ชีวาดี ภูมิปัญญาบันดาลใจ ในน้ำตาลดอกมะพร้าว

ชีวาดี ภูมิปัญญาบันดาลใจ ในน้ำตาลดอกมะพร้าว

จากความชื่นชอบในรสชาติของน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำให้อาหารไทยอร่อย กลมกล่อม สู่การสังเกตเห็นคุณสมบัติพิเศษและประโยชน์มากมายจากทรัพยากรพื้นบ้านอันมีค่า นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว นำมาสู่การผสมผสานนวัตกรรมและการต่อยอดเป็นสินค้า สมกับชื่อบริษัท ชีวาดี คือ ชีวิตดี โดยมีแนวคิดที่ว่าหากชีวิตเราดีนั้น ต้องมาจากสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย 

 

เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น 

ภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยโบราณมีการใช้น้ำตาลมะพร้าวในการทำอาหาร เพราะมีรสชาติหวานละมุน มีลักษณะเป็นก้อน เมื่อโดนความร้อนจะละลายเหนียวเหนอะหนะ หลังจากที่คุณสารภี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชีวาดี โปรดักส์ จำกัด เคยเห็นคุณพ่อซึ่งเป็นเบาหวานพกน้ำตาลมะพร้าวในกระเป๋ากางเกงแล้วละลายเลอะเทอะ จึงได้มีความคิดที่จะผลิตคิดค้นน้ำหวานดอกมะพร้าว แบบเป็นน้ำ มีความหวานมาจากดอกมะพร้าว ลักษณะคล้ายน้ำผึ้ง ซึ่งใช้ง่าย ให้เป็นสินค้าท้องถิ่นจากชุมชน 

ครั้งหนึ่งได้ไปเที่ยวชุมชนน้ำตาลมะพร้าว ได้เห็นชาวบ้านผลิตน้ำตาลดอกมะพร้าว และสังเกตเห็นจุดบกพร่อง รวมถึงจุดที่สามารถพัฒนาได้ จึงเริ่มศึกษาจนพบคุณสมบัติในองค์ประกอบทางสารอาหารจากน้ำตาลดอกมะพร้าว ที่มีผลดีต่อผู้เป็นเบาหวาน 

จากความสนใจในน้ำตาลดอกมะพร้าวและชุมชนน้ำตาลมะพร้าว ทางชีวาดีจึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนน้ำตาลดอกมะพร้าวให้เป็นสินค้าที่ไม่อยู่แค่ในครัว แต่สามารถทำเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ ให้รู้สึกว่า เกิดความสง่างามในการใช้สินค้า และช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายได้มากขึ้น 

 

พลิกฟื้นภูมิปัญญาที่สูญหาย

ในวันที่ ชีวาดี ตั้งมั่นจะเข้าไปศึกษาชุมชนสวนมะพร้าว พบว่าน้ำหวานดอกมะพร้าว มาจากส่วนดอกมะพร้าวใช้การปาดน้ำออกมาโดยวิถีโบราณซึ่งมีกรรมวิธีที่ยาก และมีราคาแพง ซึ่งชาวบ้านบอกว่าไม่มีทางทำได้เพราะไม่มีใครทำแล้ว ธุรกิจนี้ได้ตายไปแล้ว เพราะไม่มีใครให้ราคาของคนทำงานลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเข้าเมืองไปทำงานเป็นลูกจ้าง แต่เมื่อได้ทำการลงพื้นที่สำรวจก็พบว่าบ้านทุกหลังนำน้ำหวานดอกมะพร้าว ผสมเข้ากับสิ่งให้ความหวานอื่นๆ ลงไปด้วย เพื่อทำเป็นน้ำตาลที่ราคาไม่สูง ให้ผู้คนยอมจ่ายเงินซื้อ

ชีวาดีจึงเกิดประกายในใจว่าต้องให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณค่า สุขภาพ และวิถีอินทรีย์แก่ชาวบ้าน โดยรวบรวมชาวบ้านที่เกี่ยวข้องในแวดวงน้ำหวานดอกมะพร้าวจากทั้งจังหวัดสมุทรสงคราม ให้มาเป็นกลุ่มเดียวกับชีวาดี และเชิญผู้ให้ความรู้จากบริษัทในภาคส่วนอื่น ๆ มาช่วยให้ความรู้ เพื่อทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจ และสนใจคุณค่าในวิถีอินทรีย์อย่างแท้จริง

 

ครั้งแรกพังไม่เป็นไร มองให้เป็นการเรียนรู้

ชีวาดีรวบรวมผู้ผลิตชาวบ้านที่สนใจในวิถีอินทรีย์ได้เพียง 2 คน ซึ่งสามารถผลิตน้ำหวานดอกมะพร้าวที่จะนำมาทำน้ำตาลได้วันละ 6 กิโลกรัม แต่จากการที่ทางชีวาดีได้ใช้เวลาคลุกคลี เรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน และมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน และต้องการช่วยพัฒนาชุมชนให้มีชีวิตที่ดีและยั่งยืน จึงคิดที่จะพัฒนาสินค้าให้เป็นรูปแบบอุตสาหกรรม

เมื่อเริ่มติดต่อโรงงานอุตสาหกรรม ทางโรงงานขอน้ำหวานดอกมะพร้าว 600 กิโลกรัมเพื่อเริ่มผลิต จึงเริ่มชักชวนคนในชุมชนไปทีละบ้าน ให้มารวมกลุ่มกันเพื่อผลิตน้ำตาลให้ได้มากขึ้น จนสามารถผลิตน้ำหวานดอกมะพร้าวจำนวน 600 กิโลกรัม นำไปส่งโรงงานได้สำเร็จ แต่เพราะทางโรงงานไม่มีความเข้าใจในกรรมวิธี นำตาลจึงพังเป็นสีคล้ำทั้งหมด ทางชีวาดีไม่ถือโทษ โดยมองว่าเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันกับโรงงาน และทำให้ทางโรงงานยอมเชื่อกรรมวิธีที่ทางชีวาดีได้ทดลองมา เป็นการซื้อใจอีกทางหนึ่ง

.

โมเดลธุรกิจที่เน้นความยั่งยืน

ชีวาดีทำธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นที่จะเน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงและยั่งยืนจากวิถีชาวบ้าน เนื่องจากเป็นบริษัทขนาดเล็ก เติบโตจากความคิดเล็ก ๆ ที่อยากให้ประเทศไทยมีนวัตกรรม และยกระดับนวัตกรรมกับภูมิปัญญาชาวบ้านให้ชุมชนอยู่ดี อย่างที่ภูมิปัญญาจากน้ำหวานดอกมะพร้าวสามารถนำมาผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยี ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง น้ำตาลดอกมะพร้าว, เครื่องดื่มไซเดอร์ดอกมะพร้าว, น้ำส้มสายชูดอกมะพร้าว, ซอสอเนกประสงค์จากมะพร้าวอินทรีย์ เป็นต้น 

ช่วงแรกจึงยังไม่ทำการตลาดในเมืองไทย เนื่องจากความพร้อมด้านบุคลากรทางการตลาดยังไม่ชำนาญ จึงมุ่งเน้นไปทางสิ่งที่ชำนาญก่อน คือการพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรม เนื่องจากเราต้องดูกลุ่มครอบครัวหน่วยการผลิตว่าพร้อมขยายหรือไม่ เพราะทางชีวาดีต้องการรับผิดชอบต่อสังคม และต้องการให้ผู้ผลิตจากต้นน้ำ ซึ่งคือครอบครัวหน่วยการผลิต เกิดความเติบโตมั่นคงยั่งยืนในอาชีพและในเวลาที่สมควร ต้นน้ำของชีวาดีนั้นรวมถึงคู่ค้าในต่างประเทศ จากการสำรวจคู่แข่งและทำความรู้จักกับประเทศที่สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และมิตรภาพด้านสุขภาพ

 

ผลิตภัณฑ์จากชีวาดี (Chiwadi) 

ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์จากชีวาดี ผลิตจากธรรมชาติ 100% ด้วยคุณสมบัติ มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) และช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานทานได้ โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารดังนี้

  • น้ำหวานดอกมะพร้าว Coconut Flower Syrup
  • น้ำตาลดอกมะพร้าวทรายทอง
  • Nectigar น้ำส้มสายชูหมักไซเดอร์จากดอกมะพร้าวอินทรีย์ ผสมน้ำหวานดอกมะพร้าวอินทรีย์
  • Honegar น้ำส้มสายชูหมักไซเดอร์จากดอกมะพร้าวอินทรีย์ ผสมน้ำผึ้ง
  • ซอสปรุงรสจากมะพร้าวอินทรีย์ ซอสปรุงรสเอนกประสงค์
  • ซอสน้ำจิ้มเอนกประสงค์จากมะพร้าวอินทรีย์
  • Fruii น้ำหวานดอกมะพร้าว Cyder Drink อัดโซดา

 

การต่อยอด โดยอิงจากหลักธรรมชาติ

นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว ยังต่อยอดมาสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาด คือการทำความสะอาดผิว และการทำความสะอาดผัก เนื่องจากความสะอาดเป็นจุดแรกที่ต้องคำนึงในการทำผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ทุกอย่างเกิดจากความตั้งใจสังเกตเห็นเพื่อนร่วมงานมีผิวหน้าและผิวกายที่เนียนสวยงามจากกลิ่นไอของผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ปราศจากสารเคมี หลังจากศึกษาค้นคว้าจึงได้พบกรดที่สำคัญตามธรรมชาติ เมื่อผ่านการยื่นขออนุญาตจากองค์การอาหารและยา จึงได้ต่อยอดมาเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น

  • คาราวาดี หยาดน้ำดอกมะพร้าว Tonic Essence เพื่อใช้ทำความสะอาดใบหน้าและผิวกาย
  • น้ำดอกมะพร้าวแช่ผัก มีสารช่วยต้านแมลงศัตรูพืชอีกด้วย 

 

จุดมุ่งหมายในอนาคต 

เริ่มที่ทำต้นน้ำให้แข็งแรง ดูแลพนักงานทุกคนเหมือนดังครอบครัว ดังนั้นต้องเสริมให้ครอบครัวยั่งยืนและทำอาชีพด้วยความซื่อสัตย์ โดยครอบครัวผู้ผลิตของชีวาดีทั้งหมดเป็นครอบครัวที่ปลอดสารเคมี ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างจึงไม่มีสารเคมี และมีแผนจะเริ่มทำการตลาดออนไลน์ โดยใส่ใจในเรื่องของคุณค่า วิถีอินทรีย์ และ ประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างจริงใจที่สุด เหมือนกับตอนทำผลิตภัณฑ์ เพราะอยากจะใกล้ชิดผู้บริโภคมากขึ้น

 

ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ของชีวาดีสามารถติดต่อได้ที่

บริษัท ชีวาดี โปรดักส์ จำกัด

59 อาคารพิทักษ์ (ห้อง 104) หมู่ 6 ถ.ศรีนครินทร์ ต.บางเมือง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270

โทร. 089 969 9825  ติดต่อ คุณสมเกียรติ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด

Email: info.chiwadi@gmail.com

Facebook: www.facebook.com/chiwadiproducts/

Line: chiwadi01 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

“เอื้ออารีฟู้ด แปรรูปสินค้าเกษตร ให้เป็นไลฟ์สไตล์”

เพราะอาหารทั่วโลกให้ความสำคัญกับสิ่งเสริมเติมแต่งรสชาติ ไม่เว้นแม้กระทั่งในประเทศไทย รสชาติของอาหารไทยมีความจัดจ้าน เครื่องปรุงวัตถุดิบพืชผลเกษตรไทย นั้นเต็มไปด้วยรสชาติที่ต่างประเทศไม่มี เช่น กระเทียมไทย ที่จัดว่าเป็นกระเทียมที่มีรสสัมผัสเป็นเอกลักษณ์ หาไม่ได้จากที่ไหนในโลก 

บริษัท เอื้ออารี ฟู้ด โปรดักท์ จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับเครื่องเทศและเครื่องปรุงรส รวมถึงเครื่องเคียงในอาหาร ด้วยมาตรฐานในด้านความสะอาด และมาตรฐานในระบบมาตรฐานสากล ดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดที่อยากสร้างผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ที่ช่วยตอบโจทย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยและให้บริการที่ดีที่สุด 

.

จากตลาดสด สู่ระบบโรงงาน

แรกเริ่มตั้งต้นกิจการตั้งแต่รุ่นพ่อ อยู่ที่ปากคลองตลาดมา 50 ปี ทำธุรกิจขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ จำพวกผัก พริกมาบดขาย ในสมัยก่อนนั้นคั่วกันแบบบ้าน ๆ ใส่ถุงไปขายลูกค้าตามตลาดสด หลังจากคุณพ่อเสีย คุณฉัตรชัย วชิระเธียรชัย ในวัย 18 ปี ได้ใช้ชีวิตอยู่ในตลาดขายพืชผักย่านทรงวาด จึงมีโอกาสได้เห็นความเคลื่อนไหวของการซื้อขายกระเทียมในตลาดอยู่ตลอด จนสังเกตเห็นว่ากระเทียมนั้นถูกส่งเข้ามาเป็นคันรถ แต่ขายหมดเกลี้ยงในเวลาไม่นาน จึงเริ่มทำการซื้อกระเทียมมาเปิดหน้าร้านขาย 24 ชั่วโมง เมื่อขายไปขายมาก็พบว่า กระเทียมลูกใหญ่เป็นขนาดที่ลูกค้าตลาดสดไม่ต้องการ ทำให้เริ่มคิดหาหนทางจัดการวัตถุดิบวิธีใหม่ ๆ โดยใช้กระเทียมที่ยังขายไม่ออก ด้วยการติดต่อส่งกระเทียมลูกใหญ่เข้าโรงงานอุตสาหกรรม โดยยอมขายขาดทุน เพื่อระบายสินค้าให้หมด แต่กลับได้รายการสั่งซื้อสินค้าอื่นๆ จากทางโรงงานกลับมาด้วย และนี่ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งวัตถุดิบกระเทียมเข้าสู่ระบบโรงงานอุตสาหกรรม ต่อยอดให้ทางร้านมีรายการสั่งซื้อใหม่ ๆ สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ

.

แตกไลน์ตามฝัน สู่สินค้าระดับมาตรฐาน

เพราะมีความฝัน จากเวลาที่ไปร้านสุกี้ แล้วสังเกตเห็นว่าทุกโต๊ะกินกระเทียม จึงเกิดความคิดที่จะนำกระเทียมไปเสนอลูกค้ากลุ่มร้านอาหารที่มีการใช้กระเทียม และมีสาขาหลายแห่ง เมื่อคิดได้แล้วจึงโทรไปเสนอขายสินค้าแต่ทางลูกค้าบอกกลับมาว่า ถ้าจะให้ใช้ กระเทียมก็ต้องมีมาตรฐาน นำไปสู่จุดเริ่มต้นของการสร้างระบบมาตรฐานมาควบคุมการผลิต โดยต้องกลับไปยกระดับตั้งแต่วิธีคิดให้กับเกษตรกร เริ่มทำห้อง แล้ววางระบบ มีโต๊ะให้นั่งคัดกระเทียม โดยควบคุมเวลา เพื่อจะได้คำนวณต้นทุนได้ทันที เป็นการสร้างวิธีคิดให้กับทีมงานก่อน แล้วจึงก็ลงมือทำ ให้เกษตรกรได้เห็นผลว่าถ้าคิดแบบนี้ลงมือทำแบบนี้แล้วจะเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนด้วยตัวเอง เมื่อรักษามาตรฐานได้ ก็ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ในสายตาของลูกค้า

.

สังเกต สร้างโอกาส

ด้วยความชำนาญในเรื่องของกระเทียม จึงเกิดเป็นไอเดียใหม่ ที่จะทำกระเทียมพร้อมทาน จากข้อเสนอแนะของผู้บริโภคต่างชาติ ที่ไม่ชอบเปลือกกระเทียมที่กินแล้วติดฟัน นำเรื่องนี้มาใช้เป็นกรณีศึกษา ทดลองไม่ใส่เปลือกทำเป็นเนื้อกระเทียมล้วน ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นสินค้าส่งออกใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้า

นอกจากนั้นยังมีการสังเกตรูปแบบไลฟ์สไตล์การกินใหม่ ๆ เพื่อนำมาต่อยอดเป็นไอเดียสินค้า เช่น คนเมืองต้องการความรวดเร็ว สะดวกมากขึ้น ประจวบกับได้เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่มีการใช้ผงโรยข้าวเพื่อเพิ่มรสชาติเช่นเดียวกัน จึงเกิดไอเดียสินค้าผงโรยข้าวใหม่ โดยปรับรสชาติให้เข้ากับคนไทย แบ่งออกเป็น 4 ภาค 4 รสชาติ ได้แก่ ผงโรยข้าวลาบไทยอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผงโรยข้าวลาบเหนือ (ภาคเหนือ), ผงโรยข้าวคั่วกลิ้งปักษ์ใต้ (ภาคใต้), และผงโรยข้าวสไตล์ซีฟู้ด (ภาคตะวันออก)

.

ปัจจุบัน เอื้ออารี ฟู้ด ได้มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการจัดหาวัตถุดิบ และในด้านการผลิตและพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปประเภทเครื่องปรุงรส, เครื่องเทศ รวมถึงสินค้าอบแห้ง อีกทั้งยังมีประสบการณ์ในการพัฒนาสินค้าร่วมกับลูกค้า และรับผลิตตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย

โดยมีรายการสินค้าหลากหลาย กว่า 100 รายการ ครอบคลุมความต้องการในทุกประเภทธุรกิจ สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เช่น

  • สินค้าเพื่ออุตสาหกรรม เช่น วัตถุดิบการเกษตรคัดขนาด อาทิ กระเทียม หอมใหญ่ พริก เป็นต้น
  • สินค้าจ้างทำเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร เช่น วัตถุดิบผ่านกรรมวิธีตามความต้องการ อาทิ กระเทียมเจียว พริกป่น ผักอบแห้ง ผักผงต่างๆ เป็นต้น
  • สินค้าจ้างทำเพื่อผู้ส่งออก เช่น รับผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในกลุ่มเครื่องปรุงรสสำหรับสำหรับผู้ต้องการทำแบรนด์สินค้าเพื่อส่งออกไปทำตลาด

.

เอื้ออารี ฟู้ด มองการทำธุรกิจว่า วิธีคิดกับวิธีทำต้องไปพร้อมกัน เพราะว่าถ้าเกิดคิดแล้วไม่ทำ มันก็ไม่เกิด หรือถ้าเกิดทำแต่ไม่คิดก็จะมีโอกาสสูญเสีย เพราะฉะนั้นถ้าใช้วิธีคิดไปคู่วิธีทำ ก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จอย่างแน่นอน

.

ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์และบริการ สามารถติดต่อได้ที่

บริษัท เอื้ออารี ฟู้ด โปรดักท์ จำกัด

27/3 หมู่ 7 ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000 และ

10 ถ.ราชพฤกษ์ แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160

โทร.: 02 868 4994, 02 868 6736-7

โทรสาร: 02 457 5206

อีเมล: auraree@aurareefood.com, sales@aurareefood.com

Line ID: @chefaree

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

รวมเครื่องมือภาษีอากรออนไลน์ สะดวก ง่าย จัดการได้ที่บ้าน

Tax from Home มาตรการที่่ช่วยให้ผู้ประกอบการการจัดการภาษีง่าย ๆ เข้าถึงการทำธุุรกรรมภาษีได้ในทุุกมิติ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่่ www.rd.go.th ประกอบด้วย

 

การลงทะเบียน e-Registration 

บริการสมัครสมาชิกออนไลน์ แจ้งเพิ่ม - ลดประเภทแบบ ที่ยื่นทางอินเทอร์เน็ต ขอรหัสผ่านใหม่ เปลี่ยนรหัสผ่าน แจ้งยกเลิก และอื่น ๆ สามารถยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตแบบออนไลน์ และส่งเอกสารผ่านทาง e-mail ได้ทันที ไม่เสียเวลาเดินทางและลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้้อโรค

 

การยื่นแบบ e-Filing 

ขอยื่นแบบภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สามารถทำแบบออนไลน์ และนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านทาง e-mail ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องไปยื่นด้วยตนเอง พรอ้มให้คุณได้รับสิทธิพิเศษขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ ออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี ทำให้ธุุรกิจสามารถบริหารสภาพคล่องของกระแสเงินสดได้มีประสิทธิภาพยิ่่งขึ้้น

 

การชำระภาษี e-Payment 

บริการนำส่งข้อมูลชำระเงิน ยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ โดยธนาคารที่่ร่วมโครงการ จะยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมนการใช้บริการ สำหรับแบบที่ยื่นและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์

 

การคืนเงินภาษี e-Refund 

บริการสอบถามข้อมูลการขอคือภาษี ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้เสียภาษีที่่ชำระภาษีไว้เกิน กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินให้ผ่านระบบ PromptPay ที่่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ทั้งลดปริมาณการใช้กระดาษและ Lean กระบวนงานให้คล่องตัวยิ่่งขึ้้น

 

รวมสิทธิลดหย่อนภาษี ที่ www.rd.go.th 

ระบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)

จากเดิมที่ผู้ทำบุุญต้องเดินทางไปบริจาคที่่หน่วยรับบริจาค โดยจะได้รับหลักฐานการบริจาคในรููปแบบกระดาษ เช่น ใบอนุุโมทนาบัตร ใบเสร็จรับเงิน หรือหนังสือขอบคุุณ เพื่่อนำมาใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี แต่ระบบ e-Donation อำนวยความสะดวกให้บริจาคได้ทุุกที่ทุุกเวลา และไม่ต้องเก็บหลักฐานเป็นกระดาษเหมือนที่่ผ่านมา แต่ข้อมููลการบริจาคในระบบ e-Donation จะถููกส่งเข้าไปเก็บในฐานข้อมููลของกรมสรรพากร และเมื่่อถึงเวลายื่่นแบบฯ ประจำปี ผู้บริจาคก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทันที โดยไม่ต้องนำหลักฐานมาแสดงและพิสููจน์ต่อเจ้าหน้าที่่ ซึ่่งจะทำให้ได้รับเงินภาษีคืนรวดเร็วยิ่งขึ้้น

 

ระบบชำระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp)

ในกรณีที่ต้องทำสัญญาหรือตราสารบางลักษณะ กฎหมายกำหนดให้ต้องติดอากรแสตมป์ หากมููลค่าของสัญญานั้้นเกินกว่าที่่กฎหมายกำหนด เดิมผู้ประกอบการต้องไปชำระค่าอากรแสตมป์ที่สำนักงานสรรพากร ไม่สามารถซื้้ออากรแสตมป์มาติดสัญญาได้ 

ปัจจุุบันกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบชำระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp) ทำให้การชำระค่าอากรแสตมป์ง่าย สะดวก รวดเร็ว ลดปัญหาการคำนวณมููลค่าอากรแสตมป์ผิดพลาด 5 ประเภทของสัญญาหรือตราสารที่่สามารถชำระค่าอากรแสตมป์ผ่านระบบ e-Stamp ได้แก่ สัญญาจ้างทำของ, สัญญากู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกงินเกินบัญชีจากธนาคาร, ใบมอบอำนาจ, ใบมอบฉันทะ และสัญญาค้ำประกัน

 

บริการตรวจสอบสิทธค่าลดหย่นของผู้เสียภาษี (MyTax Account) 

เครื่่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี ที่่ใคร ๆ ก็สามารถเช็กได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้้ว ทำให้ช่วยลดภาระในการเก็บเอกสารของผู้เสียภาษี เสมือนกรมสรรพากรจัดเก็บเอกสารในรููปแบบดิจิทัลให้แทน จึงลดขั้้นตอนการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่่ การยื่่นแบบภาษีเงินได้บุุคคลธรรมดาและการคืนภาษีก็จะสะดวกรวดเร็วขึ้้น

 

จากตัวอย่างเครื่่องมือทางภาษีอากรที่่ภาครัฐให้บริการแก่ผู้ประกอบการ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีช่วยให้ภาครัฐสามารถสร้างนวัตกรรมมาอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการมากขึ้้น ทำให้การทำธุุรกรรมภาษีเป็นเรื่่องง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยไม่มีข้อจำกัดั ด้านเวลาและสถานที่่อีกต่อไป



อ่านเพิ่มเติม :

https://sme.krungthai.com/sme/previewPdf.action?fileId=85#book/

บทความแนะนำ

ทำความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้ายุคใหม่ อะไรมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการทำธุรกิจ คือ “คนไม่ซื้อ” เพราะปัญหาทุกเรื่องจะยังคงสามารถแก้ไข และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกันไปได้ตราบใดที่สินค้าหรือบริการของเรายังขายได้อยู่ แต่ถ้าของขายไม่ได้ หรือไม่มีคนซื้อนั้นหมายความว่า “เงิน” ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของธุรกิจกำลังจะหายไป แต่นอกจากขายของได้ มีคนซื้อแล้วก็ต้องสามารถเก็บเงินได้ด้วย การที่เราจะสามารถทำให้คนซื้อของเราได้นั้น สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญมาก คือการเข้าใจพฤติกรรม (Consumer Behavior) ว่าอะไรที่ทำให้คนคนหนึ่งตัดสินใจซื้อของ มาอัปเดตกันสักนิดว่าทุกวันนี้ อะไรที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของ ของลูกค้ากันบ้าง

 

รีวิว

เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญมากในการตัดสินซื้อ ข้อมูลการสำรวจพบว่า 88% ของลูกค้านั้นเชื่อการรีวิวบนโลกออนไลน์มากพอกับการแนะนำจากคนรอบข้าง การรีวิวนั้นก็สามารถเกิดได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น การขอลูกค้ารีวิวสินค้าของเราสั้น ๆ เพื่อแลกรับสิทธิหรือส่วนลด หรือหลาย ๆ แบรนด์เลือกที่จะจ้าง Influencer ให้รีวิวสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของรูปแบบสินค้า หรือบริการของเราด้วย

 

อินฟลูเอนเซอร์

จากข้อแรกที่เป็นเรื่องของการรีวิวที่หลาย ๆ แบรนด์เลือกใช้ คือ Influencer Marketing จากข้อมูลการสำรวจพบว่ากว่า 92% ของผู้ทำแบบสำรวจค่อนข้างเชื่อถือในคำแนะนำหรือการรีวิวจากบุคคลอื่น ๆ บนโลกออนไลน์ แม้ว่าพวกเขาจะไม่รู้จักก็ตาม หลายแบรนด์จึงเลือกที่จะพยายามส่งสินค้าให้กับเหล่า Influencer เพื่อให้พูดถึงแบรนด์ หรือสินค้าของตนเอง ซึ่งมีทั้งแบบส่งให้ลองใช้ฟรีและแบบที่ต้องจ่ายเงินเพื่อจ้างให้รีวิว

 

ความง่าย

แม้ว่าสินค้าและบริการนั้นจะดีมากขนาดไหน แต่ถ้าขั้นตอนในการใช้บริการนั้นเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ก็มีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจไม่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้

 

ตัวตนของแบรนด์

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับตัวตนและจุดยืนของแบรนด์มากขึ้น เพราะแบรนด์ที่เขาเลือกใช้นั้นนอกจากซื้อเพราะต้องการใช้สินค้าแล้ว ในอีกทางหนึ่งยังเปรียบเสมือนสิ่งที่บ่งบอกตัวตนและความเชื่อของพวกเขาด้วย

 

ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งในการตัดสินใจ

ข้อนี้จะชัดที่สุดถ้าหากสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีราคาที่ค่อนข้างสูง หรือเป็นสิ่งที่ไม่ได้ซื้อกันบ่อย ๆ อย่าง รถ บ้าน ทริปท่องเที่ยวต่างประเทศ สินค้าเหล่านี้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะสอบถามจากคนรอบตัว ขอความคิดเห็นจากคนรอบข้าง ค้นหาข้อมูลจากทั้งรีวิวที่เป็นผู้ใช้จริง เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อ

 

ท้ายที่สุดไม่ว่าแบรนด์จะสามารถทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดีมากแค่ไหน ก็ไม่ได้เป็นตัวการันตีความสำเร็จในระยะยาวเสมอ หากปราศจากเรื่องพื้นฐานอย่าง คุณภาพ การบริการที่ดี และที่สำคัญที่สุด สินค้าหรือบริการนั้นสามารถมาช่วยแก้ปัญหาของผู้บริโภคได้จริง ๆ หรือเปล่า



อ่านเพิ่มเติม :

www.krungsri.com/th/plearn-plearn/customers-decide-to-buy

บทความแนะนำ

Peggy's Cove Resort รีสอร์ตหมู่บ้านชาวประมง ที่คงความใส่ใจไว้เต็มร้อย

Peggy's Cove Resort รีสอร์ตหมู่บ้านชาวประมง ที่คงความใส่ใจไว้เต็มร้อย

เมื่อความชอบกับหนทางธุรกิจ มีจุดร่วมเดียวกัน จากหมู่บ้านชาวประมงในแคนาดา ก่อกำเนิด Peggy's Cove Resort รีสอร์ตในหมู่บ้านชาวประมง ที่มีดีไซน์ที่แตกต่าง เพื่อมอบประสบการณ์การพักผ่อนแบบใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยการใส่ใจรายละเอียดเต็มร้อยในทุก ๆ พื้นที่ ต้ังแต่กระบวนการคิด concept การเชื่อมโยงกับลูกค้า จนถึงกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การพักผ่อนของลูกค้ามีความประทับใจที่สุด 

.

จุดเด่นคือการใส่ใจรายละเอียด 

Peggy’s Cove Resort เกิดขึ้นจากความต้องการสร้างรีสอร์ต บนพื้นที่ของครอบครัวที่หาดคุ้งวิมาน จังหวัดจันทบุรี  ซึ่งมีหมู่บ้านชาวประมงหัวแหลมอยู่ในละแวกนั้น ทำให้เกิดความคิดที่จะหยิบ concept ของหมู่บ้านชาวประมงมาสื่อสารเล่าเรื่อง สอดคล้องกับความประทับใจในหมู่บ้านชาวประมงตะวันตก Peggy's Cove ที่สวยงามในประเทศแคนาดา จึงเป็นไอเดียสนุก ๆ ที่อยากจะนำเข้ามาไว้ที่นี่ ซึ่งได้มีการใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่การเริ่มต้นก่อสร้าง โดยศึกษาในเรื่องของสถาปัตยกรรมอย่างจริงจังและได้มีการติดต่อสอบถามขอรายละเอียดจากทางชุมชนหมู่บ้านชาวประมงที่แคนาดาโดยตรง ว่าจะสร้างรีสอร์ตที่มีต้นแบบจากชุมชน Peggy's Cove ซึ่งทางชุมชนก็ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อพัฒนารีสอร์ตให้คนไทยและคนเอเชียได้เห็น

หมู่บ้าน Peggy’s Cove มีจุดเด่นหลายอย่าง ในด้านสถาปัตยกรรม และสีสันของหมู่บ้าน ทางรีสอร์ตได้มีการใช้สีตามหมู่บ้านที่นั่นจริง ๆ มีการจำลองทะเลสาบไว้กลางหมู่บ้านให้สามารถลงไปเล่นน้ำได้ ที่สำคัญอีกสองจุดก็คือโบสถ์ประจำหมู่บ้านที่สร้างไว้เป็นล็อบบี้ และประภาคารที่เป็นร้านกาแฟ 

นอกเหนือจากตัวสถาปัตยกรรมที่ถอดแบบมาจากทางแคนาดาแล้ว ยังมีการนำวัฒนธรรมหรือลักษณะของชาวประมงตะวันตกมาใช้เป็นลูกเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ลูกค้าประทับใจ เช่น แตรโบราณที่ชาวประมงสมัยก่อนจะเป่าเมื่อเรือเทียบท่า ก็นำมาทำเป็นลำโพงเซรามิคไว้ในห้องพัก ซึ่งลูกค้าชื่นชอบมาก และยังมีชุดชาวประมงตะวันตกให้ลูกค้าใส่ ทำให้ลูกค้าสนุกสนานและประทับใจจนอยากแชร์ต่อในช่องทางออนไลน์ 

.

ใส่หัวใจให้บริการ

ความสวยงามของรีสอร์ตเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่ง แต่หัวใจหลักที่ทาง Peggy's Cove Resort ใส่ใจคือด้านการบริการ ด้วยแนวคิดที่ว่าสิ่งสวยงามทางสถาปัตยกรรมที่ไหนก็สร้างได้ แต่เรื่องราว และคุณค่าของเรื่องเล่าที่เราบอกต่อนั้นมีคุณค่ามากกว่าสถาปัตยกรรม Peggy's Cove Resort จึงเน้นการบริการที่ดีให้ประทับใจลูกค้า และมีการใส่เรื่องราวเพื่อเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อลูกค้ากับพนักงาน โดยการปลูกฝังภาพลักษณ์ของแบรนด์ ให้พนักงานรู้สึกว่าลูกค้าทุกท่านคือแขกที่มาเยี่ยมหมู่บ้านจริง ๆ การต้อนรับและการดูแลได้ให้ความรู้สึกได้ว่าเจ้าของบ้านต้อนรับแขกผู้มาเยือน ด้วยความใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ จะทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้เข้าไปพักที่หมู่บ้านชาวประมง peggy’s cove ไม่ใช่แค่การไปพักที่รีสอร์ต สร้างความประทับใจให้ลูกค้าอยากบอกต่อ และอยากกลับมาใช้บริการอีก 

.

สานสัมพันธ์กับชุมชน 

ในช่วงหน้าร้อน ทางรีสอร์ตมีการจัด one day trip พาลูกค้าล่องเรือชมหมู่บ้านชาวประมง และไปชมปลาฉลามในโครงการของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างชุมชนรอบ ๆ กับทางรีสอร์ต และยังมีการเช่าเรือชาวประมงหลังจากชาวประมงใช้หาปลาเสร็จ เป็นการให้รายได้เสริมแก่พวกเขา และเป็นการให้นักท่องเที่ยว ได้มาซึมซับบรรยากาศของหมู่บ้านชาวประมงที่หาดคุ้งวิมานจริงๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทางรีสอร์ตได้มอบให้กับทางชุมชน สิ่งที่ได้กลับมาคือวัตถุดิบจากทะเลที่สดและสะอาด แถมยังได้กิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า

Peggy's Cove Resort และชาวบ้านในหมู่บ้านชาวประมง มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมของหมู่บ้านชาวประมง ทางรีสอร์ตก็ได้นำไปบอกเล่ารายละเอียดเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่อให้แก่ลูกค้า  รวมถึงพนักงานในรีสอร์ตก็เป็นคนจากหมู่บ้านชาวประมงเอง จึงสามารถช่วยเหลือทางรีสอร์ตได้หลายอย่าง เช่น การแนะนำชนิดของปลาและอาหารทะเลในแต่ละช่วงฤดู  ซึ่งทาง Peggy's cove มองว่า การทำเช่นนี้เมีแต่ได้ทั้งสามฝ่าย คือทั้งตัวรีสอร์ต ชาวบ้าน และลูกค้า

.

พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน

Peggy's Cove Resort พร้อมปรับตัวและเรียนรู้จากลูกค้าไปด้วยตลอด จากการสังเกตและใส่ใจและรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การสังเกตมุมซ้ำ ๆ ในการถ่ายรูปของลูกค้าที่แชร์ในช่องทางออนไลน์ จึงทำเป็นจุดถ่ายรูปให้ลูกค้า เพื่อเป็นมุมที่เห็นแล้วทราบได้เลยว่านี่คือ Peggy’s Cove Resort และยังเปลี่ยนมุมมองการทำการตลาดจากที่เน้นกลุ่มลูกค้าครอบครัวและคู่รัก เริ่มขยายกลุ่มเป้าหมาย โดยเลือกเน้นด้านการทำการตลาดด้วยสื่อออนไลน์และวิดีโอต่าง ๆ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มาประชุมสัมมนา และได้มีการสร้างห้องประชุมเพิ่มเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้น

.

ผู้ที่สนใจที่พักหรือบริการ สามารถติดต่อ Peggy's Cove Resort ได้ที่

Peggy's Cove Resort

หาดคุ้งวิมาน, 44 หมู่ 7,ต.สนามไชย อ.นายายอาม จ.จันทบุรี 22170

website: www.peggyscoveresort.com

Tel: 039-460345

Email: info.peggyscove@gmail.com

Facebook: www.facebook.com/peggyscoveresort

Instagram: @peggyscoveresort

Line: @peggyscove

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

 

บทความแนะนำ