TTRS วัดเรตติ้ง SME ไทย เพื่อเข้าถึงแหล่งเงิน นวัตกรรม และเทคโนโลยี

TTRS วัดเรตติ้ง SME ไทย เพื่อเข้าถึงแหล่งเงิน นวัตกรรม และเทคโนโลยี

SMEs คนไหนที่อยากปรับรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจ และอยากเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือสินเชื่อเพื่อนำไปพัฒนาธุรกิจในอนาคต วันนี้ SME ONE มี TTRS เครื่องมือวัดเรตติ้ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เพราะนั่นคือความน่าเชื่อถือของธุรกิจ

 ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมาจึงมีความพยายามในการนำโมเดลที่มีชื่อว่า TTRS (Thailand Technology Rating System) หรือ ศูนย์สนับสนุนและให้บริการประเมินการจัดอันดับเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อมาช่วยในการ ‘จัดอันดับความน่าเชื่อถือของ SME’ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างความเชื่อมั่นกับสถาบันการเงินในการเข้าถึงสินเชื่อ ที่สำคัญยังเป็นการประเมินธุรกิจให้ปูทางไปสู่ SME ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจอีกด้วย

 

“มิติของ TTRS เราจะพิจารณาในส่วนของ All business process และความเป็นไปได้ของธุรกิจ ซึ่งอาจจะมีส่วนของสภาพคล่องทางการเงิน และรวมถึงความสามารถในด้านบริหารจัดการธุรกิจด้วย”

 

ประโยชน์ของ SME ในการประเมินโดยใช้โมเดล TTRS

  1. ผู้ประกอบการทราบถึงระดับของเทคโนโลยี

รวมทั้งจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาของเทคโนโลยีจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและการดำเนินธุรกิจได้

  1. เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ทั้งในส่วนของสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยใช้ควบคู่กับโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Start-up & Innobiz ของ บสย. และการร่วมลงทุนในรูปแบบต่างๆ

  1. สามารถเข้าถึงโครงการความช่วยเหลือต่างๆ ของภาครัฐ

รวมทั้งได้รับสิทธิในการเข้าถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเทคโนโลยีของหน่วยงานภาครัฐ

 

SME สนใจประเมินเทคโนโลยีกับ TTRS ทำอย่างไร?

  1. ผู้ประกอบการยื่นสมัครในระบบ TTRS
  2. กรอกแบบฟอร์มและส่งเอกสารเพิ่มเติมที่แจ้งในระบบ
  3. ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเบื้องต้น
  4. ตรวจประเมินการใช้เทคโนโลยีในการผลิต
  5. เข้าสู่ระบบประเมิน TTRS
  6. แจ้งผลการประเมิน
  7. ออกใบรับรองและผลวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ

 TTRS อีกหนึ่งเครื่องมือพา SME ไทย สู่ความสำเร็จ ช่วยวิเคราะห์ประเมินเทคโนโลยี นวัตกรรม และศักยภาพในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการไทยให้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และเงินลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในอนาคต


อ้างอิง : https://www.bangkokbanksme.com/en/ttrs-technologyratingsystem-sme

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

มาดู Future Food 4 ธุรกิจอาหารแห่งอนาคตโตไม่หยุด โอกาสทำเงินของ SMEs

มาดู Future Food 4 ธุรกิจอาหารแห่งอนาคตโตไม่หยุด โอกาสทำเงินของ SMEs

 

สำหรับ SMEs คนไหนที่อยากประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ต้องอย่าพลาดกับข้อมูลนี้เลยนครับ เพราะต้องบอกเลยว่าโลกของเราทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างเร็ว ทำให้อะไรหลายๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตของคนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน นั้นทำให้เกิดเทรนด์ต่างๆ ขึ้นมากมาย เช่น เรื่องอาหาร หรือไลฟ์สไตล์ เป็นต้น และทุกคนอยากรู้ไหมว่าในอนาคตข้างหน้าอาหารจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร วันนี้ SME ONE จะขอพาคุณข้ามเวลาไปดู Future Food หรือ 4 ธุรกิจอาหาร ที่เป็นโอกาศทำเงินให้กับ SMEs

Future Food หรือ อาหารแห่งอนาคต เป็นเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารที่กำลังเป็นที่จับตามองอย่างมาก ซึ่งจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงด้านอาหาร (food security) ยังเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคอีกด้วย และ Future Food แบ่งออกได้ตามนี้

  1. อาหารเสริมสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชั่น (Functional Food) 

เป็นนวัตกรรมอาหารเสริมสุขภาพที่แปรรูปไปเพื่อให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกเหนือจากประโยชน์ที่ได้รับจากสารอาหารหลักที่กินกัน ในชีวิตประจำวัน โดยเพิ่มเติมส่วนผสมใหม่หรือส่วนผสมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มความสามารถของกลไกในร่างกาย ในการดูแลสุขภาพหรือป้องกันโรค

  1. อาหารทางการแพทย์ (Medical Food)

เป็นนวัตกรรมอาหารเพื่อตอบสนองด้านการแพทย์ โดยใช้เป็นโภชนาบำบัด ผลิตเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มทดแทน หรือเสริมอาหาร ซึ่งใช้รับประทานหรือดื่มแทนอาหารหลัก หรือดื่มเพื่อเสริมอาหารบางมื้อ

  1. อาหารอินทรีย์ (Organic Food)

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ผลิตหรือแปรรูป โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลงที่สังเคราะห์ทางเคมี ไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยที่มาจากกากของระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนผลิตภัณฑ์อินทรีย์จากสัตว์ หมายถึง เนื้อ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม ต้องมาจากสัตว์ที่เลี้ยงกลางแจ้งแบบเปิด และกินอาหารที่เป็นอาหารอินทรีย์ ไม่มีการใช้ฮอร์โมน หรือ ยาปฏิชีวนะกับสัตว์

  1. อาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางวัตกรรม (Novel Food)

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 376 เรื่อง อาหารใหม่ โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันนี้มีการนำวัตถุที่ไม่เคยบริโภคเป็นอาหารมาใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบอาหาร อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน จึงสมควรมีมาตรการการประเมินความปลอดภัยรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้ความหมายของอาหารใหม่ไว้ 3 ข้อ ดังนี้

- อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการ ว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี

- อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์

- อาหารใหม่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุตามข้อ 1) และ ข้อ 2) เป็นส่วนประกอบ

       อธิบายแบบให้เข้าใจง่ายๆ Novel Food อาหารกลุ่มนี้หมายถึงอาหารรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นนวัตกรรมสูงมาก ซึ่งทางแถบยุโรป จะให้คำจำกัดความว่าเป็นอาหารพวกที่ใช้ขั้นตอนการผลิตแบบใหม่ ไม่เคยมีการผลิตมาก่อน หรือเป็นอาหารที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิม หรือเป็นอาหารที่มีการปรับแต่งโดยกระบวนการผลิตแบบใหม่ เช่น การใช้นาโนเทคโนโลยี หรือพวก Nano Food ก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน อย่างพวกน้ำพริกกะปิผง รวมถึงแหล่งอาหารใหม่ คือ แมลง สาหร่าย และยีสต์ เป็นต้น

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/marketing/8285.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

SME จะรับมืออย่างไร เมื่อลูกค้าเปลี่ยนใจเร็ว เบื่อง่าย เปลี่ยนแบรนด์บ่อย

SME จะรับมืออย่างไร เมื่อลูกค้าเปลี่ยนใจเร็ว เบื่อง่าย เปลี่ยนแบรนด์บ่อย

ต้องยอมรับว่าตลาดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ หรืออาหาร มีการแข่งขันที่สูงขึ้นเป้นอย่างมาก ทำผู้ยริโภคมีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น มีช่องทางในการเลือกสรรมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจ SME ประสบปัญหาลูกค้า เบื่อง่าย เปลี่ยนใจเร็ว เปลี่ยนแบรนด์บ่อย ทำให้ประสบปัญหาทางธุรกิจ ยอดขายนั้นลดลง วันนี้ SME ONE ขอพาทุกคน Move on กับเทคนิคการประกอบธุรกิจให้มัดใจลูกค้า

“ลูกค้าเปลี่ยนใจเร็ว เบื่อง่าย หรือมีความอดทนต่ำ” ที่เป็นเช่นนี้เพราะสภาพตลาดเปลี่ยนไป เมื่อจำนวนผู้ขายมีมากขึ้น เพราะใครๆ ก็ขายได้ นั่นจึงทำให้มีสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดมากกว่าปกติ เมื่อมีสินค้าใหม่ลูกค้าก็จะขอลอง นั่นจึงทำให้สินค้าเดิมยอดขายลดลง แต่เมื่อลองแล้วไม่ถูกใจ ก็กลับไปซื้อสินค้าเดิม อย่าลืมนะครับว่า ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการแค่ความใหม่หรือแตกต่าง (Different) แต่ต้องการของที่ดีกว่า (Better) ดังนั้น จึงดูเหมือนว่า ลูกค้าเปลี่ยนใจเร็ว ซึ่งที่จริงลูกค้าจะลอง (Trial) สินค้าใหม่ไปเรื่อยๆ สรุปแล้วลูกค้าจะเปลี่ยนใจเมื่อเจอสิ่งที่ใช่มากกว่าเดิม 

เรื่องที่หนึ่ง คือ “กรณีนี้หากเป็นแบรนด์ใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง” เวลาจะออกสินค้าใหม่ รุ่นใหม่ หรือรสชาติใหม่ ต้องวางแผนมาอย่างดีว่า ตัวใหม่จะไม่ทำลายตัวเก่า หมายความว่า ต่อให้ลูกค้าจำนวนหนึ่งเลิกซื้อตัวเก่า หันมาซื้อตัวใหม่ แต่ยอดขายที่ได้จากสินค้าตัวใหม่ต้องมากขึ้นกว่ายอดขายตัวเก่าที่หายไป นั่นทำให้ได้เงินจำนวนมากขึ้น เพราะโดยธรรมชาติสินค้าใหม่จะไปทำลายสินค้าเก่า (หรือที่เรียกว่า Canabolize) การออกสินค้าใหม่ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้อย่างมาก หากมีสินค้าใหม่แล้วรายได้ลดลงก็ไม่ควรทำ 

เรื่องที่สอง คือ “ความสนุก (Fun)” เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ไ ด้จริงและมีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดทุกยุคทุกสมัย เพราะแม้จะเป็นคนมีเหตุผลแค่ไหน แต่เวลาตัดสินใจซื้อ มันก็คืออารมณ์ในขณะนั้น เคยไหมครับที่ตั้งใจเสียดิบดีแต่พอไปถึงร้านค้า กลับเลือกสินค้าตัวอื่นที่น่าสนใจมากกว่า 

ความสนุก ความชอบ ความเชื่อ ความตื่นเต้น การอยากลอง หรือเรียกรวมๆ ว่า อารมณ์ (Emotion) จึงช่วยได้มากในการทำการตลาด การกระตุ้นอารมณ์คนซื้อมีหลายรูปแบบ หากเป็น “ตัวบุคคล” ในอดีตอาจใช้ดารา นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาดัง แต่เดี๋ยวนี้อาจเพิ่มคนดังออนไลน์ ที่มีคนไลค์เป็นแสนๆ คน เข้าไปด้วย นัยว่าถ้าคนกลุ่มนี้พูดถึงแบรนด์ใด แฟนคลับก็น่าจะชอบด้วย สำหรับ SME การใช้เซเลบริตีคงไม่ไหวเพราะมีค่าใช้จ่ายสูง จึงนิยมสร้าง “คาแร็กเตอร์” เป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อสื่อสารให้เข้าถึงตัวลูกค้าได้ง่าย แต่เดี๋ยวนี้ตัวการ์ตูนมีมากมาย ทำให้ไม่ดึงดูดลูกค้าเท่าที่ควร สุดท้ายทุกแบรนด์ก็ใช้ท่าไม้ตาย คือ การเล่นเกม โดยมีของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เป็นการตอบแทน

เรื่องที่สาม คือ “ลูกค้าไม่ค่อยภักดี มี Loyalty ต่ำ” ประเด็นนี้น่าคิดนะครับ เพราะจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ผลวิจัยสรุปได้ว่า ค่าความภักดี (Loyalty Index) ลดลงเรื่อยๆ ที่เป็นแบบนี้เพราะลูกค้ามีข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม ในอดีตคนสร้างแบรนด์สามารถควบคุมภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ตามที่ต้องการ เพราะสามารถควบคุมการสื่อสารได้หมด ทั้งข่าว การโฆษณา หรือ PR ต่างๆ นั่นทำให้ลูกค้าได้เห็นแบรนด์เฉพาะในมุมที่เจ้าของแบรนด์อยากให้เห็น แต่ปัจจุบันไม่มีใครคุมการสื่อสารได้หมด ทำให้ผู้บริโภคได้เห็นแบรนด์ในอีกด้านหนึ่ง เป็นด้านที่เจ้าของแบรนด์ไม่อยากให้เห็น ไม่ถึงกับเป็น Dark Side แต่ถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากให้ใครรู้ เมื่อลูกค้ารับรู้เรื่องราวอีกด้าน จึงบั่นทอนความน่าเชื่อถือ 

แล้วการทำธุรกิจแบบไหนจึงจะถือเป็น Good Citizen เพราะคำคำนี้ถามร้อยคนก็ได้ร้อยความหมาย ผมคิดว่าการดูแนวโน้มการทำธุรกิจของบริษัทใหญ่ระดับโลกน่าจะให้คำตอบที่ดี ซึ่งตอนนี้พบว่าหลายบริษัทต่างยึดเอากรอบการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) มาเป็นเป้าหมายหนึ่งในการทำธุรกิจ

หรือบางแผนงานหากทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้ดี (Data Analytics) ก็มีส่วนช่วยให้สังคมน่าอยู่ อย่างที่ฟอร์ด ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในอเมริกา จัดทำ Ford Smart Mobility Plan โดยกระตุ้นให้ผู้ขับขี่แชร์โลเกชั่น แล้วฟอร์ดจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลการขับขี่ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อให้เกิดการเดินทางที่ดีที่สุด เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างการช่วยสร้างให้สังคมน่าอยู่

สรุปแล้วการเข้าใจลูกค้า ต้องมองให้ถึงแก่น ต้องเข้าใจความต้องการที่แท้จริง เพราะลูกค้า ไม่ใช่แค่ต้องการ ของใหม่ แต่ต้องอยากได้ของที่ดีกว่า ไม่ใช่แค่อยากสนุก แต่อยากให้เป็น สีสันบนการใช้งานได้จริง ไม่ใช่แค่แบรนด์ที่ดูดี แต่เป็นบริษัทที่ Good Citizen 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/marketing/8318.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

สิ่งไหน? ที่ช่วยพลิกวิกฤตให้ SME รอด

สิ่งไหน? ที่ช่วยพลิกวิกฤตให้ SME รอด

เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ที่หลายธุรกิจต้องประสบกับวิกฤต โควิด-19 ทำให้ต้องสะดุด หรือบางธุรกิจต้องปิดตัวลง วันนี้ SME ONE ขอนำมุมมองของคุณ วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการ อาวุโส ธนาคารกสิกรไทย ที่ได้พูดถึง 3 แนวทางการก้าวข้ามวิกฤตโควิด พร้อมทริคดีๆ ในการทำธุรกิจมาฝากทุกคนกัน

“วิกฤตเป็นสิ่งไม่มีใคร คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือมาจากไหน แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการกลับไม่ได้มีการเตรียมการ รับมือที่ดีพอ ดังนั้น การที่สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ธุรกิจเลยเป็นสิ่งที่ต้องทำ และเตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะ ความพร้อมตรงนี้เองที่จะทำให้ผู้ประกอบการ เดินเข้าสู่วิกฤตได้อย่างมีทางออก”

ขั้นแรก : บริหารต้นทุน ฟิตหุ่นธุรกิจให้บาง

ในภาวะวิกฤตสิ่งที่เห็นได้ชัด คือ Demand หรือความต้องการซื้อมักจะลดลง ดังนั้น การทำธุรกิจในจังหวะที่ความต้องการซื้อต่ำ นั่นแปลว่า ผลตอบแทนหรือผล กำไรบนงบการตลาดที่ลงไปจะได้น้อยกว่า ปกติ ดังนั้น การลดแลกแจกแถม อาจจะ ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะจะยิ่งพากันเดินไปลงเหว แต่สิ่งที่ ควรทำคือ การลดน้ำหนักเพื่อฟิตหุ่น ด้วย การลดต้นทุน ทำตัวให้เบามากที่สุด ซึ่งจะทำให้ธุรกิจแข็งแรง ซึ่งการลดต้นทุนนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำในช่วงที่เกิดวิกฤตเท่านั้น แต่ควรทำให้การลดต้นทุนกลายเป็นเรื่องปกติ เป็นความเคยชินที่จะต้องทำอยู่ตลอด

ขั้นสอง : หาลูกค้าที่ใช่ ช่วยปกป้องธุรกิจยามยาก

ในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ต้อง ยอมรับว่ายอดขายหรือจำนวนลูกค้า ย่อมไม่เหมือนเดิมแน่นอน จากเดิมที่ เคยขายได้ 100 คน ในวิกฤตการจะ ทำเช่นนั้นได้ถือเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งวิธีที่จะช่วยต้านวิกฤต คือ ต้องหาลูกค้าที่มีกำลังซื้อ แม้จะไม่ได้ 100 คนเท่าเดิม ถ้าได้ลูกค้าที่มีกำลังซื้อ เพียง 60 คน โดยที่ผู้ประกอบการ สามารถเลี้ยงความต้องการในส่วนนี้ ไว้ได้ ก็ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างยอดขายและอยู่รอดได้

ขั้นที่สาม : เติมเทคโนโลยีดิจิทัล ต่อยอดโอกาสธุรกิจ

คือการเพิ่มโอกาส เติมศักยภาพให้ธุรกิจด้วยเทคโนโลยี สิ่งหนึ่งที่สะท้อนได้ชัดจากวิกฤต COVID-19 คือ ธุรกิจที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถจะสร้างโอกาสในวิกฤตอย่าง เห็นได้ชัด เช่น ธุรกิจอาหารที่ขยับสู่ ออนไลน์ขายผ่านแพลตฟอร์มดิลิเวอรี สามารถที่จะเติบโตมียอดขายเพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด นั่นคือ ทิศทางของ โลกธุรกิจยุคใหม่ที่ผู้ประกอบการต้อง เดินไป แต่ก็ใช่ว่าจะไปในทิศทางออนไลน์ อย่างเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องผสมผสานออนไลน์และออฟไลน์ให้เดินไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะอย่างไรแล้ว โลกของ ผู้บริโภคจะยังคงเป็นโลกคู่ขนานที่มีทั้ง ออนไลน์และออฟไลน์ในเวลาเดียวกัน

อ้างอิง : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Aug-2020.aspx

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คันธุลีฟาร์มเห็ดอินทรีย์  เกิดจากจุดเริ่มต้นของพนักงานประจำบริษัทเอกชน ผู้ประกอบการทำไประยะหนึ่งอยากที่จะประกอบกิจการส่วนตัวจึงตัดสินใจกลับมาหาลู่ทาง หาอาชีพใหม่ที่บ้านอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเริ่มการเพาะเห็ดแครง และเห็นช่องทางในการทำตลาดเห็ดแครงสามารถสามารถเพิ่มมูลค่าได้ จากเห็ดสด เห็ดแห้งสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ ผู้ประกอบการได้เกิดความคิดทำเป็นคั่วกลิ้งเพราะทางภาคใต้จัดได้ว่าเป็นเมนูหลัก ส่วนใหญ่จะทานคั่วกลิ้งหมูและคั่วกลิ้งไก่ โดยผู้ประกอบการอยากทำเป็นคั่วกลิ้งเห็ดแครง ทำเป็นเห็ดแครงแปรรูป เช่น คั่วกลิ้งเห็ดแครง น้ำพริกเห็ดแครง น้ำพริกเผารถต้มยำเห็ดแครง ผู้ประกอบการต้องการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ในการแข่งขันด้านธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศและแนวคิดในการทำการตลาด เน้นการเพิ่มช่องทางกรตลาด การเพิ่มกลุ่มลูกค้า เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

 

ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดสุราษฎร์ธานี แนะนำให้ทราบถึงโครงการของสสว. ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Digital Marketing , Sme connext , Sme academy 365 เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการบริการ การลดขั้นตอนและเวลา ลดต้นทุนและเพิ่มระดับคุณภาพในการให้บริการ เพื่อสร้างความ พึงพอใจสูงสุดให้ลูกค้าของผู้ประกอบการ   และให้คำแนะทางด้านการพัฒนาผู้ประกอบการในการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการให้มีความสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าจากนวัตกรรม และการยกระดับธุรกิจ High Value และจัดทำแผนธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนพร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพเชิงลึกและนำผู้ประกอบการสู่การทดสอบตลาดเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้าโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และโครงการต่าง ๆ ของ สสว. ต่อไปเชื่อมโยงหน่วยงานส่งเสริมผู้ประกอบการในการให้องค์ความรู้ ให้คำปรึกษา การนำงานวิจัยนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ การตลาดนำการผลิตการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามความเหมาะสมอันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง เพื่อความยั่งยืนของรากฐานเศรษฐกิจ

ผลลัพธ์ ผลสำเร็จ ที่ได้จากการให้คำปรึกษา ให้บริการและการส่งต่อ

มีช่องทางการจำหน่วยสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Shopee , Lazada , Website : WWW.ithida.com

ได้เข้าร่วมโครงการ SME ONLINE BY OSMEP จนทำให้สามารถจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคและมียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการออนไลน์ด้วย Digital Marketing        

ได้รับใบรับรองมาตรฐานสินค้าปลอดภัย "สินค้าปลอดภัย" ที่ได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการ

=พช.61-สฎ-0133 น้ำพริกเห็ดแครงสด คันธุลีฟาร์มเห็ดอินทรีย์

=พช.61-สฎ-0137 คั่วกลิ้งเห็ดแครงสด คันธุลีฟาร์มเห็ดอินทรีย์

ในกิจกรรมยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ภายใต้โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

 

 

บทความแนะนำ