ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก หรือหลังจากได้ปรับโครงสร้างเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีหน้าที่หลักคือให้คำปรึกษาช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการ แนะนำในกระบวนการผลิตเซรามิก ให้บริการทั้งด้านวิชาการ และเทคโนโลยีการผลิต ให้คำปรึกษาในเรื่องการผลิตเซรามิก ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นอย่างเช่น เรื่องดิน การขึ้นรูป การเผา บรรจุภัณฑ์ การลดต้นทุนในการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แนะนำในกระบวนการผลิตเซรามิก ให้บริการทั้งด้านวิชาการและเทคโนโลยีการผลิตแก่กลุ่มผู้ประกอบการทั้งวิสาหกิจชุมชน OTOP และ SMEs เพื่อส่งเสริมสนับสนุนยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมเซรามิก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ เศรษฐกิจไทย สำหรับผู้ประกอบการSMEs สามารถเข้ามารับบริการทางด้านข้อมูล เช่น สนใจในการทำโรงงานเซรามิก ต้องเริ่มต้นอย่างไร ต้องรู้อะไรบ้าง มีการเข้ามาขอฝึกอบรมเฉพาะราย อบรมเรื่องวัตถุดิบ การวิเคราะห์ทดสอบ การเตรียมดินเตรียมเคลือบ การขึ้นรูป การเผา ไม่เสียค่าบริการ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการด้านเซรามิก
1. บริการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบ วิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ทดสอบเซรามิก โดยในส่วนนี้จะมีค่าบริการ
2. บริการออกแบบพัฒนาและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่อง 3D จากวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และนำผลการศึกษา วิจัย หรือทดสอบ มาเป็นข้อมูล ถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม
3. ให้บริการเครื่องมือในการผลิต มีบริการเครื่องจักรกลาง สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นและยังไม่มีงบประมาณ ก็สามารถเข้ามาใช้บริการเครื่องมือเครื่องจักรที่นี่ได้ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้กลุ่มผู้ประกอบการด้านเซรามิกเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่อไป
4. บริการขั้นตอนการผลิต ทั้งการเตรียมดิน เตรียมเคลือบ การขึ้นรูป การเผา ไม่เสียค่าบริการ
5. บริการทางด้านข้อมูลห้องสมุดเซรามิก ทางศูนย์มีส่วนที่พัฒนาในแหล่งข้อมูล มีความรู้ความชำนาญในทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่สามารถเข้ามาหาความรู้ทางด้านโรงงานเซรามิก โดยทางศูนย์จะมีฐานข้อมูลโรงงานจากทั่วประเทศ รวมทั้งฐานข้อมูลสูตรดิน สูตรเคลือบ ถูกบรรจุไว้ในห้องสมุดเซรามิก
6. บริการฝึกอบรมเฉพาะราย ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ถ้าผู้ประกอบการด้านเซรามิกสนใจหรือมีไอเดียสามารถเข้ามาติดต่อได้เลยที่ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก
หมู่ที่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 52130
หรือติดต่อผ่าน เบอร์โทรศัพท์ 0 5428 1884 , 0 5428 1885 , 0 5428 2376 , 0 5428 2375
อีเมล์ ceramic@dip.go.th
เว็บไซต์ http://ceramiccenter.dip.go.th
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือที่เรียกกันว่าเทคโนธานี เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีภารกิจในการให้บริการวิชาการ การส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการนำผลงานวิจัยลงพื้นที่ถ่ายทอด ให้คำปรึกษาเชิงลึก ปรับแปลงถ่ายทอดเทคโนโลยี นำเอาผลงานวิจัยไปช่วยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมรวมไปถึงต่อยอดเชิงพาณิช การยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแก่บุคคลภายนอก ผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคม สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
มีพื้นที่ให้บริการภาคอีสาน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรและปศุสัตว์ โดยมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาสายพันธุ์ไก่โคราช ไทยวากิว รวมทั้งเรื่องข้าว เป็นต้น
ด้วยความที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จึงมีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยี และวิศวกรรม มีคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญในวิศวโยธาโดยเฉพาะให้คำปรึกษาด้านกระบวนการผลิต การลดต้นทุน มีศูนย์เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกงานทุกอย่างไว้รวมกัน เพราะฉะนั้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยจึงสามารถใช้ร่วมกันได้หมด บริการสำหรับSME ทุกประเภทโดยเฉพาะด้านอาหาร ด้านเกษตร แต่ด้วยเป็นพื้นที่ในภาคอีสาน ผู้ที่เข้ามารับบริการส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านอาหาร ยกตัวอย่าง “แยมอิ่มใจ” ที่ทางเทคโนธานีได้ช่วยพัฒนาสูตร โดยเป็นแยมที่ไร้น้ำตาล ใช้ความหวานจากธรรมชาติล้วน ธุรกิจ“คากิ หนังไก่ทอดกกรอบ” โดยช่วยพัฒนาในเรื่องความกรอบและลดความหืน
1. บริการทางห้องปฏิบัติการ เป็นศูนย์กลางการบริการวิเคราะห์ทดสอบและวิจัยที่ผ่านการรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากหน่วยรับรองกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยให้บริการการใช้เครื่องมือวิเคราะห์วิจัยระดับสูง ครอบคลุมทุกความต้องการ การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบในเชิงเทคนิคและการพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการนำงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ หรือนำ ไปดำเนินการวิจัยต่อยอด และการจัดให้มีสถานที่สำหรับการอบรมและสาธิตเทคโนโลยี มุ่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
2. บริการด้านสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือมีเครื่องตรวจสอบคุณภาพน้ำ เครื่องวิเคราะห์โลหะหนักในอาหาร เครื่องทดสอบคุณภาพนมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องกำจัดมอดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการได้ เช่น การก่อสร้าง เรื่องของดิน เรื่องของวัดุ การทดสอบน้ำ การทดสอบอาหาร
3. บริการทรัพย์สินทางปัญญา ทำหน้าที่ให้บริการให้คำปรึกษา ยื่นจดแจ้งทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแก่บุคคลภายนอก และผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
4. ทำหน้าที่เป็น Business Buddy ให้กับผู้ประกอบการทุกประเภทที่สนใจ ผู้ประกอบการ SMEs รวมถึง Start Up โดยมีคอร์สอบรม ให้ความรู้ มีกระบวนการ Pre Screening คือการสอบถามความต้องการเบื้องต้นของผู้ประกอบการที่เข้ามาขอรับความช่วยเหลือ ทั้งแบบมีเพียงไอเดีย หรือมีความต้องการที่ชัดเจน ให้การอบรมในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ความรู้ในการทำแผนธุรกิจ Business Model Canvas รวมไปถึงการให้คำปรึกษาเชิงลึกการตลาดในด้านการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กรในเรื่องของขบวนการผลิต การนำสินค้าออกไปในตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น ผู้ประกอบการมีแต่วัตถุดิบแต่ยังไม่มีไอเดียว่าจะพัฒนาอย่างไรเราจะเป็นคนช่วยให้คำแนะนำและต่อยอด
5. การอบรมในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ โลโก
6. มี Co-Working Space พื้นที่ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการ มีห้องประชุมห้องสัมมนาให้เช่าบริการและในอนาคตกำลังสร้างอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นแห่งที่ 4 ของประเทศ
ทางศูนย์มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายทั้งด้านอาหาร การเกษตร หรือเทคโนโลยี ทำให้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทางมหาวิทยาลัยได้พัฒนาเครื่องแรงดันบวก-ลบ เพื่อช่วยในการรักษาในช่วงที่เกิดการระบาด และยังมีเครื่องปรับสภาพอากาศในการกรองฝุ่น PM2.5 อีกด้วย
มหาวิทยาลัยสุรนารี มีสโลแกนว่า “ถ้ามีปัญหา ลองมาหาเรา” โดยทางมหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่เป็น Business Buddy ให้กับผู้ประกอบการทุกประเภทที่สนใจสามารถ walk-in เข้ามาได้เลย ผู้ประกอบการสามารถเข้ามารับบริการได้ที่
เทคโนธานีบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้ามาปรึกษาฟรี ช่องทางการสื่อสาร โทรศัพท์ 0-4422-4811 to 22
โทรสาร 0-4422-4814 อีเมล์ : technopolis@sut.ac.th
เว็บไซต์ : http://technopolis.sut.ac.th/
Facebook : facebook.com/TNSUT
SCI-Park ม.นเรศวร เป็นศูนย์บ่มเพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี One stop service ที่มีบริการที่หลากหลาย เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการอาหารด้านนวัตกรรมมีบริการหลัก ๆ คือ บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน การบ่มเพาะธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ทดสอบการนำอาจารย์ไปเป็นที่ปรึกษาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ ด้านเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง ด้านการแพทย์ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ แปรรูปอาหาร เครื่องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มากมาย รวมถึงพื้นที่ให้เช่า
ทางศูนย์มีบริการอื่นๆ อีกมากมายให้ผู้ประกอบการ ดังนี้
ผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจสามารถเข้ามาติดต่อได้ ทั้งผู้ประกอบการที่เคยผ่านโครงการ ผู้ประกอบการที่ติดต่อผ่านนักวิจัยในมหาวิทยาลัย หรือผู้ประกอบการที่อยาก Walk-in สามารถเข้ามาได้เลยและรอผลการคัดเลือก
ติดต่อได้ที่
กองการวิจัยและพัฒนา อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่างมหาวิทยาลัยนเศวร
(อาคารB) อาคารมหาธรรมราชา 99 หมู่ 9 ตำบล ท่าโพธิ์ จังหวัด พิษณุโลก 65000
เบอร์ 055-96-8721-8 E-mail : sciencepark@nu.ac.th
Website : http://scipark.nu.ac.th/
Facebook : https://www.facebook.com/pages/category/Government-Organization/NU-SciPark-547002178663488/
SME Showcase by SMEONE
บทสัมภาษณ์ถอดแบบความสำเร็จ คุณบอส ยุทธดนัย แก้วสีมรกต เจ้าของธุรกิจข้าวหมูแดงสีมรกต สาขาเซนต์หลุย 1 ใน 10 ร้านข้าวหมูแดงที่ต้องลอง! ด้วยรสชาติที่ป็นเอกลัษณ์จนใคร ๆ ก็ต้องมากิน กับเคล็ดลับเพิ่มยอดขาย ด้วยการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล
คุณบอส : เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอากง เสื่อผืนหมอนใบเข้ามาที่กรุงเทพฯ ครับ แล้วก็เหมือนกับว่าไปเรียน ยอมไปเป็นลูกจ้างเขาก่อน แล้วมาเปิดเองโดยที่เป็นแบบหาบเร่มาก่อน แล้วเขาก็ปรับปรุงสูตรที่เคยเรียนมาให้ถูกปากลูกค้า ก็เริ่มมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ครับ หลังจากที่อากงเสียไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว พ่อผมก็เข้ามาดูแล ผมอยู่กับข้าวหมูแดงสีมรกตมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เกิด
คุณบอส : หลังจากที่ผมเรียนจบปริญญาโท ก็เหมือนกับว่าร้อนวิชา อยากจะลองดูสักตั้งว่าเราจะขยายไปได้ไหม เหมือนบ้านเรามีต้นทุนที่ดีอยู่แล้ว แทนที่เราจะสานต่อธุรกิจที่บ้าน ทำไมเราต้องไปทำที่อื่น จบป.โทมาใหม่ ๆ เขาบอกว่าออกไปทำงานหาประสบการณ์ข้างนอกมาก่อน แต่ผมเห็นว่า Product มันยังไงก็ขายได้ แค่ปรับตรงนี้นิดตรงนี้หน่อย ก็น่าจะดีขึ้น
คุณบอส : ส่วนใหญ่คนจะติดใจรสชาติครับ รสชาติของที่นี่จะต่างจากที่อื่น จะแตกต่างตั้งแต่หมูเลยครับ หมูทุกอย่างเราจะย่างด้วยเตาถ่าน น้ำราดก็จะเป็นสูตรพิเศษที่รับสูตรมาจากอากง
คุณบอส : ผมเน้นจุดที่อยู่ใจกลางเมืองเป็นหลัก อยู่ใกล้กับแหล่งออฟฟิส เพราะว่าตรงนี้ใกล้กับสาทร ลูกค้าเวลากดสั่งมาค่าส่งมันจะถูก ถ้าแบบอยู่ที่เขตออฟฟิสแต่ว่าไปสั่งที่ตรอกหัวหมู ค่าส่งมันก็จะแพงขึ้นมาอีก
คุณบอส : มีอุปสรรคนิดหน่อยครับ แต่ว่าก็ไม่เยอะ เช่นการเปิดใจของเรา อย่างตอนที่เดลิเวอรี่เข้ามาติดต่อให้ผมทำกับเขาใหม่ ๆ เขาก็จะมีการกินเปอร์เซ็นต์ ซึ่งผมก็รับไม่ค่อยได้ครับ เพราะว่าจริง ๆ ผมขายข้าวหมูแดงกำไรผมไม่ได้เยอะอยู่แล้ว กำไรก็จะเหลืออีกแค่นิดเดียว งั้นผมขอเพิ่มราคาขึ้นมาอีกนิดหนึ่งได้ไหม แต่ว่าไม่ได้เพิ่มน่าเกลียดจนลูกค้าสั่งไม่ได้ ซึ่งลูกค้าที่สั่งเดลิเวอรี่เขาก็ยอมรับได้อยู่แล้ว ขายแต่หน้าร้านอย่างเดียว ยอดขายมันก็ไม่โตครับ เราก็ต้องยอมเสียอะไรบ้างอย่างไว้บ้าง เพื่อที่จะได้บางอย่างขึ้นมา
คุณบอส : คุณพ่อไม่เห็นด้วยเลยครับ คุณพ่อบอกว่าขายราคาเท่านี้เดี๋ยวลูกค้าเขาก็ว่าเอา เขาไม่เข้าใจครับ แต่จริง ๆ แล้วในทางลูกค้าเขาเข้าใจครับ เขาเอาตังค์ของเขาไปซื้อความสะดวกสบายของเขา เพื่อที่จะได้กินอาหารในออฟฟิส ไม่ต้องออกมา
คุณบอส : คนค่อนข้างเปลี่ยนครับ อย่างช่วงโควิด-19 ร้านอื่น ๆ ยอดตกใช่ไหมครับ แต่ว่าที่ร้านนี้รับเดลิเวอรี่เป็นหลัก กลายเป็นว่ายอดขึ้นสูงกว่าเดิม แล้วพอโควิดเริ่มซาลงไป ก็มีลูกค้าเข้ามากินในร้านบ้าง แล้วก็มีเดลิเวอรี่เหมือนเดิม ก็ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นไปอีก
คุณบอส : ณ ตอนนี้ที่มาได้ถึงขนาดนี้ เกิดจาก Social Network มีการถ่ายรูปอาหารไป ก็มีคนกดไลค์ มีคนกดแชร์ บางรายการมาถ่ายก็มีการแชร์ แชร์ไปกระจายไปเรื่อย ๆ ทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จากคนต่างจังหวัดที่ไม่ค่อยรู้จักเรา กลายเป็นว่าเขาไปเห็นจากการแชร์ใน Facebook เออน่ามากิน ถ้าวันไหนแวะมากรุงเทพฯ เขาก็อาจจะต้องแวะมากิน
คุณบอส : เราต้องเข้าใจลูกค้าก่อนครับ ว่าเขาชอบรสชาติแบบไหน เขาต้องการให้เราตั้งราคาเท่าไหร่ที่เขาพอจะรับได้ แล้วเราควรจะไปอยู่ตรงไหนที่กลุ่มลูกค้าของเราเข้าถึง ผมว่าควรจะเปิดเรื่องการขายผ่านเดลิเวอรี่ได้แล้วครับ เพราะว่าตอนนี้ยุคสมัยก็เปลี่ยนไปแล้ว สมัยก่อนจริง ๆ เวลาหาทำเลก็ต้องดูทำเลที่คนผ่านเยอะ ๆ คนผ่านหน้าร้านแล้วเห็น แต่ตอนนี้ทำเลของเรามันเปลี่ยนไปแล้ว มันเปลี่ยนไปอยู่ในออนไลน์แล้ว ก็คือ Grab, FoodPanda, Lineman, Go jek ตรงนี้คือทำเลของผม
SME Showcase by SMEONE
บทสัมภาษณ์ถอดแบบความสำเร็จ คุณนพ หมูนุ่ม เจ้าของบริษัทหมูนุ่มนมสด จากกรรมกรสู่ธุรกิจหมูปิ้ง 200 ล้าน
เฮียนพ : เฮียเรียนจบแค่ม.3 อายุ 20 กว่า ก็ไปสมัครทำงานโรงงาน เผอิญมันมาประสบปัญหาวิกฤตโรงงานเขาเริ่มมีการสมัครใจลาออก เลิกจ้าง ออกมาจากงานตอนอายุสามสิบก็เร่ร่อน ได้ทุนมาก้อนหนึ่งทำขายเสื้อผ้า ขายไอศครีม ค้าขายอะไรต่าง ๆ แต่ค้าขายก็ไม่ดี จนกระทั่งเงินหมด ไปเป็นรปภ.มานอนอยู่ที่ป้อมยาม แล้วก็ไปอาศัยน้องสาวอยู่ที่โรงพักปากเกร็ด
ที่โรงพักปากเกร็ดเด็กวัยรุ่นเขาตั้งวินมอเตอร์ไซค์กันขึ้นมา และให้เสื้อมาตัวหนึ่งก็เลยขับวิน การขับวินนี่แหละเป็นที่มาของการรู้จักหมูปิ้งนมสด กลุ่มแม่บ้านโรงพักปากเกร็ดเขาทำหมูปิ้งนมสดอยู่ แล้วเขามาจ้างเราวิ่งวิน
ส่วนจุดเริ่มต้นทำจริงจังคือน้องสาวไปขอสูตรคุณอั่วมาทำ แล้วพอดีสามีของน้องสาวที่เป็นตำรวจเสียชีวิตเขาไม่มีคนช่วย น้องเลยมาขอให้เราทำส่งให้น้อง เริ่มแรกเลยทำแล้วไม่ได้ขายเอง เฮียนพเป็นคนที่ทำหมูปิ้งแต่ไม่เคยขายหมูปิ้งเอง พอเสียบไม้เสร็จก็วิ่งไปให้น้องสาว น้องก็จะมีหน้าที่ขายอย่างเดียว
เฮียนพ : ตรงที่ทำอยู่นี่อยู่ที่โรงพักปากเกร็ดและตรงข้ามเป็นโรงเรียนหอวัง ก็มีป้าคนหนึ่งเขาขายไอศครีมปั่นอยู่ เราก็บอกเขาว่าป้าขายไอศครีมแบบนี้เด็กสมัยนี้ไม่กินหรอก ป้าเอาหมูปิ้งขายสิ ป้าแกก็เลยปิ้งหมูเราขาย
ผู้ปกครองเขามารับลูกทุกวันเขาก็กินหมูป้าทุกวัน เขาอยากได้หมูไปขาย เขาก็รอเฮียตั้ง 3-4 วันแล้วไม่เจอ เพราะว่าตอนโรงเรียนเลิกเราก็ขับวินส่งนักเรียน จนกระทั่งวันนั้นมีโอกาสได้เจอ เขาเลยสั่งหมูปิ้งเรา 1,000 ไม้ ซึ่งเป็นการสั่งที่เยอะมาก ๆ เราไปส่งตั้งแต่ตี 4 บ่ายเย็น ๆ เขาก็โทรมาสั่งอีก เราก็บอกทำไมหมดแล้วหรอเอาไป 1,000 ไม้ นึกว่าเขาเอาไปแจกโรงทาน ที่แท้เขาบอกว่าคุณมาตอนมืดคุณไม่เห็น คุณมาตอนเช้าที่นี่เป็นโรงเรียนนักเรียนเยอะมาก ปรากฏว่าเขาสั่งไปขาย 1,000 ไม้ไม่พอ เขาก็เลยสั่งเราทุกวัน เขาเห็นเราวิ่งวินเขาก็บอกว่าถ้างั้นเอามาทีละ 1,000 ทุกวัน เพราะว่าขายจันทร์ถึงศุกร์นะ
ด้วยความที่เราตกงานมาเป็นสิบปี ไม่เคยมีเงินติดตัวเลย พอได้เงินมา 4,000 บาท กำเงินแน่นเลย ก็เลยนึกโอกาสว่าถ้ามีแบบนี้ซัก 10 เจ้า รวยแน่! ณ วันนั้นพอส่งของเสร็จก็จอดตั้งแต่ตลาดเตาปูน เจอตลาดสดตรงไหนจอดตรงนั้น เดินเข้าไปหาคนที่ขายไส้กรอก หมูปิ้ง บอกเขาว่าพี่เอาหมูปิ้งผมขายไหม หมูผมขายได้ไม่ต้องมีน้ำจิ้มนะพี่ ไม่ต้องมีผักเหมือนไส้กรอกนะ เพราะตอนนั้นเรายังไม่ได้ทำไส้กรอก เราก็ไม่ได้ไปโจมตีไส้กรอกแต่เราบอกว่าการขายไส้กรอกต้นทุนมันจะเพิ่มคือผักต้องแถม แต่หมูไม่ต้อง ขายไส้กรอกขายข้าวเหนียวด้วยไม่ได้ แต่ขายหมูปิ้งขายข้าวเหนียวด้วยได้ ได้กำไรทั้งสองอย่างทั้งข้าวเหนียวทั้งหมูปิ้ง เดินไปบอกพ่อค้าแม่ค้า เจอตลาดตรงไหนก็เอาหมูติดไปเอาไปให้ตัวอย่าง ลูกค้าเริ่มเพิ่มขึ้น เพราะบางคนเขาก็เชื่อเรา
เฮียนพ : พอเราต้องการที่จะเพิ่มกำลังการผลิตมีคนสั่งเพิ่มขึ้น ก็ปรากฏว่ามีแรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในบ้านเช่าระแวกที่เราอยู่ เราก็ชักชวนเขา ลาว เขมร พม่า ว่าเลิกงานมาเสียบหมูมั้ย จ้างร้อยละสามสิบบาท บางคนก็มาเสียบ 100 ไม้เขาก็ได้ 35 บาท ไปซื้อกับข้าว แม่บ้านที่โรงพักปากเกร็ด คนทำความสะอาดเลิกงานมาก็มาเสียบหมูเรา
เฮียนพ : เฮียเป็นเจ้าแรกในเมืองไทยที่ไปขออนุญาตว่าจะสร้างโรงงานเนื้อหมูเสียบไม้ สร้างเรื่องของมาตรฐานก่อน เราไม่รู้เรื่องของมาตรฐาน เราก็ไปที่เทศบาลปากเกร็ด ไปที่สาธารณสุขจังหวัด ให้เขาเข้ามาตรวจโรงงานเราก่อน เราอยากให้สินค้าเราไปอยู่ในร้านสะดวกซื้อ คิดว่าสินค้าหมูปิ้งมันน่าจะไปวางในร้านสะดวกซื้อได้
เฮียนพ : สาธารณะสุขเขาก็จะเข้ามาตรวจว่า ถ้าคุณจะขออย.คุณต้องเป็นแบบนี้ ๆ พอเราเริ่มปรับปรุงโรงงานเราเข้าสู่ระบบและเราก็เริ่มขออย. ซึ่งเดิมเราขายดีอยู่แล้ว พอยิ่งได้มาตรฐานมีโรงงาน ความมั่นใจของลูกค้าก็มีเพิ่มขึ้น เลยทำให้เราได้ลูกค้าเพิ่มมาอีกตลาดหนึ่ง คือตลาดโมเดิร์นเทรด ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อเริ่มเอาสินค้าเราไปขาย มันเป็นการเติบโตโดยก้าวกระโดด
เฮียนพ : ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอะไรมันก็เหมือน ๆ กันแหละ มันมีการวิจัยว่าการที่คนจะควักสตางค์ซื้ออะไรสักอย่าง 50% เขาจะตัดสินใจจากแบรนด์ เฮียก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องบอกกับผู้ประกอบการหรือตัวเราเองว่า เราต้องทำแบรนด์เราให้เป็นที่จดจำ คือทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นร้านเล็กร้านน้อยไม่จำเป็นต้องเป็นแฟรนไชส์ จะขายข้าวแกงหน้าปากซอยก็ตาม คุณต้องมีเครื่องหมายการค้า
โฆษณามันต้องคู่ไปกับพัฒนา ทำธุรกิจโฆษณาต้องมี ทำธุรกิจคุณต้องไม่หยุดตะโกน การตะโกนไม่ใช่ตะโกนเพ้อเจ้อไปเรื่อย แต่ในทำนองเดียวกันคุณก็ต้องพัฒนาไปด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราดูแลลูกค้าโดยการโฆษณาประชาสัมพันธ์และพัฒนาสินค้าด้วย คนที่ซื้อแฟรนไชส์เราไปเขาก็ไม่เปลี่ยนไปจากเราหรอก
เฮียนพ : การเข้าหาหน่วยงานภาครัฐ เราจะได้คำแนะนำที่มันถูกต้อง เพราะเราเป็นคนที่ไม่มีความรู้อยู่แล้ว ไม่ว่าเป็นเรื่องของ สสว. หรือ สวทช. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตั้งแต่วิธีการทำบัญชีทำอะไรต่าง ๆ ถามว่าเข้าหาหน่วยงานภาครัฐไหม? เฮียเข้าทุกหน่วยงานเลย
เฮียนพ : การทำธุรกิจ การที่คุณจะเอากำไรมาขยายธุรกิจ มันทำได้ไหม ทำได้แต่ยาก ธุรกิจของท่านกำลังทำอยู่แล้วมันจะต้องขยายจะต้องเติบโต ก็ต้องบอกท่านไปเลยว่า ณ ตอนนี้ให้ท่านเตรียมพร้อมที่จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จ สิ่งเดียวที่เฮียอยากจะบอก คือท่านต้องทำตัวให้ขาวสะอาด การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเขาตรวจตัวท่านอันดับแรก ถ้าตัวท่านเป็นหนี้ ติดบัตรเครดิต เก็บบูโร ติดอะไรต่าง ๆ เขาไม่คุยอย่างอื่น เพราะฉะนั้นก็ฝากไปถึงผู้ประกอบการว่า เป็นผู้ที่จะประสบความสำเร็จ แต่ท่านก็ต้องเตรียมอย่าให้เสียเครดิต
การที่มันเติบโตมาได้ หนึ่งมันเกิดจากเรามีวินัย SME ไทยที่ไปไม่รอดส่วนใหญ่ขาดวินัย ก็หมายความว่าไม่มีการจัดการที่ดี ก็คือไม่มีระบบบัญชีที่ดี ไม่มีระบบการควบคุมคุณภาพที่ดี ไม่มีระบบการตรวจสอบที่ดี
ข้อที่สองคือต้องมีความซื่อสัตย์ เพราะพอเราซื่อสัตย์จะทำให้ลูกค้าอยู่กับเรา พอลูกค้าอยู่กับเรา เราก็จะมีการผลิตแล้วขายได้เรื่อย ๆ
ประการที่สาม เราต้องมีวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากเฮีย 50 กว่าแล้ว จะมาค้าขายแบบคนแก่สมัยก่อนมันก็ไม่ได้แล้ว เพราะโลกมันเปลี่ยนไป ทุกวันนี้เฮียนพเองถ้าจะบอกแก่กะโหลกกะลาก็ต้องเรียนรู้ เพจ เฟซบุ๊ก ออนไลน์ อินเตอร์เน็ต ทุกอย่างต้องเรียนรู้หมด
วินัย ซื่อสัตย์ วิสัยทัศน์ มันอาจจะไม่ได้รุ่งโรจน์หรือใหญ่โตไปกว่านี้ แต่มันก็อาจจะไม่ย่ำแย่ไปกว่านี้ ถ้าเราไม่มีวิสัยทัศน์กับโลกปัจจุบัน มันไปต่อไม่ได้ ที่สำคัญคุณต้องแสวงหาความรู้กับหน่วยงานภาครัฐ เพราะการแสวงหาความรู้จะทำให้ธุรกิจเกิดไอเดียใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ ที่สำคัญมันเป็นไอเดียและความคิดที่ถูกต้อง หลายเรื่องที่เฮียนพไม่ได้เรียนรู้และจินตนาการขึ้นมาเอง แต่พอไปทำจริงมันทำไม่ได้ เพราะมันผิดหลักการมันไม่ได้มาตรฐาน มันไม่ถูกต้อง
SME ไทยเรามีมากมาย มีจำนวนเยอะ เกิดขึ้นมาปีหนึ่งเป็นหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นเจ้า แต่อย่าลืมว่า SME ที่ไปต่อได้มีเพียงแค่ 5% ท่านอยากจะเป็นหนึ่งใน 5% นั้น หรือท่านจะเป็นหนึ่งใน 95% ท่านก็ต้องเลือก แต่เฮียเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันสามารถปรับเปลี่ยนได้ แก้ไขได้ เพียงแต่เราต้องขยันเรียนรู้นะครับ