บทความแนะนำ

นิตยสารคิด (Creative Thailand) WHY HISTORY MATTERS พฤศจิกายน 2563 | ปีที่ 12 ฉบับที่ 2

“เรื่องในอดีตที่จบไปแล้วเกี่ยวข้องกับชีวิตในปัจจุบันอย่างไร” หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีคำถามนี้อยู่ในหัว แสดงว่าคุณอาจจะยังไม่เข้าใจคำว่า “ประวัติศาสตร์” ดีพอ 

นิตยสารคิดฉบับนี้ชวนมาอ่านให้เห็นว่าความหมายที่แท้จริงของประวัติศาสตร์คืออะไร เราสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ โดยการหยิบใช้ประวัติศาสตร์อย่างไรได้บ้าง
ตลอดจนสำรวจรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ว่าควรเป็นไปในทิศทางใด เพื่อทำให้ประวัติศาสตร์เคลื่อนไปเป็นปัจจุบัน และพร้อมที่จะเป็นฐานแห่งอนาคต
ไม่ใช่เพียงบันทึกเก่าเก็บที่รอวันถูกลืม

บทความแนะนำ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (TISTR)

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ หรือ TISTR ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบในด้านความหลากหลายของวัตถุดิบและทรัพยากรทางด้านอาหารอยู่ในอันดับต้นๆของโลก ทางศูนย์มีหน้าที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบภายในประเทศรวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในด้านอาหารสุขภาพของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกโดยมีบริการทั้ง

การวิจัย พัฒนา บริการพื้นฐาน วิเคราะห์ ทดสอบ และให้คำปรึกษาด้านอาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน ผลิตภัณฑ์อาหาร และสารสำคัญในอาหารจากธรรมชาติ รวมไปถึงวัตถุอันตราย และเครื่องสำอาง โดยเด่นในเรื่องของ การวิจัยพัฒนาด้านอาหาร คลังข้อมูลต้นแบบเรื่องบรรจุภัณฑ์ ข้อมูลผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการทดสอบมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ เพื่อผู้ประกอบการSME ทุกประเภทโดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านอาหาร ผู้ประกอบการที่เคยมาใช้บริการเช่น ธุรกิจผัก ผลไม้ อาหาร เครื่องดื่ม

 

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (TISTR) มีบริการ ดังนี้

  1. บริการวิเคราะห์ทดสอบ อย่างการวิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์
  2. ประเมิณคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ ประเมิณอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์
  3. บริการด้านการทดสอบ เช่น ทดสอบความปลอดภัยในอาหาร และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนา โดยได้รับความสนับสนุนการทำงาน จากศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. ทดสอบทางด้านเภสัชและพิษวิทยาของสารสกัด ทดสอบด้านการประเมิณความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ในLABจนถึงการทดลองขนส่ง ตลอดจนการขอรับรองจาก อย.
  4. บริการโรงงานต้นแบบ โรงงานนำร่องสำหรับสายการผลิตเครื่องดื่มและผลไม้อิ่มอบแห้ง
  5. บริการออกแบบบรรจุภัณฑ์
  6. บริการให้คำปรึกษาด้านการส่งออกต่างประเทศ
  7. มีโครงการ Brand DNAช่วยพัฒนาวัตถุดิบให้กระตุ้นไอเดียเพื่อต่อยอดธุรกิจ

 

งานบริการด้านวิจัยและพัฒนา

  • ด้านผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน
  • ด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • ด้านสาระสำคัญในอาหารจากธรรมชาติ
  • ด้านออกแบบเครื่องมือ เครื่องจักร สำหรับการผลิตอาหาร

งานบริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน

  • โรงงานนำร่องสำหรับสายการผลิตเครื่องดื่มและผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง เช่น การแปรรูป เทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ใยอาหารจากเปลือกผลไม้ เทคโนโลยีสารสกัดจากพืช

 

ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาใช้บริการของทาง ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ สามารถ Walk-in เข้ามาเลยหรือสมัครผ่านเว็บไซต์ โดยมีขั้นตอนในการรับบริการดังนี้

  1. กรอกแบบฟอร์ม
  2. ส่งแบบฟอร์มนักวิจัย/เจ้าหน้าที่ ติดตามกลับเพื่อรับบริการ
  3. ชำระค่าวิเคราะห์/ค่าบริการวิจัย
  4. รับรายงานผลการวิเคราะห์ และประเมิณความพึงพอใจของลูกค้า

 

หรือติดต่อที่

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

35 ม. เทคโนธานี ถนน เลียบคลองห้า ตำบล คลองห้า อำเภอ คลองหลาวง จังหวัด ปทุมธานี 12120

 

โทรศัพท์ 02-577-9137

โทรสาร 02-577-9137

E-mail : Innofood@tistr.or.th

 

 

บทความแนะนำ

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11

 

ศูนย์ส่งเสริงอุตสาหกรรม ภาคที่ 11 สงขลา ก่อตั้งมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมสนับสนุน ช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นมาตามความต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการในพื้นที่ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น โดยการให้ความรู้ แนวคิด การจัดตั้งธุรกิจ และบ่มเพาะธุรกิจ โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ และนำงานวิจัยมาเพิ่มมูลค่าโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในภาคใต้เพื่อผู้ประกอบการ- SME ทุกประเภท เช่น  Micro SMEs ที่เพิ่งเริ่มต้น เช่น ประมงพื้นบ้าน ปศุสัตว์ การปลูกพืช การแปรรูปอาหาร

 

จุดเด่นของศูนย์ฯ คือการนำศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเข้ามาร่วม มีการทำ Pilot Plant โดยเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ประกอบการ อย่าง Micro SMEs ที่เพิ่งเริ่มต้น และยังไม่มีงบในการลงทุนพัฒนา ก็สามารถเข้ามาใช้เครื่องมือจากศูนย์ฯ ในการพัฒนาช่วงเริ่มต้นได้ ทั้งเครื่องอบ เครื่องทอดสุญญากาศ เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อเพื่อยืดอายุสินค้า โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

บริการของทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 11ที่มีให้ผู้ประกอบการ มีดังนี้

1. นำแนวคิดของผู้ประกอบการมาพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยให้บริการเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการอาจเข้าถึงได้ยาก โดยการให้บริการเทคโนโลยีในการผลิต ด้วยบริการเครื่องจักรหลากหลายประเภท เช่น เครื่องอบ เครื่องทอดสุญญากาศ เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อเพื่อยืดอายุสินค้า ตลอดจนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบตราสินค้า โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

2. การพัฒนาจะใช้เทคโนโลยีและงานวิจัยต่าง ๆ โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ วัตถุดิบเด่น ๆ เช่น ยางพารา เกษตรแปรรูป อาหารทะเล ประมงพื้นบ้าน ปศุสัตว์ การปลูกพืชในพื้นที่

3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบตราสินค้า โดยมีนักวิทยาศาสตร์ทางด้านอาหารให้คำปรึกษาแนะนำ ควบคู่ไปกับนักออกแบบบรรจุภัณฑ์

4. ให้ความรู้และแนวคิดในการทำธุรกิจเบื้องต้น เช่น การสร้างแบรนด์ที่มีอัตลักษณ์ การสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ การขออย. เรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆ รวมทั้งมีเงินทุนหมุนเวียนที่จะช่วยสนับสนุนกับผู้ประกอบการแบบครบวงจร

5. Service Provider พื้นที่ที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับให้คำปรึกษา แนะนำ ต้อนรับผู้ประกอบการที่ Walk In เข้ามาให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ เช่น  ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ทางศูนย์ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการอบรมส่งเสริมผู้ประกอบการในการทำธุรกิจออนไลน์ ผ่านออนไลน์โปรแกรม เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้าในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมา

6. มีเครือข่ายในโครงการที่ชื่อว่า “บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ” เพื่ออำนวยความสะดวก ผู้ประกอบการสามารถนำเพียงผลิตภัณฑ์ตั้งต้นเข้ามารับคำปรึกษาจนสามารถสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ได้

 

อีกหนึ่งบริการของทางศูนย์ที่มีให้ผู้ประกอบการคือการบริการให้พื้นที่เช่าในการดำเนินธุรกิจ อย่างผู้ประกอบการที่มีโปรดักซ์แต่ไม่มีพื้นที่และอยากทดลองผลิต โดยผู้ประกอบการต้องเสนอแผนงานธุรกิจให้กับทางศูนย์ฯ ก่อนที่จะได้รับอนุญาติ โดยคัดจากความจำเป็นและโอกาสความเป็นไปได้ในทางตลาดที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ ทางศูนย์ก็จะให้เช่า โดยอัตราค่าเช่าตารางเมตรละ 2 บาท เดือนละหลักร้อย มีทั้งหมด 7 Unit และพื้นที่ Co-working Space ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันเอง

 

ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการติดต่อเพิ่มเติมทาง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11  165 ถนนกาญจนวนิช

ตำบล น้ำน้อย อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา 90110

โทร 074-211905-8 , 074-211565 , 074-211565

โทรสาร 074211904

อีเมล ipc11@dip.go.th

 

 

บทความแนะนำ

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งช่วยให้มีการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างเป็นระบบและนำไปเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม โดยทางศูนย์มีบริการที่โดดเด่นคือ การผลิตเครื่องสำอาง และสมุนไพร พัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยจะช่วยวิเคราะห์ ทดสอบ และขึ้นสูตรต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการทุกประเภทสามารถเข้ามาใช้บริการได้โดยเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการด้านการผลิตเครื่องสำอางและสมุนไพร

 

สำหรับบริการที่ผู้ประกอบการSME สามารถเข้ามาใช้บริการเพื่อบ่มเพาะธุรกิจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่

1. บริการที่ปรึกษาในการผลิต โดยสามารถแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ 5 ประเภท 1.แป้ง 2.ลิปสติก 3.ครีม  4.สบู่ก้อน  5.แมสก์หน้า

2. บริการออกแบบนวัตกรรมบริการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า และการออกแบบสื่อต่าง ๆ

3. บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมบริการยื่นขอรับความคุ้มครองทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ

4. Innovation Park หรือเรียกว่าตึก I park มีบริการห้อง Incubator Room , Co-Working Space , Maker Space ที่ให้บริการเครื่อง 3D ปริ้นเตอร์และเครื่องเลเซอร์คัทติ้ง

5. ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น LAB ศูนย์ความเป็นเลิศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ LAB ในเรื่องของวิเคราะห์ทดสอบสภาพผิว เป็นต้น

6. Pilot Plant ทดลองผลิต ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยเน้นที่ 3 ประเภทธุรกิจคือ ด้านอาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ เช่น เครื่องดื่ม อาหารแปรรูป อาหารเสริมผู้สูงอายุ เครื่องสำอางค์จากสมุนไพร สามารถพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ผ่านการวิเคราะห์ทดสอบเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้ามาผลิตต้นแบบ พร้อมทั้งให้บริการอุปกรณ์เครื่องมือ

7. ห้องประชุมสำหรับจัดอบรมสัมมนา , ห้องให้เช่าเพื่อเป็นสำนักงาน 3 ห้อง

 

ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการได้ทั้งในส่วนของการนำผลิตภัณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์นำไปต่อยอดในเชิงธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบการที่สนใจปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล วิเคราะห์ ทดสอบ และขึ้นสูตรต้นแบบผลิตภัณฑ์ ทางศูนย์มีโครงการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และบริการสนับสนุนการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี 

สำหรับค่าลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์จากมหาวิทยาลัยจะราคาถูกมาก เริ่มต้น 30,000 – 50,000 บาท เป็นค่าอนุญาตใช้สิทธิ์ 

 

ผู้ประกอบการที่สนใจติดต่อที่

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและพัฒนานวัตกรรม 333 หมู่ 1 ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100

 

โทรศัพท์ 053-917-003

โทรสาร 053-917-004

E-mail  http://mfii.mfu.ac.th/

Facebook  https://www.facebook.com/mfii.mfu

 

 

บทความแนะนำ