ธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพเติบโตสวนกระแส หลัง COVID-19

หัวข้อ : หลังโควิด-19 ตลาดอาหารเสริมพุ่งกว่า 2 หมื่นล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/supplement-food-after-growth-covid-19

 

 

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้างวิถีชีวิตใหม่ทางด้านสุขภาพให้แก่คนไทย หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่สม่ำเสมอกันมากขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มูลค่าทางการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมปีนี้เติบโตแบบก้าวกระโดด

จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่าคนไทย 45.39% ได้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายทั้งกลางแจ้งหรือในร่ม เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตลอดทั้งการรับประทานอาหารเสริมและวิตามิน รวมทั้งเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแขนงต่าง ๆ มากขึ้น 

แนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลจากบริษัทไอพีจี มีเดียแบรนด์ ประเทศไทย จำกัด ที่คาดการณ์ทิศทางใหม่จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงว่าในทุกวันนี้ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่กำลังเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ทำให้ต้องดูแลสุขภาพกันเป็นพิเศษมากกว่าแต่ก่อน 

 

สรุปเทรนด์รักสุขภาพที่เปลี่ยนไปจากเดิม

- กลุ่ม Gen Y และกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่กำลังซื้อสูง มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ทำให้ต้องดูแลสุขภาพกันเป็นพิเศษมากกว่าแต่ก่อน

- ข้อมูลทางการแพทย์ ระบุว่าการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่สม่ำเสมอ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันไวรัสได้ ส่งผลให้อาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายกลายเป็นที่ต้องการของผู้คนมากขึ้น

- แม้สถานการณ์ของโควิด-19 จะคลี่คลายลงแล้ว แต่คนทั่วโลกก็ยังคงหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติเก่า เช่น ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โรคจากยุง

- คนเริ่มใส่ใจกับอาหารการกินเป็นพิเศษ อาหารต้องคลีนมีความสะอาด ถูกสุขหลักอนามัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมากที่สุด

 

พฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็นวิถีชีวิตปกติใหม่ในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ตลาดอาหารเสริมพลอยได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย


Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

เอสเอ็มอีพัฒนาสินค้าอย่างไรให้โดนใจตลาดผู้หญิงที่เติบโตไม่หยุด

หัวข้อ : Hersumers สายเปย์แห่งวงการนักชอป 
อ่านเพิ่มเติม :https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Sep-2019.aspx

ผู้หญิง เรียกได้ว่าเป็น มหาอำนาจกำลังซื้อตัวจริงของโลก เพราะด้วยศักยภาพด้านการจับจ่ายของตลาดผู้หญิงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งผู้หญิงยังมีส่วนในการตัดสินใจซื้อถึง 78% แต่ใช่ว่าการทำตลาดให้โดนเหล่าสาว ๆ นักชอปจะง่ายไปซะหมด หากไม่รู้จักรู้ใจกันจริง ๆ ก็อาจกลายเป็นงานหินได้
แม้แต่แบรนด์ใหญ่อย่างไนกี้ยังมีการปรับตัว เพื่อให้รับความหลากหลายและเจาะตลาดของผู้หญิง อย่างผ้าคลุมศีรษะที่เอาไว้ใช้ในการเล่นกีฬา "โปร ฮิญาบ" ไปจนถึงหุ่นจำลองเสื้อผ้าตัวแทนของสาวพลัสไซส์ หรือกระทั่งสินค้าผู้ชายแมนๆ อย่างตลาดมอเตอร์ไซค์ก็ปรับตัวรับยุคนักบิดสาว เช่น การทำเกียร์ ให้เหมาะสมกับผู้หญิง

เพราะอะไร? ผู้หญิงถึงเป็นมหาอำนาจของตลาดยุคใหม่ 
ตลาดผู้หญิงมีทิศทางที่จะเติบโตไปได้เรื่อยๆ เนื่องจากผู้หญิงเป็นกำลังหลักในการตัดสินใจซื้อ และเป็นเพศที่ซื้อของโดยมีเรื่องของอารมณ์ (Emotional) เข้ามาร่วมด้วยค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นในโลกของออนไลน์หรือออฟไลน์ ผู้หญิงมักได้สินค้ามากกว่าที่ตั้งใจซื้อไว้ตั้งแต่แรก ในขณะที่ผู้ชายจะมีเป้าหมายว่าจะซื้ออะไรและพุ่งตรงไปยังสิ่งนั้นๆ

ในภาพรวมผู้หญิงมีส่วนในการตัดสินใจซื้อถึงประมาณ 78% ของตลาด โดยในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้จะเห็นว่า การแบ่งตลาดของผู้หญิง (Segmentation) ค่อนข้างจะละเอียด เช่น

- กลุ่มผู้หญิงโสด เป็นกลุ่มที่น่าจับตามอง เพราะมีการตัดสินใจซื้อที่ค่อนข้างง่ายกว่ากลุ่มอื่น ๆ และจะเป็นการซื้อเพื่อตัวเอง ลงทุนเพื่อตัวเอง

- กลุ่มผู้หญิงที่แต่งงานมีครอบครัว จะคิดมากขึ้น โดยจะนึกถึงคนในครอบครัวก่อนและคิดถึง

รายได้โดยรวมเป็นหลัก ทำให้ผู้หญิงกลุ่มนี้ค่อนข้างจะใช้เวลาในการศึกษาและตัดสินใจซื้อนานกว่า

 

เจาะพฤติกรรมลูกค้าผู้หญิง

- ผู้หญิงปัจจุบันใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อค่อนข้างสั้น ภายในเวลา 5 นาที หากเจอสินค้าที่ใช่ ตรงใจ ก็ยินดีที่จะจ่ายเลยในทันที

- ส่วนใหญ่ซื้อเพราะต้องการทันโลก ทันกระแส จึงเป็นที่มาของคำว่า “ของมันต้องมี”

- การตัดสินใจซื้อมีเรื่องของอารมณ์มาเกี่ยวข้องอย่างมาก ราคาไม่ใช่ประเด็นหลักของการตัดสินใจ ถึงแม้สินค้านั้น ๆ จะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นก็ตาม

- การจัดส่งที่สะดวกรวดเร็ว สั่งเช้าได้บ่าย ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้หญิงตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นไปอีก

 

ถึงไม่ใช่สินค้าสำหรับสาว ๆ แต่ขายผู้หญิงได้

ด้วยกระแสของตลาดผู้หญิงที่ค่อนข้างมาแรง ทำให้หลายแบรนด์ด์เริ่มทำสินค้าออกมาตอบโจทย์ผู้หญิงมากขึ้น แม้ไม่ใช่สินค้าที่ทำเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะก็ตาม เพราะผู้หญิงไม่ได้ใช้จ่ายไปกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ที่ทำมาเพื่อเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น แต่อาจจะซื้อสินค้าอื่น ๆ เพื่อคนใกล้ตัวอีกด้วย จึงเป็นโอกาสสำหรับทุกธุรกิจที่สามารถเจาะเข้าถึงตลาดกลุ่มนี้ เพียงแค่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ต้องสื่อสารอย่างชัดเจนว่าคุณกำลังสื่อสารอยู่กับลูกค้ากลุ่มผู้หญิงนั่นเอง

ตัวอย่างการทำตลาดเจาะกลุ่มผู้หญิง เช่น

- แบรนด์น้ำดื่ม เริ่มหันมาทำตลาดและสื่อสารกับผู้หญิงมากขึ้น เพราะเขาเห็นว่าจริง ๆ แล้วผู้หญิงเป็นคนตัดสินใจซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ต

- รองเท้าแตะผู้ชาย ก็มีการทำตลาดกับผู้หญิงเช่นกัน เพราะผู้ซื้อตัวจริงคือผู้หญิงที่ซื้อให้แฟนตัวเอง

- แบรนด์สบู่สำหรับผู้ชายในต่างประเทศ ก็พบว่า พฤติกรรมของผู้ชายจะเน้นอะไรง่าย ๆ มาก่อน คือใช้สบู่ของผู้หญิงในการอาบน้ำ ทางแบรนด์จึงออกมาทำการสื่อสารไปในทางที่ว่า อยากให้แฟนกลิ่นเหมือนตัวเองหรือทำไมไม่ใช้สบู่ที่สมกับการเป็นผู้ชายหน่อย ซึ่งจริง ๆ แล้ว นั่นคือการสื่อสารกับผู้หญิง เพราะแบรนด์รู้ว่าผู้หญิงเป็นผู้ซื้อตัวจริง

 

 

อยากพัฒนาสินค้าให้ตรงใจผู้หญิง เอสเอ็มอีควรรู้อะไร? สิ่งสำคัญคือ ต้องหาปัญหา (Pain Point) ของผู้หญิงที่มีอยู่ให้เจอ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าหรือบริการ ให้ออกมาตอบโจทย์ลูกค้าผู้หญิงมากที่สุด


Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ตอบแชทอย่างไร เอาใจลูกค้าออนไลน์ได้อยู่หมัด

หัวข้อ : Hersumers สายเปย์แห่งวงการนักชอป
อ่านเพิ่มเติม : www.kasikornbank.com/th/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Sep-2019


การรักษาฐานลูกค้าเท่ากับรักษากำไรของธุรกิจ โดยเฉพาะการสื่อสารกับผู้บริโภคในโลกโซเชียล อาจทำให้ธุรกิจของคุณรุ่งหรือร่วงได้ อย่างคาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว
สำหรับการทำธุรกิจออนไลน์สิ่งที่ต้องจัดหาให้ลูกค้าได้ก็คือ ความสะดวกสบาย สั่งง่าย ส่งไว ไม่ผิดสัญญาที่ให้ไว้ เอาใจด้วยโปรโมชั่น แต่อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัดคือ "การตอบสนองอย่างรวดเร็ว"

 

ยิ่งการแข่งขันสูงขึ้น ยิ่งต้องขยันหมั่นตอบสนองลูกค้าให้ไว ทั้งในส่วนของข้อความและรีวิว แต่เหนือความไวคือ “ความเข้าใจ” เพราะถ้าตอบไม่เคลีย หรือทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดอาจเกิดผลเสียแทนได้ หากคุณรู้จักรู้ใจลูกค้ามาก จะเป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจได้ใจลูกค้า พวกเขาก็ยินดีที่จะสนับสนุน แม้สินค้าหรือบริการของคุณจะมีราคาสูงกว่าคู่แข่งก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจยังสามารถเพิ่มสินค้าหมวดใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจอีกด้วย ซึ่งการเอาใจลูกค้าให้ติดใจแบรนด์คือ สูตรสำเร็จของธุรกิจระดับโลก สำหรับวิธีปฏิบัติที่ช่วยให้คุณมั่นใจว่ามาถูกทาง มีดังนี้

 

ตอบเมสเสจให้ไว เมื่อได้รับข้อความจากลูกค้า

ก่อนตอบต้องทราบให้แน่ชัดถึงความกังวลของลูกค้าเสียก่อน แล้วจึงตอบให้ชัดเจน เวลาในการตอบกลับไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง ยิ่งเร็ว ยิ่งดี เป็นเหตุว่าทำไมการใช้แชตบอตจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นในปัจจุบัน

ตัวอย่างการใช้แชตบอทง่าย ๆ เช่น การตั้งชุดคำถาม-ตอบที่พบบ่อย อย่าง ร้านอยู่ที่ไหนคุณก็ตั้งค่าให้แชตบอตส่งที่อยู่ และแผนที่กลับไปให้ลูกค้าได้ในทันที

 

ตอบทุกรีวิวด้วยความนอบน้อม และไม่โต้เถียง

ทำใจให้เย็นเข้าไว้ ไม่ว่ารีวิวของลูกค้าจะใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไร้ความจริงก็ตาม ต้องชี้แจงอย่างใจเย็น เพราะการตอบกลับรีวิวเชิงลบด้วยการโต้เถียงอย่างรุนแรงนั้นไม่เพียงแต่ทำให้คุณดูแย่  แต่ยังเสี่ยงต่อการได้รับคอมเมนต์เชิงลบจากบรรดานักรีวิวคนอื่น ๆ ตามมาอีก นอกจากนี้ีรีวิวต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของแบรนด์เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการจัดอันดับรายการธุรกิจใน กูเกิ้ล มาย บิสิเนส (Google My Business) ด้วย

ตัวอย่างการตอบรีวิวเชิงลบ เช่น ถ้าใครบางคนไม่ชอบบริการของคุณ ให้ลองค่อย ๆ ถามเหตุผลกลับไปว่า ทำไม? เกิดเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เขาไม่ประทับใจ? เพื่อที่คุณจะได้นำไปปรับปรุงในส่วนนั้นให้ดีขึ้น

การทำเช่นนี้ พวกเขาจะรู้สึกว่าธุรกิจได้ยินเสียงของเขา และคุณอาจจะได้เรียนรู้บางอย่างจากการสนทนาได้ ถ้าคุณสามารถแก้ปัญหาหรือคลายความกังวลของพวกเขาได้ มีโอกาสที่พวกเขาจะกลับไปแก้ไขข้อความรีวิวบางสิ่งที่เกินจริง ให้ดีขึ้นและมีความถูกต้องได้

 

สร้างเฟซบุ๊ก กรุ๊ป (Facebook Group)

การสร้างชุมชนออนไลน์ให้กับธุรกิจเป็นไอเดียที่สำคัญมาก คุณสามารถสร้างเฟซบุ๊ก กรุ๊ปให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือบริการกับคุณจริง ๆ ได้เข้ามาร่วม ให้สมาชิกของกรุ๊ปสามารถแลกเปลี่ยนความคิด คำถามกันได้ โดยเริ่มต้นจัดการได้ ดังนี้

- กำหนดกฎ ข้อปฏิบัติของกรุ๊ป พื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย

- จัดให้มีผู้ดูแล (Moderator) จำนวนหนึ่ง เพื่อดูแลความเรียบร้อยของกรุ๊ป

- ถ้าเปิดกรุ๊ปเป็นแบบสาธารณะ (Public Group) แนะนำให้ตั้งคำถามก่อนเข้าร่วม เพื่อป้องกันด้านต่าง ๆ

 

เป็นมิตร เคารพ และพร้อมช่วยเหลือ 

นึกไว้เสมอว่า ทุกครั้งที่คุณโต้ตอบกับลูกค้าออนไลน์ ให้ใช้ข้อความต้อนรับที่อบอุ่น จริงใจเสมอ สิ่งสำคัญคือ  ต้องให้ความเป็นมิตรที่พร้อมช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แทนการยัดเยียดสินค้า บริการ หรือใช้ข้อความเชิงธุรกิจ

หากใช้แชทบอตช่วยตอบคำถาม ควรตั้งค่าให้บอตโต้ตอบด้วยข้อความต้อนรับที่อบอุ่นเช่นเดียวกัน และพยายามตั้งค่าให้บอตโต้ตอบได้ใกล้เคียงมนุษย์ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

 



Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

Line My Shop ช่องทางใหม่ขยายธุรกิจ

หัวข้อ : Line My Shop ช่องทางใหม่น่าใช้สำหรับธุรกิจคุณ
อ่านเพิ่มเติม :https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/line-my-shop-for-business.html

 ไลน์ (Line) เป็นอีกหนึ่งช่องทางขายของออนไลน์ยอดฮิต ด้วยจุดเด่นที่ใช้งานง่าย และใช้เงินในการลงทุนไม่มาก ตอนนี้ไลน์มีช่องทางขยายฐานการขายที่น่าสนใจอย่าง ไลน์ มายช้อป (MyShop หรือ LINE OA Plus E-Commerce) ที่จะมาช่วยในเรื่องของการสร้างฐานลูกค้าได้เพิ่ม แถมลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบรับที่เข้าถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่ม  

ไลน์ มายช้อป คืออะไร

- เป็นระบบจัดการร้านค้าอย่างสมบูรณ์แบบจากไลน์ ให้คุณสามารถบริหารร้านค้าได้ง่ายขึ้น

- ก่อนใช้ต้องเชื่อมต่อกับไลน์ออฟฟิเชียล (LINE Official Account) 

- มีฟีเจอร์มากมายที่ช่วยทำให้จบการขายได้ง่ายมากขึ้น เช่น มีระบบจัดการบิลรายการสั่งซื้อ ระบบการชำระเงินที่สะดวก มีระบบแจ้งเตือนให้ลูกค้ากรอกชื่อที่อยู่ ชำระเงิน และติดตามดูหมายเลขพัสดุ

รวมฟีเจอร์ที่คนอยากขายของต้องถูกใจ

ไลน์ มายช้อป ถูกออกแบบมาให้คนทำธุรกิจได้มีช่องทางการขายที่สะดวกมากขึ้น เพิ่มโอกาสของการปิดการขาย จึงมาพร้อมกับฟีเจอร์เด่น ๆ เช่น

- สามารถสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว โดยใช้หน้าเว็บไซต์สำเร็จรูปที่สามารถกดเข้าดูได้ทันทีพร้อมแชร์ลงบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้

- มีระบบแชทที่เชื่อมต่อกับ ไลน์ออฟฟิเชียล (LINE Official Account) ของร้านคุณด้วย

- มีระบบช่วยจดจำข้อมูลของลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ต้องสร้างบัญชีหรือกรอกที่อยู่ใหม่เมื่อต้องการซื้อสินค้าจากร้านค้าคุณ

- สามารถจัดโปรโมชั่นร่วมกับ ไลน์พอยต์ (LINE POINTS) ได้ เพื่อกระตุ้นยอดขาย

- รับชำระเงินได้ทั้งบัตรเครดิตและอี-วอลเล็ต ผ่าน แรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LINE Pay) หรือจะตั้งค่าเป็นการโอนเงิน/เก็บเงินปลายทางให้เงินเข้าร้านโดยตรงก็ได้

ธุรกิจใดบ้างที่เหมาะสำหรับการทำไลน์ มายช้อป

ทุกธุรกิจสามารถเข้ามาทำการตลาดผ่านทางช่องทางนี้ได้ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีควรเข้ามาทดลองใช้ช่องทางนี้มากที่สุด เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าบนไลน์ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เริ่มอย่างไรถ้าจะลองใช้ไลน์ มายช้อป

- อันดับแรกต้องมี บัญชี LINE Official Account ให้เรียบร้อยก่อน

- จากนั้นให้คุณเข้าไปที่เว็บ https://linemyshop.com/

- กดที่ปุ่ม “เปิดร้านค้าฟรีเลย” จากนั้น กดปุ่ม “เริ่มติดตั้ง LINE MyShop”

- หน้าจอจะขึ้นหน้าแสดง Official Account ทั้งหมดของเรา เลือกว่าจะให้ Official Account ไหนเปิดใช้งาน LINE MyShop

- ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเปิดใช้งาน สามารถเข้าไปทดลองใช้กันได้เลย

สำหรับใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ที่ https://linemyshop.com/


Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย


บทความแนะนำ

3 ตัวช่วยเอสเอ็มอีเรื่องกฎหมายสำหรับธุรกิจโรงแรม

หัวข้อ : เจาะ 3 ตัวช่วยเรื่องกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม SME
อ่านเพิ่มเติม :https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/hotel-law1

 

สำหรับธุรกิจบูทีคโฮเต็ล เกสต์เฮ้าส์ โฮสเทล รีสอร์ท โฮมสเตย์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ ฯลฯ ที่ดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กนั้น มีข้อกฎหมายสำคัญอะไรที่ควรรู้บ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้เลย

 

ทำความรู้จักกฎหมายเกี่ยวกับโรงแรม

  • พรบ. โรงแรม ได้ระบุไว้ว่า โรงแรมคือ สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นโดยมีค่าตอบแทน โดยคิดค่าบริการต่ำกว่ารายเดือน 
  • การให้บริการที่พักไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด หากมีการคิดค่าบริการต่ำกว่ารายเดือน ล้วนแต่อยู่ภายใต้พรบ. โรงแรมฉบับนี้ทั้งสิ้น และต้องได้รับการอนุญาตประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 
  • ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมจากนายทะเบียนโรงแรม ได้แก่ อธิบดีกรมการปกครองหากโรงแรมตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่จังหวังต่างๆ หากไม่มีใบอนุญาตจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท (ม.59)

สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก ยังมีที่พักประเภทหนึ่งที่สามารถขอยกเว้นใบขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ ซึ่งก็คือสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม


สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม

คือ สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้องและมีจำนวนผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน โดยเปิดให้พักเพื่อเป็นรายได้เสริม ซึ่งผู้ประกอบการลักษณะนี้ที่มีผู้ประกอบการที่มีรายได้หลักสามารถไปติดต่อนายทะเบียนแจ้งขอเป็น “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม” ก็สามารถประกอบกิจการได้โดยไม่ต้องใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม

สิทธิในการประกอบธุรกิจนี้จะติดตัวคนแจ้งไปตลอดไม่มีวันหมดอายุ ตัวอย่างการขออนุญาตลักษณะนี้ เช่น โฮสเทลขนาดเล็กในกรุงเทพฯ ที่ใช้พื้นที่ส่วนล่างขายของ โดยแจ้งการขายของเป็นรายได้หลัก บริการที่พักเป็นรายได้เสริม เป็นต้น


ธุรกิจโรงแรมและพรบ.ควบคุมอาคาร และพรบ.ผังเมือง

ธุรกิจโรงแรมยังเกี่ยวข้องกับพรบ.ควบคุมอาคารและพรบ.ผังเมืองอีกด้วย โดยเกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  3 มาตรา ได้แก่

  • มาตรา 21 : ห้ามมิให้ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ
  • มาตรา 32 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยยังไม่ได้รับใบรับรองก่อสร้างอาคาร หรือใบอ.6 ซึ่งโรงแรมก็เป็นหนึ่งในอาคารประเภทควบคุมการใช้ เมื่อก่อสร้าง/ดัดแปลงเสร็จต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจรับรองการก่อสร้าง/ดัดแปลง ออกใบอ.6 ก่อนเปิดการใช้อาคาร
  • มาตรา 33  ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งไม่เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารดังกล่าวเพื่อกิจการตามมาตรา 32  (เช่นโรงแรม) เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เรียกว่าใบอ.5 และบังคับแก่การเปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ด้วย

สรุปคือ

  • ถ้าสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคารใหม่ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่อออกใบอ.6 ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจ - ถ้ามีอาคารเดิมอยู่แล้ว แต่ไม่เคยใช้เป็นโรงแรม ต้องแจ้งขอใบอ. 5 เพื่อเปลี่ยนการใช้งานมาประกอบธุรกิจโรงแรม
  • ใบอ.5/อ.6 นี้ เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
  • ถ้าฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมอาคารทั้ง 3 มาตรานี้ ก็มีโทษอาญาปรับ/จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ

7 ขั้นตอนสู่การได้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม

  1. กรรมสิทธิ์ในที่ดิน : ต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใช้พื้นที่ โดยมีเอกสารเช่น โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๑), แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) และหนังสือยินยอมให้ก่อสร้าง/ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นต้น
  2. ตรวจสอบผังเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการห้ามก่อสร้างโรงแรม ในพื้นที่ที่จะประกอบกิจการ : ขณะนี้มีคำสั่ง คสช. ที่ 6/2562 เป็นตัวช่วยสำหรับอาคารเก่าที่มีอยู่ก่อน19 สิงหาคม 2559 ไม่ถูกบังคับใช้กฎหมายผังเมืองใดๆ ซึ่งตัวช่วยนี้จะสิ้นสุด 18 สิงหาคม 2564
  3. ตรวจสอบกฎหมายสิ่งแวดล้อม ว่าเข้าข่ายต้อทำ EIA หรือ IEE ก่อนการขอนุญาตอื่น ๆ หรือไม่
  4. พิจารณาสถานที่ตั้งตาม พ.ร.บ.โรงแรม
  5. ดำเนินการติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอ.1 อนุญาตให้ดัดแปลงอาคาร
  6. เจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตรวจสอบอาคาร : ถ้าระบุในใบอ.1 ระบุว่าเป็นอาคารประเภทโรงแรม เมื่อดัดแปลงเสร็จแล้วติดต่อให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตรวจสอบอาคาร ออกใบอ.6 / ถ้าใบอ.1 ระบุเป็นอาคารประเภทอื่นที่ไม่ใช่โรงแรม ติดต่อพนักงานท้องถิ่น ออกใบอ.5 อนุญาตให้เปลี่ยนการใช้เป็นอาคารโรงแรม
  7. นำใบอ.5 หรือใบอ. 6 ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม

สองกฎหมายตัวช่วยโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็ก

- ตั้งแต่ 12 มิถุนายน 2562 – 18 สิงหาคม 2564 อนุญาตให้นำอาคารเก่าที่มีอยู่ก่อน 19 สิงหาคม 2559 (ใช้เอกสารที่ออกโดยราชการเช่นทะเบียนบ้าน ใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ เป็นหลักฐาน) เปลี่ยนมาประกอบธุรกิจโรงแรมประเภทที่ 1 (บริการเฉพาะห้องพัก) หรือประเภทที่ 2 (บริการห้องพักและห้องอาหาร) อย่างถูกกฎหมาย สามารถใช้ละเว้นจากการบังคับของพ.ร.บ.ผังเมืองทุกฉบับ

- ผู้ประกอบการควรตรวจดูอาคารและปรับปรุงความปลอดภัยด้านอัคคีภัยให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2540) และติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 200 เมตร ทุกระยะไม่เกิน 30 เมตร แต่ไม่น้อยกว่า 2 เครื่อง และไปยื่นเอกสารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมาตรวจสอบและออกใบเว้นโทษจนถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2564

 


Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ