ผลการศึกษารวบรวมข้อมูลกฎหมายไทยและต่างประเทศที่สนับสนุนการส่งออกอาหารฮาลาลของไทย

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลกฎหมายไทยและต่างประเทศที่สนับสนุนการส่งออกอาหารฮาลาลของไทย เพื่อรวบรวมกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อกับการประกอบธุรกิจอาหารฮาลาล กฎหมายต่างประเทศที่กำหนดเกี่ยวกับอาหารฮาลาล ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) รวมถึงขั้นตอนการประกอบธุรกิจอาหารฮาลาลของไทย เพื่อเป็นองค์ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ผู้ประกอบการที่มีความสนใจในการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สามารถศึกษาข้อมูลดังกล่าวได้ตามลิงค์ด้านล่าง เพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมและเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาและเติบโตในธุรกิจอาหารฮาลาลอย่างยั่งยืน

 

https://drive.google.com/drive/folders/1nufw7tEs55tx0sbUu1BNBwtdzuqcmGNQ?usp=sharing

บทความแนะนำ

ORGANOID น้ำมันถั่วดาวอินคา ที่ครองใจผู้มีปัญหาสุขภาพ

 

ORGANOID น้ำมันถั่วดาวอินคา ที่ครองใจผู้มีปัญหาสุขภาพ

ถั่วดาวอินคา คือวัตถุดิบที่ถูกเรียกว่าเป็น Super Food หรือ วัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเนื่องจากอุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหารสูง จากผลวิจัยรายงานว่า เมล็ดถั่วดาวอินคา ให้ปริมาณน้ำมันในกลุ่มโอเมกา 3, 6, 9 ถึงร้อยละ 88 ของปริมาณไขมันทั้งหมด มากกว่าในปลาแซลมอนถึง 3 เท่า และยังให้ปริมาณโปรตีนสูงด้วยเช่นกัน และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการที่ถูกวิธี ก็จะสามารถรักษาคุณค่าสารอาหารไว้ได้อย่างครบถ้วนและปลอดภัยสำหรับการบริโภค

กรดไขมัน โอเมกา 3, 6, 9 นั้น ช่วยในเรื่องการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงช่วยบำรุงสมอง ดวงตา ผิวพรรณ และยังส่งเสริมพัฒนาการให้กับทารกในครรภ์อีกด้วย

ด้วยสรรพคุณที่ช่วยดูแลรักษาสุขภาพ ตอบโจทย์ต่อผู้ที่มีปัญหาเรื่องไขมัน ความดัน เบาหวาน และคอเลสเตอรอล ทำให้ คุณ ยู บัณฑิตา ใจวิสุทธิ์หรรษา และคุณพ่อ ก่อตั้งบริษัท โอเมกา 3.6.9 แอนด์ ไลโคปีน จำกัด ขึ้น เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคาในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีการควบคุมคุณภาพการผลิตทุกขั้นตอน จากต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่คัดสรรเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูง ไปสู่กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองในระดับสากลทั้งจาก FDA, HALAL, Codex GMP, HACCP, Green Industry, ISO 9001:2015 และได้รับความเชื่อถือจนสามารถส่งออกไปวางจำหน่ายได้ในหลากหลายประเทศ

 

ค้นคว้า วิจัย เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน

ในช่วงเริ่มต้นนั้น ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของถั่วดาวอินคาของประเทศไทยมากนัก แต่ทั้งคุณยูและคุณพ่อ เป็นคนที่อยู่ในสายวิชาการเป็นทุนเดิม จึงได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 3 ที่ จ.พิจิตร ในการทำวิจัยและทำระบบโรงงานผลิต ให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล นอกจากนั้นยังได้มีการเข้าหาหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง สกสว., Innovative House เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เหลือจากการสกัดน้ำมันถั่วดาวอินคา ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ผงโปรตีน ถั่วดาวอินคา ภายใต้แบรนด์ชื่อว่าออร์แกนอยด์ (ORGANOID)

จากการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำให้พบว่าทุกส่วนประกอบในถั่วดาวอินคาสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ตั้งแต่เปลือกนอก เมื่อกะเทาะเอาเนื้อในออกแล้ว ทางแบรนด์ได้นำเปลือกไปเข้าสู่กระบวนการทำเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในไร่อินทรีย์ ส่วนเนื้อเมล็ดขาว ได้นำไปสกัดเป็นน้ำมันที่อุดมด้วยคุณค่าสารอาหาร ผ่านกรรมวิธีบรรจุไว้ในรูปแบบของแคปซูลเพื่อให้คนรักสุขภาพนำไปบริโภค สุดท้าย ส่วนผงที่เหลือจากกระบวนการสกัด ยังมีโปรตีนสูงถึง 50% ทางแบรนด์ได้นำมาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนชงดื่ม, เป็นซีเรียล, ไปจนถึงเป็นโปรตีนอัดเม็ดได้อีก

ในส่วนของไร่ถั่วดาวอินคา ทางแบรนด์ออร์แกนอยด์ ก็ได้ใช้แนวคิดของ BCG Economy ด้วยเช่นกัน เริ่มตั้งแต่การทำไร่ถั่วดาวอินคาแบบออร์แกนิก เป็นไร่ต้นแบบ จำนวน 50 ไร่ เพื่อให้เห็นว่า วิธีการปลูก วิธีการดูแลรักษา ใช้ปุ๋ยอย่างไร เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีที่สุด จนได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานจาก USDA, IFOAM จากฝั่งอเมริกาและฝั่งยุโรป

ยังมีการส่งเสริมเกษตรกรชาวไร่ในพื้นที่ ให้ปลูกถั่วดาวอินคาในรูปแบบออร์แกนิกที่ ตามมาตรฐานที่ ISO รับรอง ด้วยการให้ความรู้ตั้งแต่วิธีการปลูก คัดเมล็ดที่มีคุณภาพดีที่สุดเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด รวมถึงการรับซื้อผลผลิตในราคาสูงเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชน และสร้างเป็นเครือข่ายไร่ถั่วดาวอินคา ซึ่งมีอยู่กว่า 100 รายในปัจจุบัน

กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจของแบรนด์นั้น มาจากการศึกษาดูว่ากลุ่มลูกค้าต้องการอะไร สิ่งที่เรามีคืออะไร เราเพียงแค่ทำในสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้ตอบโจทย์ของลูกค้า นอกจากนั้น ยังต้องดู กระแสของโลกว่ากำลังเปลี่ยนไปในทิศทางไหน โดยยกตัวอย่างว่า กระแสของโลกปัจจุบันนี้เป็นเรื่องของสุขภาพ สินค้าของแบรนด์นั้นก็พัฒนามาให้ตอบโจทย์เรื่องสุขภาพอยู่แล้ว ก็สามารถไปกันได้อย่างลงตัว 

.

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

บริษัท โอเมกา 3.6.9 แอนด์ ไลโคปีน จำกัด

ที่อยู่: 379/1 ม.3 ต.คณฑิ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000

โทร.: 092-683-6684

โทรสาร: 055-722-488

อีเมล: organoid.th@gmail.com

เว็บไซต์: www.organoid.co.th

LINE: @ORGANOID

Facebook: ORGANOID.Official

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

ฟางไทย จากเศษฟาง สร้างเยื่อกระดาษรักษ์โลก

ฟางไทย จากเศษฟาง สร้างเยื่อกระดาษรักษ์โลก

เพราะการทำนาไม่ใช่อาชีพ แต่เป็นวิถีชีวิต เป็นกิจวัตรและจิตวิญญาณความทุ่มเทของชาวนา เมื่อถึงฤดูกาล ชาวนาทุกคนต่างเตรียมตัวปลูกข้าวกัน โดยไม่มีใครสนใจว่าปีนี้ราคาข้าวจะเป็นอย่างไร ทำแล้วคุ้มค่าเหนื่อยที่ลงทุน ลงแรงหรือไม่ แต่เพราะมันเป็นวิถีชีวิต ที่มีความสุขที่จะได้เห็นข้าวที่พวกเขาลงมือลงแรงปลูกเอง เจริญงอกงาม และได้เห็นข้าวเต็มยุ้งฉางเพียงพอให้เลี้ยงปากท้องต่อไปได้ตลอดทั้งฤดู

คนไทยรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก และมีการปลูกข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักกันทั่วทั้งประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่เรื่องที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้ก็คือ หลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จะมีฟางข้าวปริมาณมหาศาล ถูกกำจัดทิ้งไปด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งการฝังกลบ การเผา ไปจนถึงการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ทรัพยากรเหลือใช้เหล่านี้ถูกกำจัดทิ้งไปอย่างสูญเปล่า

จากการเติบโตและสัมผัสวิถีชีวิตลูกชาวนามาโดยตลอด ทำให้คุณ นุ๊ก จารุวรรณ คำเมือง มองเห็นเรื่องราวในวิถีชีวิตของชาวนาเหล่านี้ และเก็บเป็นโจทย์ที่ตั้งอยู่ในใจว่า จะมีวิธีการอย่างไร ที่จะเปลี่ยนฟางข้าว และวัตถุดิบเหลือใช้ในการเกษตร ให้กลับมาสร้างคุณค่า และสร้างเป็นรายได้กลับคืนให้แก่เกษตรกรในชุมชน โดยไม่ต้องกำจดทิ้งอย่างสูญเปล่า และใช้กรรมวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

 

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสืบสานวิถีชุมชน

คุณนุ๊ก ตั้งใจที่จะทำให้วัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้ สามารถสร้างรายได้อีกทางหนึ่งนอกจากการทำไร่ ทำนา ให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะช่วนอกฤดูกาล และคิดต่อยอดไปอีกว่าผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นนั้น จะเป็นตัวช่วยเชื่อมโยง บอกเล่าเรื่องราวคุณค่าความตั้งใจของเกษตรกรในชุมชน เพราะนับได้ว่ามันเป็นผลผลิตจากพื้นที่ไร่นาเดียวกัน

เมื่อมีโจทย์ชัดเจน และเป็นเรื่องที่มาจากสิ่งใกล้ตัว การเริ่มต้นทดลองหาคำตอบก็สามารถทำได้ทันที โดย คุณนุ๊กเริ่มจากฟางข้าว ที่สามารถเดินไปเก็บได้จากที่นาหลังบ้าน 

แม้ไม่ได้เรียนจบจากสายวิจัย แต่เพราะมีความรู้ภาษาอังกฤษติดตัว ทำให้สามารถค้นหาความรู้ งานวิจัยต่าง ๆ จากโลกออนไลน์ได้หลากหลายรูปแบบ ศึกษาข้อมูลจนสามารถทำความเข้าใจหลักการ และกระบวนการผลิตที่น่าจะนำมาใช้เปลี่ยนฟางข้าวให้นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้ แล้วจึงได้ทดลองลงมือทำด้วยการประยุกต์อุปกรณ์ที่หาได้ใกล้ตัว ใช้ห้องครัวให้เป็นห้องแล็บทดลองสร้างเยื่อกระดาษจากเศษฟางข้าว

 

คิดใหม่ ทำใหม่ ให้รักษ์โลก

ข้อมูลต่าง ๆ ที่สืบค้นมาได้นั้น ยังไม่มีวิธีไหนที่ตอบโจทย์ในด้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ เพราะยังต้องมีการใช้ส่วนผสมที่เป็นสารเคมี เช่น การอัดกาว เข้ามาอยู่ในกระบวนการ แต่คุณนุ๊กยังคงมีความเชื่อมั่นว่ามันจะต้องมีกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100% และสามารถทำได้จริง จึงได้นำหลักการมาทดลองทำ ลองผิด ลองถูก เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดอยู่หลายครั้ง ในที่สุดคุณนุ๊ก ก็สามารถสร้างเยื่อกระดาษจากฟางข้าวได้สำเร็จ 

ถึงแม้จะสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาได้แล้ว แต่ก็ต้องพบกับโจทย์ต่อไป นั่นคือการนำไปผลิตในระบบอุตสาหกรรม เพราะแค่ห้องครัวในบ้าน คงไม่สามารถรองรับการผลิตที่มีจำนวนมาก ๆ ได้ 

เป็นโอกาสเดียวกันกับที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ ได้เปิดรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการที่ลำปาง คุณนุ๊ก จึงได้ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ และได้ร่วมงานกับนักออกแบบ ที่ขยายความเป็นไปได้จากคุณสมบัติของวัสดุนี้ ให้สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้จริง เช่น ทำเป็นภาชนะ เป็นโคมไฟ
คุณนุ๊ก ยังได้มีการร่วมโครงการกับ สวทช. ในการพัฒนากระบวนการผลิต และได้มีโอกาสส่งประกวดผลงานในโครงการของ GEF UNIDO ที่เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ และสามารถชนะรางวัลจากประเทศสหรัฐอเมริกามาได้ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นแรงบันดาลใจให้ คุณนุ๊ก อยากที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ จนเกิดเป็นแบรนด์ ฟางไทย ขึ้นมา

 

คุณค่าของผลิตภัณฑ์ คือสิ่งที่สำคัญกว่ามูลค่า

วิธีในการทำธุรกิจของ คุณนุ๊ก นั้นมองว่า อย่าทำธุรกิจตามเทรนด์ เพราะบางทีเราอาจไม่ได้มีความเข้าใจ รู้ลึกรู้จริงในธุรกิจนั้น ๆ และอาจจะทำให้เราพัฒนาธุรกิจไปได้ยาก 

แต่ถ้าเราเริ่มต้นธุรกิจโดยมองจากสิ่งที่เราให้คุณค่า และเป็นความตั้งใจจากตัวเราเอง และเรามองเห็นโอกาส ตรงนี้จะทำให้เรามองหากลยุทธ์ และแผนงานที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยเสียงของตัวเอง โดยเราอาจจะเริ่มต้นมองหาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราก่อน นั่นจะทำให้เราสามารถที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจได้มากขึ้น ในส่วนปัญหาและอุปสรรคระหว่างทาง เป็นสิ่งที่เราต้องเจออยู่แล้ว ถ้าเรามองว่าปัญหานี้เป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความสร้างสรรค์ และเป็นบันไดให้เราพัฒนาก้าวไปอีกขั้น นั่นก็จะทำให้เรามีพลังในการต่อสู้ สนุก และเชื่อว่าทุกสิ่งสามารถที่จะเป็นไปได้ 

คุณนุ๊กยังมองว่า การจะสร้างความเชื่อมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดให้สำเร็จ มันอยู่ที่มุมมองของเรา การลงมือทำของเรา และแนวคิดของเรา ว่าเราอยากจะกำหนด หรือ อยากจะเดินไปในเส้นทางไหน

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

ฟางไทย แฟคทอรี่

ที่อยู่: 83 หมู่ 6 ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 52150

โทร.: 08-1899-0394

อีเมล: fangthaifactory@gmail.com

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ