เบลล์ ขอบสนาม เส้นทางความสำเร็จของ Content Creator เรื่องกีฬา

ความชื่นชอบเรื่องของกีฬาเกิดขึ้นตอนไหน

คุณเบล : ถ้าชอบกีฬา น่าจะชอบตั้งแต่จำความได้เลย แต่ถ้าฟุตบอล น่าจะตอนปี 1990 ก็ประมาณ 8-9 ขวบ เพราะว่าผมจำค่ำคืน UEFA Champions League ปี 1999 ได้ วันนั้นเป็นวันที่ผมรู้จักฟุตบอล รู้จักแมนยูฯ

 

การเตรียมความพร้อมที่จะลงสนาม Content Creator

คุณเบล : สิ่งที่ผมคิดไว้ตั้งแต่ผมเรียนแล้วว่า ผมจะไม่รอมานั่งค้นหาประสบการณ์ตัวเองหลังจากผมได้รับใบปริญญา แต่ก่อนใบปริญญาจะอยู่สู่มือผม ผมต้องมีทุกอย่างครบหมดแล้ว คือพร้อมที่จะออกไปสู้คนอื่น

 

อะไรคือจุดเริ่มต้นเพจขอบสนาม

คุณเบล : จนผมเรียนจบตอนปีสี่ ผมก็ได้ไปทำงานกับพี่บี้เลยทันที ที่ก่อกำเนิดเป็น เดอะ สกาฟิล์ม พอทำให้พี่ดังติดประเทศไปแล้วตอนนั้น ผมรู้สึกว่าเราควรมีงานของตัวเองบ้าง ผมก็มองแค่ว่า เราทำงานประจำเงินเดือนเท่านี้ ต้องนั่งไปอีกกี่ปีกว่าจะได้รถได้บ้าน ผมก็เลยคิดว่า มีงานเสริมแล้วกัน ก็เลยทำเพจนี่แหล่ะ เพจกีฬา นี่คือจุดเริ่มต้นครับผม

 

คิดว่าความเปลี่ยนแปลงในอนาคตจะเป็นอย่างไร

คุณเบล : ผมคิดว่ายุคโซเชียลกำลังจะมา มันไม่มีทางที่คนจะนั่งดูทีวีไปเรื่อย ๆ  ปีที่ทีวีดิจิทัลกำลังจะประมูลกัน มันเป็นปีที่ YouTube เข้ามาแล้วครับ นี่คือความเปลี่ยนแปลงในวันที่ผมเห็น ผมรู้สึกว่าทางโซเชียล ถ้าคุณมาก่อนแล้วหาทางได้ก่อน คุณจะรู้ช่องทาง คือผมไม่ได้แค่เอาความชอบตัวเองเป็นหลัก แต่เรามองบริบทความเป็นจริงสังคมด้วยว่า ณ วันนี้ เราโตมากับสังคมแบบไหน และรูปแบบงาน ตำแหน่งงานจะเป็นอย่างไรในอนาคต ต้องมองตรงนี้ มองให้ครบ

 

รายการขอบสนามมีรูปแบบรายการอย่างไร

คุณเบล : สมัยก่อนที่ผมจะทำขอบสนาม ผมไปค้นคว้าข้อมูลนะครับ แล้วก็พัฒนาเนื้อหาของตัวเอง ในมุมของตัวเอง ตกผลึกมามันต้องมีความตลก มันต้องเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน ซึ่งวันนั้นยังไม่มีใครทำ แนวคิดแรกที่ผมเริ่มก็คือเอาข่าวกีฬามาอ่านให้ฟัง ผมเป็นเสียงแรกในโลกออนไลน์ หลังจากวันนั้น เพจรูปแบบนี้ก็เกิดขึ้นเยอะมากมาย  ดังนั้นผมเริ่มต้นวันที่ไม่มีคู่แข่งครับ เพราะว่าผมดูมาหมดแล้วว่าเขาทำอะไรกัน แล้วผมจะทำอะไรให้ไม่ซ้ำเขา ให้ไม่เหมือนเขา

 

ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงทุกวันนี้ เพจขอบสนามมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

คุณเบล : ขอบสนามเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ผมทำอยู่ในห้อง หกเดือนแรกผมไม่ได้ออกไปไหนเลย ออกจากบ้านอีกทีมาหกเดือน ตกใจ ซึ่งมันดังแล้วอะครับ หกเดือนก็ประมาณเกือบสองล้าน (ผู้ติดตาม) ตอนนั้นออกมาจากบ้านมารับงาน คือโฆษณาเริ่มเข้าแล้ว ผมรู้สึกว่าผมพยายามทำเนื้อหาที่คนไทยเข้าถึงได้ง่าย  แล้ว 5 ปีที่ผ่านมามันเปลี่ยนแปลงไปได้มาก เพราะจากเริ่มคนเดียว วันนี้มี 40 ชีวิตมานั่งดันมันไปเรื่อยๆ  แล้วผมก็ไม่ใช่คนเดียวอีกต่อไปแล้วที่อยู่หน้ากล้อง วันนี้ผมให้โอกาสคนอื่น ผมปั้นคนอื่นได้ อันนี้เป็นสิ่งที่รู้สึกว่ามันเปลี่ยนไปจริงๆ  เราเป็นพื้นที่ที่ถ้าใครมีฝันและรักฟุตบอล มาที่นี่ ผมจะเติมให้ในสิ่งที่คุณต้องการครับ

 

ช่องรายการ Online ของขอบสนาม มีช่องทางใดบ้าง

คุณเบล : ทุกทางเลยครับ ตอนนี้เรามี Facebook ขอบสนาม เรามี YouTube ขอบสนาม เรามี Tik-Tok ขอบสนาม เรามี Twitter ขอบสนาม เรามี Instagram ขอบสนาม นี่คือสิ่งที่ผมมองว่ามันเป็นสิ่งที่เราต้องไปครับ วันนี้เราไม่สามารถยึดโยง แล้วก็อยู่กับแพลตฟอร์มเดียวได้อย่าง Facebook เพราะว่าความสนใจอื่นๆ ก็มี คนที่เขาดูแต่ภาพอย่างเดียวก็มีนะ

 

อุปสรรคที่ต้องเจอในการเป็น YouTuber

คุณเบล : ผมเข้าใจได้ว่าทำไมคนถึงชอบเสียงเรา คนถึงไม่ชอบเสียงเรา เพราะทุกคนมีความเข้าใจ ความชอบไม่เหมือนกันเลย ดังนั้น สิ่งที่เราจะมาทำเป็น YouTube อุปสรรคที่เราต้องเจอแน่ๆ คือ ถ้าคุณทำคอนเทนต์ไม่ดี ณ วันนี้ คนด่าคุณได้ทันทีเลยทันทีเลยที่เขาไม่ชอบคุณ คุณไม่มีโอกาสได้อธิบายด้วยซ้ำ เขากดหยุดปุ๊ป พิมพ์ด่าคุณได้เลย เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอแน่นอน 

มันไม่มีเลยนะครับ ศิลปิน ดารา YouTuber หรือใครก็ตามที่ผลิตผลงานมา ที่คนชอบแบบร้อยเปอรเซ็นต์เต็ม ไม่มีครับ ผมกล้าพูด กล้ายืนยันเพราะว่าผมอยู่ตรงนี้มานานแล้ว จนเห็นทุกอย่างแล้วว่า ไม่มีหรอกทำแล้วคนชอบทุกอย่าง บางคนตัดพ้อ บางคนเจอคำด่าปุ๊ป ความสร้างสรรค์มันหายไปเลย ตรงนี้คือสิ่งที่เราต้องมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะตายตรงนี้ คือคุณไม่อยากไปต่อแล้ว บางทีเราอาจจะต้องมองมุมเราว่า เราลองแคร์คนที่เขาชอบงานเรา เราลองมองดูหน่อยไหมว่า เราทำงานมาคนดูตั้งเป็นพันเป็นหมื่น ด่าสองคนเองนะ นอกนั้นเก้าร้อยกว่าคนชม 

ไม่มีใครไม่โดนด่าหรอกครับ ไม่มีจริง ๆ  ถ้าเรามีความแข็งแกร่งตรงนี้ เข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ คุณเอาความสนใจ เอาพลังใจของคุณไปใส่ใจคนที่เขาชม ตรงนั้นทำให้เราอยู่ยาวได้ ผมไม่ได้คิดว่าเรื่องมันจะเป็นตัวหลักในเวลาคุยงาน ผมคิดว่าผมคุยกับใคร โอกาสเหล่านั้นมันจะสร้างโอกาสให้เขาได้ไหม สร้างโอกาสให้เราได้ไหม ซึ่งสิ่งเหล่านี้สำหรับผมนะ ถ้าใครไม่มีมันเป็นอุปสรรคแน่นอนในการทำโซเชียล เพราะว่ามันไม่มีแบบแผนที่ชัดเจน ถ้าคุณรักงานคุณ งานคุณก็จะรักคุณเหมือนกัน มันก็จะตอบแทนคุณด้วยอะไรสักอย่างครับ

 

คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น YouTuber

คุณเบล : ถ้าถามผม ย้อนไปเมื่อแปดปีที่แล้วจะบอกเลยว่า สู้ๆ น้อง แต่ถามในปี 2020 ผมต้องพูดความจริงว่า เหนื่อยหน่อยนะน้อง ต้องขยันกว่าคนอื่นเขามาก ๆ เพราะว่าทุกวันนี้ ทุกคนคิดเหมือนน้องนั่นแหล่ะ ดังนั้น ถ้าหากว่าน้อง ๆ ยังยืนยันว่าอยากจะเป็น YouTuber อยากจะทำอะไรอย่างนี้ สิ่งแรกคือ ต้องไม่หายไปไหน ต้องทำตลอด ไม่ใช่งานอดิเรก แต่มันคือชีวิต ผมไม่ใช้คำว่างานประจำด้วยนะ ถ้าคุณยอมรับว่าสิ่งนี้คือ ชีวิตได้เลย ตื่นขึ้นมาเพื่อถ่ายคลิป ตัดคลิป พากย์คลิป มาเจอคน แล้ววนไป ถ่ายคลิปใหม่ ๆ เจอคนใหม่ ๆ ถ้าคุณชอบชีวิตเหล่านี้ เต็มที่ได้เลย เพราะว่า YouTube คือทางที่คุณชอบ 

ถ้าวันหนึ่งเรามีชื่อเสียง อย่าหยุดที่จะพัฒนาตัวเอง เพราะว่าบางทีมันอาจจะทำให้เราจมหายไปอย่างรวดเร็ว เพราะวันนี้ทุกคนเขาดูคุณจบ อีก 5 นาทีข้างหน้า เขาเอานิ้วโป้งไถไปเจอคนอื่นได้แล้ว ถ้าจะทำ YouTuber หรือจะไปต่อในสายโซเชียล อย่างที่บอก ย้ำอีกครั้ง 3 อย่างเลย หนึ่ง ใจ สอง เวลา สาม Passion  3 อย่างนี้ ใจ เวลา Passion มันตอบทุกอย่างหมด

 

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ SME ในยุค Social ควรคำนึงถึงอะไร

คุณเบล : เช่นกันครับ ผู้ประกอบการ  SMEs ต่อให้คุณขายขนมปัง แค่คุณคิดว่าขนมปังของคุณจะอยู่ในโซเชียลอย่างไร สมมติถ้าคุณขายบริการ เป็น Service คุณก็ต้องคิดแล้วว่า คุณจะเอาบริการของคุณเข้าโลกออนไลน์อย่างไรให้คนมาสนใจใช้บริการคุณ คุณไม่ต้องเป็น YouTuber นะ ไม่ต้องมาบ้าพากย์บอลอย่างผมทุกคน แค่จับจุดต่อให้คุณทำธุรกิจอะไรอยู่ก็ตาม นี่คือสิ่งที่เราต้องไปต่อ

Published on 27 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

เสริมศักยภาพเอสเอ็มอีไทยด้วย UOB BizSmart บทสัมภาษณ์คุณสยุมรัตน์ มาระเนตร, ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี, ธนาคารยูโอบี (ไทย)

ธนาคารยูโอบี (ไทย) คือ หนึ่งในสถาบันการเงินชั้นนำที่อยู่เคียงข้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปีตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ที่ผ่านมามีบทบาทในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือ และส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีไทยให้เติบโต และก้าวไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง 

ธนาคารเล็งเห็นถึงความต้องการ และความจำเป็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
  

ธนาคารยูโอบี (ไทย) จึงมุ่งเสริมศักยภาพธุรกิจเอสเอ็มอีด้วยการพัฒนา ยูโอบี บิสสมาร์ท” (UOB BizSmart) โซลูชันจัดการธุรกิจครบวงจรบนระบบคลาวด์ที่สามารถใช้งานได้ง่ายในราคาที่จับต้องได้ เพื่อช่วยผู้ประกอบการลดเวลาการจัดการระบบหลังบ้าน ทำให้มีเวลาในการทำตลาดเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น

ยูโอบี บิสสมาร์ท เป็นโซลูชันที่รวมการทำงานทุกส่วนของธุรกิจแบบครบวงจร ช่วยการจัดระบบธุรกิจต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งในเรื่องของการขาย การออกใบแจ้งหนี้ การจัดการเงินเดือน การจัดทำบัญชี และอื่นๆ เพียงแค่มีบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีกระแสรายวันบัญชีของธนาคารยูโอบี ก็สามารถเชื่อมต่อกับโซลูชันที่ธนาคารเตรียมไว้สำหรับการบริหารจัดการธุรกิจ และด้านการเงิน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญ เพื่อสร้างความสะดวกสำหรับการดำเนินงาน และง่ายต่อการบริหารจัดการระบบการเงินของบริษัท ส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องธุรกิจได้อย่างรวดเร็วขึ้น

ยูโอบี บิสสมาร์ท โซลูชันจัดการธุรกิจออนไลน์ ที่สามารถเข้าใช้งานได้จากทุกที่ผ่านสมาร์ทโฟน จึงช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลดต้นทุน และประหยัดเวลาในการบริหารธุรกิจ ด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจขนาดเล็ก มีระบบจัดการมาตรฐานสากล SAP Business One ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานให้ครอบคลุมมากขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจได้อย่างราบรื่น

หนึ่งในฟังก์ชันที่น่าสนใจของ ยูโอบี บิสสมาร์ท คือ การบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การจ่ายเงินเดือนพนักงาน และระบบวันลาของพนักงานผ่าน HReasily โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าไปใช้งาน SAP Business One ซึ่งเป็นโซลูชันการบริหารจัดการ และเป็นครั้งแรกที่ SAP ร่วมกับธนาคารยูโอบีในการให้บริการ SAP Business One แก่เอสเอ็มอีไทย

เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกแพคเกจตามฟังก์ชันที่เหมาะสมกับธุรกิจ และตามจำนวนผู้ใช้งานในองค์กรโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับแพคเกจพื้นฐาน ราคาเริ่มต้นที่ 700 บาท สูงสุดเพียง 1,800 บาท 

 

คุณสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวถึงนโยบายการให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทยว่า เป็นการเน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการให้เติบโตในระยะยาว และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ลูกค้าค่อยๆ เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการมอบโซลูชันส์แบบครบวงจรที่ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจของลูกค้า 

เราพยายามนำเสนอบริการที่เป็นมากกว่าธนาคาร โดยต้องเชื่อมต่อธุรกิจของลูกค้าตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ หรือช่วยเหลือให้เอสเอ็มอีสามารถขยายธุรกิจไปประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เราติดตามสถานการณ์และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปทุก 3 - 5 ปี ว่าควรต้องใช้เทคโนโลยีด้านใดเข้ามาช่วยอีก ซึ่งลูกค้าเอสเอ็มอีต้องมาเรียนรู้ไปด้วยกันเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน ธนาคารยูโอบี (ไทย) มีลูกค้าที่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอีทั้งหมดกว่า 50,000 ราย โดยเอสเอ็มอีที่เป็นกลุ่มผู้ใช้งาน ยูโอบี บิสสมาร์ท จะเป็นกลุ่มที่ยอดขายไม่เกิน 400 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 40 ล้านบาท 

ยูโอบี บิสสมาร์ท เน้นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมียอดขายประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีความกังวลเรื่องการจัดเก็บภาษี และรู้ว่าระบบสามารถช่วยงานได้จริง ขณะเดียวกันทางภาครัฐต้องการผลักดันเรื่องระบบบัญชีเดียว เราจึงได้นำไปเชื่อมต่อกับระบบบัญชีที่มีอยู่จริงในลักษณะ Total Solution 

ปีนี้เป็นปีแรกที่ธนาคารขยายความช่วยเหลือมายังเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ที่ผ่านมาได้จัดสัมมนาออนไลน์เพื่อให้ความรู้เรื่องบัญชีเดียว  ซึ่งผลตอบรับดีเกินคาดมีผู้ให้ความสนใจเข้าฟังมากขึ้น โดยคาดว่าอีกไม่นานระบบบัญชีเดียวจะเป็นเรื่องที่ทุกคนพูดถึง จึงเชื่อว่าอนาคตความต้องการการใช้โซลูชันนี้จะมีเพิ่มมากขึ้น

คุณสยุมรัตน์ ยังมองว่าปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีส่วนใหญ่เป็นเรื่องของต้นทุนการทำธุรกิจ และหลายครั้งมักไม่ได้คำนวณค่าใช้จ่ายบางจุดที่เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนด้วยเช่นกัน เช่น การนำบ้าน หรือสินทรัพย์ส่วนตัวมาทำธุรกิจก็คือต้นทุนประเภทหนึ่ง หรือลืมให้ค่าแรงกับตัวเอง และคนในครอบครัว ซึ่งจะส่งผลต่อความถูกต้องในการทำตัวเลขในระบบบัญชี และมีผลไปถึงเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ที่อาจไม่ได้รับการพิจารณาสินเชื่อ หากมีการทำตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ตรงกับความเป็นจริง 

ถ้าเรามีการจัดกระบวนทัพที่ดี ทำทุกอย่างถูกต้องทั้งหมดก็ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษี และอย่าติดกับในเรื่องยอดขายที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้ดูเรื่องต้นทุนของสินค้านั้นๆ ดังนั้นการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องมีระบบการทำตัวเลขที่ชัดเจน โดยผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจอยากจะปรับในเรื่องดิจิทัลควรมีโซลูชันเข้ามาช่วยบริหารเพื่อลดต้นทุน เป็นประเด็นสำคัญ และควรมองการเติบโตแบบมั่นคง อย่าไปมองว่าต้องเติบโตกี่หลัก แต่อยากให้เอสเอ็มอีมองภาพรวมให้ครบในเรื่องของต้นทุนที่เกิดขึ้นว่าเป็นต้นทุนระยะสั้น หรือระยะยาว ถ้าเป็นต้นทุนระยะยาวต้องสร้างความยั่งยืนอย่างไร และคำนึงปัจจัยรอบด้านที่จะส่งผลกับการเติบโตของธุรกิจ” 

ยูโอบี บิสสมาร์ท คือ โซลูชันหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจปรับองค์กรสู่ดิจิทัลซึ่งคุณสมบัติข้อแรกของการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ คือ ผู้ประกอบการต้องเต็มใจ และอยากที่จะทำ เมื่อเข้ามาถึงกระบวนการที่เริ่มทรานส์ฟอร์มธุรกิจจะมีหลายๆ อย่างที่ต้องมีการปรับกระบวนการ หรือ Business Process ให้เข้ากับระบบด้วยเช่นกัน ดังนั้นการทรานส์ฟอร์มธุรกิจจะสำเร็จหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับตัวธุรกิจเองด้วย 

คุณสยุมรัตน์ กล่าวเสริมว่า ความท้าทายหลังจากนี้ เป็นเรื่องของความไม่หยุดนิ่งของสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่ง New Normal ที่เกิดขึ้นไม่มีใครรู้ว่าจะอยู่อีกนานแค่ไหน ส่วนการเตรียมพร้อมสำหรับหลังสถานการณ์โควิด ทางยูโอบีมองว่า จะมุ่งไปที่การให้ความช่วยเหลือลูกค้าปัจจุบันเป็นลำดับแรก เพื่อให้ธุรกิจของลูกค้าอยู่รอดไปพร้อมกัน เนื่องจากเอสเอ็มอีเป็น ฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ และยังอิงกับจีดีพีของประเทศเป็นหลัก 

วันนี้สถานการณ์โควิด-19 เร่งให้ทุกคนเกิดการทรานส์ฟอร์ม การมีวิสัยทัศน์ที่มองการณ์ไกลไปข้างหน้า 1-2 ก้าว จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก และจากการล็อคดาวน์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นภาพว่า องค์กรไหนมีความพร้อม องค์กรไหนไม่มีความพร้อม ซึ่งการมองไปข้างหน้าหรือการทรานส์ฟอร์มด้วยการนำ ยูโอบี บิสสมาร์ท เข้ามาช่วย ทำให้ลูกค้าสามารถบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤติครั้งนี้ คุณสยุมรัตน์ กล่าว

Published on 12 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

“สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” ปรับบทบาทสู่ “Service Organization” ช่วย SME ทรานส์ฟอร์มธุรกิจยุค Technology Disruption พร้อมฝ่าวิกฤต COVID-19

นับตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา โลกได้เปลี่ยนจาก “ยุคหัตถกรรม – เกษตรกรรม” ก้าวสู่ “ยุคอุตสาหกรรม” เริ่มจากยุโรป และอเมริกาก่อนจะขยายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถึงวันนี้เข้าสู่ “ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0” หรือ “The Fourth Industrial Revolution 4.0” ที่อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องผสานการใช้ “เทคโนโลยีอัจฉริยะ” (Smart Technology) และ “Data” เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการผลิต และการดำเนินธุรกิจ เช่น IoT (Internet of Things), Cloud Computing, Big Data, AI (Artificial Intelligence), Autonomous Mobile Robots, 3D Printing, AR (Augmented Reality), VR (Virtual Reality) ฯลฯ

จึงกล่าวได้ว่าในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ไม่มีอุตสาหกรรมใด ไม่ถูก Technology Disruption เพราะฉะนั้นทั้งภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการธุรกิจที่จะอยู่ดำรงอยู่ได้ต้องเป็น “ปลาเร็ว”

ยิ่งมาเจอกับสถานการณ์ “COVID-19” เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่รุนแรงอย่างไม่มีใครคาดคิด กระทบกันเป็นโดมิโน ทั้งการสาธารณสุข, วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยน, เศรษฐกิจ, สังคม ไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งหลายอุตสาหกรรมหยุดชะงักในทันที! 


เพราะเล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในยุค “Technology Disruption” และความท้าทายอย่าง “COVID-19” ที่สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” (ส.อ.ท.) ในฐานะเป็นแกนกลางเสริมสร้างความเข้มแข็ง และผลิตภาพของอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล จึงได้ปรับนโยบายใหม่เป็น “Service Organization” มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือสมาชิก และผู้ประกอบการธุรกิจให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจฝ่าวิกฤต COVID-19 และเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

“เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่ผ่านมาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้ความสำคัญกับ “Industry Transformation” มาตลอด เนื่องจากมองเห็นว่าเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลง และ Disrupt ในอุตสาหกรรมต่างๆ 

เราจึงมีการจัดดสัมมนา เชิญวิทยากรระดับโลกหลายสาขามาบรรยายให้กับสมาชิก และผู้ประกอบการได้มีโอกาสเรียนรู้นวัตกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ มาตรฐานระดับโลก เทคโนโลยีใหม่ เช่น IoT, AI มากขึ้น รวมทั้งพาไปดูงานด้านเทคโนโลยีต่างต่างประเทศ 

ในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกเจอกับสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ส่งผลให้ความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรมนั้น ไม่ง่าย ถึงจะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย การอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มลำบากขึ้น เพราะภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมเปลี่ยน และการบริโภคเปลี่ยน เช่น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นกว่าเดิม

เพราะฉะนั้น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงได้ปรับตัวสู่การเป็น “Service Organization” ทำหน้าที่ให้บริการช่วยสมาชิก และผู้ประกอบการธุรกิจใน 6 ด้านคือ ด้านการเงิน, การตลาด, เทคโนโลยี - นวัตกรรม, การพัฒนาองค์ความรู้, การพัฒนาประสิทธิภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะเป็น “คนกลาง” ประสานความร่วมมือกับภาครัฐ – ภาคเอกชน – ภาคการศึกษา” คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เล่าถึงนโยบายใหม่ของ ส.อ.ท. 



รายละเอียด 6 ข้อภายใต้นโยบายใหม่ ประกอบด้วย 

“การตลาด” (Marketing) พัฒนาด้านอีคอมเมิร์ซ, เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ และซัพพลายเชน พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์รับรองสินค้าไทย (Made in Thailand) วัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมสินค้าไทยสู่การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และเสนอให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานรับรองผู้ผลิตสินค้า Made in Thailand รวมถึงการจับคู่ธุรกิจ, จัดนิทรรศการ และสมาชิกสัมพันธ์ (One Stop Service) เพื่อทำให้สมาชิก และผู้ประกอบการสามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ 

“การเงิน” (Finance) ให้คำปรึกษา และให้ความรู้ด้านการเงิน ภาษี การจัดทำบัญชี ซึ่งบัญชีมีความสำคัญต่อการขอสินเชื่อ การนำเข้ากับสถาบันการเงิน และการนำเข้า - ส่งออกสินค้า 

“นวัตกรรม” (Innovation) สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ จัดตั้งกองทุนนวัตกรรม (Innovation Fund) เพื่อส่งเสริมให้สมาชิก และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมพัฒนานวัตกรรมด้านต่างๆ 

“พัฒนาประสิทธิภาพ”​ (Efficiency) ทั้งในด้านการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย Database ของภาคอุตสาหกรรม, เทคโนโลยี, โลจิสติกส์, พลังงาน ตลอดจนการให้บรากรด้านกฎหมาย และการขออนุญาต, การพัฒนาระบบประเมินศักยภาพ และข้อมูลเชิงลึกของผู้ประกอบการ SME

“พัฒนาองค์ความรู้” ให้กับสมาชิก และผู้ประกอบการธุรกิจ ด้วยการจัดตั้ง F.T.I. Academy” เป็นสถาบันฝึกอบรม เพื่อยกระดับศักยภาพบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งจับมือกับสถาบันการศึกษา ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร Upskill – Reskill สำหรับให้ทั้งผู้ประกอบการ และพนักงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้พัฒนาทักษะความรู้ใหม่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง 

“สิ่งแวดล้อม” (Environment) ให้ความสำคัญกับการผลิต การบริโภคสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งจับมือกับภาครัฐ ทำโครงการ Eco Town Green Factory, ผลักดันแนวคิด BCG Model (Bioeconomy – Circular Economy – Green Economy) และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ ดำเนินการตามหลัก SDGs และผลิตสินค้า Eco Product 



ประธาน ส.อ.ท. ขยายความเพิ่มเติมว่า จุดแข็งของผู้ประกอบการ SME คือ ทำธุรกิจด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ พยายามขยายธุรกิจตัวเอง ไม่หยุดดนิ่ง แต่ขณะเดียวกันพบว่าส่วนใหญ่ยังไม่รู้เรื่องระบบหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำบัญชี การเงิน การเอาเทคโนโลยีมาใช้กับการทำธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรม หรือการทำ R&D (Research & Development) เพราะความที่มีงบประมาณจำกัด ทำให้ SME ไทย ยังเป็น C&D (Copy & Development) มากกว่าจะลงทุนด้าน R&D 

ดังนั้นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ และให้บุคลากรของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เน้นการให้บริการช่วยเหลือสมาชิก และผู้ประกอบการธุรกิจมากขึ้น เพื่อเป็นองค์กรที่เชื่อมต่อผู้ประกอบการ SME กับภาครัฐ เนื่องจากธุรกิจ SME ต้องการการสนับสนุน และความช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่ที่ผ่านมา SME เข้าไม่ถึงกลไกภาครัฐ เพราะฉะนั้น “ส.อ.ท.” จะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการ กับภาครัฐ 

“ต้องยอมรับว่า SME บางส่วนยังปรับตัวได้ช้าอยู่ ก่อนหน้าจะเกิด COVID-19 ทุกคนรู้ว่าเทคโนโลยีกำลังมา บางคนปรับตัว เริ่มลงทุนด้าน Robotic หรือนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการธุรกิจแล้ว ขณะที่บางส่วนยังไม่ได้เริ่ม แต่วันนี้จากการเกิดขึ้นของ COVID-19 ทำให้ทุกคนเห็นแล้วว่าถ้าไม่รีบปรับตัว จะแย่ลง ทุกอย่างต้องใช้เทคโนโลยี และวัฒนธรรมการบริโภค, วิถีชีวิต, การใช้สื่อเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นทุกคนต้องเริ่มขยับ ปรับตัว และเรียนรู้ใหม่” 

ขณะเดียวกันในโลกดิจิทัล เป็นยุค Globalization ทำให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มทุนต่างประเทศในแต่ละอุตสาหกรรม ทำให้ไม่เพียงแต่เจอโจทย์ COVID-19 และ Technology Disruption เท่านั้น หากแต่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ต้องเผชิญกับการแข่งขันรุนแรงขึ้น เพราะฉะนั้นแนวทางสร้างการเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ SME  ต้องไม่ “Stand Alone” แต่ต้องพยายาม “สร้างความร่วมมือ” (Collaboration) กับพันธมิตรธุรกิจ ที่ส่งเสริมความแข็งแกร่งซึ่งกันและกันได้ 

“ปัจจุบันเป็นยุคของความร่วมมือ ผู้ประกอบการทำธุรกิจแบบ Stand Alone ทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันต้องขยายธุรกิจให้เติบโต ซึ่งการเติบโต ผู้ประกอบการจะทำคนเดียว อยู่คนเดียวไม่ได้แล้ว ต้องหาพาร์ทเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นพาร์ทเนอร์ในประเทศ หรือต่างประเทศก็ตาม ที่มีวิสัยทัศน์ไปในทิศทางเดียวกัน มาจับมือเพื่อเสริมความแข็งแกร่งร่วมกัน” คุณสุพันธุ์ กล่าวทิ้งท้าย
 

Published on 09 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย


บทความแนะนำ