
หัวข้อ : ทางด่วนแก้หนี้
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.bot.or.th/covid19/Pages/content/retail/express/default.aspx
ในช่วงมาตรการเว้นระยะเพื่อลดการแพร่เชื้อ (social distancing) อาจทำให้การติดต่อกับสถาบันการเงินโดยตรงทำได้ไม่สะดวก “ทางด่วนแก้หนี้” เป็นช่องทางเสริมสำหรับธุรกิจ SME ที่กำลังเดือดร้อนจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยแบงก์ชาติจะช่วยรับเรื่องและเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล ติดต่อ หรือเจรจากับสถาบันการเงินในกรณีจำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้จากปัญหาโควิด 19
ธุรกิจ SME ทั้งที่มียังเป็นลูกหนี้ดีสถานะปกติแต่ขาดสภาพคล่องชั่วคราว หรือเป็นหนี้เสีย หรือปรับโครงสร้างหนี้แล้วพยายามติดต่อสถาบันการเงินแล้วแต่ไม่สามารถติดต่อได้ เพราะช่วงนี้อาจมีผู้โทรติดต่อเข้าไปมาก ติดต่อสถาบันการเงินแล้วแต่เรื่องไม่คืบหน้า หรือข้อเสนอยังไม่ช่วยลดภาระได้จริง หรือยังไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกับสถาบันการเงินได้
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีผลกระทบต่อรายได้ของหลาย ๆ คน เพื่อลดภาระทางการเงินโดยเฉพาะผู้ที่เป็นหนี้ แบงก์ชาติจึงทำงานร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อออกมาตรการช่วยเหลือ โดยเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ และปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดชั้นและการกันเงินสำรอง เพื่อให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างเต็มที่
การพิสูจน์หรือวิเคราะห์ว่าลูกหนี้รายใดได้รับผลกระทบจากโควิด 19 อาจใช้เวลานาน ไม่ทันต่อการขาดรายได้ของประชาชนอย่างกระทันหัน จึงมีการกำหนดมาตรการขั้นต่ำเพื่อช่วยลูกหนี้ทุกรายที่ใช้ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ซึ่งยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (ยังไม่เป็น NPL)
มาตรการเลื่อนกำหนดชำระหนี้ คลิก
การเลื่อนกำหนดชำระหนี้ จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้ในระยะสั้น แต่ดอกเบี้ยจะยังเดินอยู่ เมื่อพ้นช่วงนี้แล้ว ก็จะค่อย ๆ ทยอยจ่ายดอกเบี้ยในช่วงที่เลื่อนกำหนดชำระหนี้ โดยอาจเป็นการจ่ายงวดสุดท้ายครั้งเดียว กระจายจ่ายในแต่ละงวดที่เหลือเท่า ๆ กัน หรือขยายจำนวนงวดการผ่อนออกไป
ลูกหนี้ที่ยังสามารถชำระหนี้ได้ก็ควรชำระตามปกติเพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่ยังเดินอยู่ นอกจากนี้ ยังช่วยให้สถาบันการเงินมีสภาพคล่องสำหรับช่วยเหลือลูกหนี้รายอื่นด้วย
ความช่วยเหลือของผู้ให้บริการทางการเงิน
นี่เป็นเพียงมาตรการขั้นต่ำ ซึ่งออกมาเพื่อความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือเท่านั้น ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบประสบปัญหาขาดรายได้ อาจติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ โดยสามารถศึกษาและเปรียบเทียบแนวทางการให้ความช่วยเหลือของผู้ให้บริการทางการเงินแต่ละแห่งได้ที่นี่
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม :
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : พร้อมเพย์ : ลงทะเบียนให้พร้อม จบทุกปัญหาการเพย์ในช่วงโควิด
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.bot.or.th/covid19/Pages/content/public/promptpay/default.aspx#!#promptpay_step, https://www.bot.or.th/covid19/Pages/content/public/qa/default.aspx
“พร้อมเพย์” อีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่จะทำให้เรื่องเงิน ไม่ว่าการโอน-รับ-จ่าย ก็สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น อย่างในช่วงโควิด 19 นี้ที่บางธนาคารอาจปิดสาขาชั่วคราวหรือจำกัดคนเข้าใช้บริการ หากคุณผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชนแล้ว ไม่ว่าจะทำธุรกรรมใด จะโอน-รับ-จ่าย ก็ทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เพียงปลายนิ้ว โดยไม่ต้องเดินทางไปธนาคาร
พร้อมเพย์ คือ บริการที่จะให้การโอนเงินและรับเงินสะดวกและง่ายขึ้น เพียงผูกบัญชีเงินฝากธนาคารที่ท่านมีกับหมายเลขอ้างอิง (proxy ID) เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ ดังนั้นแค่รู้หมายเลขบัตรประชาชน หรือจำเบอร์โทรศัพท์มือถือของผู้รับโอนได้ ก็สามารถทำธุรกรรมได้เลย
ที่ผ่านมา พร้อมเพย์มีบริการต่อยอดอื่น ๆ ออกมาเป็นระยะ เช่น พร้อมเพย์ e-Wallet ซึ่งเป็นการผูกพร้อมเพย์กับเลขบัญชี e-Wallet ที่ช่วยให้การโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารและบัญชี e-Wallet ของผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) ทำได้สะดวกขึ้น หรือ Thai QR Payment บริการจ่ายเงินด้วยการสแกน QR Code ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกและความสะดวกในการจ่ายเงินมากขึ้น ติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพร้อมเพย์ได้ที่นี่
– ก่อนที่จะลงทะเบียนพร้อมเพย์ต้องมีบัญชีธนาคารใดธนาคารหนึ่งก่อน
– หลังจากนั้นลงทะเบียนผูกบัญชีธนาคารเข้ากับพร้อมเพย์ เลือกได้ว่าจะผูกพร้อมเพย์กับ หมายเลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์มือถือ
– ในกรณีที่ต้องการรับเงินสวัสดิการต่าง ๆ จากภาครัฐจะต้องผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน
– ถ้าต้องการความสะดวกในการรับโอนเงินจากผู้อื่น แบบไม่ต้องจำเลขบัญชีธนาคาร อาจเลือกผูกพร้อมเพย์กับเบอร์โทรศัพท์มือถือ
– การลงทะเบียนพร้อมเพย์ทำได้ที่ธนาคารทุกสาขา โดยมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร
– ธนาคารส่วนใหญ่ยังมีช่องทางอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาขาธนาคารด้วย เช่น ลงทะเบียนผ่าน mobile banking, internet banking, ตู้ ATM หรือ call center
สามารถติดต่อกับธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ โดยมีช่องทางดังนี้
ตรวจสอบผ่านสาขาธนาคาร โดยติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งขอลงทะเบียนอีกครั้ง (ต้องมีหลักฐานแสดงตัวตน) ในกรณีที่พบว่ามีการลงทะเบียนซ้ำ เจ้าหน้าที่สามารถให้ข้อมูลว่าประชาชนเคยลงทะเบียนไว้แล้วที่ธนาคารใด
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
การจะเปิดเส้นทางใหม่ ๆ เพื่อฟื้นฟูธุรกิจคุณให้ไปได้ไกลมากขึ้น กลุ่มลูกค้าใหม่ที่น่าสนใจมากในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นกลุ่ม Gen Z แล้วคนกลุ่มนี้คือใคร ดังนี้
– คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2555 (ค.ศ. 1997 – 2012) ซึ่งในปีปัจจุบัน พ.ศ. 2563 คน Gen Z จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 7 ปี ถึง 22 ปี
– ถูกเรียกว่า Digital Natives และเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ขั้นสูง (Tech-savvy)
– เป็นกลุ่มคนที่เกิดมาพร้อมติบโตมาพร้อมกับโลกแห่งความก้าวหน้า และนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอันไร้ขีดจำกัด มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Smartphone และ Platform ต่างๆ เป็นที่แพร่หลาย
– พวกเขาไม่เคยรู้จักโลกที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต ที่พวกเขาสามารถเชื่อมต่อและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างทันที
– บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินการเรียกคน Gen Z ว่า คน Gen C (ซี) ด้วยเหตุผลที่ว่า ตัวอักษร C มาจากคำว่า Communication (การสื่อสาร), Collaboration (การทำงานร่วมกัน), Connection (การเชื่อมโยง) และ Creativity (ความคิดสร้างสรรค์) ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของ Gen Z นั่นเอง
เพราะปัจจุบัน Gen Z คิดเป็น 32% ของประชากรโลกทั้งหมด ซึ่งทำให้ Gen Z จะเป็นกลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุดในปี พ.ศ. 2562 และ Global Consumer Population ของ Gen Z คาดว่าจะมีจำนวน 2.6 พันล้านคน ก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2564 สิ่งนี้ทำให้คน Gen Z มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจโลก โครงสร้างทางวัฒนธรรม โครงการทางสังคม โครงสร้างขององค์กร และวิธีชีวิตของประชาชนทั่วโลก
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถเข้าใจ Gen Z มากขึ้น และเห็นความแตกต่างระหว่าง Gen Z กับคนรุ่นก่อนๆ (Baby Boomers, Gen X, Millennials) ได้แก่
เป็นสิ่งที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ อย่างชัดเจนตรงที่ พวกเขาไม่ได้ใช้ Social Media เพื่อการติดต่อพุดคุยอย่างเดียว แต่ยังใช้เพื่อความบันเทิง เพื่อเรียนรู้สิ่งที่สนใจ และเพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์และแบรนด์สินค้าใหม่ๆ ซึ่ง Gen Z ใช้เวลาเฉลี่ยบน Social Media ประมาณ 7.4 ชั่วโมงต่อวัน โดย Online Platforms ที่ใช่มากที่สุดคือ Youtube รองลงมาเป็น Instagram, Snapchat, Facebook และ Twitter ตามลำดับ สำหรับ Facebook นั้นมีเปอร์เซ็นการใช้ลดลงจาก 71% ในปี พ.ศ. 2557 เหลือเพียง 51% ในปี พ.ศ. 2561
การจะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็น Gen Z ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาสินค้า และการทำการตลาดอื่นๆ ควรมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับ Youtube เป็นอันดับแรก นอกเหนือจากนี้ Gen Z ยังใช้ประโยชน์จาก Youtube เพื่อการศึกษาผ่อนคลาย ให้กำลังใจตนเอง และพัฒนาทักษะเฉพาะด้านของพวกเขาอีกด้วย
– 66% ของ Gen Z กล่าวว่า คุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับพวกเขา
– 93% เลือกที่จะซื้อสินค้าที่ดูดี รองลงมาเป็น การทำงาน (Functionality) คุณภาพสินค้า (Quality) ที่ตรงตามความต้องการของตน และ ความทันสมัย ตามลำดับ
– 62% ของ Gen Z ที่ช้อปปิ้งออนไลน์ ชื่นชอบเว็ปไซต์ที่มีส่วนลด รองลงมาเป็นการที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าคืน (Free Return Shipping) และรูปภาพที่ดึงดูด ตามลำดับ
– 60% ของ Gen Z จะไม่ใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่มี Loading Times ช้า
– 58% ของนักช้อปปิ้งกล่าวว่า พวกเขาเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มประมาณ 150 บาท ($5) หากสินค้าถึงมือพวกเขาภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง
– Gen Z ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านมือถือ สูงกว่าคนในรุ่น Millennial ถึง 2 เท่า
จากงานวิจัยของ บริษัท Dell Technologies ที่ได้ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 12,000 คน ทั้งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาและนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ใน 17 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศบราซิล สหราชอาณาจักร ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศตุรกี ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ซึ่งผลสำรวจพบว่า Gen Z มีความมั่นใจในทักษะทางด้านเทคโนโลยีของพวกเขา แต่ยังไม่มั่นใจเกี่ยวกับความพร้อมสำหรับการเป็นพนักงาน ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 Gen Z จะอยู่ในตลาดแรงงานถึง 20 % ของตลาดแรงงานทั่วโลก
ผลการสำรวจของ บริษัท Dell Technologies ระบุว่า
– 98% ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
– 91% กล่าวว่าเทคโนโลยีที่นายจ้างเสนอให้นั้น เป็นปัจจัยในการตัดสินใจสำหรับการเลือกงาน
– 80% ต้องการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Cutting-edge Technology 38% มีความสนใจในสายงานอาชีพไอที และ 39% ต้องการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Cybersecurity
– 80% เชื่อว่าเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ (Automation) จะสามารถสร้างสภาพแวดล้อม การทำงานที่เท่าเทียมมากขึ้น โดยสามารถป้องกันการเลือกปฏิบัติและอคติได้
– 89% ตระหนักดีว่า พวกเขากำลังเข้าสู่ยุคของการเป็นหุ้นส่วนมนุษย์กับเครื่องจักร (Human-machine Partnerships) โดย 51% เชื่อว่ามนุษย์และเครื่องจักรจะทำงานเป็นทีมรวมกันได้ในขณะที่ 38% มองว่าเครื่องจักรเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับมนุษย์
ผลการศึกษาของทีมนักวิเคราะห์ของ Indeed เว็บไซต์หางานอันดับ 1 ของโลก ในหัวข้อ “งานอะไรที่ได้รับความสนใจจาก Gen Z” โดยวิเคราะห์จากการคำนวณจาก “Popularity Index” ที่ Gen Z คลิกในประกาศการรับสมัครงานแบบเต็มเวลา (Full-time Job Postings) ผลการศึกษานี้ ระบุว่า ตำแหน่งงานด้านดิจิทัล ได้รับความนิยมสูงสุดเป็น 3 อันดับแรก ในบรรดางานด้านอื่นๆ ดังนี้
อันดับที่ 1 นักพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ iOS (iOS Developer)
อันดับที่ 2 วิศวกรคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision Enginee
คอมพิวเตอร์วิทัศน์ เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) โดยการฝึกให้ระบบ เรียนรู้ เข้าใจและตอบสนองต่อวัตถุต่าง ๆ ผ่านแบบจำลอง Deep Learning ด้วยภาพดิจิทัลหรือวิดีโอต่าง ๆ โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์ ได้แก่ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Augmented Reality), เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Face Recognition), เทคโนโลยีด้านการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing), เทคโนโลยีหุ่นยนต์ชั้นสูง (Advanced Robotic) และเทคโนโลยียานพาหนะ ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle) เป็นต้น
อันดับที่ 3 วิศวกรการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning Engineer)
จากจากพฤติกรรมของ Gen Z ในข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างไปจากคนในยุค Baby Boomers, Gen X, Millennials อย่างมาก ทำให้หลายประเทศเห็นโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้นในยุคใหม่ของ Gen Z จึงเป็นที่มาของการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเมือง เพื่อรองรับและดึงดูดเด็ก Gen Z ที่ถูกคาดว่าจะเป็นบุคลากรทักษะสูงทางด้านดิจิทัลในอนาคต (Tomorrow’s Digital Talent) จะเป็นผู้สร้างในอนาคต (Tomorrow’s Creators) และ จะเป็นผู้สนับสนุนในอนาคต (Tomorrow’s Advocates) รวมถึง จะเป็น ผู้บุกเบิกในอนาคต (Tomorrow’s Pioneers)
ซึ่งการเตรียมความพร้อมของเมืองดังกล่าวเป็นการดึงดูด Gen Z ไม่ว่าจะเป็นในประเทศของตนเองหรือจากต่างประเทศที่มีต้องการจะเข้ามาศึกษาต่อ ทำงานหรือเริ่มต้นธุรกิจในประเทศนั้นๆ โดย คน Gen Z จากต่างประเทศกลุ่มนี้มีแนวความคิดว่า พวกเขาสามารถปฏิเสธที่จะอาศัย ศึกษา หรือทำงานในประเทศของตัวเองได้ หากประเทศนั้นๆ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของพวกเขาได้
Nestpick ได้ทำการสำรวจและประเมินเมืองทั่วโลกจำนวน 110 เมือง สำหรับ “ความพร้อมในการตอบสนองความต้องการของ Gen Z” โดย ผลการศึกษาระบุว่า 5 อันดับแรกของเมืองที่มีความพร้อมในการตอบสนองความต้องการของเด็ก Gen Z ได้แก่
อันดับที่ 1 เมืองลอนดอน (London) สหราชอาณาจักร (United Kingdom)
อันดับที่ 2 เมืองสต็อกโฮล์ม (Stockholm) ประเทศสวีเดน (Sweden)
อันดับที่ 3 ลอสแอนเจลิส (Los Angeles) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States of America)
อันดับที่ 4 เมืองโทรอนโต (Toronto) ประเทศแคนาดา (Canada)
อันดับที่ 5 เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States of America)
สำหรับประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 103
Nestpick ใช้เกณฑ์ประเมินทั้งสิ้น 22 เกณฑ์สำคัญ และสิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับการศึกษานี้คือ Nestpick ใช้ตัวชี้วัดของ Degree of Digitalization เป็นครั้งแรก โดย ตัวชี้วัดของ Degree of Digitalization ประกอบด้วย
โดยมีตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด ได้แก่
– การให้บริการออนไลน์ (Online Services)
– การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Infrastructure)
– การขับเคลื่อน การเสริมสร้างศักยภาพกำลังคนดิจิทัล
โดยเมืองโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ได้รับการประเมินในระดับความก้าวหน้ามากที่สุด สำหรับการพัฒนา E-government ด้วยคะแนนเต็ม 100 คะแนน ตามด้วยเมืองเมลเบิร์น (Melbourne) เมืองซิดนีย์ (Sydney) เมืองบริสเบน (Brisbane) และเมืองเพิร์ท (Perth)
โดยมีตัวชี้วัดประกอบด้วย
– ความเร็วบรอดแบนด์ของเมือง (City Broadband)
– ความเร็วของมือถือเฉลี่ยในระดับประเทศ
– ความพร้อมในการทดสอบหรือการวางแผนการขับเคลื่อนการบริการในเครือข่าย 5G ทั่วประเทศ
ประเทศสิงคโปร์มีคะแนนการเชื่อมต่อและเครือข่าย 5G (Connectivity/5G) สูงที่สุดด้วยคะแนนเต็ม 100 คะแนน ตามด้วยเมืองโซล (Seoul) และเมืองสต็อกโฮล์ม (Stockholm)
นอกเหนือจากนี้ เกณฑ์ประเมินยังประกอบด้วยคะแนนจากตัวชี้วัดอื่น ๆ เช่น ความเท่าเทียมกันทางสังคม (Social Equality) ความเป็นสากล (Internationalism) ความบันเทิงที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเกมอิเล็กทรอนิกส์ (E-gaming Events) สถานที่นั่งทำงานร่วมกันกับผู้อื่นแบบชั่วคราว (Co-working Space) การเข้าถึงบริการสุขภาพ (Access to Healthcare) จิตวิญญาณผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Entrepreneurial Spirit & Innovation) ความเป็นผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneurship) และความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น
ในท้ายที่สุดประเทศที่มีศักยภาพและพร้อมรองรับคน Gen Z ตามที่กล่าวมาข้างต้น จะมีผลต่อเนื่องทำให้ประเทศเหล่านั้นสามารถเป็น Pool ของ Global Talent และยกระดับระบบนิเวศทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศ ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Global Competitiveness) ต่อไป
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : โอกาสและความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของยุค Gen Z
https://www.depa.or.th/th/article-view/gen-z-digital-natives/
อีกครั้งกับเรื่องของ New Normal ที่เราจะพาคุณไปเจาะกลุ่มธุรกิจแฟชั่นกันบ้าง COVID-19 ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายธุรกิจและรวมถึงในธุรกิจแฟชั่น ในรูปแบบที่ใหม่ที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค ระบบการผลิต วัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ระบบการจำหน่าย รวมถึงกระบวนการบริหารจัดการตลอด supply chain ที่กระแสของเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่อย่างสมบูรณ์แบบ
ทันทีที่การระบาดสิ้นสุดลงคาดการณ์ว่า ธุรกิจแฟชั่นในหลากหลายแบรนด์ต่างจะมุ่งเน้นลงทุนในระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยี และแน่นอนว่าย่อมจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจแฟชั่นรูปแบบใหม่ในอนาคต โดยแบรนด์ต่าง ๆ ที่จะประสบความสำเร็จต่อการปรับเปลี่ยนนั้น ต่างต้องยอมรับรูปแบบที่จะเกิดขึ้นใหม่ใน 3 ด้านด้วยกัน คือ เทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (วิธีการทำงาน/การจ้างงาน)
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในช่วงเกิดวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดนั้น เช่น
ในสายงานปฏิบัติการออกแบบและวิจัยของ Adidas ได้เพิ่มสัดส่วนการทำงานในระยะไกล หรือ remote working สูงถึง 84% ขณะที่การประชุมผ่าน VDO conference อยู่ 79% และเพิ่มชั่วโมงการทำงานให้มีความยืดหยุ่น (flexible working) เพิ่มขึ้น 58% การลงทุนเรื่องของเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการสื่อสารในองค์กรเกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและรองรับรูปแบบการเปลี่ยนของการดำเนินธุรกิจที่มีความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
การนำเรื่องของเทคโนโลยีจาก Platform เฉพาะสำหรับธุรกิจแฟชั่นมาใช้ในช่วงโรคระบาดได้รับความสนใจจากแบรนด์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การนำเทคโนโลยี 3D มาใช้ในการออกแบบ หรือการจัดแสดงผลงานแฟชั่นโชว์ในรูปแบบเสมือนจริง หรือ Digital showroom หรือผ่านการใช้ Livestream และรวมถึงการใช้ AI โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม 2020 พบว่า มียอดคำสั่งซื้อการใช้งาน Platform เหล่านี้เพิ่มขึ้นกว่า 20% (Zoom VDO communication ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าต่อวันตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรค)
“แบรนด์แฟชั่นจะต้องปรับให้เกิดความยืดหยุ่นใน supply chain มากขึ้น โดยลดเวลาในการออกสู่ตลาดและปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มและความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น นั่นคือ ผู้ออกแบบ ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้า จะต้องย่นระยะเวลาในกระบวนการออกแบบ การผลิต ไปจนส่งกระบวนการส่งมอบให้กับลูกค้าใช้ระยะเวลาที่สั้นลง โดยอาศัย Platform เฉพาะสำหรับธุรกิจแฟชั่นเป็นตัวขับเคลื่อน”
การผลิตอัจฉริยะ ในรูปแบบของ Nearshoring คือ การย้ายฐานการผลิตกลับมาใกล้ๆ ประเทศของตนเอง กำลังเป็นทางเลือกที่ผู้ผลิตให้ความสนใจ เพราะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าจากราคาค่าขนส่งและนำเข้า บวกกับระยะเวลาการขนส่งสินค้า ทั้งยังสามารถลดมลภาวะ เพราะผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ทันกับความต้องการของตลาด จึงช่วยลดขยะจากเสื้อผ้าเหลือทิ้ง คาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2568 เสื้อผ้าที่รักษาสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการซื้อเลือกเสื้อผ้าของผู้บริโภคในอนาคต
“การเพิ่มขึ้นของ Digital showroom และการดำเนินธุรกิจในรูปแบบ B2B ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลแบบ update ได้ตลอดเวลา ทำให้ลดขั้นตอนการซื้อขาย เกิดการซื้อขายที่สะดวกรวดเร็ว เพราะข้อมูลต่าง ๆ อยู่บน social network และเกิดการสื่อสารกับธุรกิจอื่น ๆ ที่อาจจะมีการติดต่อธุรกิจแบบ B2B ด้วยเช่นกัน และยังรวมถึงเป็นการสร้างวัฒนธรรมของธุรกิจให้ปรากฏต่อสาธารณะง่ายขึ้น และง่ายต่อการขยายธุรกิจแบบ networking”
ธุรกิจแฟชั่นของแบรนด์ต่างๆ จะสร้างสรรค์นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์จากพื้นฐานแนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นสำคัญ ความยั่งยืนสำหรับการดำเนินธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งแนวทางการในสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ซึ่งยังคงเป็นประเด็นความท้าทายและเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับธุรกิจแฟชั่น ในปี 2020
ธุรกิจแฟชั่นจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนารูปแบบการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และปรับให้มีความเหมาะสมกับในการดำเนินธุรกิจภายหลังที่วิกฤตการณ์สิ้นสุด ดังนั้น New Normal ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อระบบหรือธุรกิจแฟชั่นภายหลังการแพร่ระบาดสิ้นสุดจะประกอบด้วย
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : New Normal ที่มีต่อธุรกิจแฟชั่นภายหลังการแพร่ระบาดสิ้นสุด
https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.1785.1.0.html
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย