ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (National Metal and Materials Technology Center - MTEC)

ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะส่งมอบไปถึงมือให้ลูกค้านั้น จะต้องผ่านขั้นตอนการสร้างขีดความสามารถ ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้ต้นทุนที่แข่งขันได้ ของเสียมีจำนวนน้อย ลดระยะเวลาการส่งมอบ และมีคุณภาพสินค้าเป็นไปตามมาตรฐานต่าง ๆ 

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC มีบทบาทในการร่วมงานกับผู้ประกอบการ ในการพัฒนาขีดความสามรถให้ผู้ประกอบการสามารถทำผลิตภัณฑ์ ให้ส่งมอบได้ภายใต้เงื่อนไข

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC เป็นหน่วยเทคโนโลยีเฉพาะทาง หน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งภายใต้ สวทช. หรือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีบทบาทหน้าที่ในการทำวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคการผลิตและ ภาคบริการ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม SME ต่าง ๆ โดยทางศูนย์ฯ นั้นมุ่งเน้นในด้านการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของวัสดุที่ใช้ในการทำเป็นผลิตภัณฑ์ ตอดจนกระบวนการใช้วัสดุเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ โดยอาศัยความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีการผลิตและการออกแบบวิศวกรรมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามมาตรฐาน และมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมเป็นไปได้จริง

นอกจากการพัฒนาด้านวัสดุให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการแล้ว ในอีกด้านหนึ่งนักวิจัยของทางศูนย์ฯ เองยังได้มีการตั้งโจทย์ วิเคราะห์ และพิจารณาไปในอนาคตข้างหน้าว่า จะมีเทคโนโลยีใดเข้ามา และเมื่อเทคโนโลยีนั้นมาถึงแล้ว จะมีการใช้ประโยชน์รองรับมันอย่างไร

อีกหนึ่งบทบาทหน้าที่ของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC นั้น คือการสนับสนุนการอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคคลากรของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นหัวข้อเฉพาะตามความต้องการของผู้ประกอบการที่ทางศูนย์ฯ ได้มีโอกาสสำรวจและเก็บรวบรวมจากการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการผ่านวงสัมมนาหรือการประชุมในเชิงอุตสาหกรรมต่างๆ  และทางศูนย์ฯ เองมีเครื่องมือที่มากมายที่พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยในการพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจให้สามารถก้าวไปข้างหน้าได้

 

บริการจากทางศูนย์

บริการด้านเทคนิค เป็นการบริการทดสอบวิเคราะห์ทางด้านวัสดุในเชิงเทคนิค เพื่อหาคุณสมบัติของวัสดุ เช่น มีความแข็งแรง มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่อ้างอิงไหม ด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง 

ประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่ทางศูนย์ร่วมหาคำตอบให้กับผู้ประกอบการ สามารถเป็นทั้งในนรูปแบบของการให้คำปรึกษา, การรับจ้าง หรือร่วมวิจัย และหาแหล่งทุนสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ

บริการอบรมสัมมนา จัดฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับผู้ประกอบการ ผ่านการทำเวิร์กชอป และสัมมนาต่างๆ ทำให้ทางศูนย์ได้พบปะกับผู้ประกอบการโดยตรง สามารถช่วยแนะนำ ให้คำปรึกษาในเรื่องของการเลือกใช้เทคโนโลยี, เครื่องจักรอุปกรณ์ หรือให้คำแนะนำด้านโปรแกรมต่าง ๆ

บริการด้านวิชาการ ศูนย์ให้ข้อมูลในเชิงเทคโนโลยี เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ ได้เข้ามาสืบค้นว่าในปัจจุบัน มีเทคโนโลยี, วัสดุ, ผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมตัวใดอยู่แล้วบ้าง ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นทางเลือกให้เกิดสินค้าที่แข่งขันในตลาดได้ ไปจนถึงการพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ขึ้นในแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC เล็งเห็นว่าในปัจจุบัน มีผู้ประกอบการในยุคใหม่ ที่อาจจะเป็นลักษณะแบบธุรกิจที่เรียกกันว่า สตาร์ทอัพ นั้นควรให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี มากๆ และอยากให้คิดว่าการทำวิจัยไม่ใช่เรื่องไกลตัว เรื่องวิจัยไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของอาจารย์นักวิชาการเท่านั้น แต่กระบวนการวิจัยคือเครื่องมือวิถีในการหาคำตอบอย่างมีระบบด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมีโจทย์ในการดำเนินธุรกิจ แต่ยังไม่มีความชัดเจนนัก สามารถติดต่อมาที่ MTEC ได้ ทางศูนย์นั้นยินดี มีบุคคลากรที่พร้อมหารือและให้ข้อมูล ต่อยอดขีดความสามารถ พัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ที่อยู่: 114 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร: 0 2564 6500
โทรสาร: 0 2564 6501- 5
เว็บไซต์ : mtec.or.th

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

รายงานสถาณการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) รายเดือน

บทความ รายงานสถาณการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) รายเดือน
อ่านต่อที่
https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20220518095747.pdf

บทความแนะนำ

เปิดแนวคิดวิสาหกิจชุมชน “สมุนไพรปลูกรัก”

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้พืชสมุนไพรมาเป็นอาหาร เครื่องสำอาง และยารักษาโรคมาแต่โบราณ โดยในปัจจุบันสมุนไพรไทยได้เพิ่มบทบาทสู่การแพทย์ทางเลือกซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งกระแสรักสุขภาพทำให้สมุนไพรไทยได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก

วันนี้ SME ONE อยากสร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ และอยากพัฒนาสินค้า และบริการจากพืชหรือสมุนไพรประจำถิ่น กับแนวคิดของการทำธุรกิจดีๆ จากคุณจอน เสาวลักษณ์ มณีทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภาลักษณ์เจริญ จำกัด และผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษา วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรปลูกรัก

จุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ

ตนเองเติบโตในครอบครัวเกษตรกร มีโอกาสเรียนและทำงานในเมืองหลวง แต่ทุกครั้งที่กลับบ้านเกิด จะได้พบเห็นว่า เกษตรกรไทยยังลำบาก กลุ่มแม่บ้านไม่มีงานทำ จึงอยากนำความรู้ที่มีมาประยุกต์ใช้สร้างเกษตรกรพันธุ์ใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ มีเอกลักษณ์ มีนวัตกรรม มีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควบคู่กับการอนุรักษ์และฟื้นฟูพืชสมุนไพรที่ใกล้สูญพันธุ์ สร้างป่าให้ชุมชนนำมาซึ่งแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน การก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรปลูกรักจึงเกิดขึ้น เพื่อทำการเกษตรอินทรีย์ (Organic) โดยมีเป้าหมายคือ “เป็นความสุขของเกษตรกรในอ้อมกอดของขุนเขา”

แนวคิดและหลักการในการทำธุรกิจ

นับตั้งแต่ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรปลูกรัก เมื่อปี 2557 ขณะนี้มีเกษตรกรในเครือข่ายกว่า 300 ราย สิ่งที่เรายึดถือมาตลอดคือ “การแบ่งปัน” นั่นคือ การอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยในระบบนิเวศที่เกื้อกูลและให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิด 3 ดี ดีต่อเรา คือ สุขภาพดีเพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์ ดีต่อเขา คือ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อผู้บริโภคหรือคนรอบข้าง และสุดท้าย ดีต่อโลก คือ การอยู่อย่างไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

จุดแข็งหรือกุญแจแห่งความสำเร็จ

จากการพัฒนากระบวนการเพาะปลูก ตลอดจนการแปรรูปสมุนไพรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรปลูกรัก เช่น ขมิ้นชันผง ในนาม “ปันแสน” ได้รับมาตรฐาน USDA Organic ซึ่งเป็นตรารับรองอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคของสหรัฐฯ ที่ออกให้กับสินค้า Organic ตามมาตรฐาน USDA คือ วัตถุดิบที่นำมาใช้จะต้องเป็นพืชที่ไม่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม หรือฆ่าเชื้อโรคโดยการฉายรังสี พืชที่ปลูกด้วยดินที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยมูลสัตว์ รางวัลนวัตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับ ทำให้ผลิตภัณฑ์ “ปันแสน” เป็นที่รู้จักของผู้ซื้อในต่างประเทศ

เป้าหมายหรือแผนพัฒนาธุรกิจในอนาคต

“จากที่เคยฝันไว้ว่า ถ้าประสบความสำเร็จในการสร้างป่าแห่งอาหารที่คืนความอุดมสมบูรณ์ให้ขุนเขา และจะปักธงชัยบนภูเขาแห่งบ้านเกิด จากความฝันอันเลือนรางในวันนั้น ถึงวันนี้ที่สามารถนำสมุนไพรไทยไปสู่ตลาดโลกได้ ดร.รักษ์ สร้างแรงบันดาลใจให้เราอยากปักธงชัยบนภูเขาโลกแล้วจริง ๆ และอยากพาคุณค่าสมุนไพรไทยไปสู่ตลาดโลกด้วยความภาคภูมิใจของเกษตรกรในอ้อมกอดแห่งขุนเขา ณ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก”

เราจะพัฒนาธุรกิจให้เติบโต เพิ่มยอดขายควบคู่กับพัฒนาคุณภาพสินค้า เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพให้เกษตรกรได้อิ่มท้อง อิ่มใจ และร่วมกันสร้างป่าอาหารที่สมบูรณ์ไปด้วยความสุข ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการสร้างวิสาหกิจชุมชน

อ้างอิง : https://www.exim.go.th/eximinter/e-news/26418/0222_CEO_talk.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

ทำไมแฟรนไซส์ ถึงเนื้อหอมในช่วงวิกฤต

ทำไมแฟรนไซส์ ถึงเนื้อหอมในช่วงวิกฤต

หลังวิกฤต COVID-19 ธุรกิจแฟรนไชส์ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ทั้งจากคนที่ต้องการจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ขณะเดียวกันก็ถูกใช้เป็นโมเดล ในการสร้างการเติบโตให้กับหลายธุรกิจ เนื่องจากระบบแฟรนไชส์ เป็นโมเดล ที่สามารถลดความเสี่ยงได้ เพราะมีแบรนด์และระบบการจัดการต่างๆ ที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าประสบความสำเร็จได้จริง จึงกลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของคนที่อยากลงทุนธุรกิจของตัวเองโดยเฉพาะ

ท่ามกลางวิกฤตที่มีความเสี่ยงรอบด้าน แฟรนไชส์ นับว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าการ ต้องเริ่มต้นใหม่ด้วยตัวเองทั้งหมด ขณะเดียวกัน แฟรนไชส์ยังเป็นระบบ ธุรกิจที่โตเร็วกว่าธุรกิจทั่วไปถึง 3 เท่า เนื่องจากแฟรนไชส์เป็นเรื่องของ Economies of Scale โดยแฟรนไชส์ต้องอาศัยจำนวนสาขากระจายออกไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความได้เปรียบ ทั้งเรื่องของต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง สาขา ครอบคลุมตลาดได้มากกว่า และแบรนด์ยังเป็นที่รู้จักได้มากกว่าด้วย

“แฟรนไชส์ต้องเริ่มจากออกแบบธุรกิจ (Business Design) การจะทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ธุรกิจจะต้องผ่านขั้นตอนที่เรียกว่า Profitability คือ ธุรกิจต้องกำไรให้ได้ก่อน อย่าผลักดันธุรกิจ ที่ไม่มีกำไรออกมาเป็นแฟรนไชส์ จากนั้นต้อง ศึกษาว่าธุรกิจแฟรนไชส์จริงๆ คืออะไร แฟรนไชส์ไม่ได้เหมาะกับทุกธุรกิจ รวมทั้งต้องศึกษาเรื่องสัญญากฎหมาย การวางระบบ หรือ กระบวนการถ่ายทอดไปสู่แฟรนไชส์ วิธีการทำการตลาด ตลอดจนการคัดเลือกแฟรนไชส์ที่ดีเข้าสู่ระบบ เป็นต้น เรียกได้ว่า เมื่อผ่าน การออกแบบธุรกิจที่ดีและถูกต้องจนได้โมเดล แฟรนไชส์แล้ว จากนั้นค่อยขยายธุรกิจด้วยการตลาดเหล่านี้คือ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจก่อนจะก้าวสู่ธุรกิจแฟรนไชส์”

“ออนไลน์ต้องมี”

ธุรกิจในยุคนี้ต้องออกแบบธุรกิจที่เกาะเกี่ยวไปกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องของออนไลน์ การออกแบบธุรกิจให้เข้าสู่รูปแบบออนไลน์กลายเป็นสิ่งสำคัญในเวลานี้ เช่น อาจปรับเป็น Cloud Kitchen แฟรนไชส์อาจไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านทำทุกอย่างภายในบ้านและรับออร์เดอร์ผ่านออนไลน์ หรือแม้แต่ระบบเทรนนิ่งก็ต้องปรับมาทำผ่านออนไลน์ด้วยเช่นกัน

“ต้องสร้างประสบการณ์”

นอกจากนี้ รูปแบบแฟรนไชส์ที่จะ ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ต้องสร้างประสบการณ์ (Experience) กับผู้บริโภคได้ด้วยและต้องไม่ใช่แค่ประสบการณ์บนออฟไลน์ (ผ่านหน้าร้านหรือสาขา) เท่านั้น แต่ต้องเป็นประสบการณ์บนออนไลน์ด้วย เพราะอย่างที่กล่าวไว้ว่า แฟรนไชส์กำลังถูกเชื่อมโยงระหว่างออฟไลน์ และออนไลน์เข้าด้วยกัน

ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจทำให้การตัดสินใจเลือกลงทุนของแฟรนไชซีต้องพิจารณามากขึ้น เช่น เป็นแฟรนไชส์ที่มีระบบออนไลน์รองรับหรือไม่ และธุรกิจตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนไปไหม ซึ่งก่อนจะตัดสินใจลงทุนอาจต้องทำการบ้านมากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจเกี๋ยวกับโครงสร้างของธุรกิจแฟนไซส์และผล ตอบแทนที่ได้มานั้นจะสัมพันธ์กับการลงทุนมากยิ่งขึ้นครับ

อ้างอิง : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Dec-2020.aspx

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

การเงินและการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้ธุรกิจ SME สะดุด

การเงินและการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้ธุรกิจ SME สะดุด

 

หากพูดถึง “การเงิน” คือสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและต้องวางแผนอย่างละเอียดเพราะถ้าการบริหารจัดการที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ธุรกิจสะดุดและประสบปัญหาได้ วันนี้ SME ONE เลยนำ 5 ตัวอย่างการจัดการการเงินที่ผิดวิธีพร้อมกับวิธีแก้ไข เพื่อให้ผู้ประกอบการระมัดระวังและวางแผนการเงินได้ดีมากยิ่งขึ้น

การเงินมีปัญหาเพราะใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดในการทำธุรกิจ

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีเงินเก็บ หรือเงินสดส่วนตัวในการลงทุนธุรกิจ การเลือกใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดเป็นตัวเลือกไม่เหมาะกับการหาทุน เพราะว่าบัตรเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะขออนุมัติง่ายกว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจ แต่ผู้ประกอบการมักลืมคิดว่าอัตราดอกเบี้ยของการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดนั้นสูงพอสมควร (สูงสุดถึง 28% ต่อปี) เพื่อป้องกันปัญหาการเงินนี้ผู้ประกอบการควรเลือกประเภทสินเชื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมกับกิจการของตนเอง

การเงินบกพร่องเพราะไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนแฝง

ผู้ประกอบการหลายรายมักพบกับปัญหาทางการเงิน เพราะไม่ได้คิดต้นทุนแฝงในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนพนักงาน ค่าใบอนุญาตต่างๆ ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าเครื่องจักรและค่าซ่อมบำรุง ค่าจ้างงานบุคคลภายนอก ค่าเดินทางนอกสถานที่ ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เป็นต้นทุนแฝงที่จำเป็นไม่ต่างกับต้นทุนอื่นๆ เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการควรตรวจสอบต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายให้ละเอียด พร้อมกับการวางแผนการเงิน และกันเงินบางส่วนไว้ในกรณีฉุกเฉินด้วย ไม่เช่นนั้น ธุรกิจของเราอาจเกิดสภาวะการเงินบกพร่อง และระบบการทำบัญชีมีปัญหาได้

การเงินติดขัดเพราะไม่แยกสินทรัพย์ส่วนตัวกับบริษัทออกจากกัน

ผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อยมักมีปัญหาในช่วงแรกของการทำธุรกิจคือ การใช้เงินส่วนตัวและเงินบริษัทปะปนกันโดยไม่แยกบัญชีให้ชัดเจน ผลที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการไม่รู้ว่ากำไรและรายจ่ายที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งส่งผลต่อเอกสารทางบัญชี และการคำนวณต้นทุนและกำไรที่ผิดพลาดได้ สร้างปัญหาให้กับระบบการเงิน และธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรแยกบัญชีส่วนตัวกับกิจการออกจากกัน เพื่อลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและความซ้ำซ้อนของการทำบัญชี

การเงินถูกใช้กับคนที่ไม่ถูกกับงาน

ปัญหาทางการเงินลักษณะนี้ มักเกิดขึ้นกับธุรกิจครอบครัวเพราะผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไว้ใจให้ญาติช่วยดูแลเรื่องการเงินทั้งๆ ที่ญาติก็ไม่ได้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินมาก่อน ทำให้ไม่สามารถบริหารการเงินภายในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการจ้างพนักงานที่ไม่มีความถนัดในงานนั้นโดยตรง ซึ่งทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพ วิธีแก้ไขคือ หากผู้ประกอบการไม่มีความรู้ความสามารถด้านใด ก็ให้เลือกพนักงานที่มีประสบการณ์ตรงและมีความสามารถด้านนั้นมาทำงานแทน เพื่อให้การบริหารการเงินและองค์กรโดยรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพนักงานที่ดูแลด้านบัญชีและการเงิน ที่ควรเลือกจากคนมีประสบการณ์แล้วสำหรับบริษัทขนาดเล็ก

การเงินใช้ไปกับค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น

ค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่เพิ่มหรือลดไปตามการผลิต ผู้ประกอบการจะผลิตสินค้ากี่ชิ้น ก็ยังต้องจ่ายต้นทุนนี้ในราคาเท่าเดิม เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น หากผู้ประกอบการไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น เช่น เช่าออฟฟิศขนาดใหญ่เกินขนาดกิจการ หรือ จ้างพนักงานเยอะเกินไป อาจทำให้รายจ่ายในแต่ละเดือนบานปลายได้ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรวางแผนธุรกิจและคิดให้ดีว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่จำเป็นกับธุรกิจและค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถตัดออก เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น

อ้างอิง : https://www.peerpower.co.th/blog/smes/management-financial/

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ