กระตุ้นยอดขายร้านอาหารด้วยมาตรฐาน Thai SELECT

หัวข้อ : วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ฉบับที่ 61 ปีที่ 11 
อ่านเพิ่มเติม :www.dbd.go.th/download/article/article_20200626145341.pdf

เมื่อถึงเวลาที่สถานการณ์โควิดทั่วโลกคลี่คลาย และการท่องเที่ยวของไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ธุรกิจร้านอาหารไทยต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการ และดึงดูดลูกค้าเข้าร้านด้วยตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่าง Thai SELECT

Thai SELECT เป็นมาตรฐานรับรองสินค้าร้านอาหารไทย ทั้งในเรื่องของคุณภาพและรสชาติความอร่อยแบบไทย ๆ และเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติมากว่า 20 ปี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงเกิดแนวคิดในการนำตราสัญลักษณ์ Thai SELECT มาต่อยอดส่งเสริมให้ร้านอาหารในประเทศไทย โดยคัดสรรร้านอาหารที่มีรสชาติไทยแท้และคุณภาพที่ได้มาตรฐาน เน้นความใส่ใจด้านคุณภาพ รสชาติ และการบริการ 

นอกจากนี้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ยังช่วยสร้างการจดจำ ได้เป็นอย่างดีเป็นการขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้ร้านอาหารไทยสามารถเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มากยิ่งขึ้น โดยตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ

 

 

สำหรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเพื่อให้ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ร้านอาหารจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้

1) ต้องมีรายการอาหารไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายการอาหารทั้งหมด ตกแต่งบรรยากาศ และใช้วัตถุดิบเครื่องปรุงอาหารแบบไทย

2) ปรุงอาหารได้ตามมาตรฐานกรรมวิธีการปรุงแบบไทยใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงของไทย 

3) เปิดให้บริการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน 

4) อายุการใช้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT นาน 3 ปี หากร้านประสงค์จะต่ออายุต้องยื่นใบสมัครขอต่อก่อนวันหมดอายุ 3 เดือน 

5) ผู้ที่ได้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT จะได้รับประกาศนียบัตรที่ลงนามโดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมระบุปีที่ได้รับ 

6) ร้านอาหารไทยที่มีมากกว่า 1 สาขา แต่ละสาขาต้องยื่นใบสมัครขอใช้หรือต่ออายุการใช้ตราสัญลักษณ์

Thai SELECT แยกจากสาขาอื่น

7) ผู้สมัครต้องผ่านการตรวจสอบและให้คะแนนโดยกรรมการ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://dbd.go.th/images/relation_pic/info%20Thai%20SELECT.pdf

 

 

Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

บทความแนะนำ

เอสเอ็มอีพัฒนาสินค้าอย่างไรให้โดนใจตลาดผู้หญิงที่เติบโตไม่หยุด

หัวข้อ : Hersumers สายเปย์แห่งวงการนักชอป 
อ่านเพิ่มเติม :https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Sep-2019.aspx

ผู้หญิง เรียกได้ว่าเป็น มหาอำนาจกำลังซื้อตัวจริงของโลก เพราะด้วยศักยภาพด้านการจับจ่ายของตลาดผู้หญิงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งผู้หญิงยังมีส่วนในการตัดสินใจซื้อถึง 78% แต่ใช่ว่าการทำตลาดให้โดนเหล่าสาว ๆ นักชอปจะง่ายไปซะหมด หากไม่รู้จักรู้ใจกันจริง ๆ ก็อาจกลายเป็นงานหินได้
แม้แต่แบรนด์ใหญ่อย่างไนกี้ยังมีการปรับตัว เพื่อให้รับความหลากหลายและเจาะตลาดของผู้หญิง อย่างผ้าคลุมศีรษะที่เอาไว้ใช้ในการเล่นกีฬา "โปร ฮิญาบ" ไปจนถึงหุ่นจำลองเสื้อผ้าตัวแทนของสาวพลัสไซส์ หรือกระทั่งสินค้าผู้ชายแมนๆ อย่างตลาดมอเตอร์ไซค์ก็ปรับตัวรับยุคนักบิดสาว เช่น การทำเกียร์ ให้เหมาะสมกับผู้หญิง

เพราะอะไร? ผู้หญิงถึงเป็นมหาอำนาจของตลาดยุคใหม่ 
ตลาดผู้หญิงมีทิศทางที่จะเติบโตไปได้เรื่อยๆ เนื่องจากผู้หญิงเป็นกำลังหลักในการตัดสินใจซื้อ และเป็นเพศที่ซื้อของโดยมีเรื่องของอารมณ์ (Emotional) เข้ามาร่วมด้วยค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นในโลกของออนไลน์หรือออฟไลน์ ผู้หญิงมักได้สินค้ามากกว่าที่ตั้งใจซื้อไว้ตั้งแต่แรก ในขณะที่ผู้ชายจะมีเป้าหมายว่าจะซื้ออะไรและพุ่งตรงไปยังสิ่งนั้นๆ

ในภาพรวมผู้หญิงมีส่วนในการตัดสินใจซื้อถึงประมาณ 78% ของตลาด โดยในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้จะเห็นว่า การแบ่งตลาดของผู้หญิง (Segmentation) ค่อนข้างจะละเอียด เช่น

- กลุ่มผู้หญิงโสด เป็นกลุ่มที่น่าจับตามอง เพราะมีการตัดสินใจซื้อที่ค่อนข้างง่ายกว่ากลุ่มอื่น ๆ และจะเป็นการซื้อเพื่อตัวเอง ลงทุนเพื่อตัวเอง

- กลุ่มผู้หญิงที่แต่งงานมีครอบครัว จะคิดมากขึ้น โดยจะนึกถึงคนในครอบครัวก่อนและคิดถึง

รายได้โดยรวมเป็นหลัก ทำให้ผู้หญิงกลุ่มนี้ค่อนข้างจะใช้เวลาในการศึกษาและตัดสินใจซื้อนานกว่า

 

เจาะพฤติกรรมลูกค้าผู้หญิง

- ผู้หญิงปัจจุบันใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อค่อนข้างสั้น ภายในเวลา 5 นาที หากเจอสินค้าที่ใช่ ตรงใจ ก็ยินดีที่จะจ่ายเลยในทันที

- ส่วนใหญ่ซื้อเพราะต้องการทันโลก ทันกระแส จึงเป็นที่มาของคำว่า “ของมันต้องมี”

- การตัดสินใจซื้อมีเรื่องของอารมณ์มาเกี่ยวข้องอย่างมาก ราคาไม่ใช่ประเด็นหลักของการตัดสินใจ ถึงแม้สินค้านั้น ๆ จะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นก็ตาม

- การจัดส่งที่สะดวกรวดเร็ว สั่งเช้าได้บ่าย ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้หญิงตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นไปอีก

 

ถึงไม่ใช่สินค้าสำหรับสาว ๆ แต่ขายผู้หญิงได้

ด้วยกระแสของตลาดผู้หญิงที่ค่อนข้างมาแรง ทำให้หลายแบรนด์ด์เริ่มทำสินค้าออกมาตอบโจทย์ผู้หญิงมากขึ้น แม้ไม่ใช่สินค้าที่ทำเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะก็ตาม เพราะผู้หญิงไม่ได้ใช้จ่ายไปกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ที่ทำมาเพื่อเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น แต่อาจจะซื้อสินค้าอื่น ๆ เพื่อคนใกล้ตัวอีกด้วย จึงเป็นโอกาสสำหรับทุกธุรกิจที่สามารถเจาะเข้าถึงตลาดกลุ่มนี้ เพียงแค่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ต้องสื่อสารอย่างชัดเจนว่าคุณกำลังสื่อสารอยู่กับลูกค้ากลุ่มผู้หญิงนั่นเอง

ตัวอย่างการทำตลาดเจาะกลุ่มผู้หญิง เช่น

- แบรนด์น้ำดื่ม เริ่มหันมาทำตลาดและสื่อสารกับผู้หญิงมากขึ้น เพราะเขาเห็นว่าจริง ๆ แล้วผู้หญิงเป็นคนตัดสินใจซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ต

- รองเท้าแตะผู้ชาย ก็มีการทำตลาดกับผู้หญิงเช่นกัน เพราะผู้ซื้อตัวจริงคือผู้หญิงที่ซื้อให้แฟนตัวเอง

- แบรนด์สบู่สำหรับผู้ชายในต่างประเทศ ก็พบว่า พฤติกรรมของผู้ชายจะเน้นอะไรง่าย ๆ มาก่อน คือใช้สบู่ของผู้หญิงในการอาบน้ำ ทางแบรนด์จึงออกมาทำการสื่อสารไปในทางที่ว่า อยากให้แฟนกลิ่นเหมือนตัวเองหรือทำไมไม่ใช้สบู่ที่สมกับการเป็นผู้ชายหน่อย ซึ่งจริง ๆ แล้ว นั่นคือการสื่อสารกับผู้หญิง เพราะแบรนด์รู้ว่าผู้หญิงเป็นผู้ซื้อตัวจริง

 

 

อยากพัฒนาสินค้าให้ตรงใจผู้หญิง เอสเอ็มอีควรรู้อะไร? สิ่งสำคัญคือ ต้องหาปัญหา (Pain Point) ของผู้หญิงที่มีอยู่ให้เจอ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าหรือบริการ ให้ออกมาตอบโจทย์ลูกค้าผู้หญิงมากที่สุด


Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

3 ตัวช่วยเอสเอ็มอีเรื่องกฎหมายสำหรับธุรกิจโรงแรม

หัวข้อ : เจาะ 3 ตัวช่วยเรื่องกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม SME
อ่านเพิ่มเติม :https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/hotel-law1

 

สำหรับธุรกิจบูทีคโฮเต็ล เกสต์เฮ้าส์ โฮสเทล รีสอร์ท โฮมสเตย์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ ฯลฯ ที่ดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กนั้น มีข้อกฎหมายสำคัญอะไรที่ควรรู้บ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้เลย

 

ทำความรู้จักกฎหมายเกี่ยวกับโรงแรม

  • พรบ. โรงแรม ได้ระบุไว้ว่า โรงแรมคือ สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นโดยมีค่าตอบแทน โดยคิดค่าบริการต่ำกว่ารายเดือน 
  • การให้บริการที่พักไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด หากมีการคิดค่าบริการต่ำกว่ารายเดือน ล้วนแต่อยู่ภายใต้พรบ. โรงแรมฉบับนี้ทั้งสิ้น และต้องได้รับการอนุญาตประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 
  • ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมจากนายทะเบียนโรงแรม ได้แก่ อธิบดีกรมการปกครองหากโรงแรมตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่จังหวังต่างๆ หากไม่มีใบอนุญาตจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท (ม.59)

สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก ยังมีที่พักประเภทหนึ่งที่สามารถขอยกเว้นใบขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ ซึ่งก็คือสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม


สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม

คือ สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้องและมีจำนวนผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน โดยเปิดให้พักเพื่อเป็นรายได้เสริม ซึ่งผู้ประกอบการลักษณะนี้ที่มีผู้ประกอบการที่มีรายได้หลักสามารถไปติดต่อนายทะเบียนแจ้งขอเป็น “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม” ก็สามารถประกอบกิจการได้โดยไม่ต้องใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม

สิทธิในการประกอบธุรกิจนี้จะติดตัวคนแจ้งไปตลอดไม่มีวันหมดอายุ ตัวอย่างการขออนุญาตลักษณะนี้ เช่น โฮสเทลขนาดเล็กในกรุงเทพฯ ที่ใช้พื้นที่ส่วนล่างขายของ โดยแจ้งการขายของเป็นรายได้หลัก บริการที่พักเป็นรายได้เสริม เป็นต้น


ธุรกิจโรงแรมและพรบ.ควบคุมอาคาร และพรบ.ผังเมือง

ธุรกิจโรงแรมยังเกี่ยวข้องกับพรบ.ควบคุมอาคารและพรบ.ผังเมืองอีกด้วย โดยเกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  3 มาตรา ได้แก่

  • มาตรา 21 : ห้ามมิให้ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ
  • มาตรา 32 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยยังไม่ได้รับใบรับรองก่อสร้างอาคาร หรือใบอ.6 ซึ่งโรงแรมก็เป็นหนึ่งในอาคารประเภทควบคุมการใช้ เมื่อก่อสร้าง/ดัดแปลงเสร็จต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจรับรองการก่อสร้าง/ดัดแปลง ออกใบอ.6 ก่อนเปิดการใช้อาคาร
  • มาตรา 33  ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งไม่เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารดังกล่าวเพื่อกิจการตามมาตรา 32  (เช่นโรงแรม) เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เรียกว่าใบอ.5 และบังคับแก่การเปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ด้วย

สรุปคือ

  • ถ้าสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคารใหม่ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่อออกใบอ.6 ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจ - ถ้ามีอาคารเดิมอยู่แล้ว แต่ไม่เคยใช้เป็นโรงแรม ต้องแจ้งขอใบอ. 5 เพื่อเปลี่ยนการใช้งานมาประกอบธุรกิจโรงแรม
  • ใบอ.5/อ.6 นี้ เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
  • ถ้าฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมอาคารทั้ง 3 มาตรานี้ ก็มีโทษอาญาปรับ/จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ

7 ขั้นตอนสู่การได้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม

  1. กรรมสิทธิ์ในที่ดิน : ต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใช้พื้นที่ โดยมีเอกสารเช่น โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๑), แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) และหนังสือยินยอมให้ก่อสร้าง/ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นต้น
  2. ตรวจสอบผังเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการห้ามก่อสร้างโรงแรม ในพื้นที่ที่จะประกอบกิจการ : ขณะนี้มีคำสั่ง คสช. ที่ 6/2562 เป็นตัวช่วยสำหรับอาคารเก่าที่มีอยู่ก่อน19 สิงหาคม 2559 ไม่ถูกบังคับใช้กฎหมายผังเมืองใดๆ ซึ่งตัวช่วยนี้จะสิ้นสุด 18 สิงหาคม 2564
  3. ตรวจสอบกฎหมายสิ่งแวดล้อม ว่าเข้าข่ายต้อทำ EIA หรือ IEE ก่อนการขอนุญาตอื่น ๆ หรือไม่
  4. พิจารณาสถานที่ตั้งตาม พ.ร.บ.โรงแรม
  5. ดำเนินการติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอ.1 อนุญาตให้ดัดแปลงอาคาร
  6. เจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตรวจสอบอาคาร : ถ้าระบุในใบอ.1 ระบุว่าเป็นอาคารประเภทโรงแรม เมื่อดัดแปลงเสร็จแล้วติดต่อให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตรวจสอบอาคาร ออกใบอ.6 / ถ้าใบอ.1 ระบุเป็นอาคารประเภทอื่นที่ไม่ใช่โรงแรม ติดต่อพนักงานท้องถิ่น ออกใบอ.5 อนุญาตให้เปลี่ยนการใช้เป็นอาคารโรงแรม
  7. นำใบอ.5 หรือใบอ. 6 ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม

สองกฎหมายตัวช่วยโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็ก

- ตั้งแต่ 12 มิถุนายน 2562 – 18 สิงหาคม 2564 อนุญาตให้นำอาคารเก่าที่มีอยู่ก่อน 19 สิงหาคม 2559 (ใช้เอกสารที่ออกโดยราชการเช่นทะเบียนบ้าน ใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ เป็นหลักฐาน) เปลี่ยนมาประกอบธุรกิจโรงแรมประเภทที่ 1 (บริการเฉพาะห้องพัก) หรือประเภทที่ 2 (บริการห้องพักและห้องอาหาร) อย่างถูกกฎหมาย สามารถใช้ละเว้นจากการบังคับของพ.ร.บ.ผังเมืองทุกฉบับ

- ผู้ประกอบการควรตรวจดูอาคารและปรับปรุงความปลอดภัยด้านอัคคีภัยให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2540) และติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 200 เมตร ทุกระยะไม่เกิน 30 เมตร แต่ไม่น้อยกว่า 2 เครื่อง และไปยื่นเอกสารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตรวจสอบและออกใบเว้นโทษจนถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2564

 


Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

3 เรื่องภาษีน่ารู้สำหรับคนทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

หัวข้อ : 3 เรื่องภาษีน่ารู้สำหรับคนทำธุรกิจ E-Commerce
อ่านเพิ่มเติม : https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/tax-tips-e-commerce.html

ทุกวันนี้ผู้ประกอบการในหลาย ๆ ธุรกิจหันมาเปิดบริการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น สำหรับคนที่กำลังทำหรือสนใจที่จะทำธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ มักจะมีข้อสงสัยในเรื่องราวเกี่ยวกับภาษีมากมาย ว่าต้องเสียแบบไหนและอย่างไรบ้าง สามารถแยกเรื่องของการเสียภาษีออกเป็นคำถาม 3 ข้อดังนี้

 

1. รายได้จากธุรกิจอีคอมเมิร์ซต้องเสียภาษีหรือไม่?

คำตอบคือ ต้องเสียแน่นอน (ข้อกฎหมายเพิ่มเติม : มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร)

 

2. จะต้องเสียภาษีประเภทไหนและอย่างไรบ้าง?

ประเภทของภาษีที่ต้องเสียนั้นให้ตรวจสอบจากรูปแบบของธุรกิจและรายได้ที่ได้รับ

รูปแบบธุรกิจ

หมายถึง ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเรานั้นอยู่ในรูปแบบของ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล

บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ และเงินได้พึงประเมิน ตามวิธีการดังต่อไปนี้

  1. รายได้ : ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้าและบริการ (เงินได้ประเภทที่ 8)
  2. ค่าใช้จ่าย : สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราเหมาและหักตามค่าใช้จ่ายจริง โดยขึ้นอยู่กับอัตราค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดของธุรกิจแต่ละประเภท
  3. ค่าลดหย่อน : สามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายได้ เช่น คู่สมรส บุตร ประกันชีวิต LTF RMF ฯลฯ
  4. คำนวณภาษี : ด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้า

วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน

  • ในกรณีเราที่มีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือนจำนวนมากกว่า 60,000 บาท ให้นำยอดเงินได้คูณด้วย 0.005 และ
  • ถ้าภาษีที่คำนวณได้ตามวีธีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี 
  • ถ้าคำนวณได้ภาษีเกินกว่า 5,000 บาท ให้เปรียบเทียบต่อว่า ภาษีที่คำนวณได้จากทั้งสองวิธีนั้น วิธีไหนได้จำนวนภาษีสูงกว่า ให้เลือกเสียตามวิธีนั้น

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ

0 - 300,000 ร้อยละ 5*

300,001 - 500,000 ร้อยละ 10

500,001 - 750,000 ร้อยละ 15

750,001 - 1,000,000 ร้อยละ 20

1,000,001 - 2,000,000 ร้อยละ 25

2,000,000 - 5,000,000 ร้อยละ 30

เกิน 5,000,000 ร้อยละ 35

นิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ที่จดทะเบียนในประเทศไทย) จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยคำนวณตามเกณฑ์ที่เรียกว่า “กำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร” (ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฏากร) ซึ่งสำหรับการเลือกเสียภาษีตามรูปแบบนี้นั้น จะมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนในการคำนวณกำไรสุทธิ แนะนำให้หาผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีเป็นผู้ดูแลจะสะดวกกว่า

อัตราภาษีกิจการ SMEs

  • พ.ร.ฎ. 530 ยกเว้นและลดอัตราภาษี
  • ม. 4 และ ม. 6 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
  • พ.ร.ฎ. 603 การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีก าไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาท ขึ้นไป จากเดิม 15% และ 20% ของกำไรสุทธิ เป็น 10% ของกำไรสุทธิ เป็นเวลา 2 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค. 2558 จนถึงรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 31 ธ.ค. 2559


 

อัตราภาษีกิจการ SMEs (จดแจ้ง พรก.)

  • พ.ร.ฎ. 595 บริษัทจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 ได้จดแจ้งตาม พ.ร.ก. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่1 ม.ค. 59 แต่ไม่เกินวันที่31 ธ.ค. 59ให้ลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาท ขึ้นไป เป็น 10% ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่1 ม.ค. 60 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 60

รายได้

คือ จำนวนของรายได้ เพราะมีภาษีอีกประเภทหนึ่งที่ต้องเสียนอกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นั่นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยเมื่อไรก็ตามที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเรามีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงมีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษีอีกด้วย

 

3. ไม่เสียภาษีได้ไหม

หากไม่เสียภาษี จะถือว่าธุรกิจของเราทำผิดกฎหมาย และต้องมีการรับโทษ โดยการเสียค่าปรับและดอกเบี้ย ที่เรียกว่า “เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม” ที่จะต้องเสียในอัตราแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของภาษี

 



Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

เคล็ดลับจัดการภาษีธุรกิจ SME ให้มีประสิทธิภาพ

หัวข้อ : เคล็ดลับจัดการภาษีธุรกิจ SMEs ให้มีประสิทธิภาพที่สุด
อ่านเพิ่มเติม : https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/tax-tips-for-sme-1.html

พูดถึงเรื่องของภาษี ผู้ประกอบการหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่ามันแสนจะยุ่งยาก ซับซ้อน และมีรายละเอียดมากมายจนอาจทำให้สับสน ควรวางแผนแบบไหน ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง และต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ วันนี้จึงนำเคล็ดลับ5 ข้อ ในการจัดการภาษีให้มีประสิทธิภาพที่สุดมาฝาก

 

1. รู้ก่อนว่า “ธุรกิจ” ไม่ใช่เรื่อง “ส่วนตัว”

ตามหลักของกฎหมาย สถานภาพของ “เจ้าของ” หรือ “ผู้บริหาร” จะถือว่าเป็น “บุคคลธรรมดา” แยกออกจาก “ธุรกิจ” ที่มีสถานภาพเป็น “นิติบุคคล” โดยเด็ดขาด แถมกฎหมายภาษี (ประมวลรัษฎากร) ยังห้ามไว้ด้วยว่า อย่าเอารายจ่ายมารวมกัน เพราะเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย

ดังนั้นค่าใช้จ่ายส่วนตัว รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของครอบครัว ไม่ควรเอามารวมกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาในภายหลังได้

 

2. เข้าใจว่าธุรกิจของเราต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องเสียให้ถูกต้อง จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ภาษีทางตรง และ ภาษีทางอ้อม ซึ่งแต่ละประเภทนั้น มีรายละเอียดดังนี้

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่มีการเรียกเก็บเงินจากเราโดยตรงและไม่สามารถผลักภาระให้กับใครได้เลย ซึ่งก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล นั่นเอง

ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เราสามารถผลักภาระภาษีทั้งหมดไปให้กับผู้บริโภคได้ โดยประกอบด้วยภาษีหลักๆ 3 ประเภท 

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคผ่านการซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากธุรกิจต่างๆ
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่มีการจัดเก็บจากธุรกิจเฉพาะอย่าง เช่น ธนาคาร ประกันชีวิต โรงรับจำนำ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
  • อากรแสตมป์ คือ ภาษีที่มีการจัดเก็บในรูปแบบของสแตมป์ เมื่อมีการจัดทำสัญญาหรือเอกสารหลักฐาน ด้วยอัตราที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทที่กฏหมายได้กำหนดไว้

 

3. มองหาผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาดี ๆ

เพราะเรื่องของภาษีอาจมีรายละเอียดที่ซับซ้อน การมองหาที่ปรึกษาที่ปรึกษาทางกฎหมาย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีสักคน อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้การทำธุรกิจของเราง่ายขึ้นกว่าเก่า

 

4. วางแผนเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย

การวางแผนภาษีที่ดีที่สุด คือ การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น เราสามารถเลือกใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ค่าใช้จ่ายบางรายการที่สามารถหักได้ 2 เท่า เป็นต้น

 

5. อย่าอายที่จะโทรหาสรรพากร

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่เข้าเรื่องเกี่ยวกับภาษี หรือมีปัญหาที่ต้องการคำตอบที่ชัดเจน สามารถสอบถามจากทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตที่กิจการของเราตั้งอยู่ เพื่อป้องกันปัญหาการตีความผิดๆ ทางด้านกฎหมาย ซึ่งอาจจะกลายเป็นปัญหาในอนาคตได้ หรือในเบื้องต้นสามารถติดต่อและดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้ก่อนที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หรือโทร 1161

 


Published on 15 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ