดหน่วยย่อยออกมาก่อน แล้วลองทำดู ซึ่งเป็นแนวคิดแบบเดียวกับ Minimum Viable Product (MVP) ที่จะช่วยให้เราลดความเสี่ยงไปได้เรื่อยๆ 

ตอนแรกที่เรายังเล็กอยู่ ก็ทำในสิ่งที่ทำได้ไปก่อน พอบริษัทเติบโตขึ้นถึงจะต้องตัดสินใจอะไรที่เป็นเรื่องใหญ่ๆ ดังนั้นในขณะที่เรากำลังพัฒนา เรายังไม่จำเป็นต้องตัดสินใจทันทีในบางเรื่องก็ได้ ค่อยไปตัดสินใจในเวลานั้นซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมดีกว่า อย่างที่เราจะเห็นเรื่องราวพวกนี้จากหนังสือสตาร์ทอัพที่มักจะบอกว่า การทำธุรกิจเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยายไปตามจังหวะเวลาที่เหมาะสม พร้อมกับการพัฒนาของตัวเราเอง

 

SME One : แล้วถ้าเป็นกรณีที่ออกมาทำสตาร์ทอัพแล้ว แต่สิ่งที่ทำไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง พอจะมีคำแนะนำหรือหลักคิดอะไรดีๆ ที่อยากแนะนำไหม

กฤษฎา : การทำธุรกิจต้องอาศัยระยะเวลาและประสบการณ์ บางคนทำรอบเดียวสำเร็จ บางคนทำ 3 รอบ บางคนทำ 5 รอบถึงจะสำเร็จ ผมมองว่าไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกัน เพราะคนแต่ละคนมีปัจจัยในชีวิตที่ไม่เหมือนกัน ผมอยากแนะนำให้แข่งกับตัวเอง ให้ถามตัวเองว่าเราพยายามเต็มที่แล้วหรือยัง เราดีขึ้นกว่ารอบที่แล้วไหม เพื่อที่เราจะได้มีกำลังใจในการทำงาน เพราะถ้ามัวแต่ไปถามใครว่ายากหรือง่าย ถึงไม่ใช่ธุรกิจสตาร์ทอัพ ธุรกิจทุกอย่างย่อมต้องอาศัยระยะเวลา และประสบการณ์ เงินุทน ความรู้ ด้วยกันทั้งนั้น ที่สำคัญการประสบความสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับการตั้งเป้าหมายของเราด้วยเหมือนกัน บางคนใช้เวลาไม่นานก็ประสบความสำเร็จ แต่บางคนถึงแม้จะใช้เวลานานกว่าก็ไม่เห็นเป็นไร แต่ที่สังเกตคนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ 

 

บทสรุป

ความสำเร็จของ FlowAccount มาจากการสังเกตเห็นปัญหาในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการทำบัญชี เพราะฉะนั้น โปรแกรมบัญชีของ FlowAccount จึงถูกออกแบบด้วยกฎพื้นฐานข้อแรก คือ ต้องใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน และสามารถใช้งานได้ด้วยตัวเองครับ เพราะกลุ่มเป้าหมายของ FlowAccount คือผู้ประกอบการ SMEs และฟรีแลนซ์ที่ไม่ชำนาญเรื่องบัญชี ที่สำคัญคือโปรแกรมของ FlowAccount ออกแบบมาเพื่อให้ทำงานเข้ากับระบบการวางบิลของแผนกบัญชีในประเทศไทยที่ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ จึงทำให้มีความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ

บทความแนะนำ

Bluekoff ครบเครื่องเรื่องกาแฟ

เชื่อหรือไม่ว่าร้านกาแฟที่กำลังได้รับความนิยมทั่วประเทศในตอนนี้ มีบริษัทที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ปิดทองหลังที่สำคัญรายหนึ่ง คือ Bluekoff จากการธุรกิจขายเมล็ดกาแฟเป็นอาชีพเสริมเมื่อ 21 ปีก่อน มาจนถึงวันนี้ Bluekoff ได้กลายเป็นโซลูชั่นสำหรับร้านกาแฟรายใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังความสําเร็จของร้านกาแฟมากกว่า 6,000 รายในประเทศ ความสำเร็จของ Bluekoff มาจากแรงบันดาลใจของศุภชัย ศรีวิตตาภรณ์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ Bluekoff ที่หลงใหลกลิ่นหอมของกาแฟมาเป็นทุนเดิม



SME One : Bluekoff เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ศุภชัย : เริ่มจากช่วงปี 1999 กำลังจะเรียนจบแล้วได้รู้จักกับรุ่นพี่ที่สอนดนตรีด้วยกัน ซึ่งที่บ้านเขาคุณอามีเครื่องคั่วกาแฟอยู่ที่เชียงใหม่ซึ่งได้มาจาก UN ก็เลยเกิดไอเดียขึ้นมาว่าน่าจะเอามาลองหารายได้เสริม สมัยนั้นสอนดนตรีก็ไม่ได้มีรายได้มากมาย จึงหารายได้เสริมโดยการขายเมล็ดกาแฟ ธุรกิจจริง ๆ เริ่มประมาณช่วงปี 2000 เราเริ่มต้นทำกัน 2 คน ซึ่งต่อมาก็เหลือผมคนเดียว เพราะหุ้นส่วนไม่มีเวลาก็เลยแยกย้ายกันออกมาต่างคนต่างทำ 

 

SME One : ตอนเริ่มต้นทำไมถึงเลือกที่จะลงธุรกิจค้าส่ง แทนที่จะทำร้านเอง

ศุภชัย : ผมมองว่าหลายคนอยากเปิดร้าน มีคนก็เริ่มมาสนใจกาแฟมากขึ้น แต่ว่า ณ ตอนนั้นปี 2000 ยังเป็นสมัยที่เราเห็นกาแฟตามร้านข้างทางกันอยู่ เช่น เวลาเราขับรถผ่านไปตามริมถนนก็จะเจอร้านเขียนป้าย Blue Mountain อะไรประมาณนั้น แต่ทุกวันนี้ก็แทบจะไม่มีแล้ว ตอนนั้นเรามองว่าเราไม่อยากอยู่กับที่ตลอดเวลา เราเลยเลือกธุรกิจที่เราสามารถไปไหนมาไหนก็ได้ เรียกว่าง่าย ๆ คือช่วงแรกเรามองแค่เป็นรายได้เสริมมากกว่า 

ผมทำมาจนเข้าปีที่ 3 จึงเปลี่ยนมาเป็นธุรกิจหลัก ผมว่าผมโชคดีมากกว่าที่หลาย ๆ อย่างมันค่อนข้างลงตัวพอดี ก็เลยเกิดเป็นธุรกิจขึ้นมา รวมถึงช่วงปี 2000 จนถึง 2003 ช่วงนั้นเว็บไซต์ และเว็บบอร์ดมีผลเยอะมากกับธุรกิจ เราเองก็โชคดีที่เรากระโดดเข้าไปตั้งแต่แรกสุดเลย เรามีเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมาแล้วก็เลยกลายเป็นว่าทุก ๆ คนต้องเข้ามาหาความรู้ในเว็บไซต์ของเรา

วันที่เราเริ่มธุรกิจ เรายังไม่ได้คิดด้วยซ้ำว่าจะมาไกลขนาดนี้ เรียนตามตรงจริง ๆ ผมก็เป็นเด็กดื้อคนหนึ่งที่รักอิสระ ที่ไม่อยากกลับไปทำงานที่บ้านอะไรประมาณนั้น ก็เลยแบบว่าพยายามหาอะไรที่แบบว่าไปเรื่อยเปื่อยและพอที่จะเลี้ยงชีพได้ ซึ่งกาแฟก็คือหนึ่งในนั้น

SME One : เราหาเมล็ดกาแฟมาจากไหนในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ

ศุภชัย : เริ่มต้นเลยเมล็ดกาแฟมาจากคุณอาของเพื่อน เราไม่ได้คัดเองเลย คุณอาเป็นคนจัดการให้เราทั้งหมด เรามีหน้าที่แค่ทำตลาดอย่างเดียว แต่ผ่านมาสักระยะมันเริ่มชัดเจนขึ้น หลังจากที่เพื่อนบอกว่าทำให้ต่อไปไม่ไหวก็เลยกลายเป็นว่าเราต้องมาทำเองทั้งหมด ตอนนั้นถึงได้รู้ว่าต้องมาคั่วเอง ต้องมาหาวัตถุดิบเองทั้งหมด เพราะเราลองเปลี่ยนไปใช้เจ้าอื่นก็มีปัญหาเยอะ เรื่องของวัตถุดิบไม่ค่อยได้คุณภาพ สุดท้ายเราไปเจอเกษตรกรปลูกกาแฟจนเราได้กาแฟจากแหล่งปลูก คือดอยช้าง

ปัจจุบันกาแฟของ Bluekoff ถ้าเป็นกาแฟไทยจะมาจากดอยช้าง 100% เพราะว่ามีโรงงานแปรรูปอยู่ที่ดอยช้าง เราทำเองทุกขั้นตอนจากเกษตรกร มีการทำ Contract Farming เกษตรกรประมาณ 800 ครอบครัวเพื่อจะมาส่งกาแฟให้กับเราที่โรงงานเราเป็นประจำครับ แล้วเราก็แปรรูปเองทุกขั้นตอน

ดอยช้างมีผลผลิตกาแฟเยอะ เราผลิตได้ประมาณ 800 - 1,000 ตันต่อปี ผมมองดอยช้างมีศักยภาพการผลิตอาจจะทำได้ถึง 1,500 ตันต่อปี เฉพาะดอยช้างมีพื้นที่ใหญ่มาก ๆ ดอยช้างเรียกว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย แล้วอีกอย่างหนึ่งคือด้วยชื่อเสียงที่พี่วิชา พรหมยงค์ (เสียชีวิตไปแล้ว) ได้สร้างไว้ตั้งแต่ตอนแรก คือ กาแฟดอยช้าง ก็เลยกลายเป็นว่าทุก ๆ คนได้รับอานิสงส์นี้ 

 

SME One : ช่วยเล่าพัฒนาการของธุรกิจร้านกาแฟในไทยให้ฟัง

ศุภชัย : 20 ปีที่ผ่านมาธุรกิจร้านกาแฟของไทยเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ช่วงปีแรก ๆ ปัญหาหลัก ๆ ของคนกินส่วนใหญ่ คือชอบเข้มมาก ๆ แล้วก็ต้องมีความหนัก แก้วเดียวต้องเอาอยู่ นมข้นต้องหนัก ๆ ทุกอย่างต้องเต็มที่ รสชาติต้องเข้มไว้ก่อน แล้วก็ธุรกิจร้านกาแฟสมัยแรก ๆ ร้านกาแฟจะเน้นลงทุนน้อย เราก็จะเจอซุ้มตามข้างทางเยอะ เจอร้านอีกแบบนึงซึ่งมันก้ำกึ่งอยู่ระหว่างกาแฟโบราณกับกาแฟสดในช่วงแรก ๆ  

หลังจากนั้นร้านกาแฟก็ค่อย ๆ เปลี่ยน เริ่มชัดเจนขึ้นก็ตอนที่เริ่มมีการแข่งขัน ช่วงน่าจะเป็นปี 2005 - 2006 ที่เริ่มมีการแข่งขันชงกาแฟขึ้นมา ทำให้คนก็เริ่มมีความชัดเจนขึ้นในการชง เริ่มมีการ Present ที่ชัดขึ้น รวมทั้งคนเริ่มสนใจกาแฟมากขึ้น คนหลาย ๆ คนก็อ่านเว็บไซต์ อ่านบทความเมืองนอกซึ่งฝรั่งก็เขียนไว้เยอะ ในช่วงนั้นมันก็เลยมีอะไรที่ชัดเจนขึ้น กาแฟคั่วกลาง กาแฟคั่วอ่อนก็เลยเริ่มมามีบทบาทมากขึ้นช่วงหลังปี 2010 เป็นต้นมา พอมีกาแฟคั่วอ่อนเข้ามามากขึ้นเทรนด์ก็เริ่มเปลี่ยน ร้านกาแฟที่เป็นซุ้มก็เริ่มเปลี่ยนตัวเองให้มี Position ชัดเจนขึ้น เริ่มมีการลงทุนกับร้านมากขึ้น เริ่มมีการลงทุนกับอุปกรณ์มากขึ้น เริ่มมีการเล็งทำเลเยอะขึ้น ทุกอย่างเริ่มค่อย ๆ เปลี่ยน คลื่นลูกเก่า ๆ ค่อย ๆ หายไป คลื่นลูกใหม่ ๆ ก็จะเข้ามาแทน เทรนด์ก็ค่อย ๆ เริ่มเปลี่ยน จนถึงวันนี้ก็ยังเปลี่ยนไม่หมด ยังเปลี่ยนตลอดเวลา เพราะเทรนด์ร้านกาแฟมันเปลี่ยนเร็วมาก

ร้านกาแฟ ณ ปัจจุบันตอนนี้ทุกร้านเราสังเกตว่าลงทุนเยอะมาก หลาย ๆ ร้านที่ลงทุนหนักมาก ตั้งแต่เรื่องของทำเล เรื่องรูปแบบร้าน เรื่องของ Traffic ของคนที่จะเข้า แต่ว่าหลายร้านประสบความสำเร็จรวดเร็วมาก แบบว่าปีเดียวคืนทุนเยอะมาก เพราะฉะนั้นผมเลยมองว่าปัจจุบันมันมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างผสมผสาน ไม่ใช่แค่เรื่องของรสชาติอย่างเดียว เรื่องของภาพลักษณ์ของร้าน เรื่องของความสะดวกสบายล้วนมีสำคัญ

 

SME One : ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ Bluekoff เจอปัญหาอะไรบ้างหรือไม่ แล้วแก้ปัญหาอย่างไร

ศุภชัย : ช่วงแรก ๆ เราไปได้ช้าเพราะเราไม่มีทุน แต่ผมโชคดีตรงที่เริ่มเร็ว เริ่มตรงช่วงกราฟที่มันกำลังจะวิ่งขึ้นพอดี ทุก ๆ อย่างมันต้องรอหมดเลย เช่น เครื่องก็ต้องรอนาน สมัยก่อนมันไม่ได้แบบว่าอยู่ดี ๆ สั่งเครื่องแล้วมาเลย เช่น ลูกค้าสนใจเครื่องอยากได้เครื่อง 2 หัวตัวนี้มาก ปรากฏว่าต้องรอ เราก็ต้องสั่งจากเมืองนอกใช้เวลานานเป็นต้น แล้วสมัยเริ่มต้นช่วงแรก ๆ ปัญหาหลัก ๆ คือเรื่องของคุณภาพของเมล็ดกาแฟ เนื่องจากว่าเกษตรกรเขาไม่รู้ว่าจะแปรรูปอย่างไร เพราะว่าไม่มีใครขึ้นไปสอนเขา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ คือคุณภาพกาแฟมันก็แกว่งไปแกว่งมา รวมถึงคุณภาพของการคั่วด้วย 

แล้วช่วงแรก ๆ ที่เราเริ่มต้นก็มีเรื่องความน่าเชื่อถือของแบรนด์ที่ตอนนั้นยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ อย่างช่วงที่เราไปขายช่วงแรกก็จะมีแบรนด์ Local ที่ทำมาก่อนเรา ก็เลยกลายเป็นว่าเราเป็นหน้าใหม่ ก็ต้องอาศัยการ Present ที่ต้องชัดเจนนิดนึง กว่าจะขายได้แต่ละเจ้าในช่วงแรก ๆ ก็เหนื่อยหน่อย ช่วง 3 ปีแรกจะยากนิดนึง

 

SME One : มาจนถึงปัจจุบัน Bluekoff มีฐานลูกค้าที่เป็นร้านกาแฟประมาณกี่ร้าน

ศุภชัย : ตอนนี้รวมทั้งหมดมีประมาณ 6,000 ร้าน เรามี Product Supply ทั้งหมด มีตั้งแต่กาแฟพื้นฐาน จริงๆ เราทำกาแฟเกรดดีทั้งหมด เพราะว่าทุก ๆ อันเป็นกาแฟจากดอยช้าง 100% ถ้าเป็นแบรนด์ Bluekoff ยกเว้นพวกประเภทที่จ้างผลิต OEM ทั้งหลายที่เอาไปชงเองต่อหรือเอาไปขายต่อที่อาจมีผสมตามความต้องการ กาแฟ Bluekoff เป็นกาแฟที่คุณภาพสูง แล้วเราไม่ได้ขายราคาแพง เพราะฉะนั้นผมว่าร้านระดับกลางก็จะรับได้ ไปจนถึงร้านระดับสูง ส่วนร้านที่แบบเน้นกาแฟ Specialty มาก ๆ อยากหากาแฟแปลกใหม่ก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

จริง ๆ ต้องบอกว่าแบบนี้ว่ากาแฟที่เราขายทั้งหมดจริง ๆ จัดว่าเป็น Specialty ได้หมดเลย เพราะคะแนนเกิน 85 หมดแล้ว แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของราคากาแฟไทยกับกาแฟต่างประเทศ เราขายกาแฟต่างประเทศประมาณไม่เกิน 5% เพราะราคาสูงกว่า กาแฟต่างประเทศก็จะเน้นไปทางเรื่องของการทำเป็นพิเศษ เรื่องของการทำกาแฟที่เป็น Drip แต่หลักๆ คือกาแฟเย็นซึ่งเกิน 75% ของประเทศไทย เวลาเดินเข้าไปสั่งเราก็จะเห็นว่าคนไทยยังขี้ร้อน ยังชอบสั่งกาแฟเย็นอยู่ ถึงแม้ว่าเดี๋ยวนี้จะไม่ค่อยกินกาแฟใส่นมใส่อะไรแล้ว ก็เป็นอเมริกาโน่เย็น

 

SME One : ความเข้าใจด้านเมนูเครื่องดื่มกาแฟของคนไทยพัฒนาไปถึงไหนแล้ว สมัยก่อนคนสั่งผิดกันเยอะมาก

ศุภชัย : เป็นเรื่องปกติ ผมมองว่ามันเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนตั้งแต่สมัยแรกสุดที่กาแฟเริ่มบูม แล้วก็มีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งตั้งชื่อเมนูผิด ๆ ตั้งแต่แรก จริง ๆ ก็ไม่มีใครผิด เขาใช้เอสเพรสโซ่เย็นก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ประเด็นหลัก ๆ คืออาจเกิดจากคนกลุ่ม ๆ หนึ่งตั้งขึ้นมา เช่น คาปูชิโน่เย็น เอสเปรสโซ่เย็น Blue Mountain เย็นอะไรแบบนี้ มันก็เลยกลายเป็นแบบชื่อที่หลากหลายขึ้นมา แต่พวกนี้คือแค่ช่วงแรก เดี๋ยวนี้มันก็ไม่ค่อยเจอแล้ว

คราวนี้ผมแบ่งกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องของการชงกาแฟกับคนที่ไม่สนใจในเรื่องของกาแฟ ที่กินอย่างเดียว เพราะฉะนั้นคนที่กินอย่างเดียวเนี่ยก็ยังคง Concept เดิมอยู่ ก็คือยังมีชื่อเฉพาะ แต่คนที่เริ่มกินกาแฟ เริ่มมาแบบหัดดริปเองก็จะเริ่มศึกษามากขึ้น คนพวกนี้ก็จะแบบเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนวิถีไป ที่สังงเกตคือช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตลาดกาแฟเปลี่ยนเร็วแบบเร็วฟ้าผ่ามาก ๆ ใครตามไม่ทัน ใครตกเทรนด์ไปหมดเลย 

จุดเปลี่ยนที่ชัดเจนจริง ๆ ก็คือสมาคมกาแฟพิเศษไทยได้เข้าไปสนับสนุนเกษตรกรจริงจัง เข้าไปสอน เข้าไปคุย แล้วพอสัญญาณโทรศัพท์กระจายไปถึง เกษตรกรเริ่มเล่นทุกอย่างเป็น เริ่มศึกษาเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตเลยกลายเป็นว่าตั้งแต่ต้นน้ำถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว อย่างกาแฟปีหลังๆ ก็เริ่มมีสายพันธุ์เกอิชา พวกนี้มันทำให้ตั้งแต่ต้นทางเปลี่ยน เทรนด์เปลี่ยนเร็วตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ทุกอย่างเปลี่ยนหมด 

แล้วหลาย ๆ คนเริ่มสนใจอาชีพกาแฟมากขึ้น เพราะว่าตั้งแต่ 10 ปีที่แล้วแล้ว ใครไม่มีอะไรทำก็เปิดร้านกาแฟ เรียนจบมาใหม่ ๆ อยากทำอะไรเป็นของตัวเองก็ลองเปิดร้านกาแฟ มันก็เลยกลายเป็นจุดสนใจของคนทั่วไปในประเทศไทย สิ่งสำคัญที่สำคัญจริง ๆ คือกาแฟมันกินแล้วมันติด มันเลิกไม่ได้ เพราะฉะนั้น มันก็เลยกลายเป็นว่าทุกคนกินกาแฟที่ดีขึ้น วันที่เรากินได้กินกาแฟอร่อยแล้ว เราจะไม่อยากกลับไปกินของที่เรากินอันเดิมอีก

 

SME One : ช่วง COVID-19 ระบาด Bluekoff ได้รับผลกระทบหรือไม่ แล้วแก้ปัญหาอย่างไร

ศุภชัย : กระทบหนักมากในช่วงแรก ด้วยความที่เราโฟกัสว่าเราเป็น Supply หลังบ้านมาตลอด เราไม่เคยคิดว่าจะไปลง Retail แล้วเราก็ Supply กับเจ้าใหญ่ ๆ เจ้าดัง ๆ ทั้งหลาย คั่วให้ทีละเยอะ ๆ หลาย ๆ เจ้า พอร้านใหญ่ได้รับผลกระทบ COVID-19 ยอดเราก็ตกวูบทันที

เราก็ปรับตัวทันทีเช่นเดียวกัน โดยต้องไปลง Retail มากขึ้น จะสังเกตว่าช่วงหลัง Bluekoff เองก็จะเปลี่ยนแนวมากพอสมควร หลังจากผลกระทบ COVID-19 รอบที่ผ่านมา ตั้งแต่เวฟที่ 2 ก็เราก็ปรับตัวเต็มสตรีม ในเรื่องของการลง Retail แต่ก่อนแบบถุงนึงก็ไม่ได้ขายเท่าไหร่ เดี๋ยวนี้ก็คือต้องขายหมด เราขายผ่าน Facebook ของเราเอง ขายผ่าน Shopee, Lazada แบบ B2C เพราะพอมีการล็อกดาวน์ตัวเลขที่ลดจากฝั่งฝั่งหนึ่งก็ไปงอกอีกฝั่งนึง คือไปโตฝั่งผู้บริโภค End User แทน แต่ที่ขายดีจริง ๆ จะเป็นอุปกรณ์ หลาย ๆ ร้านที่ขายอุปกรณ์จุก ๆ จิก ๆ พวก Dripper กาดริป หรืออะไรพวกจิปาถะพวกนี้จะขายดีมาก แล้วก็เมล็ดกาแฟที่เป็นถุง ๆ เมล็ดกาแฟแปลก ๆ ทั้งหลายก็จะขายดีเช่นกัน

เราเองก็ต้องปรับตัวพอสมควร เช่นพอเราเห็นเทรนด์นี้ เราก็ทำซองดริปขึ้นมา สั่งนำเข้าเครื่องดริป ซองดริปจากเมืองนอกมา แล้วก็พวกกินกาแฟที่บ้านก็จะสั่งพวกซองดริปเยอะมาก สั่งทีเป็น 10 กล่องไปใช้ที่บ้าน ไปดริปกินที่บ้าน 

 

SME One : Step ต่อไปของ Bluekoff คือเข้าไปใน CLMV (Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam) ใช่หรือไม่

ศุภชัย : ใช่ครับ แต่ผมเน้น L เป็น C ครับ M ยังไม่กล้าไป แล้วก็ V ก็มีแพลนอยู่ ถ้าถามผมกัมพูชาวัฒนธรรมต่างจะงง ๆ นิดนึง แต่ถ้าเกิดว่าเป็นเวียงจันทน์จะคล้ายกัน แนวโน้มของเวียงจันทน์ คาเฟ่เราดีมาก แต่ว่าพวก Supply ของต่าง ๆ พวกเครื่องต่าง ๆ ยังไม่ดี เพราะด้วยความที่เขาไม่ได้เป็นเมืองใหญ่มาก ทั้งประเทศเขามีแค่ 6 ล้านคน ส่วนกัมพูชาก็จะมีเทรนด์แบบแปลก ๆ แต่ก็เปิดรับเร็ว เพียงแต่ว่าตลาดกัมพูชา เวียดนามและจีนจะเข้ามาแรงกว่า เพราะฉะนั้นมันก็เลยกลายเป็นว่าถูกบีบทั้ง 2 ฝั่ง แล้วก็เหมือนกับตัวเลือกเยอะขึ้น ก็จะเกิดการตัดราคากันตลอดเวลา ซ้ายที ขวาทีตลอด เพราะเขาอยู่ตรงกลาง

SME One : คิดว่าอะไรคือ Key Success ของ Bluekoff

ศุภชัย : Key Success จริง ๆ เราเน้นเรื่องคุณภาพมาตลอด Vision เราชัดเจนมากว่าเราต้องเสิร์ฟของที่ดีสุดหรือทำของที่ดีสุดออกไปทุก ๆ วันเท่าที่เราทำได้ เมล็ดกาแฟที่เราทำ ถามว่าทำไมต้องกระเสือกกระสนขึ้นไปหาที่บนดอยช้าง ทำไมต้องกระเสือกกระสน Process งานเองทุกอย่าง ก็เพราะว่าเราต้องการคุณภาพดีจริง

ยุคหนึ่งเราเคยเจอปัญหาเกษตรกรบางคนที่รับออร์เดอร์เราไว้ แล้วก็ไปรับของคนอื่นซ้อน พอของไม่พอก็ใช้วิธีไปรวมของจากที่อื่นมา เอากาแฟจากเชียงใหม่มาส่งเชียงรายเกิดการขนกาแฟจากที่อื่นขึ้นดอยช้าง ก็เลยทำให้ควบคุมคุณภาพไม่ได้ เราก็เลยต้องตัดสินใจว่าสุดท้ายเราคงต้องทำเอง

 

SME One : อยากจะให้คุณศุภชัยช่วยให้คำแนะนำกับ SME หรือเกษตรกรจะให้คำแนะนำอะไร

ศุภชัย : จริง ๆ ผมมองว่าก็ต้องเรื่องคุณภาพเป็นหลักสำหรับเกษตรกร ณ ตอนนี้เกษตรกรทุกคนเริ่มรู้ เริ่มเรียนรู้แล้วว่าคุณภาพที่ดีเป็นอย่างไร แล้วเขาก็เริ่มทำให้ชัดเจนแล้ว แต่เพียงแต่ว่าอย่าเพิ่งมองกว้าง เพราะว่าตลาดกาแฟมันกว้างใหญ่ อย่าเพิ่งมองกว้าง ให้โฟกัสเป็นจุด ๆ ก่อน สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ คืออยากให้โฟกัสเรื่องของคุณภาพในการแปรรูปให้ชัดเจนมาก ๆ ก่อน ปัจจุบันนี้มีลูกค้ามากมายที่ยอมซื้อในราคาที่แพงกว่า เพื่อที่จะเอากาแฟคุณภาพของคุณไปใช้ต่อ

ส่วนฝั่งผู้ประกอบการหลัก ๆ เลยผมมองว่าต้องตามเทรนด์โลกให้ทัน เทรนด์กาแฟเปลี่ยนเร็วมาก เทรนด์ประเทศไทยก็เปลี่ยนเร็วมาก เทรนด์โลกก็เปลี่ยนเร็วมาก เพราะฉะนั้นต้องพยายามศึกษาให้เยอะขึ้น ดูให้มากขึ้นครับ เพราะเทรนด์เปลี่ยนทุกวัน เช่นวิธีการชง หรือว่ากาแฟที่เลือกใช้ต่าง ๆ ช่วงนี้อะไรขายดี อย่างช่วงนี้จะมีกาแฟบางส่วนที่เรียกว่ากาแฟปรับกลิ่นขายดีก็จะมีบางคนทำตลาดตรงนั้น หรือว่าเป็นในเรื่องดริปที่ขายดีขึ้น อีกคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการก็คือ ทีมสำคัญมาก ทีมงาน พนักงานของเรา ถ้าเกิดว่าเขาชัดเจนพอ เราต้อง Give More ไม่งั้นเราจะเสียเขาไป

สุดท้ายผมมองว่าไม่ต้องกำไรเยอะทุก ๆ อย่าง เราต้องมีจุดดึงและจุดผลัก ไม่จำเป็นที่จะต้องมองว่าทุกอย่างจะต้องกำไรเกินเท่านี้เปอร์เซ็นต์ เกิน 100 เปอร์เซ็นต์ในทุก ๆ จุด ในความเป็นจริงคือมีจุดผลักจุดดึงดีกว่า จะทำให้ลูกค้าเข้าร้านคุณได้ง่ายกว่า 

 

บทสรุป

Bluekoff ถือเป็นบริษัทซัพพลายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกาแฟแบบครบวงจรที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพราะธุรกิจร้านกาแฟนอกจากเรื่องของรสชาติแล้ว ยังมีเรื่องของรสนิยมในการดื่มเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นตลาดกาแฟจึงปรับเปลี่ยนเร็วตามพฤติกรรมของผู้บริโภค การปรับตัวตลอดเวลาทำให้ Bluekoff สามารถอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ยุคกาแฟรถเข็นริมทางที่เน้นขายกาแฟรสชาตเข้มข้น มาจนถึงยุคร้านกาแฟ Specialty Coffee ที่ใช้เงินลงทุนเป็นสิบล้านบาท เน้นจำหน่ายกาแฟที่หายาก ซึ่ง Bluekoff ก็มีสินค้าคุณภาพรองรับในทุกความต้องการ

บทความแนะนำ

สานสาด เพิ่มมูลค่าจากศาตร์งานสาน

สานสาด เป็นแบรนด์สินค้าหัตถกรรมร่วมสมัยที่เกิดจากความตั้งใจของ คุณกุ๊กไก่-มนัสนันท์ ทวีวรสุวรรณ และคุณเป็ด-วิศรุต ทวีวรสุวรรณ ที่อยากจะอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนมุสลิมเล็กๆ ในจังหวัดตรังเอาไว้ จุดเด่นของสานสาดอยู่ที่การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น คือศาสตร์การจักสานเสื่อเตยปะหนันมาประยุกต์เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่คนทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ในทุกโอกาส ไม่ต้องรอให้ถึงวันสำคัญๆ เหมือนที่เป็นมาในอดีต

SME One : สานสาดเกิดขึ้นมาได้อย่างไร 

มนัสนันท์ : จุดเริ่มต้นเกิดจากเรามีความชอบในงานคราฟท์หรืองานสาน แล้วคิดว่างานสานน่าจะเป็นตัวแทนในการนำเสนอความเป็นไทยได้ในแบบเราชอบมากกว่างานทอผ้า แล้วปกติเราชอบดูงานตามชุมชนต่างๆ อยู่แล้ว มันเหมือนเราได้เที่ยวและได้เรียนรู้วิถีชีวิตของอีกโลกหนึ่ง เพราะปกติเราก็อยู่แต่กรุงเทพฯ แต่ด้วยหัตถกรรมอันนี้มันอยู่ที่บ้านแม่ที่จังหวัดตรังพอดี พอมีโอกาสได้กลับไปดูก็เริ่มรู้สึกว่ามีความผูกพันและเราหลงรักที่นั่น และเราเคยใช้งานของเตยปะหนันก็ประทับใจอยู่แล้ว แล้วยิ่งเข้าไป Research ยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากทำอะไรบางอย่างขึ้นมา จุดเริ่มต้นจริงๆ ก็คือมาจากความอยากรู้อยากเห็นและความชอบล้วนๆ 

ช่วงที่เราสนใจจริงจังก็เป็นจังหวะที่เพิ่งออกจากงานประจำพอดี ก็เลยมีเวลาให้กับการลงพื้นที่ เข้าไปคลุกคลีพูดคุยแลกเปลี่ยนทำความรู้จักกับชุมชน และค่อยๆ เข้าไปเรียนรู้ Know How ต่างๆ มากขึ้น ถ้ามองงานหัตถกรรมของไทย ชุมชนจะมีของดีของเขาอยู่แล้ว แต่จะขาดการพัฒนาในเรื่องของการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มากกว่า แล้วเราไปอยู่ตรงนั้นอย่างที่บอกว่ามันเกิดความชอบและความผูกพันที่อยากจะทำ เราอยากช่วยซัพพอร์ตในช่องโหว่ของงานครีเอทีฟก็เลยเกิดเป็นแบรนด์สานสาดขึ้นมา

วิศรุต : ส่วนตัวผมทำงานเป็นฟรีแลนซ์ด้าน Industrial Design (การออกแบบเชิงอุตสาหกรรม) วันที่ตัดสินใจเปลี่ยนความชอบเป็นธุรกิจ ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าเรายังไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตัวเองจริงๆ มันก็เลยทำให้เราลงลึกแล้วอยากทำให้มันออกมาดี แล้วการที่เราเข้าไปในชุมชน เราก็ไม่ได้อยากแค่ซื้อของหรืออุดหนุนเขาแล้วก็มาขายแล้วมันแปลว่าได้ช่วยเหลือแล้ว เราอยากสนับสนุนและพัฒนาเพื่อให้เขากับเราโตไปพร้อมๆ กัน

SME One : ชื่อสานสาดมาจากอะไร 

มนัสนันท์ : สานสาด มี 2 ความหมาย ความหมายแรกคือ สาดแปลว่าเสื่อภาษาใต้ ที่จริงงานนี้เป็นงานที่ Traditional ที่ผูกกับวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ของกลุ่มชุมชนอยู่แล้ว ต้องขอเล่าก่อนว่าปกติแล้วเขาจะสานเสื่อทิ้งเอาไว้ สำหรับใช้ในพิธีกรรมศาสนาต่างๆ และเป็น Household Products ไม่ว่าจะเป็นงานศพ งานแต่ง ผู้หญิงจะเตรียมสานเสื่อเอาไว้ เราก็เลยอยากให้เครดิตและให้เราได้ระลึกถึงว่าที่มาที่ไปของงานที่เราทำมีรากเหง้ามาจากอะไร ส่วน สาด อีกความหมายหนึ่ง ก็คือศาสตร์ของการสาน เพราะด้วยความที่ตัวเรา 2 คนชื่นชอบในงานหัตถกรรมที่เป็นจักสานอยู่แล้ว เราก็เลยตั้งว่ามันคือศาสตร์ของการจักสาน

 

SME One : สินค้าของสานสาดมีจุดเด่นคืออะไร 

วิศรุต : จุดเด่น คือเรื่องวัสดุ จริงๆ มันแทบจะเป็นจุดเริ่มต้นของเราเลยด้วยซ้ำ ว่าการที่เราเจอวัสดุธรรมชาติอย่างเตยปะหนันหรือเตยทะเล มันให้ความรู้สึกที่ไม่เหมือนกับงานสานชนิดอื่น ปกติเราจะรู้จักหวาย กระจูด ไม้ไผ่ ผักตบชวา อะไรประมาณนี้ แต่ว่าเตยปะหนันมันยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้างมาก แล้วที่สำคัญเตยปะหนันมีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างออกไป คือมีสัมผัสที่นุ่มมือ ไม่อยาบกร้าน มีน้ำหนักเบา ผิวมันเงาสวยงาม และไม่เป็นเชื้อรา คือมีคุณสมบัติหลายอย่างที่โดดเด่น และแตกต่างจากวัสดุจักสานชนิดอื่น แล้วมองจากไกลๆ ก็จะดูรู้ว่าอันนี้คือเตยปะหนัน 

มนัสนันท์ : เตยปะหนันเป็นพืชเฉพาะถิ่น ถ้ายึดตามภูมิศาสตร์ก็จะอยู่ตามริมทะเล ป่าโกงกางอะไร อยู่ทางโซนภาคใต้บริเวณที่เป็นน้ำกร่อย นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่ผูกกับวัฒนธรรมของมุสลิมก็เลยได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซียด้วย  ถ้าดูประชากรที่เกี่ยวข้องกับเตยปะหนันอาจจะมีมาก แต่คนที่เอาเตยปะหนันมาทำเป็นภูมิปัญญาจริงๆ มีน้อย เนื่องจากวิธีการทำค่อนข้างยากกว่างานจักสานทั่วไปที่เป็นวัสดุอื่นๆ การเตรียมเส้นต้องใช้เวลา 4 วันถึง 1 อาทิตย์ก็เลยทำให้คนทำยิ่งน้อยลงไปอีก ดังนั้นคนที่ทำอยู่ของเราก็เลยเป็นคนที่ใจรักจริงๆ และอยากที่จะอนุรักษ์ให้มันยังคงอยู่

ถ้าย้อนกลับไปค่าเฉลี่ยอายุของคนทำจะอยู่ที่ประมาณ 60 ปี ถือว่าค่อนข้างมีอายุ ตรงนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เรามองเห็นว่ามันกำลังจะหมดไป เรารู้สึกไม่อยากให้มันหายไปก็เลยค่อยๆ สร้างทีมกลุ่มสานขึ้นมา เพื่อให้มีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำ ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มมีคนอายุ 30-40 ปีเข้ามาทำแล้ว

 

SME One : กลุ่มคนสูงอายุมีปัญหากับการทำลายที่ทันสมัย หรืองานยากๆ บ้างหรือไม่

มนัสนันท์ : ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่จะชอบสานสีแรงๆ สีบานเย็น สีแดง เป็นหลัก แต่ด้วยความที่ว่าเราค่อนข้างคลุกคลีกับเขา ก็เลยค่อยๆ พูดเหตุผลให้เขาฟังว่าการทำสีอื่นก็เป็นตัวเลือกให้กับลูกค้า แต่เรื่องของสีสันที่เราวางกราฟิกใหม่แพทเทิร์นใหม่ เราค่อนข้างโชคดีที่ว่ากลุ่มที่เราทำด้วย เขาเข้าใจและร่วมทำร่วมทดลองไปกับเรา เหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนไอเดียกัน ถามว่ามีปัญหาไหม ก็แค่ช่วงแรกๆ ไม่ได้เยอะมาก

ต้องให้เครดิตกลุ่มที่ทำเป็นสินค้า OTOP มาก่อน เพราะมีการพัฒนาสินค้ามาในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะว่าทำการตลาดไม่เป็น ไม่รู้จะขายยังไงด้วย ที่จริงสินค้าของชาวบ้านก็สวยมากอยู่แล้วในสายตาของเรา และนอกจากเสื่อก็มีทำเป็นพวกกระเป๋าอยู่แล้ว เพียงแต่วัสดุที่นำมาประกอบเป็นของราคาค่อนข้างถูก ทำให้ไม่สามารถขายราคาแพงได้ ถ้าเรามอง OTOP ทุกวันนี้คือผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะโดนกดราคา เพราะว่าคนไทยไม่ได้เห็นคุณค่าของงานหัตถกรรม ทั้งๆ ที่เราเป็นประเทศที่มีงานหัตถกรรม 70-80% 

 

SME One : โดยปกติชาวบ้านทำงานสานเป็นงานอดิเรก งานเสริม หรือทำเป็นงานประจำ

มนัสนันท์ : คนที่ทำเป็นงานประจำจะมีแค่คนเดียว ชื่อพี่จันทร์เพ็ญ เป็นผู้นำของการทำงานหัตถกรรมเตยปะหนัน ส่วนคนอื่นก็จะเป็นงานเสริม ตรงนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่เราเข้าไป ตอนแรกเราก็แปลกใจว่าทำไมมีคนทำน้อย เพราะมันเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ได้ในสายตาเรา เพราะเรามองว่ามันมีมูลค่า แต่ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าเขาโดนกดราคา เขาก็เลยรู้สึกว่าเขาเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า ถ้าเขาไปทำประมงหรือไปกรีดยางอาจจะได้ราคามากกว่า แล้วงานสานเตยปะหนันมันก็ใช้เวลามากกว่า 

วันที่เราตัดสินใจเข้าไปคุยกับชาวบ้านว่าจะทำเป็นธุรกิจ จะเข้ามาพลิกฟื้นงานจักสานท้องถิ่น ตอนนั้นพี่จันทร์เพ็ญที่เป็นผู้นำเขาก็รู้สึกเบื่อหน่ายว่าทำไมเขาพยายามจะทำแต่มันอยู่ที่เดิม จึงเหมือนเราไปช่วยเชียร์มากกว่า พอเราตัดสินใจว่าจะสร้างแบรนด์ ชาวบ้านก็ช่วยซัพพอร์ตเพราะเขาก็อยากให้งานนี้มันไปได้ไกล และรู้ว่าตัวเขาเองไม่มีศักยภาพที่จะขายให้ราคาแพงกว่านี้ได้ หรือทำให้กลุ่มของเขามีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้ เหมือนเขาก็คิดว่ากลุ่มเขาเป็นชาวบ้านธรรมดาอะไรแบบนี้ค่ะ ขายได้ก็แค่งาน OTOP หรือเป็นงานสำเพ็งซื้อเป็นโหลๆ แล้วราคาก็ต้องถูกกดให้ถูกลง ตอนที่เราไปคุยเขาก็ยินดี ทุกวันนี้พี่จันทร์เพ็ญก็เป็นโครงสร้างหลักของสานสาด

 

SME One : ปัญหาในการทำธุรกิจช่วงแรกๆคืออะไร

มนัสนันท์ : สานสาดทำมาได้ประมาณ 3 ปีกว่า ปัญหาตอนแรก คือลายของเราคนสานได้มีพี่จันทร์เพ็ญทำคนเดียว แต่ปัจจุบันมี 8 คน ซึ่งมันก็เยอะสำหรับเรา เพราะว่างานของเราค่อนข้างสานยาก จะยากกว่างานสานที่เราเห็นทั่วไปในงาน OTOP ประมาณ 3-4 เท่า และถ้าเป็นคนอายุเยอะก็จะสานลายนี้ไม่ได้ เพราะมันเป็นลายที่ค่อนข้างซับซ้อนส่วนมากก็จะเป็นคนอายุประมาณ 30-40 ปีที่ทำลายนี้ให้เรา

ทุกวันนี้คนที่มาทำงานเป็นคนในตำบลท้องถิ่นเลย เหมือนเราโชคดีที่ได้มือสานมาอีกคนนึง เขาเห็นความตั้งใจของแบรนด์ ไม่อยากให้มันหมดไป แล้วเขาก็อยากทำงานสานตรงนี้ เราก็เลยได้คนเพิ่มขึ้นมา อย่างช่วง COVID-19 ปีที่แล้วเป็นช่วงที่พีคมาก พี่จันทร์เพ็ญก็ไม่มีงานเลย OTOP ก็โดนยกเลิก แต่เขาอยู่ได้เพราะเขาได้งานจากเรา 

ทุกวันนี้งานของสานสาดเราใช้วิธีการให้ชาวบ้านเตรียมวัตถุดิบให้เรา แล้วเราก็เอามาขึ้นงานต่ออีกที เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่างานที่เราทำเป็นงานอะไร เป็นงานโปรเจคลูกค้า หรือถ้าเป็นงานกระเป๋า ถ้าเป็นงานโปรดักส์ที่ไม่ใช่งานโปรเจคลูกค้า เราก็จะให้เขาสานขึ้นมา แล้วเราซื้อมาไปประกอบเอง เหมือนพยายามกระจายออกไปหลายๆ ที่ ว่าใครถนัดอะไร

SME One : กลุ่มลูกค้าของสานสาดเป็นคนไทยกี่เปอร์เซนต์ ต่างชาติกี่เปอร์เซ็นต์ 

วิศรุต : คนไทยประมาณ 80% ต่างชาติ 20% มีสินค้ากลุ่มส่งออกเราเริ่มทำสินค้าเมื่อปีที่แล้ว มีต่างชาติหลายคนติดต่อเข้ามา แต่พอเจอ COVID-19 ทุกอย่างก็ชะลอ ตอนนี้ประเทศไทยก็สถานการณ์รุนแรงกว่าต่างประเทศ เรามีลูกค้าคนเกาหลีเอาไปขายที่เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ก็เป็น Online Shop มากกว่า ยังไม่ถึงกับส่งออกไป และที่ผ่านมาก็จะมีลูกค้าที่สั่งผ่านเว็บไซต์ 

 

SME One : ช่วง COVID-19 ระบาดหนักๆ สานสาดได้รับผลกระทบหรือไม่

มนัสนันท์ : เราขายดีขึ้น เป็นเพราะเราค่อนข้างเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ค่อนข้างเร็ว มันเป็นช่วงที่ช่างสานไม่มีงานจากที่อื่น แล้วช่างหนังก็ตกงานกัน โรงงานไม่ให้งาน แล้วด้วยความที่เราชอบสังเกตพฤติกรรมของคน และขี้เบื่อด้วย เราก็เลยออกแบบสินค้าใหม่ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมของคนก็เลยขายได้เรื่อยๆ เลย งานโปรเจคหรืองาน B2B ก็มีเข้ามาเรื่อยๆ

ในส่วนของงานโปรเจคจะเป็นงานลักษณะแบบงาน Custom พิเศษ แล้วก็จะมีในส่วนของ Interior ด้วย ส่วนของคอลเลคชั่นใหม่ที่ทำกับแบรนด์อื่นก็มีอยู่ในกระบวนการผลิต แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ปล่อยออกมา 

 

SME One : ช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจ มีไปขอคำปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐบ้างหรือไม่ 

มนัสนันท์ : ปีที่แล้วเราสมัครเข้าไปในกิจกรรมของกรมต่างๆ แต่ที่ Effective มากๆ ที่เราต้องขอบคุณก็คือกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ในโครงการ Idea Lab #3 by DITP ที่จัดโดย ผอ.ประอรนุช ประนุช โดยผอ.ประอรนุช เป็นคนเลือกแบรนด์เข้าไปจาก 100-200 แบรนด์ ก็มีแค่ 10 กว่าแบรนด์ที่เข้ารอบไป โครงการนี้ทำให้เรามองเห็นความจริงแล้วก็ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เหมือนเป็นกระจกสะท้อนให้เราว่าเราเดินมาเป็นอย่างไร โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา คืออาจารย์ทรงพล เนรกัณฐี และ คุณดุษฎี บุญชัยศรี

นอกจากนี้เราเคยส่งงานเข้าประกวดกับ TCDC ตั้งแต่เรายังเป็นแค่งานแพทเทิร์นกราฟิกใหม่ของงานสาน ที่เราเห็นว่าในท้องตลาดยังไม่มีใครทำ เราก็เลยลองส่งเข้าประกวดจนได้ไปโชว์เคส

 

SME One : วางแผนจะต่อยอดธุรกิจอย่างไร   

วิศรุต : ในส่วนของไลฟ์สไตล์โปรดักส์เราก็ยังทำ โดยยึดหลักมองหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อตอบโจทย์ ส่วนงานที่ Scale Up ขึ้นไปอย่างของแต่งบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ เป็นแนวทางที่กำลังทำการบ้านกันอยู่  

มนัสนันท์ : แต่โดยพื้นฐานงานของสานสาดก็จะเป็นการสังเกตพฤติกรรมของคน เพื่อให้ตอบโจทย์กับลูกค้าของเราให้ได้ ที่ทำงานของเรามีแค่ 2 คน เป็นแอดมินกันเองผลัดกันตอบ กุ๊กไก่ก็จะชอบถามลูกค้า ลูกค้าก็จะแนะนำว่าทำแบบนี้ไหม ทุกอย่างเราจะเก็บเป็นฐานข้อมูลหมด เราจะได้รู้ว่าตอนนี้ทุกคนมองไปในทิศทางไหน ลูกค้าเราต้องการอะไร เน้นการปรับตัวให้เข้ากับโลกปัจจุบันที่มันเปลี่ยนแปลงไปเร็ว 

 

SME One : สานสาดอุตสาหกรรมระดับชุมชน ถ้ามีแบรนด์ใหญ่มาทำงานด้วย สามารถ Scale Up ได้หรือไม่

มนัสนันท์ : ต้องดูระยะเวลาว่าเหมาะสมกับงานคราฟต์หรือไม่ แล้วเราสามารถทำเสร็จทันไหม อย่างที่สองคือการออกแบบก็อาจจะไม่ต้องเป็นเตยปะหนัน 100% เราสามารถใช้วัสดุอื่นทดแทนด้วยก็ได้ เราคิดว่าจุดเด่นของแบรนด์เราตอนนี้คือการปรับตัวที่ค่อนข้างเก่ง แล้วเรามีช่างฝีมือทั้งงานหนัง งานกล่องไม้ งานสลัก และงานสานค่อนข้างเร็ว ถามว่าเป็นไปได้ไหม ก็เป็นไปได้ อยู่ที่ลูกค้าว่าจะโอเคกับงานออกแบบใหม่ของเราไหม 

SME One : จากที่เล่ามาเหมือนว่างานของสานสาดไม่ใช่มีแค่งานสานอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบหลายอย่างกว่าจะเป็นสินค้า 1 ชิ้น

มนัสนันท์ : ด้วยความที่ตอนแรกเราโฟกัสว่าต้องเป็นเตยปะหนันอย่างเดียว แล้วคุณสมบัติของเตยปะหนันมันก็มีทั้งจุดเด่นและจุดอ่อน เราก็เลยต้องหาจุดอื่นมาปิด และเราพยายามเปิดกว้างกับวัสดุอื่นด้วย เรารู้สึกว่าเราสนุกกับการได้เล่นกับวัสดุอื่นๆ เรามองว่ามันคืองานครีเอทีฟชิ้นหนึ่งที่เราออกแบบออกไปมากกว่า อย่างงานหนังตอนแรกเราก็ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับงานหนังเลย เราก็ให้ช่างเย็บหนังสอนว่างานแต่ละพาร์ทคืออะไร เพราะถ้าเราเลือกวัสดุเอง เราก็จะได้เจาะลึกเอง ไส้ในทุกอย่างเราจะรู้หมดเลยว่าเขาใส่อะไรให้เรา เราจะได้ไม่โดนหลอก ทุกคนก็ Win-Win

 

SME One : เร็วๆ นี้จะมีสินค้าอะไรออกมาใหม่

มนัสนันท์ : จะมีกระเป๋าที่กำลังจะเปิดพรีออเดอร์ ด้วยความที่เราอยากให้ลูกค้าได้เห็นคุณค่าของงาน เราก็เลยให้ช่างของเราใช้เวลากับงานมากที่สุดเพื่อให้งานออกมาเรียบร้อย เราก็จะมีทำเป็นเซตแต่ละเซตออกมา เดี๋ยวจะมีกระเป๋ารุ่นใหม่ออกมาที่เราคิดว่าน่าจะเข้ากับยุคสมัยนี้ และตอนนี้ก็มีงานที่ทำให้ Case ที่ต้องไปแข่งที่ฝรั่งเศส แล้วก็มีงานที่ทำร่วมกับแบรนด์อื่นอีกที่จะต้องรอดูโควิดว่าจะยังไงต่อในปลายปี ถ้าไม่ได้ก็อาจจะปีหน้า 

อย่างที่บอกว่าเราค่อนข้างทำเป็นงานไลฟ์สไตล์ เราจะยึดพฤติกรรมของลูกค้าเป็นหลัก ดังนั้นสินค้าเราจึงออกแบบให้คนสามารถใช้ได้ทุกวัน ตัวอย่างงานที่ออกมาแล้วขายค่อนข้างดีที่ชื่อว่า SUNSIA เป็น Cards Holder ที่ผสมกับแอลกอฮอล์สเปรย์ ตัวนั้นเราเห็นลูกค้าแท็กมาและส่งรูปให้ดูค่อนข้างเยอะ เพราะมันเป็น Everyday Use ไปแล้วที่ทุกคนต้องใช้แอลกอฮอล์และใช้การสแกนจ่าย และพกบัตรเครดิต ใบขับขี่อะไรแบบนี้ ที่เราได้รับ Feedback ก็คือเห็นว่าลูกค้าใช้ 

 

SME One : คิดว่า Key Success ของสานสาดคืออะไร

วิศรุต : ด้วยความที่เราไม่ได้เป็นองค์กรใหญ่ ดังนั้นการที่เรามองเห็นความต้องการ ปรับตัว และตอบโจทย์ลูกค้าและผู้บริโภคผ่านการสังเกต ศึกษา หรือการพูดคุยกับลูกค้ามาเป็นข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คิดว่าจุดนี้ทำให้เรามาได้ถึงขนาดนี้ เราไม่ได้สักแต่ทำของที่ตอบโจทย์แค่ตัวเราเองแล้วออกมาขายในเชิงศิลปะขนาดนั้น 

มนัสนันท์ : เสริมในแง่ของราคา ถ้าเรามองงานสานในระดับแบรนด์ที่ออกแบบหรือแบรนด์บนๆ เราจะตั้ง Position ตัวเองไม่ให้แพงไป ราคาสมเหตุสมผล เพื่อให้คนเข้าถึงได้มากกว่า เหมือนเราอยากให้คนไทยเข้าถึงงานคราฟต์ของเรามากขึ้น เรากล้าพูดว่าอันนี้คือของคนไทย แล้วเวลาถือก็ดูโมเดิร์นเหมาะกับยุคสมัย ของเราจะขายดีแบบบอกต่อกันปากต่อปากค่อนข้างเยอะ และกลับมาซื้อซ้ำค่อนข้างเยอะ เพื่อให้เป็นของขวัญคนอื่นก็เยอะ

 

SME One : อยากจะจะให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการ SMEs ที่อาจจะอยากทำงานหัตถกรรมแบบสานสาดอย่างไร

วิศรุต : ถ้าอยากจะทำงานหัตถกรรมแล้วต้องทำร่วมกับชุมชน เราก็ต้องให้ความมั่นใจและความเชื่อใจกับเขาว่าเราไม่ได้จะเอางานของเขาไปเป็นของเรา สุดท้ายแล้วมันต้องอยู่ในภาวะที่พึ่งพิงและพึ่งพาอาศัยกันทั้ง 2 ฝ่าย เราก็วางเอาไว้ว่าจะต้องโตไปกับชุมชนที่เราทำด้วยไม่มากก็น้อย 

มนัสนันท์ : ทุกครั้งเวลาให้สัมภาษณ์ เราก็จะพูดถึงจุดนี้ เรามองถึงคนข้างหลังเราว่าจะต้องโตไปกับเรา ลูกหลานช่างสานของเราก็ต้องมีการศึกษาที่ดี ได้เรียนหนังสือ เรามองตรงนี้ค่อนข้างเยอะ เพราะถ้าความเป็นอยู่ของเขาไม่ดี เขาก็หมดกำลังใจในการพัฒนางานของเขาร่วมกับเราเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นมุมมองเชิงธุรกิจหรือการสร้างแบรนด์ ก่อนที่คุณจะสร้างแบรนด์หรือทำอะไร การ Research ข้อมูลสำคัญมาก เพราะถ้าคุณทำโปรดักส์ออกมาแต่ไม่รู้จะขายใคร มันก็ขายไม่ได้ ดังนั้นการ Research การคุยกับลูกค้า การปรับตัว เป็นจุดหลักๆ ในวิกฤตตอนนี้เลย ที่เราต้องทำผลิตภัณฑ์ออกมาให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค 

 

บทสรุป

ความสำเร็จของสานสาดมาจากความตั้งใจที่จะสืบสานงานหัตถกรรมดั้งเดิมของชุมชน โดยร่วมมือกับผู้นำชุมชนพิสูจน์ให้ชาวบ้านที่เคยเป็นช่างสานมีความภาคภูมิใจในงานจักสานท้องถิ่นและกลับมาเห็นคุณค่าผ่านงานดีไซน์ และการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประโยชน์การใช้งานด้านอื่นๆ นอกจากเสื่อ ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างดีไซน์และการใช้งานทำให้สานสาดสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอย่างชัดเจน

 

บทความแนะนำ

SHOPLINE Platform ช่วยสร้างธุรกิจออนไลน์แบบครบวงจร

ปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นที่ผู้ประกอบการ SMEs ไทยกำลังเผชิญอยู่ ผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การค้าขายในช่องทางเดิมๆ ประสบปัญหามากมาย ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากได้เปลี่ยนช่องทางการทำธุรกิจ โดยผันตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์กันมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ตลาด E-Commerce เติบโตมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

ภายใต้ความคาดหวังว่า จะประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่กลับมีปัญหาการขาดความเชี่ยวชาญในการทำตลาดออนไลน์ ขาดทรัพยากร และเวลาในเรื่องการบริหารจัดการ จึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่ผู้ประกอบการไทยต้องมีผู้ช่วยเข้ามาให้การสนับสนุน และจัดการกับ Pain Point ที่มีอยู่ และวันนี้เรื่องของการบริหารจัดการธุรกิจออนไลน์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยเพราะวันนี้มี Solution Platform มาช่วยตอบโจทย์ความต้องการให้กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ไทย 

วันนี้เราขอกล่าวถึง แพลตฟอร์มการจัดการร้านค้าออนไลน์ในชื่อของ SHOPLINE เป็นผู้ให้บริการด้านระบบจัดร้านค้าบน E-Commerce และ Social Commerce แบบครบวงจรจากประเทศฮ่องกง ได้แก่ ระบบการจัดการออเดอร์ การจัดการสต็อกสินค้า ระบบการชำระเงิน และการทำ CRM รวมถึงการเป็นผู้ช่วยในการสร้างเว็บไซด์ของร้านค้าที่สามารถทำได้เพียงไม่กี่นาที พร้อมมีระบบเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นการทำธุรกิจ E-Commerce หรือสร้างร้านค้าบนออนไลน์ได้อย่างง่ายดายภายใต้งบประมาณ และทรัพยากรอันจำกัด 

ที่ผ่านมา SHOPLINE มีส่วนสนับสนุนการเติบโตของผู้ประกอบการ SME มากกว่า 250,000 รายทั่วโลก และมีการเข้าถึงลูกค้ามากกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก จากการเปิดให้บริการใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย เวียดนาม จีน สิงคโปร์ และไทย

ชนนันท์ ปัญจทรัพย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย SHOPLINE ประเทศไทย กล่าวว่า SHOPLINE เป็นแพลตฟอร์มการจัดการร้านค้าออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ ตอบโจทย์การใช้งานของธุรกิจทุกขนาด ด้วยขั้นตอนการใช้บริการที่ง่าย และสะดวกรวดเร็ว เปรียบเสมือนการให้บริการแพลตฟอร์ม DIY สำหรับร้านค้าและธุรกิจออนไลน์ทุกประเภท ซึ่งร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ แต่สามารถสร้างและจัดการร้านค้าออนไลน์ของตัวเองได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ขณะเดียวกัน SHOPLINE ยังมีทีมงานที่ปรึกษาด้านอีคอมเมิร์ซคอยให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในการเปิดร้านค้าออนไลน์อย่างต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทย SHOPLINE เปิดให้บริการเมื่อช่วงปลายปี 2563 โดยวางเป้าหมายในการทำหน้าที่เพื่อให้การสนับสนุนบริษัทที่เป็นสตาร์ทอัพ ไมโครสตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการ SMEs ให้ประสบความสำเร็จในการธุรกิจบนโลกออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจออนไลน์มีหลายรูปแบบ และผู้ประกอบการก็มีการขายอยู่ในหลายแพลตฟอร์ม ซึ่ง SHOPLINE มองว่า แพลตฟอร์มที่สามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการออนไลน์ได้ดีที่สุดมี 2 แพลตฟอร์ม คือ 

E-Commerce Website ในรูปแบบ DIY สำหรับการทำ Direct to Consumer ผ่านการสร้างเว็บไซต์ของแบรนด์ เพื่อทำให้แบรนด์สามารถอัตลักษณ์ และตัวตนที่ชัดเจนของแบรนด์ได้ อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่แบรนด์สามารถคุยกับลูกค้าของตัวเองได้โดยตรง รวมถึงการเก็บข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์เพื่อนำไปต่อยอดในเรื่องการทำการตลาดต่อได้ 

Social Commerce มีความเหมาะสมกับผู้บริโภคในแถบเอเชียที่นิยมใช้โซเชียลมีเดีย เช่น Facebook โดย SHOPLINE จะช่วยทำให้การใช้แพลตฟอร์มนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ Social Commerce Solution เพื่อช่วยบริหารจัดการในเรื่องงานหลังบ้าน เช่น การตอบคำถามที่เกิดขึ้นในหลากหลายช่องทาง หรือการบริหารจัดการหลังการ Livestream จบลง เช่น การจัดการกับคอมเมนท์ การสั่งซื้อ การจ่ายเงิน เป็นต้น

จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งของ SHOPLINE คือ การกำหนดอัตราค่าบริการในระดับที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดย SHOPLINE เปิดให้บริการร้านค้าออนไลน์ และธุรกิจในประเทศไทยด้วยบริการ 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. E-Commerce Solution สำหรับร้านค้า และธุรกิจที่เน้นการทำตลาดผ่านเว็บไซต์ ด้วยระบบจัดการหลังบ้านที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานสะดวก มีอัตราค่าบริการ 599 บาทต่อเดือน และ 4,999 บาทต่อปี 
  2. Social Commerce Solution สำหรับร้านค้า และธุรกิจที่ต้องการขายผ่าน Social Platform มีอัตราค่าบริการ 599 บาทต่อเดือน และ 4,999 บาทต่อปี 
  3. All-in-One สำหรับร้านค้า และธุรกิจที่ต้องการทำตลาดผ่านเว็บไซต์ และ Social Platform ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำตลาดจากการเชื่อมโยงการทำงานของ 2 แพลตฟอร์ม ด้วยอัตราค่าบริการ 1,199 บาทต่อเดือน และ 7,999 บาทต่อปี 

“เรานำโซลูชั่นที่เรียกว่า Social Commerce จะเข้ามาช่วยจัดการกับ Pain Point จากคำถามเดิมๆ ที่เกิดขึ้นใน หลายๆ ช่องทาง ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Message Center โดยทุกข้อความไม่ว่าจาก LINE, Facebook หรือจากเว็บไซต์ จะถูกรวมเข้ามาอยู่ในหนึ่งช่องทาง ทำให้เราสามารถจัดการกับออเดอร์ได้ ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่สามารถซัพพอร์ตการทำงานของ SMEs ได้ดี ซึ่งปัจจุบันอาจมีโซลูชั่นที่คล้ายกับเราอยู่บ้าง แต่ยังไม่มีใครที่เป็น One Stop Service ได้เท่ากับ SHOPLINE”

SHOPLINE มี Live Commerce ที่มาช่วยขายสินค้าผ่านไลฟ์สดได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก และเป็นวิธีการที่ร้านค้าให้ความนิยมกันมากโดยใช้สมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว รวมถึงบริการ Conversational Commerce ที่มีตัวช่วยสำหรับร้านค้าออนไลน์ที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ใน 7 วัน จึงสามารถเพิ่มยอดขาย และเปลี่ยนผู้เข้าชมให้กลายเป็นลูกค้าตัวจริง และทำให้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของการขาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ LINE ด้วยเครื่องมือทั้งในรูปแบบ Livestream, Chatbot และ Message Center 

นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์ที่โดดเด่น และใช้งานได้อย่างหลากหลาย อาทิ การจัดการร้านค้าและสินค้าคงคลัง รายงานผลแบบเรียลไทม์ การเชื่อมต่อการชำระเงินและการจัดส่ง ภาษาและสกุลเงินที่หลากหลาย การบริการลูกค้าสัมพันธ์และเครื่องมือทางการตลาด แผนกบริหารความสำเร็จของลูกค้า บริการช่วยเหลือด้านการโฆษณาออนไลน์ และชุมชน SHOPLINE เป็นต้น โดย SHOPLINE เปิดให้ทดลองใช้งานฟรี 14 วัน พร้อมทีมงานที่ปรึกษาด้าน E-Commerce คอยให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือในการเปิดร้านค้าออนไลน์

ชนนันท์ กล่าวเสริมว่า ท่ามกลางสถานการณ์ของตลาดออนไลน์ที่กำลังขยายตัว SHOPLINE คาดหวังว่า จะมีส่วนผลักดัน และสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับผู้ประกอบการในกลุ่ม SME ไทยได้เติบโตขึ้นอย่างแท้จริง โดยตั้งเป้าหมายจนถึงสิ้นปีนี้จะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 3,000 ราย 

“จุดแข็งของ SHOPLINE คือ การเป็น End to End Service พร้อมการให้ความรู้ คำแนะนำ หรือให้ข้อมูล เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเกิดการเติบโต โดยก่อนหน้านี้จะเน้นการจัดสัมมนาเพื่ออบรมกลุ่มลูกค้า หรือผู้ที่สนใจเพื่อแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ในด้านต่างๆ แต่ด้วยสถานการณ์ของโควิด-19 ในช่วงนี้จึงได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการสัมมนาแบบ Webinar เพื่อซัพพอร์ตกลุ่มลูกค้าของเราให้สามารถทำธุรกิจ และเติบโตต่อไปได้แบบไม่สะดุด”

นอกเหนือจากการนำเสนอการบริการแบบครบวงจร SHOPLINE ยังมีจุดเด่นในเรื่องของการออกแบบโซลูชั่นที่พัฒนามาเพื่อผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ ทั้งแบบ E-Commerce และ Social Commerce ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของธุรกิจทุกขนาดที่ต้องการเปิดร้านค้าออนไลน์ ด้วยการใช้งานได้ที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายตลาดบนโลกออนไลน์ได้กว้างมากขึ้น นำไปสู่โอกาสในการสร้างยอดขายที่เติบโตขึ้นในที่สุด

ปัจจุบัน SHOPLINE มีกลุ่มลูกค้าที่ค่อนข้างหลากหลายทั้งในกลุ่ม SMEs และธุรกิจที่เป็นแบรนด์ใหญ่ๆ เนื่องจากตัวระบบสามารถซัพพอร์ตในเรื่อง Customer Relation Management ให้กับธุรกิจได้ดี ซึ่งสัดส่วนของกลุ่มลูกค้าในปัจจุบันประมาณ 70% เป็นกลุ่ม SMEs โดยสินค้าหลักมากกว่า 50% เป็นสินค้ากลุ่มแฟชั่นเสื้อผ้า รองลงมาเป็นสินค้าแม่และเด็ก 20% ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 30% จะเป็นกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ อาหาร และนูทริชั่น เป็นต้น

Hello Sunshine เป็นตัวอย่างของธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งเป็นแบรนด์เสื้อผ้าเด็กของคุณแม่ลูกสองที่เป็นอดีตพนักงานประจำ และไม่ค่อยมีเวลาว่าง แต่สามารถสร้างความสำเร็จด้านยอดขายที่เพิ่มขึ้น 30 – 40% จากการเข้ามาใช้ E-Commerce Platform ด้วยการอสร้างเว็บไซต์ที่มีเอกลักษณ์ จนสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคุณแม่ลูกอ่อนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

Glassaholic เป็นธุรกิจร้านแว่นตาแบรนด์เนมที่มีหน้าร้านอยู่ในห้างสรรพสินค้า แต่เมื่อมีการล็อกดาวน์จึงต้องเปลี่ยนมาทำตลาดออนไลน์ และได้จ้างโปรดักต์ชั่นเฮ้าส์ให้พัฒนาเว็บไซต์ในงบประมาณ 2 ล้านบาท แต่ก็ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์บนอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเชื่อมต่อกันได้ จึงได้เปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์ม Direct to Consumer ของ SHOPLINE ในอัตราค่าบริการ 7,999 บาทต่อปี ควบคู่ไปกับการให้บริการไปตรวจวัดสายตาถึงบ้านลูกค้า หลังจากทำตลาดได้ประมาณ 2 เดือน ก็ประสบความสำเร็จกับยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเข้ามาเปิดตลาดของ SHOPLINE จึงเหมือนเป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับ SMEs ไทย สามารถเติบโตบนช่องทางออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับเทรนด์ของ Social Commerce ที่กำลังมา อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับ SMEs ไทยที่ยังขาดความเข้าใจในการทำตลาดออนไลน์ที่ค่อนข้างมีรายละเอียดทั้งในเรื่องการดีลกับโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม และการดีลกับบริษัทขนส่ง เพื่อให้ได้อัตราค่าบริการที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และประหยัดต้นทุนการจัดการ รวมถึงการสนับสนุนในเรื่องของระบบ Payment จากพันธมิตรระดับโลก

  “เราเป็น One Stop Service ที่ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเดินเข้ามาหาได้ โดยเริ่มต้นจากการทำเว็บไซต์ E-Commerce หรือ Social Commerce ไปจนถึงการทำ Membership Management เรามั่นใจว่า จะมีส่วนผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ตลาด E-Commerce ที่ยังเติบโตได้อีกมาก และสร้างความพร้อมในการขยายตลาดไปสู่ภูมิภาคอาเซียน และตลาดโลกต่อไปในอนาคต” ชนนันท์ กล่าว

บทความแนะนำ