“อาเซียนมีส่วนสร้างเสริมเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างไรในทศวรรษที่ผ่านมา & ท่านมุ่งหวังให้อาเซียนทำอะไรหลัง ค.ศ. 2025?”

 มาร่วมกันสร้างอนาคตของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน! 

 ขอเชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของท่านเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2025 ใช้เวลาเพียง 15-20 นาที ในการตอบแบบสำรวจความคิดเห็น

“อาเซียนมีส่วนสร้างเสริมเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างไรในทศวรรษที่ผ่านมา & ท่านมุ่งหวังให้อาเซียนทำอะไรหลัง ค.ศ. 2025?” 
(ASEAN SURVEY: How has ASEAN contributed to the regional economy over the past decade & what is your aspiration for ASEAN beyond 2025?)

 คลิกลิงค์เลย !  https://tinyurl.com/AECPost2025Survey 

 

 มาร่วมกันสร้างอาเซียนที่ทุกคนมีส่วนร่วม อุดมไปด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และมีพลวัตด้วยกันเถอะ!  

#ASEANEconomicCommunity #ASEANCommunityVision2045

บทความแนะนำ

กรมสรรพากรเผยหลักเกณฑ์มาตรการ “Easy E-Receipt” ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท

"กรมสรรพากรเผยหลักเกณฑ์มาตรการ “Easy E-Receipt” ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท เริ่ม 1 มกราคม 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567 เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น"

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการ “Easy E-Receipt” เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) สามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น
 
ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญของการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 391 (พ.ศ. 2566) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการ “Easy E-Receipt” โดยให้ผู้ซื้อสินค้าสังเกตร้านค้าทีมีสัญลักษณ์ Easy E-Receipt ควบคู่กับ e-Tax Invoice & e-Receipt ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังนี้
 
1. กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) พร้อมต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย โดยค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จะได้รับสิทธิฯ ไม่รวมถึง
    (1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
    (2) ค่าซื้อยาสูบ
    (3) ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
    (4) ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
    (5) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต       
    (6) ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
    (7) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
 
2. กรณีการซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา ๑๐๕ แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย เฉพาะค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้
   (1) ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
   (2) ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
   (3) ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับ กรมการพัฒนาชุมชนแล้ว   


   
3. ค่าซื้อสินค้าและค่าบริการตามข้อ 1 และ 2 เมื่อรวมกันแล้วสามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
 
ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า “มาตรการ Easy E-Receipt จะช่วยสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยคาดว่าจะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.18”
 
ผู้เสียภาษี และร้านค้าสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rd.go.th หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161 
ที่มา : รัฐบาลไทย



บทความแนะนำ

กรมสรรพากร และ สสว. ชวน MSME ทำความรู้จัก ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ต่างกันอย่างไร?

กรมสรรพากร และ สสว. ชวน MSME ทำความรู้จัก ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ต่างกันอย่างไร? มาเรียนรู้กันนะคะ...

 

  1. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) คือ

ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร รวมถึง ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยระบบ e-Tax Invoice by Email

 

  1. ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คือ

ใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัลด้วยวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด

ทางเลือกในการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

(1) จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ XML ตามมาตรฐาน (ขมธอ.3-2560) หรือจัดทำในรูปแบบไฟล์อื่นๆ เช่น PDF , PDF/A-3 เป็นต้น ซึ่งต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตามที่ตกลงกัน และมีหน้าที่ต้องนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร เป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ด้วยวิธีการ Upload หรือ นำส่งด้วยวิธี Host to Host หรือ ผ่านผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์

 

(2) จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ PDF/A-3 เท่านั้น โดยส่งอีเมลถึงผู้ซื้อและสำเนา CC ไปยังระบบกลางที่ csemail@etax.teda.th เพื่อให้ระบบ ประทับรับรองเวลา (Time Stamp) จากนั้น ระบบ e-Tax Invoice by Email จะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ไปยังอีเมลของผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email พ.ศ.2560

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม :

  1. VDO เรื่อง การให้ความรู้ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับผู้ประกอบการ

https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/support/manual#top

  1. VDO เรื่อง เข้าใจ e-Tax Invoice & e-Receipt ภายใน 3 นาที

https://youtu.be/o1G4GO-3rgc

  1. การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่คำแนะนำ/คู่มือการใช้งาน

URL : https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/support/manual#top

#กรมสรรพากร #RD #SMEone @SMEone #OSMEP #สสว #MSME

บทความแนะนำ

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว.
กรมทรัพย์สินทางปัญญา และบริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ PNR
มอบสิทธิพิเศษให้กับสมาชิก สสว. ลงทะเบียน SME One ID
รับสิทธิทดลองใช้บริการเปิดเพลงในสถานประกอบการฟรี จาก PNR จนถึงวันที่ 15
มีนาคม 2567 พร้อมรับสิทธิสมัครแพ็กเกจสมาชิกรายปีราคาพิเศษ รับส่วนลดสูงสุดถึง
55% เริ่มต้นเพียงวันละ 14 บาท เท่านั้น
โดย PNR มีบริการ Music Delivery Service (MDS) ซึ่งมีเพลงในระบบกว่า 10 ล้านเพลง จาก 60
กว่าค่ายเพลงชั้นนำ ทั้งไทยและต่างประเทศ โดยจัด Playlist ตามเพลงฮิต
หรือตามเทศกาลต่าง ๆ โดยทีมงานมืออาชีพ ด้วยคุณภาพไฟล์เทียบเท่า Music
streaming ปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้บริการเปิดเพลงในสถานประกอบการจาก PNR กว่า 1,000
ราย เพิ่มเติม https://bit.ly/pnrclient

ระยะเวลาสมัครทดลองใช้บริการฟรี และสมัครแพ็กเกจรายปีราคาพิเศษ
   15 ธันวาคม 2566 – 15 มีนาคม 2567
ระยะเวลาทดลองใช้บริการฟรี
   จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567 (สิ้นสุดพร้อมกัน)
ระยะเวลาใช้บริการแพ็กเกจรายปีราคาพิเศษ
   เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2567 – 15 มีนาคม 2568 (ระยะเวลา 1 ปี)
รายละเอียดโครงการ
   ทดลองใช้บริการฟรี
    o เฉพาะสมาชิก สสว.
    o ลงทะเบียน SME One ID และรับสิทธิผ่านแอป SME Connext ของ สสว.
    o รับสิทธิทดลองใช้บริการเปิดเพลงฟรีในสถานประกอบการ ได้จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567
    o ครอบคลุม 3 เทศกาลใหญ่ ประจำปี คือ คริสมาสต์ - ปีใหม่ / ตรุษจีน และวาเลนไทน์
    o Playlist ที่ทางสมาชิก สสว. จะได้รับ มีทั้งหมด 8 Playlists
           The best monthly recommend
           ฮิตติดปาก
           ชิลฟังสบาย
           ป็อปโดนใจ
           เพลงฮิตติดกระแส
           Festive : คริสมาสต์ /ปีใหม่
           Festive : ตรุษจีน
           Festive : วาเลนไทน์
   o PNR จะส่งรายละเอียดการใช้บริการและไฟล์เพลงพร้อม eSticker
      ผ่านทางอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อสมาชิก สสว.
      ที่ลงทะเบียนเปิดเพลงโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567

วิธีสมัครทดลองใช้บริการฟรี
     สมาชิก สสว. ลงทะเบียน SME One ID เข้า App : SME Connext
     Login : SME One ID
     กดเข้าแบนเนอร์ “สมัคร! ทดลองใช้บริการฟรี “
     กรอกข้อมูลที่กำหนด ผ่าน Google form
     PNR จะส่งรายละเอียดการใช้บริการและไฟล์เพลงพร้อม eSticker ผ่านทางอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อสมาชิก สสว.
       ที่ลงทะเบียนเปิดเพลงโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567
     แพ็กเกจรายปีราคาพิเศษ มี 2 แพ็กเกจ
     Lite pack
a. ร้านอาหาร/ คาเฟ่ / เบเกอรี่/ ไอศกรีม มีจำนวนที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง
b. ค่าบริการแพ็กเกจราคาพิเศษ เพียงวันละ 14 บาท (5,000 บาท/ปี)
จากราคาปกติ 11,000 บาท ลด 55% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

     Value pack
a. สถานประกอบการอื่นๆ นอกเหนือจาก Lite Pack
b. ลดค่าบริการจากราคาแพ็กเกจปกติ 50% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
c. รายละเอียดแพ็กเกจ ดูได้จากเว็บไซต์ PNR คลิก https://bit.ly/smexpnr

วิธีสมัครบริการ Lite pack และ Value pack รายปีราคาพิเศษ
     สมาชิก สสว. ลงทะเบียน SME One ID เข้า App : SME Connext
     Login : SME One ID
     กดเข้าแบนเนอร์ “สมัคร! แพ็กเกจรายปีราคาพิเศษ “
     กรอกข้อมูลที่กำหนด ผ่าน Google Form (หากเคยสมัครทดลองใช้บริการฟรีแล้ว
       ไม่ต้องกรอกข้อมูลอีก ให้เลือกช่อง เคยสมัครทดลองใช้บริการฟรีแล้ว)
     หากสมาชิก สสว. ยังไม่ได้สมัครทดลองใช้บริการฟรี จะได้รับสิทธิทดลองใช้บริการฟรีทันที
       โดยจะเริ่มนับระยะเวลาแพ็กเกจรายปีราคาพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 – 15 มีนาคม 2567
     MPC จะประสานยืนยัน แพ็กเกจ พร้อมจัดส่งเอกสารการอนุญาต พร้อม sticker และจัดส่ง Playlists ให้ทุกเดือน
     แต่ละเดือนท่านจะได้รับ 5 Playlists (50 เพลง/Playlist) + เพลงเทศกาลต่างๆ อาทิ เช่น สงกรานต์, ฮาโลวีน,​ลอยกระทง ฯลฯ
เงื่อนไขการใช้บริการ
     เพลงของ PNR Music Delivery Service ที่ให้บริการ
       สามารถใช้เปิดภายในสถานประกอบการที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น
       ไม่อนุญาตให้โอนสิทธิหรือหรือส่งไฟล์เพลงที่ได้รับอนุญาตไปให้บุคคลอื่น
       มิฉะนั้นจะละเมิดการใช้เพลงผิดลิขสิทธิ์
     เพลงของ PNR Music Delivery Service ครอบคลุมการอนุญาตใช้ฟรีจนถึงวันทื่ 15 มีนาคม 2567 เท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
       หากต้องการใช้เพลงของ PNR Music Delivery Service ต่อไป ท่านสามารถซื้อแพ็กเกจรายปีราคาพิเศษ เพื่อใช้เพลงและรับ playlists ใหม่ต่อไป 
     หากสถานประกอบการนำไฟล์เพลงไปใช้โดยมิชอบ หรือผิดเงื่อนไข ทาง PNR ขอสงวนสิทธิยกเลิกการให้บริการทดลองใช้บริการฟรีทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
     หากหมดช่วงการอนุญาตใช้ฟรีวันที่ 15 มีนาคม 2567 หากสถานประกอบการไม่ได้มีการสมัครแพ็กเกจรายปีต่อ ทาง PNR จะยุติการให้บริการ และไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น 

     ในช่วงการใช้บริการ และใช้เพลงใน Playlist ของ PNR Music Delivery Service  หากมีการถูกอ้างการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงใน Playlist ที่จัดให้ PNR จะดูแลเรื่องกฏหมายให้ฟรี         โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
     เงื่อนไขเป็นไปตามที่ทาง สสว. และ PNR เป็นผู้กำหนด และหากมีการเปลี่ยนแปลง มิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
     สิทธิพิเศษไม่สามารถแลกเปลี่ยน หรือ แลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้
หมายเหตุ: สงวนสิทธิ์เฉพาะ ลูกค้าใหม่ของ PNR และ MPC เท่านั้น

บทความแนะนำ