“ยอมลำบาก เพื่อให้ลูกหลานสบาย” “ถ้าไม่อยู่กับมัน ก็ยากที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต”

 

 

“ยอมลำบาก เพื่อให้ลูกหลานสบาย”
“ถ้าไม่อยู่กับมัน ก็ยากที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต”

จากคำสอนของคุณยาย และความรักในอาชีพของครอบครัว สู่ความมุ่งมั่นตั้งใจของทายาทรุ่นที่ 3 ที่จะต่อยอดธุรกิจโรงงานปั่นด้ายที่เชี่ยวชาญการรีไซเคิลเศษของเสียในอุตสาหกรรมสิ่งทอมากว่า 60 ปี

SC GRAND แบรนด์ผ้ารีไซเคิล สิ่งทอยั่งยืนของคนไทย

ถ้าคุณคิดถึง Textile Waste แบรนด์ Sc Grand ก็อยากจะเป็น Strategic Partner โดยการเปลี่ยนเศษด้ายที่เหลือใช้ให้กลายเป็นเสื้อผ้าใหม่ กับการ Collaboration กับแบรนด์ชั้นนำอย่าง Yuedpao, Carnival เป็นต้น หรือถ้าเป็นธุรกิจแบบ B2B – Made to Order อย่างการนำ Uniform หรือเสื้อผ้าเก่ามาทำให้เป็นเสื้อผ้าใหม่ รวมทั้งปั้น Design ของตัวเอง เพื่อเจาะตลาด B2C ก็จะทำภายใต้แบรนด์ Circular ซึ่งคุณวัธได้กล่าวไว้

Circular Economy ในธุรกิจสิ่งทอไทย ทำอย่างไร ให้เป็นที่ยอมรับ

Circular Economy หรือการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ไม่ใช่ “เทรนด์” แต่คือ “คำตอบ” ของอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอในอนาคต ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แบรนด์แฟชั่นในต่างประเทศมุ่งหน้าสู่วิถีของแฟชั่นที่ยั่งยืน (Sustainable Fashion) ด้วยการนำวัสดุรีไซเคิลหรือของเสียจากอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ มาใช้เป็นหนึ่งในวัสดุที่สร้างสรรค์สินค้าใหม่กันมากขึ้น แต่สำหรับวงการสิ่งทอในไทยในหลายปีก่อน คุณวัธยอมรับว่า ยังเป็นเรื่องใหม่มาก ดังนั้นการแชร์ความรู้และ PR ให้คนทั่วไปเข้าใจเรื่องผ้ารีไซเคิล รวมถึงการ Collaboration กับแบรนด์ชั้นนำ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในตอนนั้น

Textile Recycle Hub แห่งอาเซียน คือเป้าหมาย

ส่วนในตลาดต่างประเทศ Sc Grand มองว่าประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ได้เปรียบ และถือเป็นแกนกลางในย่านอาเซียน Sc Grand ก็อยากจะ Positioning ตัวเองให้เป็น Supplier Chain Partner ในย่านนี้ให้ได้ในอนาคต

ความยั่งยืน คือ คำตอบ

โลกกำลังสนใจเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Fashion) ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป และสนใจว่าตัวเขาได้มีส่วนช่วยโลกเท่าไหร่ ธุรกิจของ Sc Grand มีองค์ความรู้เรื่องรีไซเคิลและดำเนินการอยู่ในแนวทางนี้มาตลอด คุณวัธ จิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์ และน้องชาย ได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อนในอนาคตเป็นอย่างดี ธุรกิจสิ่งทอรีไซเคิล (Sustainable Textile) นับเป็นหนึ่งในธุรกิจเพื่อสังคม (social Business) ดำเนินธุรกิจผลิตเสื้อผ้ารีไซเคิล 100% เพื่อเป้าหมายคือ ความยั่งยืนนั่นเอง

รางวัลที่ได้รับจาก สสว.

SC GRAND was a winner of the 14th SME National Awards in the Textile and Fahion Business Group as well as The Best SME Circular Economy Award conducted by The Office of SMEs Promotion.

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

SC GRAND Showroom, CIRCULAR Building, 3rd Fl.
240/6 Siam Square Soi 2 Khwaeng Pathum Wan, Khet Pathum Wan, Bangkok 10330

โทร: +66 8 3997 9644

Line: @scgrand

อีเมล:  info@sc-grand.com

Facebook: scgrandcircular

บทความแนะนำ

เป็นตัวเองให้มากที่สุด จริงใจ = โลมา

 

 

          โลมาเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ The Couple’s และเป็น Influencer ด้านการ Get Ready With Me เล่าเรื่องตัวเอง และอภิปรายประเด็นสังคมต่าง ๆ ผ่าน TikTok โดยเน้นการสร้าง Emotional Connection กับ ผู้ติดตามอย่างจริงใจ เปิดเผยทุกด้านในชีวิตเพื่อส่งพลังให้คนอื่นไม่รู้สึกเดียวดาย

          ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ เช่น Lip Oil และ Lash Serum ได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าสาย Beauty ที่เน้นการดูแลตัวเองแบบ Clean Beauty ปัจจุบันมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีฐานลูกค้าประจำ

รักตัวเอง ดูแลตัวเอง สร้างพลังบวกสู่สังคม

          เริ่มจากความรักในการดูแลตัวเองและการแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้คนรอบตัว โลมาเริ่มจากการรีวิวแบบจริงใจ ไม่มีบท ไม่รับเงินรีวิวใด ๆ เพราะมีเจตนาอยากสร้างแรงกระเพื่อมดี ๆ สู่สังคมจริง ๆ บวกกับการเล่าเรื่องราวการทำแบรนด์ The Couple’s ในรูปแบบที่จริงใจ และไม่ผ่านสคริปต์ โดยมีเจตนาที่สะท้อนทุก ๆ ด้านของมนุษย์ที่ใส่ใจตัวเอง รักตัวเอง และยังต้องการส่งพลังบวกให้กับคนอื่นไปพร้อมกัน ไม่ทำให้ใครโดดเดี่ยว

“ความจริงใจที่มีคลาส” คือจุดขายที่ไม่มีใครลอกได้

          “ความจริงใจที่มีคลาส”, “ความเข้าใจตัวเอง” และการรักษาภาพลักษณ์พรีเมียมควบคู่กับการสื่อสารที่อบอุ่น ทำให้แบรนด์มีความแตกต่างและน่าเชื่อถือ

          และเป้าหมายต่อไปคือการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ พร้อมสร้างคอมมูนิตี้ที่ Empower กันด้วยความงามจากภายในสู่ภายนอก

          เมื่อคุณรู้ว่าคุณอยากส่งต่ออะไรให้โลกนี้ เส้นทางที่ใช่จะเปิดออกมาเอง อย่ากลัวที่จะเป็นตัวเอง เพราะตัวตนที่แท้จริงคือจุดขายที่ไม่มีใครลอกได้”

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

E-mail: Roma.utchin@gmail.com

Tiktok: https://www.tiktok.com/@romamorrrrr, https://www.tiktok.com/@thecouples.official

IG: https://www.instagram.com/romamorrrrr/

Shopee: @Thecouples.official

Shop: Multy สาขาสยาม, Flagship เมกาบางนา และยูเนี่ยนมอลล์

บทความแนะนำ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) (The Federation of Thai Industries – FTI)

 

 

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (The Federation of Thai Industries – FTI)  มีหน้าที่เป็นแกนกลางเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของไทยให้ยั่งยืน โดยมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งดำเนินงานภายใต้นโยบายของรัฐ ที่ต้องการพัฒนาสถาบันธุรกิจภาคเอกชนของไทยให้แข็งแกร่ง อันจะทำให้กลไกการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สามารถประสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติในวงการเศรษฐกิจโลก

          โดยในส่วนที่รับผิดชอบ แบ่งเป็น กลุ่มอุตสาหกรรม 47 กลุ่ม  / 11 คลัสเตอร์  / 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด / 11 สถาบัน และ15 ฝ่าย

          บริการที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs / MSME ของ ส.อ.ท. มีหลากหลากหลาย โดยอยู่ภายใต้แนวทางหลัก คือ 4GO

GO ที่ 1 Go Digital & AI ทาง ส.อ.ท. จะยกระดับ SMEs ของเราให้สามารถในการใช้ Digital เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย ยังสร้างความแม่นยำในการประกอบธุรกิจ

GO ที่ 2 คือ Go Innovation ที่จะต้องเป็น SMEs ที่จิ๋วแต่แจ๋ว เพื่อจะให้ SMEs สามารถแข่งขันได้

GO ที่ 3 คือ GO Global  ทาง ส.อ.ท. จะต้องผลักดัน SMEs ของเราให้สามารถทำการส่งออก แล้วก็ทำการตลาดไปทั่วโลกให้ได้ และจะทำยังไงให้ SMEs ของเรา เข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิต ของอุตสาหกรรมใหม่ๆของโลก ด้วยมาตรฐานและกติกาใหม่

และท้ายสุด คือ GO Green ทาง ส.อ.ท. ต้องเตรียมความพร้อมของ SMEs ของเรา ให้ขับเคลื่อนไปแนวความคิดแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ ESG เป็นการสร้างแต้มต่อให้กับสินค้าและบริการ โดยอาศัยเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นตัวนำ

          ในระหว่างปี 2567 ถึง 2569 ทาง ส.อ.ท. ยังคงมุ่งมั่นผลักดันนโยบาย ONE FTI ซึ่งเป้าหมายหลักของ ONE FTI มี 3 เรื่องใหญ่ ๆ ดังนี้

1. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย

2. เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

3. การพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน

และการที่จะทำให้เป้าหมายเหล่านี้บรรลุได้ จะต้องดำเนินยุทธศาสตร์ของงานไว้ทั้งหมด 5 เรื่อง

1. Industrial Collaboration การผนึกกำลังของภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้เข้มแข็ง

2. First 2 Next-gen Industry การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเดิมไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

3. Smart SMEs คือ การยกระดับ SMEs ไทยไปสู่สากล

4. Smart Service Platform การให้บริการโดยการพัฒนา Platform ต่าง ๆ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย

5. Sustain Achieve ESG การส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน

          ส.อ.ท. จะร่วมกับพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ให้ก้าวสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืนไปด้วยกัน ภายใต้นโยบาย ONE FTI

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

ที่อยู่ : เลขที่ 2 อาคารปฎิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ชั้น 8 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

โทรศัพท์: 02 -345-1000

Call Center: 1453

Website: www.fti.or.th

E-mail: infomation@fti.or.th

Facebook: TheFederationOfThaiIndustries

บทความแนะนำ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) CREATIVE ECONOMY AGENCY (PUBLIC ORGANIZATION) (CEA)

 

 

          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency (Public Organization)) หรือ สศส. เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจไทย ก่อตั้งมาแล้ว 3 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรกอยู่ภายใต้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่วนครั้งที่ 3 หรือปัจจุบัน เป็นรูปแบบองค์การมหาชน แยกออกมาจากศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กำกับโดยคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

          หน้าที่ของ CEA คือ

          ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว

          วิสัยทัศน์ของ CEA คือ ทางองค์กรได้ถูกกำหนดให้เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทยสู่เวทีโลก โดยมีจุดมุ่งหมาย ดังต่อไปนี้ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจ

          1. สร้างสรรค์และปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจ

          2. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมให้แก่ชุมชน สาธารณชน และสถาบันการศึกษา

          3. ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ที่เอื้อต่อบรรยากาศสร้างสรรค์และการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ รวมทั้งพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น

          4. พัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมให้เกิดการนำกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ

          5. เป็นศูนย์กลางการรวบรวมและพัฒนาข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย และเพื่อสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม

          6. ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
CREATIVE ECONOMY AGENCY (PUBLIC ORGANIZATION) (CEA)

ที่อยู่ : อาคารไปรษณีย์กลาง เลขที่ 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500โทรศัพท์: (66) 2 105 7441

Website: https://www.cea.or.th/th/home

E-mail: info@cea.or.th

Facebook: CreativeEconomyAgency

บทความแนะนำ

ขอแนะนำ เครื่องมือประเมินความพร้อมดิจิทัลสำหรับ MSMEs

🌐✨ ธุรกิจคุณพร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัลหรือยัง? ✨🌐

ขอแนะนำ เครื่องมือประเมินความพร้อมดิจิทัลสำหรับ MSMEs
ที่จะช่วยให้คุณรู้ว่า…
✅ ธุรกิจของคุณพร้อมแค่ไหนในโลกดิจิทัล
✅ ควรพัฒนาอะไรต่อ
✅ มีโอกาสอะไรในเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนที่คุณควรคว้าไว้

🔍 ประเมินด้วยตัวเองง่าย ๆ ใน 4 ด้าน:
1️⃣ เทคโนโลยี
2️⃣ บุคลากร
3️⃣ ผลิตภัณฑ์
4️⃣ กระบวนการ
🟢 ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย
🟢 พร้อมรับคำแนะนำที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ
👉 คลิกเลย: https://aseandigitalasessment.my.site.com/msmeportal/s/?language=th




โครงการดี ๆ จาก อาเซียน
โดย ACCMSME, ACCC และ JAIF (Japan-ASEAN Integration Fund)
#MSME #ธุรกิจดิจิทัล #อาเซียน #พร้อมสู่อนาคต #DigitalASEAN #SMEsGoDigital #JAIF #ACCMSME #ACCC

บทความแนะนำ