SME จะรับมืออย่างไร เมื่อลูกค้าเปลี่ยนใจเร็ว เบื่อง่าย เปลี่ยนแบรนด์บ่อย
ต้องยอมรับว่าตลาดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ หรืออาหาร มีการแข่งขันที่สูงขึ้นเป้นอย่างมาก ทำผู้ยริโภคมีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น มีช่องทางในการเลือกสรรมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจ SME ประสบปัญหาลูกค้า เบื่อง่าย เปลี่ยนใจเร็ว เปลี่ยนแบรนด์บ่อย ทำให้ประสบปัญหาทางธุรกิจ ยอดขายนั้นลดลง วันนี้ SME ONE ขอพาทุกคน Move on กับเทคนิคการประกอบธุรกิจให้มัดใจลูกค้า
“ลูกค้าเปลี่ยนใจเร็ว เบื่อง่าย หรือมีความอดทนต่ำ” ที่เป็นเช่นนี้เพราะสภาพตลาดเปลี่ยนไป เมื่อจำนวนผู้ขายมีมากขึ้น เพราะใครๆ ก็ขายได้ นั่นจึงทำให้มีสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดมากกว่าปกติ เมื่อมีสินค้าใหม่ลูกค้าก็จะขอลอง นั่นจึงทำให้สินค้าเดิมยอดขายลดลง แต่เมื่อลองแล้วไม่ถูกใจ ก็กลับไปซื้อสินค้าเดิม อย่าลืมนะครับว่า ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการแค่ความใหม่หรือแตกต่าง (Different) แต่ต้องการของที่ดีกว่า (Better) ดังนั้น จึงดูเหมือนว่า ลูกค้าเปลี่ยนใจเร็ว ซึ่งที่จริงลูกค้าจะลอง (Trial) สินค้าใหม่ไปเรื่อยๆ สรุปแล้วลูกค้าจะเปลี่ยนใจเมื่อเจอสิ่งที่ใช่มากกว่าเดิม
เรื่องที่หนึ่ง คือ “กรณีนี้หากเป็นแบรนด์ใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง” เวลาจะออกสินค้าใหม่ รุ่นใหม่ หรือรสชาติใหม่ ต้องวางแผนมาอย่างดีว่า ตัวใหม่จะไม่ทำลายตัวเก่า หมายความว่า ต่อให้ลูกค้าจำนวนหนึ่งเลิกซื้อตัวเก่า หันมาซื้อตัวใหม่ แต่ยอดขายที่ได้จากสินค้าตัวใหม่ต้องมากขึ้นกว่ายอดขายตัวเก่าที่หายไป นั่นทำให้ได้เงินจำนวนมากขึ้น เพราะโดยธรรมชาติสินค้าใหม่จะไปทำลายสินค้าเก่า (หรือที่เรียกว่า Canabolize) การออกสินค้าใหม่ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้อย่างมาก หากมีสินค้าใหม่แล้วรายได้ลดลงก็ไม่ควรทำ
เรื่องที่สอง คือ “ความสนุก (Fun)” เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ไ ด้จริงและมีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดทุกยุคทุกสมัย เพราะแม้จะเป็นคนมีเหตุผลแค่ไหน แต่เวลาตัดสินใจซื้อ มันก็คืออารมณ์ในขณะนั้น เคยไหมครับที่ตั้งใจเสียดิบดีแต่พอไปถึงร้านค้า กลับเลือกสินค้าตัวอื่นที่น่าสนใจมากกว่า
ความสนุก ความชอบ ความเชื่อ ความตื่นเต้น การอยากลอง หรือเรียกรวมๆ ว่า อารมณ์ (Emotion) จึงช่วยได้มากในการทำการตลาด การกระตุ้นอารมณ์คนซื้อมีหลายรูปแบบ หากเป็น “ตัวบุคคล” ในอดีตอาจใช้ดารา นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาดัง แต่เดี๋ยวนี้อาจเพิ่มคนดังออนไลน์ ที่มีคนไลค์เป็นแสนๆ คน เข้าไปด้วย นัยว่าถ้าคนกลุ่มนี้พูดถึงแบรนด์ใด แฟนคลับก็น่าจะชอบด้วย สำหรับ SME การใช้เซเลบริตีคงไม่ไหวเพราะมีค่าใช้จ่ายสูง จึงนิยมสร้าง “คาแร็กเตอร์” เป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อสื่อสารให้เข้าถึงตัวลูกค้าได้ง่าย แต่เดี๋ยวนี้ตัวการ์ตูนมีมากมาย ทำให้ไม่ดึงดูดลูกค้าเท่าที่ควร สุดท้ายทุกแบรนด์ก็ใช้ท่าไม้ตาย คือ การเล่นเกม โดยมีของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เป็นการตอบแทน
เรื่องที่สาม คือ “ลูกค้าไม่ค่อยภักดี มี Loyalty ต่ำ” ประเด็นนี้น่าคิดนะครับ เพราะจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ผลวิจัยสรุปได้ว่า ค่าความภักดี (Loyalty Index) ลดลงเรื่อยๆ ที่เป็นแบบนี้เพราะลูกค้ามีข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม ในอดีตคนสร้างแบรนด์สามารถควบคุมภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ตามที่ต้องการ เพราะสามารถควบคุมการสื่อสารได้หมด ทั้งข่าว การโฆษณา หรือ PR ต่างๆ นั่นทำให้ลูกค้าได้เห็นแบรนด์เฉพาะในมุมที่เจ้าของแบรนด์อยากให้เห็น แต่ปัจจุบันไม่มีใครคุมการสื่อสารได้หมด ทำให้ผู้บริโภคได้เห็นแบรนด์ในอีกด้านหนึ่ง เป็นด้านที่เจ้าของแบรนด์ไม่อยากให้เห็น ไม่ถึงกับเป็น Dark Side แต่ถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากให้ใครรู้ เมื่อลูกค้ารับรู้เรื่องราวอีกด้าน จึงบั่นทอนความน่าเชื่อถือ
แล้วการทำธุรกิจแบบไหนจึงจะถือเป็น Good Citizen เพราะคำคำนี้ถามร้อยคนก็ได้ร้อยความหมาย ผมคิดว่าการดูแนวโน้มการทำธุรกิจของบริษัทใหญ่ระดับโลกน่าจะให้คำตอบที่ดี ซึ่งตอนนี้พบว่าหลายบริษัทต่างยึดเอากรอบการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) มาเป็นเป้าหมายหนึ่งในการทำธุรกิจ
หรือบางแผนงานหากทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้ดี (Data Analytics) ก็มีส่วนช่วยให้สังคมน่าอยู่ อย่างที่ฟอร์ด ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในอเมริกา จัดทำ Ford Smart Mobility Plan โดยกระตุ้นให้ผู้ขับขี่แชร์โลเกชั่น แล้วฟอร์ดจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลการขับขี่ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อให้เกิดการเดินทางที่ดีที่สุด เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างการช่วยสร้างให้สังคมน่าอยู่
สรุปแล้วการเข้าใจลูกค้า ต้องมองให้ถึงแก่น ต้องเข้าใจความต้องการที่แท้จริง เพราะลูกค้า ไม่ใช่แค่ต้องการ ของใหม่ แต่ต้องอยากได้ของที่ดีกว่า ไม่ใช่แค่อยากสนุก แต่อยากให้เป็น สีสันบนการใช้งานได้จริง ไม่ใช่แค่แบรนด์ที่ดูดี แต่เป็นบริษัทที่ Good Citizen
อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/marketing/8318.html
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
สิ่งไหน? ที่ช่วยพลิกวิกฤตให้ SME รอด
เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ที่หลายธุรกิจต้องประสบกับวิกฤต โควิด-19 ทำให้ต้องสะดุด หรือบางธุรกิจต้องปิดตัวลง วันนี้ SME ONE ขอนำมุมมองของคุณ วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการ อาวุโส ธนาคารกสิกรไทย ที่ได้พูดถึง 3 แนวทางการก้าวข้ามวิกฤตโควิด พร้อมทริคดีๆ ในการทำธุรกิจมาฝากทุกคนกัน
“วิกฤตเป็นสิ่งไม่มีใคร คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือมาจากไหน แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการกลับไม่ได้มีการเตรียมการ รับมือที่ดีพอ ดังนั้น การที่สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ธุรกิจเลยเป็นสิ่งที่ต้องทำ และเตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะ ความพร้อมตรงนี้เองที่จะทำให้ผู้ประกอบการ เดินเข้าสู่วิกฤตได้อย่างมีทางออก”
ขั้นแรก : บริหารต้นทุน ฟิตหุ่นธุรกิจให้บาง
ในภาวะวิกฤตสิ่งที่เห็นได้ชัด คือ Demand หรือความต้องการซื้อมักจะลดลง ดังนั้น การทำธุรกิจในจังหวะที่ความต้องการซื้อต่ำ นั่นแปลว่า ผลตอบแทนหรือผล กำไรบนงบการตลาดที่ลงไปจะได้น้อยกว่า ปกติ ดังนั้น การลดแลกแจกแถม อาจจะ ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะจะยิ่งพากันเดินไปลงเหว แต่สิ่งที่ ควรทำคือ การลดน้ำหนักเพื่อฟิตหุ่น ด้วย การลดต้นทุน ทำตัวให้เบามากที่สุด ซึ่งจะทำให้ธุรกิจแข็งแรง ซึ่งการลดต้นทุนนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำในช่วงที่เกิดวิกฤตเท่านั้น แต่ควรทำให้การลดต้นทุนกลายเป็นเรื่องปกติ เป็นความเคยชินที่จะต้องทำอยู่ตลอด
ขั้นสอง : หาลูกค้าที่ใช่ ช่วยปกป้องธุรกิจยามยาก
ในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ต้อง ยอมรับว่ายอดขายหรือจำนวนลูกค้า ย่อมไม่เหมือนเดิมแน่นอน จากเดิมที่ เคยขายได้ 100 คน ในวิกฤตการจะ ทำเช่นนั้นได้ถือเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งวิธีที่จะช่วยต้านวิกฤต คือ ต้องหาลูกค้าที่มีกำลังซื้อ แม้จะไม่ได้ 100 คนเท่าเดิม ถ้าได้ลูกค้าที่มีกำลังซื้อ เพียง 60 คน โดยที่ผู้ประกอบการ สามารถเลี้ยงความต้องการในส่วนนี้ ไว้ได้ ก็ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างยอดขายและอยู่รอดได้
ขั้นที่สาม : เติมเทคโนโลยีดิจิทัล ต่อยอดโอกาสธุรกิจ
คือการเพิ่มโอกาส เติมศักยภาพให้ธุรกิจด้วยเทคโนโลยี สิ่งหนึ่งที่สะท้อนได้ชัดจากวิกฤต COVID-19 คือ ธุรกิจที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถจะสร้างโอกาสในวิกฤตอย่าง เห็นได้ชัด เช่น ธุรกิจอาหารที่ขยับสู่ ออนไลน์ขายผ่านแพลตฟอร์มดิลิเวอรี สามารถที่จะเติบโตมียอดขายเพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด นั่นคือ ทิศทางของ โลกธุรกิจยุคใหม่ที่ผู้ประกอบการต้อง เดินไป แต่ก็ใช่ว่าจะไปในทิศทางออนไลน์ อย่างเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องผสมผสานออนไลน์และออฟไลน์ให้เดินไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะอย่างไรแล้ว โลกของ ผู้บริโภคจะยังคงเป็นโลกคู่ขนานที่มีทั้ง ออนไลน์และออฟไลน์ในเวลาเดียวกัน
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
คันธุลีฟาร์มเห็ดอินทรีย์ เกิดจากจุดเริ่มต้นของพนักงานประจำบริษัทเอกชน ผู้ประกอบการทำไประยะหนึ่งอยากที่จะประกอบกิจการส่วนตัวจึงตัดสินใจกลับมาหาลู่ทาง หาอาชีพใหม่ที่บ้านอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเริ่มการเพาะเห็ดแครง และเห็นช่องทางในการทำตลาดเห็ดแครงสามารถสามารถเพิ่มมูลค่าได้ จากเห็ดสด เห็ดแห้งสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ ผู้ประกอบการได้เกิดความคิดทำเป็นคั่วกลิ้งเพราะทางภาคใต้จัดได้ว่าเป็นเมนูหลัก ส่วนใหญ่จะทานคั่วกลิ้งหมูและคั่วกลิ้งไก่ โดยผู้ประกอบการอยากทำเป็นคั่วกลิ้งเห็ดแครง ทำเป็นเห็ดแครงแปรรูป เช่น คั่วกลิ้งเห็ดแครง น้ำพริกเห็ดแครง น้ำพริกเผารถต้มยำเห็ดแครง ผู้ประกอบการต้องการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ในการแข่งขันด้านธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศและแนวคิดในการทำการตลาด เน้นการเพิ่มช่องทางกรตลาด การเพิ่มกลุ่มลูกค้า เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดสุราษฎร์ธานี แนะนำให้ทราบถึงโครงการของสสว. ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Digital Marketing , Sme connext , Sme academy 365 เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการบริการ การลดขั้นตอนและเวลา ลดต้นทุนและเพิ่มระดับคุณภาพในการให้บริการ เพื่อสร้างความ พึงพอใจสูงสุดให้ลูกค้าของผู้ประกอบการ และให้คำแนะทางด้านการพัฒนาผู้ประกอบการในการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการให้มีความสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าจากนวัตกรรม และการยกระดับธุรกิจ High Value และจัดทำแผนธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนพร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพเชิงลึกและนำผู้ประกอบการสู่การทดสอบตลาดเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้าโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และโครงการต่าง ๆ ของ สสว. ต่อไปเชื่อมโยงหน่วยงานส่งเสริมผู้ประกอบการในการให้องค์ความรู้ ให้คำปรึกษา การนำงานวิจัยนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ การตลาดนำการผลิตการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามความเหมาะสมอันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง เพื่อความยั่งยืนของรากฐานเศรษฐกิจ
ผลลัพธ์ ผลสำเร็จ ที่ได้จากการให้คำปรึกษา ให้บริการและการส่งต่อ
มีช่องทางการจำหน่วยสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Shopee , Lazada , Website : WWW.ithida.com
ได้เข้าร่วมโครงการ SME ONLINE BY OSMEP จนทำให้สามารถจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคและมียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการออนไลน์ด้วย Digital Marketing
ได้รับใบรับรองมาตรฐานสินค้าปลอดภัย "สินค้าปลอดภัย" ที่ได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการ
=พช.61-สฎ-0133 น้ำพริกเห็ดแครงสด คันธุลีฟาร์มเห็ดอินทรีย์
=พช.61-สฎ-0137 คั่วกลิ้งเห็ดแครงสด คันธุลีฟาร์มเห็ดอินทรีย์
ในกิจกรรมยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ภายใต้โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
📍บริษัท 108 ฟู๊ด จำกัด ประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายแยมผลไม้ น้ำผลไม้แปรรูป เจลลี่รสผลไม้ และรับจ้างผลิต (OEM) ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรต่างๆ เป็นต้น ผู้ประกอบการ ได้ประสบปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เช่น ผลิตผลทางการเกษตรล้นตลาด ราคาตกต่ำ จึงเกิดแรงบันดาลใจ ทำการศึกษา ค้นคว้าวิจัย พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงได้เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ เช่น แยมมะม่วง แยมสับปะรด แยมกล้วย แยมสตอเบอร์รี่ แยมส้ม แยมมัลเบอร์รี่ แยมมิกซ์เบอร์รี่ แยมขิง น้ำเบอร์รี่สกัดเข้มข้น 100% และเจลลี่มะม่วง เป็นต้น ต่อมาได้พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ และโรงงานสถานที่ผลิต จนได้รับมาตรฐานต่างๆ เช่น อย. ,GMP Codex, HACCP Codex. และได้เครื่องหมายมาตรฐานการผลิตสินค้าในประเทศไทย Made in Thailand (MIT) เป็นต้น และมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนากระบวนการผลิตไปสู่ อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐกิจนิเวศ (Eco-Industry) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และนำของเสียไปใช้ประโยชน์ เช่น นำเปลือกสับปะรด ไปเป็นอาหารสัตว์ ตาสับปะรด นำไปทำไวน์ เป็นต้น
📍ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดนครราชสีมา ได้ส่งต่อความช่วยเหลือไปที่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) แต่ผู้ประกอบการมีปัญหาเครดิตไม่ปกติ จึงแนะนำให้ปรับเปลี่ยนกรรมการท่านใหม่ และใช้เวลาระยะหนึ่ง จึงทำการยื่นกู้ใหม่ได้ และได้แนะนำให้สมัครเข้าร่วมโครงการของ สสว. เช่น โครงการสุดยอด SME จังหวัดประจำปี 2563 โครงการปั้นดาว ประจำปี 2564 ศูนย์ OSS จ.นครราชสีมา แนะนำให้เข้าร่วมอบรม สัมมนา การตลาดออนไลน์ ผ่าน แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Shopee Lazada แนะนำเข้าร่วมกิจกรรมการเจรจาธุรกิจ (Business Matching)
🏅ผลลัพธ์ ผลสำเร็จ ที่ได้จากการให้คำปรึกษา ให้บริการและการส่งต่อ
1.ได้รับรางวัล SME Provincial Champion จังหวัด ประจำปี 2021
2.ได้รับรางวัลโครงการปั้นดาว ประจำปีงบประมาณ 2564
3.ได้รับรางวัล SME Start Up ครั้งที่ 4
4.ได้คู่ค้า ในการรับจ้างผลิตสินค้า (OEM)
สรุปรายได้ 3 ปี ย้อนหลัง หลังจากได้เข้าร่วมโครงการต่างๆ ของ สสว. ในด้านการตลาด ซึ่งได้มีการนำสินค้าเข้าร่วมจำหน่ายร่วมกับโครงการปั้นดาว และจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ
รวมรายได้ทั้งสิ้น 2,539,500 บาท
📍นี่คือ 1 ใน SME ที่ประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาธุรกิจให้เติบโตขึ้นได้ เพียงเข้ามารับคำปรึกษาจากศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร สสว.
📍สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โทร 1301 หรือ www.sme.go.th
👉🏼บริษัท ริมดอย ฟู้ดไทย จำกัด เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2561 ได้ก่อตั้งในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปกล้วยบ้านดง ตำบลหลวงใต้ จังหวัดลำปาง จากการรวมกลุ่มของสมาชิกผู้ที่สนใจในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (กล้วย) ทางกลุ่มฯได้เริ่มจากการแปรรูปกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์ เช่น กล้วยอบเนย กล้วยตาก เป็นต้น และทำการจำหน่ายในนาม แบรนด์ น้องจอย โดยมี นาย พิพัฒน์ เตจ๊ะน้อย เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุนชน เป็นผู้ทำการตลาดและติดต่อลูกค้าด้วยตนเอง จากนั้นผลิตภัณฑ์จะถูกส่งขายให้แก่บริษัทคู่ค้าที่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร นำไปบรรจุส่งขายร้านค้าปลีก และ ร้านค้าส่งทั่วประเทศ หลังจากผลิตภัณฑ์ได้เป็นที่รู้จักของลูกค้าจึงทำให้ลูกค้ามีกำลังซื้อที่เพิ่มมากขึ้น ทางประธานกลุ่มได้มีแนวคิดที่จะขยายการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และต่อมาต่อมา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ในนามของ บริษัท ริมดอย ฟู๊ดไทย จำกัด จนถึงปัจจุบัน โดยทางบริษัทฯ ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานและคุณภาพของวัตถุดิบตลอดจนถึงผลิตภัณฑ์สุดท้าย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์เมื่อถึงมือลูกค้าจะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพที่ดีตามมาตรฐานกำหนด อีกทั้งยังมีนโยบายในการพัฒนาไปสู่การสร้างสัมพันธภาพทางธุรกิจ เพื่อความเจริญเติบโตในทางธุรกิจการค้าต่อไป
👉🏼ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดลำปาง ได้ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นและประสานส่งต่อความช่วยเหลือต่อให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ และโครงการของ สสว. อาทิเช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาปรับปรุงโรงตากพลังงานแสงอาทิตย์พัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ภายใต้โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุนการผลิต การจัดการกระบวนการภายในธุรกิจ ในรูปแบบการต่อยอดโครงการตามเทคโนโลยีเดิม หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อการยกระดับการแข่งขันด้านธุรกิจ และปรับตัวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม (depa Digital Transformation Funds) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานสินค้าบริการและผลิตภัณฑ์ (อย., GMP, มผช.) โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SMEs STRONG / REGULAR)
👉🏼ผลลัพธ์ ผลสำเร็จ ที่ได้จากการให้คำปรึกษา ให้บริการและการส่งต่อ
1) ลดต้นทุน : จากกล้วยดิบ 15 ตันต่อเดือน เดิมมีการสูญเสียจากการตากกล้วย โดยประมาณ 200 กิโลกรัม คิดเป็น 0.13% และปัจจุบันการสูญเสียลดลงเหลือแค่ 100 กิโลกรัม คิดเป็น 0.06% ซึ่งถือว่าการสูญเสียได้ลดลงจากเดิมมาก
2) เพิ่มผลผลิต : มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยคิดจากกล้วยดิบ 15 ตัน จากเดิมจะได้ผลผลิตพร้อมจำหน่ายโดยเฉลี่ย 4.7 ตัน และปัจจุบันจะได้ผลผลิตอยู่ที่ 5 ตัน ซึ่งถือว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5%
3) เพิ่มรายได้ : รายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม โดยคิดจากส่วนต่าง 100 กิโลกรัม ที่ได้จากการลดการสูญเสีย จะมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยประมาณ 2,857 ซอง หรือ คิดเป็นเงินโดยประมาณ 14,283 บาท
4) เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ : มีการควบคุมความชื้นที่ได้มาตรฐาน ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและสามารถเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น
👉🏼นี่คือ 1 ใน SME ที่ประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาธุรกิจให้เติบโตขึ้นได้ เพียงเข้ามารับคำปรึกษาจากศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร สสว.
👉🏼สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โทร 1301 หรือ www.sme.go.th