
หัวข้อ : Line My Shop ช่องทางใหม่น่าใช้สำหรับธุรกิจคุณ
อ่านเพิ่มเติม :https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/line-my-shop-for-business.html
ไลน์ (Line) เป็นอีกหนึ่งช่องทางขายของออนไลน์ยอดฮิต ด้วยจุดเด่นที่ใช้งานง่าย และใช้เงินในการลงทุนไม่มาก ตอนนี้ไลน์มีช่องทางขยายฐานการขายที่น่าสนใจอย่าง ไลน์ มายช้อป (MyShop หรือ LINE OA Plus E-Commerce) ที่จะมาช่วยในเรื่องของการสร้างฐานลูกค้าได้เพิ่ม แถมลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบรับที่เข้าถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่ม
ไลน์ มายช้อป คืออะไร
- เป็นระบบจัดการร้านค้าอย่างสมบูรณ์แบบจากไลน์ ให้คุณสามารถบริหารร้านค้าได้ง่ายขึ้น
- ก่อนใช้ต้องเชื่อมต่อกับไลน์ออฟฟิเชียล (LINE Official Account)
- มีฟีเจอร์มากมายที่ช่วยทำให้จบการขายได้ง่ายมากขึ้น เช่น มีระบบจัดการบิลรายการสั่งซื้อ ระบบการชำระเงินที่สะดวก มีระบบแจ้งเตือนให้ลูกค้ากรอกชื่อที่อยู่ ชำระเงิน และติดตามดูหมายเลขพัสดุ
รวมฟีเจอร์ที่คนอยากขายของต้องถูกใจ
ไลน์ มายช้อป ถูกออกแบบมาให้คนทำธุรกิจได้มีช่องทางการขายที่สะดวกมากขึ้น เพิ่มโอกาสของการปิดการขาย จึงมาพร้อมกับฟีเจอร์เด่น ๆ เช่น
- สามารถสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว โดยใช้หน้าเว็บไซต์สำเร็จรูปที่สามารถกดเข้าดูได้ทันทีพร้อมแชร์ลงบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้
- มีระบบแชทที่เชื่อมต่อกับ ไลน์ออฟฟิเชียล (LINE Official Account) ของร้านคุณด้วย
- มีระบบช่วยจดจำข้อมูลของลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ต้องสร้างบัญชีหรือกรอกที่อยู่ใหม่เมื่อต้องการซื้อสินค้าจากร้านค้าคุณ
- สามารถจัดโปรโมชั่นร่วมกับ ไลน์พอยต์ (LINE POINTS) ได้ เพื่อกระตุ้นยอดขาย
- รับชำระเงินได้ทั้งบัตรเครดิตและอี-วอลเล็ต ผ่าน แรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LINE Pay) หรือจะตั้งค่าเป็นการโอนเงิน/เก็บเงินปลายทางให้เงินเข้าร้านโดยตรงก็ได้
ธุรกิจใดบ้างที่เหมาะสำหรับการทำไลน์ มายช้อป
ทุกธุรกิจสามารถเข้ามาทำการตลาดผ่านทางช่องทางนี้ได้ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีควรเข้ามาทดลองใช้ช่องทางนี้มากที่สุด เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าบนไลน์ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เริ่มอย่างไรถ้าจะลองใช้ไลน์ มายช้อป
- อันดับแรกต้องมี บัญชี LINE Official Account ให้เรียบร้อยก่อน
- จากนั้นให้คุณเข้าไปที่เว็บ https://linemyshop.com/
- กดที่ปุ่ม “เปิดร้านค้าฟรีเลย” จากนั้น กดปุ่ม “เริ่มติดตั้ง LINE MyShop”
- หน้าจอจะขึ้นหน้าแสดง Official Account ทั้งหมดของเรา เลือกว่าจะให้ Official Account ไหนเปิดใช้งาน LINE MyShop
- ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเปิดใช้งาน สามารถเข้าไปทดลองใช้กันได้เลย
สำหรับใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ที่ https://linemyshop.com/
Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : เจาะ 3 ตัวช่วยเรื่องกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม SME
อ่านเพิ่มเติม :https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/hotel-law1
สำหรับธุรกิจบูทีคโฮเต็ล เกสต์เฮ้าส์ โฮสเทล รีสอร์ท โฮมสเตย์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ ฯลฯ ที่ดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กนั้น มีข้อกฎหมายสำคัญอะไรที่ควรรู้บ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้เลย
สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก ยังมีที่พักประเภทหนึ่งที่สามารถขอยกเว้นใบขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ ซึ่งก็คือสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม
คือ สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้องและมีจำนวนผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน โดยเปิดให้พักเพื่อเป็นรายได้เสริม ซึ่งผู้ประกอบการลักษณะนี้ที่มีผู้ประกอบการที่มีรายได้หลักสามารถไปติดต่อนายทะเบียนแจ้งขอเป็น “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม” ก็สามารถประกอบกิจการได้โดยไม่ต้องใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
สิทธิในการประกอบธุรกิจนี้จะติดตัวคนแจ้งไปตลอดไม่มีวันหมดอายุ ตัวอย่างการขออนุญาตลักษณะนี้ เช่น โฮสเทลขนาดเล็กในกรุงเทพฯ ที่ใช้พื้นที่ส่วนล่างขายของ โดยแจ้งการขายของเป็นรายได้หลัก บริการที่พักเป็นรายได้เสริม เป็นต้น
ธุรกิจโรงแรมยังเกี่ยวข้องกับพรบ.ควบคุมอาคารและพรบ.ผังเมืองอีกด้วย โดยเกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 3 มาตรา ได้แก่
สรุปคือ
- ตั้งแต่ 12 มิถุนายน 2562 – 18 สิงหาคม 2564 อนุญาตให้นำอาคารเก่าที่มีอยู่ก่อน 19 สิงหาคม 2559 (ใช้เอกสารที่ออกโดยราชการเช่นทะเบียนบ้าน ใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ เป็นหลักฐาน) เปลี่ยนมาประกอบธุรกิจโรงแรมประเภทที่ 1 (บริการเฉพาะห้องพัก) หรือประเภทที่ 2 (บริการห้องพักและห้องอาหาร) อย่างถูกกฎหมาย สามารถใช้ละเว้นจากการบังคับของพ.ร.บ.ผังเมืองทุกฉบับ
- ผู้ประกอบการควรตรวจดูอาคารและปรับปรุงความปลอดภัยด้านอัคคีภัยให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2540) และติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 200 เมตร ทุกระยะไม่เกิน 30 เมตร แต่ไม่น้อยกว่า 2 เครื่อง และไปยื่นเอกสารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตรวจสอบและออกใบเว้นโทษจนถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2564
Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : 3 เรื่องภาษีน่ารู้สำหรับคนทำธุรกิจ E-Commerce
อ่านเพิ่มเติม : https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/tax-tips-e-commerce.html
ทุกวันนี้ผู้ประกอบการในหลาย ๆ ธุรกิจหันมาเปิดบริการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น สำหรับคนที่กำลังทำหรือสนใจที่จะทำธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ มักจะมีข้อสงสัยในเรื่องราวเกี่ยวกับภาษีมากมาย ว่าต้องเสียแบบไหนและอย่างไรบ้าง สามารถแยกเรื่องของการเสียภาษีออกเป็นคำถาม 3 ข้อดังนี้
คำตอบคือ ต้องเสียแน่นอน (ข้อกฎหมายเพิ่มเติม : มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร)
ประเภทของภาษีที่ต้องเสียนั้นให้ตรวจสอบจากรูปแบบของธุรกิจและรายได้ที่ได้รับ
รูปแบบธุรกิจ
หมายถึง ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเรานั้นอยู่ในรูปแบบของ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล
บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ และเงินได้พึงประเมิน ตามวิธีการดังต่อไปนี้
วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ
0 - 300,000 ร้อยละ 5*
300,001 - 500,000 ร้อยละ 10
500,001 - 750,000 ร้อยละ 15
750,001 - 1,000,000 ร้อยละ 20
1,000,001 - 2,000,000 ร้อยละ 25
2,000,000 - 5,000,000 ร้อยละ 30
เกิน 5,000,000 ร้อยละ 35
นิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ที่จดทะเบียนในประเทศไทย) จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยคำนวณตามเกณฑ์ที่เรียกว่า “กำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร” (ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฏากร) ซึ่งสำหรับการเลือกเสียภาษีตามรูปแบบนี้นั้น จะมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนในการคำนวณกำไรสุทธิ แนะนำให้หาผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีเป็นผู้ดูแลจะสะดวกกว่า
อัตราภาษีกิจการ SMEs
อัตราภาษีกิจการ SMEs (จดแจ้ง พรก.)
รายได้
คือ จำนวนของรายได้ เพราะมีภาษีอีกประเภทหนึ่งที่ต้องเสียนอกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นั่นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยเมื่อไรก็ตามที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเรามีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงมีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษีอีกด้วย
หากไม่เสียภาษี จะถือว่าธุรกิจของเราทำผิดกฎหมาย และต้องมีการรับโทษ โดยการเสียค่าปรับและดอกเบี้ย ที่เรียกว่า “เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม” ที่จะต้องเสียในอัตราแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของภาษี
Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : 5 วิธีลดต้นทุนที่ช่วยให้ธุรกิจผ่านวิกฤติได้ทุกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม : www.bangkokbanksme.com/en/how-to-reduce-costs-that-help-businesses-through-crisis
หลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตต่างๆ อย่างเช่น COVID-19 แม้ธุรกิจจะเริ่มฟื้นคืนกลับมา แต่การบริหารต้นทุนที่เท่าเดิมอาจไม่ใช่ทางออกอีกต่อไป เพราะพฤติกรรมการใช้จ่ายและความต้องการของคนไม่เท่าเดิม ผู้ประกอบการจึงควรหาวิธีลดต้นทุนการผลิต ให้เหมาะสมกับสถานการณ์แบบนี้ และนี่คือ 5 วิธีที่ช่วยให้บริหารจัดการธุรกิจดีขึ้นกว่าเดิม
การใช้สินค้ามือ 2 สำหรับธุรกิจแล้วนับเป็นการลดต้นทุนที่ดีมาก ซึ่งในบางอุตสาหกรรมหรือบางธุรกิจเราไม่จำเป็นต้องใช้สินค้ามือ 1 อย่างเดียวเสมอไป ซึ่งอาจทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากกว่า 30-40% สุดท้ายยิ่งประหยัดต้นทุนได้มากเท่าไหร่ ยิ่งหมายถึงกำไรที่เพิ่มมากขึ้น
ถึงแม้ว่ายิ่งมีคนช่วยมากยิ่งแบ่งเบาภาระคุณได้ก็จริง แต่หากอยากลดต้นทุนต้องลงมือทำด้วยตัวเองให้มากที่สุดก่อน ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังช่วยเพิ่มทักษะของเราได้อีกด้วย เช่น เรื่องของการตลาดออนไลน์ คุณสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องจ้างคนอื่น
หากออฟฟิศของคุณมีค่าเช่าที่แพง การย้ายออฟฟิศเป็นการลดต้นทุนต่อเดือนได้หลายพันบาท แม้จะดูเป็นเรื่องใหญ่ แต่หากทำเลของคุณมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ คุณอาจคุยกับทีมให้ดี เพื่อหาสถานที่ที่เป็นจุดศูนย์กลาง หรือสะดวกกับทุกฝ่าย มันจะช่วยประหยัดได้มากกว่าเดิมแน่นอน
หลายคนจะไม่กล้าที่จะซื้อเทคโนโลยีมาใช้งาน เพราะรู้สึกว่าราคาสูง แต่หากเทคโนโลยีนั้นสามารถตอบสนองแทนคนได้เป็นอย่างดี ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับทีมหรือคุณได้ ก็ควรค่าแก่การลงทุน เทคโนโลยีสมัยนี้มีให้เลือกใช้งานได้ในราคาถูกมากกว่าที่คุณคิด
หลายคนอาจมองว่าการลาออกเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ แต่นั่นหมายถึงต้นทุนของคุณจะเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่รู้ตัว เช่น
Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : 3 ข้อที่ต้องทำ ถ้าจะปรับธุรกิจขึ้นออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม :www.smebiznews.com/2020/3-ข้อที่ต้องปรับ
ผู้ประกอบการที่มีเคยมีหน้าร้าน แต่ตอนนี้ปิดไปแล้ว หรือผู้ประกอบการที่กำลังสนใจปรับธุรกิจเพื่อเพิ่มรายได้ โดยอยากจะเริ่มต้นทำออนไลน์บ้าง จะต้องเริ่มอย่างไร เรามี 3 แง่คิดดี ๆ มาฝากให้เป็นไอเดีย
- เปิดพื้นที่ส่วนตัวเป็นสาธารณะ เรื่องแรกที่ต้องปรับจูนก็คือ ทัศนคติเกี่ยวกับการเปิดเผยตัวตน ลองเปิดเผยตัวตนต่อสาธารณชนเพิ่มมากขึ้น เปิดรับเพื่อนใหม่ที่อาจไม่เคยรู้จักมาก่อน
- ไม่รอลูกค้าทักเข้ามาซื้อเหมือนออฟไลน์ ต้องทำเชิงรุก เช่น หากเราโพสต์ข้อมูลสินค้าหรือบริการเราลงไปในสื่อโซเชียลแล้ว หากมีคนกดไลก์ ลองเข้าไปทักทายพูดคุย ไม่ต้องรอให้คนทักมาถามราคา
- ตอบไวรวดเร็ว หรือใช้แชทบอท หรือตั้งค่าตอบอัตโนมัติ เพราะตอบช้าแค่ไม่กี่นาที หรือข้ามไปเป็นวัน ๆ ว่าที่ลูกค้าอาจหายไปซื้อกับคนอื่นหมด
- มีการเชื่อมการทำงานระหว่างโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มอื่น ๆ
- ทำงานหนักกว่าออฟไลน์ เช่น เพิ่มเพื่อน ทำโพสต์ ส่งข้อมูล ปิดการขาย
- ลงทุนบ้าง เช่น ถ้าต้องการหาลูกค้าใหม่ ๆ เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ก็ต้องมีงบประมาณในการซื้อโฆษณาเฟซบุ๊ค
- กฎของจำนวน มีความถี่ ความต่อเนื่อง ทำทุกวัน
ก่อนจะเลือกใช้ต้องทำความรู้จัก เรียนรู้วิธีใช้งานแต่ละชนิด ซึ่งแต่ะละแพลตฟอร์มก็เหมาะกับประเภทธุรกิจที่แตกต่างไป ขึ้นอยู่ประเภทธุรกิจของคุณ และไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องใช้กี่แพลตฟอร์ม แต่ละโซเชียลมีเดียก็มีจุดเด่นต่างกัน จะใช้หลายโซเชียลมีเดียเพื่อกระจายความเสี่ยงก็ได้ ในบ้านเราที่เป็นที่นิยมในการทำธุรกิจออนไลน์ก็คือโซเชียลมีเดียเหล่านี้
มีหลายเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องฝึก เรียนรู้ในการทำ หรือถ้ามีงบมาก ๆ สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญมาช่วยทำให้ก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าให้ดีหากธุรกิจไม่ได้ใหญ่มากหรือมีสินค้าหลากหลาย เจ้าของธุรกิจมาลงมือเรียนรู้ทำเอง หรือไปเข้าคอร์สเรียนเพื่อจะได้ทำเองก็จะยิ่งดี
เรื่องที่ควรรู้เพื่อทำเองเป็น
Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย