อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก่อตั้งเพื่อที่จะสร้างหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจขึ้นภายในมหาวิทยาลัยและสนับสนุนผู้ประกอบการที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่น่าสนใจมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นองค์กรวิจัยชั้นนำด้านเทคโนโลยีการเกษตร โดยมุ่งเน้นเกษตรและด้านอาหารอินทรีย์ครบวงจรรวมทั้งเกษตรปลอดภัย เพื่อเพิ่มศักยภาพภาคการเกษตรและเกษตรแปรรูปของประเทศไทย โดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และลดผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม มุ่งเน้นสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้มีความรู้และทักษะทางด้านการประกอบธุรกิจอย่างมีคุณภาพ ทั้งทางด้านเกษตรและอาหาร บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
1. มี Pilot Plant โรงงานต้นแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการมาทดลองผลิต ผลิตภัณฑ์ต้นแบบทางด้านเกษตรและอาหาร
2. สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ หรือ IQS เป็นศูนย์สำหรับการวิเคราะห์ทดสอบ แร่ธาตุและโลหะหนัก ในเครื่องสำอาง อาหาร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำใบรับรองไปยื่นในการขออย.ได้
3. สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร หรือ ICAP มีบริการตรวจรับรองมาตรการผลิตและการแปรรูปเพื่อนำใบรับรองไปยื่นขอมาตรฐานการผลิตและการแปรรูปสากลได้
4. มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีการพัฒนาเลี้ยงปลาในระบบปิดเพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการสูญเสียผลผลิตที่มาจากภัยธรรมชาติ และน้ำเสียจากโรงงาน มีเทคโนโลยีที่จะลดแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถเพาะเลี้ยงปลาหรือสัตว์อื่นได้
5. มีบริการ Smart Farming นวัตกรรมด้านการเกษตรสำหรับผู้ประกอบการ เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ มีศูนย์นวัตกรรมการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาแปรรูป โดยเน้นเรื่องสิ่งทอ มีศูนย์หัตกรรมสิ่งทอ นำมาเพิ่มคุณค่าจากสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เช่น ผ้าอ้อมซักได้
6. ศูนย์ BCG คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่รวมทีมอาจารย์หลายท่านเพื่อพัฒนาวิจัย ไปสู่ประชาชน หรือพัฒนานักศึกษา ผู้ประกอบการ เกษตรกร เพื่อประกอบอาชีพ ให้เกิดกระบวนการ Zero Waste มีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสร้างธุรกิจ หรือสำหรับผู้ประกอบการที่มีปัญหา อยากให้ช่วยเหลือหรือปรับปรุงการผลิต หรือสร้างนวัตกรรมก็สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ โดยเฉพาะการเกษตรที่มีผลผลิตเหลือใช้ ก็จะถูกนำไปพัฒนาแปรรูป เพิ่มมูลค่า ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร อย่างเอาสารสกัดไปทำครีม มากส์พอกหน้า อาหารเสริม เครื่องสำอาง ฯลฯ เช่น การนำทุเรียนมาสกัดแปรรูปเป็นมาส์กทุเรียน โครงการแปรรูปลำไยที่ส่งออกไม่ได้ พัฒนาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากลำไยตั้งแต่เปลือกถึงเมล็ด อาหารเสริมอัดเม็ดจากกระชาย ฯลฯ
ทั้งยังให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมสร้างความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาในระดับภูมิภาค และทางศูนย์เปิดการเรียนการสอนในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Design Thinking เพื่อหาความต้องการของตลาด เป็นคอร์สระยะสั้นใช้เวลา 3 เดือน เพื่อผลักดันให้นักศึกษาและผู้ประกอบการรวมทั้งเกษตรกร สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด โดยทางศูนย์จะเป็นที่ปรึกษา ช่วยดูแลตั้งแต่จนผลิต ซึ่งกำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ มีค่าสมัคร 1,000 บาท รับครั้งละ 30 คน ทางศูนย์มีการจัดสรรผู้ที่เข้ามารับการปรึกษาให้ตรงกับความต้องการนั้นๆ โดยทางศูนย์มองมากกว่าการวิจัย แต่มองความเป็นจริงด้านตลาดเป็นสำคัญ และสอนอบรม Workshop ให้แนวคิดออกแบบความคิดและผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า
โดยทางผู้ประกอบการสามารถเข้ามาปรึกษาศูนย์ได้ ควรเริ่มต้นจากการมีผลผลิตอยู่แล้ว และมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า เพราะการวิจัยมีค่าใช้จ่าย ทางศูนย์อาจขอทุนได้แต่ผู้ประกอบการต้องออกทุนที่เหลือเอง แนะนำให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาควรมีความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะทำให้การพัฒนาสินค้าได้เร็วขึ้น
โดยติดต่อสอบถามได้ที่
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร | Maejo Agro Food Park (MAP)
ชั้น 4 อาคารอำนวยยศสุข มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์ 0 5387 5635
โทรสาร 0 5387 5637
มือถือ 081 883 2696
Website https://map.mju.ac.th/
Food Innopolis สวทช. เป็นเหมือน One-stop service มีบริการที่ตอบสนองความต้องการครบจบในที่เดียว เพราะที่นี่จะเป็นตัวกลางในการจัดหาข้อมูล ที่ปรึกษา นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ รวมถึงสถานที่ในการใช้เครื่องมือ ให้ผู้ประกอบการในแต่ละประเภทโดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ไม่ได้ทำแค่จัดหาแต่หน่วยนี้จะเป็นคนคอยประสานงานระหว่างผู้ประกอบการกับนักวิจัยในเรื่องธุรกิจควบคู่ไปกับเรื่องวิทยาศาตร์ตลอดการทำวิจัยตั้งแต่กระบวนการแรก ที่ผู้ประกอบการนำไอเดียมา เมื่อพูดคุยกับนักวิจัยว่าธุรกิจสามารถไปต่อได้ก็จะดำเนินขั้นตอนการวิจัย จนถึงขบวนการผลิตสินค้าต้นแบบที่สามารถนำไปออกใบอนุญาตได้ เช่น ใบ อย.
- จัดหาผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย อาจารย์ ให้ผู้ประกอบการในการพัฒนาสินค้าต้นแบบ ให้บริการเชื่อมประสานให้เกิดความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้และการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมอาหาร รวมทั้งด้านการพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยี
- จัดหาศูนย์ทดลอง มีศูนย์รวมบริการวิจัยและพัฒนาด้านอาหารโภชนาการและความปลอดภัยของอาหาร เช่น การวิเคราะห์และจัดทำฉลากโภชนาการของอาหาร การวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารเพื่อขึ้นทะเบียน เป็นต้น
- จัดหาวัตถุดิบในการผลิต รวมถึงสถานที่ในการใช้เครื่องมือที่ช่วยในการผลิตพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์
- วิเคราะห์การตลาด รวมทั้งช่วยจัดหาทุน
- ให้บริการคำปรึกษา แนะนำ ช่วยติดต่อ และรับยื่นคำขอจดทะเบียนอาหาร โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีบริการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอุตสาหกรรมอาหารและเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ที่ทันสมัยในระดับโลก ทั้งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูป การวิจัยและพัฒนา การวิเคราะห์ทดสอบ กฎหมายอาหาร ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดไปจนถึงทักษะด้านธุรกิจ เช่น การเป็นผู้ประกอบการ และการพัฒนาธุรกิจและการตลาด เป็นต้น ให้สามารถรองรับการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ รวมทั้งมีความพร้อมในการเชื่อมต่อกับห่วงโซ่คุณค่าอาหารโลกได้ อย่างในช่วงCovid-19 มีการจัดอบรมเทรนอาหาร Function Food ที่กำลังมาแรง
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าใช้บริการ ขอให้เตรียมความพร้อมเข้ามาคุย ถ้าทางศูนย์เห็นว่าสามารถไปขั้นตอนต่อไปได้เลยก็จะเริ่มกระบวนการแรก แต่ถ้าทางศูนย์เห็นว่ายังคงเป็นไปได้ยากก็จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา
โทร 0-94341-7111 , 0-94249-7333 , 0-94340-4333 , E-mail : bd@foodinnopolis.or.th
Published on 13 November 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก หรือหลังจากได้ปรับโครงสร้างเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีหน้าที่หลักคือให้คำปรึกษาช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการ แนะนำในกระบวนการผลิตเซรามิก ให้บริการทั้งด้านวิชาการ และเทคโนโลยีการผลิต ให้คำปรึกษาในเรื่องการผลิตเซรามิก ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นอย่างเช่น เรื่องดิน การขึ้นรูป การเผา บรรจุภัณฑ์ การลดต้นทุนในการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แนะนำในกระบวนการผลิตเซรามิก ให้บริการทั้งด้านวิชาการและเทคโนโลยีการผลิตแก่กลุ่มผู้ประกอบการทั้งวิสาหกิจชุมชน OTOP และ SMEs เพื่อส่งเสริมสนับสนุนยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมเซรามิก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ เศรษฐกิจไทย สำหรับผู้ประกอบการSMEs สามารถเข้ามารับบริการทางด้านข้อมูล เช่น สนใจในการทำโรงงานเซรามิก ต้องเริ่มต้นอย่างไร ต้องรู้อะไรบ้าง มีการเข้ามาขอฝึกอบรมเฉพาะราย อบรมเรื่องวัตถุดิบ การวิเคราะห์ทดสอบ การเตรียมดินเตรียมเคลือบ การขึ้นรูป การเผา ไม่เสียค่าบริการ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการด้านเซรามิก
1. บริการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบ วิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ทดสอบเซรามิก โดยในส่วนนี้จะมีค่าบริการ
2. บริการออกแบบพัฒนาและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่อง 3D จากวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และนำผลการศึกษา วิจัย หรือทดสอบ มาเป็นข้อมูล ถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม
3. ให้บริการเครื่องมือในการผลิต มีบริการเครื่องจักรกลาง สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นและยังไม่มีงบประมาณ ก็สามารถเข้ามาใช้บริการเครื่องมือเครื่องจักรที่นี่ได้ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้กลุ่มผู้ประกอบการด้านเซรามิกเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่อไป
4. บริการขั้นตอนการผลิต ทั้งการเตรียมดิน เตรียมเคลือบ การขึ้นรูป การเผา ไม่เสียค่าบริการ
5. บริการทางด้านข้อมูลห้องสมุดเซรามิก ทางศูนย์มีส่วนที่พัฒนาในแหล่งข้อมูล มีความรู้ความชำนาญในทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่สามารถเข้ามาหาความรู้ทางด้านโรงงานเซรามิก โดยทางศูนย์จะมีฐานข้อมูลโรงงานจากทั่วประเทศ รวมทั้งฐานข้อมูลสูตรดิน สูตรเคลือบ ถูกบรรจุไว้ในห้องสมุดเซรามิก
6. บริการฝึกอบรมเฉพาะราย ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ถ้าผู้ประกอบการด้านเซรามิกสนใจหรือมีไอเดียสามารถเข้ามาติดต่อได้เลยที่ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก
หมู่ที่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 52130
หรือติดต่อผ่าน เบอร์โทรศัพท์ 0 5428 1884 , 0 5428 1885 , 0 5428 2376 , 0 5428 2375
อีเมล์ ceramic@dip.go.th
เว็บไซต์ http://ceramiccenter.dip.go.th
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือที่เรียกกันว่าเทคโนธานี เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีภารกิจในการให้บริการวิชาการ การส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการนำผลงานวิจัยลงพื้นที่ถ่ายทอด ให้คำปรึกษาเชิงลึก ปรับแปลงถ่ายทอดเทคโนโลยี นำเอาผลงานวิจัยไปช่วยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมรวมไปถึงต่อยอดเชิงพาณิช การยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแก่บุคคลภายนอก ผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคม สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
มีพื้นที่ให้บริการภาคอีสาน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรและปศุสัตว์ โดยมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาสายพันธุ์ไก่โคราช ไทยวากิว รวมทั้งเรื่องข้าว เป็นต้น
ด้วยความที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จึงมีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยี และวิศวกรรม มีคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญในวิศวโยธาโดยเฉพาะให้คำปรึกษาด้านกระบวนการผลิต การลดต้นทุน มีศูนย์เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกงานทุกอย่างไว้รวมกัน เพราะฉะนั้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยจึงสามารถใช้ร่วมกันได้หมด บริการสำหรับSME ทุกประเภทโดยเฉพาะด้านอาหาร ด้านเกษตร แต่ด้วยเป็นพื้นที่ในภาคอีสาน ผู้ที่เข้ามารับบริการส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านอาหาร ยกตัวอย่าง “แยมอิ่มใจ” ที่ทางเทคโนธานีได้ช่วยพัฒนาสูตร โดยเป็นแยมที่ไร้น้ำตาล ใช้ความหวานจากธรรมชาติล้วน ธุรกิจ“คากิ หนังไก่ทอดกกรอบ” โดยช่วยพัฒนาในเรื่องความกรอบและลดความหืน
1. บริการทางห้องปฏิบัติการ เป็นศูนย์กลางการบริการวิเคราะห์ทดสอบและวิจัยที่ผ่านการรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากหน่วยรับรองกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยให้บริการการใช้เครื่องมือวิเคราะห์วิจัยระดับสูง ครอบคลุมทุกความต้องการ การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบในเชิงเทคนิคและการพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการนำงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ หรือนำ ไปดำเนินการวิจัยต่อยอด และการจัดให้มีสถานที่สำหรับการอบรมและสาธิตเทคโนโลยี มุ่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
2. บริการด้านสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือมีเครื่องตรวจสอบคุณภาพน้ำ เครื่องวิเคราะห์โลหะหนักในอาหาร เครื่องทดสอบคุณภาพนมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องกำจัดมอดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการได้ เช่น การก่อสร้าง เรื่องของดิน เรื่องของวัดุ การทดสอบน้ำ การทดสอบอาหาร
3. บริการทรัพย์สินทางปัญญา ทำหน้าที่ให้บริการให้คำปรึกษา ยื่นจดแจ้งทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแก่บุคคลภายนอก และผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
4. ทำหน้าที่เป็น Business Buddy ให้กับผู้ประกอบการทุกประเภทที่สนใจ ผู้ประกอบการ SMEs รวมถึง Start Up โดยมีคอร์สอบรม ให้ความรู้ มีกระบวนการ Pre Screening คือการสอบถามความต้องการเบื้องต้นของผู้ประกอบการที่เข้ามาขอรับความช่วยเหลือ ทั้งแบบมีเพียงไอเดีย หรือมีความต้องการที่ชัดเจน ให้การอบรมในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ความรู้ในการทำแผนธุรกิจ Business Model Canvas รวมไปถึงการให้คำปรึกษาเชิงลึกการตลาดในด้านการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กรในเรื่องของขบวนการผลิต การนำสินค้าออกไปในตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น ผู้ประกอบการมีแต่วัตถุดิบแต่ยังไม่มีไอเดียว่าจะพัฒนาอย่างไรเราจะเป็นคนช่วยให้คำแนะนำและต่อยอด
5. การอบรมในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ โลโก
6. มี Co-Working Space พื้นที่ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการ มีห้องประชุมห้องสัมมนาให้เช่าบริการและในอนาคตกำลังสร้างอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นแห่งที่ 4 ของประเทศ
ทางศูนย์มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายทั้งด้านอาหาร การเกษตร หรือเทคโนโลยี ทำให้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทางมหาวิทยาลัยได้พัฒนาเครื่องแรงดันบวก-ลบ เพื่อช่วยในการรักษาในช่วงที่เกิดการระบาด และยังมีเครื่องปรับสภาพอากาศในการกรองฝุ่น PM2.5 อีกด้วย
มหาวิทยาลัยสุรนารี มีสโลแกนว่า “ถ้ามีปัญหา ลองมาหาเรา” โดยทางมหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่เป็น Business Buddy ให้กับผู้ประกอบการทุกประเภทที่สนใจสามารถ walk-in เข้ามาได้เลย ผู้ประกอบการสามารถเข้ามารับบริการได้ที่
เทคโนธานีบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้ามาปรึกษาฟรี ช่องทางการสื่อสาร โทรศัพท์ 0-4422-4811 to 22
โทรสาร 0-4422-4814 อีเมล์ : technopolis@sut.ac.th
เว็บไซต์ : http://technopolis.sut.ac.th/
Facebook : facebook.com/TNSUT
SCI-Park ม.นเรศวร เป็นศูนย์บ่มเพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี One stop service ที่มีบริการที่หลากหลาย เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการอาหารด้านนวัตกรรมมีบริการหลัก ๆ คือ บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน การบ่มเพาะธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ทดสอบการนำอาจารย์ไปเป็นที่ปรึกษาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ ด้านเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง ด้านการแพทย์ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ แปรรูปอาหาร เครื่องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มากมาย รวมถึงพื้นที่ให้เช่า
ทางศูนย์มีบริการอื่นๆ อีกมากมายให้ผู้ประกอบการ ดังนี้
ผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจสามารถเข้ามาติดต่อได้ ทั้งผู้ประกอบการที่เคยผ่านโครงการ ผู้ประกอบการที่ติดต่อผ่านนักวิจัยในมหาวิทยาลัย หรือผู้ประกอบการที่อยาก Walk-in สามารถเข้ามาได้เลยและรอผลการคัดเลือก
ติดต่อได้ที่
กองการวิจัยและพัฒนา อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่างมหาวิทยาลัยนเศวร
(อาคารB) อาคารมหาธรรมราชา 99 หมู่ 9 ตำบล ท่าโพธิ์ จังหวัด พิษณุโลก 65000
เบอร์ 055-96-8721-8 E-mail : sciencepark@nu.ac.th
Website : http://scipark.nu.ac.th/
Facebook : https://www.facebook.com/pages/category/Government-Organization/NU-SciPark-547002178663488/