อุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนา MSME วงเงินสูงสุดถึง 200,000 บาท กับโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ ผ่านระบบ BDS
📌นิติบุคคล
📌วิสาหกิจชุมชน
📌บุคคลธรรมดา
กิจกรรมอบรม โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ ผ่านระบบ BDS
วันพุธที่ 29 พ.ย. 2566 เวลา 8.30 - 13.00 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฎนครราชสีมา
340 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา 30000
สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านลิ้งค์ด้านล่าง
https://forms.gle/2saVFZ8dQ1JDAqV79
"12 ประเภทพลาสติกจะถูกจำกัดในแอฟริกาใต้ ภายในปี 2022 ภายใต้ South African Plastic Pact" ส่องมาตรการกำจัด ‘ขยะพลาสติก’ ในทวีปแอฟริกา ที่ไปไกลกว่าคำว่า “กำลังพัฒนา”
จากรายงานขององค์การสหประชาชาติและรายงานของสื่อหลายฉบับระบุว่า 77 ประเทศทั่วโลก ได้ผ่านกฎหมายการห้ามใช้ถุงพลาสติกทั้งหมดหรือบางส่วน แม้ว่าการห้ามใช้ถุงพลาสติกจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษในทวีปแอฟริกา แต่ประเทศส่วนใหญ่ 32 ประเทศ ที่เลือกจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม (หรือภาษี) เพื่อจำกัดการใช้ถุงพลาสติกแทนนั้นตั้งกลับอยู่ในทวีปยุโรป
ประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะห้ามใช้ถุงพลาสติกบางประเภทโดยสิ้นเชิง เนื่องจากประเทศเหล่านี้กำลังรับมือกับการจัดการขยะพลาสติกที่ผิดพลาดหรือไร้ประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในประเทศกำลังพัฒนานี้ ประเทศในทวีปแอฟริกากลับมีผลงานโดดเด่นในการต่อต้านถุงพลาสติกอย่างจริงจัง เช่น เอริเทรีย ประเทศในแอฟริกาตะวันออก เป็นประเทสแรกในทวีปนี้ที่ออกคำสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกโดยสิ้นเชิง ในปี 2548 โดยจาก 34 ประเทศ จากทั้งหมด 54 ประเทศของกาฬทวีปได้ผ่านกฎหมายห้ามใช้พลาสติก และดำเนินการหรือได้ผ่านกฎหมายที่มีจุดประสงค์ในการดำเนินการ ในจำนวนนี้มี 16 ประเทศ ที่แบนถุงพลาสติกโดยสิ้นเชิงหรือเพียงบางส่วนโดยที่ยังไม่ได้ออกกฎเกณฑ์เพื่อบังคับใช้การแบน
ดังนั้นเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก ทวีปนี้ดูเหมือนจะแข็งขันในเรื่องนี้ได้ดีมาก แต่ลองมาดูความเป็นจริงของการห้ามใช้พลาสติกในแอฟริกากันบ้างว่าเป็นอย่างไร เพราะไม่ใช่ทุกประเทศที่กฎหมายจะถูกบังคับใช้อย่างเต็มที่ เช่น แม้จะมีมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกในปี 2550 แต่รัฐบาลยูกันดาก็ยังประสบปัญหาในการบังคับใช้เนื่องจากขาดการควบคุมกฎระเบียบที่เข้มงวด
หลายประเทศทั่วโลกอาจจะเพิ่งตื่นตัวกับปัญหาขยะพลาสติก แต่รู้หรือไม่บางประเทศในแอฟริกา เดินหน้าจัดการกับปัญหานี้มาตั้งแต่สิบกว่าปีที่แล้ว และล่าสุดเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา 15 ประเทศในทวีปนี้ (หรือเกือบๆ 30%) ล้วนมีนโยบายจัดการกับขยะพลาสติก จนกระทั่งมีการขยายผลในหลายประเทศ และอีกไม่นาน เราเชื่อว่าน่าจะได้เห็นทวีปแอฟริกาทั้งทวีป สะอาดจากขยะพลาสติกทำลายโลก
"เซเนกัล" เป็นประเทศล่าสุดในทวีปแอฟริกาที่มีความพยายามในการต่อต้านพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ด้วยการประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกบรรจุน้ำแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและถ้วยกาแฟในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2020 มาตรการนี้ของเซเนกัลกลับขัดแย้งกับประเด็นปัญหาอื่นๆ เช่น ความมั่นคงด้านน้ำ และการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เพราะประชาชนจำนวนมากยังต้องพึ่งพาน้ำดื่มที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกอยู่ กระนั้นหลังการระบาดใหญ่ มีคำถามว่ารัฐบาลเซเนกัลจะใช้มาตรการใดในการบังคับใช้คำสั่งห้ามอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังคงให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้ นี่อาจเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลใช้โอกาสในการคิดค้นโซลูชันที่ปกป้องสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน
"รวันดา" เป็นเวลากว่า 1 ทศวรรษ ที่รวันดาต่อต้านการใช้พลาสติก โดยเริ่มส่งสัญญาณมาตั้งแต่ปี 2006 และมีนโยบายควบคุมอย่างเต็มรูปแบบในปี 2008 ทั้งยังเข้าร่วมแคมเปญ Plastic Oceans และใช้นโยบายภาษีมากำราบคนถือถุงพลาสติกอีกทอดหนึ่ง เรียกได้ว่ารวันดาคือประเทศแรกในทวีปแอฟริกาที่เดินหน้ามาตรการปลอดถุงพลาสติก และวางแผนว่าจะสานต่อนโยบายนี้อย่างยั่งยืนภายในปี 2020
"เคนยา" แม้เคนยาจะเป็นประเทศที่มีวงล้ออุตสาหกรรมหนุนระบบเศรษฐกิจ แต่ก็ยังสามารถเผด็จศึกกับพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาลประกาศเอาจริงกับการงดใช้พลาสติกในระบบอุตสาหกรรม และธุรกิจค้าปลีกทั้งหลาย พร้อมทั้งออกกฎหมายควบคุมการใช้พลาสติกกับประชากรในประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2017 เรียกได้ว่าใช้มาตรการกำราบพลาสติกอย่างเอาจริงเอาจังทีเดียว
"ซิมบับเว" เดือนกรกฏาคม ปี 2017 ซิมบับเวประกาศไม่เอาพลาสติกแบบโพลีสไตรีนและกล่องโฟมอย่างเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน จะปรับตั้งแต่ 30-500 เหรียญสหรัฐฯ โดยหลังจากภาครัฐเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง ก็ขยายผลมาสู่การจัดการกับพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในปี 2018
"ตูนิเซีย" ตั้งแต่ภาครัฐประกาศแบนถุงพลาสติกเมื่อปี 2017 ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งก็ขานรับนโยบายโดยให้ลูกค้าหันมาใช้ถุงผ้า และในเวลาเดียวกันนั้นก็เป็นโอกาสทองให้เกิดเทรนด์หิ้วกระเป๋าสาน Koffa งานแฮนด์เมดที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของตูนิเซียไปแล้ว ล่าสุดมีรายงานว่าปัจจุบันตูนิเซียสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 94% และจะขยับขึ้นเป็น 100% ให้ได้ภายในปี 2020
"แคเมอรูน" หนึ่งในประเทศที่ผ่านความพยายามอย่างหนักเพื่อต่อสู้กับปัญหาพลาสติกที่คุกคามสิ่งแวดล้อม โดยมีการประกาศห้ามไม่ให้นำเข้า ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ไม่เป็นมิตรกับธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 2014 แม้จะเกิดการต่อต้านจากประชาชนอยู่บ้าง แต่ในที่สุดก็ได้พลังจากเหล่าคนดังมาช่วยสร้างแรงกระเพื่อมให้ผู้คนเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม จากนั้นสถานการณ์จึงค่อย ๆ คลี่คลาย และเปลี่ยนเป็นประเทศต่อต้านขยะพลาสติกได้จริงภายในไม่กี่ปีนับจากนั้น
"แทนซาเนีย" ประเทศลำดับที่ 34 ของกลุ่มแอฟริกาที่มีการกำหนดตัวบทกำจัดพลาสติกอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลประกาศไม่ให้นำเข้า ผลิต และจำหน่ายพลาสติกที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องผืนป่า และคงไว้ซึ่งความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว อันเป็นแม่เหล็กดึงดูดรายได้มหาศาลให้กับประเทศ
อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นที่น่าสังเกตสำหรับเทรนด์นี้คือ ฝรั่งเศส ออสเตรีย อิตาลี รวมถึงเยอรมนี (ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป) แบนถุงพลาสติกบางประเภทเท่านั้น และกำหนดให้เปลี่ยนเป็นถุงที่ย่อยสลายได้
สำหรับไทย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนออนุมัติแผนลด-เลิกผลิตขยะพลาสติก พร้อมเตรียมประกาศห้ามใช้พลาสติก 4 ชนิด ได้แก่ โฟม ถุงหิ้ว แก้ว และหลอดพลาสติก แบบเด็ดขาดในปี 2565 รวมถึงตั้งเป้าให้พลาสติกอีก 7 ชนิด เข้าสู่ระบบเศรษกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 50% ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบหนา บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว ขวดพลาสติกทุกชนิด ฝาขวด แก้วพลาสติก ถาดและกล่องอาหาร และ ช้อน ส้อม มีดพลาสติก
ที่มา :
https://www.salika.co/2021/07/03/countries-banning-plastic-bags/
https://becommon.co/world/africa-sayno-plastic/#accept
เอกสารดาวน์โหลด :
https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2022/02/pcdnew-2022-02-15_03-35-40_837351.pdf
https://brussels.customs.go.th/data_files/9d4377f47d89c10bee1dc5fb1fa05cb1.pdf
#SMEone SME ONE
อ้างอิง 1 :
https://environment.ec.europa.eu/strategy/textiles-strategy_en
https://www.interregeurope.eu/news-and-events/news/new-eu-strategy-for-sustainable-and-circular-textiles
https://environment.ec.europa.eu/strategy/textiles-strategy_en
ดาวน์โหลด 2.2-EU Strategy for Sustainable and Circular Textiles(30.3.22).pdf
ดาวน์โหลด 2.1-Textiles_Factsheet_EC.pdf
ดาวน์โหลด 2.3Annex-EU Strategy for Sustainable and Circular Textiles (30.3.22).pdf
อ้างอิง 2 :
https://www.textilescircle.com/th/knowledge/value=26
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมมือกับ ศูนย์บริการ ALL FOOD TECH ขอมอบสิทธิประโยชน์ทั้ง 4 บริการ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่ลงทะเบียน SME ONE-ID และรับสิทธิ์ผ่าน Application SME Connext
เริ่มลงทะเบียนและรับสิทธิประโยชน์ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 29 กุมภาพันธ์ 2567
หมายเหตุ: สิทธิประโยชน์มีจำนวนจำกัด เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
*สอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ 02-071-6281 หรือ 084-509-2166,
E-Mail: MarketingTeamAllFoodTech@cpall.co.th
ทั้งนี้ สามารถกดรับสิทธิประโยชน์ได้ที่ Application SME CONNEXT กดลิ้ง https://smeconnext.com/