ทีเส็บสนับสนุนอีโค่ซิสเต็มรอบด้าน ส่งไทยเป็นจุดหมายชั้นนำสำหรับการจัดงานไมซ์

ทีเส็บสนับสนุนอีโค่ซิสเต็มรอบด้าน

ส่งไทยเป็นจุดหมายชั้นนำสำหรับการจัดงานไมซ์

ทีเส็บมีเป้าหมายชัดเจนในการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายชั้นนำสำหรับการจัดงานไมซ์ระหว่างประเทศ ทั้งงานประชุมนานาชาติ งานประชุมองค์กร งานเดินทางเพื่อเป็นรางวัล งานแสดงสินค้า งานเทศกาล เพื่อให้การจัดงานเป็นกลไกในการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเม็ดเงินภาษีเข้าประเทศ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวม

บทบาทของทีเส็บจึงมีหน้าที่เป็นผู้แทนประเทศไทยในการดึงงานจากต่างประเทศให้มาจัดในประเทศไทย หรือเป็น National Bidder ซึ่งการจัดงานที่นำเข้ามาแล้วให้ลงตัวและประสบผลสำเร็จ ต้องอาศัยผู้ประกอบการภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น  กลุ่มผู้จัดงาน หรือ Organizer ผู้ประกอบการสถานที่จัดงานหรือ Venue Operator ผู้ให้บริการที่พักหรือโรงแรม  ผู้สร้างสรรค์ออกแบบและบริหารจัดโปรแกรมงานและการเดินทางหรือ Destination Management Company (DMC) และซัพพลายเออร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ให้บริการขนส่ง ดังนั้นทีเส็บจึงมีภารกิจในการสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ให้สามารถให้บริการการจัดงานหรือบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างราบรื่น โดยการสนับสนุนในภาพใหญ่มี  2 รูปแบบ คือ

การสนับสนุนในรูปตัวเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบการรับจัดงานได้ใช้เป็นทุนสำหรับใช้จัดงาน โดยทีเส็บกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติ เพื่อให้ได้รับสิทธิ์เข้าถึงทุนการจัดงาน เช่น จำนวนผู้เข้าประชุมขั้นต่ำ 30-50 คน ใช้สถานที่จัดงานในจังหวัดอื่นที่ไม่ใช่จังหวดที่ตั้งองค์กรเจ้าของงาน จัดงานอย่างน้อย 1 วันเต็ม เป็นต้น 

การสนับสนุนที่ไม่ใช่ตัวเงิน คือ ให้คำปรึกษาในการจัดงาน คำปรึกษาช่องทางการเข้าถึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้องหรือจำเป็นสำหรับการจัดงาน เช่น แนะนำสถานที่จัดงานที่ได้มาตรฐานให้กับ organizer แนะนำชุมชนที่สามารถจัดกิจกรรมรองรับนักเดินทางไมซ์ให้กับ Destination Management Company (DMC) สนับสนุนอุปกรณ์บริหารจัดการการจัดงาน อาทิ platform การลงทะเบียน ของที่ระลึกเพื่อแจกให้กับผู้เข้าร่วมงาน

ทั้งนี้ทีเส็บยังมีหน้าที่ในการช่วยอำนวยความสะดวกลดขั้นตอนการทำงานให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกฏระเบียบของภาครัฐ เพื่อให้การให้บริการของผู้ประกอบการไร้รอยต่อมากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ทำให้การดำเนินการของผู้ประกอบการล่าช้าและไม่คล่องตัว เช่น อำนวยความสะดวกช่องทางการเข้าเมืองหรือ Immigration ให้กับแขกสำคัญระดับ VIP จากต่างประเทศ การนำเข้าสิ่งของผ่านศุลกากร หรือ customs เพื่อมาจัดแสดงในงานนิทรรศการ โดยการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในลักษณะนี้ ผู้ประกอบการสามารถศึกษาได้ที่ศูนย์ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกอุตสาหกรรมไมซ์ หรือ https://miceoss.tceb.or.th

การเข้าไปช่วยยกระดับองค์ความรู้การจัดงาน เป็นอีกองค์ประกอบในความสำเร็จ ทีเส็บจึงเข้าไปสนับสนุนในเรื่องการอบรมการจัดงานแบบ Hybrid การอบรมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในการออกแบบงาน การอบรมการจัดงานอย่างยั่งยืน รวมทั้งการอบรมทดสอบมาตรฐานการปฏิบัติงาน ความเป็นมืออาชีพในการประกอบการให้กับผู้ประกอบการไทย เพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานการประกอบการ เช่น มาตรฐานสถานที่จัดงาน มาตรฐานการบริหารจัดการงานอย่างยั่งยืน ถือเป็นอีกหนึ่งความช่วยเหลือที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันระดับนานาชาติได้ เพราะมาตรฐานและความเป็นมืออาชีพของผู้ประกอบการเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือสามารถดึงงานมาจัดในประเทศได้

นอกจากนี้ทีเส็บยังสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ โดยการจัดงานจับคู่ธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและลูกค้า เช่น จับคู่ธุรกิจระหว่างผู้จัดงานหรือ Organizer กับผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับการจัดงาน จัดกิจกรรมนำ Organizer เยี่ยมชมสถานที่จัดงานเพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับใช้ที่เป็นสถานที่จัดงานในอนาคต จัดฝึกอบรมชุมชนท้องถิ่นผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเจาะตลาดไมซ์ การจัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์รวบรวมข้อมูลผู้ให้บริการผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการจัดงานหรือใช้บริการสืบค้นเพื่อการติดต่อทางธุรกิจในลำดับถัดไป

ทั้งหมดถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ทีเส็บจะต้องเข้าไปช่วยสนับสนุนและเสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์มีโอกาสในการแข่งขันระดับนานาชาติได้ ซึ่งช่วงที่ผ่านมา จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สสปน. กล่าวเสริมว่า หากมองถึงโครงการพิเศษ หรือแคมเปญที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งทีเส็บเข้าไปช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME เติบโตอย่างเห็นได้ชัด คือ 

โครงการ MICE Winnovation ซึ่งประกอบไปด้วยการจัด MICE Techno Mart เวทีซื้อขายหรือจับคู่ธุรกิจระหว่าง organizer และผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับการจัดงานหรือ Tech entrepreneurs ถือเป็นโอกาสเปิดตลาดให้กับผู้ประกอบการสายเทครุ่นใหม่ หรือ Young Entrepreneurs ได้นำเสนอสินค้าและบริการให้กับผู้จัดงานหรือสถานที่จัดงาน เช่น แอพพลิเคชั่นการจองตั๋วเข้างาน เซนเซอร์ตรวจจับความหนาแน่นของผู้ร่วมงานในพื้นที่จัดงาน แพลตฟอร์มการลงทะเบียนออนไลน์ แอพพลิเคชั่นจองโปรแกรมท่องเที่ยวหลังจบงานประชุม เป็นต้น ซึ่งตลอดเวลา 3 ปีที่ดำเนินโครงการจับคู่ธุรกิจมาสามารถจับคู่ธุรกิจได้กว่า 500 คู่

“เพื่อสนับสนุนการซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการหน้าใหม่สายเทคและผู้จัดงานและสถานที่จัดงาน ทีเส็บได้จัดทำ Inno-Voucher สนับสนุนเงินทุนเบื้องต้นให้กับผู้จัดงานและสถานที่จัดงานสำหรับใช้จัดซื้อจัดหาสินค้าและบริการของผู้ประกอบการสายเทค ที่สำคัญคือสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสายเทคจับมือกับ organizer ทำข้อเสนอโครงการจัดงานที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดงานหรือการบริหารการจัดงาน เพื่อข้อรับทุนสนับสนุน โดย ณ ปัจจุบัน ได้สนับสนุนไปแล้ว 78 งาน มูลค่าการสนับสนุนในภาพรวม 19.5 ล้านบาท” 

อีกแคมเปญที่ถือว่าประสบความสำเร็จ คือ โครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน สมาคมภาคประชาสังคมและการศึกษา จัดประชุมสัมมนา อบรมนอกสถานที่ โดยทีเส็บให้เงินสนับสนุนภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เกิดการว่าจ้างงาน เพราะการจัดประชุมต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดงาน สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในสายผู้รับจัดงาน สถานที่จัดประชุม สถานที่พัก บริการขนส่ง บริการอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น 

“ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงวันที่ 18  สิงหาคมที่ผ่านมา เรามีการอนุมัติเงินสนับสนุนให้กับการประชุมทั่วประเทศทั้ง 4 ภาคไปแล้ว 622 งาน มีผู้เดินทางเข้าร่วมงานรวมทั้งหมด 19,004 คน ซึ่งจากการศึกษาเก็บสถิตพบว่า การสนับสนุนภายใต้แคมเปญนี้สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่า 66 ล้านบาท ซึ่งหมายถึงเม็ดเงินที่กระจายไปในระบบห่วงโช่ผู้ประกอบการในส่วนต่างๆ” 

สำหรับปีนี้ทีเส็บเดินหน้าต่อยอดโครงการ MICE Winnovation จัดเวทีซื้อขาย MICE Techno Mart เพื่อส่งเสริมธุรกิจของผู้ประกอบการสายเทคโนโลยีต่อไปเพื่อให้มีโอกาสเจาะตลาดอุตสาหกรรมไมซ์ มีลูกค้าเป็น organizer และหรือสถานที่จัดงาน เพราะจนถึงปัจจุบันนี้ ทีเส็บสามารถรวบรวมผู้ประกอบการสายเทคโนโลยีไว้ในระบบที่เรียกว่า MICE Innovation Catalog https://innocatalog.tceb.or.th/ ทั้งหมด 84 ราย และมีกลุ่มผู้ซื้อหรือผู้สนใจเข้าไปใช้งานสืบค้นสินค้าบริการของผู้ประกอบการสายเทคแล้วกว่า 1 หมื่น 3 พันราย สร้างการรับรู้ได้เกือบ 7 หมื่นเพจวิว จากตัวเลขที่สูงเช่นนี้ ทีเส็บจะดำเนินโครงการนี้ต่อไป 

โดยผู้ประกอบการในกลุ่ม organizer ที่รับงานจัดประชุมสามารถติตต่อขอรับการสนับสนุนเงินทุนจากทีเส็บภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ผ่านระบบออนไลน์บนหน้าเวบไซต์ https://rfs.businesseventsthailand.com/ รวมถึงสามารถขอคำปรึกษาในการวางแผนการจัดงาน การติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ การเข้าถึงข้อมูลแหล่งติดต่อผู้ให้บริการด้านอื่นๆ ที่ผู้จัดงานต้องการเจรจาซื้อขายเพื่อใช้ในการทำงาน และเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดงาน ทีเส็บยังมีตัวช่วยอื่นๆที่เป็นช่องทางในการขอความช่วยเหลือ คือ

Thai MICE Connect  ผ่านเว็บไซต์ https://www.thaimiceconnect.com/ เว็บไซต์ของทีเส็บที่รวบรวมฐานข้อมูล สินค้า และบริการในทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์อย่างครบครันทั้งหมด 12 หมวดสินค้าของผู้ประกอบการร่วม 1 หมื่นราย พันราย เช่น สถานที่จัดงาน organizer ที่พัก บริการอาหารและเครื่องดื่ม วิทยากร การแสดง โลจิสติกส์ เป็นต้น และพัฒนาเป็น Marketplace ของอุตสาหกรรมไมซ์ครั้งแรกในไทย เชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและติดต่อธุรกิจได้ตรงตามความต้องการ  สะดวกทุกที่ทุกเวลา และยังจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศตลอด ทั้งห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานไมซ์เพื่อเป็นฐานข้อมูลไมซ์แห่งชาติ ซึ่งการเข้าใช้งานในพื้นที่ส่วนนี้ ทีเส็บไม่คิดค่าบริการใดๆ

BizConnect บริการ Event Management Platform เป็น application solution สำหรับการบริหารจัดการงาน เช่น การลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อให้ organizer นำไปใช้งาน โดยทีเส็บไม่คิดมูลค่า สามารถสมัครใช้และดาวน์โหลดได้ที่ https://intelligence.businesseventsthailand.com/en/page/mice-business

นอกเหนือจากนี้ ทีเส็บมีทุนสนับสนุนการจัดงานที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการจัดงาน โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการสายเทคหรือ Tech Entrepreneur จับคู่กับ Organizer ทำข้อเสนอโครงการจัดงาน และทำรายงานให้เห็นผลของการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการจัดงานเพื่อจะได้รับอนุมัติได้รับทุนสนับสนุน รายละเอียดติดตามได้ที่ https://innocatalog.tceb.or.th/

“ประเทศไทยถือเป็นจุดหมายระดับแนวหน้าประเทศหนึ่งในเอเชียสำหรับการจัดงานประชุม งานแสดงสินค้า เทศกาลนานาชาติ ที่ได้รับความไว้วางใจจากตลาดต่างประเทศ รวมถึงได้รับการจัดอันดับเป็นจุดหมายระดับต้นๆ ของวงการเดินทางระหว่างประเทศ ล่าสุด เราได้รับการจัดอันดับจากสื่อไมซ์ต่างประเทศ M&C Asia ให้เป็นจุดหมายอันดับหนึ่งของเอเชียสำหรับการจัดงานประชุมองค์กรและการเดินทางเพื่อเป็นรางวัล และไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน ICCA Annual Congress ซึ่งเป็นการประชุมของบุคลากรมืออาชีพด้านการประชุมนานาชาติจากทั่วโลกในเดือนพฤศจิกายนนี้ ดังนั้นในภาพรวม ถือว่าประเทศไทยมีแบรนด์ที่แข็งแรงน่าเชื่อถือ ผู้ประกอบการไทยสามารถนำมาต่อยอด โดยเฉพาะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดงานให้มีเอกลักษณ์ที่สร้างจากพื้นฐานวัฒนธรรมไทยหรือวิถีชีวิตชุมชน เพราะปัจจุบันนักเดินทางไมซ์มักเสาะแสวงหาประสบการณ์เชิงท้องถิ่นหรือ Localised Experience เพื่อให้เข้าถึงประเทศที่ตนมาร่วมงานในเชิงลึกได้มากขึ้นเพราะถือเป็นคุณค่าอย่างหนึ่งของการลงทุนเดินทางมาร่วมงานหรือจัดงาน เรามีต้นทุนวิถีวัฒนธรรมที่เป็น Soft Power ในระดับสากลหลายรายการ เช่น มวยไทย อาหารไทย นวดแผนโบราณของไทย สิ่งเหล่านี้มีศักยภาพนำไปต่อยอดได้อีกมาก” 

จิรุตถ์ ให้คำแนะนำถึงทิศทางความต้องการของตลาดหรือลูกค้าในการจัดงานในอนาคตไว้น่าสนใจว่า ต้องคำนึงถึงเรื่องต่างๆดังนี้ 

ต้องจัดงานอย่างยั่งยืนที่วัดผลได้ เช่น การลดการปล่อยปริมาณคาร์บอนจากการจัดงาน การจัดซื้อวัสดุหรือวัตถุดิบจากผู้ประกอบการในพื้นที่จัดงาน หรือ local sourcing การจัดจ้างงานจากคนในพื้นที่จัดงานหรือชุมชนท้องถิ่น การบริหารจัดการเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคในการร่วมงาน

ต้องใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับการจัดงาน เช่น ซอฟท์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับการจองตั๋ว การคำนวณจำนวนคนเข้าออกจากงานเพื่อบริหารความหนาแน่นของพื้นที่

ต้องก้าวทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า เช่น ลูกค้าต้องการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ ในการเดินทางไปร่วมงาน โดยเฉพาะการเข้าถึงวิถีท้องถิ่นของสถานที่จัดงาน การได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ออกแบบเชิง exclusive หรือรองรับเฉพาะกลุ่ม การได้ร่วมกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ความท้าทายของทีเส็บ ในยุค Post Covid คือการผลักดันประเทศไทยเป็น High Value Destination ของวงการอุตสาหกรรมไมซ์ระหว่างประเทศ โดย ป็นประเทศที่สร้างโอกาสและมูลค่าทางธุรกิจให้กับผู้จัดงานและผู้ร่วมงาน โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยกำลังผลักดันให้มีการลงทุนใน 12 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ในพื้นที่อีอีซี ทีเส็บจึงต้องพยายามให้การจัดงานประชุม งานแสดงสินค้าเป็นเวทีช่วยดึงการลงทุนในอุตสาหกรรมแขนงนี้ให้กับประเทศไทย ครอบคลุมไปถึงการผลักดันให้การจัดงานในประเทศไทยสามารถวัดผลกระทบเชิงสังคม (social impact) ที่คำนวณเป็นมูลค่าที่จับต้องได้จริง นอกเหนือจากการวัดผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ (economic impact) ในแง่รายได้ การสร้างงานแต่เพียงอย่างเดียว

บทความแนะนำ

SME D พร้อม วงเงินสูง ผ่อนนาน สานฝันธุรกิจให้เป็นจริง

 
✔วงเงินกู้สูง 50 ล้านบาท

✔ผ่อนสบาย สูงสุด 15 ปี

✔ปลอดชำระเงินต้น สูงสุด 18 เดือน

🟢 ดอกเบี้ยเริ่มต้น (หรือ MLR-2.25%) 5.2
5% ต่อปี*
**เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด**
📌 โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.smebank.co.th/loan/smedprompt/


ขอขอบคุณข้อมูลจาก SME Bank

บทความแนะนำ

กรมการท่องเที่ยว

กรมการท่องเที่ยว

ทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยว จะมีความแข็งแรงที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ เป็นคำถามและเป้าหมายที่กรมการท่องเที่ยวมุ่งเน้นที่จะผลักดัน ในการสร้างมาตรฐานให้กับผู้ประกอบการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

กรมการท่องเที่ยว คือ หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวในด้านบริการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ธุรกิจนําเที่ยว มัคคุเทศก์ผู้นําเที่ยว มาตรฐานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการรักษาความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว ไปจนถึงการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยมีความสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ กฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวิดิทัศน์ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศ ในราชอาณาจักร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ถ้าหากนับตั้งแต่นักท่องเที่ยวแตะเท้าลงถึงประเทศไทย เราจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการแทบทุกภาคส่วนนั้นมีส่วนกับภาคการท่องเที่ยวแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น กิจการร้านอาหาร ร้านกาแฟ การขนส่ง ร้านค้าต่างๆ สถานที่พักทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ภาคการผลิตสินค้า สื่อโฆษณา อาหารแปรรูป ทั้งหมดนั้นรวมอยู่ในวงจรของภาคการท่องเที่ยวทั้งสิ้น

บริการจากทางศูนย์
กรมการท่องเที่ยว มีบริการที่จะช่วยขยายขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ อยู่ 2 เรื่องใหญ่ๆ

เรื่องที่ 1 คือ การได้รับมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่จะช่วยยกระดับคุณภาพให้ผู้ประกอบการนั้น มีความเข้มแข็งและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติได้

เรื่องที่ 2 คือ การช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำงานได้อย่างสะดวก ด้วยการมีเทคโนโลยีที่มาอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการให้ความช่วยเหลือต่างๆ

เมื่อกิจการมีคุณภาพมาตรฐานแล้ว ทางหน่วยงานยังมีการส่งเสริมกิจการด้วยนำไปจับคู่ธุรกิจให้อีกต่อหนึ่ง เป็นการเชื่อมโยงธุรกิจทุกขนาดเข้าไว้ด้วยกันเป็นเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคธุรกิจ ซึ่งจะเป็นบันได้ให้กับธุรกิจขนาดเล็ก ค่อยๆ ไต่ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นได้ นอกจากนั้นทุกธุรกิจที่ได้รับมาตรฐานยังถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนเข้าสู่โครงการต่างๆ ของภาครัฐ ที่จะเข้ามาช่วยดูแล ให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น



ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

กรมการท่องเที่ยว

ที่อยู่: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ เลขที่ 120 หมู่ 3
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

โทรศัพท์: 0-2141-3333

Call Center: 0-2401-1111

โทรสาร: 0-2143-9719

อีเมล: webmaster@tourism.go.th

เว็บไซต์ : www.dot.go.th

Facebook: Deptourism

Youtube: PR กรมการท่องเที่ยว

บทความแนะนำ

รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMESI และโพลความคิดของ SME ต่อผู้ประกอบการต่างชาติในพื้นที่ ประจำเดือน กรกฎาคม

รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMESI และโพลความคิดของ SME ต่อผู้ประกอบการต่างชาติในพื้นที่ ประจำเดือน กรกฎาคม

☎️ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ :  โทร. 02 2983210

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทความแนะนำ

PlanToys เด็กดี โลกสวย ด้วยการเล่นที่ยั่งยืน

PlanToys เด็กดี โลกสวย ด้วยการเล่นที่ยั่งยืน

ไม่ว่าคุณจะเป็นเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือผู้ใหญ่ หลายคนอาจเคยได้เห็นได้ผ่านตา ได้เล่น ได้สัมผัสกับเหล่าของเล่นไม้ หน้าตาเป็นมิตร มีกลไกไม้สนุกสนาน สีสันสดใส จาก PlanToys กันมาบ้าง จากความตั้งใจตั้งแต่เริ่มแรกกว่า 42 ปี ของบริษัท แปลน ครีเอชั่นส์ จำกัด ที่อยากจะสร้างสรรค์โลกและสังคมที่ดีขึ้นกว่าเดิม กลุ่มผู้ก่อตั้งทั้ง 7 คน จึงได้รวมตัวกันเปิดบริษัทสถาปนิกขึ้น ซึ่งได้มีการออกแบบอาคารสำคัญต่างๆ มีเอกลักษณ์จนเป็นที่จดจำเอาไว้มากมาย แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะตอบสนองเสียงเรียกร้องในจิตใจที่ปักธงร่วมกันไว้ตั้งแต่ต้น ที่อยากทำให้สังคมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย

กลุ่มผู้ก่อตั้งได้กลับมาคิดทบทวนกันอีกครั้งจนได้คำตอบว่า การจะสร้างสังคมที่ดีได้นั้น ต้องพัฒนาเด็กในสังคม ให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ด้วยคำตอบนี้ทำให้กลุ่มผู้ก่อตั้ง ได้ทำการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น ชื่อว่า โรงเรียนอนุบาลรักลูก โดยมีสื่อการเรียนการสอนที่ถูกออกแบบใหม่ทั้งหมด โดยออกแบบให้เป็นของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่เหมาะสมครอบคลุมครบทุกด้าน ตามแต่ละช่วงวัย และเป็นจุดกำเนิดของ PlanToys จนถึงทุกวันนี้

เล่นได้ไม่จำกัด

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน PlanToys นั้นเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับวัยเด็กทั้งในไทยและในต่างประเทศ โดยยึดถือแก่นความคิด 2 ข้อด้วยกัน 

  • ข้อแรกคือ PlanToys ออกแบบของเล่นทุกชิ้นเพื่อตอบโจทย์ทางด้านพัฒนาการเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา
  • ข้อที่ 2 คือ ของเล่นของ PlanToys ทุกชิ้นนั้นจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยกำหนดเป็นคำพูดประจำใจว่า “Better Kids, Better World, through Sustainable Play” หรือในภาษาไทยว่า “เด็กดี โลกสวย ด้วยการเล่นที่ยั่งยืน” ด้วยวิธีการทำธุรกิจอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มลูกค้าทำให้ PlanToys เข้าใจถึงความคิดของลูกค้า ทั้งลูกค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย และลูกค้าที่เป็นพ่อแม่ผู้ซื้อจริง 

PlanToys พบว่า นอกจากของเล่นที่ช่วยเสริมพัฒนาการให้เด็กเติบโตอย่างสมวัยแล้ว ลูกค้าเองยังมีความต้องการของเล่นที่ช่วยเสริมพัฒนาการให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ให้สามารถเติบโตได้อย่างเหมาะสมในสังคมได้ด้วย จึงเป็นโจทย์ให้ PlanToys ต้องกลับมาออกแบบและทำวิจัยคู่กับนักพัฒนาการเด็ก รวมถึงทำ Workshop กับกลุ่มแม่ที่มีลูกเป็นเด็กที่มีความบกพร่อง เพื่อทำความเข้าใจถึงความต้องการพิเศษในแต่ละด้านของลูกค้ากลุ่มนี้ และพัฒนาจนเป็นของเล่นที่ไม่เพียงเหมาะสมกับความต้องการแบบพิเศษในแต่ละเรื่อง แต่ยังมีหน้าตาน่ารัก น่าเล่น และคุณภาพสูง เช่นเดียวกับของเล่นทั่วไปที่มีอยู่ตามท้องตลาดได้

PlanToys ไม่จำกัดการเล่นให้เป็นแค่เรื่องของเด็กเท่านั้น ยังมีการพัฒนาของเล่นให้กับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยชะลอและเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ เช่นเดียวกัน โดยจะเป็นของเล่นที่ทนทาน มีขนาดใหญ่ หยิบจับง่าย มองเห็นอ่านได้ง่าย และมีการออกแบบให้มีโจทย์ปัญหาเพิ่มเข้าไป เพื่อช่วยกระตุ้นการใช้ความคิด และการออกแรงของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ เข้ามาด้วย

ด้วยแนวคิดที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ PlanToys มองไปถึงการทำให้ของเล่นมีความยั่งยืนตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์แม้หลังจากเลิกเล่นแล้ว ทุกกระบวนการผลิตของเล่นจึงเลือกใช้วิธีที่ส่งผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด ปลอดภัยต่อทั้งเด็กเล็กและสิ่งแวดล้อม ของเล่นทุกชิ้นสามารถแสดงค่า Carbon Footprint ได้อย่างชัดเจน ของเล่นเด็กนั้นมีอายุการใช้งานสั้น เพราะเมื่อเด็กโตขึ้น ก็อาจจะไม่มีการเล่นของเล่นชิ้นเดิมอีกต่อไป ทาง PlanToys จึงได้พัฒนาระบบการเช่าของเล่นเพื่อหมุนเวียนส่งต่อของเล่นให้กับเด็กๆ ที่ต้องการ

นอกจากการเป็นของเล่นแล้ว PlanToys ยังมีการสร้างพื้นที่ที่จะเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กด้วยการเล่น ในชื่อว่า Forest of Play ที่จะเป็นพื้นที่กิจกรรมให้กับเด็กได้เข้ามาเล่นสนุกทั้งในร่มและกลางแจ้งที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย พร้อมเป็นการเรียนรู้การเข้าสังคมร่วมกับเด็กคนอื่นๆ อีกทางหนึ่งด้วย PlanToys ไม่เคยหยุดพัฒนาสิ่งใหม่ๆ และพร้อมปรับตัวไปกับความเปลี่ยนแปลงของโลกและสภาพสังคมตลอดมา แต่ทั้งหมดนั้นตั้งอยู่บนหลักแก่นความคิดทางธุรกิจที่ยึดถือมาตั้งแต่ต้นอย่างไม่เปลี่ยนแปลง และความมั่นคงนี้เอง เป็นเหมือนเสาหลักให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่และดำเนินข้ามผ่านช่วงเวลาต่างๆ ต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน


ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

PlanToys

ที่อยู่: 114/1 ซอยสาทร 10 ถนนสาทรใต้ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

โทร: 02-237-9070

อีเมล: mktg@plantoys.com

เว็บไซต์: th.plantoys.com

Facebook: PlanToysTH

Instagram: plantoys.thailand

YouTube: plantoys

Line: @plantoysth

Shopee: plantoys_officialshop

Lazada: plantoys

บทความแนะนำ