
หัวข้อ : 5 วิธีลดต้นทุนที่ช่วยให้ธุรกิจผ่านวิกฤติได้ทุกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม : www.bangkokbanksme.com/en/how-to-reduce-costs-that-help-businesses-through-crisis
หลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตต่างๆ อย่างเช่น COVID-19 แม้ธุรกิจจะเริ่มฟื้นคืนกลับมา แต่การบริหารต้นทุนที่เท่าเดิมอาจไม่ใช่ทางออกอีกต่อไป เพราะพฤติกรรมการใช้จ่ายและความต้องการของคนไม่เท่าเดิม ผู้ประกอบการจึงควรหาวิธีลดต้นทุนการผลิต ให้เหมาะสมกับสถานการณ์แบบนี้ และนี่คือ 5 วิธีที่ช่วยให้บริหารจัดการธุรกิจดีขึ้นกว่าเดิม
การใช้สินค้ามือ 2 สำหรับธุรกิจแล้วนับเป็นการลดต้นทุนที่ดีมาก ซึ่งในบางอุตสาหกรรมหรือบางธุรกิจเราไม่จำเป็นต้องใช้สินค้ามือ 1 อย่างเดียวเสมอไป ซึ่งอาจทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากกว่า 30-40% สุดท้ายยิ่งประหยัดต้นทุนได้มากเท่าไหร่ ยิ่งหมายถึงกำไรที่เพิ่มมากขึ้น
ถึงแม้ว่ายิ่งมีคนช่วยมากยิ่งแบ่งเบาภาระคุณได้ก็จริง แต่หากอยากลดต้นทุนต้องลงมือทำด้วยตัวเองให้มากที่สุดก่อน ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังช่วยเพิ่มทักษะของเราได้อีกด้วย เช่น เรื่องของการตลาดออนไลน์ คุณสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องจ้างคนอื่น
หากออฟฟิศของคุณมีค่าเช่าที่แพง การย้ายออฟฟิศเป็นการลดต้นทุนต่อเดือนได้หลายพันบาท แม้จะดูเป็นเรื่องใหญ่ แต่หากทำเลของคุณมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ คุณอาจคุยกับทีมให้ดี เพื่อหาสถานที่ที่เป็นจุดศูนย์กลาง หรือสะดวกกับทุกฝ่าย มันจะช่วยประหยัดได้มากกว่าเดิมแน่นอน
หลายคนจะไม่กล้าที่จะซื้อเทคโนโลยีมาใช้งาน เพราะรู้สึกว่าราคาสูง แต่หากเทคโนโลยีนั้นสามารถตอบสนองแทนคนได้เป็นอย่างดี ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับทีมหรือคุณได้ ก็ควรค่าแก่การลงทุน เทคโนโลยีสมัยนี้มีให้เลือกใช้งานได้ในราคาถูกมากกว่าที่คุณคิด
หลายคนอาจมองว่าการลาออกเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ แต่นั่นหมายถึงต้นทุนของคุณจะเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่รู้ตัว เช่น
Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : 3 ข้อที่ต้องทำ ถ้าจะปรับธุรกิจขึ้นออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม :www.smebiznews.com/2020/3-ข้อที่ต้องปรับ
ผู้ประกอบการที่มีเคยมีหน้าร้าน แต่ตอนนี้ปิดไปแล้ว หรือผู้ประกอบการที่กำลังสนใจปรับธุรกิจเพื่อเพิ่มรายได้ โดยอยากจะเริ่มต้นทำออนไลน์บ้าง จะต้องเริ่มอย่างไร เรามี 3 แง่คิดดี ๆ มาฝากให้เป็นไอเดีย
- เปิดพื้นที่ส่วนตัวเป็นสาธารณะ เรื่องแรกที่ต้องปรับจูนก็คือ ทัศนคติเกี่ยวกับการเปิดเผยตัวตน ลองเปิดเผยตัวตนต่อสาธารณชนเพิ่มมากขึ้น เปิดรับเพื่อนใหม่ที่อาจไม่เคยรู้จักมาก่อน
- ไม่รอลูกค้าทักเข้ามาซื้อเหมือนออฟไลน์ ต้องทำเชิงรุก เช่น หากเราโพสต์ข้อมูลสินค้าหรือบริการเราลงไปในสื่อโซเชียลแล้ว หากมีคนกดไลก์ ลองเข้าไปทักทายพูดคุย ไม่ต้องรอให้คนทักมาถามราคา
- ตอบไวรวดเร็ว หรือใช้แชทบอท หรือตั้งค่าตอบอัตโนมัติ เพราะตอบช้าแค่ไม่กี่นาที หรือข้ามไปเป็นวัน ๆ ว่าที่ลูกค้าอาจหายไปซื้อกับคนอื่นหมด
- มีการเชื่อมการทำงานระหว่างโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มอื่น ๆ
- ทำงานหนักกว่าออฟไลน์ เช่น เพิ่มเพื่อน ทำโพสต์ ส่งข้อมูล ปิดการขาย
- ลงทุนบ้าง เช่น ถ้าต้องการหาลูกค้าใหม่ ๆ เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ก็ต้องมีงบประมาณในการซื้อโฆษณาเฟซบุ๊ค
- กฎของจำนวน มีความถี่ ความต่อเนื่อง ทำทุกวัน
ก่อนจะเลือกใช้ต้องทำความรู้จัก เรียนรู้วิธีใช้งานแต่ละชนิด ซึ่งแต่ะละแพลตฟอร์มก็เหมาะกับประเภทธุรกิจที่แตกต่างไป ขึ้นอยู่ประเภทธุรกิจของคุณ และไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องใช้กี่แพลตฟอร์ม แต่ละโซเชียลมีเดียก็มีจุดเด่นต่างกัน จะใช้หลายโซเชียลมีเดียเพื่อกระจายความเสี่ยงก็ได้ ในบ้านเราที่เป็นที่นิยมในการทำธุรกิจออนไลน์ก็คือโซเชียลมีเดียเหล่านี้
มีหลายเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องฝึก เรียนรู้ในการทำ หรือถ้ามีงบมาก ๆ สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญมาช่วยทำให้ก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าให้ดีหากธุรกิจไม่ได้ใหญ่มากหรือมีสินค้าหลากหลาย เจ้าของธุรกิจมาลงมือเรียนรู้ทำเอง หรือไปเข้าคอร์สเรียนเพื่อจะได้ทำเองก็จะยิ่งดี
เรื่องที่ควรรู้เพื่อทำเองเป็น
Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : ตลาดความงามหลังโควิด-19 จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/beauty-market-behind-covid-19-what-will-happen
ในด้านตลาดเครื่องสำอางทั่วโลกนั้นมีข้อมูลบ่งชี้ว่า ผลพวงจากการล็อกดาวน์ ผู้คนส่วนใหญ่อยู่บ้าน ได้ส่งผลกระทบทำให้ตลาดของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการแต่งหน้าและเทรนด์ความงามต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป
- สาวชาวปารีสที่ขึ้นชื่อว่ารักสวยรักงามเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ยังลดระดับการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงและเสริมความงามลง ในช่วงที่รัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มมาตรการกักตัวประชาชน เป็นระยะเวลานานกว่า 2 เดือน
- น้ำหอมและเครื่องสำอางเมื่อเดือนเมษายน 2563 ยอดขายกลับลดเหลือเพียง 22 ล้านยูโร เท่านั้น (จาก ยอดขายเฉลี่ยปีที่แล้ว เดือนละประมาณ 247.83 ล้านยูโร)
- สินค้าที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ได้แก่ ครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย ผลิตภัณฑ์บำรุงผม ลิปบาล์ม ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
- สินค้าที่ได้รับผลกระทบสูงสุด คือ ลิปสติก ยอดขายทางออนไลน์ลดลงมากถึงร้อยละ 58
- ปัจจุบันที่เข้าสู่การใช้ชีวิตประจำวันตามเดิม แต่ยังต้องใส่หน้ากากอนามัย ยอดขายเครื่องสำอางสำหรับแต่งดวงตาปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 116 โดยเฉพาะในกลุ่มมาสคาร่าที่มียอดขายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 150
- เครื่องสำอางแบบติดทนนาน กันน้ำ กันเหงื่อ หรือกันเลอะเลือนกลับมาได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก
- เครื่องสำอางแบบคอนทัวร์ริ่งที่เคยฮิต ปัจจุบันกลับได้รับความสนใจน้อยลง
- ในช่วงเกิดการระบาดผู้บริโภคเกือบร้อยละ 50 ให้ความสำคัญกับการดูแลผิวเป็นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ที่มีกำไรเพิ่มขึ้น เช่น แผ่นมาส์กหน้า โลชั่นบำรุงผิวหน้า เซรั่ม เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับดูแลผิวหน้า
- การแต่งหน้าน้อย ส่งผลให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดน้อยลง
- หลังจากการระบาดพบว่า
- ปัจจุบันเหตุผลที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวมากที่สุด ได้แก่ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ และส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ
- ผู้บริโภคหันมาใช้เทคนิคการแต่งหน้าที่เป็นธรรมชาติแบบบางเบามากขึ้น แม้จะคลายล็อกดาวน์ไปแล้ว
- ปกติสาวๆ ออสเตรเลียมีการแต่งหน้าที่เข้ม หลังการระบาดมีการหันมานิยมแต่งหน้าให้มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อความงามแบบทำได้ด้วยเองเพิ่มมากขึ้น
- ยอดขายผลิตภัณฑ์การตกแต่งเล็บ ทำเล็บ และยาล้างเล็บ เพิ่มขึ้นร้อยละ 237
- สินค้าประเภทการทำสีผมแบบปราศจากสารเคมีชนิดรุนแรง เพิ่มขึ้นร้อยละ 124
- ยอดขายสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์กำจัดขน เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน
- ร้านค้าเครื่องสำอางออนไลน์ชื่อดังของออสเตรเลีย มียอดขายเครื่องอุปกรณ์สำหรับคลินิกเสริมความงามเพิ่มขึ้นร้อยละ 113 ยอดขายมาสก์บำรุงผิว เพิ่มขึ้นร้อยละ 63 และผลิตภัณฑ์ออยบำรุงผิว เพิ่มขึ้นร้อยละ 41
- หลังผ่อนปรนมาตรการมาได้ซักระยะ แต่พฤติกรรมการแต่งหน้ายังคงเน้นสภาพของผิวหน้าที่สดใสและเป็นธรรมชาติ โดยยังคงใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อบางเบา แต่ปกปิดสูง และช่วยบำรุงผิวไปพร้อมกัน
บทสรุปนี้ อาจไม่ครอบคลุมในทุกกลุ่มของสาว ๆ ทั่วโลก แต่มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ประเด็นหนึ่ง คือ เทรนด์ความงามตามธรรมชาติ และเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติได้รับความนิยมชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ ปลอดภัย ซึ่งในประเทศไทยก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกัน ผู้ผลิตสามารถนำเทรนด์เหล่านี้ไปต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับตลาดที่อนาคตได้
Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : Scale up ธุรกิจอาหารอย่างไร? ให้โตเหนือคู่แข่ง
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Apr-2019.aspx
การแชร์ภาพอาหารผ่านโซเชียลมีเดียมีอิทธิผลอย่างมากในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อินสตาแกรม หรือไอจี เป็นหนึ่งในโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ผู้ใช้ไอจีส่วนใหญ่ชอบลงภาพเซลฟี่ของตัวเองและภาพจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือกระทั่งภาพอาหารที่ถ่ายอยากสวยงามชวนกิน
อินสตาแกรม หรือไอจี จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่บรรดาธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้า เช่น การเสิร์ฟอาหารที่จัดแต่งสวยงามเพื่อให้ลูกค้าเกิดอาการว้าวจนต้องถ่ายรูปลงไอจี หรือการจ้างคนดังมาถ่ายรูปรีวิวอาหารผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวเพื่อให้ผู้ติดตามของคนดังเหล่านั้นอยากมาตามรอย
สำหรับร้านหรือแบรนดที่มีอินสตาแกรมของตัวเองอย่างเป็นทางการ สิ่งที่ต้องระวังคือ การถ่ายรูปสินค้านับร้อยนับพันแล้วอัพลงรัว ๆ เพราะแทนที่จะเป็นผลดีกลับจะสร้างความรำคาญให้ผู้ติดตามได้
#ชูจานเด่นของร้าน
#ใช้ประโยชน์จากแฮชแท็ก
การใส่แฮชแท็ก (#) จะทำให้เข้าถึงกลุ่มคนใช้โซเชียลได้มากขึ้น รวมถึงคนที่ไม่ได้ติดตามอินสตาแกรมของทางร้าน นอกจากนั้นแฮชแท็กยังใช้เพื่อติดตามเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกโซเชียลอีกด้วย
#รู้ช่วงเวลาในการโพสต์
ภาพอาหารสวยงามก็ไม่อาจดึงดูดความสนใจจากชาวเน็ตได้หากโพสต์ผิดเวลา ช่วงเวลาที่โพสต์จึงสำคัญมาก
#ความสมํ่าเสมอคือสิ่งสําคัญ
โพสต์แค่วันละ 1-2 โพสต์ก็เพียงพอ แต่ต้องต่อเนื่องเป็นประจำ ไม่หายไปนานจนคนอาจเข้าใจผิดว่าเลิกกิจการไปแล้ว และไม่จำเป็นต้องโพสต์แต่ภาพอาหารอย่างเดียว อัพเดตข่าวสารของร้านหรือเรื่องราวดี ๆ ที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของร้านและเป็นประโยชน์มาแชร์บ้างก็ได้เช่นกัน
#โพสต์ภาพนิ่งสลับภาพเคลื่อนไหว
ควรอัดคลิปหรือถ่ายภาพวิดีโอมาลงบ้าง เพราะภาพเคลื่อนไหวจะดึงความสนใจได้ดีกว่าภาพนิ่ง อาจจะเป็นคลิปสาธิตการทำอาหารหรือเครื่องดื่มง่าย ๆ ของทางร้านที่ความยาว 15 วินาทีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 นาที
#ลูกค้าคือคนสําคัญ
ลูกค้าอาจจะถ่ายรูปตัวเองขณะไปใช้บริการที่ร้านและลงในอินสตาแกรมส่วนตัวเป็นเรื่องปกติ ถ้าทางร้านติดตามเจอ แนะนำให้ขออนุญาตแคปภาพลงในอินสตาแกรมร้าน ขอบคุณลูกค้า นอกจากจะสร้างความรู้สึกดีให้กับลูกค้าได้แล้ว ยังอาจช่วยให้เกิดการแชร์โพสต์นั้นเพิ่มอีกได้
#จัดกิจกรรมแจกรางวัล
ทางร้านหรือทางแบรนด์สามารถจัดกิจกรรมง่าย ๆ ผ่านอินสตาแกรม เช่น ประกวดภาพถ่ายกับสินค้าของร้าน เปิดภาพเป็นสาธารณะ แท็กเพื่อนจะกี่คนแล้วแต่เรากำหนด จากนั้นคัดเลือก ภาพไหนชนะจะรับรางวัลไป จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมที่ดีระหว่างลูกค้ากับร้านได้
#รีวิวจากคนดังหรือคนที่มีผู้ติดตามเยอะ
หากร้านมีเงินทุนเยอะหรือมีคอนเน็กชัน อาจโปรโมตแบรนด์ผ่านช่องทางของบรรดาเน็ตไอดอล หรือคนที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ยอดขายพุ่งขึ้นถึง 50% เลยทีเดียว
Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : เทคนิคการทำธุรกิจ Catering อย่างมืออาชีพ
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/catering-technique
ธุรกิจรับจัดเลี้ยง หรือ Catering เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการที่อยากเริ่มธุรกิจไปจนถึงผู้ที่อยากต่อยอดธุรกิจอาหารเดิมที่ทำอยู่ แต่การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ อย่างมาประกอบเข้าด้วยกัน
- ธุรกิจรับจัดเลี้ยงถือเป็นงานด้านการบริการจัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มตามงานและสถานที่จัดงานต่าง ๆ ที่ลูกค้ากำหนด เพื่อเฉลิมฉลองงานดังกล่าว และเพื่อดูแลให้แขกที่มาร่วมงานเกิดความประทับใจ
- การจัดเลี้ยงที่ดีจะช่วยสร้างคุณค่าให้แก่งาน และเอื้อประโยชน์แก่เจ้าภาพผู้จัดงานต่อไปในอนาคต ดังนั้นนอกเหนือจากอาหารเครื่องดื่มที่สดใหม่ อร่อย และได้คุณภาพแล้ว นักจัดเลี้ยงที่ดีย่อมต้องคำนึงถึงการบริการที่ดีของพนักงาน
- หากยังไม่มีพื้นฐานด้านจัดเลี้ยงมาก่อนไม่ควรทำเป็นธุรกิจใหญ่ ควรเริ่มจากเล็ก ๆ โดยอาศัยฐานลูกค้าในละแวกหมู่บ้านหรือพื้นที่ใกล้เคียงก่อน
- ธุรกิจรับจัดเลี้ยงเป็นธุรกิจที่ทำกำไรและมีการแข่งขันสูง ดังนั้น ผู้ที่จะทำธุรกิจด้านนี้ต้องมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน และนอกจากมีความพร้อมแล้วยังต้องหาจุดแตกต่างของตัวเองให้เจอ เพื่อเป็นการแสดงจุดขายให้กับธุรกิจของคุณเอง
- หลายครั้งที่ลูกค้ามักมีคำถามหรือต้องการความเห็นจากผู้รับจัดเลี้ยงว่าควรทำแบบไหน มีอาหารอย่างไรที่จะทำให้แขกที่มาร่วมงานประทับใจ ผู้ประกอบการที่ดีต้องสามารถตอบคำถามและให้ข้อมูลกับลูกค้าในเบื้องต้นได้ ดังนั้น ควรรวบรวมผลงานและถ่ายเก็บไว้ ให้ลูกค้าที่มาติดต่อได้เห็นและสามารถตัดสินใจเลือกรูปแบบการจัดเลี้ยงได้ง่ายขึ้น
- ธุรกิจรับจัดเลี้ยงเป็นอีกเทรนด์ที่ต้องอิงกับกระแสสังคม จึงต้องรู้ว่าขณะนั้นความต้องการบริโภคของคนเป็นในทิศทางไหน มีอะไรที่คนสนใจ รวมถึงกระแสสังคมที่คนรับจัดเลี้ยงสามารถเอามาเป็นไฮไลต์หนึ่งในการจัดบรรยากาศของงานโดยต้องไม่เลียนแบบใคร
Published on 15 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย