Food Innopolis สวทช. เป็นเหมือน One-stop service มีบริการที่ตอบสนองความต้องการครบจบในที่เดียว เพราะที่นี่จะเป็นตัวกลางในการจัดหาข้อมูล ที่ปรึกษา นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ รวมถึงสถานที่ในการใช้เครื่องมือ ให้ผู้ประกอบการในแต่ละประเภทโดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ไม่ได้ทำแค่จัดหาแต่หน่วยนี้จะเป็นคนคอยประสานงานระหว่างผู้ประกอบการกับนักวิจัยในเรื่องธุรกิจควบคู่ไปกับเรื่องวิทยาศาตร์ตลอดการทำวิจัยตั้งแต่กระบวนการแรก ที่ผู้ประกอบการนำไอเดียมา เมื่อพูดคุยกับนักวิจัยว่าธุรกิจสามารถไปต่อได้ก็จะดำเนินขั้นตอนการวิจัย จนถึงขบวนการผลิตสินค้าต้นแบบที่สามารถนำไปออกใบอนุญาตได้  เช่น ใบ อย. 

บริการของ Food Innopolis สวทช. ที่มีให้ผู้ประกอบการSMEs

- จัดหาผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย อาจารย์ ให้ผู้ประกอบการในการพัฒนาสินค้าต้นแบบ ให้บริการเชื่อมประสานให้เกิดความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้และการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมอาหาร รวมทั้งด้านการพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยี

- จัดหาศูนย์ทดลอง มีศูนย์รวมบริการวิจัยและพัฒนาด้านอาหารโภชนาการและความปลอดภัยของอาหาร เช่น การวิเคราะห์และจัดทำฉลากโภชนาการของอาหาร การวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารเพื่อขึ้นทะเบียน เป็นต้น

- จัดหาวัตถุดิบในการผลิต รวมถึงสถานที่ในการใช้เครื่องมือที่ช่วยในการผลิตพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์

- วิเคราะห์การตลาด รวมทั้งช่วยจัดหาทุน 

- ให้บริการคำปรึกษา แนะนำ ช่วยติดต่อ และรับยื่นคำขอจดทะเบียนอาหาร โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีบริการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอุตสาหกรรมอาหารและเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ที่ทันสมัยในระดับโลก ทั้งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูป การวิจัยและพัฒนา การวิเคราะห์ทดสอบ กฎหมายอาหาร ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดไปจนถึงทักษะด้านธุรกิจ เช่น การเป็นผู้ประกอบการ และการพัฒนาธุรกิจและการตลาด เป็นต้น ให้สามารถรองรับการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ รวมทั้งมีความพร้อมในการเชื่อมต่อกับห่วงโซ่คุณค่าอาหารโลกได้ อย่างในช่วงCovid-19 มีการจัดอบรมเทรนอาหาร Function Food ที่กำลังมาแรง  


สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าใช้บริการ ขอให้เตรียมความพร้อมเข้ามาคุย ถ้าทางศูนย์เห็นว่าสามารถไปขั้นตอนต่อไปได้เลยก็จะเริ่มกระบวนการแรก แต่ถ้าทางศูนย์เห็นว่ายังคงเป็นไปได้ยากก็จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา

สามารถเข้ามาติดต่อได้ที่ 144 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC2) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 วันและเวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์   8:30 - 17:30 น.

โทร 0-94341-7111 , 0-94249-7333 , 0-94340-4333 , E-mail : bd@foodinnopolis.or.th


Published on 13  November 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย


บทความแนะนำ

ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก

ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก หรือหลังจากได้ปรับโครงสร้างเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  มีหน้าที่หลักคือให้คำปรึกษาช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการ แนะนำในกระบวนการผลิตเซรามิก  ให้บริการทั้งด้านวิชาการ และเทคโนโลยีการผลิต ให้คำปรึกษาในเรื่องการผลิตเซรามิก ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นอย่างเช่น เรื่องดิน การขึ้นรูป การเผา บรรจุภัณฑ์ การลดต้นทุนในการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แนะนำในกระบวนการผลิตเซรามิก ให้บริการทั้งด้านวิชาการและเทคโนโลยีการผลิตแก่กลุ่มผู้ประกอบการทั้งวิสาหกิจชุมชน OTOP และ SMEs เพื่อส่งเสริมสนับสนุนยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมเซรามิก  เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ เศรษฐกิจไทย สำหรับผู้ประกอบการSMEs สามารถเข้ามารับบริการทางด้านข้อมูล เช่น สนใจในการทำโรงงานเซรามิก ต้องเริ่มต้นอย่างไร ต้องรู้อะไรบ้าง มีการเข้ามาขอฝึกอบรมเฉพาะราย อบรมเรื่องวัตถุดิบ การวิเคราะห์ทดสอบ การเตรียมดินเตรียมเคลือบ การขึ้นรูป การเผา ไม่เสียค่าบริการ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการด้านเซรามิก

 

มีบริการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการวิจัยวัสดุอุตสาหกรรมแบบครบวงจร

1. บริการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบ วิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ทดสอบเซรามิก  โดยในส่วนนี้จะมีค่าบริการ

2. บริการออกแบบพัฒนาและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่อง 3D จากวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และนำผลการศึกษา วิจัย หรือทดสอบ มาเป็นข้อมูล ถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม 

3. ให้บริการเครื่องมือในการผลิต มีบริการเครื่องจักรกลาง สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นและยังไม่มีงบประมาณ ก็สามารถเข้ามาใช้บริการเครื่องมือเครื่องจักรที่นี่ได้ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้กลุ่มผู้ประกอบการด้านเซรามิกเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่อไป

4. บริการขั้นตอนการผลิต ทั้งการเตรียมดิน เตรียมเคลือบ การขึ้นรูป การเผา ไม่เสียค่าบริการ

5. บริการทางด้านข้อมูลห้องสมุดเซรามิก ทางศูนย์มีส่วนที่พัฒนาในแหล่งข้อมูล มีความรู้ความชำนาญในทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่สามารถเข้ามาหาความรู้ทางด้านโรงงานเซรามิก โดยทางศูนย์จะมีฐานข้อมูลโรงงานจากทั่วประเทศ รวมทั้งฐานข้อมูลสูตรดิน สูตรเคลือบ ถูกบรรจุไว้ในห้องสมุดเซรามิก

6. บริการฝึกอบรมเฉพาะราย ไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

ถ้าผู้ประกอบการด้านเซรามิกสนใจหรือมีไอเดียสามารถเข้ามาติดต่อได้เลยที่ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก

หมู่ที่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 52130

หรือติดต่อผ่าน เบอร์โทรศัพท์ 0 5428 18840 5428 1885 , 0 5428 2376 , 0 5428 2375  

อีเมล์ ceramic@dip.go.th 

เว็บไซต์ http://ceramiccenter.dip.go.th

 

 

 

บทความแนะนำ

SCI-PARK มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือที่เรียกกันว่าเทคโนธานี เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีภารกิจในการให้บริการวิชาการ การส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการนำผลงานวิจัยลงพื้นที่ถ่ายทอด ให้คำปรึกษาเชิงลึก ปรับแปลงถ่ายทอดเทคโนโลยี นำเอาผลงานวิจัยไปช่วยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมรวมไปถึงต่อยอดเชิงพาณิช การยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแก่บุคคลภายนอก ผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคม สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

มีพื้นที่ให้บริการภาคอีสาน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรและปศุสัตว์ โดยมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาสายพันธุ์ไก่โคราช ไทยวากิว รวมทั้งเรื่องข้าว เป็นต้น

 

ด้วยความที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จึงมีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยี และวิศวกรรม มีคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญในวิศวโยธาโดยเฉพาะให้คำปรึกษาด้านกระบวนการผลิต การลดต้นทุน มีศูนย์เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกงานทุกอย่างไว้รวมกัน เพราะฉะนั้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยจึงสามารถใช้ร่วมกันได้หมด บริการสำหรับSME ทุกประเภทโดยเฉพาะด้านอาหาร ด้านเกษตร แต่ด้วยเป็นพื้นที่ในภาคอีสาน ผู้ที่เข้ามารับบริการส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านอาหาร ยกตัวอย่าง “แยมอิ่มใจ” ที่ทางเทคโนธานีได้ช่วยพัฒนาสูตร โดยเป็นแยมที่ไร้น้ำตาล ใช้ความหวานจากธรรมชาติล้วน  ธุรกิจ“คากิ หนังไก่ทอดกกรอบ” โดยช่วยพัฒนาในเรื่องความกรอบและลดความหืน

 

สำหรับบริการที่ผู้ประกอบการSME สามารถเข้ามาใช้บริการเพื่อบ่มเพาะธุรกิจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่

1. บริการทางห้องปฏิบัติการ เป็นศูนย์กลางการบริการวิเคราะห์ทดสอบและวิจัยที่ผ่านการรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากหน่วยรับรองกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยให้บริการการใช้เครื่องมือวิเคราะห์วิจัยระดับสูง ครอบคลุมทุกความต้องการ การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบในเชิงเทคนิคและการพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการนำงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ หรือนำ ไปดำเนินการวิจัยต่อยอด และการจัดให้มีสถานที่สำหรับการอบรมและสาธิตเทคโนโลยี มุ่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์

2. บริการด้านสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือมีเครื่องตรวจสอบคุณภาพน้ำ เครื่องวิเคราะห์โลหะหนักในอาหาร เครื่องทดสอบคุณภาพนมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องกำจัดมอดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการได้ เช่น การก่อสร้าง เรื่องของดิน เรื่องของวัดุ การทดสอบน้ำ การทดสอบอาหาร

3. บริการทรัพย์สินทางปัญญา ทำหน้าที่ให้บริการให้คำปรึกษา ยื่นจดแจ้งทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแก่บุคคลภายนอก และผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

4. ทำหน้าที่เป็น Business Buddy ให้กับผู้ประกอบการทุกประเภทที่สนใจ ผู้ประกอบการ SMEs รวมถึง Start Up โดยมีคอร์สอบรม ให้ความรู้ มีกระบวนการ Pre Screening คือการสอบถามความต้องการเบื้องต้นของผู้ประกอบการที่เข้ามาขอรับความช่วยเหลือ ทั้งแบบมีเพียงไอเดีย หรือมีความต้องการที่ชัดเจน ให้การอบรมในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ความรู้ในการทำแผนธุรกิจ Business Model Canvas รวมไปถึงการให้คำปรึกษาเชิงลึกการตลาดในด้านการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กรในเรื่องของขบวนการผลิต การนำสินค้าออกไปในตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น ผู้ประกอบการมีแต่วัตถุดิบแต่ยังไม่มีไอเดียว่าจะพัฒนาอย่างไรเราจะเป็นคนช่วยให้คำแนะนำและต่อยอด

5. การอบรมในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ โลโก

6. มี Co-Working Space พื้นที่ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการ มีห้องประชุมห้องสัมมนาให้เช่าบริการและในอนาคตกำลังสร้างอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นแห่งที่ 4 ของประเทศ

 

ทางศูนย์มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายทั้งด้านอาหาร การเกษตร หรือเทคโนโลยี ทำให้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทางมหาวิทยาลัยได้พัฒนาเครื่องแรงดันบวก-ลบ เพื่อช่วยในการรักษาในช่วงที่เกิดการระบาด และยังมีเครื่องปรับสภาพอากาศในการกรองฝุ่น PM2.5 อีกด้วย

 

มหาวิทยาลัยสุรนารี มีสโลแกนว่า “ถ้ามีปัญหา ลองมาหาเรา” โดยทางมหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่เป็น Business Buddy ให้กับผู้ประกอบการทุกประเภทที่สนใจสามารถ walk-in เข้ามาได้เลย ผู้ประกอบการสามารถเข้ามารับบริการได้ที่

เทคโนธานีบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้ามาปรึกษาฟรี ช่องทางการสื่อสาร โทรศัพท์ 0-4422-4811 to 22

โทรสาร 0-4422-4814  อีเมล์ :   technopolis@sut.ac.th  

เว็บไซต์ :  http://technopolis.sut.ac.th/  

Facebook :  facebook.com/TNSUT

 

 

บทความแนะนำ

SCI-Park ม.นเรศวร เป็นศูนย์บ่มเพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี One stop service ที่มีบริการที่หลากหลาย เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการอาหารด้านนวัตกรรมมีบริการหลัก ๆ คือ บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน  การบ่มเพาะธุรกิจ  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ทดสอบการนำอาจารย์ไปเป็นที่ปรึกษาผู้ประกอบการ  โดยเฉพาะ ด้านเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง ด้านการแพทย์ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ แปรรูปอาหาร เครื่องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มากมาย รวมถึงพื้นที่ให้เช่า

 

สำหรับบริการที่ผู้ประกอบการ SME สามารถเข้ามาใช้บริการเพื่อบ่มเพาะธุรกิจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่

  1. โรงงานต้นแบบเพื่อทดลองผลิต ผลิตภัณฑ์ด้านเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง ด้านการแพทย์
  2. บริการห้องปฏิบัติการที่มีครุภัณฑ์/เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร
    ด้านอุตสาหกรรมอาหารด้านเภสัชกรรม ด้านเครื่องสำอาง และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. บริการห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ OTOP ด้านการเกษตร ได้แก่ ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และห้องปฏิบัติการผลิตภัณฑ์อาหารเสริม รวมทั้งเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เช่น เครื่องHPP (High Pressure Processing) ใช้ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ เอนไซม์ , RF (Radio Frequency) เครื่องฆ่ามอด , เครื่องฟรีซดาย์ , เครื่องสเปร์ดาย , เครื่องแปรรูปอาหารมากมาย , เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง , เครื่องวัดความหนืด , เครื่องอ่านปฏิกิริยาบนไมโครเพลท , เครื่องบรรจุแคปซูล , เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย , เครื่องขึ้นรูป 3 มิติ , เครื่องตัดด้วยเลเซอร์ เป็นต้น สามารถเข้ามาผลิตเพื่อทดลองตลาดได้
  4. บริการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจดเครื่องหมายการค้า
  5. บริการพื้นที่ Co-Working Space และพื้นที่ให้เช่า สำหรับผู้ประกอบการที่เริ่มต้นธุรกิจ หรือมีเงินลงทุนไม่สูงมากนัก

 

ทางศูนย์มีบริการอื่นๆ อีกมากมายให้ผู้ประกอบการ ดังนี้

  • ความร่วมมืออุตสาหกรรม บริการให้คำปรึกษาธุรกิจเทคโนโลยี การประชาสัมพันธ์ การพบปะองค์กรเอกชน การจับคู่ธุรกิจ กิจกรรมส่งต่อความต้องการ กิจกรรมเพื่อสังคม การถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น
  • ศูนย์ออกแบบและนวัตกรรม เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ การออกแบบตราสัญลักษณ์ จดเครื่องหมายการค้า 
  • ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ให้คำปรึกษาและดำเนินการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
  • บริการออกผลวิจัย , การวิจัยวัดผล
  • บริการเรื่องการตลาดภายในต่างประเทศ
  • บริการบ่มเพาะธุรกิจ ฟรี (สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือก) ผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการแล้วประสบความสำเร็จมากมายทั้งรายใหญ่และรายเล็ก เช่น ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจิ้งหรีด
  • รับทดลองผลิตภัณฑ์  เช่น นำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมาวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง

 

ผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจสามารถเข้ามาติดต่อได้ ทั้งผู้ประกอบการที่เคยผ่านโครงการ  ผู้ประกอบการที่ติดต่อผ่านนักวิจัยในมหาวิทยาลัย หรือผู้ประกอบการที่อยาก Walk-in สามารถเข้ามาได้เลยและรอผลการคัดเลือก

 

ติดต่อได้ที่

กองการวิจัยและพัฒนา อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่างมหาวิทยาลัยนเศวร

(อาคารB) อาคารมหาธรรมราชา 99 หมู่ 9 ตำบล ท่าโพธิ์ จังหวัด พิษณุโลก 65000

เบอร์ 055-96-8721-8  E-mail : sciencepark@nu.ac.th 

Website : http://scipark.nu.ac.th/

Facebook : https://www.facebook.com/pages/category/Government-Organization/NU-SciPark-547002178663488/

 

บทความแนะนำ

คุณบอส ยุทธดนัย ข้าวหมูแดงสีมรกต กับเคล็ดลับเพิ่มยอดขายด้วยการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล

 

SME Showcase by SMEONE

บทสัมภาษณ์ถอดแบบความสำเร็จ คุณบอส ยุทธดนัย แก้วสีมรกต เจ้าของธุรกิจข้าวหมูแดงสีมรกต สาขาเซนต์หลุย 1 ใน 10 ร้านข้าวหมูแดงที่ต้องลอง! ด้วยรสชาติที่ป็นเอกลัษณ์จนใคร ๆ ก็ต้องมากิน กับเคล็ดลับเพิ่มยอดขาย ด้วยการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล

 

 

จุดเริ่มต้นของข้าวหมูแดงสีมรกตคืออะไร

คุณบอส : เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอากง เสื่อผืนหมอนใบเข้ามาที่กรุงเทพฯ ครับ แล้วก็เหมือนกับว่าไปเรียน ยอมไปเป็นลูกจ้างเขาก่อน แล้วมาเปิดเองโดยที่เป็นแบบหาบเร่มาก่อน แล้วเขาก็ปรับปรุงสูตรที่เคยเรียนมาให้ถูกปากลูกค้า ก็เริ่มมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ครับ หลังจากที่อากงเสียไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว พ่อผมก็เข้ามาดูแล ผมอยู่กับข้าวหมูแดงสีมรกตมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เกิด

 

ต่อยอดธุรกิจครอบครัว

คุณบอส : หลังจากที่ผมเรียนจบปริญญาโท ก็เหมือนกับว่าร้อนวิชา อยากจะลองดูสักตั้งว่าเราจะขยายไปได้ไหม เหมือนบ้านเรามีต้นทุนที่ดีอยู่แล้ว แทนที่เราจะสานต่อธุรกิจที่บ้าน ทำไมเราต้องไปทำที่อื่น จบป.โทมาใหม่ ๆ เขาบอกว่าออกไปทำงานหาประสบการณ์ข้างนอกมาก่อน แต่ผมเห็นว่า Product มันยังไงก็ขายได้ แค่ปรับตรงนี้นิดตรงนี้หน่อย ก็น่าจะดีขึ้น

 

อะไรที่ทำให้ลูกค้าติดใจในข้าวหมูแดงสีมรกต

คุณบอส : ส่วนใหญ่คนจะติดใจรสชาติครับ รสชาติของที่นี่จะต่างจากที่อื่น จะแตกต่างตั้งแต่หมูเลยครับ หมูทุกอย่างเราจะย่างด้วยเตาถ่าน น้ำราดก็จะเป็นสูตรพิเศษที่รับสูตรมาจากอากง

 

ทำเลที่ตั้งของร้านสำคัญกับการสั่งออนไลน์อย่างไร

คุณบอส : ผมเน้นจุดที่อยู่ใจกลางเมืองเป็นหลัก อยู่ใกล้กับแหล่งออฟฟิส เพราะว่าตรงนี้ใกล้กับสาทร ลูกค้าเวลากดสั่งมาค่าส่งมันจะถูก ถ้าแบบอยู่ที่เขตออฟฟิสแต่ว่าไปสั่งที่ตรอกหัวหมู ค่าส่งมันก็จะแพงขึ้นมาอีก

 

อยากให้บอกถึงปัญหาหรืออุปสรรคในการทำธุรกิจ

คุณบอส : มีอุปสรรคนิดหน่อยครับ แต่ว่าก็ไม่เยอะ เช่นการเปิดใจของเรา อย่างตอนที่เดลิเวอรี่เข้ามาติดต่อให้ผมทำกับเขาใหม่ ๆ เขาก็จะมีการกินเปอร์เซ็นต์ ซึ่งผมก็รับไม่ค่อยได้ครับ เพราะว่าจริง ๆ ผมขายข้าวหมูแดงกำไรผมไม่ได้เยอะอยู่แล้ว กำไรก็จะเหลืออีกแค่นิดเดียว งั้นผมขอเพิ่มราคาขึ้นมาอีกนิดหนึ่งได้ไหม แต่ว่าไม่ได้เพิ่มน่าเกลียดจนลูกค้าสั่งไม่ได้ ซึ่งลูกค้าที่สั่งเดลิเวอรี่เขาก็ยอมรับได้อยู่แล้ว ขายแต่หน้าร้านอย่างเดียว ยอดขายมันก็ไม่โตครับ เราก็ต้องยอมเสียอะไรบ้างอย่างไว้บ้าง เพื่อที่จะได้บางอย่างขึ้นมา

 

ความแตกต่างของ Generation มีผลต่อการต่อยอดทำเดลิเวอรี่อย่างไรบ้าง

คุณบอส : คุณพ่อไม่เห็นด้วยเลยครับ คุณพ่อบอกว่าขายราคาเท่านี้เดี๋ยวลูกค้าเขาก็ว่าเอา เขาไม่เข้าใจครับ แต่จริง ๆ แล้วในทางลูกค้าเขาเข้าใจครับ เขาเอาตังค์ของเขาไปซื้อความสะดวกสบายของเขา เพื่อที่จะได้กินอาหารในออฟฟิส ไม่ต้องออกมา

 

การทำเดลิเวอรี่มีผลต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง

คุณบอส : คนค่อนข้างเปลี่ยนครับ อย่างช่วงโควิด-19 ร้านอื่น ๆ ยอดตกใช่ไหมครับ แต่ว่าที่ร้านนี้รับเดลิเวอรี่เป็นหลัก กลายเป็นว่ายอดขึ้นสูงกว่าเดิม แล้วพอโควิดเริ่มซาลงไป ก็มีลูกค้าเข้ามากินในร้านบ้าง แล้วก็มีเดลิเวอรี่เหมือนเดิม ก็ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นไปอีก

 

มีการใช้ Social Network ช่วยเพิ่มยอดขายบ้างไหม

คุณบอส : ณ ตอนนี้ที่มาได้ถึงขนาดนี้ เกิดจาก Social Network มีการถ่ายรูปอาหารไป ก็มีคนกดไลค์ มีคนกดแชร์ บางรายการมาถ่ายก็มีการแชร์ แชร์ไปกระจายไปเรื่อย ๆ ทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จากคนต่างจังหวัดที่ไม่ค่อยรู้จักเรา กลายเป็นว่าเขาไปเห็นจากการแชร์ใน Facebook เออน่ามากิน ถ้าวันไหนแวะมากรุงเทพฯ เขาก็อาจจะต้องแวะมากิน

 

คำแนะนำที่ฝากให้กับผู้ประกอบการ SME ท่านอื่น ๆ

คุณบอส : เราต้องเข้าใจลูกค้าก่อนครับ ว่าเขาชอบรสชาติแบบไหน เขาต้องการให้เราตั้งราคาเท่าไหร่ที่เขาพอจะรับได้ แล้วเราควรจะไปอยู่ตรงไหนที่กลุ่มลูกค้าของเราเข้าถึง ผมว่าควรจะเปิดเรื่องการขายผ่านเดลิเวอรี่ได้แล้วครับ เพราะว่าตอนนี้ยุคสมัยก็เปลี่ยนไปแล้ว สมัยก่อนจริง ๆ เวลาหาทำเลก็ต้องดูทำเลที่คนผ่านเยอะ ๆ คนผ่านหน้าร้านแล้วเห็น แต่ตอนนี้ทำเลของเรามันเปลี่ยนไปแล้ว มันเปลี่ยนไปอยู่ในออนไลน์แล้ว ก็คือ Grab, FoodPanda, Lineman, Go jek ตรงนี้คือทำเลของผม

 

 

บทความแนะนำ