พิชิตรายได้ธุรกิจอาหาร จากตลาดออร์แกนิก

หัวข้อ : วารสาร K Sme Inspried นวัตกรรมนำความล้ำ ทำให้ชีวิตง่าย ขยายโอกาสธุรกิจ 
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Sep-2018.aspx

 

 

วิถีชีวิตผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจกับสุขภาพและอาหารการกินที่ดีมากขึ้น ทำให้มูลค่าสินค้าออร์แกนิกเฉพาะในไทยสูงถึงเกือบ 3 พันล้านบาท และมีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  นอกจากนี้ ภายใต้นโยบายสนับสนุนของภาครัฐที่ส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เช่น 

  • ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2560-2564 
  • อุตสาหกรรมในอนาคตกลุ่ม S-Curve เช่น อุตสาหกรรมเกษตร-เทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 

น่าจะทำให้อุปสงค์และอุปทานตลาดออร์แกนิกในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

 


 

5 ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีบทบาทในตลาดออร์แกนิก

นอกเหนือจากสินค้าออร์แกนิกรูปแบบเดิม ๆ ที่วางจำหน่ายในตลาดแล้ว มีการคาดการณ์ว่า กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิกที่มาพร้อมนวัตกรรมและตอบโจทย์เทรนด์การบริโภคหรือการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามามีบทบาทในตลาดออร์แกนิกมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มต่อไปนี้

  1. กลุ่มอาหารออร์แกนิกแปรรูปขั้นสูง เช่น กลุ่มซูเปอร์ฟู้ด, กลุ่มอาหารปราศจากสารกันบูด/กลูเตน/สารแต่งสี และพวกผงสกัดจากพืช
  2. อาหารออร์แกนิกเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารสำหรับเด็ก ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ (เช่น นมออร์แกนิกแคลอรีต่ำ)
  3. อาหารเสริมและวิตามิน เช่น สารสกัดจากพืชออร์แกนิกที่ช่วยบำรุงร่างกายและความงาม
  4. เครื่องดื่มออร์แกนิก เช่น กลุ่มเครื่องดื่มที่เติมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม
  5. อาหารออร์แกนิกพร้อมรับประทาน เช่น ข้าวออร์แกนิกฟรีซพร้อมอุ่น สแน็กบาร์จากธัญพืชออร์แกนิก อาหารพร้อมรับประทานออร์แกนิก

 


 

3 กลุ่มเป้าหมายสำคัญของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก

  1. กลุ่มคนรุ่นใหม่ (Millennial) มีกว่า 20 ล้านคน พฤติกรรมที่น่าสนใจของกลุ่มนี้คือ
  • ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงหันมาเอาใจใส่สุขภาพตนเองและคนในครอบครัว
  • เข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว ตัดสินใจซื้อง่าย
  • ชอบจับจ่ายผ่านช่องทางดิจิทัล
  • สนใจติดตามผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ รวมถึงการใช้ชีวิต ผ่านโซเชียลมีเดีย และนำมาปรับใช้ในชีวิต
  1. กลุ่มผู้สูงอายุ (Aging-Society) จำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี พ.ศ.2561เป็น 13% ในปี พ.ศ.2563 ทำให้ประชากรกลุ่มนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • ผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะปานกลางขึ้นไปและมีกำลังซื้อสูง
  • มีลูกหลานดูแลผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
  • ปัจจุบันจะเริ่มเห็นมีการใช้โซเชียลมีเดียด้วยตัวเองมากขึ้น เพื่อการสื่อสารหาข้อมูลและสั่งซื้อสินค้า
  1. กลุ่มผู้ป่วย ผู้คนในปัจจุบันเผชิญกับความเครียดจากการทำงานและการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสังคมเมือง มีการสะสมสารพิษในร่างกายจากภาวะแวดล้อม จึงต้องการอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

 


 

3 ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิก

1. ราคาจับต้องได้-ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • มองหาสินค้าที่ดีกับสุขภาพ แต่ต้องเหมาะสมกับราคา
  • มักซื้อสินค้าจากการบอกต่อของคนใกล้ตัว
  • ชอบทดลอง ดังนั้นควรมีขนาดเล็ก ราคาไม่สูง ถ้าดีจะกลับมาซื้อซ้ำ

กลยุทธ์ทางการตลาด

  • ตั้งราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
  • สื่อสารผ่านคนดังทางโซเซียลมีเดีย
  • ต้องหาซื้อได้ง่ายและมีขนาดทดลอง

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

  • วัยรุ่น-วัยทำงาน
  • กลุ่มแม่บ้านที่จับจ่ายของเข้าบ้าน

สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ

  • ข้าวออร์แกนิกประเภทต่างๆบรรจุถุง
  • ข้าว+อาหารพร้อมรับประทานออร์แกนิกแบบฟรีซพร้อมอุ่น
  • กลุ่มอาหารเช้า เช่น ซีเรียล สแน็กบาร์ธัญพืช
  • เครื่องดื่มออร์แกนิก (น้ำนมข้าว นมถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว)
  • ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ เพื่อความงามและการรักษาโรค ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต เช่น วิตามิน/อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ร้านอาหารและผู้ให้บริการเกี่ยวกับออร์แกนิก ทั้งที่มีหน้าร้านและบริการออนไลน์/ส่งเดลิเวอรี

 

2. เข้าถึงไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • นิยมใช้สมาร์ทโฟนสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
  • ทำอาหารเองน้อยลง รับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น
  • เลือกสินค้าจากคุณภาพ ความสะดวกสบายและดีต่อสุขภาพ

กลยุทธ์ทางการตลาด

  • สื่อสารผ่านคนดังทางโซเซียลมีเดีย
  • สินค้าต้องมีความหลากหลาย แปลกใหม่ มีมาตรฐาน และนวัตกรรม

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

  • วัยรุ่น-วัยทำงาน
  • กลุ่มคนเมืองรายได้ปานกลางขึ้นไป

สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ

  • ข้าวออร์แกนิกประเภทต่างๆบรรจุถุง
  • ข้าว+อาหารพร้อมรับประทานออร์แกนิกแบบฟรีซพร้อมอุ่น
  • กลุ่มอาหารเช้า เช่น ซีเรียล สแน็กบาร์ธัญพืช
  • เครื่องดื่มออร์แกนิก (น้ำนมข้าว นมถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว)
  • ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ เพื่อความงามและการรักษาโรค ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต เช่น วิตามิน/อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ร้านอาหารและผู้ให้บริการเกี่ยวกับออร์แกนิก ทั้งที่มีหน้าร้านและบริการออนไลน์/ส่งเดลิเวอรี

 

3. มุ่งเน้นคุณภาพความปลอดภัยด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ให้คุณค่าเฉพาะ (Functional Food Product)

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • ปัจจัยด้านราคาเป็นรองเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพ
  • มักหาข้อมูลจากคนใกล้ตัว และสื่อต่าง ๆ
  • คนซื้อส่วนใหญ่เป็นพ่อแม่ หรือลูกหลานของคนในครอบครัว
  • ให้ความสำคัญกับใบรับรองมาตรฐานระดับสากล

กลยุทธ์ทางการตลาด

  • สินค้าต้องมีความหลากหลาย แปลกใหม่ มีมาตรฐาน และนวัตกรรม
  • มีใบรับรองมาตรฐานสินค้า
  • ให้ข้อมูลสินค้าเชิงลึกกับลูกค้าได้
  • จำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

  • กลุ่มครอบครัวที่มีเด็กเล็ก-ผู้ป่วย-ผู้สูงอายุ
  • กลุ่มนักท่องเที่ยว
  • กลุ่ม Expat และครอบครัว

สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ

  • ข้าวออร์แกนิกน้ำตาลต่ำ
  • กลุ่มอาหารซูเปอร์ฟู้ด เช่น เมล็ดเชีย
  • ผลสกัดจากผักและผลไม้ออร์แกนิก
  • อาหารกลุ่มฟรีฟอร์ม (ปราศจากสารกันบูด/สารแต่งสี/กลูเตน) เช่น เส้นพาสตาปราศจากกลูเตน
  • ร้านอาหารและผู้ให้บริการเกี่ยวกับออร์แกนิก ทั้งที่มีหน้าร้านและบริการออนไลน์/เดลิเวอรี
  • อื่นๆ เช่น สินค้าออร์แกนิกต่าง ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

 


 

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในตลาดออร์แกนิก

การจะอยู่ในธุรกิจออร์แกนิกนั้น นอกเหนือจากการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์แล้ว ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการยังขึ้นอยู่กับ

1) การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เช่น การได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก จากองค์กรหรือสถาบันที่ได้รับการยอมรับ การรีวิวจากผู้บริโภค/ผู้ใช้จริง

2) สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งในเรื่องของนวัตกรรมอาหาร การออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น อาหารออร์แกนิกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (ฟรีซพร้อมอุ่นสำหรับสังคมเมือง) ข้าวออร์แกนิกน้ำตาลต่ำ (สำหรับกลุ่มที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก) อาหารออร์แกนิกกลุ่มฟรีฟอร์ม (สำหรับคนแพ้กลูเตน) เป็นต้น

3) การเพิ่มช่องทางการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น 

  • การทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์/โซเชียลมีเดีย
  • การชำระเงินที่รวดเร็วและทันสมัย เช่น การชำระเงินผ่าน Mobile Banking
  • การขนส่งสินค้าด้วยระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เช่น บริษัทขนส่งเอกชนที่เพิ่มบริการส่งผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ในลักษณะเฉพาะในรูปแบบฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร (Farm to Table) ส่งตรงถึงผู้บริโภค

 

 

Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงแรงงาน ลดหย่อนเงินสมทบของนายจ้าง-ผู้ประกันตน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 เว็บไซต์ราชกิจนุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ความว่า

เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้าง และผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติร้ายแรง กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับมีการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มิให้นำไปสู่การระบาดระลอกใหม่ อันส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในท้องที่ประเทศไทย จึงควรลดหย่อนการออกเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนดังกล่าว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราฝ่ายละร้อยละสองของค่าจ้างของผู้ประกันตน

ข้อ 2 ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละเก้าสิบหกบาท

ข้อ 3 ในกรณีที่มีการส่งเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามประกาศนี้ ให้นายจ้าง หรือผู้ประกันตนตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องขอรับเงินในส่วนที่เกินคืนได้ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา

ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563

สุชาติ ชมกลิ่น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ขอเรียนเชิญร่วมลงทะเบียนทำแบบสำรวจความคิดเห็น ธนาคารระหว่างประเทศ (EXIM Bank )

ตามที่ธนาคาร  ร่วมกับบริษัทของท่านและผู้ประกอบการด้านดิจิทัลและซอฟต์แวร์  เพื่อสนับสนุนส่งเสริมเพิ่มโอกาสทางการตลาด และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในเครือข่ายของธนาคาร  มาเป็นระยะเวลาหนึ่งธนาคารขอความร่วมมือในการขอความเห็นของทุกท่าน

เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริมโอกาสทางการตลาดสำหรับแอพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์สู่กลุ่ม SMEs ไทย เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องสอบถามข้อมูลตามลิ้งที่แนบนี้ 

https://docs.google.com/forms/d/1ZkGAioEEIoFaps_nvRJ5hbwHrBCyKPRAQR1U3tNn3Y8/edit

Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

 

บทความแนะนำ

“วันนี้กินอะไรดี” : นิตยสารคิด (Creative Thailand)

ร่วมสำรวจเส้นทางในการเลือกกินอาหารของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันที่มีเมนูมากมายถูกรังสรรค์ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนแทบทุกรูปแบบ พร้อมทั้งหาโอกาสและความเป็นไปได้จากอาหารแห่งอนาคตในวันที่เราอาจต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางอาหาร
เพราะ “เรื่องกิน” เป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์มาแต่ไหนแต่ไร แต่ทางเลือกในการกินของเราอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเราเสียทั้งหมด มาหาคำตอบกันว่า จริง ๆ แล้วเรามีอํานาจในการ “เลือกกิน” มากแค่ไหน และถ้ามีเงิน เราจะกินอะไรก็ได้ในโลกจริงหรือ

Published on 11 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

กระแสรักสุขภาพจากโควิด สร้างโอกาสธุรกิจเอสเอ็มอี

หัวข้อ : กระแสรักสุขภาพจากโควิต สร้างโอกาสธุรกิจ SME 
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com//Healthtrend_SME/Healthtrend_SME.pdf

 

 

กระแสรักสุขภาพ (Health Conscious) ถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทั้งในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ ไปจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ และยิ่งการระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวของการระวังป้องกัน รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพซึ่งสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติใหม่ (New Normal) ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น

กระแสการตื่นตัวทางด้านสุขภาพได้รับความสนใจในประเทศไทย ยืนยันได้จากจำนวนคนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาของคนไทย พบว่า มีประมาณ 12.9 ล้านคน เทียบกับ 12.7 ล้านคน ในการสำรวจครั้งก่อน รวมถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทำได้ง่ายผ่านสื่อออนไลน์รูปแบบใหม่ โดยลูกค้าเป้าหมายกลุ่มรักสุขภาพที่มีความสำคัญ อาทิ 

  • คนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 15-40 ปี (กลุ่ม GEN Y และ GEN Z) ซึ่งให้ความสนใจต่อสุขภาพค่อนข้างสูง กลุ่มนี้มีประชากรประมาณ 24 ล้านคน
  • กลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ซึ่งมีความต้องการสินค้าและบริการเฉพาะด้านที่ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยหรือช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน โดยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 11.1 ล้านคน

แต่ก่อนที่ผู้ประกอบการจะพิจารณาลงทุนในธุรกิจใด ๆ จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์และพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในช่วงนี้ ซึ่งมีดังนี้

 

การลงทุนต้องใกล้เคียงกับธุรกิจเดิม 

เพื่อจะได้อาศัยองค์ความรู้ทางด้านการตลาด ลักษณะพฤติกรรมลูกค้าที่มีอยู่พอสมควร โดยที่ไม่ต้องไปเรียนรู้ใหม่ นอกจากนี้อาจใช้เครื่องมืออุปกรณ์ สถานที่รวมถึงฐานลูกค้าเดิมเพื่อนำมาใช้ต่อยอดธุรกิจ

 

ต้องไม่ลงทุนมาก 

  • การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จำกัดของธุรกิจเอสเอ็มอีในช่วงนี้ อาจทำให้จัดการสภาพคล่องได้ยาก
  • ไม่สามารถคาดการณ์ว่า ธุรกิจที่ลงทุนจะให้ผลตอบแทนด้านรายได้หรือผลกำไรกลับมาได้รวดเร็วเพียงใด เงินที่จะใช้ลงทุนต้องไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่
  • ต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังไม่ให้มีมากเกินไปจนกระทบต่อสภาพคล่องธุรกิจ

 

มีความสามารถในการแข่งขัน 

ซึ่งต้องประกอบด้วยหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ

  • มีทำเลที่ตั้งธุรกิจที่เหมาะสม เข้าถึงกลุ่มลูกค้า
  • มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญหรือมีนวัตกรรม 
  • มีพันธมิตรทางธุรกิจที่จะเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพทั้งด้านการผลิต การตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย

 


 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเว้นระยะห่างทางสังคม

แม้ว่าโควิด-19 ในไทยจะลดระดับความรุนแรงจนสามารถควบคุมได้ แต่คนทั่วไปยังคงระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ตนเองเจ็บป่วยและต้องเข้าไปในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง  โดยสินค้าหรือบริการที่จะช่วยตอบโจทย์ดังกล่าว อาทิ

  • อุปกรณ์การแพทย์ในครัวเรือน ซึ่งนอกจากหน้ากากอนามัย น้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว สินค้าเครื่องมือแพทย์ที่มีความต้องการสูงในภาคครัวเรือน ได้แก่ เครื่องตรวจวัดเบาหวาน วัดความดันโลหิต เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นตลาดที่ยังไม่ใหญ่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าจะตอบโจทย์ความต้องการได้ ขณะที่ผู้ผลิตในประเทศอาจต้องพิจารณาความสามารถในด้านการแข่งขันกับสินค้านำเข้าที่เน้นคุณภาพ (จากญี่ปุ่น) หรือสินค้าที่เน้นด้านราคา (จากจีน) 

สำหรับช่องทางการตลาดนั้น อาจต้องใช้ช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย อาทิ 

- กลุ่มผู้สูงอายุ ขายผ่านร้านค้า มีจุดเด่นทางด้านการแนะนำวิธีการใช้ หรือคุณสมบัติที่ละเอียด

- กลุ่มคนรุ่นใหม่ เน้นช่องทางออนไลน์ที่ไม่ต้องการรายละเอียดวิธีใช้มากเท่ากลุ่มแรก

 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย เช่น 

- ธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารที่บำรุงสุขภาพ อย่างอาหารเสริมและวิตามิน เครื่องดื่มสมุนไพร ที่น่าจะมีความต้องการสูงในช่วงนี้ ได้แก่ สินค้าที่ช่วยป้องกันหรือบำรุงสายตา เพื่อรองรับพฤติกรรมคนส่วนใหญ่

ที่อยู่บ้านมากขึ้น มีการติดตามสื่อออนไลน์ อาจกระทบต่อสุขภาพดวงตา

- ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เช่น ฟิตเนส แต่อาจปรับในรูปแบบการเปิดคอร์ทสอน

การออกกำลังกายที่บ้านสำหรับคนรักสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งโดยปกติมักต้องพึ่งพาเทรนเนอร์ เพื่อแนะนำหรือดูแลการออกกำลังกายไม่ให้เกิดอันตราย อาจจะมีบริการให้เช่ายืมอุปกรณ์ออกกำลังกาย เป็นบริการเสริมเพื่ออำนวยความสะดวก

 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพึ่งพาตนเอง

โดยเฉพาะสินค้าจำเป็น ได้แก่ อาหารที่ต้องทานในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันปัญหาการเข้าถึงหากถูกล็อกดาวน์จากการระบาดรอบใหม่ รวมถึงมั่นใจด้านคุณภาพ โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น

 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำอาหารทานที่บ้าน จากพฤติกรรมการอยู่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้คนบางส่วนหันมาทำอาหารกินเอง

    • ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอาจจัดคอร์ทเรียนแบบออนไลน์ 
    • ธุรกิจบางรายที่มีวัตถุดิบและเครื่องปรุงอยู่แล้ว อาจจัดวัตถุดิบสำเร็จรูปเป็นชุด สำหรับเมนูอาหารแต่ละชนิด เพื่ออำนวยความสะดวกสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้

 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชผักผลไม้ในพื้นที่ของตนเอง ตอบโจทย์ความกังวลต่อความปลอดภัยของสินค้าที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือขั้นตอนการปลูก รวมถึงลดการไปในพื้นที่เสี่ยง เช่น ตลาดสด และลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร

ตลาดที่น่าสนใจในช่วงนี้ได้แก่ กลุ่มคนที่มีพื้นที่ว่างในเมือง ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว กลุ่มโรงงานที่ทำแบบสวัสดิการพนักงาน ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีการเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะกับความต้องการแต่ละตลาด ตามปัจจัยที่แตกต่าง

 

ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพอื่นๆ

  • ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จากศักยภาพในการควบคุมการระบาดและอัตราการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีผลสำเร็จสูง ที่ยืนยันได้จากดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก ซึ่งไทยอยู่ในลำดับ 6 ของโลก (ปี 2562) จะเป็นจุดขายและเป็นปัจจัยดึงดูดคนรักสุขภาพทั่วโลกเดินทางมาใช้บริการในไทย ซึ่งอาจมีทั้งเพื่อการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ อาทิ ธุรกิจสปา นวดแผนไทย รวมถึงการนำเสนออาหารเพื่อสุขภาพที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีการวางกลยุทธ์ที่เหมาะกับคนเหล่านี้

 


 

ความท้าทายด้านกำลังซื้อที่ลดลง

  • กำลังซื้อจะยังคงไม่ฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 2563 และยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวอีกระยะ 
  • คนมีความระมัดระวังในการจับจ่ายมากขึ้น 
  • กลุ่มคนรักสุขภาพที่แต่เดิมยอมรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้มากกว่ากลุ่มอื่น ก็มีการวางแผนการใช้จ่ายมากขึ้น
  • กลุ่ยวัยรุ่น - วัยทำงาน (กลุ่ม GEN Y และกลุ่ม GEN Z) มีความเสี่ยงด้านการจ้างงานสูง จะระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้นเช่นกัน

 

ความท้าทายด้านความยั่งยืนของเทรนด์ที่เกิดขึ้น 

  • เทรนด์ที่คาดว่าเกิดจากความต้องการหรือการเติบโตของธุรกิจ จะยังคงมีต่อเนื่องในระยะข้างหน้า อาทิ ธุรกิจวิตามินหรืออาหารเสริม (สินค้าอาจปรับกลับมาเป็นกลุ่มชะลอวัย (Anti Aging) 
    • ธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HealthTech) 
    • อุปกรณ์การแพทย์ในครัวเรือน
    • ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  • บางเทรนด์อาจเป็นกระแสที่เกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งคาดว่าหลังโควิด-19 คลี่คลาย ความต้องการอาจลดลง อาทิ 
    • ธุรกิจปลูกพืชผักเพื่อบริโภคเองในครัวเรือน 
    • ธุรกิจสอนการทำอาหารหรือการเปิดคอร์ทสอนการออกกำลังกายที่บ้านในรูปแบบออนไลน์

 

ความท้าทายจากผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 

โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพึ่งตนเอง ที่ไปกระทบกับธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน อาทิ การปลูกพืชผักในครัวเรือน รวมถึงในชุมชนหรือโรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีการผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน อาทิ การปลูกพืชผักออแกนิกส์สำหรับคนรักสุขภาพ หรือธุรกิจร้านอาหารที่ให้บริการอาหารสุขภาพ

 

ความท้าทายด้านความพร้อมของธุรกิจ 

แม้ว่าธุรกิจบางประเภทจะมีปัจจัยสนับสนุนความต้องการ แต่อาจมีปัจจัยแวดล้อมบางประการที่ยังไม่เหมาะสม อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หากมีการกลับมาระบาดรอบ 2 จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางด้านการท่องเที่ยวได้

 


 

เพื่อรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งมีแนวทาง ดังนี้

 

การนำเสนอสินค้าที่จับต้องได้ เช่น เครื่องดื่ม อาหารเสริมหรือวิตามิน 

  • สำหรับกลุ่มลูกค้ารายเก่าที่รู้จักสินค้าอยู่แล้ว อาจมีโปรโมชั่นบรรจุภัณฑ์ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ราคาต่ำกว่าหากเทียบกับปริมาณและราคาเดิม 
  • สำหรับลูกค้ารายใหม่ ทั้งในส่วนของตลาดในประเทศและต่างประเทศ อาจเริ่มจากบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กเพื่อให้ทดลองใช้ 
  • ขณะที่สินค้าสุขภาพที่มีราคาสูงอาจทำโปรโมชั่นที่มีความยืดหยุ่น อาทิ การผ่อน 0% หรือนำเสนอสินค้าในรูปแบบเช่าแทน

 

การสร้างกระแสให้เกิดความต่อเนื่อง แม้ว่าโควิด-19 จะคลี่คลายแล้ว แต่หลาย ๆ เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สามารถนำมาขยายหรือต่อยอดได้ เช่น การสอนออกกำลังกายออนไลน์

  • สามารถใช้ควบคู่กับการสอนในสถานออกกำลังกาย จะได้ประโยชน์ทางด้านลูกค้ารายใหม่ ๆ ที่อาจไม่สะดวกเข้ามาในสถานออกกำลังกาย (อาทิ กลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้านที่ไม่มีเวลามาออกกำลังกายที่ฟิตเนส หรืออาจไม่พร้อมรับค่าใช้จ่ายปกติ)
  • การขยายตลาดการสอนผ่านออนไลน์ จะสนับสนุนให้ธุรกิจฟิตเนส บริการลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น โดยใช้สถานที่ รวมถึงบุคลากรเท่าเดิม

 

การร่วมมือเป็นพันธมิตร สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากกระแสการพึ่งตนเอง อาทิ ธุรกิจที่ปลูกพืชผัก

สุขภาพ 

  • อาจนำเสนอความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่มีมากกว่าที่ครัวเรือนหรือโรงงานผลิต เพื่อป้อนความต้องการ
  • อาจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับชุมชน หรือโรงงานเพื่อเป็นผู้รวบรวมผลผลิตส่วนที่อาจเกินความต้องการ โดยใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านการตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือโรงงาน รวมถึงจำกัดผลกระทบต่อธุรกิจ

 

การเตรียมความพร้อมธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่น่าจะเป็นจุดขายหลังโควิดคลี่คลาย

  • อาจต้องเตรียมพร้อมทั้งทางด้านการส่งเสริมการขาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยว เส้นทางท่องเที่ยวในตลาดต่างประเทศ โดยชูจุดเด่นด้านความปลอดภัยของการระบาด 
  • พัฒนาเพิ่มทักษะหรือ Upskill เกี่ยวกับภาษา หรือการให้บริการด้านสุขภาพ อาทิ นวดสปา นวดแผนไทย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้

 

 

Published on 11 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ