ธุรกิจเครื่องสำอาง รับมืออย่างไรหลัง COVID-19

หัวข้อ : SME รับมืออย่างไร เมื่อโควิด – 19 เขย่าตลาดเครื่องสำอาง
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://kasikornbank.com/th/business/sme/cosmetic_market_covid.pdf

 

จากผลกระทบการระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการเครื่องสำอางในไทยเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะมีเรื่องของการส่งออกเครื่องสำอางที่จะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของประเทศเท่านั้น แต่การผลิตและการบรรจุเครื่องสำอางก็อาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของทางการที่เข้มข้นขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการเครื่องสำอางสามารถฟื้นฟูกิจการให้อยู่รอดในช่วงนี้คือ


การประคองธุรกิจช่วงโควิด-19 ในระยะสั้น

ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับปัจจัยภายในองค์กร เช่น การบริหารจัดการสภาพคล่อง การบริหารสต็อกวัตถุดิบ รวมถึงผลกระทบในส่วนของพนักงาน ตลอดจนการตรวจสอบกับพันธมิตรคู่ค้าในต่างประเทศ ถึงสถานการณ์ด้านการตลาด และอุปสรรคที่อาจมีในด้านการขนส่งสินค้า เพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์

 

การนำเสนอสินค้าที่มีขนาดแตกต่างกันเพื่อเป็นทางเลือก

เช่น การผลิตสินค้าขนาดเล็ก นอกจากจะเหมาะกับกลุ่มลูกค้ารายเดิมที่กำลังซื้อมีจำกัดแล้ว ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ยังมีรายได้ไม่สูง แต่สนใจอยากทดลองใช้สินค้า

 

การปรับช่องทางการจัดจำหน่าย

เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ เพราะในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 สินค้าเครื่องสำอางได้รับความสนใจสั่งซื้อผ่าน ช่องทางนี้สูง โดยเฉพาะสินค้าจากผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากผู้ซื้อต้องการความหลากหลายของสินค้า ขณะเดียวกับที่ผู้บริโภคเองต่างมีการแบ่งปันข้อมูลสินค้ากันในสังคมออนไลน์เช่นกัน

 

การเร่งจัดกิจกรรมการขายหลังการระบาดของโรคคลี่คลาย

เนื่องจากไทยถือเป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางในภูมิภาคอาเซียน หากสถานการณ์ระบาดของโรคคลี่คลายเป็นปกติ  จะทำให้คู่ค้าได้เข้ามาพบปะผู้ประกอบการเครื่องสำอาง รวมถึงติดตามความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมเครื่องสำอางรูปแบบใหม่ๆ อีกทั้งการร่วมมือกับภาครัฐวางแผนจัดงานแสดงสินค้า เพื่อให้ยอดขายกลับมาปกติเร็วที่สุด

 

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอาง ที่กำลังมองหาช่องทางการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศ หลังจากที่วิกฤติทั่วโลกคลี่คลายนั้น ตลาดส่งออกที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ตลาดในเอเชียที่มีสัดส่วนสูงถึง 82.8% (ตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน 38.9% ญี่ปุ่น 12.7% จีน 10.7% เกาหลีใต้ 3.7%)
  • รองลงมาคือ ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย และตลาดสหภาพยุโรป
  • ประเภทเครื่องสำอางที่ส่งออกสูง ได้แก่ เมคอัพที่ใช้แต่งหน้าหรือสกินแคร์บำรุงผิว และสิ่งปรุงแต่งที่ใช้กับผม ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันสูงถึง 52.9% รองลงมาคือวัตถุดิบที่ใช้ทำเครื่องสำอางสัดส่วน 18.7%

 

 

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเครื่องสำอางควรเรียนรู้เทรนด์ที่เกี่ยวข้องที่กำลังเป็นที่สนใจ รวมถึงตลาดที่จะกลับมาเติบโตภายหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลายลง โดยเทรนด์เครื่องสำอางที่เติบโตสูงและกำลังเป็นที่สนใจในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่

 

  • เครื่องสำอางสำหรับเด็ก

 ซึ่งต้องมีความปลอดภัย และไม่เกิดการแพ้ เนื่องจากผิวเด็กมีความบอบบาง และไวต่อเครื่องสำอาง

 

  • เครื่องสำอางสำหรับผู้ชาย

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและดูแลเส้นผม ได้รับความสนใจสูง โดยเฉพาะในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้  โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาด เครื่องสำอางผู้ชายจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 ของตลาดเครื่องสำอางในปัจจุบัน

 

  • เครื่องสำอางหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีจำนวนประชากร เกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก และบางส่วนยังคงให้ ความสนใจกับบุคลิกตนเองจึงต้องการผลิตภัณฑ์ดูแล ผิว ต่อต้านริ้วรอยให้ดูอ่อนกว่าวัย และผลิตภัณฑ์ดูแล เส้นผม

 

  • เครื่องสำอางสำหรับตลาดมุสลิม

คาดว่าจะมี มูลค่า 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2564 โดยส่วนใหญ่ อยู่ในประเทศที่มีชาวมุสลิมจำนวนมาก เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย ตุรกี มาเลเซีย โดยประเภทของเครื่องสำอางที่น่าสนใจได้แก่ เครื่องสำอางสำหรับผู้ชาย และเด็ก เป็นต้น

 

  • เครื่องสำอางไซส์มินิ

สำหรับผู้ที่ต้องการสินค้า ที่พกพาสะดวก รวมถึงกลุ่มที่มีกำลังซื้อไม่สูงมากนัก และกลุ่มที่ต้องการทดลองใช้สินค้าก่อนใช้จริง

 

  • สินค้าที่ผลิตมาเฉพาะบุคคล (Customization)

เป็นการผสานเทคโนโลยี เช่น  AI และ Big Data สำหรับ วิเคราะห์และผลิตเครื่องสำอางสำหรับผู้มีสภาพผิวที่แตกต่างกัน

 

  • การห้ามใช้เม็ดพลาสติกไมโครบีดส์

ซึ่งผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่างๆ เช่น สบู่ โฟม แชมพู ซึ่งหลายๆ ประเทศ ทั้งจีน ไต้หวัน รวมถึงไทย ได้ห้ามผลิตหรือ จำหน่ายตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

 

  • เครื่องสำอางที่ใช้สารปรุงแต่งน้อย

โดยเน้น วัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือออร์แกนิก รวมถึงที่สามารถ ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech)

 

เห็นได้ชัดว่า ปี 2563 นับเป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการเครื่องสำอางในไทยไม่น้อย ที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤต ที่เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อผลประกอบการ แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือการผลักดันธุรกิจให้อยู่รอดต่อไป การระบาดของโรคโควิด-19 อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการเครื่องสำอางใช้โอกาสนี้ ปรับกลยุทธ์ด้วยการบริหารจัดการต้นทุน ควบคู่ไปกับการเร่งพัฒนาช่องทาง การขายสินค้าจากช่องทางหน้าร้าน (Offline) ที่เคยเป็นตลาดหลัก ขยายไปสู่ช่องทางออนไลน์ (Online) ให้มากขึ้น  ซึ่งจะช่วยให้สินค้าเครื่องสำอางสามารถขยายโอกาสการส่งออก ภายหลังการระบาดของโรคคลี่คลายเป็นปกติได้กว้างขวางมากขึ้น

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

บทความแนะนำ

C-commerce ทางเลือกสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์

หัวข้อ : C-commerce ทางเลือกใหม่ของธุรกิจออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/c-commerce-online-business-options

 

 

C – Commerce เป็นการซื้อขายผ่านช่องทางแชทเป็นหลัก ย่อมาจาก Conversational Commerce ซึ่งก็คือ การแชทคุยกันเพื่อซื้อขายนั่นเอง โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการซื้อขาย การปิดการขาย ไปจนถึงบริการหลังการขาย

 

เหตุผลที่ผู้ประกอบการชื่นชอบ C – Commerce ?

  • เป็นรูปแบบการขายแบบใหม่ที่เน้นความง่าย สะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ผู้ซื้อในทุกเรื่องราวที่ต้องการ
  • ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในการตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น หากได้พูดคุยกับผู้ขายโดยตรง เพราะได้ความใกล้ชิด ความเป็นกันเอง ทำให้รู้สึกได้ใกล้ชิดแบรนด์มากขึ้น
  • ลูกค้าเกิดความเชื่อใจ และรู้สึกดีต่อแบรนด์ เพราะสามารถเห็นภาพ สินค้าจริงๆ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร
  • ผู้ขายปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว เพราะสามารถบอกข้อมูลสินค้า รวมถึงกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ด้วยตัวเอง

 

ทำไม C-commerce ถึงน่าสนใจในประเทศไทย ?

จากผลสำรวจ คนไทยใช้งานร้านค้าออนไลน์มากที่สุด (ใน 9 ประเทศ) ซึ่งคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึงวันละ 9 ชั่วโมง คนไทยนิยมใช้งานแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการแชทในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นไลน์ (Line) หรือ แมสเซ็นเจอร์ (Messenger) ส่งผลให้ติดพฤติกรรมการแชท และกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำสิ่งต่าง ๆ ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อสินค้า

 

การติดต่อแบบสองช่องทาง (Two way communication)

ทำให้คนไทยกล้าที่จะเปิดใจใช้บริการต่างๆ ง่ายขึ้น เพราะเรื่องของอีคอมเมิร์ช  ( E-Commerce) ในประเทศไทยนับเป็นเรื่องที่ใหม่ เพราะคนไทยพร้อมที่จะเรียนรู้ใช้งานสิ่งใหม่ ๆ ขอแค่มีคนให้คำแนะนำ การแชทจึงทำให้เชื่อมั่นในระบบได้มากขึ้นกว่าเดิม และเกิดการซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย

 

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องใช้กลยุทธ์การซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) ให้ได้ประสิทธิภาพ สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

– กำหนดบุคลิกแบรนด์ว่าต้องการให้แบรนด์ของเรามีลักษณะอย่างไร เช่น สุภาพทางการ หรือ สนุกสนานเป็นกันเอง เป็นต้น

– คิดชุดคำตอบสำรองไว้สำหรับคำถามทั่วไป ที่ลูกค้ามักถามเข้ามาบ่อย เช่น หากลูกค้าถามเกี่ยวกับราคา ผู้ประกอบการควรมีชุดคำตอบสำหรับราคาเตรียมไว้ เพื่อการตอบได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ

– ตอบแชทให้เร็วที่สุด จะทำให้ลูกค้าชื่นชอบ และผู้ประกอบการสามารถที่จะปิดการขายได้รวดเร็วยิ่งขึ้นหากไม่สามารถตอบแชทได้ตลอด 24 ชั่วโมง ควรตั้งค่าการตอบแบบอัตโนมัติ ระบุเวลาทำการของร้าน ให้ลูกค้าได้ทราบไว้ล่วงหน้า

– ตอบคำถามให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจและช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า

– สุดท้ายการซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) จะอยู่คู่กับชาวออนไลน์ไปอีกนาน โดยเฉพาะกับคนยุคใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี เพราะเขาเกิดมาพร้อมกับสมาร์ทโฟนและการแชท

ดังนั้น ผู้ประกอบการและนักการตลาดควรเน้นการซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) ในธุรกิจตนเอง เพราะข้อดีมีมากทีเดียว ทั้งการเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้โดยไม่รู้ตัว

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

กลยุทธ์ธุรกิจโรงแรมฝ่ามรสุม COVID-19

หัวข้อ : EIC แนะนำกลยุทธ์ธุรกิจโรงแรมฝ่ามรสุม COVID-19
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/6759/fmdcl4fcu1/EIC-Note_Hotel_COVID-19_20200410.pdf

 

สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนไทยที่ท่องเที่ยวภายในประเทศลดลงอย่างมาก จำนวนทริปค้างคืนของนักท่องเที่ยวไทยลดลงจากความวิตกกังวล จนเกิดผลกระทบซ้ำเติมต่อธุรกิจที่พักที่หวังพึ่งรายได้จากนักท่องเที่ยวไทย โดยคาดว่าในปี 2020 นี้

  • อัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั่วประเทศจะลดลงราว 35 – 40%
  • ค่าห้องพักเฉลี่ยที่ขายได้จะลดลงราว 20 – 25%
  • ที่พักเกือบทุกแห่งจะประสบปัญหาขาดทุน
  • ที่พักขนาดกลาง – เล็ก บางแห่งอาจจำเป็นต้องปิดกิจการ

 

จำนวนทริปค้างคืนภายในประเทศไทยลดลงถึง 35% จากจำนวน 130 ล้านทริปในปี 2019 มาอยู่ที่ 85 ล้านทริปในปี 2020 เนื่องจาก

– จากสถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้ต้องงดกิจกรรมกรรมท่องเที่ยว สันทนาการต่างๆ
– การเลิกจ้าง การให้หยุดงานชั่วคราว และการลดค่าจ่างทำให้รายได้ของคนไทยลดลง การเดินท่องเที่ยวจึงลดลงตามเช่นกัน

 

 

เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินและรอให้จำนวนนักท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โรงแรมและที่พักหลายแห่งได้มีการปรับตัวผ่าน 3 แนวทางหลัก ดังนี้

1.สร้างรายได้และสภาพคล่องจากการบริการที่มีอยู่ในโรงแรม เช่น

  • ลดค่าห้องพักลงเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวไทย
  • ร้านอาหารภายในโรงแรมให้บริการอาหารแบบสั่งกลับบ้านและบริการ food delivery
  • ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ปิดพื้นที่ให้บริการบางส่วนเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานต่างๆ
  • การชะลอค่าใช้จ่ายบางประเภทออกไป เช่น ยกเลิกการจ้างบริษัทที่ปรึกษาภายนอก
  • เจรจาขอยืดเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อกับธนาคาร

นอกจากผลกระทบจาก COVID-19 ที่ต้องผ่านไปให้ได้แล้ว ธุรกิจที่พักและโรงแรมยังต้องเจอกับการแข่งขันจากปริมาณห้องพักใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วย

 

 

จากกราฟคือพื้นที่อนุญาตก่อสร้างอาคารประเภทโรงแรมและรีสอร์ตทั่วประเทศในปี 2019 จะเห็นได้ว่ามีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีที่ผ่านมา

– ภูเก็ตมีพื้นที่อนุญาตก่อสร้างสูงที่สุดในปี 2019
– กระบี่และประจวบคีรีขันธ์ มีอัตราการขยายตัวของพื้นที่อนุญาตก่อสร้างรองลงมาตามลำดับ
– ห้องพักทางเลือกใหม่ๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น บ้านพักแบบพูลวิลล่า ที่รองรับคนได้จำนวนมาก
– ห้องพักให้เช่าผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Airbnb เพิ่มจำนวนมากขึ้นในเกือบทุกเมืองท่องเที่ยวหลักของไทย เพราะได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่และกลุ่มครอบครัว

 

ธุรกิจโรงแรมควรปรับกลยุทธ์อย่างไรหลังจากนี้?

– ทำการตลาดผ่านช่องทางดิจิตัล สื่อโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, Line หรือแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ ให้มากขึ้น
– สร้างรายได้จากส่วนบริการอื่นๆ ภายในโรงแรม (non-room revenue) เช่น บริการอาหารแบบเดลิเวอรี่หรือบริการจัดอาหารให้งานเลี้ยง
– เปิดให้บุคคลภายนอกสามารถสมัครสมาชิกสปาและฟิตเนสเซ็นเตอร์ภายในโรงแรม รับกับเทรนด์ไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพของคนรุ่นใหม่
– หากเปิดให้คนเข้าพักได้อีกครั้งควรให้ความสำคัญกับความสะอาดเป็นอันดับแรก และสื่อสารกับให้ลูกค้าทราบถึง การทำความสะอาดของโรงแรม และมาตรฐานการดูแลสุขลักษณะที่เหมาะสมในการให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้เข้าพัก

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

ธุรกิจเเละองค์กรขนาดใหญ่รับมือสถานการณ์ COVID-19 อย่างไร?

หัวข้อ : ธุรกิจเเละองค์กรขนาดใหญ่รับมือสถานการณ์ COVID-19 อย่างไร?

อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1586234627098.pdf

 

จากการระบาดของไวรัส COVID -19 สิ่งที่เข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจที่เห็นได้ชัดคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Perception ที่มีต่อ Technology เปลี่ยนแปลงไป คนเห็นเป็นภาพบวกจากเดิมที่เคยกลัว หรือไม่กล้าที่จะลอง ก็จะเห็นถึงบทบาทและความมีประสิทธิภาพในหลายๆ ด้าน มาพบกับ 4 มุมมองที่องค์กรขนาดใหญ่มองเห็นและปรับเปลี่ยนเพื่อรับมือสถานการณ์วิกฤต ซึ่งคุณสามารถนำมาปรับใช้กับการบริหารธุรกิจของคุณได้

 

1. Work from Home ให้มีประสิทธิภาพ จะแบ่งงานเป็น

  • งานที่ไม่ต้องทำ
  • งานที่ต้องทำต่อ
  • งานที่เกิดใหม่และต้องทำ ณ เวลานั้น

มีการเลือกใช้โปรแกรมที่ไม่เคยใช้ตอนทำงานในออฟฟิสกันเลย เช่น โปรแกรมสำหรับการประชุม และสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

2. จัดอีเว้นท์แบบออนไลน์‎ (Virtual Event) การปรับรูปแบบการจัดงานเพื่อตอบโจทย์การพบปะกับลูกค้า จากความไม่สะดวกของการเดินทาง จากที่เคยจัดงานใหญ่เพื่อพบปะลูกค้า ก็ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีหรือการจัดงานทางออนไลน์แทน ที่ช่วยสร้างโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าเดิม เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง

 

3. การเรียน Online ซึ่งเป็น New Normal ที่หลายบริษัทเลือกใช้ จากแต่ก่อนบริษัทใหญ่ที่มีพนักงานอยู่ทั่วประเทศ การฝึกอบรมพนักงานให้ทั่วถึงในอดีตที่ผ่านมาจะใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น Hard หรือ Soft Skills พนักงานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สามารถเข้าถึงการฝึกอบรมได้เหมือนๆ กัน พนักงานบางคนอาจใช้เวลาไม่นานในการศึกษาหาความรู้ เพื่อสามารถสร้างโอกาสให้ตนเองได้รับงานในหน้าที่ใหม่ๆ ได้

 

4. สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) สถานการณ์ที่ผ่านมาการออกไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร หรือออกไปกดเงินที่ตู้ ATM อาจไม่สะดวกนัก ความพร้อมของเทคโนโลยีสร้างให้เกิดสังคมที่ไม่ใช่เงินสดได้ง่ายขึ้น สังคมไร้เงินสดสามารถตอบโจทย์ได้ครอบคลุม คาดกว่าการค้าขายต่อจากนี้ไป ปริมาณการค้าที่เป็นแบบไร้เงินสดจะเติบโตขึ้นอย่างมาก เพื่อที่ตอบสนองความต้องการในรูปแบบใหม่ๆ ธุรกิจจะต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น (Resilience) ตามไปด้วย

 

เวลานี้เรากำลังทำบททดสอบใหญ่ ว่าจะสามารถสอบผ่านไปเรียนชั้นต่อไปได้หรือไม่ บางคนบอกว่าให้อดทน แต่อยากให้มองว่ามันคือการเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นวิกฤติ ซึ่งคำว่าวิกฤตินั้น มีเรื่องของปัญหาและโอกาสอยู่ด้วยกันเสมออยู่ที่ว่ามองเห็นอะไร หรืออยากเห็นอะไรในวิกฤตินี้ ตอนนี้เรากำลังวิ่งมาราธอน วิ่งแข่งกับตัวเอง ไม่มีการแพ้-ชนะ ไม่มีคู่แข่งชัดเจนเหมือนการวิ่งร้อยเมตร การจะไปถึงจุดหมายได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจัดการตัวเองในทุกกิโลเมตรว่าทำได้ดีแค่ไหนมากกว่า

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

ชีวิตปกติใหม่ แบรนด์ดิ้งใหม่ของไทยแลนด์ โดย ดร. การดี เลียวไพโรจน์

หัวข้อ : กลยุทธ์เปลี่ยนโหมดไฟลต์บังคับให้เป็นโหมดเลือกได้

อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/karndee-lifeaftercovid19

 


ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดที่เราทุกคนต้องถูกบีบให้ดำเนินชีวิตในความ “ปกติใหม่” ดร. การดี เลียวไพโรจน์ Chief Advisor for Future Foresight and Innovation, Future Tales Lab, MQDC อีกหนึ่งบุคคลในฐานะนักคาดการณ์อนาคตและนวัตกรรมที่ชี้ภาพความปกติใหม่นี้ได้อย่างครอบคลุมทั้งด้านวิกฤตและโอกาส เมื่อโลกทั้งโลกต้องปรับตัว คำถามอาจไม่ได้อยู่ที่ว่าอะไรบ้างคือสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดไป หรืออะไรที่จะเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนเพียงชั่วครั้งเพื่อรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้า แต่สิ่งที่เราควรพูดถึงยิ่งกว่าในเวลานี้ก็คือ เราจะทำอะไรได้บ้างจากสถานการณ์ที่โลกทั้งใบต้องเผชิญร่วมกัน

 

การปรับตัวสู่อนาคต

ภายในประเทศนั้น โควิด-19 ทำให้หลายธุรกิจหยุดชะงัก ในเวฟแรกจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว กลุ่มแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดที่เครื่องยนต์ตรงนี้ดับไปแล้ว เวฟที่ 2 คือธุรกิจบริการและการติดต่อกับโลกส่วนอื่นๆ ที่กระทบจากการล็อกดาวน์ ส่วนเวฟที่ 3 ที่กำลังเริ่มเกิดขึ้นโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว เกิดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันคือ ‘ดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน’ ถ้าเป็นภาวะปกติเราอาจเลี่ยงได้ แต่ในภาวะวิกฤตนี้กลุ่มธุรกิจที่น่าเป็นกังวลคือ SME ที่ได้รับผลกระทบในเรื่องของการจ้างงานมากขึ้น

 

แบรนด์ดิ้งใหม่ของไทยแลนด์

จากเดิมที่เคยเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวและสวรรค์ของผู้เข้ารับบริการ ตอนนี้สิ่งที่ภาคธุรกิจต่างๆ ควรนำไปต่อยอดจากนี้น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสาธารณสุข เรื่องของสุขภาพ เพราะจากสถานการณ์ที่ผ่านทำให้หลายๆ ประเทศมองว่าเรามีการรจัดการในระบบสาธารณสุขที่ดี เราจึงควรดึงจุดนี้มาพัฒนาธุรกิจ และเอาความคิดสร้างสรรค์ไปบวก เช่นคำว่า Healthcare ต้องยกระดับไปเป็น High-Level Healthcare มากขึ้น เพราะต่อให้จีนจะนำหน้าเราเรื่องการผลิต แต่ในเรื่องความเชื่อมั่น ไทยก็ยังทำได้ดี หรือแม้แต่การทำให้เป็นมาตรฐานมากขึ้นในอนาคตเพื่อให้ต่างชาติให้การยอมรับ

 

สิ่งสำคัญที่สุดต่อจากนี้คือต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่ และพร้อมที่จะปรับตัว เพื่อเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนที่เข้ามา

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ