คอนเฟิร์ม สมัครและยืนยันตัวตน KYC พร้อมเข้าใช้งานแอปฯ “ทางรัฐ” เป็นแอปภาครัฐ มั่นใจ ปลอดภัย เชื่อถือได้ 100% 

คอนเฟิร์ม สมัครและยืนยันตัวตน KYC พร้อมเข้าใช้งานแอปฯ “ทางรัฐ” เป็นแอปภาครัฐ มั่นใจ ปลอดภัย เชื่อถือได้ 100% 
แอปฯ “ทางรัฐ” Super App รวมบริการภาครัฐเพื่อประชาชน พัฒนาโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA รับรองมาตรฐานความปลอดภัยให้คุณมั่นใจ ผู้ใช้งานจึงต้องลงทะเบียน และพิสูจน์และยืนยันตัวตน (KYC) เช่นเดียวกับแอปฯ ของธนาคาร ทั้งการสแกนบัตรประชาชน และสแกนใบหน้า หลังจากนั้นท่านจึงจะสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ในแอปฯ ทางรัฐได้
เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลของท่านหรือใช้งานแอปฯ ทางรัฐแทนท่าน
มั่นใจ เชื่อถือได้ มีแอปฯ “ทางรัฐ” ทางลัดใหม่ในการเข้าถึงบริการภาครัฐ สะดวก ปลอดภัย รวมบริการภาครัฐกว่า 152 บริการในแอปฯ เดียว ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชม.
ทางลัดถึงรัฐ ช่องทางเดียว ง่าย จบ ครบทุกช่วงวัย  
ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐhttps://czp.dga.or.th/cportal/sdk/landing/index.html
#ทางรัฐ #KYC #DGA #สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล #SmartNationSmartLife #รัฐบาลดิจิทัล

บทความแนะนำ

Samuay & Sons อีสานจานหรูจากเมนูท้องถิ่น

Samuay & Sons อีสานจานหรูจากเมนูท้องถิ่น

รักอาหาร รักอีสาน รักบ้านเกิด และรักแม่ นับได้ว่าเป็นวัตถุดิบหลักที่สร้างร้านอาหาร Samuay & Sons ให้เกิดขึ้นมา และทำให้ร้านนี้เป็นมากกว่าร้านอาหารอีสานที่เราพบเห็นได้ทั่วไป แต่กลับใส่เติมความเป็นอีสานเต็มตัวไว้ในอาหารทุกเมนูได้อย่างเต็มคำ

Samauy & Sons นั้น เริ่มมาจากความตั้งใจของ 2 พี่น้อง เชฟหนุ่ม - วีระวัฒน์ และเชฟโจ้ - วรวุฒิ ตริยเสนวรรธน์ ที่ชื่นชอบการทำอาหารมาตั้งแต่สมัยไปค้นหาความฝันอยู่ที่สหรัฐอเมริกา แต่เมื่อคุณพ่อล้มป่วยเป็นมะเร็ง เลยมีเหตุให้ต้องกลับมาอยู่ที่บ้านเกิดที่จังหวัดอุดรธานี และนำความรู้ความตั้งใจ กลับมาเปิดร้านอาหาร โดยตั้งใจตั้งแต่แรกว่าจะใช้ชื่อแม่เป็นชื่อร้าน เพราะเห็นแม่เป็นฮีโร่ของตน จึงเป็นที่มาของชื่อร้านว่า ซาหมวย แอนด์ ซันส์ 

แม้ว่าทั้ง 2 คน จะใช้ชีวิตในการทำอาหารฝรั่งมาตลอด แต่เมื่อต้องกลับมาอยู่บ้านเกิด หากคิดจะทำร้านอาหารแล้ว เปิดเป็นร้านอาหารไทยดูจะเป็นทางที่ตัวเองสนใจ และเหมาะกับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่เสียมากกว่า อีกสิ่งหนึ่งคือ เชฟนั้นมีความสนใจในเรื่องราวของวัตถุดิบของภาคอีสานที่มีความหลากหลาย เพราะเป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ทำให้มีวัตถุดิบที่ผู้คนทั่วไปอาจยังไม่รู้จักอีกมาก รอให้ค้นพบและนำมาทำให้เป็นอาหารที่รับประทานได้ ซึ่งเชฟได้รับรู้เรื่องราวจากการเดินทางไปใช้ชีวิตใกล้ชิดกับพ่อค้าแม่ค้า ศิลปินท้องถิ่น จนถึงปราชญ์ชาวบ้านทั่วทั้งภูมิภาค

เล่าเรื่องอีสานผ่านเมนู

คนอีสานท้องที่นั้น รู้จักพืชผัก ผลไม้ หรือวัตถุดิบหลาย ๆ อย่างในท้องถิ่นของตัวเองกันอยู่แล้ว ในเมื่อภาคอีสานนั้นเต็มไปด้วยวัตถุดิบชั้นดี ที่รอการเผยแพร่ ในฐานะของเชฟที่เกิดในภาคอีสาน ก็ควรที่จะนำวัตถุดิบเหล่านี้มาแนะนำให้คนทั้งประเทศได้รู้จักด้วย

ใช่ว่าทุกวัตถุดิบจะสามารถนำมาทำอาหารได้ทันที เชฟในนำวัตถุดิบแต่ละชนิดที่ตนไปพบเจอ มาลองศึกษาหาความเป็นไปได้ ผ่านกรรมวิธีที่จะดึงรสชาติต่าง ๆ ออกมาให้ได้รสดีที่สุด จนเกิดเป็น Food Lab ที่เป็นเหมือนห้องทดลองขนาดย่อม ๆ ให้เชฟได้เล่นสนุกกับการหมัก ดอง คั้น เคี่ยว หรือวิธีใดก็ตามที่ได้ผล

จากเมนูอาหารอีสานดั้งเดิม ก็ค่อย ๆ เพิ่มเติมความน่าสนใจมากขึ้น ด้วยวัตถุดิบแปลกตา ที่เชฟสรรหามาผสมผสานเข้าในเมนู เช่น เมนูทาโก้ ที่ทั่วไปมักใช้เป็นแผ่นแป้งตอร์ติญา แต่เมื่อผ่านมือเชฟของร้านนี้ก็จะถูกปรับเปลี่ยนให้สมเป็นลูกอีสานมากขึ้น ด้วยการเปลี่ยนเป็นแป้งที่ทำขึ้นจากเมล็ดขนุน

ทุกวันนี้ถึงแม้ว่าร้าน Samuay & Sons จะได้รับรางวัลต่าง ๆ มามากมาย และได้มีชื่ออยู่ในมิชลินไกด์ แต่เชฟเองก็ยังคงไม่หยุดที่จะพัฒนาประสบการณ์ของการทานอาหารให้กับลูกค้า เพราะมีความตั้งใจว่าอยากนำเสนอวัตถุดิบอีสานให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยต้องการสร้างมาตรฐานของร้านให้ดีที่สุด และรักษามาตรฐานให้สูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ 

การสร้างคอมมูนิตี้ในบ้านเกิดก็เป็นสิ่งสำคัญ ในเรื่องของการทำธุรกิจเมื่อมีการพึ่งพากันก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเข้มแข็ง ซึ่งสามารถพัฒนาต่อให้สามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน เมื่อคนในชุมชนมีรายได้ อยู่ได้ คนก็ไม่จำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานไปที่อื่น คนก็จะเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตัวเองทำ ยิ่งเป็นการสร้างคุณค่าให้กับจังหวัด เพื่อดึงดูดผู้คนให้เห็นคุณค่าของเรามากกว่า

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

Samuay & Sons

ที่อยู่: 103/8 ถ.ศรีชมชื่น ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี อุดรธานี 41000

โทร: 098-891-9249

อีเมล: samuayandsons.ud@gmail.com

เว็บไซต์: www.samuayandsons.com

Facebook: SamuayNsons

Instagram: samuayandsons

บทความแนะนำ

เส้นขนมจีนอบแห้ง Mr.Bob ที่อยากให้คนอร่อยได้ทุกที่ ทุกเวลา

เส้นขนมจีนอบแห้ง Mr.Bob ที่อยากให้คนอร่อยได้ทุกที่ ทุกเวลา

เพียงความตั้งใจเล็ก ๆ ที่อยากให้คนไทยทั่วประเทศได้กินเส้นขนมจีนที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ กลายเป็นธุรกิจใหญ่ที่ส่งออกเส้นขนมจีนอบแห้งไปหลาย ๆ ประเทศในโลก

ความคิดนี้เริ่มมาจาก คุณบ๊อบ - วีระพงษ์ โสดามรรค ที่ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วอยากหาเส้นขนมจีนทาน ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยาก เมื่อพบเส้นขนมจีนอบแห้งที่วางขายอยู่ แล้วลองเอามาทำอาหารดู ก็พบว่า ไม่ว่าจะเป็นเส้นขนมจีนแบบใด แต่ละเส้นล้วนขาดกลิ่นหอมและรสสัมผัสที่เป็นความอร่อยเฉพาะตัวของเส้นขนมจีนไป จึงเกิดโจทย์คำถามขึ้นในใจว่า “ต้องทำอย่างไร ให้คนไทยได้มีเส้นขนมจีนอบแห้งที่อร่อย สามารถเก็บไว้ได้นาน ทานได้ทุกที่ทุกเวลาที่ และดีต่อสุขภาพ”

เมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ทำการค้นคว้า จนได้ข้อมูลว่าในไทยนั้น มีแต่ขนมจีนเส้นสด ซึ่งเสียง่ายไม่สามารถเก็บได้นาน และมีกลุ่มคนที่ต้องการทานขนมจีนแต่มีปัญหาด้านสุขภาพในระบบทางเดินอาหารจึงไม่สามารถทานได้ จึงเกิดแนวความคิดที่อยากทำเส้นขนมจีนที่ตอบโจทย์ทั้งหมดนี้

หลังจากที่ทำการศึกษา และพัฒนาจนสามารถคิดสูตรของเส้นขนมจีน ที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพสามารถรับประทานได้ และ ใช้กระบวนการอบแห้งที่ทำให้เส้นขนมจีนนั้น ยังคงรสชาติความหอม อร่อย และสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี ออกเป็นสินค้าจำหน่ายภายใต้ชื่อว่า เส้นขนมจีนอบแห้ง Mr.Bob

อบแห้งด้วยนวัตกรรมธรรมชาติ

นอกจากวิธีคิดที่คำนึงถึงกลุ่มลูกค้าแล้ว เส้นขนมจีนอบแห้ง Mr.Bob ยังคิดถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย จึงคิดหากรรมวิธีการผลิต ที่ให้ผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช้กระบวนการหมัก ไม่ใช้สารเคมีหรือสารปรุงแต่ง ไม่ทำร้ายสุขภาพของพนักงานและผู้บริโภค และในขณะเดียวกันก็ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม

คุณบ๊อบได้ไปปรึกษากรมพัฒนาพลังทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ร่วมกับภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้พัฒนาขึ้นมาเป็น โรงอบเส้นขนมจีนพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ด้วยพาราโบลาโดม ที่ใช้วิธีการสะสมความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ในโดม ช่วยเพิ่มความร้อนในการอบเส้นขึ้นได้ 3-7% และตัวโดมเองยังช่วยป้องกันเส้นจากฝุ่นและแมลงอีกด้วย ช่วยประหยัดพื้นที่ ประหยัดเวลาอบ และประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้นโดยไม่ต้องขยับขยายพื้นที่

ในด้านการช่วยเหลือสังคมนั้น คุณบ๊อบ ได้รับซื้อข้าวที่สะอาด มีคุณภาพจากเกษตรกรท้องที่ในราคาสูง เพื่อนำมาทำเป็นแป้งขนมจีน ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง ผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตราคาข้าวตกต่ำมาได้

ด้วยการทำธุรกิจอย่างใส่ใจ ทำให้ เส้นขนมจีนอบแห้ง Mr.Bob ชนะรางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ MSME Provincial Awards 2023 มาได้ เป็นอันดับที่ 1 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ 

ในปัจจุบันเส้นขนมจีนอบแห้ง Mr.Bob ได้มีการขยับขยายตลาดออกไปวางจำหน่ายในต่างประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย, ตะวันออกกลาง, จนถึงยุโรป

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

บริษัท วีพีพี ขนมจีนไทยอบแห้ง จำกัด (โรงงานขนมจีนอบแห้ง Mr.Bob) 

ที่อยู่: 247/1 หมู่ 2 ต.สมเด็จ  อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์  46150

โทร: 081-262-3273

Line: mrbobvpp 

เว็บไซต์:  www.mrbobnoodle.com

Facebook: Misterbob.vpp

บทความแนะนำ

ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สินค้าอาหาร เป็นปัจจัยหลักในการบริโภค และเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ในขณะเดียวกันจำนวนของผู้ประกอบการหน้าใหม่ ๆ ทั้งรายใหญ่ รายย่อย ที่หันมาทำสินค้าเกี่ยวกับอาหารก็มีเพิ่มมากขึ้น การกำหนดคุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัยของอาหารจึงมีความสำคัญต่อทั้งผู้บริโภคภายในประเทศเอง และเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล ในการส่งสินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศ การวิจัยและการทดสอบอาหารจะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก ช่วยส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศ และสนับสนุนภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเกิดขึ้นเพื่อให้บริการผู้ประกอบการ MSME ให้ได้รับการบริการด้านการวิจัยและทดสอบอาหาร ได้อย่างมีมาตรฐานและเชื่อถือได้

 

โดยมีบริการหลักด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. ให้บริการตรวจวิเคราะห์ แก่ผู้ประกอบการ ทั้งภายใน และต่างประเทศ ในตัวอย่างอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีมาตรฐาน อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการทางเคมี, ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางชีววิทยาโมเลกุล, และการตรวจประเมินอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์

 

  1. วิจัยและพัฒนาวิธีวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยของอาหาร เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารไทยให้มีศักยภาพในการแข่งจันในตลาดโลก

 

  1. ฝึกอบรมด้านการวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้บุคลากรทั้งจากภาครัฐและเอกชน

 

  1. เป็นแหล่งสนับสนุนและอ้างอิงทางวิชาการ ด้านระบบคุณภาพและมาตรฐานต่าง ๆ และความปลอดภัยของอาหาร

 

ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ไปจนถึงผลักดันเพื่อส่งเสริมสินค้าที่มีคุณภาพของผู้ประกอบการไทยให้ออกไปสู่ตลาดโลก

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร 

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่อยู่: ชั้น 16 อาคารมหามกุฏ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์: 02-218-7653-4

โทรสาร: 02-218-7653

อีเมล: cufdtest@gmail.com

เว็บไซต์ : www.cufoodtest.com

บทความแนะนำ

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) หน่วยงานที่ช่วยผู้ประกอบการ MSME ด้านการทดสอบวิเคราะห์และสอบเทียบ

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) 

หน่วยงานที่ช่วยผู้ประกอบการ MSME ด้านการทดสอบวิเคราะห์และสอบเทียบ

 

ปัจจุบัน การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในทุกๆ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจนั้น ๆ ต้องออกไปแข่งขันในตลาดระดับโลก  และ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) เป็นอีกหนึ่งในหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพด้านงานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างเต็มที่

โดย ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) คือผู้ช่วยคนสำคัญของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยให้การสนับสนุนในรูปแบบห้องปฏิบัติการที่ให้บริการกลุ่มอุตสาหกรรมในด้านการทดสอบวิเคราะห์และสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ อาทิ เครื่องมือชั่ง เครื่องมือตวง หรือเครื่องมือวัด รวมถึงการตรวจสอบมาตรฐานของเครื่องมือเพื่อการผลิตในระบบตามคุณภาพมาตรฐาน และการให้คำแนะนำ โดยการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้บริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบตั้งแต่ตั้งต้นผลิตจนถึงตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานตัวผลิตภัณฑ์ สำหรับผู้ประกอบการทุกประเภทที่ต้องการตรวจสอบเครื่องมือให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิต 

นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศออกสู่ต่างประเทศแล้ว ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพงานบริการทางวิทยาศาสตร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ปัจจุบัน ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สังกัดอยู่ในกลุ่มบริการอุตสาหกรรม ภายใต้การบริหารงานของสถาบันวิจัยและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู  มีการให้บริการที่หลากหลาย อาทิ บริการวิเคราะห์อาหารและเครื่องดื่ม สำหรับการจัดจำหน่ายในประเทศและการขอมาตรฐานระหว่างประเทศ บริการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รวมทั้งวิเคราะห์ ตะกั่ว สี ซึ่งเป็นที่เดียวในประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเรื่องสีครบทุกรายการรับรอง 

นอกจากนี้ ยังมีบริการทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากสีเขียว (Green Label) ตามรายการที่กำหนดเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการยื่นขอฉลากเขียว การทดสอบตามกฎระเบียบต่างประเทศ และการทดสอบเพื่อสนับสนุนด้านมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การทดสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำเสีย ตลอดจนให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับวิธีทดสอบ เป็นต้น

รวมถึงบริการให้คำปรึกษา และสอบเทียบเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ สำหรับผู้ประกอบการที่มีสายการผลิตและต้องการขอการรับรองระดับสากลเช่น ISO, อย. และ สมอ. บริการฝึกอบรมการสร้างมาตรฐาน Lab เพื่อรับรอง ISO และ IEC 17025 มีทั้งแบบที่เปิดให้ผู้ประกอบเข้ามาฝึกอบรมได้เลย และแบบการจ้างผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ออกไปอบรมข้างนอก บริการหาทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการ  SMEs ฟรี เช่นทุนจากธนาคาร และบริการตรวจสอบมาตรฐานหลังการผลิต วิเคราะห์ตั้งแต่วัตถุดิบตั้งแต่ต้นทาง จนถึงตรวจสอบพร้อมให้คำแนะนำหลังผลิตเสร็จ

        ดร.วดี วิชัยดิษฐ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (บางปู) กล่าวว่า ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (บางปู) เปิดให้บริการมานานกว่า 32 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมโดยภาพรวมและการปรับตัวของผู้ประกอบการ โดยในช่วง 10 ปีแรกของการให้บริการ มีการเติบโตอย่างรวดเร็วจากการเข้ามาลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของเครื่องมือต่าง ๆ ส่งผลให้ตลาดมีการเติบโตทั้งในด้านการทดสอบวิเคราะห์และการสอบเทียบเครื่องมือ เนื่องจากเป็นช่วงที่มาตรฐาน ISO 9001 กำลังเป็นที่สนใจและได้รับความนิยม เพื่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จนทำให้มีธุรกิจเอกชนเปิดให้บริการสอบเทียบเครื่องมือเป็นจำนวนมากนับร้อยรายในปัจจุบัน แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นเอสเอ็มอีเพราะต้องลงทุนสูง 

“ศทม. จึงเน้นการบริการที่ครอบคลุมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะระบบตรวจสอบเพื่อการรับรองมาตรฐานสำหรับการส่งออกต่างประเทศ โดยในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยมีการปรับตัวค่อนข้างมาก จากที่เคยมองว่า การทดสอบวิเคราะห์และสอบเทียบเครื่องมือต่าง ๆ เป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันมองว่า เป็นเรื่องที่เข้ามาช่วยควบคุมในเรื่องคุณภาพจะช่วยลดต้นทุนได้ในระยะยาวถ้ามีระบบการจัดการที่ดี รวมถึงระบบการสร้างมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ จะช่วยให้ลดการสูญเสียทางด้านยอดขายหากสินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือส่งออกไม่ได้ เมื่อเวลาผ่านไปผู้ประกอบการจะมีความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น” 

สำหรับแผนงานในปีนี้ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยใน 2 เรื่องหลัก เรื่องแรก คือการของบประมาณจากแหล่งทุนต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริการสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นความต้องการของผู้ประกอบการได้มากขึ้น ทั้งในเรื่องของการทดสอบวิเคราะห์และการสอบเทียบ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve ที่ภาครัฐให้การสนับสนุน โดยทาง ศทม. จะเข้ามาให้การสนับสนุนพร้อมพัฒนาศักยภาพของแล็ปให้สามารถรองรับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

“การขอทุนสนับสนุนการดำเนินงานจะช่วยลดต้นทุนด้านการจัดการของ ศทม. ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการได้ในราคาที่ไม่สูง ช่วยให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนในการทำธุรกิจอีกทางหนึ่ง ตอนนี้โครงการที่เป็น New S-Curve จะมีเรื่องของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์อัจฉริยะที่เรียกว่า IoT เพราะในอนาคตผู้ประกอบการโดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอีมีโอกาสที่จะพัฒนานวัตกรรมที่ IoT ในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีการของบสนับสนุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางด้านอาหาร เช่น กลุ่มฟังก์ชันนอลฟู้ดส์ โดยล่าสุดมีเรื่องของ “โปรไบโอติก” ที่กำลังเป็นที่สนใจ จะมีเกณฑ์ขอ อย.ที่เพิ่งออกมา โดยทางศูนย์ ศทม.จะมีการให้บริการในเรื่องเหล่านี้ด้วย” 

เรื่องที่สอง คือการทำงานร่วมกับพันธมิตร เช่น สสว. ไอแท็บ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีงบสนับสนุนผู้ประกอบการ โดย ศทม. จะให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการเพื่อเป็นทางเลือกในการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ทาง วว. ก็มีเครือข่ายสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ที่ ศทม. สามารถหาโซลูชั่นจากเครือข่ายของ วว. ให้กับผู้ประกอบการได้ โดยจะมีการให้คำแนะนำผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่มต้นวิจัย สร้างคุณภาพและมาตรฐาน ไปจนถึงการหาแหล่งเงินทุนเข้ามาสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการ เป็นการช่วยหาโซลูชั่นเพื่อให้ผู้ประกอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับการรับรอง 

“วว. ยังมีการจัดทำ Pilot Plant สำหรับการผลิตสินค้าบางประเภท เช่น อาหารและเครื่องดื่ม มีการทำ OEM สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ และต้องการทดลองตลาดก่อนด้วยสินค้าจำนวนไม่มาก สามารถจ้างให้ วว. ทำการผลิตสินค้าให้ได้ ถือเป็นการสนับสนุนแบบครบวงจรตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่การทำวิจัย ผลิต และส่งทดสอบวิเคราะห์โดย ศทม. ตามเกณฑ์ของ อย. ก่อนนำไปขึ้นทะเบียน อย.”

สำหรับผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะขอรับบริการ สามารถติดต่อผ่านจุดรับงานต่าง ๆ ของ ศทม. ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ วว. สำนักงานใหญ่ (คลอง 5 ปทุมธานี) ศูนย์บางเขน และนิคมอุตสาหกรรมบางปู (ที่ตั้งของแล็บ ศทม.) หรือติดต่อผ่าน JUMP บนหน้าเว็บไซต์ของ วว. เพื่อสอบถาม ขอเอกสารใบเสนอราคา ขอคำปรึกษา หรือบริการต่าง ๆ 

ดร.วดี กล่าวเสริมว่า ในแง่การทำงานของศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยาในปัจจุบันมีความท้าทายใน 2 เรื่อง คือ 1. เรื่องของ Digital Transformation ที่ต้องปรับตัวให้มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับกับดิสรัปชันที่เกิดขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรปมีข้อกำหนดในเรื่องของ Digital Product Passport ในบางผลิตภัณฑ์ ทางศทม.จึงมีการทำในเรื่องของการสอบเทียบเครื่องมือที่ต้องมี Digital Calibration Certificate ให้กับผู้ประกอบการเพื่อเป็นข้อมูลดิจิทัลประกอบในตัว Digital Product Passport เป็นเรื่องหนึ่งที่ศูนย์ต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในอนาคต และ 2. ศทม.มีความเสี่ยงจากการถูกดิสรัป ทำให้ต้องยกเลิกการให้บริการสำหรับงานบางประเภท รวมถึงงานทางด้านที่ปรึกษา การฝึกอบรม อาจถูกดิสรัปด้วยการเข้ามาของ AI หรือ ChatGPT อาจทำให้ผู้ประกอบการไม่เข้ามาใช้บริการกับทาง ศทม. เพราะสามารถหาข้อมูลได้เอง 

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการวางแผนการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยาเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาทาง ศทม. ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในกลุ่มผู้จัดงานนิทรรศการรายใหญ่ ๆ ที่เคยทำงานร่วมกับ วว. มาหลายปี โดยเน้นการเพิ่มบทบาทของ ศทม. ในงานนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อให้ได้พื้นที่ในโซนที่ดีมากยิ่งขึ้น เช่น การออกบูธนิทรรศการในงาน THAILAND LAB INTERNATIONAL รวมถึงการจัดอบรมทางวิชาการต่าง ๆ ที่จะมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการรู้จัก ศทม. มากขึ้น 

“ปัจจุบัน ศทม. อยู่ในระหว่างการวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายในอนาคต โดยมุ่งเน้นด้านการเพิ่มความครบถ้วนในส่วนของงานที่ให้บริการอยู่ โดยจะดูว่ายังขาดอะไรบ้าง หรือต้องมีมาตรฐานอย่างไร รวมถึงการเพิ่มบริการใหม่ ๆ นอกเหนือจากการตรวจสอบวิเคราะห์และสอบเทียบเครื่องมือที่ทำอยู่ เช่น การทดสอบความชำนาญ เนื่องจากปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการเอกชนที่ให้บริการวิเคราะห์ หรือสอบเทียบเครื่องมือเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ธุรกิจเหล่านี้ก็ต้องการความถูกต้องเพื่อเปรียบเทียบกับผลจากภายนอกเช่นกัน ดังนั้น ศทม. จึงเสมือนเป็นหน่วยงานกลางที่เปิดโอกาสให้เขาเข้ามาเปรียบเทียบผลที่ได้เพื่อการรับรองมาตรฐาน จะเป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อที่

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

(1) ศทม. บางปู
นิคมอุตสาหกรรมบางปู
ซอย 1C (1ซี) ถนนสุขุมวิท
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10280

โทรศัพท์ : 0 2323 1672-80
โทรสาร : 0 2323 9165
E-mail : nitchakul@tistr.or.th (ณิชกุล)
E-mail : kitti_b@tistr.or.th (กิตติ)

 

(2) ศทม. เทคโนธานี (วว. สำนักงานใหญ่)
35 หมู่ 3 เทคโนธานี ถนนเลียบคลองห้า
ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี 12120

โทรศัพท์ : 0 2577 9036, 0 2577 9000
โทรสาร : 0 2577 9009

 

(3) ศทม. บางเขน
196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900

โทรศัพท์ : 0 2579 0160, 0 2579 5515
โทรสาร : 0 2579 8592

บทความแนะนำ