ผลผลิตที่ได้จากอุตสาหกรรมเกษตรนั้น ถ้าหากนำมาวางขาย อาจจะทำราคาได้ไม่สูงนัก เพราะในฤดูกาลเดียวกัน ช่วงเวลาเดียว ก็มีหลายพันหลายหมื่นเกษตรกรจากทั่วประเทศนำผลผลิตออกมาจำหน่าย เมื่อสินค้าไม่แตกต่างกัน ผู้บริโภคก็จะทำการเลือกจากราคา เกิดเป็นปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ เพราะมีสินค้าล้นตลาดมากเกินความต้องการ เหล่าเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่มีสินค้าเกษตร จึงควรมองหาช่องทางสร้างโอกาสใหม่ ๆ จากผลผลิตการเกษตรให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่าง และสร้างจุดสนใจให้กับผู้บริโภค
ต่อยอดให้เต็มคุณค่า ด้วยเทคโนโลยีการแปรรูป
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จึงมีความต้องการที่จะเข้ามาทำหน้าที่ช่วยพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการสินค้าเกษตร และเป็นแหล่งความรู้ ให้เห็นช่องทางการตลาด โดยมุ่งเน้นไปในด้านการสร้างโอกาสใหม่ให้ผลผลิตทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากจะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่โดดเด่นสามารถเรียกความสนใจให้ตลาด ยังเป็นการช่วยเก็บรักษาผลผลิตให้สามารถวางจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการให้มีเข้ามาอย่างสม่ำเสมออีกทางหนึ่งด้วย
ตัวอย่างเช่น หากผู้ประกอบการมีผลผลิตเป็นทุเรียน ถ้านำไปวางจำหน่ายเป็นผล ก็อาจจะสร้างรายได้ได้เพียง 100 - 180 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคาขึ้นลงผันแปรไปตามฤดูกาล และความต้องการของตลาด ถ้าสินค้าล้นตลาดมากราคาก็ตกต่ำลง และเมื่อหมดฤดูกาลก็ไม่มีผลผลิตที่จะนำมาสร้างรายได้ต่อ แต่ถ้าลองคิดต่อยอดให้มากกว่าการขายเป็นผลไม้สด โดยน้ำเนื้อทุเรียนมาผ่านกระบวนการแปรรูปต่าง ๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ ก็สามารถสร้างเป็นโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดได้อย่างหลากหลาย เช่น ทำเป็นไอศกรีมได้, ไปทำครีมทาขนมปังได้, หรือนำไปทำเป็นขนมขบเคี้ยวได้ ช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ต่อกิโลกรัม สร้างจุดจดจำให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภค แถมยังทำให้มีสินค้าให้จำหน่ายไปได้ตลอดทั้งปี
พัฒนาผู้ประกอบการ อย่างมีแบบแผน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 วางแผนงานในการพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ โดยประกอบไปด้วย 4 กลุ่มงานหลัก ได้แก่
กลุ่มงานที่ 1 คือ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนภูมิภาค มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ความต้องการของผู้ประกอบการภายในพื้นที่ ตั้งแต่ระดับวิสาหกิจชุมชน, ผู้ประกอบการ SME ในทุกภาคส่วน ซึ่งในกลุ่มยุทธศาสตร์นี้ จะทำการวางแผนงานตามโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการที่เข้ามารับคำปรึกษา แล้วจัดทำเป็นโครงการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการนั้นต่อไป
กลุ่มงานที่ 2 คือ กลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นกลุ่มที่ดูแลภาคธุรกิจ SME ทั้งหมด มีหน้าที่ช่วยเหลือในการให้คำแนะนำส่งเสริมภาคการผลิต เพื่อหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนให้กับกระบวนการผลิต โดยมีโครงการปรึกษาแนะนำเชิงลึกให้หลากหลายโครงการ รวมถึงมีการจัดตั้งทีมที่จะลงพื้นที่เข้าไปวิเคราะห์ความต้องการของแต่ละโรงงานจนประสบความสำเร็จ
กลุ่มงานที่ 3 คือ กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นกลุ่มที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องบุคลากรทั้งหมดผ่านกระบวนการจัดทำหลักสูตรต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, หลักสูตรกลไกสร้างสรรค์ออนไลน์สำหรับการค้าระบบออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งหลักสูรทั้งหมดนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น มีเพียงโครงการ คพอ. เท่านั้น ที่มีการอบรมถึง 21 วัน ที่จะมีการเสียค่าใช้จ่าย
กลุ่มงานที่ 4 คือ กลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ดูแลธุรกิจฐานรากโดยตรงตอบสนองภาคการผลิตที่มีวัตถุดิบมาก จึงต้องมีการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ เป็นการสร้างโอกาสให้เกิด SME ใหม่ ๆ นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานให้เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น
เป้าหมายของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จึงเป็นการมุ่งเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ที่มีการนำผลผลิตจากในท้องที่ มาพัฒนาต่อยอดในกระบวนการผลิตให้เกิดการแปรรูป ให้เป็นช่องทางและโอกาสในการสร้างมูลค่าให้มากขึ้น จากที่เดิมอยู่โดยทั่วไปในกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ จนเกิดเป็นผลสนองตอบให้ทั้งด้านผลู้ประกอบการ SME และ วิสาหกิจชุมชน ได้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แบรนด์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตให้ถูกต้องมีมาตรฐานที่สูงขึ้น
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10
131 หมู่ที่ 10 ถนนเทพรัตนกวี ตาบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-200-395
E-mail: ipc10@dip.go.th
https://ipc10.dip.go.th/th
Facebook: ipc10
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
เป็นที่เข้าใจกันดีว่าอุตสาหกรรมการเกษตรคือรากฐานของสังคมไทยมาเป็นเวลานานมีการส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันแต่ในทางกลับกันผู้ที่ทำอาชีพ “เกษตรกร” กลับเป็นคนกลุ่มท้ายๆที่ได้รับการเหลียวแลจากสังคมแอปพลิเคชัน “เก้าไร่” จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ Pain Point ให้กับคนกลุ่มนี้ด้วยการใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อช่วยยกระดับการใช้ชีวิตพร้อมทั้งเพิ่มผลผลิตได้อย่างยั่งยืน
ธิติพงศ์ ศิริวัฒน์ ซีเอ็มโอ บริษัท เก้าไร่ บิซิเนสโซลูชั่นส์ จำกัด เล่าถึงที่มาของการรวมตัวเพื่อก่อตั้งบริษัทที่เกิดจากกรอบความคิดเดียวกันคือต้องการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการแก้ไข Pain Point หลักของเกษตรกรไทยซึ่งมี3ข้อด้วยกัน คือ
“หลักการทำงานของแอปพลิเคชั่นเก้าไร่ คือทำหน้าที่เป็นSmart Matching ระหว่างเกษตรกรและนักบินโดรนเพื่อให้บริการโดรนสำหรับฉีดพ่นปุ๋ยให้กับพืชพรรณทางการเกษตรรวมไปถึงการเก็บประวัติข้อมูลการฉีดพ่นที่เรียกว่า Farm Profile ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้มีผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้นเพราะว่ามีการใช้สารฉีดพ่นในพื้นที่ที่แม่นยำมากขึ้นนำไปสู่ต้นทุนที่ต่ำลงและมีผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพียงแค่เปลี่ยนจากรูปแบบเดิมที่ใช้คนในการเดินฉีดพ่นมาเป็นการใช้โดรนซึ่งพบว่าปริมาณสารลดลงอย่างเห็นได้ชัดประมาณ3-4เท่าเป็นอย่างน้อยแล้วเกษตรกรก็ยังมีเวลาเหลือไปทำเกษตรส่วนอื่นได้ด้วย”
ธิติพงศ์บอกว่ารูปแบบการให้บริการมีไอเดียจากแอปพลิเคชั่นเรียกรถที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้โดยสารและคนขับซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ปรับจากผู้โดยสารมาเป็นเกษตรกรและคนขับมาเป็นนักบินโดรนแทนพร้อมทั้งออกแบบวิธีการใช้งานแอปพลิเคชั่นให้ง่ายดายเพียงแค่ 3 ขั้นตอนคือ
จากนั้นก็รอนักบินกดรับงานเมื่อกดรับงานแล้วก็จะมาดำเนินการตามวันเวลาที่ได้ตกลงกันไว้โดยปัจจุบันเก้าไร่มีเกษตรกรที่อยู่ในระบบ 120 คนและมีงานที่เกิดขึ้นมากกว่า 400 งานมีนักบินในระบบประมาณ 30 คนและจากพันธมิตรอีก 7 บริษัทประมาณ 550 คน ซึ่งเมื่อเกษตรกรทำการจองนักบินโดรนจะมีการเก็บข้อมูล Data base ทุกครั้งว่าใช้บริการฉีดพ่นไปแล้วกี่ครั้งใช้สารอะไรจำนวนกี่ไร่โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆกับเกษตรกรเลย
ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับนักบินโดรนทั่วประเทศได้รับงานฟรีแลนซ์ซึ่งเก้าไร่เปิดโอกาสให้เจ้าของโดรนที่จดทะเบียนถูกต้องสามารถรับงานผ่านแอปพลิเคชันได้ในแพ็กเกจที่หลากหลายเริ่มตั้งแต่จำนวนไม่กี่ไร่ไปจนถึงหลายร้อยไร่โดยมีราคาต่อไร่เริ่มต้นเพียง 70 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำยาประเภทและที่ตั้งของฟาร์ม
“ตอนนี้เกษตรกรยุคใหม่หรือ Smart Farmer ให้ความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูลค่อนข้างมากเพราะฉะนั้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราที่เป็นเกษตรกรก็จะเป็น Young Smart Farmer ไม่ได้จำกัดว่าอายุเท่าไหร่แต่เป็นคนที่พร้อมเปิดใจและเรียนรู้สิ่งใหม่ไปพร้อมๆกัน” ธิติพงศ์กล่าว
แอปพลิเคชั่นเก้าไร่เปิดให้บริการครั้งแรกในปี2562ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรผ่านการออกบู๊ทจัดกิจกรรมนอกสถานที่รวมถึงสร้างประสบการณ์แก่เกษตรกรด้วยการทดสอบการบินโดรนพ่นยาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการเปิดใจรับเทคโนโลยีเพื่อมายกระดับคุณภาพชีวิตและผลผลิตให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
จนกระทั่งเกิดสถานการณ์ COVID-19 ในปี 2563 ทำให้เก้าไร่ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่จากการจัดบูธเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับเหล่าเกษตรกรมาใช้ Social Marketing ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแทนด้วยการสื่อสารและให้ความรู้เพื่อกำจัดความคิดที่ว่านวัตกรรมกับเทคโนโลยีเป็นของแพงและเข้าถึงได้ยากมาเป็นสิ่งที่ราคาจับต้องได้และเข้าถึงได้ง่ายพร้อมทั้งเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าการใช้โดรนบินพ่นยาใช้เวลาน้อยกว่าการใช้คนเดินฉีดพ่นรวมทั้งให้ผลผลิตที่มากกว่า
“นอกจากการทำSocial Marketing แล้วเรายังได้เข้าร่วมกับโครงการต่างๆเช่น ‘โครงการนวัตกรรมแห่งชาติ’ที่จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของผู้ประกอบการรวมทั้งสนับสนุนเงินทุนในการต่อยอดธุรกิจและช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆของNIA โดยเก้าไร่ได้เป็น1ใน15สตาร์ทอัพด้านการเกษตรอันดับต้นๆของประเทศไทยที่มีเทคโนโลยีพร้อมใช้งานจึงทำให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเกษตรกรมากขึ้น”
ธิติพงศ์ เผยว่าเป้าหมายในอนาคตของเก้าไร่ไม่ได้หยุดแค่เพียงการเป็นแอปพลิเคชั่นบินโดรนเพื่อการเกษตรเท่านั้นแต่จะเป็นแพลทฟอร์มที่เกษตรกรทุกคนใช้เพื่อบริหารจัดการฟาร์ม หรือ Corp Management ซึ่งเป็นการบริหารจัดการแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำตั้งแต่วางแผนการเพาะปลูกที่แม่นยำรวมถึ ง Drone Management ทั้งโดรนการเกษตรและโดรนสำรวจแล้วก็เป็น Market Place สำหรับสินค้าเกษตรให้บริการด้านไฟแนนซ์และการใช้ประโยชน์จาก Big Data เพื่อเป็น One Stop Service ให้กับเกษตรกรทั้งรายใหญ่และรายย่อย
สำหรับเกษตรกที่สนใจจ้างนักบินโดรน ไปที่ https://gaorai.io/main/farmer มี 3 ขั้นตอนคือ
ส่วนนักบินโดรนที่ต้องการหางาน ไปสร้างประวัติได้ที่ https://gaorai.io/main/pilot
ทั้งนี้ค่าบริการระหว่างเกษตรกรและนักบินโดรนจะเริ่มต้นที่ราคาไร่ละ 70 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำยาประเภทและที่ตั้งของฟาร์ม
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 – ร่วมมือกันผลักดันธุรกิจให้เติบโต
การแข่งขันในโลกธุรกิจนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในภาพรวมของเศรษฐกิจระดับประเทศหรือจะเป็นเศรษฐกิจระดับโลกก็ตาม ถ้าหากผู้ประกอบการนั้นไม่รู้จักที่จะเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ความเข้าใจในช่องทางการตลาดใหม่ ๆ หรือไม่สามารถปรับตัวให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิตรวมถึงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ทันโลกทันสมัย ย่อมไม่สามารถสร้างความเข้มแข็ง และไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งขันให้อยู่รอดในตลาดโลกนี้ได้
.
เสริมขีดความสามารถผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง
ในยุคปัจจุบันแค่มีแนวคิดไอเดียสำหรับสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นอาจยังไม่เพียงพอ ต้องรู้จักการเพิ่มเติมความรู้ทั้งในด้านของการหาช่องทางการตลาดที่นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยเชื่อมต่อกิจการให้ไปถึงมือผู้บริโภคได้ รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีประยุกต์ใช้สร้างกระบวนการผลิตให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยขยายขีดความสามารถให้กับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ทั้งในด้านการแปรรูปให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคทั้งในระดับประเทศและในระดับตลาดการค้าสากล
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 จึงได้มีการเข้ามาช่วยกำหนดภารกิจที่จะเสริมสร้าง ประคับประคอง และผลักดันผู้ประกอบการ SME ภายในพื้นที่ 4 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ อำนาจเจริญ ผ่านนโยบายต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้เพิ่มศักยภาพการผลิตจนสามารถสร้างธุรกิจที่จะมีความเข้มแข็งขึ้นได้
ทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 นั้น มีความพร้อมที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการในทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ประกอบการที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์จากอะไร ไปจนถึงผู้ประกอบการที่เริ่มดำเนินกิจการไปแล้วแต่มองหาช่องทางโอกาสที่จะอยู่รอดหรือไปต่ออย่างไรได้ ให้ผ่านสภาวะปัญหาวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามามีผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อก้าวไปสู่อนาคตได้อย่างมั่นคง
จึงมีบริการที่ตอบโจทย์กับผู้ประกอบการ ดังนี้
บริการให้คำปรึกษา จุดเริ่มต้นหลักที่ทางศูนย์ต้องการมุ่งเน้นเสริมสร้างให้กับผู้ประกอบการทุกภาคส่วนก็คือ เรื่องการสร้างมาตรฐานในการทำธุรกิจ สิ่งนี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งในการเปิดโอกาสเข้าสู่ช่องทางการตลาดที่มากขึ้น การจะสร้างธุรกิจให้มีมาตรฐานได้ ต้องอาศัยประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ให้มีคุณภาพ รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนให้ลดน้อยลง ทำการตลาดให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างเป็นผลกำไรที่สูงขึ้น
การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ เพราะการรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน จะช่วยให้ทุกธุรกิจเกิดความเข้มแข็งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในส่วนของศูนย์อุตสาหกรรม และในส่วนของผู้ประกอบการ ซึ่งได้มีการรวมกลุ่มอยู่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายธรรมดา หรือว่าจะเป็นการรวมกลุ่มทางด้านอุตสาหกรรมที่มีทั้งผู้ผลิตต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เข้ามารวมกัน ทั้งนี้ได้มีการจัดโปรแกรมที่ช่วยดูแลสนับสนุน มีเครือข่ายเป็นทีมที่ปรึกษา ที่พร้อมไปให้บริการในสถานประกอบการทั้งในเรื่องการดำเนินกิจการ หรือจะเป็นเรื่องปัญหาอุปสรรค ตามโจทย์ความต้องการที่เกิดขึ้น
การพัฒนาผู้ประกอบการ ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานร่วมต่าง ๆ ในการเอาผลงานวิจัย หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาผู้ประกอบการในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ การพัฒนาทางด้านคุณภาพวัตถุดิบ ไปจนถึงปัจจัยการผลิตต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญในการใช้นวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ในกระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในโลกธุรกิจสมัยใหม่มากขึ้น สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำสินค้าออกสู่ตลาดที่กว้างใหญ่ได้มากขึ้นและไปได้ไกลขึ้น
.
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 มีความพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่มคิด ให้มาคิดร่วมกัน ทำร่วมกัน พัฒนาร่วมกัน จนสุดท้ายไปถึงผลสำเร็จด้วยกัน โดยมีความมุ่งหวังที่จะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการ ปรับให้ได้ เปลี่ยนให้ไว แล้วก็ไปให้เร็ว มองเห็นอนาคตว่าทิศทางเศรษฐกิจ ทิศทางทางการทำธุรกิจ จะปรับ จะเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ และนำพาธุรกิจให้ก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง อยู่รอดในทุกสถานการณ์
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
เลขที่ 222 หมู่ 24 ถนนคลังอาวุธ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทร. 045314216
E-mail: ipc7@dip.go.th
Website : https://ipc7.dip.go.th
Facebook: dip.ipc7
Youtube: DIProm Station
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
หากพูดถึง “Upcycling” ในเมืองไทยคงพูดได้ว่าเป็นเรื่องที่ต่อยอดมาจากการ “Recycle” ซึ่งในช่วงสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีความพยายามในการสร้างการตระหนักรู้เรื่องของการนำขยะมาเปลี่ยนให้เป็นทอง หรือให้คนมองเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่ใช้แล้วเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยจากการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยจนทรัพยากรเริ่มหมดไป ปัญหาขยะล้นโลก นำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบต่อโลกและมนุษย์
รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่ผลักดันเรื่องของ Upcycling ในเมืองไทยให้เดินทางมาไกลจากจุดเริ่มต้น พูดถึงภาพรวมของ Upcycling ไว้น่าสนใจว่า
“ภาพรวมของธุรกิจ Upcycling ในตอนนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากปัจจัยหนึ่งมาจากการที่ภาครัฐเริ่มให้การสนับสนุนจนกลายเป็นแนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งหมายถึง Bio-Circular-Green ที่รัฐบาลกำหนดเป็นโมเดลเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นวาระแห่งชาติ ทำให้มีคนเข้ามาในบริบทนี้ มีเด็กรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการใหม่ๆเข้ามามากขึ้น องค์กรใหญ่เริ่มหันมาสนใจและดำเนินการกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง สร้างให้เกิด Upcycling Initiative เพิ่ม ซึ่งผมมองว่าการที่ธุรกิจนี้จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆนโยบายของภาครัฐรวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นสิ่งที่สำคัญมาก”
ศูนย์ RISC ถือเป็นหนึ่งหน่วยงานวิจัยของบริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC ที่ช่วยผลักดันแนวคิดให้เกิดการผสานการใช้วัสดุ Upcycle โดยมีการจับมือกับพันธมิตร Upcycling ในการนำวัสดุที่ใช้แล้วไปพัฒนาเป็นองค์ประกอบอาคารส่วนต่างๆ ให้กับโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งภายในอาคารจนถึงภายนอกอาคาร ตั้งแต่ผนัง หลังคา วัสดุปิดผิว เฟอร์นิเจอร์ ถนน ทางเดินเท้า และส่วนตกแต่งพื้นที่สีเขียวของโครงการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย “เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน” หรือ Circular Economy การนำผลิตภัณฑ์และวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำเพื่อทำให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง ตามพันธกิจของ MQDC ที่ว่า ‘for all well-being’ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของทุกสรรพสิ่งบนโลก
“ที่ RISC เราเป็นศูนย์วิจัยที่เกี่ยวกับวัสดุ โดยเราจะเน้นวัสดุ Upcycling เป็นหลัก เรามี ห้องสมุด Well-being Material ที่เรารวบรวมวัสดุที่เกี่ยวกับสุขภาวะ เกี่ยวกับ Green มารวมเอาไว้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายและเราจะมีการเชิญ Architect,Engineer,Developer ต่างๆเข้ามาเรื่อยๆเพื่อให้พวกเขาเหล่านี้สามารถมาสั่งซื้อวัสดุเหล่านี้ตรงกับผู้ผลิต หากเรามองเห็นว่าวัสดุตัวไหนน่าสนใจมากๆ เราก็จะมีการคุยตรงเพื่อนำไปใช้กับโครงการต่างๆของ MQDC เช่น Whizdom หรือ โครงการ The Forestias เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีรายได้และต่อยอดการเติบโตของธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ผู้ผลิตยังสามารถเข้ามาใช้ห้องแลปหรือมาปรึกษากับเราได้ เราจะช่วยคอมเมนต์ หาฟันดิ้ง รวมถึงลูกค้าให้กับเขา”
ในฐานะหัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์ RISC รศ.ดร. สิงห์ มองว่าการที่ผู้ประกอบการซึ่งสนใจเรื่องของ Upcycling จะเข้ามาในธุรกิจนี้มีเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจอยู่ 2-3 เรื่อง
“ถ้าเรารู้ตรงนี้เราจะประเมินได้ว่าวัสดุที่เราจะใช้เพียงพอสำหรับทำธุรกิจหรือเปล่า อย่างตอนที่ผมทำโอซิซุเราเน้นไปที่ขยะซึ่งมาจากการก่อสร้างนั่นหมายความว่าผมรู้ว่า Supply Chain ของผมมีค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นการ Identify ได้ว่าแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมา Upcycling มีมากแค่ไหน ตรงนี้สำคัญมากไม่อย่างนั้นจะเป็นการทำธุรกิจไปแล้วผ่านไปไม่นานวัตถุดิบหมดมันก็ไปต่อไม่ได้”
นอกจากนี้ รศ.ดร. สิงห์ ยังเสริมว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการ Upcycling ควรทำนอกจากการรู้ว่าวัตถุดิบของตนมีมากน้อยแค่ไหน คัดแยกได้หรือไม่แล้ว ทีมงานต้องรู้จุดแข็งของตัวเองว่าเราถนัดทางด้านไหน
“ถ้าเราเก่งเรื่องดีไซน์เราก็ออกแบบสินค้าของเราเอง แต่ถ้าเราไม่เก่งอาจจะใช้เรื่องของ IT เข้ามาช่วยเป็นตัวกลางแบบที่ผู้ประกอบการอย่าง More loop ซึ่งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเป็นตัวกลางในการเทรดผ้าเหลือใช้จากอุตสาหกรรมทำ คือส่งไปขายมา นอกจากนั้นควรหาตลาดที่แน่นอนที่เราสามารถผูกปิ่นโตกันในระยะยาวได้ ธุรกิจ Upcycle ในเมืองไทยทิศทางจะเป็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากประเทศเราเล็กเกินไปสำหรับธุรกิจนี้ ผู้ประกอบการจึงต้องมองเป้าหมายในระดับโกลบอล พยายามหาเซกเตอร์ที่ใหญ่ เช่น อาหาร ธุรกิจก่อสร้าง แต่ต้องอย่าลืมมองเรื่องของกำลังการผลิตของเราเพราะถ้าออกสู่ตลาดโกลบอลกำลังซื้อจะมากกว่าเดิม กำลังการผลิตของเราต้องพร้อม”
แม้การเดินทางของธุรกิจ Upcycling ในไทยจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เราก็พอมองเห็นว่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่หลายรายเริ่มให้ความสนใจและเห็นโอกาสในธุรกิจนี้มากขึ้น ประกอบการภาครัฐเองเริ่มให้ความสำคัญและสนับสนุนตามแนวทางเศรษฐกิจ BCG ดังนั้นหากรัฐสามารถสร้าง Ecosystem ให้เกิดขึ้นได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ธุรกิจ Upcycling จึงเป็นเทรนด์ทางธุรกิจที่ SMEs ควรให้ความสนใจ ทั้งผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับ BCG โดยตรงและทางอ้อม รวมถึงผู้ประกอบการทั่วไป เพราะในอนาคตเทรนด์ดังกล่าวจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 – แปรรูปผลผลิตให้เป็นคุณค่า
ประเทศไทยเรามีกำลังและศักยภาพที่สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างล้นหลาม แต่เหล่าผู้ประกอบการทางการเกษตรทั้งหลาย กลับยังไม่รู้จักวิธีที่จะสามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่มากมายเหล่านี้ ให้เกิดเป็นมูลค่าเพิ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ไปให้ไกลกว่าผลผลิตทางการเกษตร
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 จึงมีความต้องการที่จะให้ผู้ประกอบการทางการเกษตรได้รับคำปรึกษาแนะนำให้เห็นทิศทางหรือความเป็นไปได้ของเหล่าผลผลิต ให้ทราบว่านอกจากการนำไปจำหน่ายโดยตรงแล้ว จะสามารถเปลี่ยนผลผลิตเหล่านี้ให้เป็นอะไรได้บ้างในรูปแบบของการคิดผลิตภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
จึงกลายเป็นภารกิจสำคัญที่ทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 ต้องการที่จะเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาทางด้านผลิตภัณฑ์ ให้กับทั้งผู้ประกอบการ SME ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ภายในพื้นที่ 4 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ อำนาจเจริญ เพราะเป็นจังหวัดที่สามารถสร้างผลผลิตได้อย่างมากมายทุกปี และควรที่จะสนับสนุนให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่หลากหลาย
.
สับปะรด ไม่เป็นสับปะรด
โดยแนวคิดหลักที่นำมาใช้บอกกับผู้ประกอบการก็คือ “ปลูกสับปะรด ไม่ให้ขายเป็นสับปะรด” ซึ่งเป็นการอธิบายโดยให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า เมื่อมีผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ควรนำผลผลิตเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์เสียก่อน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต ซึ่งทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 ได้วางแนวทางที่จะพัฒนาไปใน 3 ด้านหรือ 3P ก็คือ
ด้านที่ 1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ หรือ Product transformation เป็นการพัฒนาผลผลิตขึ้นใหม่ ให้อยู่ในรูปแบบของการคิด สร้างให้เป็นผลิตภัณฑ์ด้วยกรรมวิธีการแปรรูปการพัฒนาตั้งแต่ตัววัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างไรบ้าง เช่น ออกเป็นแคปซูล ออกเป็นเครื่องดื่ม ออกเป็นตากแห้ง เป็นต้น รวมไปถึงการคิดตลอดวงจรอายุของผลิตภัณฑ์ทั้งในเรื่องอายุของสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรฐาน และกระบวนการในการผลิตด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยตอบแนวคิดเรื่อง “สับปะรด ไม่เป็นสับปะรด” ให้ผู้ประกอบการเห็นภาพได้อย่างชัดเจน
ด้านที่ 2 การพัฒนาระบบการผลิต หรือ Process transformation ให้บริการเข้ามาปรึกษาแนะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการผลิต พร้อมทั้งสามารถทดลองส่วนผสมในห้องปฏิบัติการ, ทดสอบการผลิตชิ้นงานต้นแบบเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือทำการผลิตเล็กๆ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเข้ามาใช้เครื่องมือเครื่องจักรทำได้ โดยมี ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือ Industry Transformation Center (ITC) ที่พร้อมรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ รวมไปถึงการเข้าไปตรวจสอบเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้มานานแล้ว ว่าควรจะปรับปรุงอย่างไรให้เพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการนำวิธีการดิจิทัลเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องการบริหารจัดการภายในโรงงานให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นได้
ด้านที่ 3 บทบาทในการพัฒนาให้ความรู้พนักงาน หรือ People ให้มีการปรับปรุงการเรียนรู้ ปรับปรุงในเรื่องของการเพิ่มทักษะต่าง ๆ ให้รู้ทันช่องทางการตลาดหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้บุคลากรทุกภาคส่วน ก้าวทันยุคทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ
.
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 มีความพร้อมทั้งในด้านทีมงานบุคลากร เครื่องมือ แนวคิดการสร้างสรรค์ นวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงงานออกแบบ ที่จะเข้าช่วยเหลือผู้ประกอบการให้เกิดการพัฒนาในด้านผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ เพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดในยุคปัจจุบัน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในธุรกิจได้อย่างมั่นคง
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
เลขที่ 222 หมู่ 24 ถนนคลังอาวุธ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทร. 045314216
E-mail: ipc7@dip.go.th
Website : https://ipc7.dip.go.th
Facebook: dip.ipc7
Youtube: DIProm Station
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone