กลยุทธ์การบริหารสภาพคล่องทางธุรกิจ SME

  • ปัญหาสำคัญของธุรกิจ SME ที่ทำให้ประสบปัญหาเรื่องการบริหารการเงินจนธุรกิจขาดสภาพคล่อง มีอยู่ 4 จมคือ จมอยู่กับลูกหนี้คงเหลือของกิจการ จมอยู่กับสินค้าคงเหลือ (Stock) ของกิจการ จมอยู่กับทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และจมไปกับการนำเงินของกิจการไปใช้ส่วนตัว
  • เป้าหมายของการบริหารเงินทุนหมุนเวียน มีอยู่ 2 ประการคือเพื่อมีเงินสดเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  • สิ่งสำคัญที่สุดในการประคองธุรกิจให้ดำเนินไปได้คือ กิจการต้องมีเงินสดเพียงพอที่จะใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ถึงแม้ปัจจุบันอาจจะขาดทุน แต่หากยังมีสภาพคล่อง กิจการก็มีโอกาสที่จะฟื้นตัวและสร้างกำไรได้อีกในอนาคตความฝันของคนทำธุรกิจหลายคนคือค้าขายดีมีกำไรมีลูกค้าหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย เจ้าของกิจการหลายคนมีรายได้มากมาย แต่กลับไม่รู้ว่าเงินของตัวเองหล่นหายไปตรงไหนบ้าง นำไปสู่การขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ถ้าหากธุรกิจของคุณไม่อยากเข้าข่ายขายดีจนเจ๊งคงต้องรีบวางแผนเรื่องการจัดการเงินทุนหมุนเวียนกันตั้งแต่ตอนนี้

    ปัญหาที่ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องมีอยู่ 4 จม คือ

    จมอยู่กับลูกหนี้คงเหลือของกิจการ เนื่องจากเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกหนี้ไม่ได้
    2. จมอยู่กับสินค้าคงเหลือ (Stock) ของกิจการมากเกินไป เพราะคิดว่าสินค้าต้องขายออกแน่ๆ แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิด
    3. จมอยู่กับทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การตกแต่งร้านใหม่ เสียค่าเช่าที่แพงๆ แต่ไม่ตรงกับกลุ่มลูกค้าหลักของร้าน
    4. จมไปกับการนำเงินของกิจการไปใช้ส่วนตัว อย่างหนี้บัตรเครดิต ข้อนี้ควรทำบัญชีแยกระหว่างบัญชีร้านค้าและบัญชีส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจ

    เจ้าของกิจการบางคนอาจเกิดอาการดีใจที่สินค้าของตัวเองขายดิบขายดี แต่พอมาสำรวจในลิ้นชักเงินแล้วกลับพบว่าแทบจะว่างเปล่า สัญญาณแบบนี้กำลังบ่งชี้ว่าว่าธุรกิจของคุณกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่องได้

    เมื่อเริ่มไม่รู้ว่าเอาเงินที่มีอยู่ไปใช้กับเรื่องอะไรบ้าง ก็คงถึงเวลาที่ต้องบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกันแล้ว โดยหลักที่ใช้ในการบริหารจัดการมีอยู่ 3 ข้อ คือ
    1. บริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น กำหนดนโยบายเงินทุนหมุนเวียนให้เหมาะสมกับธุรกิจ หรือการขอให้ลูกหนี้การค้าจ่ายเงินสดอย่างเดียว
    2. จัดวงเงินสำหรับเงินทุนหมุนเวียนให้เพียงพอ เมื่อยอดขายเติบโตขึ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
    3. จัดทำประมาณการกระแสเงินสด วิเคราะห์แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินสด บันทึกเป็นรายการว่ามีเงินเข้าและจ่ายออกเมื่อไหร่บ้าง
    สิ่งสำคัญที่สุดในการประคองธุรกิจให้ดำเนินไปได้คือ กิจการต้องมีเงินสดเพียงพอที่จะใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ถึงแม้ปัจจุบันอาจจะขาดทุน แต่หากยังมีสภาพคล่อง กิจการก็มีโอกาสที่จะฟื้นตัวและสร้างกำไรได้อีกในอนาคต

    สำหรับเทคนิคในการจัดการเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ มี 4 ข้อ ดังนี้

    1. เรียกเก็บเงินทันทีหรือมีการเจรจาข้อตกลงกันล่วงหน้าในการกำหนดชำระเงินอย่างสม่ำเสมอ แทนที่จะปล่อยให้มียอดหนี้สะสมจนสิ้นสุดโครงการ
    2. สร้างแรงจูงใจในการชำระเงินของลูกหนี้ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เช่น เสนอลดให้ 1 – 2 % หากชำระภายใน 10 วัน
    3. พยายามเลือกลูกค้า หลีกเลี่ยงลูกค้าประเภทชำระหนี้ช้าหรือไม่ชำระหนี้ตั้งแต่ต้น
    4. ลดปริมาณสินค้าคงคลัง พยายามไม่สต๊อกสินค้าเอาไว้มากเกินความจำเป็นหรือหาวิธีบริหารจัดการสต๊อกที่ดี ที่สามารถหมุนเวียนสินค้าออกได้ในเวลาอันรวดเร็ว

    ในเรื่องการจัดการสภาพคล่อง สิ่งที่เริ่มได้ในทันทีคือการจัดการสต๊อก โดยไม่ควรเก็บสต๊อกให้มากจนเกินความจำเป็น เพราะจะทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินสดไปบริหารจัดการในด้านอื่น ในหลายธุรกิจมักมีการบันทึกข้อมูลลูกค้าเอาไว้อยู่แล้วว่าพฤติกรรมของลูกค้าเป็นอย่างไร มียอดใช้จ่ายต่อคนเท่าไหร่ ลูกค้าเข้าร้านมากในช่วงวันและเวลาไหนก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องในสินทรัพย์หมุนเวียนให้มากขึ้น
    อีกตัวช่วยหนึ่งในการทำให้ SME มีสภาพคล่องมากขึ้นคือการจัดทำงบการเงิน ซึ่งเปรียบเสมือนการมีกระจกส่องสะท้อนสถานะทางการเงินของตัวคุณเองอย่ามัวสนใจแต่กำไร โดยลืมดูเรื่องการหมุนเวียนสภาพคล่องทางธุรกิจกันด้วย

 

Published  by  scbsme.scb.co.th

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ธุรกิจ SMEs ของคุณพร้อมแค่ไหน กับตลาดแรงงานในอนาคต

ธุรกิจ SMEs ของคุณพร้อมแค่ไหน กับตลาดแรงงานในอนาคต


การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและลักษณะงานของโลกยุคใหม่ทำให้คำจำกัดความของคำว่า “พนักงานเก่ง (talent)” เปลี่ยนไป คุณสมบัติของ “พนักงานเก่ง” เมื่อสิบปีที่แล้ว อาจใช้ไม่ได้กับสมัยนี้หรือแม้แต่ในอีกห้าปีข้างหน้า ฉะนั้นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จึงจำเป็นต้องทบทวนกลยุทธ์ของตนในการค้นหา “พนักงานเก่ง” เพื่อที่จะนำมาเสริมทัพให้กับองค์กรให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในยุคดิจิทัล ธุรกิจ SMEs ของคุณพร้อมหรือไม่สำหรับตลาดแรงงานในอนาคต และคุณจะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อดึงดูดพนักงานในโลกยุคใหม่ให้เข้ามาทำงาน วันนี้เรามีคำตอบมาให้ (jobdb.)

  1. ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ 

ในอดีตผู้ประกอบการ SMEs มักจะระมัดระวังในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก ๆ มาปรับใช้กับองค์กร ทว่าในการวิจัยล่าสุดเรื่องวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN SMEs) ที่จัดขึ้นโดยธนาคาร UOB, EY และ Dun & Bradstreet พบว่ากว่า 60% ของผู้ประกอบการ SMEs ในอาเซียนมุ่งเน้นการลงทุนไปที่การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น จากผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่างานในโลกอนาคตจะเพิ่มการพึ่งพาเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เช่น ระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ และการพิมพ์สามมิติขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนผู้ประกอบการที่ทวีความสนใจต่อเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกเหล่านี้ก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

  1. ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล

โซเชียลมีเดียเป็นสื่อที่มีอิทธิพลในการดึงดูดคนให้เข้ามาทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต คนยุคนี้ใช้โซเชียลมีเดียแทบจะทุกวัน ซึ่งนั่นทำให้องค์กรต่าง ๆ ใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้คนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรทำการตลาด และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนภายนอกได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้องค์กรของคุณได้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารโดยตรงและรวดเร็วกับบรรดาคนเก่ง ๆ ที่คุณอยากได้มาร่วมงาน ถึงแม้เขาจะไม่ได้กำลังหางานอยู่ก็ตาม ข้อได้เปรียบอีกประการของการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล คือ ช่องทางเหล่านี้ฟรี ! ดังนั้นจึงช่วยลดต้นทุนทางด้านการตลาดของธุรกิจคุณได้เป็นอย่างดี

  1. พุ่งเป้าไปที่คนเก่งเฉพาะกลุ่ม

อย่าคิดเพียงว่าคนหนุ่มสาวต้องการงานแต่เพียงอย่างเดียว ธุรกิจในโลกยุคใหม่ก็ต้องการพลังจากคนหนุ่มสาวเหล่านี้เช่นกัน หากองค์กรขนาดใหญ่มีการว่าจ้างมืออาชีพที่มีอายุมากเนื่องด้วยประสบการณ์และความเก๋าแล้วละก็ ในฐานะที่เป็น SMEs คุณอาจลองหันมามองกลุ่มพนักงานหนุ่มสาวบ้าง คุณอาจไม่อยากว่าจ้างพนักงานที่อ่อนประสบการณ์และอายุ แต่เรามีเหตุผลว่าทำไมคุณถึงควรพิจารณาลงทุนกับพนักงานหนุ่มสาว ประการแรก พวกเขามีความคิดที่สดใหม่ และเพิ่มมุมมองใหม่ ๆ ให้กับองค์กรของคุณ ประการที่สอง พวกเขามีข้อต่อรองและข้อเรียกร้องน้อยกว่าในแง่ของเงินเดือนถ้าเทียบกับคนที่มีประสบการณ์และอายุงานมากกว่า ประการสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดพวกเขาเป็นเด็กยุคมิลเลนเนียลที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีมาแต่เกิด และเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะรับช่วงต่อธุรกิจของคุณได้ในอนาคต

  1. เพิ่มความหลากหลายให้กับพนักงานในองค์กรของคุณ

ความหลากหลายในการว่าจ้างพนักงานในยุคก่อนมักหมายถึงการเลือกว่าจ้างผู้หญิงหรือชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ แต่ในปัจจุบันความหลากหลายทางการว่าจ้างพนักงานนั้น หมายถึงการจ้างคนเก่งมีความสามารถที่อยู่ภายนอกแวดวงธุรกิจ และการว่าจ้างผู้คนที่มีประสบการณ์ที่แตกต่างกันเพื่อนำมุมมองและไอเดียใหม่ ๆ เข้ามาสู่ธุรกิจของคุณ มีวิธีอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณจะเพิ่มความหลากหลายในองค์กรได้ วิธีหนึ่งก็คือการเปิดรับและว่าจ้างพนักงานที่มีความแตกต่างกันทั้งวัย เชื้อชาติ และเพศ อีกวิธีหนึ่งคือปลูกฝังวัฒนธรรมในองค์กรที่ส่งเสริมผู้นำที่มีความสามารถ และสนับสนุนพนักงานที่สมควรได้รับความดีความชอบโดยไม่คำนึงถึงประวัติ พื้นเพ ภูมิหลัง เพศ อายุ เชื้อชาติและศาสนา

  1. ลงทุนกับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะให้พนักงาน

ไม่ว่าองค์กรของคุณจะมีขนาดเล็กใหญ่เพียงใด การลงทุนกับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทุกด้านโดยเฉพาะทางเทคโนโลยีให้กับพนักงานให้ทันสมัยและก้าวหน้าอยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่จะทำให้องค์กรของคุณแข็งแกร่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง คุณก็ไม่ควรหยุดนิ่งอยู่กับที่เช่นกัน การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาจะทำให้องค์กรของคุณน่าสนใจ และดึงดูดให้พนักงานยุคใหม่เข้ามาทำงานและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวให้เอาชนะอุปสรรคใด ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลนี้ นอกเหนือจากทักษะของคนทำงานแล้ว ธุรกิจ SMEs ควรต้องเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการของตนให้ได้

ในโลกที่ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วรอบตัวเรา หนทางเดียวที่ผู้ประกอบการ SMEs จะสามารถการันตีความสำเร็จในอนาคตและดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาสู่องค์กรของตนได้ คือ การรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เป็น และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเลิศที่รองรับตลาดแรงงานใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่มีใครล่วงรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่สิ่งหนึ่งที่เรารู้ได้ในตอนนี้อย่างแน่นอนคือ ไม่มีคำว่าเร็วเกินไปที่จะวางแผนและเตรียมพร้อมล่วงหน้า และผู้ที่พร้อมก่อนมักไปถึงเส้นชัยก่อนเสมอ

 

Published  by  jobsdb.com

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

LEAN Supply Chain เป็นหลักสูตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจทั้งซัพพลายเชน ผ่านเทคนิค Lean Six Sigma เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของ SME ในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถแข่งขันได้ตลอดทั้งอุตสาหกรรม และ Supply Chain ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการผลิต และกิจกรรมทางการตลาดในทุกขั้นตอน โดยมุ่งหวังให้ผู้ร่วมหลักสูตรสามารถนำองค์ความรู้และผลจากการปฏิบัติเป็นกรณีศึกษาขยายผลไปยังผู้ประกอบการอื่นๆ เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อมโยง สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และต่อยอดธุรกิจกับผู้ร่วมโครงการในเครือข่ายเดียวกันได้

 

Published  by  tmbbank.com

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

​5 รูปแบบธุรกิจสุดชิค ไม่ต้องมีเงินก้อนก็เริ่มต้นได้

หลายคนอาจคิดว่าการจะกลายเป็นผู้ประกอบการได้ต้องมีเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ ความคิดนี้กลายเป็นอุปสรรคที่คอยพันธนาการและขัดขวางการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการของเรา เพราะจริงๆ แล้วในบางธุรกิจเองก็ไม่ได้จำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล โดยเฉพาะการขายของออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในทุกวันนี้ ไม่จำเป็นต้องสต็อคสินค้าในปริมาณที่มาก ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าสถานที่ นอกจากนั้น ยังมีธุรกิจอีกหลายประเภทที่เราแทบจะไม่ต้องมีเงินทุนก็สามารถเริ่มต้นได้ เช่น

   

1. งานสร้างสรรค์
ผลงานต่างๆ เกิดจากพรสวรรค์ติดตัวเรามา ยกตัวอย่างเช่น งานศิลปะ ภาพวาด ผลงานประติมากรรม หัตถกรรมต่างๆ นับเป็นต้นทุนที่คนทั่วไปไม่สามารถหาได้ สมมติว่าเรามีความสามารถด้านการวาดภาพ ก็เริ่มต้นวาดภาพศิลปะร่วมสมัย แนวโมเดิร์น แล้วนำไปวางขายผ่านทาง eBay หรือ Amazon เพื่อสร้างกำไรและพัฒนาผลงานตัวเองไปในเชิงธุรกิจ หรือนำกำไรที่ได้ไปลงทุนขยายธุรกิจต่อไป

2. รับจ้างหรือบริการต่างๆ
การให้บริการไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายหรือเงินลงทุนอะไร ใช่แค่ความรู้กับประสบการณ์ และถ้าเราไปให้บริการที่บ้านคนอื่นก็เท่ากับว่าไม่ต้องเสียค่าออฟฟิศ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจรับเลี้ยงเด็กที่บ้าน รับจัดหรือตกแต่งสวน เป็นต้น หลังจากเก็บเงินได้ประมาณหนึ่งแล้ว หากต้องการขยับขยายธุรกิจก็สามารถต่อยอดเป็นศูนย์ประสาน บริษัทรับจ้าง และอาจให้บริการจองคิวผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับคนในพื้นที่ รวมถึงภายในจังหวัดก็ได้เช่นกัน

3. บริการซ่อมสิ่งต่างๆ
ทักษะช่างและการซ่อมแซมสิ่งต่างๆ เริ่มกลายเป็นทักษะที่หากยากมากขึ้นเรื่อยๆ ในเมืองไทย แถมยังมีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนและกลายเป็นอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าพนักงานบริษัทด้วยซ้ำ ดังนั้น หากเรามีทักษะช่างติดตัวก็สามารถใช้ความรู้ความชำนาญนี้สร้างรายได้ให้กับตัวเองและผลักดันจนกลายเป็นธุรกิจได้เหมือนกับงานรับจ้างหรือบริการต่างๆ

4. งานที่ปรึกษา 
อาชีพหรืองานที่เรียกว่าที่ปรึกษาทางธุรกิจ สามารถให้ความรู้และคำแนะนำกับผู้ประกอบการได้ ซึ่ง SME บางรายยอมจ่ายเงินค่าที่ปรึกษาทางธุรกิจเป็นจำนวนเงินชั่วโมงหลักพันหรือหลักหมื่นเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนาธุรกิจเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น ประสบการณ์และความรู้ของเรา นับว่ามีประโยชน์และมีคุณค่ามากๆ สำหรับผู้ประกอบการที่พร้อมจะลงทุนเพื่อขอรับคำแนะนำ

5. Drop Ship
สำหรับ Drop Ship นั้น หมายถึงเราเป็นนายหน้าขายสินค้าให้ผ่านทางเว็บไซต์โดยที่ไม่ต้องสต็อคสินค้า ไม่ต้องลงทุน ยกตัวอย่างเช่น เราเป็น Drop Ship ให้กับสินค้าแบรนด์ A และ B โดยได้ราคาส่งมา เมื่อมีคนสั่งสินค้าผ่านเว็บไซต์ของเรา (อาจต้องทำการตลาดเก่งนิดนึง) เราก็แจ้งไปที่แบรนด์นั้นๆ ให้จัดส่งสินค้าไปที่ผู้ซื้อ และรับเงินส่วนต่างตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งวิธีนี้แทบไม่ต้องลงทุน ไม่จำเป็นต้องมีเงินก้อน ก็สามารถเริ่มต้นสู่การเป็นเจ้าสัวรายย่อมได้

 

Published  by  smethailandclub.com  on  15 June 2017

SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”

บทเรียนที่จะทำให้ SME ประสบความสำเร็จได้ก่อนคู่แข่ง

การที่คุณจะเดินทางไปถึงเป้าหมายนั้น บางทีคุณก็ต้องเจอกับเองราวแย่ๆ หรืออุปสรรค ในบางวันก็อาจจะยากกว่าวันปกติ สิ่งที่คุณควรทำคือการเดินไปข้างหน้า วันละนิด วันละนิดโดยที่ไม่หยุดเดินทางเลยสักวัน แม้ระยะทางที่คุณก้าวมันอาจจะสั้น แต่การที่คุณก้าวไม่หยุด นั่นแหละคือหนทางสู่ความสำเร็จที่สั้นลงทุกวัน และในที่สุดคุณก็จะสามารถเดินทางไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้

1.ตั้งความสำเร็จในแต่ละระยะ

หลังจากที่คุณตั้งเป้าหมายขนาดใหญ่เสร็จเรียบร้อย และรู้ว่าตัวเองจะต้องเดินทางไปทางไหน คุณควรที่จะมีเป้าหมายเล็กๆ ให้แก่ตัวเองอยู่เสมอ เช่น วันนี้ฉันจะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ วันต่อมาจะทำอะไรให้สำเร็จ ลองตั้งเป้าหมายเล็กๆ ระหว่างทางจะทำให้คุณเข้าใกล้เป้าหมายที่แท้จริงได้ง่ายขึ้น

2.อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป

คนเราทุกคนมีขีดจำกัดและการไม่กดดันตัวเองเกินไปคือกฎของ 20 ไมล์ ที่จะทำให้คุณไปถึงเป้าหมายโดยที่ไม่ทำให้ตัวเองบาดเจ็บ อย่างทีมของ Robert Falcon Scott ที่เขากดดันตัวเองในวันที่อากาศดี เดินทางจนเหนื่อยล้า พอวันที่อากาศเลวร้ายเขาจึงไม่มีเรี่ยวแรงจะเดินทางต่อ ทำได้แค่นอนรออากาศดีเท่านั้น

3.แผนการของคุณมันใช่

ก่อนที่คุณจะออกเดินทาง คุณต้องทำความรู้จักตัวเองให้ดี รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง ที่สำคัญต้องรู้ว่าทีมคุณพร้อมด้วยหรือไม่กับแผนการนี้ สิ่งสำคัญคือการปรับแต่งแผนการให้เข้ากับตัวคุณเองและทีม เพื่อให้ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

4.มีกรอบเวลา

การที่คุณกดดันตัวเองเกินไปนระยะเวลาสั้นจะทำให้คุณเครียดและบาดเจ็บเกินไป ส่วนการที่คุณไม่กดดันตัวเองเลย จนปล่อยเวลาไปนานเนิ่นนานกว่าจะถึงเป้าหมายอาจจะทำให้คุณเลิกผลักดันตัวเองได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นต้องตั้งกรอบเวลาที่พอดีๆ ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ผลักดันตัวเองอยู่เสมอ

 

Published  by  smethailandclub.com on  6 December 2018

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย