
หัวข้อ : เจาะลึกวิธีคิดสร้างโอกาสธุรกิจร้านอาหารให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/digitalage
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะในโลกธุรกิจใช้เวลาเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ในส่วนของธุรกิจอาหาร แม้จะเป็นตลาดใหญ่โดยมีการเติบโต 3-5% อย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็มีการแข่งขันสูง ทั้งจากคู่แข่งโดยตรง และจากสินค้าทดแทนที่มีอยู่จำนวนมาก ที่สำคัญคือพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชอบลองของใหม่ แม้ธุรกิจอาหารจะพอมีรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นให้เห็นบ้าง เช่น โอมากาเสะ หรือ เชฟเทเบิ้ล นอกนั้นทุกคนยังคิดบนพื้นฐานเดิมเหมือนกันหมด นั่นเป็นสาเหตุให้ธุรกิจอาหารมีการแข่งขันที่รุนแรงอยู่ตลอดเวลา
โมเดลธุรกิจอาหารสามารถปรับได้หลากหลายรูปแบบ เราสามารถลองทำกับธุรกิจเดิมก่อนได้ เช่น
ลองหาโมเดลให้เจอ ถ้าทำได้เราไม่ต้องมีหน้าร้านให้ต้องแบกรับต้นทุนค่าสถานที่ที่นับวันมีแต่จะสูงขึ้น และในอนาคตจะมีรูปแบบหลากหลายที่ธุรกิจอาหารไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเสมอไป แต่อาจต้องมีการสำรวจสถานที่ก่อนให้บริการจริง เพื่อตรวจสอบดูว่าสามารถให้บริการได้หรือไม่
4 กลยุทธ์สำคัญในการปรับโมเดลธุรกิจอาหารใหม่
การดูแลรักษาลูกค้า
เมื่อธุรกิจร้านอาหารโตขึ้นเรื่อย ๆ การดูแลรักษาลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญลำดับถัดมา ที่จะทำให้ธุรกิจที่เติบโตนี้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง
- การเก็บฐานข้อมูลของลูกค้าไว้ได้มากที่สุด จะทำให้เราสามารถพัฒนาสินค้าและการบริการให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด จนก่อเกิดความ ประทับใจและบอกต่อ ซึ่งจะเป็นพลังในการสร้างโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจ
- กิจกรรมที่จะสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้ดีจนก่อให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ ต้องเป็นกิจกรรมที่มีครบในเรื่องความสะดวก สนุก และสบาย
- ลูกค้าจะหยุดดูคอนเทนต์ที่เรานำเสนอ กดไลค์และกดแชร์ เมื่อไอเดียที่นำมาเล่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและสำคัญกับตัวเขา ภาพที่เล่าเรื่องต้องสอดคล้องกันในทุกโพสต์ และเล่าผ่านภาพซ้ำ ๆ เพื่อสร้างการจดจำแบรนด์
Published on 17 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : Medical Tourism ยุคใหม่ ต้องทำให้ลูกค้าประทับใจในบริการ
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/medicaltourism012
สำหรับโลกธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในยุคนี้ ไม่ใช่ต้องทันเรื่องดิจิตอลเพื่อทำการตลาดอย่างเดียวเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือการบริการ ที่เป็นหัวใจหลักของธุรกิจชนิดนี้ ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญและความรู้หลายแขนงเข้ามาสร้างความประทับใจลูกค้าให้มากที่สุด นี่คือคำแนะนำจากผู้นำธุรกิจด้านสุขภาพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย เกี่ยวกับการบริการเพื่อเอาชนะใจลูกค้า ให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ในธุรกิจของตนเองได้
สร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าไว้ใจ
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจบริกร คือ การทำให้ลูกค้าเชื่อถือ หากบอกอะไรกับลูกค้าไป ต้องทำให้ได้ตามที่เราพูด เพราะถ้าเราทำไม่ได้ตามที่พูด อาจจะเสียลูกค้าและโดนฟ้องได้ ดังนั้นความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งต้องรักษาไว้ เพื่อให้ลูกค้าเชื่อถือ ไว้ใจ และกลับมาใช้บริการซ้ำอีก
รับประกันความพึงพอใจให้ลูกค้า
เมื่อทำธุรกิจบริการ สิ่งสำคัญคือ การฟังเสียงตอบรับจากลูกค้า ควรให้ลูกค้าได้ประเมินความพึงพอใจทุกครั้งหลังรับบริการ ถ้าผลออกมาลูกค้าไม่พึงพอใจ เราต้องวางแผนจัดการว่าจะรับมืออย่างไรเป็นขั้นตอน รวมถึงจะปรับปรุงภายในธุรกิจเราอย่างไรให้ลูกค้าพอใจสูงสุด อย่าคิดว่าวิธีนี้เหมาะกับแค่ธุรกิจใหญ่ ๆ เท่านั้น ยิ่งเราเป็นเอสเอ็มอียิ่งต้องทำ เพื่อสร้างตัวเองให้แตกต่างจากคู่แข่ง และสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อผลักดันตัวเองให้ดีขึ้นต่อไป
ตอบสนองลูกค้าต้องว่องไว
การคอมเพลน (Complain) ของลูกค้าบนโลกนี้ เกิดจากการเพิกเฉยของเจ้าของธุรกิจที่ไม่ยอมปรับปรุง การรับฟังความคิดเห็นทั้งด้านดีและด้านเสียจากลูกค้า จากนั้นตอบสนองต่อคอมเมนต์ของลูกค้า นำมาปรับปรุงแก้ไขอย่างรวดเร็วที่สุด มีผลอย่างยิ่งกับการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า
สร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าจดจำ
ประสบการณ์ของลูกค้าเมื่อได้มาสัมผัสกับบริการของเรา การสร้างสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังให้เกิดขึ้นจริง จะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้อย่างดี
Published on 17 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : 5 สัญญาณอันตรายทางการเงินของ SME
อ่านเพิ่มเติม : https://sme.ktb.co.th/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=18&itemId=200
การบริหารเงินสดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นทักษะที่เจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้ให้ดี บ่อยครั้งที่ธุรกิจเริ่มส่งญาณทางการเงินที่ไม่ดี แต่เจ้าของกลับไม่ได้ให้ความสนใจจึงทำให้ปัญหาใหญ่เกินแก้ไข และนี่คือ 5 สัญญานอันตรายทางการการเงินที่เจ้าของธุรกิจต้องคอยระวัง อย่าให้เกิดขึ้นเด็ดขาด
1. เงินสดในมือน้อยกว่า 6 เดือน
ปริมาณเงินสดที่ต้องมีติดบัญชีไว้เสมอ คือไม่น้อยกว่า 6 เท่าของค่าใช้จ่ายคงที่ (ค่าใช้จ่ายประจำ) ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายคงที่ ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน หากธุรกิจใด มีเงินสดในกว่าจำนวนดังกล่าว ถือว่าธุรกิจมีสภาพคล่องในระดับอันตราย ต้องรีบจัดการกับเรื่องการเก็บเงินจากการขายและลดค่าใช้จ่ายอย่างเร่งด่วน
2. หนี้ค้างรับสูงกว่าหนี้ค้างจ่าย
สิ่งที่ทุกธุรกิจควรทำให้เรื่องการซื้อขาย คือ การขายแล้วเก็บเงินได้เร็วและซื้อของแต่จ่ายเงินช้า และมันจะดีที่สุดถ้าเราสามารถใช้เวลาเก็บเงินได้น้อยกว่าระยะเวลาที่เราต้องจ่ายเงิน เพราะนั่นหมายถึงเราเอาเงินที่ได้จากลูกค้ามาจ่ายค่าสั่งซื้อโดยที่เราไม่ต้องใช้เงินของเราเองเลย
3. สต็อกมากเกินไป
มีประโยคที่ว่า ถ้าไม่รู้ว่าเงินของบริษัทหายไปไหน ก็ให้ไปดูที่คลังสินค้า ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอ เพราะในการดำเนินงานปกติของธุรกิจ เงินสดจะหายหรือเปลี่ยนสถานะเป็น 1 ใน 3 รายการนี้มากที่สุด ได้แก่
4. ควบคุมรายจ่ายไม่ได้
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการบริหารการเงินคือ การไม่จดบันทึกรายการเงินเข้าออกว่ามีการใช้จ่ายไปกับเรื่องใดบ้าง เมื่อไหรก็ตามที่เราดูเงินในบัญขีแล้วพบว่ามันน้อยลงแต่เรากลับไม่ทราบว่าเราจ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง นั่นแสดงว่าธุรกิจของคุณกำลังอยู่ในขั้นอันตราย
5. ภาษีและค่าเสื่อมติดลบ
ถ้าธุรกิจของมีการทำบัญชีแบบจริงจัง สิ่งที่เจ้าของจะใช้เกณฑ์ตัดสินว่าธุรกิจนี้ดีพอจะเลี้ยงตัวเองหรือไม่คือ การดูกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อม (EBITDA)
Published on 17 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : ขายสินค้าให้ยอดพุ่ง บน Facebook Marketplace
อ่านเพิ่มเติม : https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/sme-facebook-marketplace.html
เฟซบุ๊กมาเก็ตเพลส (Facebook Marketplace) อีกหนึ่งช่องทางขายที่เฟซบุ๊กสร้างมาเพื่อช่วยให้การขายของทำได้ง่ายยิ่งขึ้นและเข้าถึงลูกค้าได้เร็วที่สุด เพียงไม่กี่ขั้นตอนสินค้าของคุณก็จะถูกส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายนับล้านทั่วโลกแล้ว อีกทั้งผู้ซื้อยังสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้สะดวกมากขึ้นเช่นกัน
ทำไมต้องขายของบนเฟซบุ๊กมาเก็ตเพลส
เฟซบุ๊กมาเก็ตเพลสเปิดให้ใช้งานมากว่า 2 ปี ใช้งานง่าย และมีจำนวนของผู้คนที่เข้าถึงมาก ตลอดสองปีที่ผ่านมาความนิยมของช่องทางนี้ไม่ได้ลดน้อยลง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบที่ช่วยทำให้การขายของเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เร็วขึ้นอีกด้วย
จุดเด่นของเฟซบุ๊กมาเก็ตเพลส
เทคนิคปิดการขายบนเฟซบุ๊กมาเก็ตเพลส
เฟซบุ๊กมาเก็ตเพลสคือตลาดที่เปิดกว้างสำหรับใครก็ตามที่ต้องการเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดออนไลน์ หรือขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า ช่องทางนี้ถือว่าสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องทำการสมัครเปิดหน้าร้านให้ยุ่งยาก เพียงแค่มีข้อมูลสินค้าก็เริ่มต้นขายของกันได้เลย ที่นี่คุณยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างหลากหลาย เพราะมีลูกค้าจำนวนมากรวมตัวกันอยู่แล้ว หากคิดจะเริ่มธุรกิจออนไลน์ ช่องทางนี้เป็นทางเลือกที่ดีที่จะเริ่มต้น ใครที่จะโพสต์ขายของให้ใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน จะได้เป็นประโยชน์ต่อทั้งคนขายเองและคนซื้อ
Published on 17 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
จากตัวเลขเชิงสถิติของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่าในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา มีธุรกิจเกิดใหม่กว่า 70,000 รายต่อปี ในจำนวนทั้งหมดนี้มีเพียง 50% ที่ก้าวผ่านปีแรกไปได้ และ 10% ต้องปิดกิจการลงในที่สุด
ปัญหาหลักสำคัญที่ทำให้ SME รายย่อยไปต่อไม่ได้ เพราะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงิน เนื่องจาก การปล่อยสินเชื่อที่อิงกับหลักทรัพย์ค้ำประกันและเงื่อนไขของ SME ผู้กู้จะต้องเดินบัญชีธนาคารรวมถึงมีการจดทะเบียนการค้าอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี ตลอดจนมีการตรวจสอบประวัติค้างชำระหนี้กับสถาบันการเงินต่างๆ
ด้วยระยะเวลา ขั้นตอน และกฎเกณฑ์ต่างๆ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม SME ส่วนใหญ่จึงไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้สอดคล้องกับผลวิจัยของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ ในปี 2561 ที่พบว่า ผู้ประกอบการ SME ที่มีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 3 ล้านราย มีเพียงหมื่นกว่ารายเท่านั้นที่ได้รับสินเชื่อ SME จากสถาบันการเงิน
เมื่อไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนดอกเบี้ยต่ำอย่างสถาบันการเงินได้ SME ส่วนใหญ่จึงหันไปพึ่งพาการกู้เงินนอกระบบ แม้ว่าจะกู้ง่ายก็จริง แต่ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงจุดนี้ก็ยิ่งทำให้ SME ต้องแบกภาระต้นทุนที่สูงมากขึ้น กลายเป็นการซ้ำเติมที่ทำให้ธุรกิจอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้เสียที
แต่จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ก็ทำให้ SME รายย่อยมีทางเลือกในการที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากขึ้นเช่นกัน และ Credit OK ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกดังกล่าว
ทั้งนี้ Credit OK เป็นสตาร์ทอัพ FinTech ที่แจ้งเกิดเมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยตั้งใจเข้ามาลบ Pain point ของ SMEในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้หมดไป ด้วยการใช้เทคโนโลยี Big Data จัดระบบข้อมูล และนำ Machine Learning วิเคราะห์ความเสี่ยง ประมวลผลออกมาเป็น Credit Scoring เพื่อประเมินผล และอนุมัติวงเงินการกู้ให้กับ SMEคุณยิ่งยง ตันธนพงศ์พันธุ์ CEO Credit OK กล่าวว่า Credit OK วางกลุ่มเป้าหมายไปที่ SME รายย่อยที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 50 ล้านบาท รวมไปถึง SME ในระดับบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประกอบการทั้งที่จดและไม่จดทะเบียนการค้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นก้อนใหญ่ที่สุดของธุรกิจ SME ในประเทศและยังเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงกว่าที่เคย นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โรคระบาด COVID-19 เป็นต้นมา
วิธีการเก็บข้อมูลของ Credit OK มาจากการศึกษาเส้นทางการสร้างรายได้ และพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อสินค้าของ SME ที่ทำร่วมกับคู่ค้าที่อยู่ใน Ecosystem ของธุรกิจที่ SME ดำเนินการอยู่ ประกอบกับการเก็บข้อมูลจาก Data Source ใหม่ๆ อย่าง Psychometric data เป็นประเภทข้อมูลทางจิตวิทยาถึงลักษณะนิสัย และด้านการจับจ่ายใช้สอยของผู้กู้ เพื่อนำมาประมวลผลให้แม่นยำมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าแต่ละธุรกิจล้วนมีเส้นทางในการสร้างรายได้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น Credit OK จำเป็นต้องเลือกกลุ่มธุรกิจเพื่อทำ Credit Scoring สำหรับปล่อยกู้
กลุ่มแรกที่ Credit OK เข้าไปดำเนินการก็คือ กลุ่ม SME ที่เป็นช่างผู้รับเหมา โดยจับมือกับ SCG ซึ่งมีเครือข่ายร้านค้าวัสดุก่อสร้างอยู่ทั่วประเทศและมีฐานลูกค้าช่างผู้รับเหมาประมาณหนึ่งแสนรายที่เข้าไปใช้บริการ
“เราจับมือกับ SCG เพื่อนำข้อมูลประวัติการซื้อวัสดุหรืออุปกรณ์ก่อสร้างของช่างผู้รับเหมาจากร้านค้าในเครือข่ายSCG มาจัดเก็บในระบบข้อมูล และประเมินความเสี่ยงของช่างหรือผู้รับเหมารายย่อยว่า คนกลุ่มนี้มีประมาณเท่าไหร่ มีระดับเครดิตอยู่ในระดับไหน และเราควรจะปล่อยเครดิตได้ในระดับใด จากนั้นจึงนำมาใช้กำหนดวงเงินเครดิตการค้า โดยช่างสามารถใช้เครดิตดังกล่าวนำมาซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างไปก่อนในระยะเวลาเครดิตเทอม 30-45 วัน โดยไม่คิดดอกเบี้ย หลังจากนั้นค่อยมาชำระเงินคืน ด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีเงินหมุนเวียนตลอด ส่งผลให้เขาสามารถขยายขนาดโปรเจ็กท์ หรือรับโปรเจ็กท์ก่อสร้างเพิ่มขึ้นได้”
ข้อดีของการใช้ Credit Scoring เป็นข้อมูลในการกู้ของ Credit OK นั้นมีหลายอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำเรื่องขอกู้ สำหรับผู้รับเหมาและช่างที่สนใจสามารถสมัครบริการได้ง่ายผ่านร้านผู้แทนจำหน่ายของ SCG ทั่วประเทศ รู้ผลอนุมัติรวดเร็วภายใน 3 วันทำการ โดยไม่ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร และมีอัตราการดอกเบี้ยเพียง 15% ต่อปีเท่านั้น โดยที่ผ่านมา Credit OK สามารถปล่อยกู้เป็นสินค้าให้กับช่างผู้รับเหมาหลายร้อยรายแล้ว และได้รับการตอบรับที่ดี เมื่อวัดจากความถี่การเข้ามาใช้บริการซ้ำ 2-3 รอบต่อคน และอัตรา NPL ที่ต่ำกว่า 1%
ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ Credit OK เดินหน้าขยายกลุ่มเป้าหมาย SME ในกลุ่มเกษตรกร โดยเริ่มจากกลุ่มเกษตรผู้ปลูกต้นไม้ยูคาลิปตัสเพื่อส่งขายเข้าโรงงานทำกระดาษ โดยครั้งนี้ Credit OK ได้จับมือกับ SCG อีกเช่นกัน ซึ่งยอดการส่งไม้เข้าไปแปรรูปเป็นแพ็กเกจจิ้งกระดาษจะถูกเก็บไว้ในประวัติ และนำมาวิเคราะห์ออกมาเป็นวงเงินปล่อยกู้ให้เกษตรกรอีกทีหนึ่ง
ล่าสุด Credit OK เข้าไปจับมือกับผู้ค้าส่งรายใหญ่ของไทย เพื่อปล่อยกู้เป็นสินค้าให้ SME ผู้ประกอบการร้านอาหารเครื่องดื่ม และร้านขายของชำ
“เช่นเดียวกัน เราก็ใช้วิธีเก็บข้อมูลจากประวัติการซื้อสินค้าของกลุ่ม SME ดังกล่าวในร้านคาส่งที่เราเป็นพันธมิตรทั้งช่องทางที่เป็นออนไลน์ และออฟไลน์ว่ามีปริมาณแค่ไหน และมีความถี่ในการซื้อเท่าไหร่ จากนั้นเราก็นำมาวิเคราะห์เป็นวงเงินกู้เป็นสินค้า หรือวัตถุดิบเพื่อนำมาขายในร้านของเขา”
คุณยิ่งยงกล่าวถึงแผนการทำงาน ว่า Credit OK ยังโฟกัส SME ใน 3 กลุ่ม ได้แก่ ช่างผู้รับเหมา เกษตรกร และผู้ประกอบการร้านอาหาร/ร้านชำ เพราะถือว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากในระบบ SME และมีศักยภาพในการเติบโตต่อไปได้อีก
แต่สิ่งที่ทำเพิ่มเติมก็คือ การหาพาร์ทเนอร์ที่เป็นแหล่งเงินทุน โดยในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะจับมือกับสถาบันการเงินเข้ามาปล่อยกู้เงินเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันที่จับมือกับ Grab Financial Group เพียงรายเดียวในยอดวงเงินกู้ 100 ล้านบาท
“ผมหวังว่า Credit OK จะเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับ SME อย่างน้อยก็ให้เขาได้มีทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อให้ธุรกิจของเขาหมุนต่อไปได้ และกลายเป็น SME ที่เติบโตอย่างแข็งแรง”
Published on 17 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย