Empowering Digital Skills of ASEAN SMEs

**ประกาศรับสมัคร: การพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับ SMEs ในอาเซียน**
**หมดเขตรับสมัคร**: 30 พฤศจิกายน 2567

### ภาพรวมโปรแกรม
โครงการ **Empowering Digital Skills of ASEAN SMEs (EDS-ASEAN)** จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียนและ Huawei เพื่อช่วยพัฒนา SMEs ในอาเซียนให้ก้าวสู่ความพร้อมทางดิจิทัล โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุน การเสริมสร้างความยืดหยุ่น และการเชื่อมโยงเครือข่ายกับผู้นำอุตสาหกรรม โครงการนี้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์การพัฒนา SMEs ของอาเซียนและพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025

**วัตถุประสงค์**:
1. ประเมินความพร้อมด้านดิจิทัลของ SMEs และวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
2. มอบเครื่องมือและทักษะที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. ส่งเสริมนโยบายที่เกี่ยวข้องผ่านการจัดเวิร์กช็อปอาเซียน

**คุณสมบัติผู้สมัคร**:
- เป็น SMEs ที่มีผลิตภัณฑ์ขั้นต่ำ (MVP) และยังไม่เป็นบริษัทมหาชน โดยก่อตั้งมาไม่เกิน 5 ปี
- ตัวแทนต้องเป็นผู้ก่อตั้ง CEO หรือทีมงานของ SMEs อายุระหว่าง 18-35 ปี และสัญชาติอาเซียน
- สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี

**ขั้นตอนและกำหนดการ**:
- **รับสมัคร**: 1 ต.ค. - 30 พ.ย. 2567
- **คัดเลือกและสัมภาษณ์**: ธ.ค. 2567 - ม.ค. 2568
- **การพัฒนาศักยภาพออนไลน์**: มี.ค. - พ.ค. 2568
- **การจัดเวิร์กช็อปอาเซียน**: ก.ค. 2568
- **การรณรงค์ออนไลน์**: ก.ค. - ส.ค. 2568

**สิทธิประโยชน์**:
- หลักสูตรที่ออกแบบเฉพาะสำหรับ SMEs
- คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของ Huawei
- การสร้างเครือข่ายกับผู้นำในอุตสาหกรรมและผู้กำหนดนโยบาย
- โอกาสเข้าร่วมโปรแกรม **Huawei Cloud Startup**

### วิธีการสมัคร
ผู้สนใจสามารถกรอกใบสมัครได้ภายในวันที่ 30 พ.ย. 2567 โดยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ **eds.asean@aseanfoundation.org**

บทความแนะนำ

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) เปิดตัวเว็บไซต์ “BCG CONNEX เชื่อมต่อโอกาสธุรกิจสู่อนาคต”

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ได้ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ BCG CONNEX โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแพลตฟอร์มสำหรับส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการ ธุรกิจ BCG สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันเน้นส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปมูลค่าเพิ่มสูง เช่น อาหารเสริมสุขภาพ อาหารทางการแพทย์ อาหารแห่งอนาคต (Future Foods) เชื่อมโยงคู่ค้าภาคธุรกิจ การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า และผู้ร่วมลงทุน ทั้งยังเชื่อมโยงการให้บริการแพลตฟอร์มกับการให้บริการของหน่วยภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ส่งเสริมการส่งออกของผู้ประกอบการธุรกิจ BCG

สถาบันจึงได้กำหนดจัดงานเปิดตัวเว็บไซต์ “BCG CONNEX เชื่อมต่อโอกาสธุรกิจสู่อนาคต” ในวันอังคารที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๓๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง Ballroom ชั้น ๑๒ โรงแรม VIE Hotel MGallery Bangkok สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณกฤตณัฐ สว่างวิทย์ ผู้ประสานงาน ทางโทรศัพท์หมายเลข ๐๖๓ ๗๕๑ ๕๔๖๙ และ ๐ ๒๖๑๕ ๘๙๙๘

บทความแนะนำ

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิยาลัยพะเยา

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิยาลัยพะเยา

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นหน่วยงานที่เปิดประตูต้อนรับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้โครงสร้างพื้นฐานของทางมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย หรือการติดต่ออาจารย์คณะต่าง ๆ ก็สามารถเข้ามาที่อุทยานฯที่พร้อมเป็น Total Innovation Solution ให้กับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการทางด้านเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง ไอที หรือธุรกิจการค้าต่าง ๆ เพียงแค่มีไอเดียธุรกิจ ก็สามารถเดินเข้ามาขอรับบริการได้ครบวงจรจนสามารถสร้างสินค้าออกสู่ตลาด

อีกหนึ่งเป้าหมายที่เป้าหมายที่ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาให้ความสำคัญ คือการมุ่งสร้างวิสาหกิจเพื่อสังคม สนับสนุนธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อช่วยกระจายรายได้และสร้างผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์คืนให้กับชุมชน ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังแนวความคิดในการสร้างธุรกิจที่ช่วยเหลือสังคม ที่จะส่งผลให้ชุมชนเติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

บริการที่ช่วยเสริมความเข้มแข็งให้กับ MSME

    • การพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจ ให้ความรู้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างอาชีพและช่องทางสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการชุมชน ผู้ประกอบการหน้าใหม่ ที่มีความสนใจ

 

  • ศูนย์ออกแบบนวัตกรรม ให้บริการคำปรึกษาและออกแบบ หาอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้า โดยนักออกแบบผู้เชี่ยวชาญ

 

  • ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ เปิดให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาพัฒนาสูตร ทดสอบคุณสมบัติหาส่วนประกอบ เพิ่มสรรพคุณให้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไปจนถึงวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อมได้
  • โรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหาร เปิดให้บริการผลิตชิ้นงานต้นแบบเพื่อทดสอบตลาด พร้อมทั้งสามารถยื่นขอจดทะเบียน อย. ได้เสร็จสรรพ
  • หน่วยจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ให้บริการที่ปรึกษา การจดเครื่องหมายการค้า ให้ความรู้เรื่องการคุ้มครอง ตลอดจนการเชื่อมโยงทรัพย์สินทางปัญญาจากมหาวิทยาลัยในเครือข่าย
  • สนับสนุนการวิจัย จับคู่ผู้ประกอบการและอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทำการวิจัยร่วมกัน โดยทางอุทยานฯ จะสนับสนุนค่าวิจัยส่วนหนึ่งให้

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นเหมือนกับ One-Stop Service ให้กับผู้ประกอบที่มีไอเดียทำธุรกิจ สามารถเข้ามาขอใช้บริการเพื่อเริ่มต้นธุรกิจตั้งแต่ก้าวแรก ไปจนถึงการพัฒนาสินค้าจนสามารถวางขายออกสู่ตลาดได้อย่างครบวงจร

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา University of Phayao Science Park (UPSP)

ที่อยู่: สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ชั้น 1 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ)
19 หมู่ 2 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000

โทรศัพท์: 054-466-666 ต่อ 3711 - 3714

อีเมล: upscipark@outlook.com

เว็บไซต์ : www.upsp.up.ac.th

Facebook: UPSciencePark

บทความแนะนำ

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (‍บพข.)

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ รวมถึงทุนสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างตลาดนวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้จริงในเชิงพาณิชย์ 

โดยการให้ทุนจะมุ่งเน้นที่การสนับสนุนแผนงานที่มีความร่วมมือหรือการร่วมลงทุนกับผู้ใช้ประโยชน์ อาทิ SMEs และภาคอุตสาหกรรม ผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ให้งานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

 

บริการที่ช่วยเสริมความเข้มแข็งให้กับ MSME

  • Connect สร้างความเชื่อมโยงระหว่างความต้องการของผู้ประกอบการ เข้าหาความต้องการจากในแวดวงอุตสาหกรรม ร่วมกับผลวิจัยจากภาครัฐ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน
  • Collaboration สร้างกิจกรรมให้เกิดการทำงานร่วมกัน ทั้งการนำเสนอแผนธุรกิจ การจับคู่ทางธุรกิจ จับมือกันระหว่างผู้ประกอบการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
  • Commercialization สนับสนุนโครงการวิจัยให้สามารถประกอบเป็นธุรกิจได้จริง หรือช่วยยกระดับอุตสาหกรรมให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้
  • Competitiveness ร่วมสร้างความแข็งแกร่ง และ เพิ่มความสามารถให้กับผู้ประกอบการที่สามารถออกไปแข่งขันได้ในระดับโลก

บพข. ต้องการที่จะช่วยยกระดับผู้ประกอบการ ให้มีประสิทธภาพในการผลิต เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขัน การที่มี บพข.และหน่วยบริหารจัดการทุนจะเข้ามาช่วย จะส่งผลให้ผู้ประกอบการเกิดการเติบโต ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ที่จะทำให้ธุรกิจเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง สร้างอำนาจในการต่อรองได้

บพข. ต้องการขับเคลื่อนและเร่งการสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจนั้นขยับตัวเร็วมาก หากปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป คงไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก แต่หากทุกภาคส่วนมีการทำงานร่วมกัน พัฒนาธุรกิจให้เดินหน้าไปพร้อมกัน จะช่วยให้งานวิจัยต่าง ๆ ออกไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ได้รวดเร็วมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อมีธุรกิจใหม่ ๆ มากขึ้น การลงทุนในประเทศก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ท้ายที่สุดแล้วความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศก็จะสูงขึ้น

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ที่อยู่: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 14 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์: 02-109-5432 ต่อ 871-898

อีเมล: pmuc@nxpo.or.th

เว็บไซต์ : pmuc.or.th

Facebook: pmuc.researchfunding

บทความแนะนำ

TOP Foods Supply ธุรกิจทุเรียนน้องใหม่ ที่ทุ่มหัวใจนำคุณภาพ

TOP Foods Supply ธุรกิจทุเรียนน้องใหม่ ที่ทุ่มหัวใจนำคุณภาพ

หากพูดถึงผลไม้ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย สิ่งที่เราจะนึกถึงคงหนีไม่พ้นทุเรียน ที่ทั่วโลกต่างให้การยอมรับเป็นที่หนึ่งในใจว่าหากจะกินทุเรียนแล้ว ก็ต้องเลือกกินทุเรียนจากเมืองไทย ถึงจะได้ทุเรียนที่มีรสชาติและเนื้อสัมผัสดีที่สุด

เมื่อทุเรียนเป็นสินค้าราคาดีที่มีความต้องการจากทั่วโลก ใคร ๆ จึงพากันหันมาขายทุเรียน ทำให้ในตลาดผลไม้ต่างมีผู้ขายทุเรียนเรียงรายกันมากหน้าหลายตา เรียกได้ว่าถึงฤดูทุเรียนเมื่อไหร่ เดินไปที่ไหน มองไปทางใด แทบจะเห็นทุเรียนเรียงตั้งอยู่ในทุกร้าน หากแต่เพียงว่า ไม่ใช่ทุกร้านที่จะคัดเลือกทุเรียนที่อร่อย ได้คุณภาพมาวางขาย ลูกค้ายังคงต้องสุ่มรสชาติทุเรียน โดยการเคาะ หรือ ดูสี ดูผิว ดูขั้วกันไป บางลูกเนื้อแข็ง บางลูกเนื้อเละ บางลูกเปลือกหนาเนื้อน้อย กว่าจะได้เจอทุเรียนอร่อย ก็อาจต้องผ่านความผิดหวังอยู่หลายครั้ง

จากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นข้อมูลให้คุณท๊อป – กิตติภูมิ ชินโสภณทรัพย์ ประธานบริหารบริษัท ท๊อปฟู๊ดซัพพลาย จำกัด นำมาตั้งเป็นโจทย์ในการทำธุรกิจ เพื่อสร้างแบรนด์ผลไม้ที่ใช้คุณภาพและการบริการนำสินค้าเข้าไปอยู่ในใจของลูกค้า จึงได้สร้างแบรนด์ของทุเรียนขึ้น ในชื่อว่าสยามไดมอนด์ 

ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามาสู่วงการทุเรียนได้ไม่นานนัก แต่ด้วยไอเดีย กลยุทธ์และมุมมองการทำธุรกิจที่แตกต่าง เป็นเรื่องสำคัญที่จะสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ และนั่นทำให้ทุเรียนสยามไดมอนด์นั้นสามารถแหวกฝ่าตลาดทุเรียนของผู้เล่นมากมาย เข้าไปสู่การจดจำของลูกค้าได้ในเวลาเพียงไม่นาน และทำให้ทุเรียนที่แบรนด์นี้ กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าน่าลิ้มลอง เป็นที่เรียกหาจากทั้งในประเทศและในต่างประเทศ

ใส่ไอเดียลงทุเรียนไทย ให้โลกรู้จัก

ทุเรียนสยามไดมอนด์นั้น สร้างความโดดเด่นด้วยการตลาด จนทำให้ใครต่อใครเมื่อได้เห็นแล้วยากที่จะปฏิเสธ ต่างเกิดความรู้สึกอยากซื้อ อยากลองชิม เคล็ดลับเบื้องหลังมาจากความขยันและใส่ใจของแบรนด์ที่ทำการบ้านจากลูกค้าทุกคน ด้วยการสอบถามข้อมูลความชอบว่าชอบทุเรียนแบบใด เนื้อสัมผัสแบบใด จะกินในช่วงเวลาไหน เมื่อมีข้อมูลตรงจากลูกค้า ก็สามารถที่จะคัดเลือกทุเรียนที่มีรสชาติเนื้อสัมผัสได้ตรงกับใจลูกค้า พร้อมส่งตรงให้ลูกค้าถึงที่ด้วยรถเย็น ล็อกรสชาติไว้ให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ ลูกค้าจะได้รับทุเรียนที่อร่อยที่สุด ณ เวลาที่ต้องการกิน จนกลายเป็นคำบอกต่อกันปากต่อปากว่า ทุเรียนสยามไดมอนด์อร่อย ไม่ต้องลุ้น

เป้าหมายของแบรนด์ที่ถูกตั้งไว้ตั้งแต่วันแรกคือ ถ้าคนนึกถึงทุเรียนแล้วต้องนึกถึงสยามไดมอนด์ และคนจะนึกถึงเราได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของการคัดคุณภาพของทุเรียน ถ้าคุณภาพไม่สม่ำเสมอการซื้อซ้ำจะไม่กลับมา ซึ่งสยามไดมอนด์คัดทุเรียนให้มีคุณภาพเท่ากันทุกกล่อง เลือกเฉพาะเนื้อที่สวยและรสชาติที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้ากินพูไหน ก็ได้รสชาติที่ดีเยี่ยมประทับใจ บรรจุในกล่องพรีเมียมที่ราคาเข้าถึงได้

เมื่อลูกค้าประทับใจ ก็กล้าที่จะบอกต่อ กล้าที่จะส่งให้คนที่เขารัก สยามไดมอนด์จึงคิดต่อยอดสินค้าใหม่ นำเสนอทุเรียนในรูปแบบใหม่ที่แปลกตา เป็นทุเรียนมงคลปิดทองบนเนื้อ เพื่อเป็นของขวัญที่มีคุณค่าให้กับคนที่รัก โดยทองที่ใช้นั้นเป็นแบบที่รับประทานได้ที่ใช้ในอาหารชั้นสูง ทุเรียนทองคำ กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้สยามไดมอนด์ถูกพูดถึงไปทั่วโลกออนไลน์ และกลายเป็นสินค้าหลักที่สร้างรายได้เกิน 1 ล้านบาทในเวลาไม่ถึงเดือน ความแปลกใหม่ที่เป็นที่ต้องการทันทีตั้งแต่แรกเห็น เกิดการรีวิวต่อเป็นกระแสจนรู้จักกันมากขึ้นเป็นวงกว้าง

ด้วยคุณภาพที่น่าจับตา ส่งผลให้ทุเรียนสยามไดมอนด์ ได้รับรางวัล Value Creation Awards จากสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าสินค้า

ถึงแม้จะได้รับความสำเร็จจากการทำตลาดในประเทศ แต่แบรนด์ก็ยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ ทุเรียนสยามไดมอนด์ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์ ในการขยายตลาดออกไปสู่ประเทศจีนในอนาคตอันใกล้ และยังคิดหาไอเดียใหม่ ๆ ที่จะสร้างความประทับใจเพิ่มขึ้นให้กับลูกค้าในโอกาสต่อไป ด้วยคุณภาพที่น่าจับตา ส่งผลให้ทุเรียนสยามไดมอนด์ ได้รับรางวัล Value Creation Awards จากสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าสินค้า, รางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ 2024 และ Soft Power of the Year จาก สสว.

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

TOP Foods Supply

ที่อยู่: 64/95 ซ.อ่อนนุช 46 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กทม. 10250

โทร: 064-449-9965

อีเมล: topfoodssupply@gmail.com

เว็บไซต์: topfoodssupply.com

Facebook: topfoodssupply

บทความแนะนำ