ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 สุพรรณบุรี (ITC)  มีพื้นที่รับผิดชอบ 12 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยเน้นไปที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรแปรรูปหรือผู้ประกอบการที่มีสายการผลิต เช่น ธุรกิจอาหาร เกษตรแปรรูป อาหารทะเล

โดยทางศูนย์ได้มีบริการที่หลากหลายและครอบคลุมครบวงจรยุทธศาสตร์ ผ่านหลักสูตรอบรม คพอ.(กิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม) Smart SME เพื่อ “สร้างรายใหม่ พัฒนารายเดิม” โดยในส่วนของโครงการดังกล่าวนั้นผู้เข้ารับการอบรมต้องเป็นเจ้าของธุรกิจและมีธุรกิจอยู่แล้ว มีภาคการผลิต เช่น โรงงานหล่อเหล็ก แปรรูปอาหาร ผลิตเครื่องสำอาง ฯลฯ ข้อดีคือสามารถสร้างเครือข่ายในแวดวงธุรกิจ ต่อยอดจากเดิมได้ นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีบริการทั้งในด้านของการให้ความรู้ด้านการผลิตส่งเสริมการผลิตเบื้องต้น  บริการด้านการรับจ้างผลิตเพื่อการขึ้นต้นแบบ ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจ การให้บริการเครื่องจักร รวมไปถึงให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาและด้านการเงิน แหล่งทุน 

ทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จ.สุพรรณบุรีมีบริการหลากหลายสำหรับผู้ประกอบการ SMEs

สำหรับบริการด้านการรับจ้างผลิตเพื่อการขึ้นต้นแบบนั้นผู้ประกอบการสามารถใช้บริการผ่านเครื่องจักรที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมแบบครบวงจร เหมาะกับผู้ประกอบการที่จะเข้ามาทดลองและผลิตสูตร ก่อนการตัดสินใจลงทุนโดยมีเครื่องจักรพร้อมให้บริการ สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจในเรื่องของการผลิตอาหารหรือด้านการเกษตรแปรรูปไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ สกัดสารสำคัญ การทำผงแห้งแบบพ่นฝอย การทำการระเหยเข้มข้น และการระเหยนำแอลกอฮอล์กลับมาใช้ใหม่ ทางศูนย์ก็มีเครื่องทอดระบบสุญญากาศขนาดอุตสาหกรรม (VACUUM FAYER) ไว้คอยบริการรวมไปถึงเครื่อง อบแห้งแบบเยือกแข็ง (VACUUM FREEZE DRYER) เครื่องซีลสุญญากาศ (Vacuum Sealing Machine) เครื่องทำพ่นด้วยการระเหย  เครื่อง สเปร ไดร ซึ่งเป็นขั้นตอนสำหรับการบรรจุและการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์  

นอกจากในส่วนของโรงงานที่เป็นพื้นที่ให้ผู้ประกอบการได้เข้ามาทดลองผลิตและต่อยอดผลิตภัณฑ์จริง ๆ แล้วนั้นในส่วนของทางด้านโดยงานบริการของทางศูนย์จะมีเพิ่มเติมได้แก่ 

1.กลุ่มพัฒนาส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกสำหรับระบบในเชิงธุรกิจ ช่องทางการจำหน่าย รวมทั้งระบบการค้าออนไลน์ สร้าง Service Provider หรือบริการธุรกิจ สร้างที่ปรึกษาเชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานการผลิตและผลิตภัณฑ์ มีจัดฝึกอบรมปีละ1ครั้ง ผู้สนใจต้องขึ้นทะเบียนที่ปรึกษากับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม   ต้องเป็น SMEs ที่เป็นนิติบุคคล วิสาหกิจชุมชน OTOP ที่สนใจปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้ 

2.กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิมให้มีศักยภาพมากขึ้น การพักชำระหนี้ การวางแผนบริหารจัดการ การหาสินเชื่อ  มีศูนย์ SSRC สามารถรับเรื่องร้องเรียนของผู้ประกอบการหรืออุตสาหกรรมที่อาจมีข้อพิพาทกับชุมชนหรือปัญหาเกี่ยวกับธุรกิจ โดยมีเครือข่ายครอบคลุม ทั้งช่องทางปกติและออนไลน์

3.กลุ่มอุตสาหกรรมชุมชน ให้บริการด้านวิสาหกิจชุมชน มีโครงการที่ช่วยผู้ประกอบการก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการ กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มเกษตรแปรรูป มีศูนย์ย่อย Mini ITC อยู่ทั่วประเทศ ถือเป็นศูนย์ตั้งต้นให้กับผู้ประกอบการที่ไม่ทราบว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร ขอแค่มีไอเดียมานั่งคุยกันได้ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันและต่อยอดให้กับผู้ประกอบการได้ดำเนินแนวทางที่เหมาะสมต่อไป ในส่วนนี้ยังมีHi lightคือ ผู้ประกอบการสามารถมาทดสอบต้นแบบ โดยไม่ต้องลงทุน เพื่อเชื่อมไปหาผู้ผลิต OEM

4.มีการจัดฝึกอบรม แบ่งเป็น 2 ระยะ โครงการระยะสั้น เน้นจัดอบรมความรู้ ใช้เวลา 1 ถึง 3 วัน และโครงการระยะยาว อบรมเป็นหลักสูตร เหมือน มินิ เอ็มบีเอ ระยะยาวใช้ เวลา 20 ถึง 23 วัน

5.โครงการ คพอ (พัฒนาธุรกิจผู้ประการอุตสาหกรรม) มีหลักสูตรที่ดีผู้ที่จะเข้าอบรมหลักสูตรนี้ ต้องเป็นเจ้าของธุรกิจหรือทายาทเท่านั้น การอบรมจะเป็นการสร้างเครือข่ายทั่วประเทศ

 

ทางศูนย์ยังมีบริการในด้านของการให้ความรู้และส่งเสริมการผลิตเบื้องต้นโดยมีพื้นที่จัดแสดงบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเข้ามาดูและศึกษารูปแบบและวัสดุได้ที่ศูนย์ หรือมาหาไอเดียใหม่ๆเรื่องบรรจุภัณฑ์ เพื่อการยกระดับเรื่องบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น รวมถึงห้องสมุดที่พร้อมให้ผู้ประกอบการได้เข้ามาหาความรู้

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เลขที่ 117  หมู่ที่ 1  ถนน มาลัยแมน  ตำบล ตอนกำยาน  อำเภอ เมือง  จังหวัด สุพรรณบุรี  72000 หรือ โทร 0-3544-1029 แฟกซ์ 0-3544-1030 

หรือช่องทางอื่น ๆ ที่ เว็บไซต์  https://ipc8.dip.go.th/th  เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/ipc8.dip 

อีเมล์  ipc8@dip.go.th

บทความแนะนำ

Financial for SMEs: ครบทุกเรื่องการเงิน พาธุรกิจรอดในยุดดิจิทัล

📢 ใครว่าบริหารการเงินสำหรับ SMEs เป็นเรื่องยาก!

ทาง ธนาคาร UOB และ The FinLab Thailand จับมือกับ Techsauce ร่วมกันจัดไลฟ์สัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเงินและภาษีสำหรับองค์กร มุ่งเน้นการบริหารจัดการการเงินอย่างรอบด้าน

พร้อมวิทยากรคุณภาพ อาทิ

⭐️คุณจักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Money Buffalo มาให้ความรู้การทำบัญชียุคใหม่

⭐️คุณถนอม เกตุเอม บล็อกเกอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี เจ้าของเพจ Taxbugnom มาให้ความรู้การประหยัดภาษี

⭐️คุณอัจฉรา บุรารักษ์ Creative Director และผู้ก่อตั้ง iBerry ที่จะมาเป็น case study บอกเล่าประสบการณ์ความสำเร็จในการวางแผนทางการเงิน

พร้อมทั้งการต่อยอดกับโครงการ Smart Business Transformation กับ ธนาคาร UOB และ The FinLab Thailand

⏰ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563
เวลา 14.00-16.00 น.
ผ่านช่องทาง Facebook Live

🎯 สมัครผ่าน QR code ตอนนี้ ถึง 9 พฤศจิกายน 2563 หรือ คลิกเลย https://bit.ly/34NomFS

บทความแนะนำ

 

 

“ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ก่อตั้งและเปิดดำเนินการมามากกว่า 15 ปี โดยตลอดระยะเวลาได้มีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เสมอ ทั้งการขยายสาขาไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ รวมไปถึงการปรับปรุง TCDC ให้มีรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมกับการให้บริการในแต่ละพื้นที่ที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น TCDC ที่เป็นสาขาเต็มรูปแบบ MINI TCDC ที่เป็นความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และ TCDC COMMONS

 

โดย TCDC COMMONS สร้างขึ้นเพื่อเป็นช่องทางให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้และต่อยอดศักยภาพในทางด้านความคิดสร้างสรรค์และเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ Creativity ของผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์กับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักในการที่จะพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  หรือ ธุรกิจที่ต้องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น ธุรกิจการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ แอนิเมชันและภาพยนตร์ ตลอดจนร้านอาหารและร้านค้า 

 

ที่นี่มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ โดยมีภารกิจ 3 อย่างคือ

 1.Challenge คือ ให้ผู้ประกอบการคิดถึงคุณค่าของธุรกิจของตัวเอง อย่างการให้คำปรึกษา Design Thinking , Service Design

 2.Change เช่น การอบรมเชิงลึก การทำงานร่วมกัน 

 3.Connect  คือ ทำงานกับเครือข่าย ออนไลน์ ออฟไลน์ ให้ทดลองตลาด เช่น ลาซาด้า นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในการให้บริการที่

  หลากหลาย มุมสำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทดลองผลิตชิ้นงานเบื้องต้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนไอเดียและศึกษาหาความรู้ด้านการโฆษณา 

 

TCDC COMMONS IDEO-Q จุฬา-สามย่าน เป็นพื้นที่สร้างสรรค์เฉพาะด้านการออกแบบการสื่อสาร (Communication Design Library) ที่เพรียบพร้อมไปด้วยคลังความรู้ที่ครอบคลุม 21 สาขางานออกแบบที่เข้าถึงได้ยากและเป็นแบบเชิงลึกทั้งจากในและนอกประเทศทั่วโลก มีอุปกรณ์ ฐานข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานในเรื่องของการออกแบบและการผลิต รวมถึงการสื่อสารแบรนด์ การสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าไปจนถึงการผลิตโฆษณาและการออกแบบ Packaging

 

นอกจากคลังความรู้ที่ TCDC COMMONS IDEO-Q จุฬา-สามย่าน มีไว้ให้บริการแล้วนั้น พื้นที่ของโครงการยังถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูล  ด้วยลักษณะของพื้นที่ที่ออกแบบมาให้เป็น Co-Working Space ให้กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความชอบความสนใจคล้ายๆกัน ได้มาแลกเปลี่ยนไอเดีย และแนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดชิ้นงานที่ดีที่สุด นอกจากนั้นที่นี่ยังมีห้องประชุมที่เหมาะสำหรับการจัดสัมมนาหรือการระดมความคิด สำหรับผู้ประกอบการ SME เพราะที่นี่เปรียบเสมือนเป็น Creative Community ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาแลกเปลี่ยนสิ่งดีๆให้กันได้ตลอดเวลา ผ่านเครือข่ายของ TCDC ทั่วประเทศ

และในทุกๆเดือน TCDC  แต่ละที่จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ SME ทั้งในรูปแบบของ การฝึกอบรมทักษะ การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ การจัดนิทรรศการแบบหมุนเวียน รวมไปถึงการจัดสัมมนาเพื่อการหาผู้ที่มีความสนใจในการทำธุรกิจที่จะสามารถเชื่อมโยงและร่วมมือกันต่อยอดไปข้างหน้า  TCDC COMMONS IDEO-Q จุฬา-สามย่าน จึงเป็นเหมือนเป็นประตูไปสู่องค์ความรู้และการเข้าถึงกลุ่มของนักสร้างสรรค์ รวมไปถึงบรรดานักลงทุน โดยที่นี่พร้อมจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงและดึงศักยภาพของผู้ประกอบการ SME ทุกๆเจ้าให้ออกมาอย่างเต็มที่

 

TCDC COMMONS IDEO-Q จุฬา-สามย่าน ตั้งอยู่ในโครงการ IDEO-Q จุฬา-สามย่าน โดยบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการ ได้อย่างสะดวกและง่ายดายด้วยรถไฟใต้ดิน MRT ลงสถานีสามย่าน และออกทางออกตรงวัดหัวลำโพง ตั้งแต่เวลา 10.30-19.00 น. โดยมีรายละเอียดการใช้บริการดังนี้

   1.บัตรใช้บริการรายวัน 100 บาท 

สิทธิพิเศษ 

-ส่วนลดค่าถ่ายเอกสารและสแกนเอกสาร 

-บริการหนังสือ วารสาร นิตยสาร ด้านการออกแบบจากทั่วโลก

-บริการฐานข้อมูลออนไลน์ (ภายใน TCDC เท่านั้น)

-บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการค้นคว้า

-บริการสื่อมัลติมีเดีย

-บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi Internet)

-บริการจองทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ library.tcdc.or.th

 

   2.ประชาชนทั่วไป 1,200 บาทต่อปี 

สิทธิพิเศษ

-ส่วนลดค่าถ่ายเอกสารและสแกนเอกสาร

- บริการหนังสือ วารสาร นิตยสาร ด้านการออกแบบจากทั่วโลก

- บริการฐานข้อมูลออนไลน์ (ภายใน TCDC เท่านั้น)

- บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการค้นคว้า

- บริการสื่อมัลติมีเดีย

- บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi Internet)

- บริการจองทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ library.tcdc.or.th

 

  1. สิทธิในการใช้ Creative Room 2 ครั้ง/ปี (ครั้งละ 2 ชั่วโมง) บุคคลทั่วไป 6,000 ปี สมัครที่ TCDC

-สมาชิกฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์ Material ConneXion   บริการฐานข้อมูลวัสดุที่มีนวัตกรรมและทันสมัยจากทั่วโลก



สามารถสมัครด้วยตนเองได้ที่เคาน์เตอร์ หรือ สมัครผ่านเว็บไซต์   http://www.tcdc.or.th/tcdccommons/   หรือ  https://www.facebook.com/COMMONSIDEOQChulaSamyan
ติดต่อทางอีเมล์ info@tcdc.or.th  เบอร์ 021085886

Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.)

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) เป็นหน่วยงานที่ให้บริการกลุ่มอุตสาหกรรมในด้านการสอบเทียบและวิเคราะห์ทดสอบ เครื่องมือวัดและอุปกรณ์เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือชั่ง เครื่องมือตวง หรือเครื่องมือวัด รวมไปถึงการตรวจสอบมาตรฐานของเครื่องมือ เพื่อการผลิตในระบบตามคุณภาพมาตรฐาน และการให้คำแนะนำ ทั้งการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้บริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ ตั้งแต่ตั้งต้นผลิต จนถึงตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานตัวผลิตภัณฑ์ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการทุกประเภทที่ต้องการตรวจสอบเครื่องมือให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิต

โดยศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) มีบริการให้กับผู้ประกอบการSME ดังนี้

  1. บริการวิเคราะห์อาหารและเครื่องดื่ม สำหรับการจัดจำหน่ายในประเทศและการขอมาตรฐานระหว่างประเทศ 
  2. บริการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รวมทั้งวิเคราะห์ ตะกั่ว สีซึ่งเป็นที่เดียวในประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเรื่องสีครบทุกรายการรับรอง
  3. บริการให้คำปรึกษาและสอบเทียบเครื่องมือวัดและอุปกรณ์สำหรับผู้ประกอบการที่มีสายการผลิตและต้องการขอการรับรอง

ระดับสากลเช่น ISO , อย. , สมอ.

  1. บริการฝึกอบรมการสร้างมาตรฐานLab  เพื่อรับรอง ISO และ IEC 17025 มีทั้งแบบPublicที่เปิดให้ผู้ประกอบเข้ามาฝึกอบรมได้เลย และแบบ In houseที่สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญของเราออกไปอบรมข้างนอกได้  
  2. บริการหาทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการ  SME ฟรี เช่นทุนจากธนาคาร
  3. บริการตรวจสอบมาตรฐานหลังการผลิต วิเคราะห์ตั้งแต่วัตถุดิบตั้งแต่ต้นทาง จนถึงตรวจสอบพร้อมให้คำแนะนำหลังผลิตเสร็จ

 

ผู้ประกอบการSMEที่สนใจขอเข้ารับการวิเคราะห์ ทดสอบ และสอบเทียบสามารถติดต่อหรือส่งตัวอย่างมาได้ที่ 

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นิคมอุตสาหกรรมบางปู  ซอย 1 ซี

ถนน สุขุมวิท  อำเภอ เมือง  จังหวัด สมุทรปราการ  10280  โทรศัพท์ 02-323-1672-80 โทรสาร 02-323-9165

หรือหากไม่สะดวกก็สามารถส่งไปที่ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) สาขาอื่นได้ทั้ง สาขาบางเขน, สาขาคลองห้า 

สาขาอมตะซิตี้ และสาขามาบตาพุด  การส่งตัวอย่างต้องระวังเรื่องการจัดส่งขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพื่อให้การตรวจมาตรฐานเป็นไปได้อย่างถูกต้องโดยระยะเวลาผลตรวจด้านขึ้นอยู่กับรายละเอียดของงานนั้น ๆ ส่วนมากไม่เกิน 1 เดือน 

อัตราค่าบริการอาจมีลดหย่อนได้บ้างเป็นรายๆไป หรือถ้าสนใจเพิ่มเติม เข้าชมได้ที่เว็บไซต์ www.tistr.or.th



Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ศูนย์สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (THTI)

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (THTI) เป็นเครือข่ายให้บริการด้านความรู้ พัฒนา ทดสอบ ให้กับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและทั้งแฟชั่นไลฟ์สไตล์ให้บริการในหลากหลายมิติ เน้น นวัตกรรม (Innovation) การออกแบบ (Design) และ การเชื่อมโยง (Connect) ให้วิสาหกิจโดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมสิ่งทอรวมทั้งแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เป็นตัวกลางเชื่อมเอกชนและรัฐ เพื่อพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการของตลาด อาทิ กลุ่มสิ่งทอเทคนิค และสิ่งทอคุณสมบัติพิเศษ กลุ่มสิ่งทอในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยานยนต์ กลุ่มสิ่งทอเพื่อสุขภาพและการแพทย์เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังรองเท้า เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง เป็นต้น

 

ศูนย์สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (THTI) ให้บริการผู้ประกอบการหลากหลายด้านด้วยกัน

  1. บริการข้อมูลองค์ความรู้ ด้านสิ่งทอทั้ง ข้อมูลโรงงานการผลิตสิ่งทอ  ข้อมูลดิจิทัล  ข้อมูลงานจัดแสดงสินค้า รวมถึงบริการผู้เชี่ยวชาญ ในการผลิตสิ่งทอด้านต่าง ๆ  เช่น เสื้อผ้า ปอกหมอน สิ่งทอยานยนต์ เส้นสิ่งทอรองรับการกระแทกของเครื่องบิน สิ่งทอเพื่อการเกษตร สิ่งทอย่อยสลายได้ พร้อมทั้งมีการ Update Market Trend อยู่เสมอ
  2. บริการฝึกอบรม
  3. ให้คำปรึกษาด้านการย้อม เช่น ผ้าสะท้อนน้ำ, Anti Bacteria 
  4. บริการตกแต่งสำเร็จ 
  5. วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม
  6. สอนการเขียนแผนธุรกิจ และการสร้างแบรนด์ของตัวเอง

 

ผู้ประกอบการด้านสิ่งทอที่มีความสนใจอยากใช้บริการสามารถติดต่อเข้ามาได้เลยที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

โดยสามารถติดต่อบริการภายในศูนย์ได้ดังนี้ 

ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ 0 2713 5492-9 ต่อ 512-517

ศูนย์วิจัยพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ 0 2713 5492-9 ต่อ 407, 408, 413

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม 0 2713 5492-9 ต่อ 543, 882

ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรม 0 2713 5492-9 ต่อ 222, 711, 732, 740

บริการอบรมและสัมมนา 0 27195492-9 ต่อ 101

Messe Frankfurt / งานจัดแสดงสินค้า 0 27135492-9 ต่อ 202, 229

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ 0 2712 1592

ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบและมาตรฐาน 0 2712 4527 ต่อ 550

 

และบริการรับตัวอย่างบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล เวลาทำการ: จันทร์- ศุกร์ 8.00-17.00 น. (ไม่ปิดพักกลางวัน)

ระยะเวลาการให้บริการทดสอบ 

ปกติ (Regular) 5 วันทำการ 

ด่วน (Express) 3 วันทำการ คิดค่าบริการเพิ่ม 40%

ด่วนพิเศษ (Double Express) 2 วันทำการ คิดค่าบริการเพิ่ม 70%

บริการทดสอบให้ผลภายใน 1 วัน (Same Day) คิดค่าบริการเพิ่ม 100%

ส่งตัวอย่างทดสอบก่อน12.00 น. นับวันที่มาส่งตัวอย่างเป็นวันแรกของวันทำการ

ส่งตัวอย่างทดสอบหลัง12.00 น. นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกของวันทำการ

หมายเหตุ บริการด่วน, ด่วนพิเศษ และบริการที่ให้ผลภายใน 1 วัน เฉพาะบางรายการทดสอบ

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Thailand Textile Institute

โดยมีขั้นตอนการส่งตัวอย่างทดสอบดังนี้

1.กรอกใบคำขอทดสอบ โดยใช้ภาษาที่ต้องการสำหรับรายงานผล (ไทยหรืออังกฤษ)

(link แบบฟอร์ม https://testing.thaitextile.org/wp-content/uploads/2019/11/5.1-Testing-Application-Form.pdf

หมายเหตุ ให้ระบุหน้าผ้า แนวเส้นด้ายยืนบนตัวอย่าง กรณีตัวอย่างเป็นสารเคมีให้แนบ Material Safety Data Sheet และการทดสอบทางเคมีให้บรรจุตัวอย่างแยกตัวอย่างละถุง
 2. ส่งใบคำขอและตัวอย่างมาทดสอบที่ศูนย์วิเคราะห์ โดยสามารถส่งได้ 3วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 : ส่งด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ อาคารเคมีและคุณภาพสิ่งทอ หน่วยบริการลูกค้า (ชั้น 2)

วิธีที่ 2 : ส่งทางไปรษณีย์ได้ที่ 

หน่วยบริการลูกค้า ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซ.ตรีมิตร 

ถ.พระราม4แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ10110
 วิธีที่ 3 : ใช้บริการรับตัวอย่างของศูนย์ฯ (เฉพาะเขต กทม.) *
(*) มูลค่าการส่งทดสอบตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป (ยกเว้นสมาชิก)

เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบ

ติดต่อ คุณสุธาทิพย์ เสือหาญ

โทรศัพท์ 02-713-5492-9 ต่อ 512

E-mail: suthatip@thaitextile.org

ติดตามผลการทดสอบ

ติดต่อ คุณวันดี มาลัยหอม

โทรศัพท์ 02-713-5492-9 ต่อ 514

wandee@thaitextile.org


Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ