สสว.จัดทำข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๘

สสว.จัดทำข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๘ และโพลเรื่อง ความอ่อนไหวของธุรกิจ SME ต่อสภาพเศรษฐกิจกับโอกาส อยู่รอดในภาวะปัจจุบัน เพื่อใช้ในการเผยแพร่สู่สาธารณะบนเว็บไซต์และ Press Release มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๘ อยู่ที่ระดับ ๕๐.๔ ปรับลดลงภายหลังจากการปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวที่ระดับ ๕๒.๓ ในเดือนก่อน และค่าของดัชนีลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ระดับ ๕๒.๔ โดยภาพรวมของความเชื่อมั่นหดตัวใน เกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะด้านปริมาณการผลิต การค้า การบริการ และคำสั่งซื้อ

ทั้งนี้ความเชื่อมั่นในหลายภูมิภาคลดต่ำลงใกล้เคียงกับระดับช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-๑๙ ตามกำลังซื้อที่อ่อนแรงกดดัน ต่อเนื่องในทุกภาคธุรกิจ รวมถึงการระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภค สะท้อนในรูปของยอดซื้อต่อครั้งที่ลดลง รวมถึงภาคธุรกิจยังเผชิญแรงกดดันของความไม่แน่นอน ด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ การนำเข้าสินค้า ราคาต่ำที่กระทบภาคการผลิต ตลอดจนการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการรายใหญ่ผ่านการจัดโปรโมชั่น ลดราคาที่กดดันภาคการค้า ขณะที่ภาคบริการได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ชะลอตัว ส่วนภาคการเกษตรประสบปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน สะท้อนแรงกดดันชัดเจน ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน สำหรับดัชนี SMESI รายภาคธุรกิจ พบว่า ภาคธุรกิจการเกษตรอยู่ที่ระดับ ๕๑.๐ ลดลงจาก ระดับ ๕๑.๓ ของเดือนก่อนหน้า ซึ่งความเชื่อมั่นภาพรวมทรงตัวใกล้เคียงเดือนก่อนหน้า จากการขยายตัวของ ปริมาณผลผลิตสินค้าเมืองหนาวเป็นสำคัญ ขณะที่บางพื้นที่เผชิญกับแรงกดดันจากสภาพอากาศ และอุทกภัย ส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย ภาคการผลิตอยู่ที่ระดับ ๕๐.๒ ปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ ๕๐.๓ ของเดือนก่อนหน้า แม้หลายสาขาในภาคการผลิต เช่น การผลิตยางจะปรับตัวดีขึ้น จากคำสั่งซื้อล่วงหน้า รวมถึงหลายสาขาที่ เริ่มมีการเพิ่มกำลังการผลิตให้กลับสู่ระดับปกติ

อย่างไรก็ตามสาขาที่มีการพึ่งพาคู่ค้าที่มีการส่งออก เลือกที่จะไม่เร่งกำลังการผลิตขึ้นตามความไม่แน่นอนของสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ ภาคการค้าอยู่ที่ระดับ ๕๐.๐ ปรับตัวลดงจากระดับ ๕๒.๖ โดยภาคการค้าหดตัวลงชัดเจน และ เกือบอยู่ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นจาก สถานการณ์การแข่งขันจากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง สินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ที่รุนแรงมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการใช้จ่ายต่อครั้งที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ภาคการบริการอยู่ที่ระดับ ๕๐.๙ ปรับลดลงจากระดับ ๕๓.๕ ซึ่งความเชื่อมั่นกลับมาหดตัวอีกครั้งตามการสิ้นสุดของเทศกาลในเดือนก่อนรวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงอย่างต่อเนื่องยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันการดำเนินการของผู้ประกอบการในภาคการบริการ สำหรับดัชนี SMESI รายภูมิภาค พบว่า ภาคเหนืออยู่ที่ระดับ ๕๓.๒ ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่ระดับ ๕๓.๖ ความเชื่อมั่นปรับลดลงเล็กน้อยแม้จะได้รับแรงพยุงบางส่วนจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยภาครัฐ ตลอดจนช่วงงานประเพณีเตียวขึ้นดอยและวันหยุดยาวซึ่งช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน สอดคล้องกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงเริ่มต้นฤดูเพาะปลูก ซึ่งเอื้อต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงปัจจุบัน ภาคใต้อยู่ที่ระดับ ๕๐.๖ ลดลง จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๑.๑ เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ตามการชะลอลงของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงต่อเนื่อง และไม่มีเทศกาลสำคัญที่จะมา ช่วยกระตุ้นการเดินทาง อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตในบางสาขามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการผลิตตามคำสั่งซื้อที่ได้รับล่วงหน้า อาทิ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ ๔๙.๙ ลดลง จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๑.๖ สภาพอากาศที่มีฝนตกบ่อยตลอดเดือน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการแบบพบ หน้า (Face to Face) ในหลายประเภทธุรกิจลดลง ตามความไม่สะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ อาหารและเครื่องดื่มที่คำสั่งซื้อผ่านบริการเดลิเวอรี่ ไม่ได้ช่วยพยุงยอดขายเท่าที่ควร เนื่องจากหลายคำสั่งซื้อ ถูกยกเลิกกลางคันจากอุปสรรคในการจัดส่ง ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนอาหารแต่ไม่สามารถจำหน่ายได้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ ๕๐.๙ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๓.๓ การแข่งขันที่ รุนแรงจากธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ ผ่านกลยุทธ์ลดราคาและส่งเสริมการขายส่งผล ให้ผู้ประกอบการรายย่อยจำเป็นต้องปรับลดราคาสินค้าเพื่อต่อสู้ทางการแข่งขัน ซึ่งกระทบต่อความสามารถใน การทำกำไร ขณะเดียวกันกำลังซื้อของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ที่ได้รับแรงหนุน ชั่วคราวจากการเดินทางกลับภูมิลำเนาของแรงงานในช่วงเทศกาล ภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ ๔๘.๒ ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๑.๔ ความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงต่อเนื่องและอยู่ต่ำกว่าระดับค่าฐานอย่างชัดเจน

โดยมีแรงกดดันหลักจากการชะลอตัวของกิจกรรมท่องเที่ยวชายฝั่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ ที่ไม่เอื้ออำนวย ขณะเดียวกันภาคการผลิตยังไม่เพิ่มกำลังการผลิตเข้าสู่ระดับการดำเนินงานปกติ โดยผู้ประกอบการยังคงรักษากำลังการผลิตไว้ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ตามความไม่แน่นอนของกำลังซื้อ ภาคกลางอยู่ที่ระดับ ๔๘.๕ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๒.๓ ความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงอย่างชัดเจน สะท้อนผลกระทบจากอุทกภัยฉับพลันในบางพื้นที่ช่วงปลายเดือน ซึ่งส่งผลเสียหายต่อที่อยู่อาศัยและพื้นที่ เพาะปลูกโดยตรง ขณะเดียวกัน แรงกดดันจากกำลังซื้อที่ซบเซายังคงเป็นปัจจัยถ่วงการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สไหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ ๓ เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ ๕๒.๖ ซึ่งปรับลดลงต่อเนื่อง สะท้อนความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะ ความไม่ชัดเจนของแนวทางผ่อนปรนมาตรการภาษีตอบโต้จากสหรัฐฯ ประกอบกับปัญหาด้านสภาพคล่องของ ผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มอ่อนไหวมากขึ้น ขณะที่มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ แม้อาจช่วยพยุงบรรยากาศทางธุรกิจบางส่วน แต่ผลต่อผู้ประกอบการ SME โดยรวมยังค่อนข้างจำกัด

ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ MSME ในหัวข้อประเด็นที่น่าสนใจ เรื่อง ความอ่อนไหวของธุรกิจ SME ต่อสภาพเศรษฐกิจกับโอกาสอยู่รอดในภาวะปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลจาก ผู้ประกอบการ SME จำนวน ๒,๗๕๑ ราย จาก ๖ ภูมิภาคทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๘ สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

  • จากการสอบถามความอ่อนไหวของธุรกิจ MSME ต่อสภาพเศรษฐกิจ กับโอกาสอยู่รอดใน ภาวะปัจจุบัน พบว่า MSME ประเมินเศรษฐกิจแย่ทั้งระบบ โดยมองภาพรวมประเทศแย่ กว่าเศรษฐกิจในพื้นที่จาก ปัจจัยมหภาคที่ควบคุมได้ยากและส่งผลกว้าง เช่น ราคา วัตถุดิบ การลงทุน การค้าต่างประเทศ ส่วนเศรษฐกิจในพื้นที่ได้รับผลจากปัจจัยที่ "เฉพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่" เช่น ภัยธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน การเมืองท้องถิ่น

  • MSME ส่วนใหญ่มีเงินทุนเพียงพอแค่ดำเนินกิจการต่อเนื่อง ธุรกิจขนาดย่อมและขนาด กลางเป็นกลุ่มที่มีทั้งผู้ประกอบการที่ระบุว่า “เงินทุนเพียงพอ” และ “ไม่เพียงพอ” มากที่สุด สะท้อนความหลากหลายในระดับความพร้อมของกลุ่มนี้ ขณะที่ธุรกิจรายย่อยมี สัดส่วนผู้ที่ระบุว่า “เงินทุนเพียงพอ” ต่ำที่สุด และเมื่อนับรวมผู้ที่มีทุนแค่พอดำเนินการ หรือไม่เพียงพอ จะเห็นชัดว่าเป็นกลุ่มที่เผชิญปัญหาเงินทุนมากที่สุด

  • MSME จำนวนไม่น้อยส่งสัญญาณว่า หากไม่มีรายได้ใหม่เข้ามา จะไม่มีช่องว่างให้ ประคองกิจการต่อไปได้ โดยเฉพาะกลุ่ม MSME รายย่อย ธุรกิจใหม่ และร้านอาหาร ซึ่งมี สภาคล่องต่ำไม่มีเงินสำรอง (buffer) และอาจเริ่มสะดุดภายในไม่เกิน ๓ เดือน เช่นเดียวกับบางธุรกิจที่ไม่สามารถประเมินความสามารถในการอยู่รอดได้ สะท้อนถึงการขาดระบบบริหารจัดการทางการเงินอย่างเป็นระบบ

  • กว่า ๘๘% ของ MSME เผชิญการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่ม ธุรกิจการผลิตและการค้า ทั้งในแง่ความถี่และมูลค่าการซื้อที่ลดลง รวมถึงพฤติกรรมการ เลือกซื้อที่เปลี่ยนไป โดยตัดสินใจตามแรงจูงใจหรือโปรโมชั่นมากขึ้น

  • ผู้ประกอบการเกือบครึ่งยังไม่มั่นใจต่อแนวโน้มเศรษฐกิจข้างหน้า โดยกว่า ๕๐% ของ MSME ที่ประเมินสถานะแย่ในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าสถานการณ์จะแย่ลงต่อเนื่อง

  • MSME ต้องการ ๓ แรงกระตุ้นหลัก “ใช้จ่าย–ต้นทุน–หนี้สิน” เพื่อพยุงธุรกิจ โดยเฉพาะ การฟื้นกำลังซื้อและความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลับมาอีกครั้ง พร้อมผลักดัน โครงการใหม่ในกลุ่มอ่อนไหวและเมืองรอง

1. ความอ่อนไหวของธุรกิจ MSME ต่อสภาพเศรษฐกิจ กับโอกาสอยู่รอดในภาวะปัจจุบัน
2. ดรรชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ประจำเดือนพฤษภาคม 2568




บทความแนะนำ

Zira Spa ศาสตร์แห่งสปาไทย สไตล์สยามล้านนา

“ศิรา สปา” เป็น Day Spa ที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ โดดเด่นด้วยตัวอาคารอันสวยงาม 4 ชั้น ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมสไตล์ “Lanna Colonial” ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ใกล้ถนนคนเดินวันอาทิตย์เพียง 400 เมตร ประกอบไปด้วยห้องส่วนตัวจำนวน 36 ห้อง พร้อมอ่างจากุชชี่ แยกเป็นสัดส่วน ตามรูปแบบของสปามาตรฐาน ถูกออกแบบให้เป็นห้องเก็บเสียงเพื่อให้ลูกค้าได้รับความผ่อนคลายขณะเข้าใช้บริการอย่างแท้จริง

 

“ศิรา” แปลว่า “น้ำ” 
เพราะน้ำคือสื่อกลางของสรรพสิ่ง ทั้งในวิถีของการบำบัด ก็เชื่อว่าน้ำ คือวัตถุดิบในการดูแลรักษาสุขภาพ สายน้ำเองยังเปรียบเสมือนสื่อสิ่งเชื่อมโยงของเวลา เป็นวัฏจักรวนเวียนยาวนานบนโลก น้ำยังเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ แหล่งเมืองอันเจริญล้วนเกิดและรายล้อมด้วยแม่น้ำทั้งสิ้น เราจึงให้สายน้ำเป็นตัวแทน ชื่อ เป็นสื่อกลาง ที่จะถ่ายทอด เล่าเรื่องราว  และบำบัดดูแล ผู้เข้ามาใช้บริการที่ ศิรา สปา แห่งนี้

 

เรื่องราวของ “ศิรา สปา" ถูกร้อยเรียงถ่ายทอด ผ่าน รูป รส กลิ่น เสียง เพื่อเล่าถึงยุคสมัย ล้านนาตอนปลาย ที่เกิดการผสมผสานศิลปะวิทยาการจากสยามมาสู่ล้านนา ยุคสมัยที่พระราชายาเจ้าดารารัศมียังมีพระชนม์ชีพ และเป็นต้นแบบผู้นำทางความคิด เป็นผู้จัดระเบียบ นำกลบทของสยาม มาเลือกรับ ปรับใช้ ให้เข้ากับวิถีของล้านนา ไม่ว่าจะเรื่อง สถาปัตยกรรม ความเป็นอยู่ จารีต และทุกด้านของความรุ่งเรือง จนนับได้ว่า ณ เวลานั้น เป็นเวลาอันน่าประทับใจ ของการรวมสยามและล้านนาเข้าด้วยกัน และนำมาซึ่งการนวดที่เป็นเอกลักษณ์ของ ศิรา สปา โดยการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเช่น “งูกินนิ้ว” มาผสมผสานกับท่าร่ายรำของการฟ้อนเล็บ ออกมาเป็น “นวดฟ้อนเล็บ” แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก เพื่อบำบัดอาการนิ้วล็อค และอาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจาก Office Syndrome

 

“ศิรา สปา” สัมผัสความเป็นเอกลักษณ์ ในรูปแบบ “สยามล้านนา” ที่รวบรวมเอาศิลปะ และองค์ความรู้ ของคนพื้นบ้านทางเหนือ และความรู้ ความเป็นแบบแผน จากสยามมาผสานรวมกัน สะท้อนออกมา ไม่ว่าจะเป็นองค์อาคาร การตบแต่ง ตลอดจนรายการบริการที่ โดดเด่น แฝงไปด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีให้เลือกมากมายหลายรายการ ตามความชอบของผู้รับบริการ

 

"ศิรา สปา” การันตีคุณภาพ ด้วยการได้รับรางวัล Top Choice Spa in Chiang Mai จาก Lonely Planet ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสปาอันดับหนึ่งในเชียงใหม่จาก TripAdvisor และนอกจากนั้นยังได้รับรางวัลมากกว่า 80 รางวัล จากทั้งในประเทศไทยและในระดับสากลอีกด้วย

 

ก่อนเข้ารับบริการนั้น ลูกค้าจะได้รับ Welcome Drink “ชาเบญจผลา” ประกอบไปด้วยสมุนไพร 5 ชนิด คือ สมอไทย สมอเทศ สมอพิเภก สมอดีงู และมะขามป้อม ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ขับลม ขับเสมหะ เสริมภูมิคุ้มกัน และหลังจากใช้บริการเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะได้รับ “ชาขิง” ที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรไทย 4 ชนิด คือ ขิง ตะไคร้ ขมิ้น และกระชาย มีสรรพคุณในการช่วยระบบย่อยอาหาร บรรเทาอาหารปวดเมื่อย และเพิ่มความสดชื่นหลังการเข้ารับบริการ

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

ศิรา สปา

โทรศัพท์:053-222288

095-793-5888

www.ziraspa.com

Facebook: Zira Spa

Line:@ziraspa

บทความแนะนำ

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

  • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย ทั้งในด้านการส่งเสริมการส่งออก และการส่งเสริมการนำเข้าปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้การส่งออกสามารถเติบโตเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
  • ภารกิจของกรมไม่ได้จำกัดแค่การ “ส่งเสริม” เท่านั้น แต่กรมยังมีบทบาทด้านการ “พัฒนา” โดยการส่งเสริมและพัฒนา ครอบคลุม 4 ด้านหลัก คือ 1) ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการ 2) ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม 3) ด้านการส่งเสริมช่องทางการตลาด และ 4) ด้านการให้บริการข้อมูลและคำปรึกษา โดยกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับบริการของกรม ครอบคลุมผู้ประกอบการทุกระดับ โดยเฉพาะ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสินค้าและบริการ
  • DITP มีเครือข่ายในต่างประเทศ รวมกว่า 95 แห่งทั่วโลก ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า ทูตพาณิชย์ จำนวน 58 แห่ง ใน 43 เขตเศรษฐกิจ /สำนักงานตัวแทนส่งเสริมการตลาด (Marketing Representative) 4 แห่ง /และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ (Honorary Trade Advisor to the Ministry of Commerce หรือ HTA) อีก 33 ราย
  • เครือข่ายในต่างประเทศเหล่านี้ของกรม มีอยู่ในทุกภูมิภาคของโลก ทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนงานของกรม เพื่อขยายตลาดส่งออกสินค้าและบริการของไทย โดยการให้คำปรึกษา ให้ข้อมูล และอำนวยความสะดวก แก่ผู้ประกอบการไทย /สร้างการรับรู้ในสินค้าและบริการของไทย สร้างความเชื่อมั่น และเชื่อมโยงความต้องการจะซื้อกับความต้องการจะขาย ระหว่างผู้นำเข้ากับผู้ส่งออกไทย /รวมถึงจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ในประเทศประจำการ และเขตอาณา
  • ทั้งนี้ กรมเป็นหน่วยงานเดียวในกระทรวงพาณิชย์ที่มีเครือข่ายสำนักงานในต่างประเทศ ไม่นับรวม สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่มีสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ 4 แห่งในสังกัด ซึ่งทำงานด้านนโยบายเป็นหลัก
  • เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 73 ปี ของการสถาปนากรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมได้มีการปรับอัตลักษณ์ของกรม เพื่อสะท้อนความเป็นตัวตน และแนวทางการทำงานของกรมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในการมุ่งขับเคลื่อนองค์กรก้าวสู่มิติใหม่ ภายใต้แนวคิด “DITP Create Possibilities” หรือ DITP สร้างความเป็นไปได้ ภายใต้กลยุทธ์ 3E
    ซึ่งประกอบด้วย
    • E ที่1 Expand ต่อยอด บุกเบิก เพิ่มโอกาส รักษาตลาดเดิมและบุกเบิกตลาดใหม่ๆ ควบคู่กับกิจกรรมสร้างภาพลักษณ์ประเทศเพื่อเพิ่มการรับรู้สินค้าและบริการของไทย ขยายโอกาสทางการค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของกรมและแพลตฟอร์มพันธมิตรในต่างประเทศ ใช้กลไกเชื่อมโยงการทำงานระหว่างพาณิชย์จังหวัดกับทูตพาณิชย์ ขยายตลาดให้สินค้าท้องถิ่นไทยสู่ตลาดโลก
    • E ที่ 2 Enable ยกระดับ ขับเคลื่อน เชื่อมสัมพันธ์ เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทยในองค์ความรู้ที่จำเป็น ทั้งพัฒนาทักษะเดิม สร้างทักษะใหม่ ตามความต้องการของตลาดยุคใหม่ที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ส่งเสริมการให้บริการเพื่อผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของกรม
    • E ที่ 3 Empower สร้างพลัง ส่งเสริม เพิ่มมูลค่า บ่มเพาะผู้ประกอบการไทยกลุ่มต่าง ๆเพื่อยกระดับสินค้าและแบรนด์ไทยให้พร้อมแข่งขันในระดับโลก มุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
    • ทั้งนี้ อัตลักษณ์ใหม่ของกรม มี 2E ที่ทับซ้อนกันอยู่ในอัตลักษณ์ หากมองเป็นภาพเดียวกันก็จะเห็นตัว E อีกหนึ่งตัวที่ผสานรวมกันเป็นหนึ่งเดียว สื่อความหมายถึงการผนึกกำลังของกรม หน่วยงานพันธมิตรและผู้ประกอบการ ในการก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่:

 

  • กรมส่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

 

  • ที่อยู่ : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (บางกระสอ) 563 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
  • โทรศัพท์: (66) 2 507 7999
    สายด่วนการค้าระหว่างประเทศ: 1169
  • Website: https://www.ditp.go.th/
  • E-mail: saraban@ditp.go.th
  • Facebook: familyditp

บทความแนะนำ

ดิจิทัลเทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียง "เครื่องมือเสริม" อีกต่อไป แต่เป็น "หัวใจหลัก" ของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน และธุรกิจใดที่สามารถปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ก็จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Operational Efficiency), การช่วยยกระดับประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience), การช่วยสนับสนุนการตัดสินใจด้วยข้อมูล (Data-Driven Decision Making), การขยายโอกาสทางการตลาดและการขาย (Marketing & Sales Expansion), ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน (Work Flexibility & Remote Work), และการสร้างนวัตกรรมและรูปแบบธุรกิจใหม่ (Business Model Innovation)

 

          ซึ่งอินดิจีเป็นบริษัทไทยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับองค์กร

 

          อินดิจีดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มแบบครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำที่ทันสมัย มาวางโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจให้กับลูกค้า ภายใต้แนวคิด “Simply Work, Amplify Innovation” ซึ่งมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการทำงานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร และเสริมศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้บริษัทฯ สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในการออกแบบโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพสูงและตรงตามความต้องการได้อย่างแท้จริง

 

          บริษัทมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมยาวนานกว่า 25 ปี ในการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบให้กับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบงานที่มีประสิทธิภาพสูงรองรับกับการทำงานให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบงานบริการจัดการทำงานทั้งแบบศูนย์รวมและกระจายศูนย์ที่ครอบคลุมการบริหารจัดการองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทั้งทรัพยากรพัฒนากระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงลึก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

 

          5 บริการหลักจาก Indigy ที่ช่วยให้องค์กรของคุณก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างมั่นใจ

  1. Digital Consulting – ที่ปรึกษาครบวงจรด้านดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐาน
  2. Digital Integration – พัฒนาและเชื่อมต่อระบบ เทคโนโลยี และแอปต่าง ๆ
  3. Digital Platform – แพลตฟอร์มเพื่อองค์กร พนักงาน ธุรกิจ การศึกษา และโรงพยาบาล
  4. Digital Academy – การอบรมและพัฒนาทักษะดิจิทัลให้ทีมคุณใช้งานได้จริง
  5. Digital Market – โซลูชันและอุปกรณ์ดิจิทัล IoT สำหรับธุรกิจยุคใหม่

 

          อินดิจีได้รับรางวัลในสายงานเทคโนโลยีจากทั้งในประเทศและระดับภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในรางวัลที่อินดิจีภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง คือ รางวัลผู้ประกอบการภาคบริการดีเด่น จากงานสุดยอด SME แห่งชาติ ครั้งที่ 16 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่บริษัทเราได้รับรางวัลในฐานะผู้ประกอบการ โดยมีการประเมินตามเกณฑ์การวัดผลที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการเติบโตและพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

 

          หัวใจสำคัญของความสำเร็จของ Indigy คือ

  • การมองเทคโนโลยีจาก มุมมองของคนใช้งานจริง
  • การสร้างระบบที่ตอบโจทย์ทั้ง องค์กรเล็กและใหญ่
  • การเดินคู่กับลูกค้าในรูปแบบของ Strategic Partner

 

          Indigy ได้วางกำหนดเป้าหมายสำคัญในอนาคตเพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ พร้อมมุ่งมั่นที่จะมีบทบาทในการขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับภาคธุรกิจไทยอย่างยั่งยืน

 

แนวคิดในการทำธุรกิจ สิ่งสำคัญคือเราต้องไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง เพราะโอกาสมักมาพร้อมกับสิ่งนี้ ทุกวันนี้ความสำเร็จไม่ได้วัดที่ขนาดองค์กร แต่ขึ้นอยู่กับว่า เรามีความกล้าแค่ไหนในการสร้างสิ่งใหม่ ที่มีคุณค่าให้กับสังคม

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

 

บริษัท อินดิจี จำกัด (มหาชน)
3 อาคารพร้อมพันธุ์ 3 ห้องเลขที่ 1105-1110 ชั้น 11 ซอยลาดพร้าว 3 แขวงจอมพล
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 1090
Tel. 02-072-1900
E-mail: webcentral@indigy.com
LINE : @indigy
Facebook : indigy.connext
YouTube : @indigy7552
Website : indigy.com

บทความแนะนำ

สินเชื่อธุรกิจสำหรับสมาชิกสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)

โอกาสพิเศษสำหรับผู้ประกอบการ

"มีที่ มีเงิน" บริษัทในเครือ ธนาคารออมสิน
มอบสิทธิพิเศษสำหรับปี 2568 ✨
📌 สินเชื่อธุรกิจสำหรับสมาชิกสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)

💰 เพิ่มสภาพคล่อง เสริมทุน ให้ธุรกิจเติบโต💰

✅ วงเงินสูงสุดถึง 50 ล้านบาท
✅ ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 7.25% ต่อปี
✅ อนุมัติไว ภายใน 7 วันทำการ
✅ ส่วนลดค่าธรรมเนียมสุดพิเศษ เริ่มต้นเพียง 0.5% ของวงเงินกู้
✅ ปลอดชำระเงินต้น 12 เดือน ช่วยให้คุณมีสภาพคล่อง

🎯 อย่าพลาด! ลงทะเบียนรับสิทธิ์ คลิกเลย!
👉 ลงทะเบียนที่นี่ https://www.meetee.co.th/Register?u=U00wMDAx%3F


📞 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
📍 นายอวยชัย สังข์ทอง (เอ็กซ์)
🔹 ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
📲 089-776-2787

📍 นายจิตติ เอกพันธ์พงษ์ (อาร์ม)
🔹 ผู้จัดการแผนกพัฒนาธุรกิจ
📲 098-825-6161

📅 ระยะเวลาโปรโมชั่น: วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568
📌 สมัครผ่านลิงก์หรือ QR Code ที่กำหนดเท่านั้น
📌 เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัท "มีที่ มีเงิน" กำหนด

🚀 โอกาสดีๆ แบบนี้ รีบคว้าไว้ก่อนหมดเวลา! 🚀

บทความแนะนำ

Clear Cache
Clear All Cache
Enable Page Cache
Disable Page Cache