กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development - DBD)
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการส่งเสริม พัฒนาธุรกิจ รวมทั้งงานจดทะเบียน, งานส่งเสริมสมาคมการค้าและหอการค้ามาจากกรมการค้าภายใน นอกจากนั้นยังมีภารกิจใหม่คือการส่งเสริมธุรกิจบริการและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาทำการปฏิบัติอย่างผสมผสานพร้อมกับภารกิจเดิม ที่เป็นงานด้านจดทะเบียนธุรกิจ การกำกับดูแลธุรกิจ และการให้บริการธุรกิจ
บริการจากทางศูนย์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มีการเปิดให้บริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์จำนวน 4 ด้าน ได้แก่
-การจดทะเบียนธุรกิจ โดยการให้บริการจดทะเบียนธุรกิจ สามารถขอรับบริการผ่านทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ www.dbd.go.th ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การจองชื่อนิติบุคคลออนไลน์, การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration), การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ (e-Secured), และการเชื่อมโยงข้อมูลการออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI (e-Foreign Certificate)
-การขอข้อมูลธุรกิจ การให้บริการข้อมูลธุรกิจ ครอบคลุมการให้บริการข้อมูลแก่ภาคธุรกิจและประชาชนในด้านต่างๆ ได้แก่ การให้บริการหนังสือรับรอง, การรับรองสำเนานิติบุคคลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในรูปแบบของเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ (e-Service / e-Certificate / e-Certificate File), การให้บริการคลังข้อมูลธุรกิจ (DBD Data Warehouse+) ผ่านทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน DBD e-Service ทั้งระบบ Android และ IOS
-การส่งงบการเงิน การให้บริการด้านงบการเงินของนิติบุคคล ได้แก่ การให้บริการนำส่งงบการเงินและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ซึ่งบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด สามารถจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ เสมือนการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีที่ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดประชุม
หรือหากบริษัทใดที่ยังไม่ได้จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ก็สามารถจัดประชุมผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ และเมื่อดำเนินการทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว นิติบุคคลสามารถนำส่งงบการเงินผ่านระบบ DBD e-filing ของกรมฯ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้นำส่งไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในเชิงธุรกิจ
-การส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ การให้บริการส่งเสริมธุรกิจ ครอบคลุมธุรกิจทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น การให้บริการรับการอบรมออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ DBD Academy (www.dbdacademy.com) และการขอเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DBD Registered และ DBD Verified ผ่านทาง www.trustmarkthai.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้านั้น มีความมุ่งหวังที่จะเป็นองค์กรภาครัฐชั้นนำ ที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรในด้านการให้บริการดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ.2570 เพื่อให้มีความสะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว และทันสมัย ตอบโจทย์ และเข้าถึงประชาชน ได้อย่างทั่วถึง
และมุ่งหวังที่จะสร้างพลังขับเคลื่อนธุรกิจไทยโดยบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนร่วมกับการใช้นวัตกรรมเพื่อผลักดันศักยภาพของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ ให้เข้มแข็ง แข่งขันได้ ตั้งแต่ระดับรายย่อย (MSME) ขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ขนาดใหญ่ (SML) พร้อมรับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ที่อยู่: 563 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร : 0 2528 7600
โทรสาร : 0 2547 4459
อีเมล : secretary@dbd.go.th
เว็บไซต์ : dbd.go.th
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
E-Book บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
ทุกความสำเร็จล้วนมีที่มา เราได้รวบรวมบทสัมภาษณ์แบบเจาะลึกทุกแง่มุมของผู้ประกอบการ SME เป็นเรื่องราวจากประสบการณ์จริงของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ในหลากหลายธุรกิจทั่วประเทศไทย ให้คุณสามารถนำเรื่องราวไปเป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ ได้เรียนรู้เทคนิคและสามารถนำไปปรับใช้ ปั้นธุรกิจของคุณให้เติบโตไปได้ไกลยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติมบน E-Book :E-Book บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
E-Book รวบรวมข้อมูลศูนย์บริการหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชน
หากคุณอยากพัฒนาต่อยอดหรือขยายโอกาสทางธุรกิจแต่ไม่รู้จะปรึกษาใครดี เราได้รวบรวมข้อมูลส่วนหนึ่งของศูนย์บริการหน่วยงานจากภาครัฐ และเอกชน ที่พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ทั่วประเทศไทย ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างมีความเชี่ยวชาญและความถนัดเฉพาะด้าน ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาทั้งแก่ผู้ประกอบการได้อย่างเจาะลึก ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบมือใหม่ ที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ไปจนถึงผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาธุรกิจของคุณให้ต่อยอดไปได้ไกล และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติมบน E-Book : รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
สมอ. ยกระดับมาตรฐานเพิ่มศักยภาพธุรกิจ
ช่วยให้ SMEs เข้าถึงตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ
มาตรฐานถือเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดและเพิ่มผลผลิตในการจัดส่งงาน ในเวลาเดียวกันมาตรฐานช่วยให้ธุรกิจระบุวิธีการลดต้นทุนและการประกันคุณภาพที่สร้างขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใดมาตรฐานสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า ทั้งยังช่วยธุรกิจในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในฐานะสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนสินค้าและบริการให้เป็นที่ยอมรับและแข่งขันได้ในระดับสากล โดย สมอ. มีภารกิจด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยใช้มาตรฐานเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินธุรกิจ สร้างการยอมรับและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้า
มาตรฐานของ สมอ. จึงเป็นเหมือนเครื่องหมายการันตีคุณภาพที่ผู้ประกอบการ SME สามารถนำไปใช้ในทางการตลาด
ทั้งนี้ มาตรฐานของ สมอ. มีหลายระดับ ตั้งแต่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.), มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส(มอก.เอส), มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) เป็นต้น โดย มอก.เอส ทำขึ้นมาสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเฉพาะโดยมอก.เอส จะอยู่ระหว่าง มผช. กับ มอก. ผู้ประกอบการอาจพัฒนามาจาก มผช. แล้ว แต่ยังไม่ถึง มอก. ก็สามารถขอการรับรองในส่วนของ มอก.เอส ได้
มอก.เอส เริ่มประกาศใช้ในปี 2561 ผู้ประกอบการที่เคยได้รับใบรับรองมาตรฐาน มอก.เอส ดำเนินธุรกิจ อาทิ ที่นอนยางพารา, ดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุแปรรูป, การบริการนวดและสปา, การบริการซักอบรีด, การบริการกำจัดปลวก หนูและแมลง เป็นต้น
สำหรับสถานการณ์ภาพรวมของ SMEs ปรากฏว่ามีบางรายที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ดังนั้น SMEs ควรเน้นเรื่องคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพราะบางครั้งกระบวนการผลิตของ SMEs ยังเป็นแบบพื้นๆ ทั่วไป และการรักษาคุณภาพยังไม่สม่ำเสมอ
นอกจากนี้การเข้าสู่กระบวนการเพื่อขอการรับรองด้านคุณภาพยังทำให้ SMEs สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าในการผลิตให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน แม้ SMEs นั้นจะพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดก็ตาม ทำให้ผู้บริโภครับรู้ได้ว่าสินค้าของ SMEs รายนั้นๆ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรองรับเทรนด์หรือความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
ยกตัวอย่าง เช่น หาก SMEs ผลิตสินค้าและพัฒนาจาก มผช. ไปสู่ มอก.เอส พัฒนาต่อให้ได้ มอก. และต่อไปถึงมาตรฐานสากล เป็นต้น
ในปัจจุบันเทรนด์ของการมาตรฐานให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักการ BCG Model ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งยกระดับไปสู่ระบบการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อรักษาความมั่นคงทางวัตถุดิบและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ สมอ.ได้กำหนดมาตรฐานเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนแล้ว โดย SMEs ควรปรับตัวเรื่องกระบวนการผลิต เน้นกระบวนการนำวัตถุดิบกลับมาเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดปริมาณของเสียให้ได้มากที่สุด รวมถึงเรื่อง Green การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย SMEs อาจหมุนเวียนใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น กล่อง หรือสิ่งของอื่นๆ หรืออย่างน้อยๆ SME ช่วยในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำกระบวนการให้เป็น Green
จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการจำเป็นต้องติดตามเทรนด์การมาตรฐานที่เปลี่ยนแปลงไป และพัฒนาไม่หยุดนิ่งเพื่อสร้างการยอมรับแก่ผู้บริโภคและสังคม เพราะนอกจากคุณภาพมาตรฐานแล้ว อีกเรื่องสำคัญสำหรับ SMEs คือเรื่องการตลาดดิจิตอลและโซเซียล มีเดีย โดย SMEs ควรเรียนรู้เรื่องสื่อดิจิตอล เพื่อทำให้สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักและยอมรับ สมอ. จึงมีโครงการต่างๆ เพื่อให้ความรู้และพัฒนาผู้ประกอบการทั้ง OTOP, SME เกี่ยวกับสื่อดิจิตอล การตลาด การขายออนไลน์ เป็นต้น
สรุปได้ว่า คุณภาพและมาตรฐานสินค้าบริการ บวกกับการตลาดในยุคดิจิตอล จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการสร้างความสามารถเชิงแข่งขันต่อไปในอนาคต
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone