"ย้ำเตือน 11 ผลิตภัณฑ์เถื่อน ไม่ปลอดภัย โฆษณาหลอกขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์"

"ย้ำเตือน 11 ผลิตภัณฑ์เถื่อน ไม่ปลอดภัย โฆษณาหลอกขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์"

(18 พฤศจิกายน 2566)

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกันแถลงผลการกวาดล้างเครือข่ายชาวเวียดนาม โฆษณาขายนมโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หลอกขายประชาชนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในราคาแพง

เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยรายชื่อผลิตภัณฑ์ทั้ง 11 รายการ จากปฏิบัติการกวาดล้าง เพื่อเน้นย้ำให้พี่น้องประชาชนทราบว่าไม่มีอาหารที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้ ขอให้ระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ อย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จ โฆษณาเกินจริง ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้ลักลอบนำเข้า ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. หากซื้อไปรับประทานอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ อย. อยู่ระหว่างดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิด จึงขอเตือนให้พี่น้องประชาชนอย่าซื้อผลิตภัณฑ์

https://www.fda.moph.go.th/news/%E0%B8%99%E0%B8%A111%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/

ข้อมูล FDA Press Release : https://www.fda.moph.go.th/media.php?id=566450041007513600&name=%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%2011%20%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%20%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%20(Final).pdf

บทความแนะนำ

อุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนา MSME วงเงินสูงสุดถึง 200,000 บาท กับโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ ผ่านระบบ BDS

อุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนา MSME วงเงินสูงสุดถึง 200,000 บาท กับโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ ผ่านระบบ BDS

📌นิติบุคคล
📌วิสาหกิจชุมชน
📌บุคคลธรรมดา

กิจกรรมอบรม โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ ผ่านระบบ BDS

วันพุธที่ 29 พ.ย. 2566 เวลา 8.30 - 13.00 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฎนครราชสีมา

340 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา 30000

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านลิ้งค์ด้านล่าง

https://forms.gle/2saVFZ8dQ1JDAqV79

บทความแนะนำ

"12 ประเภทพลาสติกจะถูกจำกัดในแอฟริกาใต้ ภายในปี 2022 ภายใต้ South African Plastic Pact" ส่องมาตรการกำจัด ‘ขยะพลาสติก’ ในทวีปแอฟริกา ที่ไปไกลกว่าคำว่า “กำลังพัฒนา”

"12 ประเภทพลาสติกจะถูกจำกัดในแอฟริกาใต้ ภายในปี 2022 ภายใต้ South African Plastic Pact" ส่องมาตรการกำจัด ‘ขยะพลาสติก’ ในทวีปแอฟริกา ที่ไปไกลกว่าคำว่า “กำลังพัฒนา”

จากรายงานขององค์การสหประชาชาติและรายงานของสื่อหลายฉบับระบุว่า 77 ประเทศทั่วโลก ได้ผ่านกฎหมายการห้ามใช้ถุงพลาสติกทั้งหมดหรือบางส่วน แม้ว่าการห้ามใช้ถุงพลาสติกจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษในทวีปแอฟริกา แต่ประเทศส่วนใหญ่ 32 ประเทศ ที่เลือกจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม (หรือภาษี) เพื่อจำกัดการใช้ถุงพลาสติกแทนนั้นตั้งกลับอยู่ในทวีปยุโรป

ประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะห้ามใช้ถุงพลาสติกบางประเภทโดยสิ้นเชิง เนื่องจากประเทศเหล่านี้กำลังรับมือกับการจัดการขยะพลาสติกที่ผิดพลาดหรือไร้ประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในประเทศกำลังพัฒนานี้ ประเทศในทวีปแอฟริกากลับมีผลงานโดดเด่นในการต่อต้านถุงพลาสติกอย่างจริงจัง เช่น เอริเทรีย ประเทศในแอฟริกาตะวันออก เป็นประเทสแรกในทวีปนี้ที่ออกคำสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกโดยสิ้นเชิง ในปี 2548 โดยจาก 34 ประเทศ จากทั้งหมด 54 ประเทศของกาฬทวีปได้ผ่านกฎหมายห้ามใช้พลาสติก และดำเนินการหรือได้ผ่านกฎหมายที่มีจุดประสงค์ในการดำเนินการ ในจำนวนนี้มี 16 ประเทศ ที่แบนถุงพลาสติกโดยสิ้นเชิงหรือเพียงบางส่วนโดยที่ยังไม่ได้ออกกฎเกณฑ์เพื่อบังคับใช้การแบน

ดังนั้นเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก ทวีปนี้ดูเหมือนจะแข็งขันในเรื่องนี้ได้ดีมาก แต่ลองมาดูความเป็นจริงของการห้ามใช้พลาสติกในแอฟริกากันบ้างว่าเป็นอย่างไร เพราะไม่ใช่ทุกประเทศที่กฎหมายจะถูกบังคับใช้อย่างเต็มที่ เช่น แม้จะมีมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกในปี 2550 แต่รัฐบาลยูกันดาก็ยังประสบปัญหาในการบังคับใช้เนื่องจากขาดการควบคุมกฎระเบียบที่เข้มงวด

หลายประเทศทั่วโลกอาจจะเพิ่งตื่นตัวกับปัญหาขยะพลาสติก แต่รู้หรือไม่บางประเทศในแอฟริกา เดินหน้าจัดการกับปัญหานี้มาตั้งแต่สิบกว่าปีที่แล้ว และล่าสุดเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา 15 ประเทศในทวีปนี้ (หรือเกือบๆ 30%) ล้วนมีนโยบายจัดการกับขยะพลาสติก จนกระทั่งมีการขยายผลในหลายประเทศ และอีกไม่นาน เราเชื่อว่าน่าจะได้เห็นทวีปแอฟริกาทั้งทวีป สะอาดจากขยะพลาสติกทำลายโลก


"เซเนกัล" เป็นประเทศล่าสุดในทวีปแอฟริกาที่มีความพยายามในการต่อต้านพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ด้วยการประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกบรรจุน้ำแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและถ้วยกาแฟในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2020 มาตรการนี้ของเซเนกัลกลับขัดแย้งกับประเด็นปัญหาอื่นๆ เช่น ความมั่นคงด้านน้ำ และการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เพราะประชาชนจำนวนมากยังต้องพึ่งพาน้ำดื่มที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกอยู่ กระนั้นหลังการระบาดใหญ่ มีคำถามว่ารัฐบาลเซเนกัลจะใช้มาตรการใดในการบังคับใช้คำสั่งห้ามอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังคงให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้ นี่อาจเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลใช้โอกาสในการคิดค้นโซลูชันที่ปกป้องสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน

"รวันดา" เป็นเวลากว่า 1 ทศวรรษ ที่รวันดาต่อต้านการใช้พลาสติก โดยเริ่มส่งสัญญาณมาตั้งแต่ปี 2006 และมีนโยบายควบคุมอย่างเต็มรูปแบบในปี 2008 ทั้งยังเข้าร่วมแคมเปญ Plastic Oceans และใช้นโยบายภาษีมากำราบคนถือถุงพลาสติกอีกทอดหนึ่ง เรียกได้ว่ารวันดาคือประเทศแรกในทวีปแอฟริกาที่เดินหน้ามาตรการปลอดถุงพลาสติก และวางแผนว่าจะสานต่อนโยบายนี้อย่างยั่งยืนภายในปี 2020

"เคนยา" แม้เคนยาจะเป็นประเทศที่มีวงล้ออุตสาหกรรมหนุนระบบเศรษฐกิจ แต่ก็ยังสามารถเผด็จศึกกับพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาลประกาศเอาจริงกับการงดใช้พลาสติกในระบบอุตสาหกรรม และธุรกิจค้าปลีกทั้งหลาย พร้อมทั้งออกกฎหมายควบคุมการใช้พลาสติกกับประชากรในประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2017 เรียกได้ว่าใช้มาตรการกำราบพลาสติกอย่างเอาจริงเอาจังทีเดียว

"ซิมบับเว" เดือนกรกฏาคม ปี 2017 ซิมบับเวประกาศไม่เอาพลาสติกแบบโพลีสไตรีนและกล่องโฟมอย่างเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน จะปรับตั้งแต่ 30-500 เหรียญสหรัฐฯ โดยหลังจากภาครัฐเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง ก็ขยายผลมาสู่การจัดการกับพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในปี 2018

"ตูนิเซีย" ตั้งแต่ภาครัฐประกาศแบนถุงพลาสติกเมื่อปี 2017 ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งก็ขานรับนโยบายโดยให้ลูกค้าหันมาใช้ถุงผ้า และในเวลาเดียวกันนั้นก็เป็นโอกาสทองให้เกิดเทรนด์หิ้วกระเป๋าสาน Koffa งานแฮนด์เมดที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของตูนิเซียไปแล้ว ล่าสุดมีรายงานว่าปัจจุบันตูนิเซียสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 94% และจะขยับขึ้นเป็น 100% ให้ได้ภายในปี 2020

"แคเมอรูน" หนึ่งในประเทศที่ผ่านความพยายามอย่างหนักเพื่อต่อสู้กับปัญหาพลาสติกที่คุกคามสิ่งแวดล้อม โดยมีการประกาศห้ามไม่ให้นำเข้า ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ไม่เป็นมิตรกับธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 2014 แม้จะเกิดการต่อต้านจากประชาชนอยู่บ้าง แต่ในที่สุดก็ได้พลังจากเหล่าคนดังมาช่วยสร้างแรงกระเพื่อมให้ผู้คนเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม จากนั้นสถานการณ์จึงค่อย ๆ คลี่คลาย และเปลี่ยนเป็นประเทศต่อต้านขยะพลาสติกได้จริงภายในไม่กี่ปีนับจากนั้น

"แทนซาเนีย" ประเทศลำดับที่ 34 ของกลุ่มแอฟริกาที่มีการกำหนดตัวบทกำจัดพลาสติกอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลประกาศไม่ให้นำเข้า ผลิต และจำหน่ายพลาสติกที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องผืนป่า และคงไว้ซึ่งความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว อันเป็นแม่เหล็กดึงดูดรายได้มหาศาลให้กับประเทศ

อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นที่น่าสังเกตสำหรับเทรนด์นี้คือ ฝรั่งเศส ออสเตรีย อิตาลี รวมถึงเยอรมนี (ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป) แบนถุงพลาสติกบางประเภทเท่านั้น และกำหนดให้เปลี่ยนเป็นถุงที่ย่อยสลายได้

สำหรับไทย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนออนุมัติแผนลด-เลิกผลิตขยะพลาสติก พร้อมเตรียมประกาศห้ามใช้พลาสติก 4 ชนิด ได้แก่ โฟม ถุงหิ้ว แก้ว และหลอดพลาสติก แบบเด็ดขาดในปี 2565 รวมถึงตั้งเป้าให้พลาสติกอีก 7 ชนิด เข้าสู่ระบบเศรษกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 50% ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบหนา บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว ขวดพลาสติกทุกชนิด ฝาขวด แก้วพลาสติก ถาดและกล่องอาหาร และ ช้อน ส้อม มีดพลาสติก

ที่มา :
https://www.salika.co/2021/07/03/countries-banning-plastic-bags/
https://becommon.co/world/africa-sayno-plastic/#accept
เอกสารดาวน์โหลด :
https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2022/02/pcdnew-2022-02-15_03-35-40_837351.pdf
https://brussels.customs.go.th/data_files/9d4377f47d89c10bee1dc5fb1fa05cb1.pdf
#SMEone SME ONE

บทความแนะนำ

แผนยุทธศาสตร์สร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ยั่งยืนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนของ EU

แผนยุทธศาสตร์สร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ยั่งยืนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนของ EU ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรปสำหรับสิ่งทอที่ยั่งยืนและสิ่งทอหมุนเวียน

การบริโภคสิ่งทอของสหภาพยุโรปส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นอันดับที่ 4 รองจากอาหาร ที่อยู่อาศัย และยานพาหนะ นอกจากนี้สิ่งทอก็เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำและการใช้ที่ดินสูง รวมถึงการใช้วัตถุดิบหลักและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับต้น ๆ

คณะกรรมาธิการยุโรป (The European Commission) ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ใหม่ในการทำให้สิ่งทอมีความทนทาน ซ่อมแซมได้ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และรีไซเคิลได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการ European Green Deal และ the Circular Economy Action Plan ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรปนี้กำหนดวิสัยทัศน์และการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้แน่ใจว่าภายในปี 2030 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่วางตลาดสหภาพยุโรปจะมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นและรีไซเคิลได้ โดยผลิตจากเส้นใยรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด ปราศจากสารอันตราย และกระบวนการผลิตสอดคล้องกับสิทธิทางสังคมและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการใช้สิ่งทอคุณภาพสูง การนำกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า และมีบริการซ่อมที่หาได้ง่ายขึ้น มาตรการนี้รวมถึงข้อกำหนดด้านการออกแบบเชิงนิเวศน์สำหรับสิ่งทอ Digital Product Passport และมาตรการบังคับสำหรับ EU extended producer responsibility scheme ด้วย

คาดการณ์ว่ายุทธศาสตร์นี้จะมีมาตรการในการจัดการกับการปล่อยไมโครพลาสติกจากสิ่งทอโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อรับรองความถูกต้องของการเรียกร้องสิทธิ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อส่งเสริมรูปแบบธุรกิจหมุนเวียน รวมถึงการนำมาใช้ซ้ำและบริการซ่อมแซมด้วย เพื่อจัดการปัญหา fast fashion ยุทธศาสตร์นี้ยังเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ลดจำนวนคอลเลกชันต่อปี รับผิดชอบและดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และขอให้ประเทศสมาชิกนำมาตรการภาษีที่เอื้ออำนวยสำหรับการใช้ซ้ำและการซ่อมแซม

อ้างอิง 1 :
https://environment.ec.europa.eu/strategy/textiles-strategy_en
https://www.interregeurope.eu/news-and-events/news/new-eu-strategy-for-sustainable-and-circular-textiles
https://environment.ec.europa.eu/strategy/textiles-strategy_en

ดาวน์โหลด 2.2-EU Strategy for Sustainable and Circular Textiles(30.3.22).pdf
ดาวน์โหลด 2.1-Textiles_Factsheet_EC.pdf
ดาวน์โหลด 2.3Annex-EU Strategy for Sustainable and Circular Textiles (30.3.22).pdf

อ้างอิง 2 :

https://www.textilescircle.com/th/knowledge/value=26

https://europetouch.mfa.go.th/th/content/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2?cate=5d6abf7c15e39c3f30001465

 

บทความแนะนำ

จับตาร่างกฎระเบีบยบรรจุภัณฑ์ฉบับใหม่ของ EU ผลักดันสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนภาคบังคับ

จับตา “ร่างกฎระเบียบบรรจุภัณฑ์และขยะบรรจุภัณฑ์ของสหภาพยุโรป”
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2022 คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศข้อเสนอกฎระเบียบว่าด้วยการจัดการบรรจุภัณฑ์และขยะบรรจุภัณฑ์ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศเป้าประสงค์ใน EU Green Deal และแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE) ที่ต้องการให้บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในตลาดอียูจะต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้หรือรีไซเคิลได้ในเชิงพาณิชย์ภายในปีค.ศ. 2030
การออกกฎหมายครั้งนี้จะเป็นระดับกฎระเบียบ (Regulation) มิใช่ระดับระเบียบ (Directive) เพื่อแก้ปัญหาการออกกฎหมายที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก การออกกฎระเบียบนี้จะมีผลผูกพันกับผู้ประกอบการโดยตรง โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสินค้าที่จะวางจำหน่ายในตลาดยุโรป ดังนี้
 
• รีไซเคิลได้ (Recyclability) ซึ่งหมายถึง การออกแบบให้สามารถรีไซเคิลได้ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2030) สามารถเก็บรวบรวมแบบแยกประเภทได้ และมีความสามารถในการนำมารีไซเคิลได้ในเชิงพาณิชย์ (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2035) โดยจะต้องรีไซเคิลให้ได้ในแนวทางที่จะทำให้วัสดุรอบสองนั้นมีคุณสมบัติที่จะทดแทนวัตถุดิบใหม่ได้ ทั้งนี้ อียูจะออกกฎหมายลำดับรองเพื่อบังคับใช้ต่อไป เช่น หลักเกณฑ์เรื่องการออกแบบให้รีไซเคิลได้ รวมทั้งจะมีการพัฒนาระบบประเมินความสามารถในการรีไซเคิลโดยจะมีการให้คะแนนตั้งแต่ A ถึง E ซึ่งหากบรรจุภัณฑ์ถูกประเมินในระดับ E จะถือว่ารีไซเคิลไม่ได้ (จะถูกห้ามใช้ในตลาดอียู)
 
• ใช้ซ้ำได้ (Reusability) บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดที่ออกวางจำหน่ายจะต้องถูกออกแบบให้ใช้ซ้ำได้ และหากมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำจะต้องมีการพัฒนารองรับการใช้ซ้ำบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ด้วย อียูได้เสนอเป้าหมายที่จะให้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม (ยกเว้นไวน์) จะต้องบรรลุเป้าหมายการใช้ซ้ำได้ ร้อยละ 10 และให้เพิ่มเป็นร้อยละ 25 ภายในปีค.ศ. 2040 ส่วนบรรจุภัณฑ์อาหารแบบซื้อกลับจะต้องบรรลุเป้าหมายการเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ถึงร้อยละ 40 ภายในปีค.ศ.2040 ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่ง เช่น พาเลท กล่องลัง จะต้องบรรลุเป้าหมายการใช้ซ้ำได้ให้ได้ 100%
 
• ขนาดบรรจุภัณฑ์ (Size) ผู้ผลิตจะต้องมีการลดขนาดบรรจุภัณฑ์ให้น้อยที่สุดทั้งในเชิงน้ำหนักและปริมาตร โดยสัดส่วนช่องว่าง (empty space ratio) จะต้องไม่เกินร้อยละ 40
 
• สัดส่วนวัสดุรีไซเคิล (Recycled content) ในส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติก จะต้องบรรลุเป้าหมายดังนี้
o ตั้งแต่ 1 มกราคม 2030 เป็นต้นไป
 ร้อยละ 10 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่ใช่ PET ยกเว้นกลุ่มขวดเครื่องดื่มพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
 ร้อยละ 30 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำจาก PET
 ร้อยละ 30 สำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแบบใช้ครั้งเดียว
 ร้อยละ 35 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทอื่น
o ตั้งแต่ 1 มกราคม 2040 เป็นต้นไป
 ร้อยละ 50 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่ใช่ PET ยกเว้นกลุ่มขวดเครื่องดื่มพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
 ร้อยละ 65 สำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มพลาสติกที่ทำจาก PET แบบใช้ครั้งเดียว
 ร้อยละ 65 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทอื่น
ทั้งนี้ อียูจะประกาศวิธีการคำนวณและทวนสอบสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลจากขยะพลาสติกที่ใช้แล้ว รวมทั้งเอกสารทางเทคนิคต่างๆ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2026 เป็นอย่างช้า
 
• ห้ามใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งใน 4 กรณี 1) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุผักและผลไม้สด 2) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่อาหารและเครื่องดื่ม ณ จุดขายในภาคบริการ (โรงแรม ภัตตาคาร) 3) บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลที่ใช้ในโรงแรม (ขนาดน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรสำหรับของเหลวหรือน้อยกว่า 100 กรัมสำหรับของแข็ง) 4) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในภาคบริการที่มีขนาดบรรจุสำหรับการบริโภคครั้งเดียว (เช่น ซองน้ำตาล ซองครีมเทียม ซองซอส)
 
• ให้ประเทศสมาชิกพัฒนาระบบมัดจำคืนเงิน (Deposit refund system) สำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวและโลหะภายในปีค.ศ. 2029 (ยกเว้นกลุ่มนม ไวน์และเหล้า) โดยสามารถขอยกเว้นได้หากมีการเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ในอัตราที่มากกว่าร้อยละ 90 ในปี 2026/27
 
แผนการดำเนินงาน
ตอนนี้ ข้อเสนอกฎระเบียบนี้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2023 นี้ คาดว่าจะใช้เวลาในการยกร่างกฎหมายประมาณหนึ่งปี และมีระยะเวลาเตรียมตัวประมาณ 1 ปี

บทความแนะนำ