ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ หรือ ศนก. เป็นศูนย์บริการที่ปรึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยีการเกษตรแบบครบวงจรและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการ SME ทางด้านพืชและการเกษตรโดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศในด้านเกษตรชุมชน ทั้งด้านงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน สังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ทางศูนย์พัฒนาและวิจัยทั้งระบบตั้งแต่การวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ การพัฒนานวัตกรรมและสามารถนำไปใช้ได้จริงในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีศักยภาพ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำการเกษตรเกี่ยวกับพืช ทั้งเรื่องปัจจัยการผลิต การจัดการพื้นที่ในการเพาะปลูก การปรับปรุงพันธุ์พืช การขยายพันธุ์ กระบวนการขั้นตอนในการดูแลรักษาโรคพืช เรื่องของโรงเพาะเลี้ยง เรื่องแมลงและศัตรูพืช ปัจจัยเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชผลการเกษตร กระบวนการขั้นตอนก่อนการเก็บเกี่ยว รวมไปถึงช่วงของการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพและสร้างผลผลิตและผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดให้กับผู้ประกอบการ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านการเกษตรกรรม หรือ ต้องการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆเข้าไปพัฒนาพื้นที่ เช่น เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีการยืดอายุของสดอย่างไรให้นานที่สุด
1.ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ ดิน น้ำ ปุ๋ย พืชและอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการที่ทำปุ๋ยชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืช กระบวนการอินทรีย์ทำอย่างไรให้ถูกต้อง
2.การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การคัดบรรจุผลไม้สด การยืดอายุของผลผลิตอย่างไรให้นานที่สุด
3.งานวิจัยทางด้านพืชคลอบคลุมกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การดูแลพื้นที่ การปรับปรุงพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืช การดูแลรักษา เรื่องแมลงและศัตรูพืช เป็นต้น
4.วิจัยและส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพร พืชพื้นบ้าน และพืชเศรษฐกิจใหม่ การอนุรักษ์พันธุ์พืช การปรับปรุงสายพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเห็ด และจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาถูก
5.มีตัวอย่างดิน ตัวอย่างพืช ตัวอย่างปุ๋ย
6.ห้องปฏิบัติการที่ทำการวิเคราะห์และทดสอบผลผลิตตามภูมิภาคนั้น ๆ
7.ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ประโยชน์อีกอย่างที่น่าสนใจคือ หากผู้ประกอบการนำเข้าเทคโนโลยีและพืชพันธุ์ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในบ้านเรา เมื่อประสบปัญหานี้ทางศูนย์มีงานวิจัยที่สามารถสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมและตอบโจทย์สำหรับประเทศไทยได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการที่จะสามารถพัฒนาและนำมาต่อยอดต่อไป รวมไปถึงการทำพืชพันธุ์ที่แข็งแรง ขยายพันธุ์ได้ในพื้นที่มาก ๆ ในเวลาเดียวกัน สายพันธุ์พืชที่ปลอดโรค หรือพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ ให้ขยายผลผลิตได้ในเวลารวดเร็ว รวมทั้งทำปุ๋ยยังไงให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสสำหรับธุรกิจต่อไป
Published on 29 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
เรื่องของแพ็กเกจจิ้งหรือบรรจุภัณฑ์เป็นอีกสิ่งสำคัญต่อหลายธุรกิจ หากคุณมองหาศูนย์ที่จะช่วยเหลือในด้านการปรับปรุงหรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ต้องที่นี่เลย "ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (TISTR)" เป็นหน่วยงานดูที่แลในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน ตั้งแต่การบรรจุสินค้าเพื่อการส่งออก ไปจนถึงการทำห่อขนมขนาดเล็ก
โดยเน้นไปที่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยรักษาคุณภาพสินค้า ถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวเหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในทุกประเภทธุรกิจ รวมไปถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
โดยศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยมีบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการใช้บริการสามารถนําตัวอย่างที่ต้องการทดสอบมาติดต่อขอใช้บริการด้วยตัวเองโดยตรงได้ที่อาคารศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 196 ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ไกล้สถานีรถไฟฟ้า สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หรือ สามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ : 02 579 1121-30 ต่อ 3101 หรือทาง e-mail: tpc-tistr@tistr.or.th , packtest@hotmail.com
Published on 26 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs แถบตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งที่มีธุรกิจอยู่แล้วหรือกำลังเริ่มต้น และกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องธุรกิจ ต้องการหาไอเดียใหม่ ๆ พัฒนาสินค้าหรือทำสินค้าตัวอย่าง ที่ Industry Transformation Center :ITC จ.ชลบุรี ตอบโจทย์คุณแน่นอน เพราะที่นี่พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางการทำธุรกิจ ศึกษาตลาด แหล่งเงินทุน ตั้งแต่สเต็ปเบื้องต้น เช่น เรื่องกระบวนการผลิต จนถึงการวางแผนธุรกิจในอนาคต และยังช่วยดูแล SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP อีกด้วย ซึ่งหมูสะเต๊ะคุณแม่โอ๊ะโอ ที่ตอนนี้มีแฟรนไชส์ มากกว่า 40 สาขา ก็ได้เข้ามารับคำปรึกษาจากที่ศูนย์เช่นกัน
และยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต ยังมีพื้นที่ co working space ที่สามารถให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ในการนัดหมาย ประชุม พูดคุย ได้ฟรี และในอนาคตอาจมีร้านกาแฟได้บริการอีกด้วย
สำหรับผู้ประกอบการ SME วิสาหกิจชุมชน OTOP ที่สนใจเข้ามาใช้บริการ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
Facebook : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 (Industrial Promotion Center Region 9)
Webside : https://ipc9.dip.go.th/
โทรศัพท์ : 038-784-064-7
FACTory Classroom ศูนย์เพื่อผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพราะที่นี่เชี่ยวชาญในการสร้างต้นแบบอาหารสู่มาตรฐานสากล (Food prototyping service) โดยมีผู้เชี่ยวชาญของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ช่วยให้คำปรึกษา ทดสอบ พัฒนาและวิจัยนวัตกรรมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ดูแลและวิจัยการแปรรูปผลไม้และวัตถุดิบทางการเกษตรต่าง ๆ เเละที่ศูนย์ยังเป็นโรงงานต้นแบบเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ทั้งกระบวนการทำแห้ง การแช่เยือกแข็ง การผลิตเครื่องดื่ม และการผลิตอาหารสำเร็จรูป
นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีโครงการพัฒนาวิจัยต้นแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองได้ และยังกระจายแหล่งการเรียนรู้สู่จังหวัดอื่น ๆ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่แหล่งของวัตถุดิบเพื่อสร้างการผลิต แปรรูปผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เช่น ที่จังหวัดชุมพร และ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอแม่อาย) เปรียบเสมือนโรงเรียนสาธิตสำหรับ SMEs โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง
โดยที่ FACTory Classroom ได้รับรองมาตรฐานสถานที่ผลิตจาก อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ซึ่งกลุ่ม SMEs ที่เข้ามาวิจัยกับศูนย์เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์-ทดลองผลิตเพื่อนำไปโชว์ หรือผลิตต้นแบบจากศูนย์ ก็จะได้รับมาตรฐาน อย. และสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปโชว์ที่ต่างประเทศเพื่อสร้างมูลค่าและต่อยอดธุรกิจได้
สำหรับ SME ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการได้โดยตรง หรือเข้าร่วมผ่านโครงการที่ FACTory Classroom ได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าร่วมโครงการทดลองผลิตสินค้าประเภทต่างๆ จะอยู่ที่ประมาณ 15,000-25,000 บาท แล้วแต่ประเภทของสินค้าว่าเข้าข่ายกับโครงการไหน
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมอาหาร
ชั้น 3 อาคารโรงอาหาร 3 อาคารโรงงานต้นแบบแห่งการเรียนรู้ (FACTory Classroom) คณะวิศวกรรมศาสตร์
เบอร์โทรศัพท์ 02-329-8356-8 หรือ 095 909 0488
Facebook: KMITL FACTory Classroom
จุดเริ่มต้นของธุรกิจเสื้อผ้ากีฬาแบรนด์ Warrix คืออะไร
คุณวิศัลย์ : จริง ๆ เห็นตลาดเสื้อผ้ากีฬา มองเป็นโอกาสมาตั้งแต่ตอนที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ ๆ แล้ว ก็กล้า ๆ กลัว ๆ แต่พอได้มีโอกาสเข้าไปทำเรื่องของ License ของสโมสรจังหวัดใหญ่ ๆ อย่างโคราชกับเชียงใหม่ ก็ทำให้เข้าใจตลาดฟุตบอลเมืองไทย ว่ายังมีโอกาสอีกมากมาย
ฟุตบอลมีช่องว่างเรื่องเสื้อกีฬาที่ไม่เกี่ยวกับฟุตบอล ระหว่างแบรนด์ไทยกับแบรนด์นอกที่กว้างมาก ทั้งเรื่องราคา เรื่องคุณภาพ ทำการตลาดกับผู้โภค คิดว่าพอเห็นโอกาสก็กระโดดเข้าใส่เลย
Trends เสื้อผ้ากีฬาของแบรนด์ Warrix เป็นอย่างไร
คุณวิศัลย์ : เห็นเป็นหนึ่งใน Global Trends เรื่องของ Health เรื่องของ Sport ก็คือคนเริ่มสนใจสุขภาพมากขึ้น อย่างเรื่องของกินเรื่องอาหาร แต่เรื่องของการออกกำลังกายเป็นหนึ่งใน Global Trends เป็นกระแสของผู้บริโภคที่จะจับจ่ายใช้เงิน ก็คิดว่าเราเกาะไปกับ Global Trends น่าจะไม่พลาด
วิธีการขยายตลาดของแบรนด์ Warrix ในตอนนี้
คุณวิศัลย์ : ฟุตบอล ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นกีฬามหาชน เป็น Mass ที่สุดในการบริโภคเสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา Warrix เริ่มขยายไปตลาดวิ่ง แล้วก็ฟิตเนส แบดมินตัน ค่อยเป็นค่อยไป และกำลังจะเริ่มกอล์ฟ
มีโอกาสร่วมงานกับทีมชาติไทยได้อย่างไร
คุณวิศัลย์ : ตอน Warrix มาจับกับทีมชาติ ถือเป็นโอกาสที่ไม่คาดว่าจะมาเร็วขนาดนั้น ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานในสมาคมฟุตบอล คิดว่าสัญญามันยังมีต่อไปอีกหลายปี และ ณ วันนั้นบริษัทถือเป็นไซซ์เล็ก แต่พอโอกาสเปิดให้มีการประมูล คิดว่าถ้าไม่คว้าโอกาสนั้นในการกระโดดเข้าไปประมูล ก็ไม่รู้จะมีโอกาสแบบนี้อีกไหม
เมื่อ 4 ปีที่แล้วจึงกระโดดเข้าไปประมูลด้วยตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ณ วันที่ไปประมูลก็ยังบอกกับพี่ที่นั่งข้าง ๆ ว่าผมขอไปเป็นไม้ประดับ ไม่คิดว่าจะได้ แต่พอเราประมูลได้ เราก็ใช้โอกาสนี้สร้างผลงานอย่างเต็มที่ เหมือนนักฟุตบอลรุ่นใหม่ ๆ ได้โอกาสลงสนามปุ๊ป ต้องทำประตูให้ได้
ถ้าจะเปรียบเทียบมาตรฐานและคุณภาพเสื้อผ้ากีฬาของ Warrix กับแบรนด์ระดับโลก
คุณวิศัลย์ : เรียกว่าเราใช้สินค้า เส้นด้ายมาจากโรงงานเดียวกัน ทอผ้าที่เครื่องเดียวกัน เย็บที่จักรเดียวกัน ผมก็คิดว่าเราไม่ได้แพ้เข้านะครับ จริง ๆ บางตัวเราใช้เร็วกว่าแบรนด์ระดับสากลด้วยซ้ำ เพราะว่าระยะเวลาในการทำงานในหนึ่งคอลเลคชั่นที่ออก แบรนด์ระดับโลก เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เขาใช้เวลาหนึ่งปีเต็ม แต่ Warrix ความเร็วในการทำงาน เนื่องจากบริษัทเราเป็นขนาดกลางเราจึงเร็วกว่า
อยากให้บอกถึงปัญหาในการทำธุรกิจของบริษัท
คุณวิศัลย์ : ปัญหาในการทำธุรกิจอย่างผมยังถือว่าเป็นไซซ์ SME เป็นปัญหาเรื่องคน ปัญหาเรื่องการเข้าหาแหล่งเงินทุน สองอย่างนี้เจอตลอด เจอมาจนถึงวันนี้ นี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องตั้งเป้าในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือตลาดทุน ที่ต้นทุนไม่สูง และไม่มีปัจจัยที่ถูกมองว่าเป็นสิ่งทอ หรือเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่เติบโต ที่ Warrix ทำไม่ใช่สิ่งทอยุคโบราณที่เป็นการรับจ้างผลิตอีกต่อไป Warrix ทำแบรนด์ของตัวเอง มีการตลาดที่มุ่งเน้นออนไลน์ มุ่งเน้นเรื่องของการสร้าง Engagement สร้างแบรนด์
Warrix กับการไปตลาดโลก
คุณวิศัลย์ : เคยมีคนถามตอนที่ได้ทีมชาติไทยว่าฝันผมจะไปต่อไกลขนาดไหน สิ่งที่เราทำเราคงไม่ก้าวกระโดดไปขนาดนั้น แต่เราต้องฝันว่าใน 5 ปี 10 ปี จะไปไหน ถ้าบริษัทมีความแข็งแรง ยอดขายเติบโตขึ้นเป็น 4 - 5 พันล้าน ก็ไม่แปลกที่ Warrix จะกล้าไปเป็นสปอนเซอร์ทีมดัง ๆ หรือสโมสรใหญ่ ๆ ในยุโรปแน่นอน แต่มันคงไม่ใช่แค่เรื่องของการสปอนเซอร์ หรือมีโลโก้บนหน้าอกเชิ้ต ยังเป็นเรื่องของระบบการจัดจำหน่าย เป็นเรื่องของการสร้างแบรนด์ในมิติการตลาด
เคยขอเข้ารับการสนับสนุนจากทางภาครัฐไหม
คุณวิศัลย์ : จริง ๆ ก็มีบ้าง ทั้งเรื่องของการสนับสนุนจาก สวทช บ้าง จาก สสว บ้าง ก็จะมีเข้ามาบ้าง
มีการขยายธุรกิจไปยังด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องบ้างไหม
คุณวิศัลย์ : ปัจจุบัน Warrix ขยายมา Segment ของสุขภาพ ก็เป็นเรื่องของคลินิกกายภาพ, Performance Training, วิทยาศาสตร์การกีฬา
กลยุทธ์ทางการตลาดและปัจจัยความสำเร็จในการทำธุรกิจมีอะไรบ้าง
คุณวิศัลย์ : ผมคิดว่า Key Success ของ Warrix น่าจะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ผมมองว่าผมเป็นคนที่มองเห็นช่องว่างทางการตลาด แล้วเอากลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างเข้าไปตอบโจทย์ลูกค้า โลกออนไลน์ที่เปลี่ยนไปมหาศาล เมื่อเทียบกับหลาย ๆ ปีที่แล้ว ทำให้แบรนด์เล็ก ๆ อย่างผมไม่ได้เสียเปรียบแบรนด์ใหญ่ ๆ อีกต่อไป
คำแนะนำที่ฝากให้กับผู้ประกอบการ SME ท่านอื่น ๆ
คุณวิศัลย์ : ต้องทำในสิ่งที่เราชำนาญ มีประสบการณ์ มีความคิดเชิงระบบ มันไม่สามารถที่จะทำเองทุกอย่างได้ อีกอันคือต้องมองโอกาส บวกใจถึง ต้องพึงระลึกเสมอว่าการทำธุรกิจ แน่นอนทุกคนต้องการกำไร แต่ความโลภทำให้ธุรกิจพังหรือเจ๊งมานับไม่ถ้วน คนทำธุรกิจฟังดูเหมือนขัดแย้งนะ ต้องมีความพอดี มีความพอ มองมิติอื่น ๆ มากกว่าแค่เงินอย่างเดียว
Published on 16 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย