UBU Spark หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ – เพิ่มศักยภาพธุรกิจหน้าใหม่ด้วยนวัตกรรม

 

UBU Spark หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ – เพิ่มศักยภาพธุรกิจหน้าใหม่ด้วยนวัตกรรม

Start-up หน้าใหม่ไฟแรง มักมาพร้อมกับไอเดียหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่แหวกแนวตลาด จนกลายเป็นความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของตัวเองเป็นอย่างมาก เรื่องนี้กลับกลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ Start-up หน้าใหม่ส่วนมาก ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฝัน เพราะลืมทักษะในด้านการมองตลาด หรืออาจยังมีทักษะในการมองตลาดที่ยังไม่แข็งแรง และมักทุ่มเทแรงกายแรงใจ ลงไปให้ตัวผลิตภัณฑ์เสียมากกว่า โดยไม่ได้คิดถึงในมุมของกลุ่มลูกค้าที่จะใช้งาน

.

Start-up หน้าใหม่ หัวใจ Innovation
สิ่งเหล่านี้จึงหน้าที่หลักของ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี ที่จะสนับสนุน เสริมสร้าง และเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงการทำธุรกิจโดยรอบด้าน และสร้างธุรกิจใหม่ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เกิดขึ้น

ซึ่งทางหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจแห่งนี้ เปิดกว้างให้กับบุคคลทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ นักศึกษาจบใหม่ คนวัยทำงานที่มีใจอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือใครก็ตามที่อยากเริ่มสร้างกิจการที่มีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต ต่างสามารถเข้ามาใช้บริการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจแห่งนี้ได้ทั้งหมด
ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องผลิตสินค้าต้นแบบขึ้นมาก่อน เพียงแค่มีไอเดีย ก็สามารถเข้ามาที่หน่วย ได้ทันที เพราะทางหน่วย มีทีมที่พร้อมจะร่วมมือกันช่วยพัฒนาธุรกิจใหม่เหล่านี้ ให้เติบโตขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งหัวใจสำคัญของการเริ่มต้นบ่มเพาะผู้ประกอบการหน้าใหม่ คือการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในการตั้งต้นจากความต้องการของกลุ่มลูกค้าก่อนเป็นสำคัญ

.

เส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการ

หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มีทีมงานและเครื่องมือ เครื่องใช้ ไปจนถึงห้องปฏิบัติการ ที่พร้อมรองรับไอเดียธุรกิจทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้น โดยมีบริการในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยสร้างเส้นทางให้กับบุคคลทั่วไป ที่มีความต้องการที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว ซึ่งต้องมีการพัฒนาไปด้วยกันในหลายมิติ ได้แก่

    • การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือขั้นตอนที่ต้องเริ่มเป็นอันดับแรกสุด ไล่ไปตั้งแต่ การทำวิจัยเพิ่มเติม, การทำผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน, การทำให้ง่ายต่อการใช้งาน เป็นต้น
    • การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร ลำดับต่อมาคือ การพัฒนาความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมในเรื่องที่ขาด เช่น ขาดความรู้เรื่องบัญชี, ไม่มีทักษะในการบริหารธุรกิจ เป็นต้น ช่วยเติมเต็มความพร้อมให้ครบเครื่อง
    • การสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจ จะเป็นการสร้างกิจการให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนธุรกิจ ไปจนถึงเรื่องการคิดหาเส้นทางของรายได้

 

 

 

เมื่อพัฒนาผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้มีพร้อมทั้ง 3 มิติแล้ว จึงจะเรียกได้ว่าเป็นบริษัท Start-up ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพเพียงพอที่จะลงสู่สนามธุรกิจได้อย่างมีอนาคต

.

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

UBU Spark หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ
อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
85 ถนนสถลมาร์ค ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190
โทร. 097-335-3185, 045-433-456
E-mail: spark@ubu.ac.th
website : www.ubuspark.org
Facebook: UBUSPARK
Youtube: UBU Spark

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

UBU Spark - Pilot Plant – แปรรูปให้เป็นโอกาส

 

UBU Spark - Pilot Plant – แปรรูปให้เป็นโอกาส

การจะเป็นผู้ประกอบการ SME ที่ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคใหญ่ของเหล่าผู้ประกอบการ ก็คือความพร้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความพร้อมในเรื่องของแหล่งผลิต โดยส่วนใหญ่นั้น ผู้ประกอบการที่ยังไม่สามารถพัฒนาสินค้าให้เติบโตไปได้ไกล มักมีปัญหาใหญ่อยู่ 2 เรื่องหลักคือ 1.โรงงานผลิตที่ยังไม่ได้มาตรฐานทำให้ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอที่จะเติบโตได้ และ 2. ผู้ประกอบการหลายราย มีไอเดีย มีสินค้าต้นแบบ แต่ไม่มีกำลังที่จะทำการผลิตสินค้าได้

.

ผลิตความฝันให้เกิดขึ้นได้จริง

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต้องการที่จะช่วยสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ ให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า จึงเปิด Pilot Plant หรือ หน่วยโรงงานต้นแบบด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ขึ้นให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ ไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ สามารถเข้ามาใช้บริการได้ 

โรงงาน Pilot Plant นั้นถูกออกแบบให้มีความเอนกประสงค์มากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าทุกคนสามารถเข้ามาใช้งานได้โดยสะดวก โดยมีจุดเด่นคือ การวางเครื่องจักรในรูปแบบจิ๊กซอว์ ซึ่งสามารถใช้เครื่องหนึ่งทำกระบวนการหนึ่ง แล้วสลับไปใช้อีกเครื่องหนึ่งเพื่อผลิตในกระบวนการถัด ๆไปได้ทันที โดยไม่ต้องมีลำดับ ซึ่งการผสมผสานรูปแบบการผลิตได้อย่างนี้ เอื้อให้ผู้ประกอบการ สามารถทดลองสร้างผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างอิสระ

โรงงาน Pilot Plant แบ่งการใช้งานออกเป็น 2 โรง ได้แก่

  1. โรงงานอาคารต้นแบบด้านการผลิตอาหารประเภทเนื้อสัตว์ สำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ โดยแบ่งรูปแบบของการแปรรูปออกเป็น 3 ส่วน คือ
    - ผลิตภัณฑ์ดิบ อาทิ เนื้อสัตว์หัน สับ เป็นต้น
    - ผลิตภัณฑ์กึ่งสุกกึ่งดิบ อาทิ เนื้อสัตว์แปรรูป ลูกชิ้น เป็นต้น
    - ผลิตภัณฑ์สุก อาทิ ผลิตภัณฑ์พร้อมทาน ผลิตภัณฑ์พร้อมปรุง เป็นต้น
    อีกทั้งยังมีเครื่องจักรสำหรับทำบรรจุภัณฑ์ รวมถึงห้องแช่เย็นสำหรับให้บริการฝากวัตถุดิบ หรือฝากสินค้าได้อีกด้วย
  2. โรงงานอาคารต้นแบบด้านแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร สำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ ต่าง ๆ โดยมีรูปแบบของการแปรรูป ได้แก่
    - แปรรูปแบบอบแห้ง
    - แปรรูปแบบผง
    - แปรรูปเป็นเครื่องดื่ม
    - แปรรูปด้วยกรรมวิธีหมักดอง
    ซึ่งสามารถใช้เครื่องจักรภายโรงงานเพื่อทำการบรรจุ สินค้าในรูปแบบถุง หรือ บรรจุลงกระป๋องตามต้องการ ได้ทันที

นอกจากการให้บริการด้านโรงงานผลิตต้นแบบแล้ว ยังมีการให้บริการในส่วน งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ให้ผู้ประกอบการมาเปิดห้องแล็บเล็ก ๆ  เพื่อทำการวิจัย และพัฒนาสูตรอาหารประจำแบรนด์ของตัวเองให้เรียบร้อย ก่อนที่จะลงไปทำการผลิตจริงในขั้นตอนต่อไป

.

Pilot Plant มีทีมพี่เลี้ยง และทีมที่ปรึกษาที่พร้อมให้คำแนะนำในด้านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิตสินค้า ทั้งในมิติของมาตรฐาน และ ในมิติของต้นทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่ที่ต้องการจะพัฒนาสินค้า ให้ประสบความสำเร็จไปถึงฝัน และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้จริง โดยมีมาตรฐานสูง และมีคุณภาพที่สูงขึ้น เพื่อให้ทุก ๆ คน มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์กับตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

UBU Spark - Pilot Plant
อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
85 ถนนสถลมาร์ค ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190
โทร. 097-335-3185, 045-433-456
E-mail: spark@ubu.ac.th

website : www.ubuspark.org
Facebook: UBUSPARK
Youtube: UBU Spark 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

GS1 สถาบันรหัสสากล – ยกระดับมาตรฐานสินค้าด้วยบาร์โค้ด

 

GS1 สถาบันรหัสสากล – ยกระดับมาตรฐานสินค้าด้วยบาร์โค้ด
ในอดีตสินค้าต่าง ๆ นั้น ยังไม่มีเลขหมายกำกับ ทำให้เกิดความสับสนยุ่งยากในการสื่อสารและจัดการระบบคลังสินค้า ลองนึกดูว่าถ้ามีผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน จะสามารถบันทึกจำแนกอย่างไรให้ชัดเจน ได้อย่างง่ายที่สุด การระบุเลขหมายสินค้าในรูปแบบบาร์โค้ดจึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อตอบโจทย์ให้กับการเก็บข้อมูลสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็วเพียงแค่สแกนแถบ ไม่ต้องคอยบันทึกเลขหลายทีละหลัก ที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้

.

เลขหมายมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก

เมื่อมีระบบเลขหมายเกิดขึ้น ก็ต้องมีหน่วยงานกลางที่เป็นนายทะเบียนในการออกเลขหมายประจำสินค้าให้กับผู้ประกอบการ จึงได้มีการตั้งสถาบันรหัสสากล หรือ GS1 Thailand ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานมาตรฐานที่จะดูแลเรื่องการออกรหัสบาร์โค้ดให้กับสินค้า ซึ่งมีรูปแบบดำเนินงานภายใต้มาตรฐานเดียวกันใน 120 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สินค้าที่ผลิตในแต่ละประเทศมีเลขหมายกำกับสินค้าเฉพาะอย่างชัดเจน ให้สามารถส่งออกสินค้าระหว่างประเทศได้อย่างเข้าใจตรงกัน

ถ้าหากผู้ประกอบการแต่ละคน ต่างคนต่างใช้เลขหมายที่ตัวเองตั้งขึ้น จะก่อให้เกิดความสับสนขึ้นได้ ยิ่งเมื่อนำสินค้าเข้าสู่คลังสินค้าส่วนกลาง อย่างเช่นห้างสรรพสินค้า ก็อาจเกิดกรณ๊ที่เลขหมายซ้ำกันกับผู้ประกอบการเจ้าอื่น ทำให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจบันทึกสต็อก รวมถึงจัดจำหน้ายสินค้าผิดชิ้นก็เป็นได้ จึงต้องมีการใช้เลขหมายมาตรฐานสากล ที่ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลักนั้น ซึ่งเป็นรหัสที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ประเทศที่ผลิต สถานที่ผลิต ไปจนถึงล็อตที่ผลิต สะดวกในการจัดเก็บบันทึกข้อมูลสินค้าได้อย่างแม่นยำ และ ในกรณีที่สินค้ามีความผิดพลาดก็ยังสามารถตรวจสอบกลับมาได้โดยง่าย

และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสินค้าถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ ถ้าสินค้านั้นได้มีการขึ้นทะเบียนเลขหมายมาตรฐานสากลไว้อยู่แล้ว ก็สามารถใช้เลขหมายนี้ได้ทันที เพราะข้อมูลสินค้าทั้งหมดได้ถูกเก็บบันทึกไว้ในฐานข้อมูลสากลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เลขหมายบาร์โค้ดนี้ยังเป็นสิ่งที่ช่วยรับรองมาตรฐานของสินค้าในระดับหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้บริโภคในต่างประเทศสามารถให้ความเชื่อถือ ไว้วางใจในสินค้าได้อีกด้วย

.

บาร์โค้ดนี้มีคุณภาพ

บริการที่ทางสถาบันรหัสสากลพร้อมรองรับให้กับผู้ประกอบการ มีตั้งแต่ 

  • บริการรับรองการเป็นสมาชิก โดยสามารถออกเป็นหนังสือยืนยันเลขหมายให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสิ่งค้าไปเปิดตลาดต่างประเทศ เพื่อใช้อ้างอิงและยืนยันตัวตนของสินค้าได้ ป้องกันการมีเลขหมายซ้ำซ้อนในระบบคลังสินค้าเดียวกัน
  • บริการตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ด ทุกรหัสบาร์โค้ดที่ปรากฎอยู่บนสินค้า ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของขนาด ตำแหน่ง สีสัน ที่ใช้ในบาร์โค้ด เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ป้องกันความผิดพลาดจากเครื่องอ่านรหัส ณ จุดขายสินค้า
  • การฝึกอบรมความรู้ด้านบาร์โค้ด เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน ผ่านช่องทางทั้งการฝึกอบรม สัมมนา ไปจนถึงช่องทางออนไลน์ และ พอดแคสต์ต่างๆ ช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องบาร์โค้ดให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงการเปิดโลกความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้เห็นว่าบาร์โค้ดทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ชุดรหัสที่บันทึกข้อมูลสินค้าเท่านั้น แต่ยังสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย 
  • บริการ Solution Provider ทางสถาบันรหัสสากล ได้มีการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะช่วยผู้ประกอบการอย่างครบวงจรรอบด้าน ครอบคลุมตั้งแต่หน่วยงานที่ให้คำปรึกษา ไปจนถึงหน่วยงานที่ช่วยผลิตสินค้า พร้อมดูแลตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้ามาลงทะเบียน ไปจนถึงวันที่สินค้าสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้

.

การขอรับเลขหมายบาร์โค้ดมาตรฐานสากล เรียกได้ว่าเป็นการติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง เปิดประตูสู่โอกาสในการพัฒนาสินค้าให้ก้าวไกลสู่ตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เลขที่ 2 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ชั้น 11
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร. 0-2345-1000
E-mail: info@gs1th.org
Website : www.gs1th.org
Facebook: gs1thailand
Line Official: GS1 Thailand

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

อัยย์ไทย สืบสานองค์ความรู้แผนไทยให้ร่วมสมัย

อัยย์ไทย สืบสานองค์ความรู้แผนไทยให้ร่วมสมัย

 

ผลิตภัณฑ์สปาดูแลผิวของไทย จาก 2 เภสัชกรที่มองเห็นแนวโน้มของการกลับมาใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และการดูแลสุขภาพตามวิถีธรรมชาติ จึงนำองค์ความรู้ทางด้านภูมิปัญญาไทยตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยผนวกกับองค์ความรู้เภสัชกรรมแผนปัจจุบันมาพัฒนา จนได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์สปาไทยที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล 

.

ใส่ใจทุกกระบวนการ จนกว่าจะมั่นใจ

จากประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในวงการการตลาด ทำให้มองเห็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาตินำเมื่อนำมารวมกับความรู้ด้านเภสัชกร ทำให้แบรนด์อัยย์ไทย คิดค้นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยที่แตกต่างจากแบรนด์ทั่วไป ทั้งกระบวนการผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน และผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นสูตรจากการศึกษาจริงจังในเรื่องของเภสัชกรรมแผนไทย ทั้งการประคบและอบสมุนไพรของศาสตร์การนวดแผนไทย ที่นำมาประยุกต์กับความรู้แผนปัจจุบัน 

ด้วยความเป็นเภสัชกรทำให้ผลิตภัณฑ์ของอัยย์ไทย ผลิตภายใต้ความใส่ใจในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดของการพัฒนาเวชภัณฑ์หรือยาในการผลิต เริ่มตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบเชื้อ การตั้งสูตรตำรับที่ต้องมีเทคนิคในการผสมว่าวัตถุดิบตัวไหนเหมาะกับเนื้อผลิตภัณฑ์แบบใด และเมื่อได้สูตรหรือตำรับที่พอใจแล้ว จะต้องมีการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ในสภาวะที่วัตถุดิบแต่ละตัวจะสามารถทำหน้าที่ได้ดี นอกจากนี้ยังมีการทดสอบผลิตภัณฑ์เมื่ออยู่ในหลายสภาวะ คือทั้งในอุณหภูมิห้อง อุณหภูมิเย็น และอุณหภูมิร้อน ซึ่งการทดสอบนี้ทำให้เห็นคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และทำให้ได้ข้อมูลในเรื่องการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในหลากหลายสภาพอากาศด้วย ซึ่งในทุกๆการผลิตจะมีการทดสอบการคงตัวและเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทุกครั้งเพื่อเปรียบเทียบหาสาเหตุที่แท้จริงหากพบสินค้าที่มีปัญหาหรือว่าเนื้อผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงจากต้นแบบ 

นอกจากนี้ อัยย์ไทยยังใส่ใจในเรื่องบรรจุภัณฑ์ โดยมีแนวคิดเรื่องความยั่งยืน เน้นในเรื่องของการลดใช้พลาสติก จะใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษ ลดการใช้แผ่นพับ มาทดแทนด้วย QR CODE บนบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสามารถสแกนเข้าไปอ่านข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และหลักการดูแลผิวพรรณและสุขภาพได้ ตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภคปัจจุบันที่มองหาแบรนด์ที่สนใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย   

ด้วยความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต ทำให้ผลิตภัณฑ์แต่ละตัวของ อัยย์ไทย ต้องใช้เวลาร่วมปีก่อนจะปล่อยออกมาสู่ตลาด ตั้งแต่การค้นคว้าวิจัยวัตถุดิบที่ใช้ทำสูตรและกระบวนการทดลองต่าง ๆ ไปจนถึงภาพรวมเรื่องภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์อีกด้วย  

.

ปรับรูปแบบของสินค้าให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย

แบรนด์อัยย์ไทย เปิดตัวและทำการตลาดโดยเน้นกลุ่มเป้าหมายทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ จากการศึกษาทดสอบตลาดในต่างประเทศ ทำให้เรียนรู้การสื่อสารผ่านทางด้านบรรจุภัณฑ์และขนาดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม 

สำหรับกลุ่มชาวต่างชาติ แบรนด์มีการจัดทำบรรจุภัณฑ์เป็นชุด Gift set สำหรับเป็นของขวัญหรือของฝาก และขนาดเล็กที่เหมาะกับการพกพา เน้นกลิ่นที่สื่อถึงความเป็นไทย เมื่อนำผลิตภัณฑ์กลับไปใช้จะทำให้ระลึกถึงความเป็นไทยหรือความประทับใจที่ได้มาเมืองไทย วางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าในโรงแรมตามแหล่งท่องเที่ยว 

สำหรับกลุ่มคนไทย เลือกเจาะไปในกลุ่มคนทำงาน เน้นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของการผ่อนคลาย เป็นผลิตภัณฑ์สปาเพื่อการบำบัดความเครียด เช่น สครับขัดตัว น้ำมันนวด หรือ Oriental aroma body gel ที่มีกลิ่นสมุนไพรธรรมชาติ หอมแต่ไม่ฉุน 

นอกจากนี้อัยย์ไทยยังมีการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ เช่นโปรตุเกส และฮ่องกง และร่วมมือกับภาครัฐในการเปิดรับลูกค้าที่ต้องการจ้างผลิต หรือแม้กระทั่งลูกค้าที่ต้องการทำในรูปแบบส่งออกก็ตาม เพราะอัยย์ไทยนั้นมีความพร้อมทั้งคุณภาพมาตรฐานและเอกสารที่สามารถผลิตเพื่อทำการส่งออกได้

.

ต่อยอดรักษาภูมิปัญญาไทยต่อไปในอนาคต

ด้วยแนวโน้มที่ทุกคนสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น อัยย์ไทยจึงมีแผนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากเรื่องสกินแคร์ต่อไป โดยมีความตั้งใจที่จะทำผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ยึดถือการ Empowering  the power of science เป็นหลักในการทำงาน คือนำเอาความเป็นธรรมชาติที่เป็นแก่นแท้ภูมิปัญญาไทยที่สืบต่อกันมานาน มาผ่านกระบวนการเพื่อทำให้เป็นวิทยาศาสตร์ ให้อยู่ในรูปแบบที่ดูทันสมัยขึ้น เหมาะกับชีวิตหรือพฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบัน โดยมองว่าสิ่งนี้สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลาย ๆ คนเปลี่ยนมุมมองต่อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย และทำให้มีความมั่นใจในการบริโภคหรือการใช้สินค้ามากขึ้น ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าหรือเพิ่มตลาดของผลิตภัณฑ์ที่มาจากสมุนไพรไทยอีกด้วย 

อัยย์ไทยยังได้มองถึงการพัฒนาช่องทางสื่อสารกับผู้คนทั่วไป ให้เข้าใจถึงการเลือกใช้สมุนไพรที่ถูกต้องและมีคุณภาพ จึงมองแพลตฟอร์มที่เป็นเว็บไซต์ โดยต้องการให้ผู้ที่สนใจเข้ามาหาความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการดูแลสุขภาพได้ โดยจะให้ความรู้ทางด้านเภสัชกรรมแผนไทยและเภสัชกรรมแผนปัจจุบันประกอบ เพื่อจะทำให้เกิดการยอมรับในตัวสมุนไพรไทยและทำให้องค์ความรู้เหล่านี้ร่วมสมัยขึ้นได้ เป็นการต่อยอดรักษาภูมิปัญญาของไทยต่อไปในอนาคต 

.

ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ของ อัยย์ไทย สามารถติดต่อได้ที่

iThai Natural (Head Office)

บริษัท อัยย์ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Aithai Corporation Limited)

41/10 ตรอกเวท(สีลม19) ถ.สีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

Tel: +66 97 235 5588

Fax. +66 2 238 5339

Email: ithaiskincare@yahoo.com

Website : www.ithaiskincare.com
IG: iThai_skincare
Line: @ithaiskincare

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

The Flavor รสชาติเอกลักษณ์ไทย ในขนมหนึ่งคำ

The Flavor รสชาติเอกลักษณ์ไทย ในขนมหนึ่งคำ

เอกลักษณ์ของรสชาติไทยนั้นแฝงอยู่ในความประทับใจของชาวต่างชาติเสมอมา ทั้งในอาหารไทย ผลไม้ไทย และขนมไทย คือรสชาติที่ใครได้ลิ้มรส ต่างเป็นต้องนึกถึง สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ The Flavor เลือกขึ้นมาชูเป็นจุดเด่นในเรื่องรสชาติไทย ที่อยู่ในรูปแบบการฟรีซดราย จนกลายเป็น ขนมไทย กรุบกรอบ ที่คงคุณค่าสารอาหารและเอกลักษณ์ของรสชาติเอาไว้ในหนึ่งคำ 

.

ส่งรสชาติไทยไปสู่ตลาดสากล

จุดเริ่มต้มของ The Flavor คือ การที่ต้องไปอยู่ที่ต่างประเทศ แล้วได้พูดคุยกับชาวต่างชาติเกี่ยวกับความชื่นชอบในอาหารไทย ขนมไทย และผลไม้ไทย เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง ทุเรียน แต่กลับไม่ค่อยพบเห็นอาหารเหล่านี้จำหน่ายในต่างประเทศ อาจเพราะเป็นอาหาร จึงมีอายุค่อนข้างสั้น เสียง่าย ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน จึงจุดประกายความคิดขึ้นมาว่า อยากจะบรรจุรสชาติต่าง ๆ ของอาหารไทย ให้อยู่ได้นาน และสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้

ทาง The Flavor เลือกใช้นวัตกรรมในการสร้างผลิตภัณฑ์เป็น ขนมเพื่อสุขภาพฟรีซดราย ทำให้สามารถคงคุณค่าอาหาร และรสชาติของอาหารไว้ได้เหมือนรสชาติดั้งเดิมที่พึ่งปรุงสุก อีกทั้งยังช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์ให้เก็บรักษาไว้ได้ยาวนานขึ้นเป็น 1 ปี ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมของทางแบรนด์ คือ ข้าวเหนียวมะม่วงอบกรอบ และ ข้าวเหนียวทุเรียนอบกรอบ สูตรข้าวกล้องงอก เพราะรับประทานง่าย ฉีกซอง อร่อยได้ทันที เรียกได้ว่าเป็น ขนมไทย ที่สะดวกสบายต่อการรับประทาน 

และด้วยความสะดวกสบายและเก็บได้นานนี้เอง ทำให้ทางแบรนด์สามารถส่งผลิตภัณฑ์ The Flavor ออกไปสู่ตลาดสากลได้หลายประเทศ ทั้งประเทศจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และอเมริกา ส่วนในประเทศไทยจะมีวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ จุดท่องเที่ยวต่าง ๆ และในช่องทางออนไลน์

แม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกวางจำหน่ายที่ต่างประเทศแล้ว แต่ทางแบรนด์ก็ยังไม่หยุดพัฒนาและปรับตัว เพราะ The Flavor ยังศึกษาและทำความเข้าใจผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจอาหารไม่ใช่สิ่งที่ทำแล้วจบไปภายในวัน ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไป ทางแบรนด์จึงต้องพัฒนาและปรับปรุงให้วันพรุ่งนี้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกๆ วัน

.

ให้ “แม่หยก” ช่วยกอบกู้ช่วงโควิด-19

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบเรื่องการส่งออกค่อนข้างมาก ทางแบรนด์จึงมองหาลู่ทางในการดำเนินธุรกิจ โดยสังเกตวิถีชีวิตของคนส่วนมากในช่วงที่ต้องทำงานอยู่กับบ้านมากขึ้น เมื่อได้อยู่กับบ้านก็จะมีการทำอาหารมากขึ้น จึงทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมานั่นก็คือ เครื่องปรุงรสและซอสปรุงรสพร้อมทาน ตรา “แม่หยก” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานสะดวกและรวดเร็ว เพราะผลิตภัณฑ์แม่หยก คือ เครื่องปรุงสูตรต่าง ๆ ที่ถูกประยุกต์มาให้อยู่ในรูปแบบพร้อมปรุง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอาหารรสชาติเข้มข้นเสมือนรสต้นตำรับดั้งเดิม

.

ใช้ความเข้าใจ เป็นหัวใจหลัก

สิ่งที่ทำให้แบรนด์ The Flavor เข้าไปอยู่ในใจของลูกค้าได้ มาจากวิธีคิดที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทุกครั้งที่จะเริ่มพัฒนาสินค้าใหม่ จะต้องดูความต้องการของลูกค้าก่อน หรือเมื่อทำเสร็จจะมีการทดลองสินค้ากับลูกค้าด้วยเสมอ 

จุดแข็งหลักที่ทำให้แบรนด์เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ก็คือ การเป็นแบรนด์ที่เข้าใจลูกค้า และด้วยแนวคิดว่า การจะทำให้ธุรกิจเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง ต้องสร้างแก่นไอเดียให้แข็งแรง ก็คือเรื่องเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ที่สามารถขยายต่อไปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อีก ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจไม่ใช่เรื่องที่ทำวันนี้แล้วจบวันนี้ แต่มันเดินไปข้างหน้าต่อ เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้ทำได้ดี วันพรุ่งนี้ก็ต้องทำให้ได้ดีกว่าเดิม ถ้าวันนี้ล้ม ก็ต้องลุก แล้วถ้าพลั้งพลาดอะไร ก็ต้องแก้ไข

หัวใจสำคัญของการเป็น The Flavor ไม่เพียงแต่เป็นรสชาติของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มอบให้แก่ลูกค้า แต่ต้องเป็นรสชาติที่ทำให้ลูกค้ายิ้มได้นั่นเอง

.

สามารถติดตาม The Flavor ได้ที่

บริษัท พี เอ็ม ดับบลิว อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

28/4 หมู่ที่ 20 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ 10540

Email: pmwinternational.info.gmail.com และ theflavorthailand@gmail.com
Tel: 02-452-0941

Website : theflavorthailand.com
Facebook: theflavorthailand

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ